การเปิดไฟนอนตั้งแต่ยังเด็กอาจส่งให้สายตาสั้นได้
ผลการศึกษาล่าสุดของ Journal Nature ระบุว่า การปล่อยให้เด็ก ๆนอนหลับโดย
ที่เปิดไฟทิ้งไว้ อาจส่งผลต่อพัฒนาการของตา โดยเด็กกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงสูงต่อการมีสายตาสั้น
เมื่อเติบโตขึ้นทีมงานของ University of Pennsylvania Medical Center และ The Children's Hospital
of Philadelphia ได้ศึกษากลุ่มเด็กจำนวน ๔๗๙ คน พบว่าร้อยละ ๕๕ ของเด็กที่เริ่มเปิดไฟนอน
ตั้งแต่ มีอายุไม่ถึง ๒ ปี มีอาการสายตาสั้น และตรวจพบได้ตั้งแต่ในช่วงอายุระหว่าง ๒ ถึง ๑๖ ปี
ในขณะที่กลุ่มเด็กที่เปิดไฟสลัว ๆ นอนตั้งแต่อายุก่อน ๒ ปี ร้อยละ ๓๔ เท่านั้น ที่มีอาการสายตาสั้น
ส่วนเด็กกลุ่มที่ปิดไฟนอน พบอาการสายตาสั้นเพียงร้อยละ ๑๐
การศึกษาในครั้งนี้
นับว่าเป็นการสนับสนุนงานวิจัยเดิม จากห้องปฏิบัติการที่แสดงให้เห็นว่า แสงมีความสัมพันธ์ กับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของดวงตา โดยระบุด้วยว่า แม้แสงเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเล็ดลอดผ่านหนังตา เข้าไปในดวงตาขณะที่กำลังหลับได้ และส่งผลให้ดวงตา ยังคงต้องทำงานอยู่ แม้ในขณะที่กำลังพักผ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีการระมัดระวังเป็นพิเศษในเด็กทารก เพราะพัฒนาการที่รวดเร็วของเด็กจะส่งผลกระทบ ตามมาเมื่อเติบโตขึ้น |
อย่างไรก็ตาม Dr. Richaed Stone นักวิจัยอาวุโส กล่าวว่า การศึกษาในครั้งนี้ ไม่ได้สรุปว่าแสงไฟ
ที่เปิดในเวลากลางคืน ส่งผลโดยตรงต่อการเกิดอาการสายตาสั้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าวนั้นมีอยู่หลายสาเหตุ และจะระบุไม่ได้ว่าการเปิดไฟนอน
กับสายตาสั้นส่งผลต่อกันโดยตรง แต่ผู้ปกครองก็ยังไม่ควรจะปล่อยให้มีแสงที่ไม่ใช่เกิดจากธรรมชาติ
มารบกวนเด็ก ขณะนอนหลับ อย่างน้อยก็จนกว่าจะมีผลงานวิจัยอื่น ๆ ออกมายืนยันผลที่แน่ชัด
นอกจากผลการศึกษาล่าสุด
ที่ได้รายงานข้างต้นแล้ว ทีมนักวิจัยยังอธิบายด้วยว่า
อาการสายตาสั้น |
ยิ่งไปกว่านั้น ยังระบุด้วยว่าผู้ที่สายตาสั้นมาก ๆ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดต้อหิน(Glauma) และเรติน่าลอกตัว(Retinal detachment) และจุดรับแสงเสื่อม(Macula Degeneration)
เมื่อมีอายุมากขึ้นCover Story from CNN Health
http://www.cnn.com/HEALTH/9905/12/children.lights/index.html
Created and Desiged by หมออู๋
15 May 1999
Copyright (c) 1998-1999, ThaiClinic.com. All Right Reserved.