ThaiClinic.com

Logo Thaiclinic.com bannerthaiclinicnewswelcomeclr.gif (15099 bytes)
Main PageWhat's New!!!Medical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiClinic Newsfoldspaceup.gif (292 bytes)Contact Me,Dr.OU

แพทย์หาวิธีวินิจฉัยอาการตาขี้เกียจแต่เนิ่นๆ 
lazy eye Amblyopia , สายตา มองไม่เห็น

ตาขี้เกียจ นับว่าเป็นปัญหาร้ายแรงเกี่ยวกับความผิดปกติของตาในเด็กทารก ซึ่งถ้าหากตรวจพบตั้งแต่ระยะ 6 เดือนแรก จะสามารถแก้ไขอาการให้หายเป็นปกติได้ง่าย แต่ถ้ารอนานเกินไป ตาข้างหนึ่งนั้นอาจจะสูญเสียการมองเห็นไปเลยก็ได้ 


แต่เราจะมีวิธีการทดสอบตาของเด็กทารกได้อย่างไร

การทดสอบอาการตาขี้เกียจ หรือ lazy eye ในเด็กวัยหัดเดินด้วยแสงสีแดงจากแฟล็ชกล้องถ่ายภาพ หรือจากซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ชุดใหม่ ๆ แต่นักวิทยาศาสตร์ คาดหวังจะหาวิธีการในการทดสอบตาของเด็กทารกได้ด้วย โดยวิธีการทดสอบนั้น ควรเป็นวิธีที่ง่าย ไม่เฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาดวงตาเท่านั้นที่จะทำได้ แต่กุมารแพทย์ ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก หรือแม้กระทั่งตามห้างสรรพสินค้า ก็น่าจะมีสถานที่ทดสอบได้ ซึ่งถ้าหากเป็นไปตามนั้น Dr.Gerhard Cibic หัวหน้าศูนย์ดวงตาของ Mercy Hospital ในเมือง Kansas City กล่าวว่า ถ้ากุมารแพทย์สามารถตรวจตาขี้เกียจได้ ผู้ปกครองก็ไม่ต้องรอผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตาแต่อย่างใด

Dr.Gerhard Cibic กล่าวว่า ปัญหาที่พบในปัจจุบันก็คือ เด็กจำนวนไม่ถึงครึ่ง ได้รับการวินิจฉัยอาการตาขี้เกียจก่อนวัยอนุบาล ซึ่งนั้นส่งผลให้เก็กในวัยเรียนจำนวนถึง 1 ใน 4 มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น และผู้เชี่ยวชาญบอกว่า เป็นเพราะส่วนใหญ่แล้ว เด็ก ๆ เหล่านี้ ขาดการตรวจสอบตาอย่างถูกต้องก่อนที่จะก้าวเข้าสู่วัยเรียน หรือบางคนเด็กบางคนไม่ได้รับการดูแลรักษาอาการอย่างถูกต้อง ดังนั้น จึงมีคำกล่าวเตือนจากงานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นว่า 80% ของเด็กทีมีปัญหาในเรื่องของการอ่านนั้น จะมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาที่ไม่สัมพันธ์กัน หรือมีปัญหาเรื่องของการโฟกัส

ชาร์ตสำหรับการตรวจตา หรือแม้กระทั่งสัญญาลักษณ์ที่นำมาใช้ในการตรวจสำหรับเด็กเล็ก ๆ นั้น ยังไม่เพียงพอ แม้อุปกรณ์เหล่านั้นจะสามารถตรวจอาการสายตาสั้นได้ แต่ไม่สามารถทดสอบการโฟกัส และการปรับเปลี่ยนระยะโฟกัส อย่างเหมาะสมในแต่ละระยะห่างได้ 

ภาวะตาขี้เกียจนี้ เกิดขึ้นในเด็กราว ๆ 5 % โดยตาข้างหนึ่งสามารถใช้งานได้ดีกว่าตาอีกข้างหนึ่ง และมันจะทำหน้าที่แทนตาข้างที่อ่อนแอ จนตาข้างที่อ่อนแอนั้น ไร้ประโยชน์ไปในที่สุด

