คอพอก
Goiter, Hyperthyroid ,Grave Disease, Thyroid ,Endocrine ,Neck mass
คอพอก
(Goiter) หมายถึง
ภาวะที่มีการโตขึ้นของต่อมไทรอยด์
สามารถแบ่งได้ดังนี้
- แบ่งตามลักษณะการโต
แบ่งออกเป็น
ภาพแสดง
ต่อมทัยรอยด์โตทั่วๆไป
|
- ต่อมไทรอยด์โตทั่ว
ๆ ไป (Diffuse goiter) : หมายถึง
ภาวะที่มีต่อมไทรอยด์โตทั่ว
ๆ ไป
- ก้อนเดี่ยวของต่อมไทรอยด์
(Solitary thyroid nodule) : หมายถึง
ภาวะที่มีการโตของต่อมไทรอยด์เฉพาะที่
มองเห็นเป็นก้อนเดี่ยว
ๆ โดยที่ส่วนอื่น ๆ
ของต่อมไทรอยด์ดูปกติ
- ก้อนตะปุ่มตะปั่มของต่อมไทรอยด์
(Multinodular goiter) : มีก้อนหลาย ๆ
ก้อน
ทำให้เห็นไทรอยด์เป็นก้อนตะปุ่มตะปั่ม
|
ภาพแสดง
ต่อมทัยรอยด์โตทั่วๆไป
|
- คอพอกแบบเป็นพิษ
(Toxic goiter) :
ต่อมไทรอยด์มีการสังเคราะห์และหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกิน
จนเกิดอาการใจสั่น
เหนื่อยง่าย มือสั่น
น้ำหนักลด และอื่น ๆ
- คอพอกธรรมดา
(Simple goiter) :
คอพอก
โดยที่ไม่มีอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
|
|
ต่อมไทรอยด์
คือต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งของร่างกาย
อยู่บริเวณคอด้านหน้า,
วางอยู่หน้าต่อหลอดลม,
มีน้ำหนักประมาณ 20 กรัม,
แบ่งออกเป็น 2 กลีบ
ซ้ายกับขวา
เชื่อมกันตรงกลางด้วยส่วนคอดที่เรียกว่า
isthmus แต่ละกลีบมีขนาดประมาณ
5x2x2 ซม.,
ต่อมไทรอยด์มีกล้ามเนื้อปกคลุมอยู่
ทำให้ในภาวะปกติที่ไม่มีไทรอยด์โต
หรือโตน้อย
ก็จะมองไม่เห็น
ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน
โดยใช้ ธาตุไอโอดีน
เป็นส่วนประกอบหนึ่ง
จากนั้น
ก็จะปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด,
ฮอร์โมนเหล่านี้
มีหน้าที่กระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน
(metabolism) ของเซล
ทั่วร่างกาย
และจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกายด้วย |
คลิกที่ภาพเพื่อดูรูปใหญ่
|
- คอพอกธรรมดา
ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดธาตุไอโอดีน,อาจพบได้ในขณะที่ร่างกาย
ต้องการไทรอยด์ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น
เช่น ในช่วงวัยรุ่น
ขณะตั้งครรภ์,
ได้รับสารบางชนิด
หรือยาบางอย่าง
(ในระยะแรก
ต่อมไทรอยด์จะโตทั่ว
ๆ ไป
แต่ต่อมาจะกลายเป็นก้อนตะปุ่มตะปั่ม
หรืออาจคลำได้เป็นก้อนเดี่ยว
ๆ ก็ได้)
- ก้อนเดี่ยวและก้อนตะปุ่มตะปั่มของต่อมไทรอยด์
อาจเกิดจาก
การขาดไอโอดีน, ถุงน้ำ,
ต่อมไทรอยด์อักเสบ,
เนื้องอกธรรมดา
หรือมะเร็ง ก็ได้
- ภาวะพิษของต่อมไทรอยด์
อาจเกิดจาก
คอพอกเป็นพิษที่เรียกว่า
