Thaiclinic.com

Thaiclinic Logo

MainpageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiclinic Newsfoldspaceup.gif (292 bytes)Contact Me,Dr.OU

การปฏิบัติตนเองเพื่อป้องกันการได้รับเชื้อจากสงครามเชื้อโรค 
(ฺBiological Warfare and Terrorism)

anthrax , botulinum , smallpox ฝีดาษ แอนแทรกซ์

นพ.ธีระ กลลดาเรืองไกร
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

สถานการณ์ที่ 1 : ท่านเป็นเจ้าหน้าที่แพทย์ประจำโรงพยาบาล วันหนึ่งดูเหมือนว่าจะมีผู้ป่วยมากกว่าปกติ ซึ่งมาด้วยอาการไข้ ไอ อ่อนเพลีย ดูคล้ายกับจะเป็นการระบาดของไข้หวัดใหญ่ แต่ท่านสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีจุดเลือดออกตามขาและเริ่มพบว่ามีจ้ำเลือดออกกระจายไปที่ แขน อีก 1 ชั่วโมงถัดมามีผู้ป่วยใหม่เข้ามาพบท่านด้วยอาการจ้ำเลือดและจุดเลือดออกทั่วตัว
คำถาม : ท่านคิดว่าจะวินิจฉัยภาวะนี้ได้อย่างไร และภาวะนี้คืออะไร ท่านต้องการการตรวจวินิจฉัยอย่างไร และจะป้องกันตนเองและผู้ร่วมงานใกล้ชิดได้อย่างไร

สถานการณ์ที่ 2 : ท่านเป็นเจ้าหน้าที่แพทย์ประจำโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย วันหนึ่งดูเหมือนว่าจะมีผู้ป่วยมากกว่าปกติ ซึ่งมาด้วยอาการไข้ ไอ อ่อนเพลีย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้ประวัติคล้ายคลึงกันคือ ชีวิตประจำวันต้องเดินทางด้วยรถไฟฟ้าและสังเกตว่าเมื่อ 3 วันก่อนมีคนทำถุงแป้งสีขาวขนาดเล็กตกและหกกระจายในตู้ขบวนที่นั่งอยู่ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งขณะนั่งรอตรวจมีอาการไอเป็นเลือด และมีส่วนหนึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างรีบด่วนด้วยการใส่เครื่องช่วยหายใจ
คำถาม : ท่านคิดว่าจะวินิจฉัยภาวะนี้ได้อย่างไร และภาวะนี้คืออะไร ท่านต้องการการตรวจวินิจฉัยอย่างไร และจะป้องกันตนเองและผู้ร่วมงานใกล้ชิดได้อย่างไร

สถานการณ์ที่ 3 : ท่านเป็นเจ้าหน้าที่แพทย์ประจำโรงพยาบาลค่ายทหาร วันหนึ่งแม่ได้พาเด็ก 2 คนมาตรวจที่โรงพยาบาลด้วยอาการไข้และมีตุ่มน้ำแดงเจ็บปรากฎขึ้นทั่วตัว ท่านวินิจฉัยว่าเป็น อีสุกอีใส แต่มารดายืนยันว่าเด็กคนพี่เคยเป็นอีสุกอีใสนั้นแล้วเมื่อ 1 ปีก่อน และน้องก็ได้รับการฉีดวัคซีนอีสุกอีใสที่โรงพยาบาลไปแล้ว ท่านได้ให้เด็กทั้งสองกลับบ้านได้และพักผ่อนให้เต็มที่ อีกหนึ่งวันต่อมามีรายงานเข้ามาที่ โรงพยาบาลว่า ทหารที่ประจำการอยู่จำนวนหนึ่งมีอาการป่วยด้วยอาการคล้ายอีสุกอีใส และส่วนหนึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
คำถาม : ท่านคิดว่าจะวินิจฉัยภาวะนี้ได้อย่างไร และภาวะนี้คืออะไร ท่านต้องการการตรวจวินิจฉัยอย่างไร และจะป้องกันตนเองและผู้ร่วมงานใกล้ชิดได้อย่างไร

ในหลายปีที่ผ่านมาเหตุการณ์ทั้งสามดูจะห่างไกลความเป็นไปได้ที่จะเกิดในประเทศเล็กๆ อย่างประ เทศ ไทย แต่ความไม่แน่นอนของสงครามนอกรูปแบบทำให้เราต้องตระหนักถึง การเตรียมพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันการแพร่กระจายของโรค จากผู้ป่วยไปบุคคลอื่นๆ รวมทั้งไปยังบุคลากรทางการแพทย์ที่เข้าไปทำการรักษาพยาบาลเองด้วย 
ถ้าเราจะแบ่งสงครามออกเป็นสามชนิดที่รุนแรงที่สุดในปัจจุบันคือ สงครามชีวภาพ สงครามเคมี และสงครามนิวเคลียร์ เราจะเห็นว่า สงครามนิวเคลียร์มีผลในวงกว้างก็จริงแต่ก็มีขอบ เขตที่จำกัด มีการทำลายล้างเฉพาะที่และต้องใช้งบประมาณสูง สงครามเคมีต้นทุนต่ำแต่การกระจาย ไม่ได้ไกล สงครามชีวภาพมีต้นทุนต่ำ แต่กระจายไปได้ไกลและมีผลที่คงอยู่นาน จึงเป็นสงครามที่ทำให้ เกิดความเกรงกลัวกันมากที่สุดและป้องกันยากที่สุด