การตรวจรักษาอาการตาขี้เกียจ ตั้งแต่ในวัยเด็ก ก่อนวัยเรียนอนุบาลเป็นแนวทางที่ผู้เชี่ยวชายแนะนะ หรืออย่างน้อยควรตรวจรักษาก่อนอายุ 9 ปี ซึ่งจะเป็นวัยที่สองและตา ทำงานประสานกันอย่างลงตัว โดยการรักษานั้น สามารถจะทำได้โดยการบริหารให้ตาข้างที่อ่อนแอ ทำงานได้ดีขึ้น

ในการตรวจเช็คการมองเห็นของเด็กนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Ophthalmoscope ส่องเข้าไปใน รูม่านตา เพื่อให้เกิด red reflex เหมือนกับ red-eye ที่เกิดจากแฟล็ชกล้อง และเปรียบเทียบปฏิกิรยาของแสงจากตาดำกับขนาดของม่านตา ระยะห่างของแสง และ light's angle ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะสามารถวินิจฉัยอาการสายตาสั้น สายตายาว ตาขี้เกียจและอาการอื่น ๆ ได้

ถ้าตาทั้งสองข้างมีปัญหาเดียวกัน เด็กก็อาจจะต้องใส่แว่นสายตา แต่ถ้าตาข้างหนึ่งมีปัญหาสายตาสั้น ในขณะที่อีกข้างหนึ่งสายตายาว หรือไม่สามารถโฟกัสร่วมกันได้ นั่นอาจจะนำไปสู่ภาสะตาขี้เกียจ

ปัจจุบันมีผู้ที่มีทักษะซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยอาการตาขี้เกียจนี้ได้ไม่มากนัก ยิ่งถ้าเด็กเล็กไม่ให้ความร่วมมือ การตรวจวินิจฉัยก็จะไม่ได้ผล ดังนั้น Jim Kelley วิศวกรคอมพิวเตอร์จาก University of Missouri -Columbia จึงได้ร่วมกับ Lion Club พัฒนาซอฟต์แวร์ ซี่งสามารถสแกนวีดีโอเทปหน้าของเด็ก ตeแหน่งรูม่านตา และวัด red erflex ได้ เพื่อที่จะช่วยในการตรวจวินิจฉัยอาการดังกล่าว ซึ่งจากการทดลองพบว่า ซอฟต์แวร์ตัวนี้ มีความแม่นยำ 90% และมีการคาดการณ์กันว่า จะสามารถนำออกทำลองในวงกว้างได้ ในเดือนธันสาคมนี้ และจากนั้น จึงจะนำระบบต่าง ๆ ออกติดตั้งตามสถานที่ที่สามารถให้บริการได้อย่างสะดวกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

แต่อย่างไรก็ตามในระยะนี้ Dr.Lesley Walls ประธานของหน่วยงาน Optometry แห่ง Southern California College แนะนำว่า พ่อแม่ผู้ปกครองควรจะนำเด็กเข้าตรสจตา ไม่ใช้เพียงแค่ให้มองชาร์ตวัดสายตาที่ใช้กันอยู่เท่านั้น แต่จะต้องเข้ารับการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด ก่อนที่เด็กจะเข้าสู่วัยเรียน

นอกจากนี้ the American Optometric Association ยังแนะนะอีกว่า เราควรตรวจตาเป็นประจำทุก 2 ปี โดยเริ่มตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป และต้องเข้ารับการตรวจบ่อย ๆ ถ้าหากพบความผิดปกติใด ๆ เกี่ยวกับการมองเห็น

related article : ตาขี้เกียจ โดย นพ.ณวัฒน์ วัฒนชัย

Main PageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiclinic Newsfoldspacebottom.gif (372 bytes)Contact Me,Dr.OU

Created and Desiged by  หมออู๋
4 October 2001

Copyright (c) 1998-2001, ThaiClinic.com. All Right Reserved.