หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   ICU : Interesting Creative Usergroup
   Post reply ( Re: พรบ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 16:28:28
ฉบับเต็ม  
 
http://www.mediafire.com/download.php?m4l5iiuqtjkp3sj
 
สาระสำคัญ
 
http://www.mediafire.com/download.php?c2uij11wrxq22y0
 
 
 
to be continued.....ความแตกต่างกับร่างรัฐบาลและ NGO
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 16:29:53
.
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 16:30:14
.
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 16:30:30
.
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 16:30:48
.
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 16:31:04
.
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 16:31:21
.
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 16:32:31
.
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 16:32:51
.
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 16:36:57
        กระผมอยากบอกตรงๆว่า เส้นตายบางๆที่คั่นระหว่างคว่ำร่างพรบ.สำเร็จ กับ คว่ำไม่สำเร็จ ไม่ใช่อยู่ที่ขอเลื่อนพิจารณา ชั่วแต่อยู่ที่ต้องเขวี้ยงทิ้งไปทั้งฉบับเดี๋ยวนี้ ไม่มีอย่างอื่นจริงๆ..
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 16:41:05
คุ้มครองทั้งผู้ให้และผู้รับบริการสาธารณสุข
 
แนวคิด
 
ของเดิม......
การออกกฎหมายบีบบังคับให้บุคลากรทำงานโดยสนใจว่าจะผิดถูกอย่างไร จะทำงานภายใต้ข้อจำกัดมากมายอย่างไร ขอแต่เพียงรักษาแล้วมีปัญหาจะต้องได้เงิน ต้องฟ้องได้  จะไม่มีทางไปพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขอย่างที่กล่าวอ้าง   เปรียบเหมือน บังคับให้คนโดดน้ำไปช่วยคนจมน้ำ แต่ถ้าช่วยไม่สำเร็จ คนที่โดดไปช่วยสามารถถูกเอาผิดทั้งแพ่งและอาญาได้ มันสมควรหรือไม่  การอ้างว่าให้ไปขึ้นศาลแก้ต่างเอาเอง เป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่    การตั้งกองทุนโดยสนใจแต่ว่าทำอย่างไรจึงจะได้เงินมาใช้ ไม่สนใจผู้ทำงานว่ายากลำบากเพียงใด ไม่สนใจปรับปรุงระบบบริการ มันถูกต้องหรือไม่
 
 
ของใหม่....
ทั้งผู้ให้และผู้ิรับบริการต้องได้รับความคุ้มครองตามสมควร  
ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลโดยสมควร เร่งด่วน เหมาะสมกับสถานการณ์
 
ผู้ิรักษา ต้องทำงานได้โดยไม่ต้องกังวลว่าตนจะถูกฟ้องแม้ว่าจะได้มาตรฐานและจริยธรรมแล ้ว (รัฐธรรมนูญ ๘๐(๒))  
(ผ่าตัดรั้กษาคนไข้ โดยที่มีญาติหรือ NGO บางคนมาถือมีดจ่ออยู่ข้างหลัง ว่าถ้ารักษาไม่สำเร็จมีสิทธิถูกฟ้องติดคุก มีสิทธิล้มละลาย หรือ ต้องร่้วมจ่ายเงินเยียวยาผู้ป่วยเพราะรักษาไมสำเร็จ.... มันสมควรหรือไม่?)
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 16:41:26
.......
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 16:47:40
ของเดิม.....
เอาคนนอก เอาคนที่ไม่รู้เรื่องทางการแพทย์มาตัดสิน การปฏิบัติงาน  
เอาแพทย์นักบริหารที่ไม่ได้จับมีด จับเข็ม ไม่ได้สั่งยา ไม่ได้อดนอนรักษาคนไข้  ทำแต่เซ็นเอกสาร เซ็นเช็ค ตั้งงบ วิ่งรอกประชุม มาตัดสินว่าคนทำงานที่มีความรู้ มีupdateวิชาการตลอด ว่ารักษาถูกหรือไม่ มันสมควรหรือไม่
 
เปรียบเหมือน เอาภารโรงไปตัดสินว่าnGOบางคนทำงานประท้วงได้ถูกต้องหรือไม่
  เอานักบัญชีไปตัดสินว่าอัยการทำงานถูกหรือไม่  
มั้นสมควรหรือไม่
 
 
ของใหม่ ...
คนที่มาตัดสินความถูกต้องของมาตรฐานการรักษา ต้องรู้จริง ห้ามเอาคนไม่รู้เรื่องมาทำงานเป็นศาลเตี้ย   คนที่มีคำนำหน้าว่า น.พ. ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องทางการแพทย์ทุกเรื่อง ทุกอย่าง ต้องเป็นคนที่รู้ิเรื่องจริงในประเด็นการรักษา   คนที่มีคำนำหน้าว่า น.พ. ไม่ได้เป็นสัพพัญญู ไปตัดสินเรื่องวิชาการข้ามfield คนอื่น   (นี่คือเหตุผลที่สมเด็จพระราชบิดา ตรัสไว้ในแนวทางการปฏิบัติของแพทย์ การวิจารณ์เพื่อนร่วมงานโดยคิดว่าตนรู้ทุกเรื่อง ถูกทุกอย่าง เรียกว่า โมหะ ในภาษาธรรม)
 
