คอพอก
"คอพอก"
เป็นคำจำกัดความของกลุ่มโรคที่มี ต่อมไทรอยด์
(Thyroid gland) โตขึ้นผิดปกติ
โดยปกติ
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อ วางตัวอยู่หน้าหลอดลมที่คอ(Trachea)ทำหน้าที่สร้าง
ฮอร์โมน
"ไทรอกซีน"(Thyroxine)
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญ เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของร่างกายทุกระบบ
ต่อมไทรอยด์ในคนปกติจะไม่สามารถคลำได้
ถ้าต่อมมีอาการโตขึ้น ซึ่งอาจคลำหรือสังเกตได้จากการมอง
แสดงว่า
ต่อมไทรอยด์มีอาการโตผิดปกติหรือมีคอพอกเกิดขึ้นนั่นเอง
สาเหตุนั้นไม่ได้เกิดจากการไม่ทานอาหารทะเล หรือ เกลือไอโอดีนแต่เพียงอย่างเดียว
แต่ยังมีสาเหตุอื่นๆอีกมากมายดังจะกล่าวต่อไป
การจำแนกชนิดของกลุ่มอาการคอพอกนั้นทำได้หลายประเภท
ในที่นี้จะจำแนกตามอาการ
และ ระดับของฮอร์โมนซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1)
คอพอกแบบเป็นพิษ Thyrotoxicosis
เกิดจากต่อมไทรอยด์มีการสร้าง ฮอร์โมนไทรอกซีน
(Thyroxine)
มากเกินความต้องการของร่างกาย
สาเหตุ
อาจเกิดจากตัวต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติเอง (Primary Thyrotoxicosis)
หรือ เกิดจากมีสารมา
กระตุ้นทำให้ต่อมสร้างฮอร์โมนมากเกินไป(Secondary
Thyrotoxicosis) เช่น ฮอร์โมนจาก
เนื้องอกของต่อมใต้สมองส่วนหน้า(Anterior
Pituitary gland Tumor)
อาการแสดง
ผู้ป่วยจะมีอาการ
ใจสั่น ,มือสั่น,เหนื่อยง่าย, เหงื่อออกมาก,นอนไม่หลับ,หิวบ่อย, หงุดหงิดโมโหง่าย,น้ำหนักลด,
อาจมีตาโปน
มักพบในผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย
ในเรื่องของต่อมไทรอยด์อาจจะโตหรือไม่ก็ได้
โดยทั่วไปจะมีอาการโตเล็กน้อย
การรักษา
ทำได้หลายวิธี เช่น ใช้ยาต้านไทรอยด์(Anti-Thyroid Drug),ทานน้ำแร่กัมมันตรังสี(ไอโอดีน-131)
หรือ
ผ่าตัดซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม
2)
คอพอกแบบไม่เป็นพิษ Non-thyrotoxicotic Goiter
เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้น
แต่ไม่มีอาการของไทรอยด์เป็นพิษดังกล่าว
สาเหตุที่พบบ่อย
คือ
1.
ขาดไอโอดีน(Iodine) พบในผู้ป่วยที่ไม่ทานอาหารทะเล,ไม่ทานเกลือไอโอดีน
ปัจจุบันพบได้น้อยลง
แต่ยังพบได้ตามภาคเหนือ,ชาวเขา
ต่อมไทรอยด์อาจโต เล็กน้อยจนถึงใหญ่มากๆได้
อาการแสดง
ต่อมไทรอยด์จะโต
บางรายอาจมีอาการของการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน คือ ซึม,เชื่องช้า, หนาวง่าย,
น้ำหนักตัวเพิ่ม,ผิวแห้ง
ในเด็กจะทำให้พัฒนาการของร่างกายและสมองผิดปกติ,ปัญญาอ่อน, เลี้ยงไม่โต
ที่รู้จักกันในนามของ"โรคเอ๋อ"
การรักษา
ทานอาหารทะเล,เกลือไอโอดีน,ยาไทรอยด์โดยควรปรึกษาแพทย์ก่อน
ในกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่อาจต้องผ่าตัด
2.
ร่างกายมีความต้องการฮอร์โมนมากขึ้น
ภาวะนี้มักพบในหญิงวัยเจริญพันธุ์(อายุ15-35ปี)
เรียกว่า
Adolescence goiter และ หญิงตั้งครรภ์
ต่อมไทรอยด์จะโตขึ้นเนี่องจากต้องสร้าง
ฮอร์โมนให้เพียงพอกับความต้องการร่างกาย
โดยทั่วไปจะไม่มีอาการอี่นนอกจากมีก้อนที่คอ
การรักษา
ในรายที่ก้อนโตเล็กน้อยอาจเฝ้าสังเกตอาการไปก่อน ในกรณีที่ก้อนมีขนาดโตขึ้น
ควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยารักษา
กรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่อาจต้องได้รับการผ่าตัด
3.
เนื้องอกของต่อมไทรอยด์ มีทั้งเนื้องอกธรรมดา
และ เนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็ง
มักพบในผู้หญิง
อายุ 30 ปีขึ้นไป มะเร็งมักมีลักษณะเฉพาะ คือ
ก้อนจะแข็ง,โตเร็ว,โตในข้างใด
ข้างหนึ่ง
(ในพวกคอพอกจากร่างกายต้องการฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ไทรอยด์มักโตสม่ำเสมอทั้ง 2
ข้าง),
ติดแน่นกับผิวหนังหรืออวัยวะข้างเคืยง
และ อาจมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างลำคอโตร่วมด้วย
ในกรณีเช่นนี้ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
เพื่อให้ทราบว่าเป็นชนิดใด
การรักษา
ก็มีทั้งให้ยาร่วมกับการผ่าตัดเช่นเดียวกัน
-
โดย
นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์ ศัลยแพทย์
This
Web Page Design & Created by Dr.OU
30
June 1998
Copyright
(c) 1998. ThaiClinic.com. All rights
reserved.