เพราะจากผลการศึกษาเห็นได้ว่า
ผู้ติดเชื้อ HIV
ที่มีความเครียดมาก ๆ
จะเป็นการเพิ่ม ความเสี่ยง
ต่อการพัฒนาเป็นโรค AIDS
ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้
ยังพบอีกว่า
ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม
ที่มีความเครียด
จะมีโอกาสหายจากโรคร้ายนี้น้อยกว่าผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดีถึง
6 เท่า
Janice Kiecolt-Glaser
นักจิตวิทยาแห่ง Ohio State University
ระบุว่า
สภาพแวดล้อมรอบตัวนั้น
มีความสำคัญต่อการมีสุขภาพที่สมบูรณ์
สิ่งที่คนเราควรจะต้องคำนึงถึงคือการรักษาสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัยร่างกาย
เพื่อให้สามารถต่อสู้กับความเจ็บป่วยต่าง
ๆ ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุในวัย
60-70 ปีนั้น
ยิ่งต้องระมัดระวังในเรื่องของความเครียดให้มาก
ส่วนผู้ที่ยังไม่เข้าสู่วัยสูงอายุนั้น
ความเครียดมักจะนำไปสู่โรคหวัด
หรือไข้หวัดใหญ่
แต่ถ้าหากมีการใช้ชิวิตที่ปราศจากความเครียดใน
ความเจ็บป่วยดังกล่าวก็จะลดลง
Kiecolt-Glaser
กล่าวต่อไปว่า
เมื่อเรามีความเครียด
จะเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นเล็กน้อย
กับการทำงานของ Immune
ซึ่งบางคนอาจจะเกิดความเจ็บป่วยได้จากความเปลี่ยนแปลง
ในการทำงานของระบบดังกล่าว
และจะไปทำให้ร่างกายปล่อง
Hormone ที่เรียกว่า ACTH ออกมา และ
ACTH นั้น จะเป็นกระตุ้นต่อม
Adrenal ให้ขับ Hormone
อีกชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Cortisol
ซึ่งจะไปเกาะติดอยู่กับเซลซึ่งเป็นตัวต่อสู้เชื้อโรค
ในระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
ซึ่งเมื่อเซลดังกล่าว มี Cortisol
มาเกาะติดอยู่มาก ๆ เข้า
ก็จะทำให้เซลนั้น
ทำหน้าที่ของตนเองได้ไม่เต็มที่
อย่างไรก็ตาม
นักจัตวิทยากล่าวว่า
ความเครียดบางอย่าง
ก็ไม่นับว่าไปบั่นทอนระบบภูมิคุ้มกัน
อย่างเช่น
ความเครียดจากรถติด
โดยนักวิจัยอธิบายว่า
นักเดินทางที่ประสบปัญหาดังกล่าว
จะรู้อยู่แล้วว่า
ความหงุดหงิดในปัญหาที่ประสบอยู่นั้น
สักพักจะหายไป แต่ความเครียดในระยะยาว
เช่นผู้ที่ประสบปัญหาหย่าร้าง
หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
เป็นกลุ่มที่จะเพิ่มความเสี่ยง
ต่อการเป็นโรคร้ายต่าง ๆ
หรือมีการเจ็บป่วยที่มากขึ้นกว่าเดิม
Cover Story from CNN Health
http://www.cnn.com/2000/HEALTH/12/27/stress.health/index.html