การดื่มชาช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
ก่อนหน้านี้มีการวิจัยพบว่า |
Dr. Michael Gazino ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจของ Harvard Medical School
ได้ทำการศึกษาและพบความเกี่ยวเนื่องของการดิ่มชากับอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ ซึ่ง
Dr. Michael Gaziano กล่าวว่า ความเกี่ยวเนื่องดังกล่าวอาจเป็นเพราะชา มีส่วนประกอบของ
Flavonoids ซึ่งทำให้เซลเม็ดเลือดไม่จับตัวกันเป็นก้อนจนอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจFlavonoids ยังเป็น Antioxidant ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอีกอย่างหนึ่ง ที่ช่วยลดความเสียหาย
อันเป็นผลมาการขาดออกซิเจนของร่างกาย อย่างในกรณีผู้ที่มีไขมันในเส้นเลือดแดงมาก
ยิ่งไปกว่านั้น นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ยังตื่นเต้นไปกับคุณประโยชน์ของ Flavonoid
ซึ่งนอกเหนือไปจากชาแล้ว ยังพบสารชนิดนี้ในผัก ผลไม้ และไวน์แดงเมื่อไม่นานมานี้ Royal Society of Medicine แห่งกรุง London ยังได้สนับสนุน
กรณีดังกล่าวข้างต้น ด้วยการแนะนำว่าการดื่มชาจะเป็นผลดีต่อหัวใจแล้วDr. Michael Gaziano รายงานผลการวิจัยด้วยว่า ผู้ที่ดื่มชาวันละแก้ว หรือมากกว่านั้น
ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ถึง ๔๔ เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม ในขณะที่
Dr. Catherine Rice-Evan นักวิจัยด้าน Antioxidant จาก King's College แห่งกรุง London
กล่าวว่า ในความคิดเห็นของเธอแล้ว สื่งที่ค้นพบเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ เธอรู้สึกตื่นเต้นที่ ๆ ที่ตนเอง
ไม่ได้เกี่ยวข้องการกับวิจัยครั้งนี้เลยอย่างไรก็ตาม งานวิจัยในครั้งนี้ ยังไม่ได้มีการเปรียบเทียบถึงผลของการดิ่มชาวันละแก้ว
กับ ๒, ๓ หรือ ๔ แก้ว รวมทั้งยังไม่สามารถตอบได้ว่าควรดื่มในปริมาณเท่าไร และความเข้มข้น
เท่าไรต่อวันจึงจะได้ประโยชน์สูงสุดนอกจากนี้ John Folts ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจจาก University of Wisconsin
ซึ่งได้ศึกษาผลกระทบของ Flavonids แต่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยเรื่องชา ให้ความเห็นว่า
น่าจะดื่มชาในปริมาณมากกว่า ๑ แก้วต่อวัน ซึ่งตัวเขาเองนั้นก็ได้ทำการศึกษาในสุนัข และพบว่า
ถ้าจะป้องกันการอุดตั้นของเส้นเลือดให้ได้ผลนั้น ต้องดื่มถึงวันละ ๖ แก้วสำหรับ Dr. Michael Gaziano นั้น ได้ศึกษากับมนุษย์ โดยได้นำชายและหญิงที่มี
อาการ ป่วยด้วยโรคหัวใจ จำนวน ๓๔๐ คน มาจับคู่กับผู้ที่ไม่มีอาการและอยู่ในเพศและวันเดียวกัน
เพื่อเฝ้าสังเกตพฤติกรรมการดื่มชาเป็นระยะเวลา ๑ ปี และสำหรับชาที่ให้ดื่มนั้น มีทั้งชาธรรมดา
ที่มาจากใบชาสีดำ ชาเขียว และชาสมุนไพร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ชาจากใบชาสีดำนั้น
ประกอบไปด้วย Flavonoids ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าในชาเขียว ส่วนชาสมุนไพร
ไม่มีส่วนประกอบของ Flavonoids อยู่เลยการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า การดื่มชานั้นให้ผลเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะใส่นม น้ำตาลหรือมะนาว
หรือไม่นั้น ไม่มีความแตกต่างกัน และไม่มีความแตกต่างระหว่างการดื่มชาร้อนหรือชาเย็น
หรือแม้กระทั่งกรรมวิธีการปรุงชา
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยระบุว่าผลที่ออกมา จะมีความแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมการบริโภค
และสิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ รวมไปถึงประวัติความเจ็บป่วยของครอบครัวด้วย
Cover Story from CNN Health
http://cnn.com/FOOD/news/9907/09/heart.attack.tea.ap/
Created and Desiged by หมออู๋
15 July 1999
Copyright (c) 1998-1999, ThaiClinic.com. All Right Reserved.