ไวรัสตับอักเสบ
ไวรัสตับอักเสบและการป้องกัน
-
ตับอักเสบ
เป็นภาวะที่มีการอักเสบ เกิดการทำลายของเซลล์ตับ ทำให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ
ของตับผิดปกติ
-
ร่างกายมีการเจ็บป่วย
ไม่สบาย
-
โรคตับอักเสบ
เป็นโรคที่รู้จักกันมานาน ยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลก
รวมทั้งประ เทศไทย
-
พบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ได้ในทุกวัย
ทั้งชายและหญิง ส่วนใหญ่เป็นโรคตับอักเสบเฉียบพลัน
ส่วนน้อยอาจ เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง อาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง โรคตับวาย
มะเร็งตับ
-
สาเหตุของโรคตับอักเสบ
ที่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัส รองลงมาเกิดจาก พิษสุรา เชื้อแบคทีเรีย
เชื้อ
-
โปรโตซัว
เลปโตสไปโรสิส พยาธิ์ ยาบางชนิด สารเคมี ฯลฯ
-
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ
เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับเป็นสำคัญ จึงเรียกว่า ไวรัสตับอักเสบ
-
แบ่งเป็น
-
-
ไวรัสตับอักเสบชนิด เอ
-
-
ไวรัสตับอักเสบชนิด บี
-
-
ไวรัสตับอักเสบชนิด ดี
-
-
ไวรัสตับอักเสบชนิด ไม่ใช่เอ ไม่ใช่บี
-
-
ไวรัสตับอักเสบชนิด ซี
-
-
ไวรัสตับอักเสบชนิด อี
-
ไวรัสตับอักเสบชนิด
เอ
-
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
เอ เกิดจาก การกินเชื้อเข้าไปทางปาก เช่น อาหาร ผัดสด ผลไม้ น้ำดื่ม
ที่ปนเปื้อน
-
เชื้อนี้
ทำไม่สุก ไม่สะอาด ไม่ต้มเดือด เป็นต้น
-
ระยะฟักตัวของเชื้อนี้
ประมาณ 2- 6 สัปดาห์ โดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์หลังรับเชื้อ ในเด็กมักมีอาการน้อย
ในผู้ใหญ่มี
-
อาการที่ชัดเจนของตับอักเสบเฉียบพลันเชื้อนี้ออกมากับอุจจาระของผู้ป่วยตั้งแต่ในระยะ
2 สัปดาห์ก่อนมี อาการ จนถึง
-
ระยะที่มีอาการของโรค
เชื้อไวรัสนี้คงทรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน บางครั้งจึงพบมีการระบาด ในชุมชน
กลุ่มคนที่อยู่รวมกัน
-
เช่น
โรงเรียน หอพัก ค่ายทหาร เป็นต้น
-
ไวรัสตับอักเสบชนิด
บี
-
คนเป็นพาหะ
(Carrier) ที่สำคัญของเชื้อไวรัสนี้พบเชื้อนี้ในประชากรโ่ลกกว่า 200 ล้านคน
ประเทศไทยมี
-
ความชุกคนของพาหะร้อยละ8
- 10 คือ ประมาณ 5 ล้านคนที่มีเชื้อไวรัสนี้ในร่างกาย พบเชื้อได้ในเลือด
น้ำเหลือง
-
สิ่งคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
เช่น น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำลาย น้ำตา น้ำนม เป็นต้น ทำให้มีโอกาสแพร่
เชื้อได้หลายทาง
-
ทางเข้าของเชื้อ
ได้แก่
-
1.
ทางเพศสัมพันธ์ กับผู้เป็นพาหะของเชื้อนี้
-
2.
ทารกคลอดจากมารดาที่เป็นพาหะ อาจติดเชื้อระหว่างคลอด การเลี้ยงดู
-
3.
ทางเลือดและน้ำเหลือง การได้รับเลือดที่ติดเชื้ออาจเกิดจากการใช้ของมีคม/ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อ
-
เช่น
การใช้เข็มฉีดยาเสพติดเข้าเส้นร่วมกัน การฝังเข็ม การสัก การเจาะหูที่ไม่สะอาด
การใช้ใบมีดโกน แปรงสีฟัน
-
ร่วมกัน
เป็นต้น
-
4.
ทางผิดหนังที่เกิดบาดแผล ผิวหนังถลอก
-
5.
ทางสัมผัสใกล้ชิด (Close contact) ระหว่างพาหะกับผู้อื่น เช่น สมาชิกในครอบครัว
เด็กวัยเรียน เป็นต้น
-
ระยะฟักตัวของเชื้อนี้
30 - 180 วัน เฉลี่ย 60 - 90 วัน ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลันจากไวรัสนี้
-
จะหายเป็นปกติ
ที่เหลือเป็นพาหะของเชื้อต่อไป
-
พาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบนี้
อาจไม่มีอาการแต่แพร่เชื้อต่อไป ส่วนหนึ่งอาจป่วยเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
-
ตับแข็ง
มะเร็งตับได้ ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อนี้มีโอกาสเสี่ยงของมะเร็งตับสูงกว่าคนทั่วไปถึง
223 เท่า
-
ไวรัสตับอักเสพชนิด
ดี
-
เป็นไวรัสที่ไม่สมบูรณ์
ต้องอยู่ร่วมกับไวรัสตับอักเสบ บี พบเชื้อนี้ในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นที่มี
-
เชื้อไวรัส
บี ทางติดต่อเช่นเดียวกับ ไวรัสตับอักเสบ บี
-
ไวรัสตับอักเสบชนิด
ซี
-
เป็นสาเหตุที่สำคัญของ
ตับอักเสบที่เกิดขึ้นภายหลังการได้รับเลือด/ผลิตภัณฑ์เลือด เดิมเรียกว่า ไวรัสตับ
-
อักเสบ
ชนิด ไม่ใช่เอ ไม่ใช่บี
-
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด
ซี พบในประชากรทั่วไปประมาณร้อยละ 1 ติดต่อได้โดยทางเลือดและน้ำเหลือง
-
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดนอกจากนี้
อาจติดเชื้อได้ทางเพศสัมพันธ์
-
ระยะฟักตัวของเชื้อนี้
ประมาณ 15 - 160 วัน เฉลี่ย 50 วัน ทำให้เกิดโรคตับอักเสบเฉียบพลัน เชื่อว่าเชื้อ
-
ไวรัสนี้ยังทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง
และเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับได้เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบชนิด บี
-
ไวรัสตับอักเสบชนิด
อี
-
มีรายงานการระบาดของไวรัสนี้ในบางประเทศ
ติดเชื้อไวรัสนี้โดยการกิน เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบ เอ
-
อาการของโรคตับอักเสบเฉียบพลัน
-
มีอาการแบ่งได้เป็น
3 ระยะดังนี้
-
1.
