ข้อแนะนำในการเลือกซื้อรองเท้า
1.
ในการวัดขนาดเท้าควรวัดทั้งสองข้าง เนื่องจากขนาดเท้าแต่ละข้างอาจจะไม่เท่ากัน
2.
ขณะวัดขนาดเท้าควรอยู่ในท่ายืน เพราะเวลายืนเท้าจะขยายออกมากกว่าปกติ
3.
ควรวัดขนาดเท้าในช่วงเย็น เพราะจะมีการบวมเกิดขึ้น ทำให้ขนาดใหญ่กว่าตอนเช้า
4.
ควรเลือกซื้อรองเท้าที่มีขนาดกว้าง ยาว พอดีกับเท้า โดยเหลือพื้นที่ส่วนปลายเท้าไว้เล็กน้อย
ถ้าเหลือไว้มากเกินไป จะทำให้ขณะเดินมีการเลื่อนของเท้าได้มาก
ซึ่งเมื่อมีการเสียดสีกับรองเท้าจะเกิดเป็นแผล
หรือมีการพองของผิวหนังขึ้นมาได้
5.
ส่วนหลังของรองเท้าควรกระชับพอดีกับส้นเท้า ตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีการเลื่อนหลุดของส้นเท้าเวลาเดิน
6.
ใส่รองเท้าแล้วลองเดิน เพื่อให้แน่ใจว่าสวมได้พอดี และรู้สึกสบาย จริง ๆ
7.
ไม่ควรเลือกรองเท้าโดยดูที่เบอร์อย่างเดียว เพราะรองเท้าแต่ละยี่ห้อเบอร์เดียวกันขนาดอาจไม่เท่ากัน
8.
ควรเลือกซื้อรองเท้าที่สวมได้พอดี และเข้าได้กับรูปเท้าของเรามากที่สุด
9.
ควรวัดขนาดเท้าทุกครั้งที่ซื้อรองเท้า เพราะขนาดเท้าอาจเปลี่ยนไปจากเดิมเมื่อเวลาผ่านไป
10.
เมื่อลองแล้วรู้สึกว่ารองเท้าคู่ที่คุณชอบนั้นคับเกินไปก็ไม่ควรซื้อมาใส่
โดยคิดว่าเมื่อใส่ไปนานๆแล้วมันอาจขยาย
ออกมาจนพอดี เพราะว่าเท้าของคุณจะมีปัญหาเกิดขึ้นเสียก่อน
11.
ถ้าหากเท้าทั้งสองข้างของคุณมีขนาดไม่เท่ากัน ก็อาจแก้ไขได้โดยเสริมส่วนพื้นด้านในของรองเท้าให้พอดีกับเท้าข้างที่เล็กกว่า
ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการซื้อรองเท้าคู่แรกให้กับเด็ก ๆ คือตอนที่พวกเขาเริ่มยืนหรือเดิน
การไปเลือกดูในร้านรองเท้าที่ขายรองเท้าสำหรับเด็กโดยเฉพาะ
ซึ่งจะมีรูปแบบและขนาดของรองเท้าไว้ให้เลือกมาก จะทำให้คุณได้รองเท้าที่มีรูปแบบเหมาะสมและใส่ได้พอดีกับเท้าของเด็กมากที่สุด
ไม่ควรให้เด็กใส่รองเท้าที่คับแน่นจนเกินไป
รองเท้าที่เหมาะสมสำหรับเด็กควรมีความอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น และเมื่อสวมแล้วมีพื้นที่ในรองเท้าเหลืออยู่พอสมควร
บริเวณส่วนหัวของรองเท้าควรมีพื้นที่เหลือพอที่จะให้นิ้วเท้าขยับได้ และเผื่อไว้สำหรับเท้าที่จะเจริญเติบโตขื้นอีก
( พื้นที่ขนาดหนึ่งนิ้วมือจะหายไปใน 3 - 6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ
และอัตราการเจริญเติบโตของเด็ก
) การที่เด็กสวมรองเท้าไม่ติดเท้า มักถอดรองเท้าออกบ่อย
ๆ อาจเกิดจากรองเท้าไม่พอดี ทำให้รู้สึกไม่สบายในขณะสวมใส่
คุณควรตรวจดูที่เท้าของเด็กว่ามีร่องรอยที่แสดงถึงการใส่รองเท้าคับเกินไปหรือไม่
เช่น
รอยแดง รอยด้าน หรือ การพองของหนังเท้า และควรนำเด็กไปวัดขนาดเท้าเป็นครั้งคราวเพื่อดูว่าขนาดใหญ่ขึ้น
จนถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนรองเท้าคู่ใหม่แล้วหรือยังพึงระลึกไว้ว่า
วัตถุประสงค์หลักของการใส่รองเท้าก็เพื่อปกป้องเท้าไว้
ไม่ให้ได้รับอันตราย
รองเท้าแทบจะไม่มีส่วนช่วยแก้ไขการเจริญที่ผิดปกติ หรือการผิดรูปของเท้าเด็ก
ซึ่งอาจจำเป็นต้อง
ได้รับการใส่เฝือก
ใส่เครื่องพยุงขา หรือผ่าตัด
รองเท้าบุรุษ
รองเท้าสตรี
สำหรับคุณผู้หญิงรองเท้าที่ดีควรมีส่วนหัวของรองเท้ากว้าง และส้นไม่สูงจนเกินไปนัก
( ควรสูงไม่มากกว่า 1 นิ้วฟุต ) รองเท้าส้นสูงที่มีส่วนหัวของรองเท้าแคบ
มักเป็นสาเหตุของความผิดปกติทาง ออร์โธปิดิกส์หลายอย่าง
ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บและอาการปวดของนิ้วเท้า ข้อเท้า หัวเข่า น่อง และหลัง
รองเท้าส้นสูงเกือบทั้งหมด
มักมีส่วนหัวของรองเท้าที่แคบเรียว
ทำให้นิ้วเท้าถูกบีบเข้ามาหากันมากจนผิดรูปไป
นอกจากนี้ยังทำให้มีการกระจายน้ำหนักตัวไปยังแต่ละส่วนของเท้าอย่างไม่เหมาะสม
โดยที่น้ำหนักตัว
จะไปลงที่บริเวณปลายเท้ามากกว่าส่วนอื่น
และถ้าหากส้นยิ่งสูงมากขึ้นน้ำหนักที่จะยิ่ง
ลงไปยังส่วนปลายเท้ามากขึ้น
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบาย หรือการผิดรูปไปของนิ้วเท้า
เช่น
painful
bunions , hammertoes เป็นต้น
แม้แต่รองเท้าที่ส้นไม่สูงก็สามารถทำให้เกิดปัญหาได้ถ้าหากรองเท้านั้นสวมใส่ไม่พอดี
เมื่อใช้ไปนาน ๆ
ก็ทำให้เกิดการผิดรูปของเท้าได้เช่นกัน
รองเท้ากีฬา
จุดมุ่งหมายในการออกแบบรองเท้ากีฬาก็เพื่อปกป้องเท้าของนักกีฬาจากแรงเค้นภายนอกที่มากระทำต่อเท้า
และเพื่อให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างพื้นรองเท้ากับพื้นสนามมากพอที่จะทำให้เล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และไม่เกิดอุบัติเหตุ
รองเท้าสำหรับกีฬาแต่ละประเภทจะถูกออกแบบมาแตกต่างกันไป
ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง
น้ำหนัก
วัสดุที่ใช้ หรือ ลักษณะการผูกเชือก ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันส่วนของเท้าจะได้รับแรงเค้นมากที่สุด
ดังนั้นในการใช้รองเท้ากีฬาจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับกีฬา แต่ละประเภทโดยมีหลักอยู่ว่ารองเท้านั้น
จะต้องสวมใส่ได้กระชับพอดี
จึงจะไม่กัดเท้าและไม่ทำให้เกิดการพองของผิวหนัง
โดย
นายแพทย์ ปิยชาติ สุทธินาค
เรียบเรียงจาก
http://www.aaos.org/wordhtml/pat_educ/shoes.htm