อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์เป็นโรคทางกรรมพันธุ์
เกิดจากความผิดปกติในการใช้สารพวกพิวรีน
ทำให้เกิดสารยูริคสูงในเลือด
และจะสะสมในข้อโดยเฉพาะข้อเล็กๆ
เช่น ข้อนิ้วเท้า
ข้อนิ้วมือ
ทำให้เกิดอาการปวด บวม
แดง ร้อน ในข้อ
การใช้ยารักษาโรคเกาท์จะช่วยทำให้อาการของโรคดีขึ้นและช่วยขับกรดยูริคออกจากร่างกาย
แต่การทานอาหารที่ถูกต้องจะช่วยบรรเทาให้อาการลดลง
และไม่กำเริบบ่อย
หลักในการจัดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
มีดังนี้
- ทานอาหารที่มีพิวรีนน้อยหรือไม่มีพิวรีน
ได้แก่ นม ไข่ ฯลฯ
งดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมาก
เช่น เครื่องในสัตว์
ปลาซาร์ดีน ฯลฯ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนปานกลาง
เช่น สัตว์ปีก
อาหารทะเล
อาหารที่ปรุงไม่ควรใส่ผงชูรส
หลีกเลี่ยงอาหารทอด
น้ำต้มเนื้อ
เช่นก๊วยเตี๋ยวน้ำ
อาหารพิงรีนมาก
(มากกว่า 15 มก./อาหาร 100
กรัม) |
อาหารพิวรีนปานกลาง
(50 150 มก./อาหาร 100 กรัม) |
อาหารพิวรีนน้อย
(0 15 มก./อาหาร 100 กรัม) |
ตับอ่อน
ตับ
ไต
มันสมอง
ปลาแอนโชวี่
ปลาซาร์ดีน
น้ำต้มเนื้อ
น้ำเกรวี่หรือซุบไก่ |
เน้อสัตว์
สัตว์ปีก
ปลา
อาหารทะเล
ถั่วเมล็ดแห้ง
หน่อไม้ฝรั่ง
ผักโขม
ดอกกระหล่ำ
ข้าวไม่ขัดขาว |
ผัก
ผลไม้ทั่วไป
นม
เนยเหลว เนยแข็ง
ไข่ทุกชนิด
ข้าวและขนมปัง
เจละติน
ผลไม้เปลือกแข็ง
ไขมันจากสัตว์และพืช
น้ำตาลและขนมหวาน |
- ในคนที่อ้วนควรลดน้ำหนัก
โดยทานอาหารให้มีพลังงานต่ำประมาณวันละ
1,200 1,500 แคลอรี
- ควรจำกัดอาหารที่มีไขมันสูง
เพราะอาจกระตุ้นให้อาการกำเริบได้
ควรงดเครื่องดื่มพวกโกโก
ช็อคโกแลต
ควรทานนมพร่องมันเนย
- งดการดื่มสุรา
ส่วนกาแฟอาจทานได้บ้างพอประมาณ
- ควรทานผักใบเขียวที่มีธาตุเหล็กสูง
เพื่อทดแทนธาตุเหล็กที่ขาดเนื่องจากการงดทานเนื้อสัตว์
โดย พญ.รุ่งทิพย์
วรรณวิมลสุข
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว