โรคฟันในเด็ก
โรคฟันที่สำคัญสำหรับเด็ก ได้แก่
โรคฟันผุ
สาเหตุของโรคฟันผุ
ฟันผุเกิดขึ้นจากคราบจุลินทรีย์ในช่องปากทำปฏิกิริยากันน้ำตาลในคราบอาหาร ทำให้เกิดกรดซึ่งมีความเข้มข้น
สูงพอที่จะทำลายผิดฟันทำให้ฟันผุ
ตามปกติถ้าสภาพฟันที่สะอาดไม่มีแผ่นคราบอาหารจับอยู่ตามผิวฟัน น้ำลายจะมีคุณสมบัติเป็นด่างเล็กน้อย
ตามธรรมชาติ น้ำลายที่มีฤทธิ์เป็นด่างนี้ จะทำหน้าที่เป็นตัวชะล้างผิดฟันให้สะอาดอยู่เสมอ
แต่ถ้าสภาพปากไม่สะอาด มีเศษอาหารจับอยู่ตามซอกฟันมาก น้ำลายจะเปลี่ยนคุณสมบัติเป็นกรดเนื่องจาก
แบคทีเรีย STREPTOCOCCUS MUTANS จะผลิตเอ็นซัยม์ออกมาบ่อย
เศษอาหารบนแผ่นคราบฟัน ซึ่งเป็นสารจำพวกคาร์โบไฮเดรทเป็นส่วนใหญ่ ระหว่างนั้นจะเกิดปฏิกิริยามี
กรดเกิดเกิดขี้น และถ้าน้ำลายมีความเข้มข้นของกรดมาก กับ ระดับ พี.เอช. 4 - 5 ผิดฟันจะถูกกรดกัดทำลาย โ่ดยจะทำปฏิกิริยากับแคลเซียมออกไป ผิวฟันจะเกิดการกร่อนยุ่ย นิ่มเป็นขุยเกิดเป็นรูผุขึ้นเป็นที่หมักหมมของ เศษอาหาร รูผุนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาก็จะขยายใหญ่ขึ้น และลึกลงไปใกล้โพรงประสาทซึ่งจะทำให้เกิดอาการเสียว หรือปวดฟันตามมา
ขั้นตอนการลุกลามของโรคฟันเด็ก และการรักษา
1. ฟันผุเป็นรูตื้น ๆ มองเห็นเป็นจุดสีน้ำตาล หรือสีดำ บนผิดฟันระยะนี้จะยังไม่มีอาการปวดหรือเสียวฟัน
การรักษา
- อุดฟัน หรือขูดฟันพร้อมเคลือบร่องฟัน โดยที่ไม่มีการเจ็บหรือเสียวฟันระหว่างการอุด
2. ฟันผุลึกลงไปกับชั้นเนื้อฟัน ระยะนี้จะเริ่มมีอาการเสียวฟัน สังเกตได้โดยเฉพาะเวลาดื่มน้ำเย็น
การรักษา
- อุดฟัน โดยมีวิธีการที่ยุ่งยากมากขึ้น เพราะต้องมีการใส่ยาชาก่อนทำการอุดฟันเพื่อป้องกันการเสียว
หรือเจ็บในระหว่างอุดฟัน
3. ฟันผุลึกถึงประสาทฟัน จะเสียวฟันมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีเศษอาหารไปอุดในช่องผุ
การรักษา
- ตัดประสาทส่วนบนที่ติดเชื้อออกและใส่ยารักษาประสาทฟันส่วนที่เหลือไว้(PULPOTOMY) และ
อุดฟันให้ แต่ถ้าฟันผุมากจนอุดไม่ได้ ทันตแพทย์จะครอบฟันโลหะไว้ให้ซึ่งฟันครอบนี้จะหลุดตามฟันน้ำนม เมื่อถึงเวลาที่ฟันแท้ขึ้น
4. ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน ระยะนี้จะปวดฟันมาตลอดเวลา
การรักษา
- รักษารากฟัน และครอบฟัน
5. เมื่อมีหนองอักเสบรอบรากฟัน ระยะนี้เป็นระยะที่มีอาการบวมร่วมด้วย อาการจะรุนแรงกว่าระยะอื่น ๆ
ที่กล่าวมา อาการปวดจะรุนแรงและทรมานมาก บางรายจะมีอาการอ้าปากไม่ขึ้น แก้มบวม คางโย้ ตาปิด
การรักษา
- ในกรณีที่พอรักษาได้ จะรักษารากฟันและครอบฟัน
- ในกรณีที่เป็นมากรักษาไม่ได้ จำเป็นต้องถอนฟันและใส่เครื่องมือกันฟันล้ม เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นได้โดย
ไม่คุด
วิธีป้องกัน
1. แปรงฟันให้ถูกวิธี ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้สะอาด หลังอาหารทุกมื้อ อย่างปล่อยให้มีคราบ อาหาร
ติดอยู่ในช่องปากเป็นเวลานาน
2. ตรวจเช็คสุขภาพฟันกันทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
3. ในฟันกรามที่มีร่องลึก จะเก็บกักเศษอาหารและทำความสะอาดยาก ทำให้ฟันผุได้ง่าย ควรให้ทันต
แพทย์เคลือบปิดร่องฟัน เพื่อป้องกันฟันผุ
4. ปรึกษาทันตแพทย์เกี่ยวกับการเคลือบหรือรับประทานฟลูออไรด์ เพื่อทำให้ฟันแข็งแรง
5. ควรเลือดอาหารที่มีประโยชน์แก่เด็ก เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ผัก ผลไม้ ส่วนอาหาร หวานและติดฟัน
พยายามจำกัด หรืองดเว้น
This Web Page Design & Created by
Dr.OU
28 June 1998
Copyright (c) 1998.
ThaiClinic.com
. All rights reserved.