ThaiClinic.Com (http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl)
For MD. >> ICU : Interesting Creative Usergroup >> ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
(Message started by: doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:15:19)

Title: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:15:19
คำเตือน
ผู้ใดแสดงความเห็นหรือข้อความโดยสุจริต

(๓) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ

(๔) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาล หรือในการประชุม

ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท?

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:16:31
สรุปย่อเนื้อหาแห่งคดี (ฎ.๗๖๓๔ /๒๕๕๔)
     ผู้ฟ้องประกอบด้วยสามีและบุตรของผู้ตาย  ผู้ถูกฟ้องคือ สถานพยาบาล ผู้อำนวยการ วิสัญญีแพทย์ และ สูติแพทย์  
     เหตุเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘
     มารดา G8P3A4
     ประเด็นฟ้อง ไม่รักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพในระดับดีที่สุด
                       กระทำการโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
     รายละเอียดบางส่วนของคำบรรยายฟ้อง  บุตรคนก่อนเคยคลอดกับสูติแพทย์ และวิสัญญีแพทย์ท่านนี้ ด้วยการทำ painless labourให้   สูติแพทย์ท่านเดียวกันนี้เคยเจาะถุงน้ำคร่ำให้ในการตั้งครรภ์ครั้งก่อนหน้านี้
            การคลอดครั้งนี้ สูติแพทย์เจาะถุงน้ำคร่ำให้เมื่อ ปากมดลูกเปิด ๒ ซม. บาง ๘๐ %  ศีรษะเด็กระดับ ลบหนึ่งถึงลบสอง   น้ำคร่ำใสดี  ระหว่างนี้แพทย์สั่งให้พยาบาลห้องคลอดเฝ้าคลอดต่อ เพราะเห็นว่ากระบวนการคลอดยังไปไม่ถึงจุดที่จะใกล้คลอด   สั่งด้วยวาจาว่าหากมีปัญหาให้แจ้งแพทย์ทราบ โดยแพทย์ได้ไปทำการตรวจคนไข้รายอื่นต่อในตึกเดียวกัน  
        วิสัญญีแพทย์ หลังจากทำepidural painless labour ให้ ด้วยการใช้marcaine ได้อยู่ดูvital sign ต่อ และไปดมยาต่อในอีกห้องหนึ่ง  หลังจากนั้นผู้ป่วยถึงแก่ความตาย
             คำขอตามฟ้อง  ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด เกือบ ๗๐๐ ล้านบาท
     ศาลชั้นต้น ยอมรับมติแพทยสภาว่าได้มาตรฐานการรักษา ตัดสินยกฟ้อง เมื่อ  ๙ ก.พ. ๔๗ (๑๘ หน้า)
     ศาลอุทธรณ์ กลับคำตัดสิน ให้จำเลยใช้เงิน ๑๐,๓๐๐,๐๐๐ บาท  เมื่อ ๑๘ ต.ค. ๕๐ (๒๓ หน้า)
     ศาลฎีกา โจทก์เบิกพยานโจทก์ที่เป็นวิสัญญีแพทย์เพิ่มเติม ตัดสินเมื่อ ๒๙ ส.ค. ๕๔ (๖๘ หน้า)

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:18:42
.

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:24:39
.

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:25:25
.

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:26:18
.

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:26:33
.

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:27:10
.

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:28:39
คำให้การของพยานโจทก์ (วิสัญญีแพทย์)
-      พยานโจทก์มีฐานะเป็น วิสัญญีแพทย์อาวุโส เป็นอดีตหัวหน้าภาค อดีตคณบดี อดีตอธิการบดี กรรมการสิทธิมนุษยชน
-      พยานโจทก์ยืนยันว่า “ตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. ๒๕๓๐) ฉบับแรก และ เพิ่มเติมข้อ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๙)  ห้ามมิให้พยาบาลที่มิใช่วิสัญญีพยาบาล เกี่ยวข้องกับการใช้ยาทางไขสันหลัง  ยิ่งในสถานพยาบาลเอกชนนั้นยิ่งห้ามเด็ดขาด     นอกจากนี้หลักสูตรวิสัญญีพยาบาลไม่มีการสอนวิชาฉีดยาชาเข้าไขสันหลังเพื่อป้องกันมิให้นำไปปฏิบัติ   แต่หากเป็นสถานพยาบาลรัฐจะอนุญาตให้ทำได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในความควบคุมดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยใกล้ชิด”
-      เนื่องจากหัตถการระงับความรู้สึก สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยไม่สามารถคาดการณ์เวลาได้เลย ไม่สามารถประเมินความรุนแรงได้เลย ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ฉับพลัน ดังนั้น “วิสัญญีแพทย์ต้องมีปรัชญาประจำใจด้วยจิตและวิญญาณที่จะต้องดูแลรักษาคนไข้โดยไม่ละทิ้ง ต้องกระทำการโดยระมัดระวัง ... คนไข้คดีนี้มีสองชีวิตแม่ลูก จึงยิ่งต้องระมัดระวัง ...”

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:29:35
-      คำให้การของพยานโจทก์(ที่สำคัญ)ตามบันทึกคำพิพาษาศาลฎีกา.......

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:30:11
-      คำให้การของพยานโจทก์(ที่สำคัญ)ตามบันทึกคำพิพาษาศาลฎีกา.......

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:31:49
-      พยานโจทก์ได้ให้การเน้นย้ำความสำคัญของวิสัญญีแพทย์ดังนี้

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:33:26
-      พยานโจทก์ได้เน้นย้ำถึงขอบเขตความแตกต่างกันของการทำงานระหว่าง วิสัญญีพยาบาล กับพยาบาลอื่น ดังนี้

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:34:22
-      พยานโจทก์ได้เน้นย้ำความรับผิดชอบของ “วิสัญญีแพทย์” ว่ามีร่วมกับ “สูติแพทย์” มากน้อยเพียงไร

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:35:59
คำให้การของพยานโจทก์ (สูติแพทย์)
-      พยานโจทก์เป็นสูติแพทย์อาวุโสในโรงเรียนแพทย์
-      พยานโจทก์ให้การว่า “การทำ epidural block ในปัจจุบัน อยู่ในความดูแลของวิสัญญีแพทย์และสูติแพทย์ร่วมกัน”
-      พยานโจทก์ให้การเรื่องการmonitorผู้ป่วยหลังระงับความรู้สึก ดังนี้
(๑)              มีการวัดสองวิธี คือ แบบใช้คนวัด และ แบบใช้เครื่องมืออัตโนมัติ
(๒)       กรณีใช้เครื่องต้องใช้คนดูแล แต่ยอมรับว่าในทางปฏิบัติไม่สามารถหาคนดูแลได้ตลอดเวลา แต่เครื่องมือก็มีความสามารถในการเตือน (alarm) เพื่อให้แพทย์/พยาบาลดูแลได้ทันที ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติในรพ.ที่พยานทำงานอยู่
(๓)       พยานโจทก์ให้การยอมรับต่อทนายโจทก์ถึงพยานเอกสารดังนี้ “เมื่อฉีดยาชาแล้วต้องดูแลใกล้ชิด วัดความดันและจับชีพจรทุก ๑-๒ นาที ประมาณ ๑๐-๑๕ นาที    จากนั้นวัดทุก ๕ นาที  ร่วมกับฟัง FHS บ่อย ๆ”
-     พยานโจทก์ให้การถึงประสบการณ์การรักษาผู้ป่วย “amniotic fluid embolism” ๑ ราย ซึ่งเท่าที่
  พยานทราบ เป็นกรณีเดียวที่เกิดขึ้นในรพ.ที่พยานปฏิบัติงานอยู่ โดยพยานสามารถรักษาจนมีชีวิตรอด
  ซึ่งได้มีรายงานลงในวารสารการแพทย์ และพยานโจทก์ได้ให้การถึงเหตุการณ์ “โดยบังเอิญ” ที่มีการ
  ตรวจพบเหตุการณ์น้ำคร่ำรั่ว   โดยที่พยาบาลไม่สามารถตรวจพบได้ ดังนี้

           พยานจึงได้ย้ายผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด และตัดสินใจผ่าตัดทำคลอดเด็กในที่สุด ส่วนมารดาก็สามารถ  
                     รักษาจนรอดได้ และมีผลห้องปฏิบัติการยืนยันภาวะน้ำคร่ำรั่วจริง

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:36:40
คำให้การของพยานจำเลย (สูติแพทย์)
-      พยานจำเลย(ซึ่งแต่งตำราทางสูติศาสตร์ มีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า ๓๐ ปี  ทำคลอดไม่ต่ำกว่าเดือนละ ๓๐ ราย และเคยพบเหตุน้ำคร่ำรั่ว ๑ ราย)  ให้การยอมรับว่า “เมื่อน้ำคร่ำแตก แพทย์ต้องดูแลคนไข้อย่างใกล้ชิด เพราะคาดเหตุการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ อีกทั้งแพทย์ต้องทำงานเป็นทีม หากเกิดเหตุการณ์อะไรจะได้แก้ไขได้ทันที  และการตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วจะเป็นผลดีต่อคนไข้” ซึ่งเป็นคำให้การที่เจือสมกับพยานโจทก์
-      อย่างไรก็ดี พยานจำเลยยังให้การเพิ่มเติมว่า “หากสูติแพทย์มีกรณีคลอดฉุกเฉิน ก็สามารถให้พยาบาลอยู่ดูแลแทนได้”  “สูติแพทย์ต้องดูแลคนไข้อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่กับคนไข้ตลอดเวลา เว้นแต่ กรณีคนไข้มีปัญหา”