อย่าพูดในสิ่งที่ตนไม่รู้จริง หรือไม่แน่ว่าจะรู้จริง เพราะแม้แต่คิดว่ารู้จริงก็ยังผิดพลาดบ่อย ๆ แถมยังไม่ยอมรับอีก
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 16:58:36
แนวคิด
การรักษาผู้ป่วยด้วยความสุจริต ด้วยเจตนาดี แต่ได้ผลอันไม่พึงประสงค์ต้องไม่ใช่คดีอาญา โดยเฉพาะกรณีเร่งด่วน ทืี่ไม่ว่าใครก็ผิดพลาดได้ แม้แต่ ศาล ทหาร ตำรวจ นายก รมต. NGO  ความผิดพลาดในการรักษาพยาบาลทั้ง ๆ ที่เป็นเจตนาดี good faith ไม่สมควรเป็นคดีอาญา โดยเฉพาะกรณีฉุกเฉิน
 
คดีอาญาทางการแพทย์ ยอมความไม่ได้ เพราะไม่ได้กำหนดให้ยอมความ แม้ว่าคู่กรณีไม่ต้องการเป็นคดี แต่กฎหมายเดิมไม่เปิดโอกาสให้ยุติคดี ต้องไปศาลอย่างเดียว   หากเจตนาทำร้ายผู้ป่วย คนทำต้องรับโทษ ไม่มีการยอมความ กองทุนต้องช่วยเหลือผู้ป่วย  หากไม่เจตนา คดีอาญาไม่สมควรเอาผิดผู้รักษา มิฉะนั้นจะเกิดปรากฎกาณ์ตัวใครตัวมัน เลี่ยงได้ก็เลี่ยง ส่งต่อไปให้คนอื่นรับเคราะห์แทน สุดท้าย กลายเป็นประชาชนเดือดร้อน  นอนกระเตงอยู่บนรถพยาบาล
 
ของเดิม...
เอาผิดอาญาได้ตามเดิม เหตุลดโทษมีอยู่แล้ว ดันไปเขียนเงื่อนไขให้ผู้รักษาสารภาพบาป เอาเงินไปแถมให้ ศาลจึงจะพิจารณาลดโทษ แถมในตอนต้นยังอ้างว่าไม่เพ่งโทษ แต่ตอนท้ายบอกให้ไปสารภาพผิด ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ผิด
 
ของใหม่...
ไม่สนว่าใครทำผิด ทำถูก ระบบแย่ นโยบาลเหลว หากมีผู้ได้รับผลกระทบจริง ก็เยียวยาทันที คดีแพ่งให้ทำสัญญาประนีประนอม (ทุกวันนี้ระบบศาลก็ทำอยู่แล้วทั่วโลก มีที่ไหน รับเงินแล้วฟ้องต่อ อย่างนี้ก็ไม่ต้องสร้างกองทุน ให้ไปฟ้องเองให้หมด)    
คดีอาญา NGOพูดแต่ว่าไม่แพ่งโทษ ไม่มีใครอยากฟ้อง แต่ในมาตรา ๔๕ เดิมบอกให้ไปสารภาพบาป เมื่อไม่แพ่งโทษ ไม่หาคนผิด และแน่ใจว่ากองทุนจะลดการฟ้อง ก็กำหนดให้คดีอาญาในความผิดที่เกี่ยวกับสาธารณสุขเป็นคดีที่ยอมความได้ ถ้าคู่กรณีสองฝ่ายยินยอม    
 
หากไม่ยินยอม ยอมความ ก็สามารถไปฟ้องได้
 
ไม่ได้ตัดสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้น
 
เพิ่มช่องทางใหม่ให้ยุติปัญหาโดยร้องต่อกองทุน เมิื่อตกลงปลงใจแล้ว ก็ให้ยอมความ  หากไม่OKก็สามารถไปฟ้องได้ แต่ห้ามจับปลาสองมือ  ....เป็นเงินภาษีคนทั้งประเทศ
จากคุณ: jangdonkan โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 17:02:12
เอ  ดู  ท่าทาง
 
ลาออก  
 
DEFENSIVE MEDICINE
 
เลิกเป็น  แพทย์  
 
จะง่าย  กว่า   เพราะ  ปรับที่ ตัวเอง
 
ปล่อย  ให้  ระบบ มัน  ล่ม  เจ๊ง  ไป ก่อน  จะดี  กว่า Wink
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 17:04:00
แนวคิด  
 
ของเดิม...
อ้างว่าจะพัฒนาระบบความปลอดภัย แต่ไม่ได้สืบสวนว่าเกิดอะไร เดินเข้ามรพ. อ้างว่าเสียหาย ก็ให้เงิน พิสูจน์ไมได้ให้รีบจ่ายเงิน  โกหกชัด ๆ ว่าจะพัฒนาระบบ
 
