แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39721: Bioheart (02185.HK) นำเสนอผลการศึกษา Iberis-HTN ที่งาน CIT 2023  (จำนวนคนอ่าน 96 ครั้ง)
« เมื่อ: 07/04/23 เวลา 17:13:44 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ไบโอฮาร์ท (Bioheart) (02185.HK) ร่วมกับบริษัทย่อย แอนจิโอแคร์ (Angiocare) นำเสนอผลการศึกษา Iberis-HTN ทางคลินิก ที่งานประชุมหัตถการปฏิบัติรักษาจีนประจำปี 2566 (China Interventional Therapeutics 2023) โดย Iberis-HTN เป็นการศึกษาวิจัยไปข้างหน้า แบบพหุสถาบัน ปกปิดข้อมูลการรักษา แบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม เพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของ Iberis(R) ซึ่งเป็นเครื่องจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงผ่านสายสวนเพื่อขยายห ลอดเลือดแดงที่ไต (Multi-Electrode Renal Artery Radiofrequency Ablation Catheter System) สำหรับการรักษาความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Primary Hypertension) (NCT02901704) การศึกษานี้นำโดยนักวิชาการ รุ่นหลิน เกา (Runlin GAO) และศาสตราจารย์ เซียงจิง เจียง (Xiongjing JIANG) จากโรงพยาบาลฟู่ไหว้ มีผู้ป่วยเข้าร่วม 217 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า กลุ่มรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยการใช้สายสวนจี้เส้นประสาทอัตโนมัติบริเวณห ลอดเลือดแดงไต (Renal Denervation: RDN) บรรลุผลลัพธ์หลักของการศึกษาประสิทธิภาพ (การเปลี่ยนแปลงค่าความดันโลหิตตัวบนหรือค่าซิสโตลิกโดยเฉลี่ยจากค่าพื้นฐาน สำหรับการวัดความดันโลหิต 24 ชั่วโมงในช่วง 6 เดือนหลังการผ่าตัด) และเหนือกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมโดยวิธีการรักษาหลอก โดยค่าความดันตัวบน 24 ชั่วโมงของกลุ่ม RDN ลดลง 11.93 mmHg เมื่อเทียบกับค่าฐาน ขณะที่ค่าความดันของกลุ่มทดลองด้วยวิธีการรักษาหลอกลดลง 2.58 mmHg การเปลี่ยนแปลงสุทธิระหว่างสองกลุ่มลดลง 9.35 mmHg โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.0001) นอกจากนี้ ไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ สรุปได้ว่า การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของ Iberis(R)
 
เกี่ยวกับ  Iberis(R)2nd
 
Iberis(R)2nd เป็นการทำหัตถการที่ใช้สายสวนทางหลอดเลือดสำหรับการรักษาความดันโลหิตสูง Iberis(R)2nd ได้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนในประเทศจีน ได้รับเครื่องหมาย CE ในสหภาพยุโรปในปี 2559 และเสร็จสิ้นการศึกษาในมนุษย์เป็นครั้งแรก (First in Human trial) ในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน Iberis(R) 2nd เป็นระบบ RDN เพียงหนึ่งเดียวของโลกที่ได้รับเครื่องหมาย CE และสามารถใช้ได้กับทั้งวิธีการสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือ (Transracial Approach: (TRA) และบริเวณขาหนีบ (Transfemoral Approach: TFA) ทั้งนี้ แพทย์มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่เลือกใช้การรักษาด้วยวิธี TRA เพราะมีภาวะแทรกซ้อนบริเวณตำแหน่งที่ใส่ท่อนำสายสวน (Access Site) น้อยกว่า การพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสั้นกว่า และค่ารักษาพยาบาลโดยรวมน้อยกว่า อีกทั้งยังสามารถทำการรักษาด้วยวิธี TRA กับผู้ป่วยนอกได้ Iberis(R)2nd สามารถใช้กับสายสวนหลอดเลือดนำทางขนาด 6F เพื่อตัดวงจรไฟฟ้าผิดปกติในหลอดเลือดหลักและแขนงได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการรักษาดีขึ้น ทั้งนี้ การศึกษา RADIUS-HTN เพื่อติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยหลังวางจำหน่าย เริ่มต้นในปี 2565 ในสหภาพยุโรป เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบ RDN ที่ดำเนินการด้วยวิธี TRA และ TFA ผู้วิจัยหลักของ RADIUS-HTN คือศาสตราจารย์ นายแพทย์เฟลิกซ์ มาห์เฟาด์ Felix Mahfoud (Professor Felix Mahfoud, MD) จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซาร์ลันด์ (Saarland University Hospital) เมืองฮอมบวร์ก/ซาร์ และเป็นประธานคณะทำงานด้านความดันหลอดเลือดแดงแห่งสมาคมโรคหัวใจเยอรมัน
 
เกี่ยวกับไบโอฮาร์ท
 
บริษัท เซี่ยงไฮ้ ไบโอ-ฮาร์ท ไบโอโลจิคอล เทคโนโลยี จำกัด (Shanghai Bio-heart Biological Technology Co., Ltd) หรือ ไบโอฮาร์ท เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์สำหรับการรักษาโรคหัวใ จและหลอดเลือด ด้วยพันธกิจในการ 'เปลี่ยนนวัตกรรมให้เป็นการดูแลที่มีคุณภาพ' โดยมุ่งเน้นไปที่การใส่โครงค้ำยันหลอดเลือดเคลือบยาแบบย่อยสลายได้ (Bioresorbable Scaffold) การใช้สายสวนจี้เส้นประสาทอัตโนมัติบริเวณหลอดเลือดแดงไต (Renal Denervation) และการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนเคลือบยา (Drug Coated Balloon) เพื่อตอบสนองความต้องการทางคลินิกที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
171.101.110.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 08/02/23 เวลา 21:48:17 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ส่งโดย: Meeraksa
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 511  
   
49.228.96.*


Page(s) : 1 


แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print



Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by