mainpageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineContact Me
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ โรค เอดส์

ถ้าโดนเข็มตำ โอกาสติดเชื้อ HIV  มีเท่าใด  ควรทำอย่างไร?
      โอกาสของผู้ที่โดนเข็มตำแล้วติดเชื้อจากการศึกษาในอเมริกา มีประมาณ 4 ใน 1,000 ราย 
      (อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อหรือไม่ เป็น All or none นะครับ คือใครติดก็ติด
      ใครไม่ติดก็ไม่ติด ครับ ไม่ใช่ว่าต้องโดนตำ 250 ครั้ง ถึงจะเป็นได้)

      วิธีที่ดีที่สุด คือ ควรแจ้งให้หน่วยงานนั้นทราบโดยเร็วที่สุดเพื่อหาว่าเข็มมาจากไหน 
      แล้วตรวจเลือดเพื่อดูว่าเราติดเชื้อ HIVอยู่ก่อนหรือไม่ แล้วตรวจซ้ำอีกทีหลัง 2 เดือนไปแล้ว 
      ถ้ากังวลมาก ระหว่างนี้ควรกินยาต้านไวรัสเอดส์ 6 สัปดาห์ครับ (กินหรือไม่แล้วแต่คุณเอง)
      ถ้าตรวจครั้งแรกไม่พบ แล้วครั้งที่สองพบ ถือเป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานนะครับ 
      ต้องชดเชยค่าเสียหาย


ถ้าเกิดความเสี่ยง ถ้าต้องการเจาะเลือด ควรเจาะเมื่อใด?
การตรวจทั่วไป โดยใช้หา Anti-HIV จะให้ผลบวกหลังได้รับเชื้อราว 6-12 สัปดาห์
ส่วนการตรวจหาเชื้อโดยตรง (HIV RNA) แม้จะตรวจหาได้เร็วกว่า (2-4 สัปดาห์
หลังได้รับเชื้อ) ก็ไม่แนะนำให้ตรวจ เพราะราคาแพงมาก (ประมาณ 6 พันถึง 1
หมื่นบาท) และไม่ได้เปลี่ยนแปลงการรักษาอะไร

ถ้าเกิดติดเชื้อ อาการจะเป็นอย่างไร?
ระยะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV แบ่งเป็น
- ระยะแรก หลังการติดเชื้อ 2-4 สัปดาห์ บางคนจะมีไข้หนาวสั่นครั่นเนื้อครั่นตัว 
เป็นอยู่ไม่นาน 2-3 วันแยกไม่ได้จากไข้หวัดธรรมดาแล้วจะหายไปเอง 
เรียกระยะนี้ว่า Acute HIV syndrome
- ระยะต่อมาจะไม่ปรากฏอาการ แต่ตรวจเลือดให้ผลบวก (Asymptomatic HIV infection)
กินเวลา 2-5 ปี แล้วแต่สภาพร่างกายและสายพันธุ์ของไวรัส
สำหรับสายพันธุ์เมืองไทย พบว่าระยะนี้สั้นมากราว 2-3 ปีเท่านั้นผิดกับอเมริการาว 5 ปี
- ต่อมาเริ่มมีอาการ เรียก Symptomatic HIV infection
เริ่มด้วยอาจมีไข้เรื้อรัง, ผอมลง น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ, ท้องเสียเรื้อรัง,
ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วตัว  ระยะนี้มีไม่นาน ราว 6 เดือน-1ปี
- ระยะท้ายจะมีการติดเชื้อฉวยโอกาส จากภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ฝ้าในปาก,
ปอดอักเสบจากเชื้อ pneumocystis, เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา, งูสวัดรุนแรง,
เริมชนิดรุนแรง, จอประสาทตาอักเสบจากไวรัส, ผื่นผิวหนัง, ...
การอยู่รอดเฉลี่ยจะนานหรือไม่ขึ้นกับความรุนแรงของโรคติดเชื้อเหล่านี้
โดยทั่วไปไม่เกิน 1-2 ปี

ถ้าต้องอยู่ร่วมกับ ผู้ติดเชื้อต้องทำอย่างไร?
การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย และผู้ดูแล, ญาติ อาศัยหลัก "Universal precaution"
อย่างเคร่งครัด คือ นึกไว้เสมอว่าคนอื่นทุกคน มีโอกาสจะมีเชื้อ HIV อยู่ในตัว
แม้จะไม่มีอาการ ดังนั้น ห้ามสัมผัส เลือด, เสมหะ, สารคัดหลั่งทุกชนิด ที่ออกมา
โดยไม่มีภาชนะหรือเครื่องป้องกัน เช่นถุงมือ, แว่นตา, ถุงใส่ขยะติดเชื้อ
เด็ดขาด และถ้าจะมีเพศสัมพันธ์ต้องมีเครื่องป้องกัน คือถุงยางอนามัย เสมอ
MainpageWhat's NewMedical BibleClinic Onlinecontact Me

This Web Page Design & Created  by  Dr.OU
16 September 1999

Copyright (c) 1998-1999. ThaiClinic.com. All rights reserved.