มีแต่อวิชชา ต้องการเงิน เต็มไปด้วยโทสะ + โมหะ
 
 
 
ของใหม่...
ทุกคำร้องที่ขอรับการช่วยเหลือ ต้องมีที่มาที่ไป แต่ไม่เพ่งโทษ ไม่ไปหาว่าใครทำ (แต่ถ้ารู้ และเป็นเรื่องmalpractice ต้องเอาผิดคนทำ ปล่อยไปไม่ได้)    เมื่อรู้ที่มาที่ไป รู้ปัญหาจึงจะพัฒนาได้
 
รู้แต่ทุกข์ ไม่รู้สมุทัย จะได้ นิโรธ หรือ มรรคได้อย่างไร
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 17:05:20
.
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 17:11:33
กฎหมายอาญามาตรา ๒๙๑ และ ๓๐๐  
บัญญัติเรื่องความผิดฐานประมาทไว้เพื่อป้องกันมิให้คนไม่ดี เจตนาไม่สุจริต ไปสร้างปัญหา หรือ ใช้ช่องโหว่ไปทำร้ายคนอื่นแล้วอ้างว่าไมเจตนา  ป้องกันมิจฉาชีพ หรืออาชญกรที่มีเจตนาไม่ดี ไปทำร้ายผู้บริสุทธิ์
 
 
การเอาความผิดฐานประมาท มาใช้กับคนที่โดดน้ำไปช่วยคนตกน้ำ กระโดดไปช่วยคนที่กำลังถูกรถชน ผู้พิพากษาที่พยายามตัดสินคดีด้วยเจตนาสุจริต อัยการที่สั่งคดีโดยสุจริต   และ แพทย์พยาบาลที่ไปช่วยคนไข้ที่มาร้องให้ช่วยเหลือ มันสมควรหรือไม่
 
 
ทำไมต่างประเทศ ถึงกำหนดให้นิติศาตร์บัณฑิต ต้องจบปริญญาอื่นก่อน มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน จึงจะมาเรียนได้ ก็เพราะไม่ต้องการให้เถรตรงเอากฎหมายไปสร้างความเดือดร้อนให้ผู้บริสุทธิ์  
 
เมื่อไรประเทศไทยจึงจะกำหนดหลักสูตรว่าต้องจบปริญญาอื่นก่อน ต้องทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องก่อน จะได้ลดปัญหาเรื่องตีความกฎหมาย ส่งศาลรัฐธรรมนูญ  ยึดความคิดตนเป็นใหญ่ เพียงเพราะมีตำแหน่งวิชาการ แต่ไม่เคยสัมผัสการทำงานจริงในสาขาที่กำลังไปออกกฎหมายบังคับเขา
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 17:29:45
สรุปของใหม่
 
 
ประชาชนได้รับการคุ้มครองจากผลกระทบที่ไม่ควรเกิด เช่น ระบบไม่ดี รัฐบาลหาเตียงไม่ได้ เตียงเลยเต็ม  นโยบายเหลวทำให้ระบบสาธารณสุขมีปัญหา    แพทย์เจตนาไม่ดี พยาบาลตัวปลอมมารักษาผู้ป่วยในคลินิก  รพ.จ้างแพทย์ปลอมมารักษา    
 
การช่วยเหลือเป็นธรรมทั้งต่อผู้้ป่วย ผู้ให้การรักษา เงินภาษีรัฐ
 
 
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 17:30:04
ช่วยแล้ว ต้องพัฒนาแก้ไขได้จริง เพื่อให้ประชาชนและบุคลากรได้ประโยชน์
 
ความผิดถูกเรื่องการรักษา ไม่มีศาลเตี้ยมาตัดสิน  มิฉะนั้นอีกหน่อย อาจเห็น NGO ไปนั่งใน กตร กอ. กท.ยุติธรรม ที่ประชุมศาลฎีกา
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 17:31:37
กองทุนลดการฟ้องร้องได้จริง โดยเพิ่มทางเลือกให้ผู้ป่วย ว่าจะฟ้อง หรือรับความช่วยเหลือจากกองทุน ถ้าแน่ใจว่าผู้รักษาผิด หรือรับไม่ได้อย่างมาก แนะนำให้ฟ้อง เพราะจะชนะและได้เงินมาก  หากไม่แน่ใจ หรือ คิดว่าเป็นความผิดของระบบ บุคลากรแค่เป็นเหยื่อของนักการเมือง หรือบางคนที่สร้างข่าวผิด ๆ มาตลอดหลายปี  ก็ให้ติดต่อกองทุนให้ช่วยเหลือ
 
