ทั้งนี้ Wilfried Karmaus ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้นำในการวิจัย กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนระหว่างทารกเพศชายและเพศหญิงนั้น มีปัญจัยในเรื่องของสภาพแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือจะกล่าวได้ว่า
สภาพแวดล้อมมีบทบาทสำคัญในการเกิดของมนุษย์
สำหรับ PCBs นั้น คือ endocrine diaruptor ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำงานเหมือนฮอร์โมน ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยมีการค้นพบว่า
สารเคมีที่มีความเกี่ยวข้องกับสารดังกล่าวคือ
dioxins สามารถสร้างความผิดปกติให้กับอวัยวะสืบพันธ์ของปลาและจรเข้
สำหรับในมนุษย์ทั้ง dioxins และ PCBs สามารถทำให้เกิดมะเร็ง เกิดภาวะการเจริญพันธุ์ และความเปลี่ยนแปลงในเรื่องเพศอื่น ๆ ได้
สำหรับงานวิจัยชิ้นล่าสุดนี้ ผู้เชี่ยวชายได้มุ่งศึกษาชายและหญิง ไม่ต่างจากการศึกษาปลาในทะเลสาบ Great Lake ซึ่งมีมลภาวะ มีสารเคมีหลายชนิด โดยได้เก็บข้อมูลจากการโทรศัพท์สัมภาษณ์ พร้อมกับวัดระดับ PCBs และสารเคมีอื่น ๆ ในเลือด ได้ผลออกมาว่า จากจำนวนครอบครัว 101 ครอบครัว ที่มีเด็กทารกเกิดหลังปี 1963 ทั้งพ่อและแม่ถูกตรวจพบสาร PCBs ในเลือด มีเด็กเกิดจำนวน 208 คน ในจำนวนนั้น 57% เป็นเด็กผู้ชาย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มจากปกติ ที่มีเด็กทารกชายเกิด 51% แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ ไม่ได้ตรวจพบว่า ระดับ PCBs ในเลือดของแม่ มีผลต่อจำนวนเด็กที่เกิดเป็นชาย หรือหญิง
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเน้นว่า ผลงานของเขานี้ เป็นเพียงการศึกษาในกลุ่มเล็ก ๆ
ซึ่งอาจจะยังไม่เพียงพอที่จะนำมาสรุปผลกับคนจำนวนมาก อีกทั้งยังกล่าวอีกด้วยว่า มีงานวิจัยที่ขัดแย้งกันในประเทศอิตาลี ที่ระบุว่า ภาวะดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดทารกเพศหญิงมากกว่า
สำหรับสาร PCBs นั้น มาจากแหล่งอุตสาหกรรมหลายแหล่ง รวมทั้ง hydraulic fluids อุตสาหกรรมน้ำมัน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์
Reference
http://www.cnn.com/2002/HEALTH/parenting/01/29/pcbs.boys.reut/index.html