ประวัติศาสตร์

อาวุธชีวภาพไม่ใช่อาวุธใหม่ มีการใช้อาวุธชนิดนี้มาเป็นเวลานานในประวัติศาสตร์ โดยเรียบเรียงได้ดังนี้

600 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ชาวอาซีเรียน (Assyrians) ได้วางยาศัตรูในน้ำดื่มด้วยสาร rye ergot, และมีการใช้สมุนไพรพิษในการปิดล้อมที่กิซา (Krissa) 
คศ 1346 มีการระบาดของกาฬโรคในกองทัพของพวกตาต้า (Tartar) ในการสู้รบที่คัฟฟา (Kaffa) ปัจจุบันคือ เมืองฟิโอโดเซีย (Feodosia) ในไครเมีย (Crimea) การระบาดของกาฬโรคทำให้ต้องทิ้งเมืองและหนีไปยังประเทศในแถบยุโรปทางเรือ นี่เป็นสาเหตุอันหนึ่งที่เชื่อว่าเป็นการนำกาฬโรคไปสู่ยุโรปและทำให้เกิดการระบาดครั้งยิ่งใหญ่และมีคนตายมากที่สุดในยุโรป (Black Death)

คศ 1710
กองทัพรัสเซียได้ใช้อาวุธเชื้อโรคชนิดเดียวกันในการสู้รบกับประเทศสวีเดน
คริสต์ศตวรรษที่ 15 ฝรั่งเศสได้ใช้อาวุธเชือ้กาฬโรคในการสู้รบกับชาวพื้นเมืองอเมริกาใต้

คศ 1754 -1767 
อังกฤษได้ใช้อาวุธเชื้อกาฬโรคในสงครามที่ทำระหว่างฝรั่งเศสกับ ชาวพื้นเมืองอินเดียน (French and Indian War) และได้ใช้กับชาวอเมริกันในการสู้รบเพื่ออิสรภาพในประเทศสหรัฐอเมริกา

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
เยอรมันได้เผยแพร่เชื้อฝีหนอง (Glanders) ในม้าและวัวของกองทัพสหรัฐอเมริกาก่อนที่จะมีการส่งสัตว์เหล่านั้นไปสงครามในยุโรป

คศ 1937
ประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มโครงการทดลองอาวุธชีวภาพในมนุษย์ที่ หน่วยปฏิบัติการ 731 (Unit 731) ตั้งอยู่ 40 ไมล์ไปทางตอนใต้ของเมืองฮาบิน (Harbin) ในแมนจูเรียของจีน โดยดำเนินการไปจนถึงปี คศ 1945 จึงถูกเผาทำลายไป
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง มีหลักฐานพบว่าญี่ปุ่นได้ทำการทดลองอาวุธชีวภาพในนักโทษ สงครามชาวจีนประมาณ 1000 คน โดยนักโทษส่วนใหญ่ได้เสียชีวิตจากโรคแอนแทร็กซ์ ที่แพร่กระจายจากทางเดินหายใจ (Aerosolized Anthrax) มีการคาดประมาณกันว่า มีผู้เสียชีวิตจากการทดลองนี้ 3000 คน ในช่วงเวลาเดียวกันมีรายงานการโรยหมัดหนูที่ติดเชื้อ กาฬโรคโดยเครื่องบินรบของญี่ปุ่นเหนือน่านฟ้าของจีนและแมนจูเรีย

คศ 1945
โครงการอาวุธชีวภาพของญี่ปุ่น สามารถผลิตเชื้อแอนแทร็กซ์ (Anthrax) จำนวน 400 กิโลกรัม พร้อมที่จะบรรจุในลูกระเบิดชนิดแตกกระจาย

คศ 1943
สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มจัดทำห้องปฏิบัติการและโครงการผลิตอาวุธชีวภาพเพื่อเป็นการ ต่อรองดุลอำนาจของเยอรมันและญี่ปุ่นในเวลานั้น โครงการนี้ไดัจัดตั้งที่แค็มป์ เดทริก (Camp Detrick) ปัจจุบันชื่อ ฟอร์ด เดทริก (Fort Detrick) ซึ่งในเวลานั้นเป็นฐานทัพอากาศขนาดเล็กและ มีการส่งผลผลิตไปยังจุดจัดเก็บต่างๆ จนกระทั่งปี คศ 1969 ประธานาธิบดี นิกสัน ได้สั่งยกเลิก โครงการอาวุธทางชีวภาพทั้งหมด

คศ 1970 และหลังจากนั้น
มีการโรยสารมีสีจากเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบินเหนือ น่านฟ้าลาวและกัมพูชา และพบว่าผู้ที่สัมผัสกับสารเหล่านั้นรวมทั้งสัตว์มีอาการเจ็บป่วยและตาย โดยมีความเห็นว่าสารที่ใช้เป็น Trichlothecene toxins ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจาก T2 mycotoxin สารพิษที่สกัดจากพืชและเห็ดพิษ