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:37:21
คำพิเคราะห์ของศาลฎีกา
     จากคำให้การของพยานโจทก์ และ พยานจำเลย ศาลสรุปข้อเท็จจริง ดังนี้
(๑)            ข้อเท็จจริงทางการแพทย์
     ๑.๑ สูติแพทย์ต้องดูแลผู้ตายอย่างใกล้ชิดภายหลังเจาะน้ำคร่ำ  หากไม่อยู่ ต้องมีสูติแพทย์คนอื่น หรือวิสัญญีแพทย์อยู่ดูแลแทน
     ๑.๒ วิสัญญีแพทย์ เมื่อทำspinal block ต้องอยู่ดูแลอย่างใกล้ชิด วัดBPและHRทุก ๑-๒ นาที ประมาณ ๑๐-๑๕ นาที  จากนั้นเป็นทุก ๕ นาที ร่วมกับฟัง FHSบ่อย ๆ
     ๑.๓ ศาลยอมรับว่าเหตุการณ์น้ำคร่ำรั่ว มีโอกาสตายสูง แต่ก็มีโอกาสรอด หากมีแพทย์เฉพาะทางอยู่ด้วย ในขณะเกิดเหตุ

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:40:39
(๒)      ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์
     ๒.๑ วิสัญญีแพทย์ออกจากห้องคลอดไปพร้อมกับพยาบาล เพื่อไปดมยาสลบให้ผู้ป่วยรายอื่น
     ๒.๒ ก่อนออกจากห้อง วิสัญญีเตรียมยาชาไว้ในsyringe เพื่อให้บุคคลที่มิใช่วิสัญญีพยาบาลเติมยาให้ผู้ป่วยผ่านทางlumbar catheter  ในกรณีที่มีการเจ็บท้องคลอด ซึ่งศาลเห็นว่า“ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง” โดยให้เหตุผลประกอบดังนี้
     - ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการที่มีพยานโจทก์ซึ่งเป็นวิสัญญีแพทย์มาเบิกความให้
     - ขัดต่อ ม. ๒๖ ของ “พรบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕”
     - ขัดต่อ “ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๖ว่าด้วย “ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับที่ดีที่สุด” และ “ต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย...”
     - โจทก์เลือกใช้บริการของจำเลยทั้ง ๆ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด มาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี ทั้ง ๆ ที่มีมหาวิทยาลัยและรพ.ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว อีกทั้งยังต้องเสียค่ารักษาที่สูงกว่ามาก ก็เพราะโจทก์เชื่อถือชื่อเสียงและความสามารถของแพทย์ในสถานพยาบาลของจำเลย  รวมไปถึงเชื่อมั่นในความรู้และคาดหวังที่จะได้รับการดูแลรักษาในมาตรฐานและความพึงพอใจในระดับที่สูงกว่าที่จะได้รับจากรพ.รัฐหรือเอกชนอื่น
     - เมื่อจำเลย(ทั้งวิสัญญีแพทย์ และ สูติแพทย์) ซึ่งปฏิบัติงานในสถานพยาบาลดังกล่าวตกลงรับที่จะเป็นแพทย์ดูแล จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติในมาตรฐานดีที่สุด โดยไม่อาจไปเทียบกับสถานพยาบาลรัฐที่มีภาระงานมากกว่า ดังนั้นศาลจึงไม่อาจยอมรับการทิ้งให้ผู้ตายอยู่กับผู้ที่มิใช่แพทย์หรือวิสัญญีพยาบาล (อยู่กับพยาบาลหรือผู้ช่วยคนไข้)
     ๒.๓ ในทางนำสืบ ก็ไม่ได้ความจากจำเลยว่า สั่งการให้พยาบาลทำเช่นใด โดยเฉพาะการวัด BP และ HR  แม้จะกล่าวอ้างว่ามี electronic monitor แต่ก็ได้ความว่าเป็นเครื่องที่ต้องใช้คนกดปุ่มเพื่อให้ทำงานเป็นครั้ง ๆ  เป็นผลให้เมื่อความดันตก เครื่องก็มิได้ร้องเตือนแต่อย่างใด  การที่ผู้ช่วยมาพบว่าผู้ตายมีความดันตกนั้นก็มิได้เป็นเพราะการเตือนของเครื่อง หากแต่เป็นการมาดูตามปกติเท่านั้น

๒.๔ จากanesthesia record ในช่วง ๘:๔๕-๙:๓๐ ไม่พบว่ามีการวัดความดันทุก ๕ นาที (ซึ่งศาลเห็นว่าเป็นข้อพึงกระทำตามตำราที่โจทก์ยกมา) คงมีแต่การวัดทุก ๑๕ นาที  ดังนั้นก่อนที่ผู้ตายจะมีความดันตกอย่างมากเมื่อเวลา ๙:๑๕ (ช่วงระหว่าง ๘:๔๕-๙:๑๕) ศาลเห็นว่าหากแพทย์ทั้งสองอยู่ดูแลและให้คำสั่งแก่พยาบาลเพื่อให้ปฏิบัติโดยเคร่งครัดแล้ว เหตุแทรกซ้อน(น้ำคร่ำรั่ว)อาจมีโอกาสเยียวยาได้ทัน
     ๒.๕ ศาลไม่รับฟังคำให้การของจำเลยถึงการไม่ทราบถึงภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว เพราะในตำราก็มีระบุว่าอาจเกิดได้ อีกทั้งจำเลยทั้งสองก็ยอมรับว่าเหตุดังกล่าวเกิดไม่บ่อย และไม่เคยประสบเหตุดังกล่าวมาก่อน จึงน่าจะเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองละเลย จนไม่ทำตามหลักวิชาที่ต้องดูแลใกล้ชิดจนกว่าการคลอดจะสิ้นสุด  ซึ่งข้อบกพร่องนี้ศาลเห็นว่า เป็นเหตุให้เกิดความล่าช้าในการเยียวยาผู้ตายและบุตรในครรภ์
     ๒.๗ ศาลไม่รับฟังคำให้การของจำเลยที่ว่า แม้จำเลยจะไม่อยู่  ก็มีแพทย์ท่านอื่นของสถานพยาบาลมาดูแลแทนได้ เพราะไม่พบว่ามีแพทย์ท่านใดมาดูแลผู้ตายแทนระหว่างที่จำเลยทั้งสองไม่อยู่
     ๒.๘ ศาลเห็นว่าคำให้การของพยานโจทก์ที่เคยช่วยชีวิตผู้ป่วยคล้ายกันนี้ได้ ก็เพราะแพทย์อยู่กับผู้ป่วยระหว่างการคลอด จำเลยจึงไม่อาจยกเอาเหตุสุดวิสัยมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธการรับผิดได้

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:43:53
ความคิดเห็น(เพิ่มเติม)ของศาลต่อคดีนี้
-      จำเลยละเลยมาตรการเพื่อความปลอดภัย ด้วยการยกเหตุว่า “เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่บ่อย”
-      หากแพทย์ทั้งสองอยู่กับผู้ตาย แม้จะช่วยไม่ได้ก็ไม่เป็นไร (?)
-      โจทก์มิได้มุ่งหวังเงินทองเป็นหลัก เพราะแม้ในคำขอท้ายฟ้อง(ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น) โจทก์จะขอเงินสูงถึง เกือบ ๗๐๐ล้านบาท แต่เมื่อศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาให้โจทก์ชนะแต่ลดเงินลงน้อยกว่าคำขอมาก  โจทก์กลับไม่ฎีกาเพื่อเพิ่มจำนวนเงินสินไหม แสดงว่าโจทก์ต้องการให้เป็นอุทาหรณ์ต่อรพ.เอกชนที่เรียกเก็บเงินสูงให้มีความรับผิดชอบด้วยการรักษามาตรฐานของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับดีที่สุดตามที่แพทยสภากำหนด
-      ศาลไม่รับฟังคำคัดค้านของจำเลยที่ว่า “แพทยสภาลงมติว่าคดีนี้ไม่มีมูล” โดยยกเหตุผลสำคัญดังนี้
(๑)             มติแพทยสภาเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการประกอบการพิจารณาคดี ศาลไม่จำต้องเห็นด้วยเสมอไป
(๒)      มตินี้มีผลโหวตแบบไม่เป็นเอกฉันท์ แพ้ชนะต่างกันเพียง ๑ เสียง อีกทั้งมีกรรมการหนึ่งท่านมีนามสกุลเดียวกับจำเลย
(๓)       ประกอบกับมีเหตุน่าเคลือบแคลงหลายอย่าง ทำให้ศาลสงสัยว่ามตินี้ไม่เป็นธรรม  เช่นมีการพิจารณาหลายครั้ง  มีการตั้งอนุกรรมการเฉพาะกิจเพราะมีการถกกันไม่ลงตัว  กรรมการบางท่านมาเป็นพยานให้ฝ่ายโจทก์
(ศึกษาเพิ่มเติมได้จากคำพิพากษาศาลฎีกาหน้า ๕๒-๕๙)
http://www.mediafire.com/?n81v96h9j06aeka

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:45:04
-      ศาลปฏิเสธคำคัดค้านพยานโจทก์ของจำเลยว่ามีอคติโดยให้เหตุผลดังนี้

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:45:32
-      ศาลปฏิเสธคำคัดค้านพยานโจทก์ของจำเลยว่ามีอคติโดยให้เหตุผลดังนี้

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:46:43
คำตัดสินของศาลฎีกา

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:48:57
ข้อน่าสังเกตของคดีนี้


คดีนี้ศาลฎีกาได้วางแนวทางการวินิจฉัยเรื่องความรับผิดชอบในการกระทำของผู้อื่น ไว้ดังนี้

(๑)      จำเลยที่ ๑ (สถานพยาบาล) ฎีกา เพื่อจะไม่ต้องรับผิดในทางละเมิดต่อการกระทำของผู้อื่น (แพทย์) โดยอ้างเหตุ
           ๑.๑ สถานพยาบาลมิใช่นายจ้าง   แพทย์มิได้มีฐานะเป็นลูกจ้าง
           ๑.๒ แพทย์เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ โดยมีรายได้จากค่าวิชาชีพแพทย์ (DF) ซึ่งเรียกเก็บจาก                        ผู้ป่วยโดยตรง
           ๑.๓ ใบเรียกเก็บที่สถานพยาบาลออกให้นั้น มีการแยกค่า DF ออกเป็นสัดส่วน   สถานพยาบาลมี                        หน้าที่เพียงรวบรวมค่าใช้จ่ายและค่า DF ไว้ในใบเรียกเก็บเดียวกันเพื่อความสะดวกต่อ                        การเรียกเก็บเงิน
           ๑.๔ แพทย์เพียงแต่มาเช่าสถานที่เพื่อประกอบวิชาชีพ



(๒)      จำเลยที่ ๓ (วิสัญญีแพทย์) ให้การดังนี้
           ๒.๑ จำเลยมีหน้าที่ต้องแจ้งสถานพยาบาลผ่านหัวหน้าหน่วย ในกรณีที่มีกิจธุระไม่สามารถปฏิบัติงานได้
           ๒.๒ ผู้อำนวยการขอให้จำเลยหยุดงานระหว่างการสอบสวน (มีอำนาจสั่งการจำเลย)      



(๓)      จำเลยที่ ๔ (สูติแพทย์) ให้การดังนี้
           ๓.๑ จำเลยมิได้รับเงินเดือนประจำจากสถานพยาบาล
           ๓.๒ จำเลยมีฐานะเป็นแพทย์ที่ปรึกษาประจำสถานพยาบาล
           ๓.๓ รายได้มาจากการรับค่ารักษาเป็นราย ๆ ไป (รายได้ไม่แน่นอน)
           ๓.๔ จำเลยในฐานะหัวหน้า มีอำนาจตักเตือนแพทย์ที่ปรึกษาท่านอื่นได้
           ๓.๕ จำเลยยอมรับว่า สถานพยาบาลมีอำนาจให้แพทย์ท่านใดก็ได้ออกจากงาน
           ๓.๖ จำเลยยอมรับว่า ผู้อำนวยการสถานพยาบาลมีอำนาจตักเตือนแพทย์ได้

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:51:11
ศาลฎีกาวางแนวทางวินิจฉัย ความรับผิดชอบในการกระทำของผู้อื่น (Vicarious liability) ดังนี้

           ๔.๑ สถานพยาบาล/ผู้อำนวยการ มีอำนาจบังคับบัญชา วางกฎเกณฑ์ ว่ากล่าวตักเตือน หรือไม่
           ๔.๒ สถานพยาบาล/ผู้อำนวยการ มีอำนาจกำหนดอัตราค่ารักษาของแพทย์หรือไม่
           ๔.๓ สถานพยาบาล/ผู้อำนวยการ มีอำนาจกำหนดการทำงาน สั่งพักงาน ให้คุณให้โทษ หรือไม่
           ๔.๔ ใครเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาล แพทย์รับเงินจากผู้ป่วยหรือจากสถานพยาบาล (ไม่ว่าเงินที่รับนั้นจะเรียกว่า “ค่าวิชาชีพแพทย์ (DF)” หรือไม่ก็ตาม
           ๔.๕  สถานพยาบาล ได้รับประโยชน์จากการทำงานของแพทย์หรือไม่
           ๔.๖  มีหลักฐานการเช่าสถานที่เพื่อประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือไม่
           ๔.๗  แม้ว่าจะมีหลักฐานการเช่าสถานที่ แต่หากมีการปกครองในลักษณะที่มีอำนาจบังคับบัญชากันได้ ก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ในลักษณะของ “นายจ้าง-ลูกจ้าง”


๕)       ศาลจึงตัดสินให้ สถานพยาบาล มีฐานะเป็นนายจ้างของแพทย์  เมื่อลูกจ้างกระทำการละเมิดต่อผู้อื่น นายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น ตามหลักกม. ปพพ. ม. ๔๒๕  “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น”

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:52:38
ประเด็นเรื่องแนวทางการคำนวณค่าเสียหาย (ปพพ. ๔๔๓ และ ๔๔๕)
(๑)             ผู้ตายมีหน้าที่ต้องอุปการะใคร
(๒)      หน้าที่ต้องอุปการะดังกล่าว มีไปจนถึงเมื่อไร
(๓)      ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่น ให้คำนึงถึงความจำเป็น ประเพณีทำศพตามลัทธินิยม และฐานะนุรูปของผู้ตาย
     และโจทก์
(๔)      ค่าเสียหายให้คิดดอกเบี้ย ร้อยละ ๗.๕ นับแต่วันที่ก่อให้เกิดความเสียหายจนถึงวันที่โจทก์ได้รับชำระ

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:53:24
.

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:54:46
ประเด็นต้องพิจารณาเป็นพิเศษในคดีนี้
     ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแพทยสภาโดยตรง
(๑)             ศาลให้น้ำหนักกับพยานโจทก์ พยานเอกสาร มากกว่า มติแพทยสภา  (มติแพทยสภา ศาลใช้เพียงแค่ประกอบการพิจารณาเท่านั้น แม้ว่าจะเป็นมติทางวิชาการซึ่งเป็นเรื่องซับซ้อน )
(๒)      ที่มาที่ไป การได้มาซึ่งมติ ตัวบุคคลที่ลงมติและมีส่วนเกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ส่วนตัว(การรู้จักกัน ความสัมพันธ์เชิงศิษย์อาจารย์ นามสกุล)ระหว่างแพทย์ผู้ถูกร้องกับกรรมการสอบ  ผลคะแนนโหวต ทำให้มติแพทยสภามีน้ำหนักน้อยในชั้นศาล คดีนี้ศาลให้เหตุผลหักล้างมติแพทยสภา ด้วยการยกประเด็น “ความน่าเชื่อถือของมติแพทยสภา” โดยหยิบเอาบันทึกการประชุมของแพทยสภา (คณะอนุกรรมการกลั่นกรอง จริยธรรม เฉพาะกิจ และ กรรมการชุดใหญ่) มาประกอบการตัดสินใจชั่งน้ำหนักพยาน แม้จะพิสูจน์ไม่ได้ว่าตัดสินโดยมีอคติหรือเจตนาทุจริตหรือไม่  นอกจากนี้ศาลยังมองว่าการที่ผู้ตัดสินดังกล่าวเปลี่ยนคำให้การไปมา อาจเป็นเพราะต้องการช่วยเหลือกันเอง ซึ่งอาจมองอีกมุมได้ว่าเปลี่ยนไปมาเพราะพิจารณาข้อเท็จจริงและเหตุผลตามที่นำเสนอแต่ละครั้งโดยมิได้ลำเอียง
(๓)      แพทยสภาจะทำอย่างไรกับ คำว่า “best practice” เพราะทุกวันนี้คำตัดสินของแพทยสภาจะใช้มาตรฐาน “appropriate practice under circumstances”
(๔)      สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีมนุษย์ มีผลกระทบอย่างไรต่อการปฏิบัติงานทางการแพทย์ และ พรบ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 01:55:36
ประเด็นเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ในชั้นศาล
(๑)      ศาลให้น้ำหนักบันทึกการรักษา (nurse note, anesthesia record, staff note) มากกว่า การยืนยันด้วยวาจาหรือคำให้การจากเพื่อนร่วมงาน  
(๒)      คำให้การของพยานโจทก์ซึ่งค่อนข้างextreme? โดยเน้นทุกตัวหนังสือตามTextbook มากกว่า การปฏิบัติในชีวิตจริง เช่น ความถี่ของการวัดความดัน ลักษณะการใช้ภาษาที่ค่อนข้างหนัก  เน้นเรื่อง ศักดิ์ศรีมนุษย์ รัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
(๓)      คดีนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนถึงวิธีการต่อสู้และคุณภาพของทนายความ (ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลย) เพราะการเบิกความ การซักค้าน ทำให้คำให้การของพยายจำเลยไปเจือสมกับฝ่ายโจทก์ ซึ่งถือเป็นโทษต่อจำเลยอย่างมาก  ในคำพิพากษาไม่พบการซักค้านของพยานจำเลยที่สำคัญคือการที่ทนายโจทก์ได้เน้นความสำคัญของการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามพยานเอกสาร เช่น ความถี่ในการวัดความดัน เป็นต้น
(๕)      การยกเอาแนวทางการปฏิบัติในต่างประเทศมาอ้างอิงในศาล ซึ่งมีวิสัยและพฤติการณ์แตกต่างกับประเทศ  
     ไทย (ไม่พบการซักค้าน)  (คำให้การของพยานโจทก์เหมือนจะเน้นว่าวิสัญญีแพทย์ต้องอยู่กับผู้ป่วยตั้งแต่      ต้นจนจบcase แต่ในประเทศไทย แทบจะเป็นไปไม่ได้ แม้ในรพ.เอกชนก็ตาม เพราะจำนวนวิสัญญี      แพทย์ไม่พอที่จะทำเช่นนั้นได้ หากยึดเอาคำตัดสินนี้ ประเทศไทยต้องนำระบบนัดคิวผ่าตัดเข้ามาใช้      ค่าใช้จ่ายต้องสูงขึ้นเพราะห้องผ่าตัดจะใช้งานได้ไม่เต็มที่ DFแพทย์ต้องสูงกว่านี้มาก  .... บริบทนี้ใช้ได้ใน      ต่างประเทศตามที่พยานโจทก์ฝึกอบรมมา แต่ประเทศไทยน่าจะลำบาก)
(๖)            คดีนี้ศาลยังไม่ได้ชี้ว่าบุคลากรที่เติมยาชาผิดหรือไม่ ที่ทำตามคำสั่งของแพทย์ ทั้ง ๆ ที่กม.ไม่อนุญาตให้
      กระทำ หากมีการฟ้องร้อง จะต้องร่วมรับผิดหรือไม่
(๗)            ศาลยกเอากรณีที่เคยรอดทั้ง ๆ ที่เป็น Fatal complication มาเป็นเหตุผลสำคัญว่า หากแพทย์ไม่ละทิ้งผู้ป่วย  
     ผู้ป่วยก็อาจมีโอกาสรอดได้  ซึ่งกรณีเช่นนี้แพทย์มีมุมมองว่าเป็นเหตุสุดวิสัย(act of God)ที่นาน ๆ เกิดขึ้นที  
     ในทางตรงกันข้าม ดูเหมือนศาลจะมีมุมมองว่า “แม้ไม่เคยเกิด แต่เมื่อเกิดแล้วรุนแรง แพทย์กลับต้องเพิ่ม
     ความระมัดระวังเป็นพิเศษ”
(๘)            บทลงโทษที่ศาลเขียนไว้ (สินไหมทดแทน) ศาลไม่ได้จำแนกว่าให้ใครรับผิดชอบตามส่วนเท่าไร ซึ่งหาก
     นำเอา กม.วิธีพิจาณาคดีผู้บริโภค มาจับ ศาลอาจแยะแยะให้
(๙)            คดีนี้ศาลตัดสินโดยใช้ ปพพ. มิได้ใช้ พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค (การใช้ พรบ.วิผู้บริโภค เป็นโทษกับ
     จำเลยมากกว่าการใช้ ปพพ.  ในคดีนี้หากใช้พรบ.วิผู้บริโภค จำเลย โดยเฉพาะรพ.อาจต้องจ่ายสินไหมสูง
     กว่านี้อีกมาก เพราะมีบทบัญญัติเป็นพิเศษเรื่อง “ค่าเยียวยาทางจิตใจ” “การแสดงความสำนึกหรือรับผิด
     ต่อเหตุการณ์”  รวมไปถึงบทลงโทษเชิงป้องปราม(deterrent punishment) และบทลงโทษแบบเพิ่มโทษ
     (punitive punishment)โดยอ้างอิงไปถึง“รายได้ของผู้ประกอบการ(สถานพยาบาล)”

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 02:00:24
ประเด็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจริง
(๑)      Electronic monitor สมัยนั้นไม่ใช่ fully automaticจริง เป็นแบบกึ่งmanual  หากบางสถานพยาบาล(โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานพยาบาลเอกชน)ยังใช้แบบกึ่งmanual แล้วเกิดปัญหา ศาลจะคิดเช่นไร
(๒)      ศาลให้ความสำคัญถึงการไม่ทอดทิ้งคนไข้ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่แพทย์พยาบาลไม่มีเหตุเร่งด่วนจำเป็น และน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญของคำตัดสินในคดีนี้
(๓)      ศาลเน้นเรื่องมาตรฐานของบุคลากรสาธารณสุข ว่าต้องqualifiedในงานที่ได้รับมอบหมาย (เป็นปัญหาที่พบบ่อยในสถานพยาบาลเอกชน และ คลินิก เช่นมีการจ้างคนที่ไม่ได้รับการอบรมด้านสาธารณสุขมาทำงานในหน่วยงาน หรือ การจ้างคนมาทำงานแทน RN ทั้ง ๆ ที่ไม่ควรทำ ยังไม่นับรวมบุคลากรที่ขาดประสบการณ์แล้วไปปฏิบัติงานในรพ.เอกชนทันทีที่จบการศึกษา)
(๔)      ศาลตั้งมาตรฐานใหม่เกี่ยวกับการเฝ้าคลอด ซึ่งต้องถือเป็นบรรทัดฐานใหม่ พอสรุปได้ ดังนี้
- ระหว่างการคลอดยังไม่สิ้นสุด ควร มีqualified medical personel เฝ้าคลอด
     - เมื่อน้ำคร่ำแตก(แตกเอง หรือ แพทย์ทำให้แตก) ถือเป็นจุดวิกฤติ ต้องมี qualified medical personel
              เฝ้าคลอดอย่างใกล้ชิด การไม่อยู่โดยไม่มีเหตุอันควร ถือเป็นการละทิ้งผู้ป่วย
     - หากมีการระงับความรู้สึกร่วมด้วย วิสัญญีแพทย์ หรือ อย่างน้อยวิสัญญีพยาบาลต้องอยู่กับผู้ป่วย
               ตลอดเวลา
     - ศาลให้ความสำคัญในการเฝ้าคลอดด้วยคนที่qualified มากกว่าด้วยเครื่องมือ
     - กระบวนการเร่งคลอดโดยการเจาะน้ำคร่ำ การให้ยากระตุ้นมดลูก ต้องทำเท่าที่จำเป็น หากทำแล้วแพทย์        ต้องเฝ้าจนกว่าการคลอดจะเสร็จสิ้น  หากไม่ทำเพราะแพทย์เห็นว่าไม่อาจเฝ้าโดยใกล้ชิด แล้วส่งผลให้              เด็กในครรภ์เกิดภาวะfetal distress จะรับผิดชอบเช่นไร จุดสมดุลอยู่ที่ไหน
(๕)      ศาลเน้นย้ำถึง “การประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับดีที่สุด” โดยเฉพาะในรพ.เอกชน
(๖)      ศาลยอมรับกลาย ๆ (?) ว่าประเทศไทยมีระบบสาธารณสุขสองมาตรฐาน คือ มาตรฐานรพ. เอกชน กับมาตรฐานรพ. รัฐบาล คำตัดสินในคดีนี้อาจไม่มีผลผูกพันสถานพยาบาลของรัฐที่มีข้อจำกัดมากกว่าเอกชน ปัญหาคือ ยังไม่มีคำตัดสินในกรณีคล้ายกัน แต่เกิดที่รพ.รัฐบาล  ว่าจะใช้มาตรฐานเช่นไร (best practice หรือ appropriate practice)
(๗)      การที่ศาลเน้นความสำคัญของความจำเป็นที่แพทย์ต้องอยู่เฝ้าผู้ป่วย ในกรณีที่มีหัตถการหรือเหตุการณ์ที่อาจตามมาด้วยเหตุวิกฤติได้ตลอดนั้น จะส่งผลเช่นไรต่อการปฏิบัติงานด้านอื่น เพราะคดีนี้ศาลได้สร้างมาตรฐานใหม่ทางอ้อมว่า ทุกรพ.เอกชนต้องจัดให้แพทย์(พยาบาลผดุงครรภ์?)เฝ้าคลอด ๑:๑ เพราะกระบวนการคลอดสามารถเกิดเหตุวิกฤติได้ทุกระยะโดยไม่จำเป็นต้องรอให้น้ำคร่ำแตก  หรือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินที่วิสัญญีแพทย์ต้องไปดูผู้ป่วยวิกฤติรายอื่นในเวลาเดียวกัน วิสัญญีแพทย์จะสบายใจที่จะทำหรือไม่
(๘)      กรณีหัตถการคล้ายกัน เช่น Stroke emergency protocol (ฉีดantithrombolytic IV/IA) แพทย์(ทั้งรัฐและเอกชน)จะกล้าทำหรือไม่ เพราะการรักษาเช่นนี้อาจเกิด fatal complications ได้ตลอดเวลา จะส่งผลเช่นไรต่อผู้ป่วยที่อาจไม่ได้รับการรักษาเพราะแพทย์ต้องป้องกันตัวเองไว้ก่อน และหากไม่ให้เพราะไม่มั่นใจในความพร้อมของการติดตามหรือเฝ้าอาการ รพ.หรือแพทย์ต้องรับผิดหรือไม่อย่างไร
(๙)      สถานพยาบาลเอกชน ต้องจัดให้มีการเฝ้าคลอดในสัดส่วน ๑:๑ หรือไม่ เพราะคาดไม่ได้ว่าจะเกิดเหตุวิกฤติเมื่อไร ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มอีกเท่าไร ทั้งค่าสูติแพทย์ วิสัญญีแพทย์ หรือจะระงับpainless labourไปก่อน และหากผู้ป่วยเจ็บท้องมาก จะจัดการอย่างไรกับความปวด....Caecarean section?   หรือปล่อยให้ปวด...ศักดิ์ศรีมนุษย์ สิทธิมนุษยชน?

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 02:01:50
ประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดชอบตามกฎหมาย (Medical Liability)
(๑)            ศาลสร้างมาตรฐานความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างทีมแพทย์ (joint liability) ซึ่งตรงกับที่บัญญัติไว้ใน      ปพพ. ๔๓๒    แม้สาเหตุการตายจะไม่ได้เกิดโดยตรงจากการกระทำของแพทย์ท่านนั้น แต่เมื่ออยู่ในทีม      แพทย์อาจต้องรับผิดชอบร่วมกัน      (หากเกิดกรณีฟ้องร้องในอนาคต มีแนวโน้มที่แพทย์จะถูกฟ้องเป็นชุด      เพื่อให้ร่วมกันรับผิด เพราะการที่มีจำเลยมากคน ย่อมทำให้ลำบากในการต่อสู้คดีให้ไปในทาง      เดียวกัน      และหากศาลตัดสินว่าผิด ก็มีโอกาสสูงที่จะได้เงินมากกว่าการฟ้องคน ๆ เดียว)
(๒)            ศาลวางหลักความรับผิดชอบร่วมกันในการกระทำของผู้อื่น(vicarious liability)ไว้ชัดเจน ในกรณีการ
      ปฏิบัติงานสาธารณสุข)
(๓)             ศาลสร้างแนวทางการพิจารณา(criteria)ในการกำหนดความสัมพันธ์ลักษณะนายจ้าง-ลูกจ้าง (ปพพ.        ๔๒๕) ของแพทย์(ทั้งfulltime และ parttime)กับสถานพยาบาลเอกชน ไว้ชัดเจน  และไม่ยอมรับว่าเป็น      ความสัมพันธ์ในลักษณะจ้างทำของ (ปพพ. ๔๒๘)
(๔)             ยังมีประเด็นเรื่องความรับผิดชอบในการกระทำของผู้อื่นที่ศาลยังไม่ชี้ชัด เช่น อาจารย์กับลูกศิษย์      (resident)
(๕)             การรับผิดทางละเมิด หลักกม.พิจารณาหลักสี่ประเด็น คือ
     มีหน้าที่ต้องกระทำ + มีการล่วงละเมิดหน้าที่นั้น + การละเมิดนั้นเป็นเหตุโดยตรงของผลที่ตามมา + ก่อ      ให้เกิดความเสียหาย  (duty + breach  + direct cause + damage)
(๖)            คดีนี้มองความรับผิดของวิสัญญีแพทย์ได้เป็นสองมุม
     ๔.๑ วิสัญญีแพทย์ไม่ผิด เพราะแม้จะไม่ได้อยู่ในการดูแลผู้ป่วย แต่เหตุโดยตรง(direct cause)ที่ทำให้ตาย
                     มิใช่เกิดการหัตถการของวิสัญญีแพทย์ท่านนั้น
     ๔.๒ วิสัญญีแพทย์ผิด เพราะแม้ว่าเหตุตายมิใช่เหตุโดยตรง แต่ศาลมองว่าหัตถการที่วิสัญญีแพทย์กระทำ              (painless labour) มีส่วนช่วยเสริมให้เกิดamniotic fluid embolism ดังนั้นวิสัญญีแพทย์ไม่ควรทอดทิ้ง              ผู้ป่วยไปหลังทำการเจาะหลัง อีกทั้งไม่ควรให้บุคลากรที่ไม่มีคุณสมบัติพอ กระทำการแทน
(๗)       ข้อเท็จจริงแล้ว วิสัญญีพยาบาล ปฏิบัติงานได้แค่ไหน ขอบเขตคืออะไร หากกม.กำหนดให้ปฏิบัติงาน      ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด จะต้องปฏิบัติเช่นไรจึงเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องให้น้อยที่สุด      ในขณะเดียวกันก็กระทบต่อผู้ป่วยน้อยที่สุด

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 02:03:06
.

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 02:03:35
.

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 02:03:51
.

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 02:06:42
กรณีที่ไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (มาตรา 329) คือ การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต


1. เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนเองหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตน ตามคลองธรรม
2. ในฐานะเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
3. ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
4. ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 02:15:48
Reference

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 02:25:57
Full version
http://www.sendspace.com/file/27q40k

Other references
http://www.sendspace.com/file/e6wkd6

http://www.sendspace.com/file/d22bx9

http://www.sendspace.com/file/mjah7u


Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย ...  a.m. en allemagne  ... on 02/07/12 เวลา 04:25:07



ถ้าหมอสูติ หมอดมยา

อยู่ด้วยตลอด

แล้วคนไข้รายนี้ จะรอดไหมอะ  ???





Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย pH_D on 02/07/12 เวลา 07:30:25
ชัดดีครับ เรื่องคำตัดสิน

แต่ต่อไป ถ้าต้องไปเป็นพยานศาล ถ้าจะมัน เพราะจากกรณีนี้  คงต้องมี การทำลายความน่าเชื่อถือของพยาน จากทนาย แหงๆ :-*

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย กวนกวน on 02/07/12 เวลา 09:29:53

Quote:
ศาลฎีกา โจทก์เบิกพยานโจทก์ที่เป็นวิสัญญีแพทย์เพิ่มเติม ตัดสินเมื่อ ๒๙ ส.ค. ๕๔ (๖๘ หน้า)



ผมเข้าใจผิดมาโดยตลอดว่า ในชั้นอุทธรณ์  หรือ ฎีกา ไม่สามารถเอาพยาน หรือเอกสารใดๆมาเพิ่มเติมได้ ให้ใช้ข้อมูล(พยาน,เอกสาร)ทุกอย่างที่มีในศาลชั้นต้นเท่านั้น

คดีนี้ทำไมจึงก์เบิกพยานโจทก์ที่เป็นวิสัญญีแพทย์เพิ่มเติม ได้

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 10:31:40
การสืบพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ ปกติไม่ค่อยมี ยกเว้นเป็นไปตาม ปวพ. 240(2) ดังนี้

ปวพ.มาตรา 240

ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่ พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวง ในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมา เว้นแต่

(1) ศาลอุทธรณ์ได้นัดฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาตามที่บัญญัติ ไว้ใน มาตรา 241 แต่ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายไม่มาศาล ในวันกำหนดนัดศาลอุทธรณ์อาจดำเนินคดีไปได้ และคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นไม่ให้ถือเป็นคำพิพากษาโดยขาดนัด

(2) ถ้าศาลอุทธรณ์ไม่เป็นที่พอใจในการพิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์และพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 238 และเฉพาะในปัญหาที่อุทธรณ์ ให้ศาลมีอำนาจ ที่จะกำหนดประเด็นทำการสืบพยานที่สืบมาแล้ว หรือพยานที่ เห็นควรสืบต่อไป และพิจารณาคดีโดยทั่ว ๆ ไปดั่งที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายนี้สำหรับการพิจารณาในศาลชั้นต้น และให้นำ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาในศาลชั้นต้น มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

(3) ในคดีที่คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ถ้าศาลอุทธรณ์ เห็นว่าศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณา หรือวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอัน เป็นสารสำคัญในประเด็น ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำคำสั่งให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น แล้วพิพากษา ไปตามรูปความ


ส่วนในคดีอาญาจะค่อนข้างเปิดกว้างกว่าคดีแพ่ง เพราะศาลไม่ต้องการเอาคนผิดติดคุกโดยไม่แน่ใจจึงมีระบุไว้เกี่ยวกับการสืบพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้

ปวอ.มาตรา 208 ในการพิจารณาคดีอุทธรณ์ตามหมวดนี้
(1) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรสืบพยานเพิ่มเติม ให้มีอำนาจเรียก พยานสืบเอง หรือสั่งศาลชั้นต้นสืบให้ เมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานแล้ว ให้ส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์เพื่อวินิจฉัยต่อไป
(2) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็น เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ก็ให้พิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้น ทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดี

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 10:33:28
ปวพ. มาตรา 238 ภายใต้บังคับ มาตรา 243 (3) ในคดีที่อุทธรณ์ได้แต่ เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายนั้น การวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ ศาล อุทธรณ์จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยาน หลักฐานในสำนวน

มาตรา 243 ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจดั่งต่อไปนี้ด้วยคือ
(2) เมื่อคดีปรากฏที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่งประมวล กฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณา หรือมีเหตุที่ศาลได้ปฏิเสธไม่สืบ พยานตามที่ผู้อุทธรณ์ร้องขอและศาลอุทธรณ์เห็นว่ามีเหตุอันสมควร ก็ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น แล้ว กำหนดให้ศาลชั้นต้นซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาคณะเดิม หรือผู้ พิพากษาอื่น หรือศาลชั้นต้นอื่นใดตามที่ศาลอุทธรณ์จะเห็นสมควร พิจารณาคดีนั้นใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนและพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 10:35:28
คดีนี้ไม่ได้รายละเีอียดเกี่ยวกับการยื่นบัญชีพยาน แต่ในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่มีพูดถึงพยานโจทก์ที่เป็นแพทย์

ในศาลอุทธรณ์ พูดถึงพยานโจทก์ที่เป็นสูติแพทย์

ในศาลฎีกา พูดถึงพยานโจทก์ที่เป็นวิสัญญีแพทย์ กับ สูติแพทย์

เป็นไปได้ว่าอาจสืบพยานตั้งแต่ต้น แต่ศาลอุทธรณ์หรือฎีกาหยิบยกเอามาใช้ใหม่ หรือ สืบเพิ่มเติม

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย FenTanyL@ Gryffindor on 02/07/12 เวลา 11:09:09

on 02/07/12 เวลา 04:25:07, ...  a.m. en allemagne  ... wrote:
ถ้าหมอสูติ หมอดมยา

อยู่ด้วยตลอด

แล้วคนไข้รายนี้ จะรอดไหมอะ  ???

.....คงจะพิจารณากันว่าคงมี"โอกาส"รอดมากขึ้น...และอาจจะไม่โดนแรงอย่างนี้......

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย กวนกวน on 02/07/12 เวลา 11:18:13
ขอบคุณ doctorlawyer ครับ

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย knowต้านประชานิยม on 02/07/12 เวลา 11:19:33


ได้27.35-29.4ล้าน :o :o


ศาลต้องยึดหลักปล่อยคนร้าย 100 คน ยังดีกว่าทำร้ายผู้บริสุทธิ์เพียงคนเดียว แต่คดีนี้ใครๆก็ทราบว่าโรคร้ายชนิดนี้หาคนกระทำผิดยากมากๆๆๆ แต่ศาลก็ได้ตัดสินไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้เหตุการณ์ต่อไปของบ้านเมืองก็จะต้องอยู่ในความเปลี่ยนแปลงไปทางดีหรือร้ายอันมิอาจประเมิณได้  ดาบที่คมมากย่อมมีสองคมเสมอ จะคอยดูต่อไป:-X


ปล ต่อไปรู้แล้วนะเพื่อนแพทย์เอ๋ยว่าจะดำเนินชีวิตเยี่ยงไรดี ;D


Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย knowต้านประชานิยม on 02/07/12 เวลา 11:35:16
ป.พ.พ.มาตรา 420 บัญญัติว่า “ ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดก็ดี  ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”


คดีนี้ผมเห็นว่าศาลยังเชื่อมโยงไม่ได้ชัดเจนว่าความประมาทที่เกิดขึ้นทำให้เสียหายอย่างไร ทำให้เขาตายจริงหรือ(แม้แต่คำพูดพยานโจทก์ก็ไม่ได้บอกว่าความประมาทครั้งนี้เป็นสาเหตุให้ตาย เหมือนศาลจะพิเคราะด้วยตัวเองโดยการอนุมาน) พิจารณาแต่ประเด็นว่าถ้ามาทันอาจจะรอดแต่ไม่พิจารณาว่าถึงมาทันอาจจะไม่รอด :P

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย knowต้านประชานิยม on 02/07/12 เวลา 12:02:10

อยากเรียนถามอาจารย์เมธีว่าถ้าสมมุติอาจารย์เป็นศาลเองอาจารย์จะตัดสินคดีนี้ว่าอย่างไรครับ  ;D

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 13:29:52
ข้อมูลเพิ่มเติม

ศาลชั้นต้น  ทางนำสืบของจำเลย ยืนยันว่ามีพยาบาลเวรประจำห้องคลอด ๔ คน
                                 ศาลเห็นว่าความตายมิใช่ผลโดยตรงจากการบล็อกหลังของวิสัญญีแพทย์
                   ศาลเห็นว่าการเจาะน้ำคร่ำแล้วไปตรวจคนไข้รายอื่นต่อเป็นเรื่องปกติที่แพทย์ต้องไปดูแลคนไข้รายอื่นเพิ่มเติม จนกว่าจะได้รับการตามจากพยาบาลว่าใกล้คลอดหรือมีปัญหา อีกทั้ง โจทก์มิได้ทักท้วงให้พยาบาลมาเฝ้าผู้ตายเป็นพิเศษแสดงว่าขณะนั้นผู้ตายยังปกติดีอยู่และโจทก์เสมือนยินยอมและเข้าใจอยู่แล้วว่าพยาบาลจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยรายอื่นด้วย ศาลยังเน้นว่า ปกติแล้วคงไม่มีแพทย์พยาบาลรายใดอยากทิ้งผู้ป่วยไปโดยไม่รักษา หากเห็นอยู่แล้วว่ามีอาการผิดปกติ
ส่วนการลาออกเพื่อประท้วงมติแพทยสภาของกรรมการบางท่าน ศาลเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดเสียไป ศาลเองก็เห็นเช่นเดียวกันมติแพทยสภา(การรักษาเป็นไปตามมาตรฐาน)ว่าแพทย์มิได้ละทิ้งผู้ป่วยขณะเกิดวิกฤติ   ตัดสินยกฟ้อง เมื่อ  ๙ ก.พ. ๔๗ (๑๘ หน้า)
     ศาลอุทธรณ์  ทางนำสืบพบว่า ในห้องคลอดมีพยาบาล ๒ คน (มิใช่วิสัญญีพยาบาล) อีก๒คนเป็นเพียงผู้ช่วยคนไข้
เป็นเหตุให้ขาดคนดูแลใกล้ชิดเพื่อรักษาอย่างรวดเร็วและดีที่สุด กลับคำตัดสิน ให้จำเลยใช้เงิน ๑๐,๓๐๐,๐๐๐ บาท  เมื่อ ๑๘ ต.ค. ๕๐ (๒๓ หน้า)
ศาลฎีกา โจทก์พิจารณาพยานหลักฐานใหม่ (เบิกพยานโจทก์เพิ่มเติม?) ตัดสินเมื่อ ๒๙ ส.ค. ๕๔ (๖๘ หน้า)

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 13:33:18
เหตุผลหลักของศาลในคำตัดสินคดีนี้ น่าจะเป็นสองกรณีนี้


(๒)      ศาลให้ความสำคัญถึงการไม่ทอดทิ้งคนไข้ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่แพทย์พยาบาลไม่มีเหตุเร่งด่วนจำเป็น และน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญของคำตัดสินในคดีนี้ และการทอดทิ้งผู้ป่วยนี้ไม่จำเป็นว่าต้องทอดทิ้งในขณะเกิดภาวะวิกฤติแล้วเท่านั้นแต่ยังหมายรวมไปถึง ภาวะก่อนเกิดวิกฤติที่อาจคาดหมายได้
(๓)      ศาลเน้นเรื่องมาตรฐานของบุคลากรสาธารณสุข ว่าต้องqualifiedในงานที่ได้รับมอบหมาย (เป็นปัญหาที่พบบ่อยในสถานพยาบาลเอกชน และ คลินิก เช่นมีการจ้างคนที่ไม่ได้รับการอบรมด้านสาธารณสุขมาทำงานในหน่วยงาน หรือ การจ้างคนมาทำงานแทน RN ทั้ง ๆ ที่ไม่ควรทำ ยังไม่นับรวมบุคลากรที่ขาดประสบการณ์แล้วไปปฏิบัติงานในรพ.เอกชนทันทีที่จบการศึกษา)

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/07/12 เวลา 13:49:39
Reedited version

http://www.sendspace.com/file/oty3vv

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย ladybird on 02/07/12 เวลา 17:19:04
คงจะต้องเลิกทำ painless labor แล้วจริงๆ ....




แต่ก็แอบดีใจนะเนี่ย...

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย Burawat T. on 02/07/12 เวลา 19:58:13
ต่อไปการคัดเลือกกรรมการพิจารณาของแพทยสภา
ผู้ถูกร้องเรียนต้องตรวจสอบรายชื่อคณะกรรมการก่อนนะครับ
ถ้ามีใครที่มีความเกี่ยวข้องกับเรา (ศิษย์อาจารย์ ญาติพี่น้อง) คงต้องแจ้งแพทยสภาเปลี่ยนตัว ไม่งั้นจะมีผลต่อความน่าืื่เชื่อถือของมติ

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย goodmorning on 02/07/12 เวลา 22:34:43
ขอปรึกษาครับ

ถ้ากรณีนี้ไปศาลอาญา แล้วไปถึงฎีกา จะตัดสินเหมือนศาลชั้นต้นไหมครับ

ผมสงสัย เพราะ พยายามมองเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างผลกับการกระทำ"





Q : คือควรจะดู องค์ประกอบภายใน ก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างผลกับการกระทำ หรือเปล่าครับ หรือควรจะดูอะไรก่อนหลังครับ



ลองสมมุติเหตุการณ์
1. ถ้ายึดพิจารณา องค์ประกอบภายใน (เจตนา) ก่อน ก็จะพบว่า ไม่มีเจตนา แล้วก็เข้าประมาท (สมมุติว่า ตัดสินว่า ประมาท ไปแล้ว เช่นกรณีนี้) ก็จะถือว่า ยอมรับ ความสัมพันธ์ระหว่างผลกับการกระทำ หรือเปล่า คือยอมรับว่า การทำ epidural block ทำให้เสียชีวิต

หรือศาลดันไปมอง การกระทำ=ไม่ดูใกล้ๆ, ผล=เสียชีวิตด้วยAFE

อันจะทำให้ เป็นการยอมรับ การเสียชีวิตด้วยAFE ทุกครั้ง จะเกิดจาก การไม่ดูใกล้ๆ ได้ (ซึ่งจะเป็นความผิดต่อไป)


2. ถ้ายึดพิจารณา ความสัมพันธ์ระหว่างผลกับการกระทำ ก่อน ก็จะพบว่า ผลที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ผลโดยตรง ซึ่งต้องใช้ ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม

ซึ่ง amniotic fluid embolism คาดการณ์ไม่ได้ (หรือว่าถ้าคาดการณ์ได้จะคิดยากไปอีก ขอคิดแบบคาดการณ์ไม่ได้ก่อน)

ก็จึงน่าจะผิดเท่าที่ได้กระทำไป "ในตอนต้น"

ซึ่ง "ในตอนต้น" การกระทำ คือ เดินไปให้การดูแลผู้ป่วยรายอื่น

ซึ่ง ศาลชั้นต้น (รวมถึงผมเอง) มองว่า ไม่ผิด (แพทย์ยังไงก็ต้องไปดูแลผู้ป่วยรายอื่นอยู่ดี)



ซึ่งนั่นคือ ยอมรับ ว่า ไม่มีเจตนา และ ไม่ประมาท



ถ้าไปศาลอาญา  จะตัดสินเหมือนศาลชั้นต้นไหมครับ


ขอปรึกษาหลักการครับ พอดีสับสน

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย หมอหนุ่ม on 02/09/12 เวลา 02:04:49
ยินดีด้วยครับขณะนี้มาตราฐานของประเทศไทยเราสูงกว่าอเมริกาแล้วโดยกฏหมาย การแพทย์ประเทศเราพัฒนาเร็วกว่าที่ผมคิดไว้มาก
เราควรช่วยกันยกคดีทางการแพทย์อื่นๆให้ถึงศาลฎีกาโดยไว เพื่อให้มาตราฐานทางการแพทย์ประเทศไทยดีที่สุดเท่าที่จะกำหนดได้และเป็นรูปธรรม

หรือไม่ก็ควรรีบจัดตั้งศาลเฉพาะคดีผู้เสียหายทางการแพทย์เสียที แล้วลอกกฏหมายอเมริกามาใช้ก็ได้ ด้วยเหตุที่ประเทศเขาฟ้องร้องกันมากทำให้เขามีความชำนาญในเรื่องการดำเนินคดีความทางการแพทย์มากกว่า

AFE ถ้าเกิดน้อยๆ แพทย์ไม่อยู่ก็รอด, ถ้าเกิดมากๆต่อให้แพทย์ทั่วโลกมานั่งล้อมผู้ป่วยมันก็คงไม่ช่วยอะไรนะผมว่า ขอแสดงความเสียใจด้วย

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doctorlawyer on 02/09/12 เวลา 20:07:45
ประเด็นของcaseนี้ ปัญหาไม่ใช่เรื่องว่าผู้ป่วยตายจากamniotic fluid embolismหรือไม่ แต่อยู่ที่ศาลมองว่า แพทย์ทอดทิ้งผู้ป่วยหรือไม่

ประเด็นปัญหาของคดีคือ
(๑) วิสัญญีแพทย์ทำpainless laborให้ผู้ป่วย แล้วไม่ได้อยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา  (ในขณะที่ไป ผู้ป่วยมีอาการปกติดี) ถือว่าเป็นการทอดทิ้งผู้ป่วยหรือไม่
(๒) หากอยู่กับผู้ป่วย แต่ไม่ได้วัดความดัน จับชีพจร etc ทุก ๆ ๑ นาทีตามที่พยานโจทก์กล่าวอ้างตำราเล่มหนึ่ง จะถือว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือไม่

(๓) การที่สูติแพทย์induced ruptured of membraneเพืื่อกระุตุ้นให้การคลอดเริ่มต้นขึ้น แล้วไม่ได้อยู่ดูผู้ป่วยตลอดเวลานับแต่ลงมือเจาะุถุงน้ำคร่ำ แต่ไปดูแลผู้ป่วยในความรับผิดชอบคนอื่นก่อนจนกว่าจะถูกตาม จะุถือว่าสูติแพทย์ละทิ้ง ทอดทิ้ง ผู้ป่วยหรือไม่ (ขณะนั้นผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ และการคลอดยังไม่ได้เริ่มต้นขึ้น)

ในคดีนี้ ศาลมีมุมมองว่า การที่วิัสัญญีแพทย์ไม่อยู่กับผู้ป่วยหลังทำpainless labour ถือว่าเป็นการทอดทิ้ง แม้ว่าในขณะนั้นผู้ป่วยยังไม่มีอาการปกติดี

เช่นเดียวกัน ศาลมีมุมมองว่า การที่สูติแพทย์เจาะถุงน้ำคร่ำแล้วไม่ได้อยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา ถือว่าเป็นการทอดทิ้ง แม้ว่าในขณะนั้นการคลอดยังไม่ได้เริ่มต้นและผู้ป่วยเองก็ปกติดี

ศาลมองว่าแพทย์ทั้งสองสาขาทอดทิ้งผู้ป่วยไป แม้ว่าในขณะนั้นผู้ป่วยยังปกติดีและการคลอดยังไม่ได้เริ่มต้น ส่วนการบล็อกหลังก็มิได้เป็นเหตุโดยตรงที่(proximate cause)ทำให้ผู้ป่วยตาย    ศาลจึงตัดสินให้ผิด ส่วนเหตุผลอื่นน่าจะเป็นองค์ประกอบเพิ่มเติมในการตัดสินว่ามีความผิด

แต่ในขณะที่แพทย์ทั้งสูติแพทย์ และ วิสัญญีแพทย์ส่วนใหญ่ในขณะนั้น (ปี ๒๕๓๘) มองว่าการกระทำเช่นนั้นมิได้เป็นการทอดทิ้ง แต่เป็นเรื่องปกติ เพราะมีภาระงานที่ต้องดูแลผู้ป่วยอื่นอีกเช่นกัน(ซึ่งศาลชั้นต้นก็มีุมุมมองเช่นนี้) และไม่มีกฎหมายใด ๆ บัญญัติให้แพทย์ต้องดูแลผู้่ป่วยแบบ ๑:๑ แต่อย่างใด (แพทย์มองว่า appropriate practice  แต่ศาลมองว่าต้องbest practiceเท่านั้น)

เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสองคนยลตามช่อง หรือ มองต่างมุม ...โดยมุมหนึ่งคือมุมมองของศาลที่มิได้มีbackgroundเป็นแพทย์มาก่อน แต่ตัดสินโดยการสืบพยานโจทก์ และ เอกสาร เสมือนเรียนรู้เรื่องการแพทย์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคดีภายในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และตัดสินไปตามที่สองฝ่ายถกเถียงกันต่อหน้าศาลโดยอาศัยทนายเป็นกลไก

อีกมุมหนึ่งเป็นมุมมองของแพทย์ ซึ่งเรียนเรื่องแพทย์ไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี ทำงานอีกหลายปี จึงจะเป็นผู้เขี่ยวชาญได้ แม้ว่าในตำราจะบอกเช่นไร แต่มุมของแพทย์มองว่า การทำตามตำราให้ครบทุกอย่างเป็นไปไม่ได้ในโลกของความเป็นจริง เพราะresourceไม่เอื้ออำนวย ภาระงานและคนไข้(แม้ว่าจะเป็นเอกชน)มากเกินจำนวนบุคลากร แพทย์จึงใช้ appropriate practice หรืออาจเรียกได้ว่าประกอบวิชาชีพเวชกรรมแบบที่สังคม(แพทย์)ส่วนใหญ่ยอมรับ  เพื่อรองรับจำนวนคนไข้ให้ได้ โดยเกิดปัญหาให้น้อยที่สุด

แต่เมื่อเกิดunexpected eventแล้วญาติรับไม่ได้ และส่งเรื่องให้ศาลตัดสิน เมื่อศาลมองเรื่องpatient safetyในลักษณะbest practice    ผลจึงลงเอยเช่นนี้

ปัญหาคือ คำพิพากษาศาลฎีกา ในกรณีนี้ (มีสภาพแวดล้อมคล้ายกันนี้) เสมือนหนึ่งเป็นการสร้าง guideline ทางการแพทย์ขึ้นมาใหม่ เช่น
- รพ.เอกชน ต้อง best practice เท่านั้น
- การทอดทิ้งผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องหมายความว่า เกิดปัญหาแล้วทอดทิ้งไปต่อหน้าต่อตา แต่ตีความรวมถึง การไม่อยุ่กับผู้ป่วย ทั้ง ๆ ที่คาดหมายได้ว่าหลังทำหัตถการบางอย่างแล้วอาจเกิดปัญหาอื่นตามมาได้ด้วย เช่น การสั่งฉีด antithrombolytic drugในผู้ป่วยearly stroke หรือ การทำ epidural pain controlในผู้ป่วยcancer pain อาจต้องระงัีบไว้ก่อนโดยเฉพาะในสถานพยาบาลเอกชน จนกว่าราชวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องจะออกguidelineว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าไม่ทอดทิ้งผู้ป่วย อย่างไรจึงจะเรียกว่าการดูแลอย่างดีที่สุด หรือ เหมาะสมที่สุด

ส่วนสถานพยาบาลของรัฐก็คงต้องรอguidelineใหม่(จาก ?)ว่าจะทำเช่นไร เพราะทุกวันนี้ในสถานพยาบาลรัฐนั้น เรื่องดีที่สุดไม่ต้องพูดถึง แม้แต่เหมาะสมที่สุดยังต้องคิดก่อนว่า เหมาะสมพอแล้วหรือยัง

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย uk on 02/11/12 เวลา 00:56:42
ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ได้รับ ผมเองเป็นศัลยแพทย์ ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง แต่อยากเรียนถามคุณทนายหมอว่า หากต้องให้วิสัญญีแพทย์เฝ้าผู้ป่วยตลอดเวลา จะเป็นไปได้หรือใน รพ เอกชน ค่ารักษาผู้ป่วยรายนั้นไม่เป็นแสนหรือครับ เพราะเอกชนเท่าที่ทราบ วิสัญญีแพทย์เขาสามารถคิดค่าใช้จ่ายเป็น ชม และ หากคิดค่าห้องผ่าตัดตั้งแต่ วินาทีทำ painless labour ก็แพงมาก การทำ painless labour คงหายสาบสูญไปจาก รพ เอกชน ส่วนกรณีที่คำก็บอกว่าเอกชน ต้องมาตรฐานสูงกว่า รัฐ อันนี้ผมส่วนตัวอยู่ รร แพทย์ มองว่า มาตรฐาน มนุษย์ ต้องดีเท่ากัน ไม่ใช่ว่าจ่ายเงิน เลยดีกว่าไม่จ่าย แต่ว่าจ่ายเงินอาจได้ห้องสะดวกกว่า หรูกว่า อาหารดีกว่า ไม่ใช่ จ่ายเงิน เลยมีหมอมาเฝ้าตลอด หากไม่จ่ายเงิน วิสัญญีพยาบาลเฝ้า อ้าว แล้ว ผู้ป่วย รร แพทย์ ไม่ฟ้องเอาที่หลังหรือว่า double standard และรายนี้ตกลงผู้ป่วยเสียชีวิตเกี่ยวข้องกับการเติมยาเกินขนาด หรือเพราะ หมอดมยาไม่เฝ้าผู้ป่วยหรือไม่ครับ หาก autosy พบว่าเกิดจาก amniotic embolism ก็น่าจะไม่เกี่ยว และไม่ทราบว่าพยานโจทก์นะ ทำงาน parttime อยู่ที่เดียวกับจำเลยหรือเปล่า มีผลประโยขน์ทับซ้อนหรือไม่ น่าจะหาพยานที่เป็นกลาง หรือไม่
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบครับ

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย Frankenstein on 02/20/12 เวลา 15:57:40
Negligence ยังคงเป็นจุดอ่อนและข้อกังขาที่ฝ่ายแพทย์

แก้ตัวลำบาก  จริงๆแล้วโรคหรือความผิดปกติอื่น

ที่อาจนำมาสู่ภาวะฉุกเฉินในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ภายใต้การ

ดูแลรักษาไม่ว่าจะเป็นที่วอร์ด ไอซียู อีอาร์ โออาร์

ห้องสังเกตุอาการ  ล้วนแต่เสี่ยงและแพทย์ต้องรับผิดชอบ

ผมเกรงว่าผลการพิจารณากรณีนี้จะเป็นบรรทัดฐานให้

นำไปใช้กับคดีที่อาจเกิดตามมาได้  โปรดระวัง


Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย Medspa on 02/21/12 เวลา 10:03:17

on 02/07/12 เวลา 07:30:25, pH_D wrote:
ชัดดีครับ เรื่องคำตัดสิน

แต่ต่อไป ถ้าต้องไปเป็นพยานศาล ถ้าจะมัน เพราะจากกรณีนี้  คงต้องมี การทำลายความน่าเชื่อถือของพยาน จากทนาย แหงๆ :-*


ถ้าเป็นผม จะถามว่า

อาจารย์เคยดมยาสลบผู้ป่วยทีละหลายๆห้อง และละทิ้งผู้ป่วยหรือไม่

ท่านคิดว่า วิสัญญีแพทย์ที่ดมยาสลบผู้ป่วยทีละคน เป็นการกระทำที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาตรฐานของประเทศไทย ใช่หรือไม่

จำนวนวิสัญญีแพทย์ในประเทศ จำนวนการผ่าตัดผู้ป่วยในแต่ละปี เป็นไปได้หรือไม่ที่จะผ่าตัดแบบเฝ้าดูแลทีละคน

ผมเห็นว่า ทนายฝ่ายจำเลย ไม่มีความรู้เพียงพอจะซักค้าน และทำลายความน่าเชื่อถือ

ภาวะนำ้ำคร่ำอุดตับปอด เป็นภาวะที่ป้องกันได้หรือหลีกเลี่ยงได้ ใช่หรือไม่

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย Gracezida on 02/23/12 เวลา 11:43:44

on 02/21/12 เวลา 10:03:17, Medspa wrote:
ถ้าเป็นผม จะถามว่า

อาจารย์เคยดมยาสลบผู้ป่วยทีละหลายๆห้อง และละทิ้งผู้ป่วยหรือไม่

ท่านคิดว่า วิสัญญีแพทย์ที่ดมยาสลบผู้ป่วยทีละคน เป็นการกระทำที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาตรฐานของประเทศไทย ใช่หรือไม่

จำนวนวิสัญญีแพทย์ในประเทศ จำนวนการผ่าตัดผู้ป่วยในแต่ละปี เป็นไปได้หรือไม่ที่จะผ่าตัดแบบเฝ้าดูแลทีละคน

ผมเห็นว่า ทนายฝ่ายจำเลย ไม่มีความรู้เพียงพอจะซักค้าน และทำลายความน่าเชื่อถือ

ภาวะนำ้ำคร่ำอุดตับปอด เป็นภาวะที่ป้องกันได้หรือหลีกเลี่ยงได้ ใช่หรือไม่


เห็นด้วยมาก

1.น่าจะมีการเปิด กลไกการเกิด AFE สั้นๆให้ศาลพิจารณา ว่ามีความเข้าใจที่ตรงกันไหม (ฟังๆดูอาจยังไม่ตรงกันเท่าไหร่นัก ทั้งพยานโจทย์ และพยานจำเลย) พร้อมทั้งอัตราการรอดชีวิตใน รร.แพทย์ทั้งประเทศ ในเคสกรณีคล้ายๆกัน

2.มีการมองผลกระทบต่อผู้ป่วยในจำนวนมากๆระดับประเทศที่มาคลอด แล้วใครจะกล้าทำ painless labour อีกหรือ

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย Dr-ER on 02/23/12 เวลา 15:25:09
เห็นใจหมอสูติ หมอดมยาและ รพ.ที่มีคนไข้ต้องดูแลพร้อมๆกันแต่หมอมีจำกัด ทำเต็มที่ดีที่สุดแค่ไหนก็ลงเอยแบบนี้ทุกที แล้วจะแก้อย่างไรครับเพิ่มหมอมากๆแต่จะหาจากไหน หรือลดคนไข้ลงเอาที่จำเป็นจริงๆถึงให้อยู่กับหมอสูติ ไม่ใช่ใครก็จะขอreferหาหมอสูติเลย สุดท้ายเวลาเป็นไรมาก็ลงที่หมอสูติแบบนี้ใครจะเข้าใจบ้าง

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย doji2548 on 02/24/12 เวลา 22:05:43
ถามอาจารย์ผู้รู้  ถ้าคดีนี้เกิด ที่ประเทศอเมริกา จะตัดสินออกมาแบบไหน

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย porncvan on 05/02/12 เวลา 17:45:22
เป็นหมอก็ต้องดูแลคนไข้ให้ดีที่สุด
ภาวะที่เกิดขึ้น หมอไม่ได้ทำ แต่ต้องช่วยดูแลรักษา
ไม่หาย ไม่โทษที่เหตุ แต่ฟ้องร้องคนช่วย

หวังสักวัน เขาคงเข้าใจ...

จะวันไหนก็ช่าง วันนี้เราจะทำหน้าที่หมอให้ดีที่สุดต่อไป

Title: Re: ---ปุจฉาวิสัชนา---ฎีกาคดี Amniotic fluid embolism
ส่งโดย MorAthid on 06/18/12 เวลา 11:34:09
น่าจะมีศาลเฉพาะคดีแพทย์ ตัดสินโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์



ThaiClinic.Com . All Rights Reserved.