แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39737: เมนารินี กรุ๊ป ได้รับข้อคิดเห็นเชิงบวก แนะนำอนุมัติยาออร์เซอร์ดู  (จำนวนคนอ่าน 85 ครั้ง)
« เมื่อ: 07/24/23 เวลา 16:17:38 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

เมนารินี กรุ๊ป ได้รับข้อคิดเห็นเชิงบวก โดยแนะนำให้คณะกรรมาธิการยุโรปอนุมัติยาออร์เซอร์ดู (อีลาเซสแทรนท์) เพื่อใช้รักษามะเร็งเต้านมระยะลุกลามหรือระยะแพร่กระจาย ชนิด ER+, HER2- ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน ESR1
 
 
ในแต่ละปี ยุโรปมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า 550 ,000 ราย ซึ่ง 70% ในจำนวนนี้มีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นบวก[1] โดยผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในยุโรปเสียชีวิตจากโรคนี้ปีละกว่า 147,000 ราย[2]
หากได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมาธิการยุโรปแล้ว ออร์เซอร์ดูจะเป็นเทคนิครักษาตัวแรกและตัวเดียวสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระ ยะลุกลามหรือระยะแพร่กระจาย ชนิดตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นบวกและตัวรับเอชอีอาร์ 2 เป็นลบ ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน  ESR1
การกลายพันธุ์ของยีน  ESR1 พบในสัดส่วนสูงสุด 40% ของมะเร็งเต้านมระยะลุกลามหรือระยะแพร่กระจายชนิด ER+, HER2- และเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่เป็นที่รับรู้ของการดื้อต่อการรักษาด้วยฮอร์โมนบ ำบัดตามมาตรฐานทั่วไป ทำให้รักษาเนื้องอกเหล่านี้ได้ยาก
เมนารินี กรุ๊ป (Menarini Group) หรือ "เมนารินี" (Menarini) บริษัทชั้นนำสัญชาติอิตาลีผู้พัฒนาเภสัชภัณฑ์และระบบวินิจฉัยโรค และสเต็มไลน์ เทอร์ราพิวติกส์ (Stemline Therapeutics) หรือ "สเต็มไลน์" (Stemline) บริษัทย่อยที่เมนารินี กรุ๊ป เป็นเจ้าของ ประกาศในวันนี้ว่า คณะกรรมาธิการผลิตภัณฑ์การแพทย์สำหรับการใช้ในมนุษย์ (CHMP) ขององค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ได้มีข้อคิดเห็นเชิงบวก โดยแนะนำให้อนุมัติออร์เซอร์ดู (ORSERDU(R)) ซึ่งเป็นยาอีลาเซสแทรนท์ (elacestrant) เป็นยาชนิดเดียวในการรักษาผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนหรือผู้ชายที่เป็นโรค มะเร็งเต้านมระยะลุกลามหรือระยะแพร่กระจายชนิดตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นบว กและตัวรับเอชอีอาร์ 2 เป็นลบ (ER+, HER2-) ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน ESR1 ซึ่งมีการลุกลามของโรคหลังจากได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัดอย่างน้อยหนึ่ง รายการ รวมถึงยายับยั้ง CDK4/6
 
คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) จะพิจารณาข้อคิดเห็นดังกล่าวจาก CHMP โดยคณะกรรมาธิการยุโรปมีอำนาจในการอนุญาตให้วางจำหน่ายเวชภัณฑ์สำหรับมนุษย์ ทั่วทั้งสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งหากได้รับการอนุมัติแล้ว สเต็มไลน์และบริษัทในเครือจะเป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นี้ในยุโรป ออร์เซอร์ดูจะเป็นเทคนิครักษาตัวแรกและตัวเดียวในการรักษาเนื้องอกแบบ ER+, HER2- ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน ESR1 โดยการกลายพันธุ์ของยีน ESR1 เป็นการกลายพันธุ์ที่เป็นผลจากการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด และพบในสัดส่วนสูงสุด 40% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามหรือระยะแพร่กระจายชนิด ER+, HER2- และเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่เป็นที่รับรู้ของการดื้อต่อการรักษาด้วยฮอร์โมนบ ำบัดตามมาตรฐานทั่วไป และนับจนถึงวันนี้ เนื้องอกที่มีการกลายพันธุ์ในลักษณะนี้รักษาได้ยาก
 
"ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายต้องการตัวเลือกในการรักษาที่มีป ระสิทธิภาพและทนได้ โดยหากได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมาธิการยุโรปแล้ว ออร์เซอร์ดูอาจกลายเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่อนุญาตให้ใช้รักษามะเร็งเต้านมระยะลุ กลามชนิด ER+, HER2- ที่มีการกลายพันธุ์ของ ESR1 ซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่ส่งผลให้เกิดการดื้อต่อการรักษาในผู้ป่วยมากถึง  40% เมื่อรักษามะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายครั้งที่สอง หากได้รับการอนุมัติแล้ว ออร์เซอร์ดูยังจะเป็นวิธีการรักษาที่สะดวกสบายเพราะเป็นยาชนิดรับประทาน" คุณเอลซิน บาร์เคอร์ เออร์กัน (Elcin Barker Ergun) ซีอีโอของเมนารินี กรุ๊ป กล่าว "เราภูมิใจที่ได้รับข้อคิดเห็นเชิงบวกจากคณะกรรมาธิการผลิตภัณฑ์การแพทย์สำห รับการใช้ในมนุษย์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นของเราในการพัฒนาโซลูชันใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบรับในการรักษาโรคมะเร็ง และทำให้เราเข้าใกล้อีกก้าวหนึ่งในการมอบทางเลือกใหม่ที่สำคัญแก่ผู้ป่วยและ ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายชนิด ER+, HER2- ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน ESR1"
 
ข้อคิดเห็นเชิงบวกที่ CHMP ประเมินไว้ให้กับออร์เซอร์ดูนั้น ได้รับการสนับสนุนโดยข้อมูลจากการทดลองโครงการ EMERALD ระยะที่ 3 ซึ่งปรากฎให้เห็นอัตราการรอดชีวิตโดยโรคสงบ (PFS) ที่มีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ใช้ยาอีลาเซสแทรนท์ เทียบกับการรักษาตามมาตรฐาน (SOC) ซึ่งเป็นการรักษาด้วยฮอร์โมนที่ได้รับการอนุมัติและผู้วิจัยเลือกไว้แล้ว ผลลัพธ์หลักของการทดลองคืออัตราการอยู่รอดโดยโรคสงบในผู้ป่วยทั้งหมดและในผู ้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีน ESR1 ซึ่งในกลุ่มที่มีการกลายพันธุ์ของยีน ESR1 นั้น อีลาเซสแทรนท์มีค่ามัธยฐานของการอยู่รอดโดยโรคสงบ 3.8 เดือน เทียบกับ 1.9 เดือนในการรักษาตามมาตรฐานทั่วไป และมีความเสี่ยงของการลุกลามหรือการเสียชีวิตลดลง 45% (อัตราส่วนอันตราย (HR) การอยู่รอดโดยโรคสงบ=0.55, ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 95%: 0.39, 0.77) เมื่อเทียบกับการรักษาตามมาตรฐานทั่วไป
 
การวิเคราะห์กลุ่มย่อยก่อนหน้านี้ของผลการอยู่รอดโดยโรคสงบของโครงการ EMERALD ซึ่งนำเสนอในงานประชุมมะเร็งเต้านมแซนแอนโทนีโอ (San Antonio Breast Cancer Symposium หรือ SABCS) ประจำปี 2565 บ่งชี้ว่าระยะเวลาการใช้ยายับยั้ง CDK4/6 ก่อนหน้านั้น มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอัตราการอยู่รอดโดยโรคสงบที่นานกว่าในการรักษาด้ วยอีลาเซสแทรนท์ แต่ไม่เป็นเช่นนั้นในการรักษาตามมาตรฐานทั่วไป สำหรับผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีน ESR1 ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยยายับยั้ง CDK4/6 เป็นเวลามากกว่าหรือเท่ากับ 12 เดือนก่อนการสุ่มแบ่งกลุ่มตัวอย่างในโครงการ EMERALD นั้น อีลาเซสแทรนท์มีค่ามัธยฐานการอยู่รอดโดยโรคสงบที่ 8.6 เดือน เทียบกับ 1.9 เดือนในการรักษาตามมาตรฐานทั่วไป และมีการลดลง 59% ของความเสี่ยงของการลุกลามหรือการเสียชีวิต (อัตราส่วนอันตราย (HR)=0.41 ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 95%: 0.26-0.63)[3]
 
 
อ่านต่อเพิ่มเติม https://www.thaipr.net/health/3362172
 
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
110.77.161.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 08/02/23 เวลา 21:35:16 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ส่งโดย: Meeraksa
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 511  
   
49.228.96.*


Page(s) : 1 


แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print



Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by