คศ 1971- 1972 
ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกคำสั่งให้มีการทำลายอาวุธทางชีวภาพทั้งหมด โดยในกำกับของกระทรวงเกษตร,กระทรวงสาธารณสุข, มลรัฐอาแคนซัส, มลรัฐโคโรลาโด และมลรัฐแมรีแลนด์ อาวุธทางชีวภาพที่ถูกทำลายประกอบด้วย Bacillus anthracis, Botulinum toxin, Francisella tularensis, Coxiella burnetii, Venezuelan equine encephalitis virus, Brucella suis and Staphylococcal enterotoxin B. 
ประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มให้ความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับอาวุธทางชีวภาพตั้งแต่ ปีคศ 1953 จนปัจจุบันโดยหน่วยงาน USAMRIID

คศ 1972
สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียต ได้จัดทำข้อตกลงเรื่องการห้ามสะสม, ห้ามการผลิต,และห้ามการเผยแพร่อาวุธชีวภาพ โดยมี 140 ประเทศทั่วโลกได้ลงสัตยาบรรณ ในเวลาต่อมา แต่กระนั้นก็ตามยังมีการแอบใช้อย่างจงใจในสงครามนอกรูปแบบต่างๆอีก เช่น กรณีฝนเหลือง (Yellow rain) ในสงครามเวียดนาม 

คศ 1978
มีการใช้สารไรซิน (Ricin) ในการฆาตกรรมเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุชาวบัลกาเรียซึ่งลี้ภัย ในประเทศสหราชอาณาจักรโดยใช้ร่มที่มีลูกดอกอาบยาพิษแทงที่ต้นขา ผลจากการชัณสูตร หลักฐานจากร่มที่จับได้พบว่าเป็นสารพิษจำพวกไรซิน ซึ่งใช้ทำการโดยสายลับชาวบัลกาเรีย ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตในขณะนั้น

คศ 1979
มีการรั่วไหลของสปอร์ของเชื้อแอนแทร็กซ์ (Anthrax) ในเมือง Sverdlovsk ในสหภาพโซเวียตในขณะนั้น สถานที่เก็บอาวุธชีวภาพและห้องปฏิบัติการ ชื่อ Compound 19 ประชาชนที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงมีอาการไข้สูง หายใจลำบากและเสียชีวิตในเวลาต่อมา รัฐบาลอ้างว่าสาเหตุของโรคมาจากการกินเนื้อวัวที่ติดเชื้อ แต่ทางสหรัฐอเมริกาได้ประเมิน สถานการณ์ว่ามาจากการรั่วไหลของอาวุธชีวภาพ

คศ 1992
สหรัฐอเมริกาได้รับการยืนยันจากประธานาธิบดีบอริส เยอซิน ของประเทศรัสเซียว่า เหตุการณ์ที่เกิดชึ้นมาจากการรั่วไหลของอาวุธชีวภาพ

คศ 1994
มีการตีพิมพ์ข้อสรุปของการรั่วไหลของเชื้อแอนแทร็กซ์ในประเทศรัสเซียในนิตยสาร Science ฉบับที่ 266 ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 66 คนจากผู้ป่วย 77 คนที่อยู่ในรัศมี 4 ไมล์ใต้แนวทิศทางลมจากห้องปฏิบัติการ

คศ 1991
สหประชาชาติพบหลักฐานการผลิตอาวุธชีวภาพในประเทศอิรักโดยพบว่าอิรัก ได้ผลิตและจัดเก็บ ระเบิดสังหารที่มีสาร botulinum toxin จำนวน 100 ลูก ระเบิดสาร Anthrax จำนวน 50 ลูก ระเบิดที่มีสาร alfatoxin 16 ลูก มีจรวด SCUD จำนวน 13 ลูกที่มีสาร botulinum toxin 10ลูกที่มีเชื้อ Anthrax และ 2 ลูกมี alfatoxin ซึ่งทั้งหมดถูกทำลายในเดือนมกราคม 1991

คศ 1995
สหประชาชาติได้พบว่าอิรักได้เตรียมการผลิตอาวุธชีวภาพประกอบด้วย Anthrax, botulinum toxins, Clostridium perfingens, alfatoxins, wheat cover smut และ Ricin. โดยมีการพบความพยายามในการทดลองในกระสุนปืนใหญ่ จรวดและถังสเปรย์
โดยรวมแล้วพบว่าอิรักมี สาร botulinum toxin จำนวน 19,000 ลิตร สาร Anthrax 8,500 ลิตร และสาร alfatoxin 2,200 ลิตร
ในสถานการณ์ปัจจุบันเชื่อว่าสารชีวภาพบางส่วนและนักวิทยาศาสตร์บางส่วนได้ผลิตอาวุธชีวภาพ ฝีดาษหรือ Smallpox ขึ้นมาได้โดยวิธีทางวิศวพันธุกรรมและถือว่าเป็นเชื้อโรคที่ร้ายแรง ตัวหนึ่งในประวัติศาสตร์ 

คำถาม: ทำไมท่านต้องมีความรู้เรื่องภัยที่อาจเกิดจากอาวุธชีวภาพ

ตอบ: บุคลากรทางการแพทย์จะต้องเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับต้นๆ เนื่องจากผู้ป่วยจะถูกนำส่งมาที่สถานพยาบาลก่อน เชื้อโรคนี้อาจแพร่ไปสู่ท่านเอง เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานร่วม และผู้ป่วยอื่นได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นการวินิจฉัยโดยอาศัยข้อบ่งชี้หรือสมมุติฐานที่ไม่เกินจริงจะช่วยในการป้องกันตนเองและป้องกันการกระจายของโรคได้อย่างดีที่สุด