ระยะอาการนำ มีอาการกอ่อนเพลียมีไข้ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ
บางรายมีอาการคล้าย
-
ไข้หวัด
ไข้หวัดใหญ่ เบื่ออาหารมก คลื่นไส้ อาเจียน อาจปวดท้องบริเวณชายโครงขวา มีท้องเสียได้
ปัสสาวะสีเหลืองเข้มผิดปกติ ฯลฯ อาการนำเป็นอยู่นาน 4 - 5 วัน จนถึง 1 - 2
สัปดาห์
-
2.
ระยะอาการเหลือง ดีซ่าน ผู้ป่วยมีตาเหลือง ตัวเหลือง อาการทั่วไปดีขึ้น
แต่ยังอ่อนเพลียคล้ายหมดแรง
-
เบื่ออาหาร
คลื่นไส้ ผู้ป่วยตับอักเสบจากไวรัสพบว่า มีอาการดีซ่านเพียงครึ่งหนึ่งหรือน้อยกว่า
-
3.
ระยะฟื้นตัว อาจยังอ่อนเพลียอยู่ อาการข้างต้นหายไป หายเหลืองโดยทั่วไป
ระยะเวลาของการป่วยนาน
-
2
- 4 สัปดาห์ จนถึง 8 - 12 สัปดาห์
-
การวินิจฉัยโรคตับอักเสบจากไวรัส
-
จากอาการดับกล่าว
ร่วมกับ การตรวจร่างกาย และการตรวจเลือด ดังนี้
-
1.
ตรวจเลือดสมรรถภาพตับ (Liver Function test) เอ็นซัยม์ SGOT & SGPT สูงกว่าปกติ
ค่า มากกว่าร้อยจน ถึงเป็นพัน ๆ
-
ค่าของบิลิรูบิน
(Bukurybub) สูงกว่าปกติด้วย ถ้าผู้ป่วยมีดีซ่าน
-
2.
ตรวจเลือดว่าเป็นไวรัสชนิดใด เช่น
-
*
IgM Anti HAV
-
*
HBsAG ; IgM Anti Hbc etc.
-
*
Anti HCV
-
รายละเอียด
จะไม่กล่าวในที่นี้
-
การรักษาโรคตับอักเสบจากไวรัส
-
ยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง
เป็นการรักษาตามอาการ ได้แก่ การพักผ่อนเต็มที่ในระยะต้นจะทำให้อ่อน
-
เพลียลดลง
งดการออกแรงออกกำลังกาย การทำงาน งดการดื่มสุรา รับประทานอาการอ่อน ย่อยง่าย
น้ำหวาน น้ำผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงอาการไขมันสูงในระยะที่มีเลื่นไส้ อาเจียนมาก
ในรายที่อาการมากอาจให้สารน้ำเข้า เส้นเลือดตำ ให้ยาแก้คลื่นไส้
-
ยาวิตามิน
ฯลฯ
-
การป้องกันการติดเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบ
-
1.
การมีอนามัยส่วนบุคคล ส่วนรวมที่ดี เช่น การล้างมือให้สะอาดก่อนทำสิ่งใด หลังการขับถ่าย
การ
-
ประกอบอาหารถูกหลังอนามัย
เลือกรับประทานอาหารที่สุก น้ำดื่มที่สะอาด เป็นต้น
-
2.
หลีกเลี่ยงการรับ การสัมผัสเลือด น้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่ง ของผู้อื่น ไม่ใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
-
3.
ไม่สำส่อนทางเพศ ใช้ถึงยางอนามัย
-
4.
การฉีดวัคซีนป้องกัน ไวรัสตับอักเสบบี
-
4.1
ทารกแรกคลอดทุกราย โดยเฉพาะถ้ามารดาเป็นพาหะของเชื้อ
-
4.2
เด็กทั่วไป เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
-
4.3
เด็กโต วัยรุ่น ผู้ใหญ่ อาจเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี แล้ว ให้ตรวจเลือดก่อนพิจารณาฉีด
วัคซีน
-
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ
บี (HBs Ag)
-
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ
บี (HBs Ab)
-
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ
บี (HBs Ab)
-
ถ้ามีผลตรวจเป็น
ลบ ทั้งหมด ควรฉีดวัคซีนป้องกันให้ร่ายกายมีภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
-
ถ้ามีผลตรวจเป็น
บวก ตัวใดตัวหนึ่ง ไม่ต้องรับการฉีดวัคซีนนี้
-
รายละเอียด
การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี โปรดปรีกษาแพทย์
This
Web Page Design & Created by Dr.OU
1
July 1998
Copyright
(c) 1998. ThaiClinic.com. All rights
reserved.