หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   ICU : Interesting Creative Usergroup
   Post reply ( Re: แพทยสภาเสนอเพิ่มค่าตอบแทนแพทย์ )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 04:55:48

 
 
นายกแพทยสภา
 
ที่พส.014/
 
 
17 มีนาคม 2551
 
 
เรื่อง ขอส่งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
 
 
เรียน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
 
 
อ้างถึง หนังสือ ที่ สธ 0205.4/35 ลงวันที่ 11 มกราคม 2551 เรื่อง ขอทราบความเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอการปรับค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข ( พ.ต.ส.)
 
 
ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกกระทรวง
 
สาธารณสุข มีหนังสือถึงแพทยสภา เพื่อ ขอทราบความเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอการปรับค่าตอบแทน
 
กำลังคนด้านสาธารณสุข ( พ.ต.ส.) เพื่อเสนอความเห็นไปยังคณะรัฐมนตรี รายละเอียดดังทราบ
 
แล้วนั้น
 
คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 3/2551 วันที่ 13 มีนาคม 2551 ได้พิจารณาแล้วมีมติให้เสนอความเห็นเพิ่มเติมต่อสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กร ะทรวงสาธารณสุข เพื่อสรุปเสนอต่อคณะกรรมการตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเงิน( พ.ต.ส.) ที่ประชุมได้ข้อสรุปเพื่อดังนี้
  1.การพิจารณาเกี่ยวกับเงิน ( พ.ต.ส.) เดิม ที่ประชุมมีความเห็นให้ขอเสนอเพิ่มดังนี้
  1.1 แพทย์ทั่วไป เพิ่มจาก 5,000 บาท/เดือน ขอเพิ่มเป็น 10,000 บาท/เดือน
  1.2 แพทย์ผู้มีวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตร เพิ่มจาก 10,000 บาทเป็น 20,000 บาท/เดือน
  1.3 แพทย์สาขาเฉพาะเดิม 9 สาขาที่ได้พ.ต.ส.เดือนละ 15.000 บาท( ได้แก่ พยาธิวิทยาทั่วไป พยาธิวิทยากายวิภาค พยาธิวิทยาคลินิก นิติเวชศาสตร์ จิตเวชศาสตร์ จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ประสาทศัลยศาสตร์ ศัลยศาสตร์ทรวงอก เวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา)
 
ขอเพิ่มเป็นเดือนละ 25,000 บาท
  ที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอที่กรมการแพทย์เสนอและเสนอให้เพิ่มอีก 1 สาขาคือ ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา เพื่อให้สนับสนุนให้งานมะเร็งวิทยาทำงานครบทีม
(ข้อเสนอของกรมการแพทย์ ได้เสนอแพทย์สาขาขาดแคลนอีก 8 สาขาให้ได้รับเงินพ.ต.ส.เหมือนกลุ่ม 3นี้ ได้แก่ กุมารเวชศาสตร์โรคเลือด รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ หรือรังสีรักษา เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เวชศาสตร์นิวเคลียร์ อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา อายุรศาสตร์โรคเลือด มะเร็งวิทยานรีเวช เวชศาสตร์ป้องกันแขนงอาชีวเวชศาสตร์ )  
  2. ค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาราชการ คณะอนุกรรมการฯ มีความเห็นเดิมที่เคยเสนอไปแล้วตามจดหมายของนายกแพทยสภาที่ พส.014/584 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2550 เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์มงคล ณ สงขลา ) โดยเสนอให้เพิ่มค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาราชการของแพทย์เป็น 3 - 4 เท่าจากอัตราในปัจจุบัน และขอให้จัดสรรงบประมาณประจำปีสำหรับจ่ายค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ โดยไม่ขึ้นกับสภาวะเงินบำรุง เพิ่มค่าตอบแทนการทำหัตถการเป็น 2-3 เท่าของอัตราเดิม ให้จ่ายค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาราชการทุกประเภท เช่น การตรวจผู้ป่วยที่นอนรักษาตัว(นอกเวลาราชการ)  เพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายของรพช.เป็น 2 เท่าของอัตราเดิม เพิ่มค่าตอบแทนแพทย์เพิ่มพูนทักษะและแพทย์ประจำบ้านให้มากกว่าในปัจจุบัน ในอัตรา ที่เหมาะสมเพื่อให้ เหมาะสมกับค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อ  และให้แพทย์ประจำบ้านที่มีต้นสังกัดได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประ จำปีในขณะฝึกอบรม
  จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและพิจารณาดำเนินการต่อไป
 
 
ขอแสดงความนับถือ
 
 
 
(นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา)
 
 
นายกแพทยสภา
จากคุณ: KU_BA2007 โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 06:43:33
คนไทยด้วยกัน ฝนตกไม่ทั่วฟ้า เศร้าจัง
จากคุณ: Mr.LOVE  -  GP .. ผู้ยิ่งใหญ่ โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 08:11:14
GPเก่าๆหล่ะครับ    
 Grin Grin Grin
จากคุณ: ดญ.ดอกแก้ว โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 09:37:24
ถ้าเป็นจริงได้ก็ดีค่ะ
 
