โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์(Rheumatoid Arthritis)
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
เป็นโรคในกลุ่ม ออโตอิมมูน
ครับ ข้อจะมีการอักเสบเรื้อรัง ถ้าเป็นอยู่นานและไม่ได้รับการรักษาที่ดี
ทำให้เกิดข้อพิการผิดรูปได้ครับ
ส่วนใหญ่หรือเรียกได้ว่าเกือบทั้งหมดของโรคนี้ จะเกิดขึ้นกับข้อเล็ก ๆ ของนิ้วมือ และข้อมือครับ
และต้องเป็นหลาย ๆ ข้อ
เมื่อมีความรุนแรงขึ้น จึงเกิดขึ้นที่ข้อใหญ่ขึ้น ข้อที่อักเสบมักเป็นทั้งสองข้างในข้อตำแหน่งเดียวกัน
เช่น ข้อเข่าทั้งซ้ายและขวา ข้อมือทั้งซ้ายและขวาเป็นต้น
อาการ
อาการส่วนใหญ่มักเป็น
อาการปวดข้อ
นิ้วมือ ข้อมือ และข้ออื่นที่ปวด และมี
อาการข้อติดยึด
เคลื่อนไหวลำบาก
มักเป็นมากในตอนเช้า
และใช้เวลามากกว่าครึ่งชั่วโมง กว่าจะขยับข้อได้ดี และอาการทั้งหมดต้องเป็นตลอดมาติดต่อกันมากกว่า
6 สัปดาห์ครับ ผู้ป่วยบางรายอาจมีตุ่มก้อนรูมาตอยด์ขึ้นตามข้อศอกหรือข้อมือครับ
โรคนี้มักมีอาการทางข้อเด่น ส่วนอาการในระบบอื่น พบไม่บ่อย แต่ก็พบได้ เช่น ปอดอักเสบ น้ำในช่องปอด เป็นต้น
การวินิจฉัย
อาศัยการซักประวัติที่มีอาการข้างต้น ร่วมกับการตรวจข้ออย่างละเอียด และ
ตรวจเลือดพบรูมาตอยด์แฟคเตอร์ ให้ผลบวก
ส่วนการถ่ายภาพรังสีของข้อ มักไม่จำเป็นในรายที่อาการและการตรวจร่างกายชัดเจนครับ
เนื่องจากโรคนี้ทำให้เกิดข้ออักเสบ และถ้าไม่รักษาจะเกิดการทำลายข้อทำให้ผิดรูป และใช้งานข้อไม่ได้
เกิดความพิการขึ้นครับ จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์เสมอครับ
ไม่ควรรักษาเอง
1. ยาที่ใช้รักษาหลักได้แก่
ยาต้านการอักเสบที่มิใช่สเตอรอยด์
ครับ
ยาดีที่สุดได้แก่ แอสไพริน
นั่นเองครับ
ในระยะแรกที่ข้ออักเสบมาก มีอาการปวดมาก อาจต้องกินในขนาดสูง (อาจสูงถึงวันละ 10-12 เม็ด)
นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจได้รับยา
คลอโรควิน
เพื่อควบคุมโรคให้เข้าสู่ภาวะสงบได้ดีขึ้น โดยทั่วไปเริ่มกินยาวันละ 1 เม็ด
เมื่ออาการดีขึ้นจะลดยาลงเป็นลำดับ ยาชนิดนี้ จะทำให้โรคสามารถควบคุมได้ดี และลดความพิการผิดรูปได้ครับ
2.
ผลข้างเคียงของแอสไพริน อาจระคายกระเพาะอาหารได
้ แต่สามารถเลี่ยงผลนี้ได้เมื่อกินยานี้ พร้อมอาหาร หรือหลังอาหารทันทีครับ
ส่วนคลอโรควิน มีผลข้างเคียงน้อยมาก อาจทำให้ผิวคล้ำได้เล็กน้อย เมื่อใช้ในระยะแรก การกินยาในระยะยาวเป็นปี โดยไม่ลดยาลง
อาจทำให้เกิดผลเสียต่อตาได้ครับ
3.
ไม่ใช้ยาสเตอรอยด์ ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เด็ดขาด
เพราะนอกจากทำให้ผู้ป่วย
ได้รับ
ผลข้างเคียงของยามากมาย
เช่น หน้ากลม, แผลในกระเพาะอาหาร, ติดเชื้อง่าย, แผลหายยาก, ผิวบาง, เป็นเบาหวาน, กระดูกผุ
แล้ว ยังเกิดผลเสียในระยะยาวทำให้ผู้ป่วย"ติดยา" เลิกยาไม่ได้ซึ่งยาดังกล่าวมักพบผสมในยาชุด ยาลูกกลอน ยาหม้อ ยาต้ม
ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
นอกจากนี้
ยาสเตอรอยด์ ได้รับการศึกษาพิสูจน์แล้วว่า "ไม่ช่วย" ทำให้ผู้ป่วยเกิดความพิการน้อยลงแต่อย่างใด
ผิดกับยาคลอโรควินครับ
4. ต้องคอยบริหารข้อ เพื่อป้องกันการยึดติด และข้อผิดรูป การบริหารควรทำทุกวัน บ่อย ๆ ซึ่งวิธีทำไม่ยากเลย และใช้เวลาน้อย
มีแค่ 2 ท่าเองครับ
-
ท่าแรก
ท่าพนมมือ โดยให้ผู้ป่วยพนมมือ ใช้แรงพอควรดันเข้าหากัน จะช่วยทำให้ข้อไม่ยึดในท่างอนิ้ว และช่วยยืดข้อออก
ทำให้ทำงานได้ นอกจากนี้การออกแรงพอควร ทำให้ช่วยบริหารข้อไหล่, ศอก และข้อมือด้วย เมื่อพนมมือสักครู่ ให้ยกมือขึ้น
บนเหนือศีรษะ และยืดให้สุด แล้วยืดแขนออกมาด้านหน้า
-
ท่าที่สอง
(ถ้ามีข้อเข่า ข้อเท้า อักเสบด้วย) ให้นั่งเก้าอี้ห้อยเท้า ยกขาขึ้นให้เข่าตรง และกระดกหลังเท้าขึ้น ทำท่านี้ค้างไว้
นับ 1-10 (ประมาณ 10 วินาที) แล้ววางลง ทำสลับข้าง ซ้าย-ขวา ทำทั้งสองท่าบ่อย ๆ ทุกวัน (อย่างน้อย วันละ 10-20 ครั้ง)
จะสามารถป้องกันความพิการได้
5. ไปตรวจรักษากับแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ อาจไปตรวจกับแพทย์อายุกรรมทั่วไป หรืออายุรกรรมโรคข้อ ก็ได้ครับ
หรือจะไปตรวจรักษาตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เช่น ศิริราช, รามา, จุฬา หรือที่อื่น ๆ ก็ได้ครับ ที่เดินทางสะดวก
เพราะต้องรักษาในระยะเวลานาน
โดย
นพ.มานพ พิทักษ์ภากร
อายุรแพทย์
This Web Page Design & Created by
Dr.OU
13 Sep 1998
Copyright (c) 1998.
ThaiClinic.com
. All rights reserved.