 
คำถาม อะไรคือข้อบ่งชี้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากอาวุธชีวภาพ

คำตอบ ข้อบ่งชี้ว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดจากอาวุธชีวภาพ
1. โรคที่ไม่ธรรมดา, โรคที่ไม่เป็นโรคประจำของท้องถิ่นนั้นๆ. หรือมีโรคไม่ธรรมดาหลายๆชนิดเกิดในบุคคลคนเดียว
2. โรครุนแรงหลายโรคเกิดในบุคคลคนเดียว ซึ่งอาจเกิดจากการใช้สารชีวภาพผสมหลายชนิดในการโจมตี
3. จำนวนทหารหรือบุคคลธรรมดาจำนวนมากๆเกิดโรคในเวลาเดียวกันและสถานที่เดียวกัน
4. มีข้อมูลว่ามีการเกิดระบาดในสถานที่ที่เฉพาะเจาะจง
5. โรคที่เกิดเป็นโรคที่ติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
6. มีอัตราตายและอัตราป่วยสูงในกลุ่มประชากรที่เกิดโรค
7. ความเจ็บป่วยจำกัดอยู่ในสภาพภูมิประเทศหรือขอบเขตที่เฉพาะเจาะจง
8.มีการเจ็บป่วยน้อยมากในบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานที่มีการกรองอากาศหรือสถานที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบปิด
9. มีสัตว์ตายร่วมด้วยในบริเวณนั้น
10. ไม่พบมีพาหะนำโรคที่จะเป็นสาเหตุการระบาดโดยธรรมชาติของโรคนั้นๆ

 

คำถาม อะไรคืออวัยวะที่เกิดความเสียหายเมื่อได้รับภัยจากอาวุธชีวภาพ
ตอบ เราสามารถแบ่งเป็นสองกลุ่มง่ายๆคือ
กลุ่มที่มีผลต่อกล้ามเนื้อและระบบประสาท คือ botulinum toxin
กลุ่มที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจคือ Anthrax, กาฬโรค(Plaque) หรือ ฝีดาษ(Smallpox)
หรือบางครั้งเราอาจใช้คำจำกัดความสั้นๆ เพื่อแยกกลุ่มการติดเชื้อในผู้ป่วยที่คาดว่า ได้รับผลจากอาวุธชีวภาพดังนี้

 

อาการแสดง

โรคหรือภาวะติดเชื้อ

Wide mediastinum Anthrax
Pustular rash Smallpox
Flaccid paralysis Botulinum toxin
Bloody sputum Plaque
Fever and petechiae

Viral hemorrhagic fever

Diarrhea and local ulcer Tularemia
Burn in eyes and skin T2-mycotoxin
Puncture wound, weakness and chest pain Ricin
Fever, myalgia, and bone pain Brucellosis
Sepsis and hepatosplenomegaly Glanders and Melioidosis
 
คำถาม อาวุธทางชีวภาพแต่ละตัวมีความคงทนแค่ไหนในบรรยากาศ ติดต่อจากคนไปคนได้หรือไม่ และอัตราตายจากการติดเชื้อเป็นอย่างไร
ตอบ อาวุธชีวภาพส่วนใหญ่เป็นชนิดแพร่โดยวิธีกระจายในอากาศ มีความคงตัวต่างๆ กัน ดังตารางสรุปดังต่อไปนี้
Diseases

Persistence of Organism

Transmit
man to man

Lethality

Inhalation Anthrax

Very stable--spore remain viable for > 40 years in soil

No

High

Brucellosis

Very stable

No

< 5% untreated
Cholera Unstable in aerosols & fresh water; stable in salt water

Rare

Low with treatment, high without
Glanders

Very stable

Low

> 50%

Pneumonic Plaque

For up to 1 year in soil; 270 days in live tissue

High

High unless treated within 12-24 hours

Tularemia

For months in moist soils or other media

No

Moderate if untreated

Q fever

For months on wood and sand

Rare

Very low

Smallpox

Very stable

High

High to moderate

Venezuelan Equine Encephalitis Relatively unstable

Low

Low

Viral Hemorrhagic Fevers Relatively unstable - depends on agent Moderate High for Zaire strain, moderate with Sudan
Botulism For weeks in nonmoving water and food No High without respiratory support
Staph Enterotoxin B Resistant to freezing

No

< 1%

Ricin Stable

No

High

T-2 Mycotoxins For years at room temperature No Moderate
 
จากตารางยังจะเห็นได้ว่ามีโรคติดต่อจากคนไปคนไม่กี่ชนิดคือ Pneumonic Plaque และ Smallpox ส่วนโรคที่มีอัตราตายสูงคือ Pneumonic Plaque, Smallpox และ Inhalation Anthrax ดังนั้นเราควรเพ่งเล็งที่โรคทั้งสามนี้มากกว่าตัวอื่นๆ
 