Graves disease,
เนื้องอกธรรมดาที่ทำงานมากเกิน
(Toxic adenoma)
หรือคอพอกตะปุ่มตะปั่มที่เป็นมานาน
(Toxic multinodular goiter)
ภาพแสดง
อาการตาโปนของคอพอกแบบเป็นพิษ
|
- ไม่มีอาการอะไร
นอกจากพบว่า
มีต่อมไทรอยด์โตขึ้น
- อาการที่เกี่ยวเนื่องกับต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
คือมีอาการเหนื่อยง่าย
ใจสั่น มือสั่น
กินจุแต่ผอมลง
เหงื่อออกมาก ขี้ร้อน
หงุดหงิดง่าย
นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย
กล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาจมีประจำเดือนลดลง
ท้องเดิน
และอาจพบการเปลี่ยนแปลงที่ตา
เช่น ลูกตาโปน
- อาการเจ็บที่ก้อน
มักพบในคอพอกที่เกิดจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์
หรือมีเลือดออกในก้อน
- อาการจากการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง
พบในกรณีที่ก้อนโตมาก
อาจมีอาการกลืนลำบาก (กดหลอดอาหาร),
หายใจลำบาก (มีการกดเบียดของหลอดลม)
- อาการจากการลุกลามของก้อน
อาจมีอาการเสียงแหบ
จากการลุกลามไปที่เส้นประสาทเลี้ยงสาย
เสียง, ถ้ามีอาการนี้
มักเป็นมะเร็ง
- อาการของการกระจายของมะเร็ง
อาจพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโตขึ้น
หรือมีอาการปวดกระดูก
|
ต่อมไทรอยด์โต
เป็นภาวะที่พบบ่อย
พบว่า ประมาณ 4-7%
ของประชากร
จะมีก้อนที่ต่อมไทรอยด์
(ประมาณ ครึ่งหนึ่ง
จะคลำพบเป็นก้อนเดี่ยว
ๆ) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
ก้อนเดี่ยวของต่อมไทรอยด์
มีโอกาสเป็นมะเร็ง
ประมาณ 5-10 %
ส่วนภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่า
คือ ประมาณ 1 %
โดยมีโอกาสเป็นมะเร็งในกลุ่มที่
- มีประวัติเคยได้รับการฉายรังสี
บริเวณศีรษะและคอ
ในวัยเด็ก (ถ้ามีก้อนจะพบมะเร็งประมาณ
30-40%)
- มีประวัติมะเร็งต่อมไทรอยด์ในครอบครัว
- ก้อนของต่อมไทรอยด์ในเพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็งบ่อยกว่าเพศหญิง
(แต่พบก้อนของต่อมไทรอยด์ในเพศหญิงได้บ่อยกว่า)
- อายุ
น้อยกว่า 20 ปี
หรือมากกว่า 60 ปี
- ก้อนโตเร็ว
หรือมีอาการเสียงแหบ
หายใจลำบาก กลืนลำบาก
- ก้อนแข็ง
ติดกับอวัยวะข้างเคียง
- มีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างเคียง
คลิกเพื่อชมวิดีโอ
แสดงการตรวจร่างกายโดยการกลืน
|
- การตรวจเลือดดูระดับไทรอยด์ฮอร์โมน
(Thyroid function test) ช่วยบอกว่า
มีภาวะพิษของต่อมไทรอยด์หรือไม่
- การเจาะดูดด้วยเข็ม
เพื่อดูลักษณะเซล (Fine needle
aspiration biopsy)
มีความสำคัญที่สุด
ในการวินิจฉัยแยกว่า
ก้อนที่ต่อมไทรอยด์นั้น
