หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   ห้องถามตอบสุขภาพ
   ห้อง อายุกรรม ศัลยกรรมและโรคทั่วไป
   Post reply ( Re: กระดูกข้อศอกแตก ควรผ่าหรือไม่ผ่า )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: lphatt โพสเมื่อวันที่: 04/25/20 เวลา 23:49:59
สวัสดีค่ะ อยากทราบว่าหากมีอาการกระดูกข้อศอกแตกควรจะรักษาด้วยการผ่าตัดหรือไม่คะ และถ้าหากไม่ผ่าจะมีผลอย่าไรบ้างคะ เท่าที่ศึกษามา อาจทำให้ไม่สามารถยืดงอแขนได้ ต้องทำกายภาพต่อ
 
คุณแม่ลื่นล้ม มีอาการข้อศอกบวม เลยไปโรงพยาบาล เนื่องจากไม่ได้ไปกับคุณแม่ด้วย เลยทราบอาการตามที่คุณแม่บอก ว่า "ข้อศอกด้านในแตก" (แต่ถามไปถามมาแม่บอกว่าอาจจะไม่แตกก็ได้)  และดูเหมือนคุณแม่จะไม่อยากผ่าเท่าไหร่ เลยอยากได้คำแนะนำเพิ่มเติมค่ะ
 
 
ขอบคุณค่ะ
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 05/30/20 เวลา 13:28:01

โพสนานแล้ว .. การตัดสินใจ และ ผลของการตัดสินใจนั้น คง ออกมาเรียบร้อยแล้ว ..
 
ขอเสนอแนวคิด เกี่ยวกับ การตัดสินใจเรื่อง ผ่าตัด ไม่ผ่าตัด .. ไม่ว่าจะเลือกทางไหน ก็มีข้อดีข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น  
 
แต่ผู้จะตัดสินใจ ตอบคำถามได้ดีที่สุด ก็คือ แพทย์ที่ได้เห็นได้ตรวจผู้ป่วย  
 
แพทย์ที่ไม่ได้เห็น ไม่ได้ตรวจ (แบบผม) ก็แนะนำทั่วไป ไม่สามารถแนะนำเฉพาะเจาะจงเฉพาะผู้ป่วยแต่ละคนได้ ...
 
 
 
 
ผ่า - ไม่ผ่า อย่างไหนดีกว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008& ;group=6 &gblog=2
 
การที่จะเลือกวิธีการรักษาแบบไหนนั้นท่านก็คงจะต้องปรึกษากับศัลยแพทย์กระดู กและข้ออีกครั้งว่ามีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง และควรจะเลือกวิธีรักษาแบบที่มีข้อดีมากที่สุด และมีข้อเสียน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
 
แต่ก็คงไม่มีวิธีไหนที่มีแต่ข้อดีไม่มีข้อเสียเลย ทั้งวิธีผ่าตัด และวิธีไม่ผ่าตัด
 
บทความนี้จะยกตัวอย่างข้อดีและข้อเสียที่จะพบได้ทั่ว ๆ ไปในการรักษา แต่ไม่ได้หมายความว่า ข้อเสียนั้นจะต้องเกิดในผู้ป่วยทุกคน เป็นเพียงแค่ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นได้เท่านั้น …
 
 
 
วิธีไม่ผ่าตัด
 
ข้อดี คือ
 
• ไม่ต้องเจ็บตัวจากแผลผ่าตัด ไม่ต้องเสี่ยงกับการเสียเลือด
 
• ไม่ต้องเสี่ยงกับการให้ยาระงับความรู้สึก ทั้งการฉีดยาชาเฉพาะที่หรือการดมยาสลบ เพื่อทำผ่าตัด
 
• เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
 
• อาจจะไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาลหรือถ้าต้องนอนก็มักจะนอนไม่กี่วัน
 
 
ข้อเสีย คือ
 
• ต้องมีการใส่เฝือกเป็นระยะเวลานาน
 
• กระดูกที่หัก อาจจะไม่ติดหรือติดช้า
 
• เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการที่ต้องพักนาน ๆ เช่น แผลกดทับ การติดเชื้อในปอด ท้องผูก เป็นต้น
 
• กระดูกติดผิดรูป
 
 
 
 
วิธีผ่าตัด
 
ข้อดี คือ
 
• กระดูกจะได้รับการจัดให้เข้าที่เหมือนกับปกติ หรือ อยู่ในแนวที่ดีใกล้เคียงกับปกติ ทำให้กระดูกติดไม่ผิดรูป
 
• เมื่อหายแล้ว ทำให้อวัยวะนั้นกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด
 
• ผู้ป่วยเริ่มทำกายภาพบำบัดได้เร็ว ทำให้สามารถกลับไปดำเนินชีวิตอย่างปกติได้เร็วขึ้น
 
 
ข้อเสีย คือ
 
• เกิดแผลเป็นจากการผ่าตัด
 
• เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่บริเวณแผลผ่าตัด
 
• มีความเสี่ยงจากผลแทรกซ้อนของยาระงับความรู้สึก ที่ใช้ในการผ่าตัด
 
• ความเสี่ยงจากการเสียเลือด และ การได้รับเลือด
 
• อาจจะต้องนอนพักในโรงพยาบาลหลายวัน
 
• เสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
 
• อาจจะต้องมาผ่าตัดซ้ำอีกครั้ง โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูกในบางตำแหน่ง เพื่อเอาเหล็กนั้นออกเมื่อกระดูกติดสนิทดีแล้ว เช่น การผ่าตัดดามเหล็กที่ กระดูกต้นขา หรือ กระดูกหน้าแข้ง ซึ่งจะต้องผ่าเอาเหล็กออกเมื่อกระดูกติดดีแล้ว ( ประมาณ 1 - 2 ปีหลังการผ่าตัดใส่เหล็กไว้ )
จากคุณ: watbote โพสเมื่อวันที่: 07/26/23 เวลา 21:54:20
Smiley


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by