Anthrax

คำถาม ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ Anthrax โดยวิธีสูดดมละอองเชื้อเข้าไปจะมีการดำเนินของโรคอย่างไร การตรวจและการรักษาจะทำได้อย่างไร
คำตอบ Bacillus Anthracis เป็นแบคทีเรียกรัมบวก ชนิดที่มีสปอร์ และสปอร์เป็นส่วนที่แพร่โรค คนสามารถสัมผัสกับเชื้อได้ 3 วิธีคือ การสัมผัสทางผิวหนังที่มีแผลหรือเลือด การสัมผัสเชื้อโดยการกิน และการสัมผัสเชื้อโดยการสูดดมสปอร์เข้าไปในปอด 
การติดเชื้อทางผิวหนังมักเกิดจากการทำการเลี้ยงสัตว์แล้วได้รับเชื้อบริเวณที่มีแผลโดยสัมผัสกับน้ำ เหลือง ขน ผม ของสัตว์ที่ติดเชื้อและเกิดเป็นตุ่มน้ำปนหนองที่บริเวณนั้นๆ ส่วนใหญ่เป็นที่มือ ต่อมาเป็นสะเก็ดดำคล้ายรอยบุหรี่จี้ (eschar) ต่อมามีการกระจายไปที่ระบบไหลเวียนโลหิต ได้มีอัตราตายน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์
การติดเชื้อโดยการกินพบได้น้อย สาเหตุเกิดจากการกินสัตว์ที่ติดเชื้อที่ไม่ได้ปรุงให้สุก
อาวุธชีวภาพจะทำให้เกิดการติดเชื้อโดยการสูดดมเอาสปอร์ของเชื้อเข้าไปในปอดและมีการแพร่กระ จายไปทั่วร่างกายอัตราตายสูงเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ระยะฟักตัวของการติดเชื้อชนิดสูดดมประมาณ 1-6 วัน อาการประกอบด้วย ไข้ อ่อนเพลีย ไอ หายใจหอบเหนื่อย ต่อมามีภาวะ hypoxia, septicemia และเสียชีวิตจากระบบหายใจล้มเหลวภายใน 24-36 ชั่วโมงภายหลังเกิดระบบหายใจล้มเหลว

Diagnosis

การวินิจฉัยระยะแรกโดยดูจากมีภาวะ widened mediastinum และ pleural effusion โดยมักไม่พบ pulmonary infiltration 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยจะพบมีภาวะ Hemorrhagic meningitis ร่วมด้วย
การวินิจฉัยจะไม่พบเชื้อในน้ำลาย แต่จะสามารถย้อมพบเชื้อในเลือดในระยะหลังๆ ของโรค

Treatment

การรักษา คือ 

Ciprofloxacin 400 mg IV every 12 hrs หรือ
Doxycycline 200 mg IV load, followed by 100 mg IV every 12 hrs หรือ
Penicillin 4 mU IV every 4 hrs
ระยะเวลาให้ยา 60 วันและสามารถเปลี่ยนเป็นยากินเมื่ออาการดีขึ้น

การป้องกัน

การป้องกันโรค 
1. Vaccine ไม่มีในประเทศไทย และผลของการป้องกันโรคยังไม่แน่ชัดสำหรับในราย inhaletional anthrax
2. การกินยาปฏิชีวนะในรายที่สัมผัสโรคคือ

Ciprofloxacin 500 mg oral bid หรือ
Doxycycline 100 mg oral bid หรือ
Amoxycillin 500 mg oral every 8 hours
ระยะเวลาที่กินคือ 60 วัน

3. การดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อสังเกตอาการเพื่อเปลี่ยนเป็นยาฉีดอย่างทันท่วงทีและ ความต่อเนื่องของการได้รับยา

คำถาม ถ้าผู้ป่วยรายที่ 2 ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคแอนแทร็กซ์จากการสูดดมสารชีวภาพและมาพบท่าน ที่โรงพยาบาล ท่านคิดว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัยทั้งตัวเอง และบุคคลอื่น
คำตอบ กระบวนการในการดูแลผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัยทำได้ดังนี้
1. ต้องตั้งข้อสงสัยว่าเป็นโรคจากสารชีวภาพใดก่อนโดยจากอาการที่ได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งในรายนี้น่าสงสัยเป็นโรคแอนแทร็กซ์จากการสูดดม 
2. สารชีวภาพดังกล่าวมีความสามารถในการแพร่กระจายจากคนไปคนหรือไม่ ซึ่งในรายนี้โรคแอนแทร็กซ์จากการสูดดมไม่มีการกระจายจากคนไปคน แต่สิ่งที่ต้องระวังอยู่เสมอคือ เชื้อนี้สามารถติดมากับเสื้อผ้า และร่างกายภายนอกของผู้ป่วย ดังนั้นผู้ทำการดูแลรักษาต้องทำการลดการปนเปื้อนโดยการเปลี่ยนเสื้อผ้าและทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยก่อนทำการรักษาและปฏิบัติดังนี้ (Standard Precautions)

2.1 ล้างมือหลังดูผู้ป่วยทุกครั้ง
2.2 สวมถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัสเลือด น้ำลือดและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
2.3 สวมเครื่องป้องกันตาและเครื่องป้องกันการหายใจชนิดธรรมดา (mask) เพื่อป้องกันการกระเด็นของเลือด น้ำเหลืองและสิ่งคัดหลั่ง
2.4 ใช้อุปกรณ์การแพทย์อื่นๆ โดยตระหนักอยู่เสมอว่าอาจมีการแพร่ของเชื้อโรค ไปกับเครื่องมือนั้นๆ เช่น น้ำหลืองเปื้อนเปลบรรทุกผู้ป่วย การใช้ stethoscopes ในการตรวจผู้ป่วยหลายคนในเวลาเดียวกันอย่างประมาท

3. ในรายที่วินิจฉัยเป็น Smallpox มีการแพร่กระจายจากคนไปคนโดย ทั้งทางลมหายใจและทางเชื้อกระจายจากผิวหนังเข้าสู่อากาศ ดังนั้นผู้ทำการดูแลรักษาต้อง ปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อควรปฏิบัติในรายไม่มีการกระจายจากคนไปคนดังนี้ (Airborne Precautions : Smallpox)

1.1 ปฏิบัติตาม Standard Precautions
1.2 ห้องที่ผู้ป่วยอยู่ต้องเป็นชนิดแยก มีการดูดลมภายในออกและต้องมีการกรองอากาศ อย่างเหมาะสมก่อนปล่อยออกสู่อากาศภายนอก
1.3 สวมใส่อุปกรณ์ระบบปิดป้องกันการหายใจปนเปื้อนอากาศในห้อง (Respiratory protection) ก่อนเข้าห้องพักผู้ป่วย
1.4 จำกัดการเคลื่อนย้ายหรือส่งต่อผู้ป่วย ให้สวมเครื่องป้องกันการหายใจชนิดธรรมดา (mask) เมื่อจำเป็นต้องเครื่องย้ายผู้ป่วย

4. ในรายที่วินิจฉัยเป็น Pneumonic Plaque มีการแพร่กระจายจากคนไปคนโดย ทางลมหายใจและทางเชื้อกระจายสู่อากาศแบบละอองน้ำ (Droplet) ดังนั้นผู้ทำการดูแลรักษาต้อง ปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อควรปฏิบัติในรายไม่มีการกระจาย จากคนไปคนดังนี้ (Droplet Precautions : Pneumonic Plaque)

4.1 ปฏิบัติตาม Standard Precautions
4.2 ห้องพักผู้ป่วยต้องแยกจากผู้ป่วยอื่นแต่สามารถอยู่รวมกับผู้ป่วยโรคเดียวกัน ระยะห่างระหว่างผู้ป่วยอย่างเหมาะสมคือประมาณ 3 ฟุต
4.3 สวมใส่หน้ากากป้องกันการหายใจ (mask) เมื่อต้องปฏิบัติงานใกล้กับผู้ป่วยน้อยกว่า 3 ฟุต
4.4 จำกัดการเคลื่อนย้ายหรือส่งต่อผู้ป่วย ให้สวมเครื่องป้องกันการหายใจชนิดธรรมดา (mask) เมื่อจำเป็นต้องเครื่องย้ายผู้ป่วย

คำถาม ผู้ปฏิบัติงานสามารถลดการปนเปื้อน (decontamination) สารชีวภาพจากผู้ป่วยได้อย่างไร 
คำตอบ การทำการลดการปนเปื้อนจำเป็นต้องระลึกถึงสองคำตอบต่อไปนี้ คือ

1. การทำความสะอาดโดยดูจากวัตถุที่ต้องได้รับการลดการปนเปื้อน และ
2. กลวิธีในการลดการปนเปื้อนโดยทาง กายภาพ ชีวภาพ และสารเคมี

การทำความสะอาดโดยดูจากวัตถุที่ต้องได้รับการลดการปนเปื้อน วัตถุที่ต้องได้รับการลดการปนเปื้อน คือ ผู้ป่วย อุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วยและอุปกรณ์ที่ติดต่อมากับผู้ป่วย

น้ำยาที่มีความรุนแรงสูงมากอาจเหมาะสำหรับทำความสะอาดเครื่องมือแต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วย การทำความสะอาดสำหรับผู้ป่วยมีดังนี้

  1. การล้างอย่างระมัดระวังด้วยสบู่และน้ำในบริเวณที่ปนเปื้อนโดยระวังอย่างให้เกิดรอยแผล
  2. สารละลาย Hypochlorite และสารฆ่าเชื้ออื่นๆ เหมาะในรายที่มีการปนเปื้อนจำนวนมาก โดยใช้ความเข้มข้น 0.5% sodium hypochlorite โดยต้องใช้เวลาในการทำความสะอาดประมาณ 10-15 นาทีเป็นอย่างน้อย โดยภายใน 5 นาที สารละลายนี้จะทำลายเชื้อส่วนใหญ่ได้และลดการเป็นพิษ
  3. สารละลายตามข้อ 2 ห้ามใช้ใน แผลเปิดของร่างกาย หรือในรายที่มีอุบัติเหตุของสมองหรือไขสันหลังร่วมด้วย และต้องระมัดระวังในการใช้โดยห้ามให้ละอองของสารนี้โดยตาโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้เกิดภาวะ corneal opacities ได้
  4. ล้างซ้ำด้วยน้ำเกลือหรือสารทำความสะอาดอื่นๆ ต่อเช่น alcohol หรือ hibitane

การความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้

1. สำหรับเสื้อผ้าและเครื่องมือให้ใช้สารละลาย 5% hypochlorite โดยใช้เวลา 30 นาทีในการทำลายเชื้อก่อนทำความสะอาดโดยทั่วไป 
2. สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนสูงจึงต้องระมัดระวังในการเททิ้งลงภาชนะที่จัดเก็บ

กลวิธีในการลดการปนเปื้อนโดยทาง กายภาพ ชีวภาพ และสารเคมี

1. Mechanical decontamination เช่น การใช้เครื่องกรองน้ำสำหรับน้ำดื่ม เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อโรคทางน้ำ การใช้เครื่องกรองอากาศ (air filter) เพื่อกำจัดสปอร์ของเชื้อแอนแทร็กซ์ หรือการล้างน้ำเพื่อทำความสะอาดผิวหนัง
2. Chemical decontamination การใช้สารเคมีในการกำจัดวัตถุชีวภาพโดยคำนึงถึงวัตถุที่ถูกใช้สารเคมีนั้นๆ
3. Physical means เช่น ความร้อน รังสีและปัจจัยทางชีวภาพ

3.1 Sterilzation คือการกำจัดเชื้อทั้งหมดโดยวิธีใช้ dry heat เป็นเวลาสองชั่วโมงที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส หรือใช้วิธี autoclave ด้วยไอน้ำที่ 121 องศาเซลเซียสและความดัน 1 บรรยากาศเป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาที
3.2 UV radiation สามารถใช้เพื่อการกำจัดเชื้อได้แต่ยากในการควบคุมประสิทธิภาพ รังสีจากดวงอาทิตย์สามารถและรังสีUV สามารถฆ่าเชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่ในอากาศได้
3.3 สารชีวภาพที่ตกอยู่บนดินสามารถถูกทำลายด้วยสารมีชีวิตที่มีอยู่ตามธรรมชาติในดินได้ ดังจะเห็นว่าการสูดดมสารที่ตกบนดินแล้วเกิดโรคเป็นไปได้ยาก ดังนั้นจึงไม่มีคำแนะนำในการกำจัดสารชีวภาพที่ตกลงบนพื้นดินธรรมชาติ
3.4 ในกรณีของถนนหรือทางเท้าที่มีคนสัญจรผ่านไปมา การทำความสะอาดโดยใช้สารเคมีที่มีความสามารถในการจับเกาะรวมก้อนของฝุ่นตะกอนจะช่วยลดการกระจายในอากาศได้ ถ้ามีความจำเป็นการใช้สารละลายกลุ่ม chlorine จะลดการติดเชื้อได้ 
3.5 ในกรณีห้องปิด มีความเสี่ยงสูงต่อการฟุ้งกระจายของสารชีวภาพ การทำความสะอาดทำได้โดยการรมห้องด้วยสารละลาย formaldehyde และทำความสะอาดพื้นห้องด้วยสารละลาย chlorine ต่อไป

สรุป

 ตัวอย่างผู้ป่วยทั้งหมดมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากการก่อการร้ายด้วยอาวุธชีวภาพโดยในผู้ป่วยรายที่หนึ่งอาการเข้าได้กับการระบาดของ Viral hemorrhagic fever ในผู้ป่วยรายที่สองอาการเข้าได้กับการติดเชื้อแอนแทร็กซ์จากการหายใจ และผู้ป่วยรายที่สามเข้าได้กับการเกิดการระบาดของ Smallpox
ความจำเป็นในการตั้งรับปัญหาที่เกิดจากวัตถุชีวภาพหรืออาวุธชีวภาพสำหรับบุคลากรทางการแพทย์คือการวินิจฉัยแยกโรคอย่างรวดเร็ว การแยกผู้ป่วยติดเชื้อออกจากผู้ป่วยทั่วไป การทำความสะอาด การเริ่มการสืบค้นและการเริ่มต้นรักษาอย่างทันท่วงที การประเมินสถานการณ์การกระจายของโรค การป้องกันบุคลากรที่เกี่ยงข้องจากการได้รับเชื้อโดยตรงและการลดการแพร่กระจายด้วยวิธีการต่างๆ ข้างต้น

ตารางแสดงโรค ชื่อ เชื้อก่อโรค อาการ การรักษา วัคซีนที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประสิทธิภาพของวัคซีน

DiseaseOrganism Sign & symptom treatment Vaccine  Efficacy
Bacteria        
Inhalation anthrax Bacillus anthracis Fever, cough, mild chest discomfort, dyspnea, stridor, cyanosis, shock
Death 24-36 hrs after onset of severe symptoms, Hemorrhagic meningitis up to 50%

Ciprofloxacin 400 mg IV q 8-12 hr

Doxycycline 200 mg IV then 100 mg IV q 8-12 hr
Penicillin 2 MU IV q 2 hr plus Streptomycin 30 mg/kg IM qd (or gentamicin)

Chemoprophylaxis

Ciprofloxacin 500 mg PO bid x 4 wk plus vaccine or 60 days without vaccine

Doxycycline 100 mg PO bid x 4 wk plus vaccine or 60 days without vaccine

2 dose efficacy against up to 1000 LD50 in monkeys
Brucellosis Brucellae group ( B.abortus, B.Melitensis, B. Suis and rarely B. canis Fever, headache, arthalgia, mental changes, Sacroiliitis, vertebral osteomyelitis