ความช่วยเหลือต้องไม่ใช่ Medical lottery ไม่จ่ายเป็นล้าน ๆ งวดเดียว พอหมดแล้วไปฟ้องต่อ    แต่ให้เป็นงวด ๆ  และเพิ่มทางเลือกอื่นให้ เช่น หากต้องใช้อุปกรณ์เทียมแบบดีพิเศษ กองทุนจะจัดหาให้ตลอดชีวิต  หากต้องบินไปรักษาเมืองนอกเพราะเมืองไทยรักษาไม่ได้ ก็จัดให้    หากต้องมีแพทย์เฉพาะทางที่ไทยไม่มีก้จัดหาให้  แบบนี้จึงจะเรียกเยียวยาทางการแพทย์ มิใช่ เยียวยาเศรษฐานะ   ไม่อย่างงั้นจะเกิดปรากฎการณ์แห่มาเป็นผู้เสียหาย หากินกับความเจ็บป่วยของตนหรือญาติ  พอได้เงินแล้วกลายเป็น สามล้อถูกหวย   เน้นช่วยเหลือระยะยาวตลอดชีวิต  ไม่ให้ถูกหวย
 
 
อายุความเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ  ไม่ใช่ สิบปีนับแต่รู้ (ประทานโทษ เมื่อไรรู้   ใครจะไปรู้ เท่ากับกฎหมายเดิมไม่มีอายุความ) สถนพยาบาลต้องเก็บเวชระเบียนได้ในความเป็นจริง ไม่ใช่ตลอดชีวิตผู้ป่วย   แพทย์พยาบาลต้องให้ข้อมูลได้จริงว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างการรักษา มิฉะนั้นแล้ว หากแพทย์ตาย มิต้องตามไปซักในยมโลกหรือ   หรือ อ้างว่าพิสูจน์ไม่ได้ก็ให้รีบจ่ายเงิน ต้องไม่มีแบบนี้
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 17:31:51
ดีต่อทั้งผู้ป่วย  ........บุคลากร......ระบบสาธารณสุขในระยะยาว.......มีความรับผิดชอบต่อเงิน ภาษีอากร ห้ามมิจฉาชีพมาเป็นกรรมการเพื่อปั้นแต่งโครงการใช้เงินจากกองทุน  (ต้องส่งคืนคลัง)  ....มีการตรวจสอบกรรมการ อนุกรรมการว่าตัดสินถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติหรือไม่  ห้ามแจกมั่ว
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 17:32:27
ดีต่อทั้งผู้ป่วย  ........บุคลากร......ระบบสาธารณสุขในระยะยาว.......มีความรับผิดชอบต่อเงิน ภาษีอากร ห้ามมิจฉาชีพมาเป็นกรรมการเพื่อปั้นแต่งโครงการใช้เงินจากกองทุน  (ต้องส่งคืนคลัง)  ....มีการตรวจสอบกรรมการ อนุกรรมการว่าตัดสินถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติหรือไม่  ห้ามแจก มั่...  
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 17:36:21
.
จากคุณ: Photomania โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 17:43:42
ขอบคุณมากครับ ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ต่อ Smiley
จากคุณ: doctor know ไม่เอาพรบ โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 18:05:55
พูดอีกก็ถูกอีก Grin
 
อ้ออยากถามdoctorlawerว่าต้องแก้ไขคำนิยามเกี่ยวกับคำว่า"ผู้ได้รับผลกระทบ" ใหม่หรือไม่  คือฝ่ายเครือข่ายและหมอเทพนักกฎหมายสองปริญญาติงมาว่า ๑ มันไม่มีในภาษากฎหมาย ๒ ความหมายที่นิยามไว้เดิมมันกว้างไปหรือไม่ครับเห็นเค้ายกตัวอย่างมาว่า นายก นายข ลูกน้องนายคที่ตาย ก็ได้รับผลกระทบจากการตกงานเมื่อเจ้านายตายมีสิทธิได้รับเงินชดเชยไปด้วยหรื อไม่  รบกวนช่วยตอบด้วยนะครับมีคนอยากรู้เยอะเลยครับ
จากคุณ: ~Mr.Sniper~ โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 18:27:07
ขอบคุณครับ  Smiley เดี๋ยวโหลดไปอ่าน
จากคุณ: yim2009 @ ต้านพ.ร.บ. โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 20:29:40
on 09/09/10 เวลา 17:31:37, doctorlawyer wrote:
อายุความเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ  ไม่ใช่ สิบปีนับแต่รู้ (ประทานโทษ เมื่อไรรู้   ใครจะไปรู้ เท่ากับกฎหมายเดิมไม่มีอายุความ)      สถนพยาบาลต้องเก็บเวชระเบียนได้ในความเป็นจริง ไม่ใช่ตลอดชีวิตผู้ป่วย   แพทย์พยาบาลต้องให้ข้อมูลได้จริงว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างการรักษา มิฉะนั้นแล้ว หากแพทย์ตาย มิต้องตามไปซักในยมโลกหรือ   หรือ อ้างว่าพิสูจน์ไม่ได้ก็ให้รีบจ่ายเงิน ต้องไม่มีแบบนี้    

 
Cool
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 20:29:52
ทุก  ๆ กฎหมายจะมีหมวดที่กำหนดคำนิยามเสมอ ในการร่างกฎหมาย
 
ลักษณะการบัญญัติคำนิยามจะมีหลายแบบ
 
๑.  เป็นคำที่รับรู้กันอยู่แล้ว แต่มีใช้หลายแห่งในกฎหมายนั้น ๆ เพื่อให้ไม่ยีดยาว จึงกำหนดเป็นคำนิยาม เพื่อแทนคำเต็ม  เข่น
รัฐมนตรี หมายถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 
หลังจากนั้น ในเนื้อหากฎหมายจะเขียนแต่คำว่า รัฐมนตรี
 
 
๒. เป็นคำที่มีความหมายไม่ตรงกับกฎหมายอีกเสียทีเดียว จึงต้องบัญญัติกำกับไว้เฉพาะในกฎหมายนี้ เพื่อมิให้สับสนกับกฎหมายอื่นที่มีการใช้คำ ๆ นี้  
   หากไม่บัญญัติไว้เฉพาะ อาจเกิดกรณีศรีธนญชัย ต่างคนต่างอ้างกฎหมายที่คล้ายกันมากล่าวอ้าง หรือ เทียบเคียง เมื่อเห็นว่าตนได้ประโยชน์จากกม.นั้น ๆ      
   ปัญหาแบบนี้มีบ่อยในบ้านเรา ถึงได้ชอบส่งกฤษฎีกาตีความ ส่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน
 
 
๓.  เป็นคำที่ไม่เคยมีมาก่อน  ต้องบัญญัติขึ้นใหม่ให้ชัดเจน เพราะประเทศไทยใช้กฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร มิใช่จารีตประเพณี    การบัญญัติขึ้นใหม่ จะผิดจะถูก ก็ไปว่ากันในชั้นพิจารณา  หากนักกฎหมายผุ้ทรงภูมิ เห็นว่าไม่ได้ ก็ไม่ขัดข้อง   แต่ไม่ได้มีการห้ามบัญญัติคำขึ้นใหม่      
 
    โลกนี้ไม่มีอะไรเกิดขึ้นได้เอง กฎหมายทุกฉบับ เกิดจากปลายมือของคนที่เขียนขึ้นทั้งสิ้น  หากห้ามเขียน ก็เท่ากับให้ไปใช้กฎหมายปีมะโว้ อยู่ร่ำไป
 
     ส่วนที่กล่าวว่า "ความเสียหาย"นั้น ก็NGO บอกเองว่าไม่ผิดไม่ถูก ไม่เพ่งโทษ แล้ว จะไปใช้คำนิยามของ ปพพ. เรื่องละเมิด ทำไม  หากยังยืนยันใช้คำนี้ แสดงว่า โกหกเรื่องไม่เพ่งโทษนั่นเอง    
 
 
"ฝ่ายเครือข่ายและหมอเทพนักกฎหมายสองปริญญาติงมาว่า ๑ มันไม่มีในภาษากฎหมาย ๒ ความหมายที่นิยามไว้เดิมมันกว้างไปหรือไม่ครับเห็นเค้ายกตัวอย่างมาว่า นายก นายข ลูกน้องนายคที่ตาย ก็ได้รับผลกระทบจากการตกงานเมื่อเจ้านายตายมีสิทธิได้รับเงินชดเชยไปด้วยหรื  อไม่"
 
สำหรับกม.นี้ มีคำนิยามเรื่องผลกระทบอยู่ในหมวดคำนิยามอยู่แล้ว ว่าอะไรคือผลกระทบตามพรบ.นี้  หลักการคือ การกระทำ ที่ก่อให้เกิดผลกระทำตามกม.นี้ ต้องเป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรื อการใดเพื่อรักษาผู้ป่วย  หากเห็นว่ามีช่องโหว่ ก็แก้ไขได้ในชั้นกรรมาธิการ   ไม่ใช่big issue  เว้นเสียแต่ว่าอยากค้านไว้ก่อน ให้น้ำขุ่น
 
ผู้เขียนมิใช่สัพพัญญู สามารถผิดพลาดได้ ใครเห็นข้อบกพร่องก็ช่วยแก้กันไป ไม่ใช่เรื่องใหญ่  
 
 
 
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 20:30:47
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลไทย  กับคำว่า ผลกระทบ
 
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อมาว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 8 กระทำการร่วมกันให้ความเห็นชอบ อนุมัติ หรืออนุญาต ให้โครงการหรือกิจกรรมทั้ง 76 โครงการ โดยมิได้ดำเนินการตามมาตรา 67วรรคสอง เป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลเห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าว รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของปวงชนชาวไทย คือ สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สิทธิในการดํารงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให ้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน และสิทธิในธรรมชาติ ได้แก่ สิทธิในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ บํารุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยบัญญัติกระบวนการทางกฎหมายขึ้นมาเพื่อคุ้มครองและรับรองสิทธิดังกล่าว คือ ห้ามดําเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ  
 
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 20:34:02
ตำรากฎหมายไทย กับคำว่า ผลกระทบ เทียบเคียงกับกฎหมาย
 
มาตรา 1531 การสมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายนั้น การหย่าโดย ความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีผลนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าเป็นต้น ไป
 
 
การหย่าโดยคำพิพากษามีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็น เหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จด ทะเบียนการหย่านั้นแล้ว
 
 
 
การหย่าโดยคำพิพากษาย่อมมีผลผูกพันคู่กรณีแล้ว แต่ไม่มี ผลกระทบ
ถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่กระทำการโดยสุจริตจนกว่าจะมีการจดทะเบียนหย่ากันแล้ว
 
 
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 20:35:15
NGO คดีแม่แมะ กับคำว่า ผลกระทบ
 
ศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำพิพากษาให้ “กฟผ.” จ่ายค่าเสียหายให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบคดีแม่เมาะ รายละ 246,900 บาท พร้อมดอกเบี้ย หลังพบมีการปล่อยฝุ่นละออกและก๊าซซัลเฟอร์ฯเกินกว่ามาตรฐานกำหนดจริง ทำให้เกิดมลพิษในพื้นที่
 
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 20:49:57
.
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 20:50:35
.
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 20:51:59
.
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 20:53:00
.
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 20:53:25
.
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 20:54:04
.
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 20:55:09
หากไม่บัญญัติคำใหม่ เพื่อป้องกันผู้เดือดร้อนจากวงแชร์ คงไม่มีกฎหมายข้างต้นเกิดแน่
เพราะพรบ.การพนันเดิมไม่มีคำนิยามว่า แชร์ คืออะไร
จากคุณ: Eagle:ลุ้นๆๆ โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 20:55:25
ขอบคุณมากครับอาจารย์
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 20:57:31
Reference
 
 
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
 
การยกร่างกฎหมายใหม่ทั้งฉบับไม่ใช่เรื่องง่ายเลย  เหนื่อยมาก ๆ  ยิ่งต้องทำในเวลาจำกัด ด้วยคน ๆ เดียว เหนื่อยมาก  
ไม่มีเวลาเขียนตำรา ลงjournal ทำผลงานวิชาการเลย
 
To err is human
 
Your comment is my mentor
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 21:03:12
Desk reference
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 21:03:48
and more
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 21:04:16
more
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 21:04:50
.
จากคุณ: doctor know ไม่เอาพรบ โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 22:16:29
ขอบคุณหมอdoctorlawerด้วยครับ
จากคุณ: PG โพสเมื่อวันที่: 09/09/10 เวลา 23:14:33
หนับหนุนเต็มที่คัฟ  Cheesy
จากคุณ: หวานคอแร้ง 80/5 โพสเมื่อวันที่: 09/10/10 เวลา 11:18:31
on 09/09/10 เวลา 20:57:31, doctorlawyer wrote:

สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
 
การยกร่างกฎหมายใหม่ทั้งฉบับไม่ใช่เรื่องง่ายเลย  เหนื่อยมาก ๆ  ยิ่งต้องทำในเวลาจำกัด ด้วยคน ๆ เดียว เหนื่อยมาก  
ไม่มีเวลาเขียนตำรา ลงjournal ทำผลงานวิชาการเลย
 
To err is human
 
Your comment is my mentor

 
Thanks ขอบคุณความเสียสละของอาจารย์ เป็นคุณูปการให้แก่ระบบสาธารณสุขไทย สร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ส่งผลดีต่อผู้ป่วยยากไร้ ที่ไม่ขี้โวยวาย
 
Cool ทั้งที่อาจารย์อยู่ในที่ที่ความเสี่ยงต่ำ ขอชื่นชมความสามารถและความหวังดีต่อส่วนรวม อาจารย์จะไม่เหนื่อยเปล่า  
 
homo พวกเราขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ใช้ศักยภาพที่มีอยู่สูง ทำงานเต็มกำลัง  
 
อย่าปล่อยให้ พรบ.เห็นแก่ตัว เอาแต่ได้ถ่ายเดียว เขียนออกมาสนองคนส่วนน้อยที่ขี้โวยวายอย่างเห็นแก่ตัว โดยไม่คำนึงถึงส่วนรวม ออกมาทำร้ายความสัมพันธ์อันดีงามของหมอและคนไข้ ทำลายระบบสาธารณสุขและผู้ป่วยส่วนใหญ่ของเรา  Smiley Cheesy Grin
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 09/10/10 เวลา 12:25:59

ได้ความรู้เพิ่ม .. ขอบคุณคร๊าบบบบบ
จากคุณ: jubjeab โพสเมื่อวันที่: 09/10/10 เวลา 18:09:49
เป็นกฏหมายที่มุ่งประโยชน์ต่อผู้รับบริการแต่ภาระทุกอย่างไปตกที่ผู้ให้บริก ารและสถานพยาบาลต้องแบกรับรายจ่าย
 
ทำไมผู้รับบริการไม่คิดจะช่วยทำอะไรเพื่อตนเองบ้าง  กรณีกองทุน  ผู้รับบริการควรจ่ายสมทบ   เวลามารับบริการก็จ่ายเข้ากองทุนตามอัตราที่เหมาะสม  เมื่อเหตุต้องชดเชยความเสียหายก็เอากองทุนที่มีจ่ายไป   หลักการเหมือนทำประกัน  คือคนที่อยากทำประกันหรือ  คนที่จะรับประโยชน์ก็ต้องออกเงินทำประกันไม่ใช่มาเรียกร้องให้คนอื่นจ่ายค่า ประกันให้ตัวเองก็รอรับผลประโยชน์จากค่าชดเชย
 
หรือนี่คือนิสัยหนึ่งเดียวในโลกของคนไทย  คือเอาแต่ได้  ง่ายเข้าว่า
จากคุณ: golf77 โพสเมื่อวันที่: 09/11/10 เวลา 00:25:15
ขอบคุณมากครับ
จากคุณ: doctorlawyer โพสเมื่อวันที่: 09/16/10 เวลา 22:47:38
ความแตกต่างระหว่างสองร่าง
 
http://www.mediafire.com/download.php?99kw73nsrxu09nd
จากคุณ: = MaximuS = โพสเมื่อวันที่: 10/07/10 เวลา 21:03:35
นี่คือความไม่เท่าเทียมในสังคมอย่างนึง
แม้แต่การแพทย์ ก็ถูกการเมืองใช้เป็นเครื่องมือ
จากคุณ: doc.n.cat โพสเมื่อวันที่: 11/04/10 เวลา 13:43:47
ตรงใจมากๆๆ ขอสมัครเป็นแฟนคลับdoctorlawyerเลยค่ะ
บทความข้างบน เป็นเรื่องที่"ต้องเร่งขยาย"  โดยด่วน และถ้วนหน้าก่อนที่พรบ.เถรๆๆ อันไร้ซึ่งเหตุผลและความยุติธรรมจะผ่านออกมา
 
   ถึงจะเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยแต่หนูก็อยากช่วยสนับสนุนเรื่องนี้มากๆ
เท่าที่หนูคุยกับเพื่อนๆเรื่องพรบ.นี้ ทุกคนไม่เห็นด้วย คือไม่อยากให้มีพรบ.ฉบับนี้ เกิดขึ้นมา แต่ไม่เข้าใจกระจ่างในแง่การตีความ และการนำไปใช้ หลักการดูเหมือนจะดีแต่ทุกข้อมีข้อสงสัยที่คลางแคลงใจในเรื่องความไม่เป็นเห ตุเป็นผลและช่องโหว่ "คอรัปชั่น" ที่จะเกิดขึ้นและจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย (ใหญ่กว่ากระทรวงสาธารณสุขไทย) แน่ๆ ดังที่ doctorlawyerกล่าวข้างต้น  
 
หนูติดตามข่าวพรบ.เท่าที่จะมีเวลา  ดูเหมือนว่ามีแค่ทีมคณาจารย์แพทย์ระดับบริหารร่วมแก้ปัญหา เช่น debateผ่านสื่อบ้าง เพียงหน่วยเดียว ซึ่งแพทย์ระดับปฏิบัติงานจริงเช่น intern, resident จำนวนไม่น้อยเลยอาจจะไม่ทราบข้อมูล ที่มาที่ไป ข้อเท็จจริงเมื่อตีความทางกฎหมาย และจะเกิดผลการทบอะไรบ้างกับชีวิตแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ทุกวันนี้  ซึ่งถ้าหากจะทำประชาพิจารณ์ในบุคลากรสาธารณสุข โดยที่ยังไม่เข้าใจ หรือ "เข้าใจได้อย่างถูกต้อง" ผลการคัดค้านอาจจะไม่มีpowerเพียงพอที่จะถอดถอน พรบ.คุกคามชีวิตจิตใจแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขรึเปล่า?  หรือควรจะจัดตั้งชมรมหรือเครือข่ายของเราเองเพื่อจะได้ผนึกกำลังทางความคิดเ พื่อผลักดัน แก้ไขพรบ.อย่างที่ควรจะเป็น เหมาะสมกับสภาพปัญหาความเจริญด้านการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน จะได้มีกฎหมายที่ยุติธรรมสำหรับทุกฝ่าย  ...
 
หนูยืนยันจะช่วยรักษาคนไข้ตามหลักวิชาการ คุณธรรม จริยธรรมทางการแพทย์
หนูยืนยันจะสนับสนุนเรื่องความมีมนุษยธรรมและมนุษยสัมพันธ์ดันดีกับผู้ป่วยแ ละญาติ
 
หนูจะต่อต้าน medical lottery
หนูจะต่อต้านcorruption ทุกรูปแบบ
หนูจะต่อต้าน พรบ.ที่ไม่เป็นธรรม และ ความไม่ยุติธรรมในสังคม
 (เท่าขีดจำกัดที่ประชาชนจะทำได้ภายใต้รัฐธรรมนูญ...)  นอกเหนือจากนี้ ขอให้อยู่ในดุลพินิจของ "กฎแห่งกรรม" เป็นผู้ตัดสินก็แล้วกันค่ะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จากคุณ: Drpong โพสเมื่อวันที่: 12/01/10 เวลา 10:16:53
พรบ..คุ้มครอง เป้นสิ่งจำเป้นครับ
 
    ไม่อยากให้    ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย  แกล้งร่างขึ้นมาเพื่อถ่วงเวลาครับ
 
