ThaiClinic.Com (http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl)
News >> Today News >> ลูกร้องไม่หยุด อาจไม่ใช่เรื่องปกติ เช็คให้แน่ใจ ใช่อาการโคลิคหรือไม่
(Message started by: unyana on 02/11/20 เวลา 22:34:06)

Title: ลูกร้องไม่หยุด อาจไม่ใช่เรื่องปกติ เช็คให้แน่ใจ ใช่อาการโคลิคหรือไม่
ส่งโดย unyana on 02/11/20 เวลา 22:34:06
การเลี้ยงดูทารกในช่วง 3 เดือนแรกถือเป็นเรื่องท้าทายที่สุดช่วงหนึ่งของครอบครัว เป็นช่วงเวลาที่ต้องปรับตัวเรียนรู้และทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของลูกน้อยที่เพิ่งลืมตาดูโลก โดยลูกน้อยของเรายังพูดไม่ได้จึงใช้การร้องไห้เป็นการสื่อสารว่าลูกมีอาการหิว ปวดท้อง หรือง่วง  ซึ่งพ่อแม่ก็จะค่อย ๆ เข้าใจความต้องการของลูกน้อยมากขึ้นตามระยะเวลา
     แต่หากในช่วง 3 เดือนแรกนี้ ลูกน้อยของเรามีอาการลูกร้องไม่หยุด (https://pantip.com/topic/31718365) อย่างต่อเนื่องยาวนานนับชั่วโมง และเป็นในเวลาเดิม ๆ แทบทุกวัน เช่นช่วง 6 โมงเย็น หรือ 3 ทุ่ม คุณพ่อคุณแม่ก็อาจต้องนึกไปถึง อาการโคลิค แน่อนเลย
      เอกสารของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีการอธิบายความหมายของโคลิคไว้ว่ามีรากศัพท์มาจากคำว่า “โคลอน”ในภาษากรีกซึ่งแปลว่าลำไส้ เพราะมีความเข้ากันใจว่า เด็กร้องไห้ จากการที่ลำไส้ทำงานไม่ดีจึงปวดท้อง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทารกร้องไห้ (https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1729148) แบบโคลิคนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องการการทำงานของลำไส้แต่อย่างใดเลย
     เมื่อลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ (https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1729148)แบบโคลิค สิ่งที่พ่อแม่จะช่วยให้ลูกสงบขึ้นได้ก็คือ การเข้าปลอบลูกโดยทันทีอุ้มเด็กไว้และให้เคลื่อนไหวโยกไปมาเบา ๆ โยกเป็นจังหวะหรือเต้นตามเสียงเพลง, พาไปอยู่ในที่เงียบ ๆ , หาเสื้อผ้าที่แห้งไม่อับชื้นให้ลูกสวมใส่, วางลูกบนตักแล้วค่อย ๆ ลูบหลังอย่างแผ่วเบา, อาบน้ำอุ่นแล้วห่อตัวให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและสบาย โดยจะช่วยให้ลูกของเราผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น
     แต่หากลองทุกวิธีการแล้ว ลูกยังคงร้องไห้รุนแรงกระสับกระส่าย หน้าแดง ขาหดงอ ตัวซีดหรือเขียว หรือเริ่มหายใจผิดปกติ พ่อแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจและควรรีบนำลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจระบบต่าง ๆ ในร่างกายว่าทำงานปกติหรือไม่ เพื่อให้แพทย์ได้วินิจฉัยว่าลูกน้อยของเราเป็นอะไร โดยแพทย์ก็จะให้คำปรึกษาถึงการตอบสนองลูกน้อยอย่างเหมาะสมต่อไป เพราะอาการที่เกิดขึ้นกับทารกส่วนใหญ่จะทอดยาวจนอายุย่างเข้าเดือนที่ 4-6 นั่นหมายถึงพ่อแม่ต้องใช้ความอดทนและการปรับตัวมากพอสมควรในการรับมือกับเรื่องนี้ หากเกิดความเครียดที่มากเกินไปก็แนะนำลองสลับคนปลอบโยนลูกของเราแทนได้ ที่สำคัญคือต้องตระหนักเสมอว่าเด็กที่มีอาการนี้นั้น ไม่ถือเป็นความผิดปกติ เพราะเมื่ออายุประมาณ 4 – 6 เดือนแล้วอาการเหล่านี้จะหายไป



ThaiClinic.Com . All Rights Reserved.