แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39649: “บีจีไอ” เผยผลการสำรวจเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั่วโลก  (จำนวนคนอ่าน 124 ครั้ง)
« เมื่อ: 04/08/23 เวลา 11:05:22 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

บีจีไอ จีโนมิกส์ (BGI Genomics) ได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (State of Colorectal Cancer Awareness Report) เพื่อสำรวจทัศนคติและความท้าทายใหญ่หลวงที่สุดเกี่ยวกับความตระหนักรู้และกา รตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (CRC) นับเป็นรายงานฉบับแรกที่ดำเนินการสำรวจระดับโลกเกี่ยวกับโรคมะเร็งชนิดที่พบ มากที่สุดเป็นอันดับสามของโลกอย่างโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่นี้ รายงานดังกล่าวนี้เผยแพร่ในวันอนามัยโลก (World Health Day) ในวันที่ 7 เมษายน 2566 โดยสอดคล้องกับการมุ่งบรรลุ "สุขภาพดีถ้วนหน้า" (Health For All) และมุ่งผลักดันเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสุขภาพในปัจจุบันและอนาคต
 
รายงานฉบับนี้เป็นฉบับแรกในด้านนี้ มุ่งทำความเข้าใจสถานการณ์ความตระหนักรู้เกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้มากขึ้ น รวมถึงทัศนคติและการปฏิบัติในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สำหรับกลุ่มเ สี่ยงโดยทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงโดยกรรมพันธุ์ โดยได้สำรวจความคิดเห็นผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,817 คนจาก 6 ประเทศและภูมิภาค ประกอบด้วย สหราชอาณาจักร (ยุโรปตะวันตก), ฮังการี (ยุโรปตะวันออก), ซาอุดีอาระเบีย (ตะวันออกกลางและแอฟริกา), ไทย (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) และจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง (เอเชียเหนือ)
 
แม้ผู้ตอบแบบสอบถาม 51.5% รายงานว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่เพียงพอ และ 34.5% ระบุว่าเหตุผลด้านต้นทุนทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำ ไส้ใหญ่ ในขณะเดียวกันรายงานยังเผยให้เห็นข้อค้นพบเชิงบวกหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น 88.8% รู้สึกอยากไปเข้ารับการตรวจคัดกรองมากขึ้น เมื่อทราบว่าการตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่เนิ่น ๆ มีอัตราการอยู่รอดระยะเวลา 5 ปีถึง 90%
 
"การตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่แรกเริ่มมอบผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับบุคคล และนโยบายบริการสุขภาพ บางครั้งราคาของการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะท้ายสูงกว่าในระยะแรกเริ่ม มากกว่าสิบเท่า แต่มีอัตราการอยู่รอดต่ำกว่ามาก" ดร. หยานเต๋า หลี่ (Yantao Li)  ผู้อำนวยการฝ่ายการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเ ฉียงใต้ ของบีจีไอ จีโนมิกส์ กล่าว "ด้วยเหตุนี้หลายประเทศหรือภูมิภาคจึงสนับสนุนการตรวจคัดกรองตั้งแต่แรกเริ่ ม ตัวอย่างเช่น ขณะนี้คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) กำลังเร่งเพิ่มการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่"
 
ข้อค้นพบสำคัญอื่น ๆ จากรายงานนี้ มีดังนี้
 
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เป็นการตรวจคัดกรองที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด แต่ยังมีแง่มุมที่สามารถยกระดับความตระหนักรู้เกี่ยวกับการตรวจประเภทอื่น ๆ เช่น การตรวจอุจจาระ แม้การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (68.2%) จะเป็นการตรวจคัดกรองที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด แต่ก็มีราคาสูงกว่าและยุ่งยากกว่าเมื่อเทียบกับการตรวจอุจจาระ ซึ่งเป็นที่รู้จักน้อยกว่าด้วยสัดส่วน 49.5% จึงจำเป็นต้องเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับการตรวจอุจจาระ เพื่อส่งเสริมตัวเลือกนี้ซึ่งมีราคาที่เข้าถึงได้มากกว่าและยืดหยุ่นกว่า
 
แพทย์เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับผู้ตอบแบบสอบถามในการเข้ารับการตรวจเข้ากร องหากไม่มีอาการ โดย 62.5% จะฟังคำแนะนำของแพทย์ให้ไปเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่แพทย์จะต้องตระหนักเกี่ยวกับอาการของโรคมะเร็งลำไส้ ใหญ่มากขึ้น ถามคำถามที่เหมาะสมเพื่อระบุความเสี่ยงทางกรรมพันธุ์ที่มีแนวโน้ม และเสนอตัวเลือกการตรวจคัดกรองประเภทต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วย เพื่อให้สอดรับกับวิถีชีวิตและงบประมาณที่ต่างกัน ในความเห็นของเรา การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ดีที่สุดคือการตรวจที่ผู้ป่วยจะเข้ารับ
 
ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นต่างกันเมื่อถามเกี่ยวกับการนำสมาชิกในครอบครัวไปเข้ารั บการตรวจคัดกรอง โดย 55.7% ทราบว่าประวัติการป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัวเพิ่มความเสี่ยงของตัวพ วกเขาเอง แนวปฏิบัติของเครือข่ายมะเร็งครบวงจรแห่งชาติ (National Comprehensive Cancer Network หรือ NCCN) ชี้ว่า สมาชิกในครอบครัวเหล่านี้ควรเริ่มตรวจคัดกรองเมื่ออายุ 40 ปี หรือ 10 ปีก่อนการวินิจฉัยพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัวเป็นครั้งแรก ข่าวดีคือ 67.2% ของผู้ที่เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมีประวัติการป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ใน ครอบครัวเคยพาสมาชิกในครอบครัวไปเข้ารับการตรวจคัดกรอง แต่ในภาพรวมแล้ว มีเพียง 31.2% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเคยพาสมาชิกในครอบครัวไปเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเ ร็งลำไส้ใหญ่
 
อ่านและดูการเปรียบเทียบระดับประเทศหรือภูมิภาคได้ที่ลิงก์นี้ เพื่อเข้าถึงรายงานสถานการณ์ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของบ ีจีไอ จีโนมิกส์ ประจำปี 2566 ฉบับเต็ม
 
เกี่ยวกับบีจีไอ จีโนมิกส์ และโคโลเทคท์
 
บีจีไอ จีโนมิกส์ (BGI Genomics) มีสำนักงานใหญ่ในเซินเจิ้น ประเทศจีน เป็นผู้ให้บริการโซลูชันการแพทย์แม่นยำแบบบูรณาการชั้นนำระดับโลก โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 บีจีไอ จีโนมิกส์ (300676.SZ) ได้จดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้นอย่างเป็นทางการ ในฐานะบริษัทย่อยของเครือบีจีไอ กรุ๊ป (BGI Group)
 
โคโลเทคท์ (COLOTECT) เป็นการตรวจดีเอ็นเอแบบไม่ล่วงล้ำเข้าสู่ร่างกายซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบีจีไอ จีโนมิกส์ เพื่อใช้ตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่และรอยโรคที่กลายเป็นมะเร็งได้ โคโลเทคท์ใช้เทคโนโลยีพีซีอาร์เจาะจงเมทิเลชันแบบมัลติเพล็กซ์ (multiplex methylation-specific PCR หรือ MSP) เพื่อหาดีเอ็นเอเมทิเลชันผิดปกติที่เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับมะเร็งลำไส ้ใหญ่จากตัวอย่างอุจจาระ โดยมีความไวต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ 88% และสำหรับการตรวจพบตั้งแต่แรกเริ่ม มีความไวในการตรวจพบเนื้องอกเสี่ยงสูงอยู่ที่ 46% ซึ่งทั้งสองอัตรานี้ถือว่าเหนือกว่าการตรวจอุจจาระแบบดั้งเดิม
 
https://mma.prnewswire.com/media/2049211/Is_CRC_information_readily.jpg" alt="" border="0">
 
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2049211/Is_CRC_information_readily.jpg
 
คำบรรยายภาพ - มีข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่เพียงพอหรือไม่
 
https://mma.prnewswire.com/media/2049212/image_5011512_29694509.jpg" alt="" border="0">
 
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2049212/image_5011512_29694509.jpg
 
คำบรรยายภาพ - ปัจจัยใดทำให้คุณไม่เข้ารับการตรวจคัดกรอง
« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: 04/08/23 เวลา 11:06:19 by IQ »
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
167.179.226.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by