เป็นมะเร็งหรือไม่
- การตรวจอุลตร้าซาวน์
(Ultrasound) ช่วยบอกขนาด
และขอบเขตของก้อน,
แยกถุงน้ำจากก้อนเนื้องอก
โดยถ้าเป็นถุงน้ำ
จะมีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่า
- การตรวจไทรอยด์สแกน
(Radioisotope scan) ช่วยบอกว่า
ก้อนของต่อมไทรอยด์
ทำงานมากหรือน้อยกว่าปกติ
(เรียกว่า hot nodule และ cold nodule
ตามลำดับ)
โดยที่มะเร็งส่วนใหญ่
จะทำงานน้อยกว่าปกติ
- การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
(CT scan)
ใช้ในกรณีที่ก้อนใหญ่
หรือมีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง
|
เมื่อไปพบแพทย์แพทย์จะทำอะไรให้ |
- ประวัติ
แพทย์จะสอบถาม
อายุและเพศ,
ระยะเวลาที่เริ่มเป็น,
การเปลี่ยนแปลงของก้อน (โตเร็วหรือช้า),
อาการเจ็บที่ก้อน,
อาการเหนื่อยง่ายใจสั่น,
ประวัติที่ชวนให้สงสัยมะเร็งดังกล่าวแล้ว
(ประวัติครอบครัว,
ประวัติการฉายแสง),
อาการเสียงแหบ,
หายใจลำบาก, กลืนลำบาก
- การตรวจร่างกาย
นอกจากการตรวจร่างกายทั่ว
ๆ ไปแล้ว
แพทย์จะให้กลืนน้ำลาย
แล้วดูลักษณะของก้อน (เนื่องจากต่อมไทรอยด์จะเคลื่อนขึ้นลงตามการกลืน)
แล้วคลำดูขนาด,
ขอบเขตของก้อน,
ความอ่อนแข็ง,
การมีต่อมน้ำเหลืองโต,
อาการและอาการแสดงทางตา
ของไทรอยด์เป็นพิษ
- การตรวจพิเศษเพิ่มเติม
เพื่อแยกว่า
มีอาการของไทรอยด์เป็นพิษหรือไม่,
เป็นมะเร็งหรือไม่ใช่มะเร็ง
- การรักษา
เมื่อได้การวินิจฉัยแล้ว
แพทย์ก็จะให้การรักษาตามสาเหตุต่อไป
Diagram
สรุปแนวทางในการรักษา
ก้อนเดี่ยวทัยรอยด์
ก้อนตะปุ่มตะป่ำ
ก้อนเดี่ยวของต่อมไทรอยด์
1. การผ่าตัด
- ตรวจพบว่า
ก้อนนั้นเป็นมะเร็ง
หรือสงสัยว่า
จะเป็นมะเร็ง
- ก้อนมีขนาดใหญ่
กดเบียดอวัยวะข้างเคียง,
ยื่นลงไปในทรวงอก
- เพื่อความสวยงาม
2.
การสังเกตอาการ
- ในกรณี
ที่ตรวจยืนยันว่า
ไม่ใช่มะเร็ง
ก็ไม่ต้องผ่าตัด
สังเกตอาการต่อไปได้
หรืออาจให้ฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์กิน
เป็นระยะเวลาหนึ่ง
- กรณีที่ก้อนโตขึ้น
อาจพิจารณาผ่าตัด
ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
1.
การรักษาด้วยยา
ใช้ยาต้านไทรอยด์
เพื่อควบคุมอาการของการเป็นพิษ
ระยะเวลาในการให้ยา
ประมาณ 1-2 ปี
หากไม่หายต้องพิจารณาการรักษาวิธีอื่นต่อไป
2.
การรักษาโดยการผ่าตัด
ใช้ในรายที่ก้อนโตมาก
มีข้อห้ามต่อการให้สารรังสี
3. การให้สารไอโอดีนรังสี
สารรังสีจะไปทำลายต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป
ทำให้หายจากภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
โดย
นพ.นพวัชร์
สมานคติวัฒน์
ศัลยแพทย์
|