ThaiClinic.com

Logo Thaiclinic.com bannerthaiclinicnewswelcomeclr.gif (15099 bytes)
Main PageWhat's New!!!Medical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiClinic Newsfoldspaceup.gif (292 bytes)Contact Me,Dr.OU

วิธีใหม่ในการรักษาผมร่วงได้ผลแค่ไหน

                  ถ้าคุณผู้ชายรู้สึกว่าขณะนี้ คุณสามารถมองเห็นหนังศีรษะของตนเองได้มากเกินไป แล้วละก็ ให้พึงระลึกไว้อย่างหนึ่งว่า คุณไม่ใช่ผู้ชายคนเดียวเท่านั้นที่มีความรู้สึกเช่นนี้ เพราะจากรายงานของ American Academy of Dermatology ของสหรัฐ ระบุว่า 2 ใน 3 ของผู้ชายในสหรัฐ มีโอกาศที่จะศีรษะล้าน ขณะเดียวกันวิธีการรักษาผมร่วง ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการใช้ยา หรือการผ่าตัดที่เรียกว่า Hair Transplantationก็ก้าวขึ้นมาเป็นความหวังของผู้ที่ตกอยู่ใน ภาวะดังกล่าว

Neil Sadick แพทย์และอาจารย์ ของหน่วย Dematology แห่ง Cornell University Medical College กล่าวว่า อาการผมร่วมของผู้ชายส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ ที่เรียกว่า Androgenic Alopecia โดยคนกลุ่มนี้จะมีระดับของฮอร์โมนที่เรียกว่า 5(Alpha)-Reductase เพิ่มมากขึ้น จากนั้นจะฮอร์โมนดังกล่าวจะไปเปลี่ยน Testosterone ให้เป็น Dihydrotesterone หรือ DHT ซึ่ง DHT นี้ เป็นสาเหตุทำให้รากผม ผลิตเส้นผมที่ที่ขึ้นมาใหม่ให้บางและ สั้นลง จนกระทั่งรากผลนั้นตายไป ไม่สร้างเส้นผมขึ้นมาอีกในที่สุด 

อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิจัยต่างก็พยายามหาวิธีทางหยุดยั้งกระบวนการที่ทำให้ศีรษะล้านเหล่านี้ โดยเมื่อเดือนตุลาคม ปี ๑๙๙๙ วารสารการแพทย์ Journal of Clinical Investigation รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์แห่ง Weil MedicalCollege of Cornell University ประสบความสำเร็จ ในการกระตุ้นรากผม ด้วยการนำไวรัสไข้หวัด มาดัดแปลงให้กลายเป็นตัวนำยีนที่เรียกว่า Sonic Hedgehog ซึ่งเป็นยีนที่มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของรากผม 
อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยวิธีนี้ยังอยู่ในขั้นทดลองกับหนูทดลองเท่านั้น และอย่างน้อย ก็เรียกได้ว่า สัมฤทธิ์ผลให้หนู แต่การที่จะนำมาใช้ในการรักษาผู้มีปัญหาศีรษะล้านจริง ๆ นั้น จะต้องมีการทำลอง และศึกษาผลมากกว่านี้

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจ ได้เปิดเผยขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ๑๙๙๙ โดยงานชิ้นนี้ 
ระบุว่า การปลูกรากผมและเส้นผม สามารถทำได้ด้วยการนำเซลรากผมจากผู้บริจาคมาใช้

รากผม นับว่าเป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของร่างการที่มีลักษณะพิเศษ เรียกว่าเป็น Immunoprivileged ซึ่งได้รับการปกป้องจาก Immune System ดังนั้นร่างกายจะไม่แสดงอาการต่อต้านรากผม จากผู้อื่นเหมือนเป็นสิ่งแปลกปลอม จากทฤษฎีดังกล่าวนี้ ทำให้นักวิจัยจึงคิดว่า เป็นไปได้ ที่จะนำเอารากผมจากบุคคลผู้หนึ่งมาปลูกถ่ายให้กับอีกบุคคลหนึ่ง โดยร่างกายของผู้รับการปลูกถ่าย ไม่แสดงปฏิกริยาต่อต้าน เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีดังกล่าวข้างต้น นักวิทยาศาสตร์ชาย ได้เสียสละเซลรากขน ในส่วนแขนของตนเอง ไปปลูกถ่ายไว้บนแขนของนักวิทยาศาสตร์หญิง ซึ่งปรากฏว่า หลังจากนั้นสองสามสัปดาห์ แขนของนักวิทยาศาตร์หญิง มีขนเส้นใหญ่ และดกดำขึ้นมา ไม่เหมือนกับเส้นขนของตัวเธอเอง โดยเส้นขนดังกล่าวนั้น ขึ้นอยู่ ณ บริเวณที่แขนถูกปลูกถ่าย

สำหรับการปลูกถ่ายผมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น เซลที่ใช้จะเป็นเซลจากส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย ของผู้รับการปลูกถ่ายเอง ซึ่งก็จะเป็นเซลรากผมจากส่วนของหนังศีรษะที่ยังมีผมปกคลุมอยู่ นั่นหมายถึงว่า ผู้รับการปลูกถ่าย ไม่ได้มีผมมากขึ้น เพียงแต่ทำให้เส้นผมขึ้นกระจาย ปกคลุม พื้นที่ออกไปให้ทั่ว ส่วนจะสามารถปลูกถ่ายได้กินบริเวณมากน้อยแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนรากผม ที่ยังเหลืออยู่ของผู้รับการปลูกถ่ายเอง

Peter B. Cserhalmi-Friedman หนึ่งในคณะแพทย์ทางด้านโรคผิวหนังของ College of Physicians and Surgeons แห่ง Columbia University กล่าวว่า ถ้าเทคนิคในการปลูกถ่ายเซลรากผมนี้พัฒนาไปถึงขั้นที่เรียกว่าเป็น Viable Technique แล้วก็จะ ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนรากผมที่จะถูกสร้างขึ้นใหม่อีกต่อไป เพราะผู้รับการปลูกถ่าย ไม่จำเป็นต้องสละรากผมออกมาจากส่วนอื่น ๆ ของหนังศีรษะ ดังนั้น จากเดิมที่เทคนิคนี้จะใช้ได้ ก็ต่อเมื่อผู้รับการปลูกถ่าย มีเส้นผมเหลือบนหนังศีรษะมากพอ จะก้าวขึ้นไปถึงขั้นที่เทคนิคดังกล่าว สามารถใช้ได้แม้กระทั่งกับผู้ที่ไม่เหลือเส้นผมอยู่บนหนังศีรษะเลย

แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์กล่าวว่า อย่างเพิ่งหวังว่าจะมีใครบริจาคเซลเส้นผมให้กับคุณ เพราะ เทคนิคที่กำลังพัฒนาอยู่นี้จะต้องใช้เวลาในการศึกษาอีกนานพอควร อย่างน้อยก็อีกนานเป็นสิบปี

 สำหรับการรักษาอาการศีรษะล้านในปัจจุบันนั้น FDA ได้อนุญาติให้มีการใช้ยา ที่ทำให้มีการสร้างเส้นผม ซึ่งจะใช้ได้ผลดี ก็ต่อเมื่อรากผมของผู้ใช้ยานั้นยังไม่ตายไป อีกทั้งยังต้องมีการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง เหมาะสมอีกหลายข้อ เพื่อให้ยาได้ผลดี

ยกตัวอย่างยา Finasteride ซึ่งจำหน่ายภายใต้ชื่อ Propecia นั้น เป็นยาที่ต้องรับประทานทุกวัน ซึ่งยาตัวนี้ ได้มีการศึกษาและรายงานผลใน New England Journal of Medicine เมื่อเดือนกันยายน ปี ๑๙๙๙ ว่า หลังจากผู้ใช้ยาจำนวน ๒ ใน ๓ ใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ๒ ปี ปรากฏว่า มีผมปกคลุมพื้นที่หนังศีรษะเพิ่มมากขึ้น เส้นผมยาว และหนาขึ้น มีชายจำนวนน้อยเท่านั้น ที่ใช้ยานี้แล้วไม่ได้ผล ส่วน Side Effect นั้น ยังไม่ปรากฏให้เห็นในช่วงระยะเวลาที่ทำการทดสอบ

สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรับประทานยานั้น ก็มียา Minoxidil ที่จำหน่ายภายใต้ชื่อ Rogaine เป็นยาที่ต้องใช้ทาหนังศีรษะวันละ ๒ ครั้ง แต่จะใช้ได้ผลดี กับผู้ที่ยังศีรษะล้านไม่มากนัก ส่วนผลข้างเคียงนั้นอาจทำให้ผู้ใช้เกิดอาการระคายเคืองหนังศีรษะ

แต่อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังเห็นว่า แม้จะมีวิธีการรักษาอาการศีรษะล้านอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่น่าจะได้ผลดีที่สุด น่าจะเป็นการผ่าตัดปลูกถ่ายเซลรากผมนั่นเอง 

Cover Story from CNN Health
http://www.cnn.com/2000/HEALTH/men/01/06/hair.loss.update.wmd/index.html


Comment จากแพทย์

อย่างที่กล่าวข้างต้น ถ้าพูดถึงการใช้ยา ปัจจุบัน ก็มี 2 ตัวเท่านั้นที่พิสูจน์ว่าได้ผล ซึ่งในส่วนของ Minoxidil นั้นเป็น Lotion ทาที่หนังศรีษะ วันละ 2 ครั้ง ซึ่งหลังทาประมาณ 3-4 เดือน จะเริ่มมีผมขึ้น แต่ไม่ได้ได้ผลทุกคน ประมาณ 30-40% ของคนไข้เท่านั้น ที่ได้ผล ต้องใช้ต่อเนื่อง ถ้าหยุดยาผมจะร่วงใน 2-3 เดือน

 ส่วนในเรื่องของ ยากิน ก็คือ Finasteride นั้น ใช้ได้ผล แต่มีข้อควรระวังคือ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งมีรายงาน ประมาณ 1-2% ของผู้ใช้  นอกจากนั้น ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์ เพราะจะมีผลต่อ อวัยวะเพศของเด็ก ทั้ง 2 ชนิดเป็นยาอันตรายก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์

ในส่วนของการผ่าตัดปลูกถ่ายผม ปัจจุบันก็มีทำกัน โดยจะเอาเซลผม ส่วนที่มี อาจเป็นด้านข้าง หรือ ด้านหลังศีรษะ มาแบ่งออกเป็นเส้น  จากนั้น ก็ทำการฝัง เหมือนดำนา เข้าไปที่บริเวณที่ต้องการปลูก ซึ่งข้อดี คือ ได้เป็นผมเราเอง  แต่ข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและต้องทำการผ่าตัดหลายครั้ง จากรายงานที่มี  ถ้าสามารถเอาเซลจากคนอื่นมาได้จริง ก็จะสามารถช่วยผู้ที่มีปัญหานี้ได้อีกมาก  แต่ยังไงคงต้องรายงานการวิจัยต่อไป

โดย Dr.OU

Main PageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiclinic Newsfoldspacebottom.gif (372 bytes)Contact Me,Dr.OU

Created and Desiged by  หมออู๋
16 January 2000

Copyright (c) 1998-2000, ThaiClinic.com. All Right Reserved.