Doxycycline 200 mg/d PO plus rifampin 600-900 mg/d PO x 6 wk

Olfoxacin 400/ rifampin 600 mg/d PO x 6 wk

Chemoprophylaxis

Doxycycline and rifampin x 3 wk

 

No vaccine
Cholera Vibrio Cholera Watery diarrhea, severe dehydration

Tetracycline 500 mg q 6 hr x 3 days

Doxycycline 300 mg once, or 100 mg q 12 hr x 3 days

Ciprofloxacin 500 mg q 12 hr x 3 days

Norfloxacin 400 mg q 12 hr x 3 days

No data on aerosol
Glanders Burkholderia mallei High fever, pleuritic chest pain, cervical adenopathy, hepatosplenomegaly, generalized papular/ pustular eruptions. Acute pulmonary and septicemic disease Sulfadiazine
100 mg/kg in divided doses x 3 weeks
No vaccine
Pneumonic Plaque Yersinia pestis High fever, headache, hemoptysis and toxemia, rapid progression to dyspnea, stridor and cyanosis. Death from respiratory failure, shock and bleeding

Streptomycin 30 mg/kg/day IM in 2 divided doses x 10 day (Or gentamicin)

Doxycycline 200 mg IV then 100 mg IV bid x 10-14 days

Chloramphenicol 1 g IV qid x 10-14 days

Chemoprophylaxis

Doxycycline 100 mg PO bid x 7 days or duration of exposure

Ciprofloxacin 500 mg PO bid x 7 days

Doxycycline 100 mg PO bid x 7 days

Tetracycline 500 mg PO bid x 7 days

3 doses not protective against 118 LD50 in monkeys
Tularemia Francisella tularensis

Typhoidal- fever,

headache, chest discomfort, anorexia, non-productive cough. Pneumonia in 30-80%. Oculoglandular and periorbital edema

 

Streptomycin 30

mg/kg IM qd x 10-14 days

Gentamicin 3-5 mg/kg/d IV x 10-14 days

Chemoprophylaxis

Doxycycline 100 mg PO bid x 14 days

Tetracycline 2 g/d PO x 14 days

80% protection

against 1-10 LD50

 

Q fever Coxiella burnetii Fever, cough, pleuritis chest pain, duration of illness 2 days to 2 weeks

Tetracycline 500 mg PO q 6 hrs x 5-7 days

Doxycycline 100 mg PO q 12 hrs x 5-7 days

Chemoprophylaxis

Tetracycline start 8-12 d post exposure x 5 day

 

94% protection against 3500 LD50 in guinea pigs
Virus        
Smallpox Orthopox virus Fever, back pain, malaise, headache, rigor. Papules, pustules or scabs of similar stage on face, extremeties, palms, soles Cidofovir (effective in vitro) Vaccine protects against large doses in primates
Venezuelan Equine Encephalitis (VEE) Mosquito-borne alphaviruses Generalized malaise, fever, severe headace, photophobia, myalgia, encephalitis 4% in children , 1% in adult supportive TC 83 protects against 30-500 LD50 in hamsters
Viral Hemorrhagic Fevers
  1. Arenaviridae-Argentine,Bolivian and Venezuelan hemorrhagic fevers
  2. Bunyaviridae- Huntavirus genus
  3. Nairovirus genus- Congo-Crimean hemorrhagic fever
  4. Phlebovirus genus- Rift Valley fever
  5. Filoviridae – Ebola and Marburg viruses
  6. Flaviviridae- dengue and yellow fever viruses
Flushing face and chest, petechiae, bleeding, edema, hypotension and shock

Ribavirin (arenaviruses)

30 mg/kg IV initial dose

15 mg/kg IV q 6 h x 4 day

7.5 mg/kg IV q 8 h x 6 day

No vaccine
Toxins        
Botulism

Toxin from bacteria Clostridium botulinum

Ptosis, blurred vision, diplopia, generalized weakness, dysarthria, dysphonia, flaccid paralysis and respiratory failure

Hepavalent equine antitoxin (A-G)

or tetravalent equine antitoxin (A, B, E)

3 dose efficacy 100% against 25-250 LD50 in primates
Staph Enterotoxin B

Toxin from bacteria
Staphylococcus aureus

Fever, chills, non-productive cough, retrosternal pain, nausea, vomiting and diarrhea Supportive No vaccine
Ricin

Toxin from plant

Ricinus communis

 

Fever, chest tightness, cough, dyspnea, arthalgia, Airway necrosis, pulmonary edema, death from hypoxia in 36-72 hrs. Supportive No vaccine
T-2 Mycotoxins Toxin from fungi genus Fusarium Skin pain, pruritus, vesicles necrosis, chest pain and hemoptysis. Weakness, ataxia, death Supportive No vaccine

แพทย์ท่านใดที่มีข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ต่อการศึกษาแพทย์ ไม่ว่าระดับใดก็ตาม สามารถส่งมาได้ที่นี่ครับ

MainpageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiclinic Newsfoldspacebottom.gif (372 bytes)Contact Me,Dr.OU

This web is created and designed by หมออู๋
28 October 2001

Copyright (c) 1998-1999, ThaiClinic.com. All Right Reserved.

Back to Top