   ผมไม่ได้ว่าใครนะ
 
  แต่ผมสังเกตุดู  หลังจากรัฐบาลพิจารณา ร่างของรัฐไม่ทัน แล้ว
 
   กลุ่มที่เคยสนับสนุนร่าง  คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ
  ต่างเงียบกริบ  ราวกับว่า
 เหตุผลที่ต้องมี พรบ...คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ  เพียงเพื่อต้องการ ถ่วงเวลารัฐเท่านั้น
  และ ยิ่ง  ตอกย้ำว่า  นโยบายของกลุ่มผู้สมัครแพทย์สภา
 
  ไม่มีใครสนับสนุน   .....ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบ...เลยมีแต่ ยับยั้ง  ร่าง พรบ...คุ้มครองผู้เสียหาย
   
   ผมขอเรียกร้องให้   แสดงจุดยืนของท่าน  ให้ชัดเจน  ครับ  มิเช่นนั้น ผมก้ต้องคิดแบบที่ผมพูดไปแล้วว่า  ท่านแกล้งเสนอเพื่อถ่วงเวลา มิใช่เหตุผลจากความต้องการ  กฎหมายเพื่อดูแลผู้ได้รับผลกระทบจริงๆครับ    ยิ่งถ้าหากว่า
 
 เกิด  ภาคประชาชน  ถอนร่างออก   และ  เหลือร่างรัฐ กับ ร่างนี้ เท่านั้น
 
 แล้ว  ร่าง คุ้มครองผลกระทบ  ก็ถูกถอนออกด้วย
 
 ผมคิดว่าเป้นเรื่องน่าละอายนะ   Grin
 
จากคุณ: terminator โพสเมื่อวันที่: 12/07/10 เวลา 21:34:23
Shocked Shocked
จากคุณ: GURU01234 โพสเมื่อวันที่: 01/05/11 เวลา 15:44:48
   เห็นด้วยกับคุณjubjeabที่ต้องให้ผู้มารับบริการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนด้วย ต้องเสนอในขั้นแปรญัตติถ้ายังไม่มี
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 02/16/11 เวลา 23:46:40

 
หัวข้อ 10503: ร่าง พรบ.คุ้มครองฯ ร่างที่ ๘ จากสภาทนายความ Huh  (จำนวนคนอ่าน 366 ครั้ง)
 
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1297673853;start=0
 
ยังไง ก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...   มีเพียบบบบบบบบ
 
 
ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
http://www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc
 
...เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
http://www.mediafire.com/?slodsosamvks28e
 
รวมบทความ พรบฯ
http://www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot
 
 
 
 
 
หรือ อ่านแค่นี้ ก่อนก็ได้   Grin    Grin    Grin
 
" เบื้องหลัง " .... พรบคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฯ ... โดย นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ
 
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-11-2010& group=7&gblog=116
 
 
ขยะใต้พรม พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสธ. ... โดย doctorlawyer
 
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-10-2010& group=7&gblog=109
 
 
บทวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงแก้ไข “ร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ” ... โดย นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ
 
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-09-2010& group=7&gblog=100
 
 
ทำไม พรบ.ร่างรัฐบาลที่เป็นร่างหลัก จึงมีปัญหา (มากกว่าร่าง ภาคประชาชน) Huh ...โดย 716:16
 
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=31-08-2010& group=7&gblog=96
 
 
ปุจฉาวิสัชนา พรบฯ .. ความเห็นของ "หมอ+นักกฎหมาย" ผู้ร่วมร่าง พรบ.นี้ ตั้งแต่เริ่ม (อ่านแล้วจะ อืมมม)
 
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-08-2010& group=7&gblog=70
 
 
ประเด็นที่น่าสงสัย ใน พรบ.คุ้มครอง ฯ ..และ..ลิงค์กระทู้บทความที่น่าสนใจ จะได้เข้าใจตรงกันมากขึ้น
 
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-08-2010& group=7&gblog=69
 
 
 
 
จากคุณ: แมกซิมุส _/|\_ โพสเมื่อวันที่: 08/24/11 เวลา 00:00:16
ทางโลกนี่ชักวุ่นกันขึ้นทุกวันๆ
จากคุณ: DrTang โพสเมื่อวันที่: 12/04/11 เวลา 10:25:51
หยุดมันไว้ก่อน พ.ร.บ.นี้
 
อย่าให้ออกจนกว่ารัฐบาลจะลงทุนด้านทรัพยากรสาธารณสุข ให้เท่าเทียม(ไม่ใช่เท่าแบบเทียมๆ)กับประเทศที่พวกเสนอกฎหมายอ้างถึง  
 
เมื่อทรัพยากรสาธารณสุข ได้แก่ งบประมาณเพียงพอ เงินเดือนเหมาะสมกับงาน จำนวนบุคลากรที่เหมาะสมตามสัดส่วนต่อภาระงาน เครื่องมือเพียงพอ แล้ว
 
จึงค่อยพิจารณาจะให้กฎหมายออกมามีกลไกที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายท ี่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสีย


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by