 Grin Grin
 
จากคุณ: ART_OF_IRIS โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 09:53:41
ไม่วิเคราะห์สาเหตุ ชอบแก้ไขแบบขอไปที แต่ก็ยินดีด้วยที่ได้เงินเพิ่ม Shocked Shocked
จากคุณ: Nice girl โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 10:45:28
Smiley
จากคุณ: หมอก้อนหิน โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 12:41:15
ขอลดงาน แทนการเพิ่มเงินเดือนได้เปล่าครับ
จากคุณ: 151xx โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 12:42:02
ทำไมไม่เพิ่มเท่าๆกันครับบางสาขาที่ได้เงินเพ่มหนะงานสบายเวรไม่ต้องอยู่วดร ์ดไม่ต้องราวด์ เสาร์อาทิตย์นอนอยู่บ้าน Huh
จากคุณ: U-MILK โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 13:39:28
Grin
จากคุณ: Echo โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 14:01:03
ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลยครับ
 
ผมเองก็เชื่อว่าเงินเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดงานครับ
 
ถ้าได้จริงๆ(กลัวจะไม่ได้) ก็จะดีกับอีกหลายๆคนและดีกับผม หรือคนที่จะทำงาน รพช ตลอดชิวิต ไม่คิดจะทำเอกชนทั้ง parttime fulltime  
 
ดีกับคนที่ไม่กลัวงานหนัก แต่กลัวเงินน้อยครับ
 
สรุปผมว่าดีนะ แต่เมือ่5 ปีก่อนมีคนเคยเสนอไปแล้วแล้วหนังสือก็ตกไปนะครับ
จากคุณ: toung00 โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 14:32:35
ได้เงิน 15000 X 12 =   180,000 เสีย 40(1)   20% =  36000  คิดเป็น ทำงาน 12 เดือน ได้เงินจริงๆ 10 เดือน
 
ถ้าเป็น  40(6) หักได้ 60 %  คิดเป็นเงินได้   72000   20% = 14400  คิดเป็น ทำงาน 12 เดือน ได้เงินจริงๆ 11 เดือน
 
แล้วถ้าคิดว่า ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายต่างๆเพิ่มอีก  ต้องเพิ่มงบรายหัวหรือไม่
จากคุณ: เรื่องธรรมดา โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 14:47:11
Smiley
จากคุณ: RETINA โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 14:59:05

 
น่าจะลดงานมากกว่าเพิ่มเงิน
 
 Cheesy
 
แต่ก็ยังดีค่ะ
 
เป็นกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงาน
 
 Cheesy
จากคุณ: KC_1 โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 15:17:42
ถ้าทำได้ก้อดีครับ แต่คงไม่ผ่านง่่ายๆละมัง Undecided
จากคุณ: oishi โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 15:48:49
แต่ก้ออยากได้เวลามากกว่าได้เงินนะเนี่ย
 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 18:26:25

อ่านแล้วจะเห็นได้ว่า  " หมอเราบางส่วน ไม่ได้อยากได้เงินเพิ่ม แต่อยากทำงานน้อยลงต่างหาก "   Roll Eyes
 
 
แต่ อยู่ รพ.รัฐ เป็นข้าราชการ ต้องทำใจ ...  Lips Sealed
 
 
ถ้าได้ ก็ยินดีกับ พี่ ๆ น้อง ๆ ด้วย ... แต่ถึงไม่ได้ ก็ต้องขอบคุณ อาจารย์ ที่มองเห็นความลำบากของพวกเรา  Wink
จากคุณ: dr.mengka โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 18:39:26
Smiley
จากคุณ: vfib โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 18:54:50
Smiley
จากคุณ: Dr.Tum.....ณ. สยาม โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 19:47:14
Grinยินดีกะหมอรัฐ...ถ้าได้จริงนะครับ Grin
จากคุณ: parinyaMD25 โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 19:49:41
ขอบคุณอาจารย์สมศักดิ์ที่ออกหน้าให้พวกเรา
...คนที่เข้าใจก็คงไม่มีปัญหา
แต่คนที่ไม่เข้าใจก็คงมองว่า..หมอรวยอยู่แล้ว ยังจะเอาอะไรอีก
จากคุณ: BOZZ_GUZA โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 19:50:35
ของมันแพง
 
เงินก็เฟ้อ
 
หมอก็ขาด
 
ว่าตามกลไกการตลาด
 
ก็ต้องเพิ่มค่าตอบแทนนะแหละ
 
มันถึงจะรักษาคนทำงานให้อยู่ในระบบได้.
 
เป็นมาตรการที่แก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด
จากคุณ: จันทร์ส่องแสง โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 21:11:16
Cool
จากคุณ: zacc โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 21:22:50
คนทำงานจะได้มีกำลังใจขึ้นมั่ง กลัวแต่จะไม่ได้  
จากคุณ: หมอ shit โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 21:38:26
เพิ่มยังไงถ้าอยู่แล้วลำบากใจ คนก็ออกหมดครับ  
ไม่เข้าใจเลยว่าทำไมยังไงหมอก็ไม่พอ เห็นจบมาปีละมากมาย ลาออกก็มาก แต่ทำไมเอกชนก็ยังขาดแพทย์อยู่ดี
เมื่อก่อนตอนเรียนก็รู้สึกว่าเฉพาะทางต้องล้นแน่ๆ แต่พอจบมาจริงๆก็ยังเห็นว่ามันไม่พอสักทีครับ
จากคุณ: Nothing โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 23:31:02
ว่าแต่ว่า รัฐจะมีเงินมาให้หรือครับ ยิ่งยุคนี้ เศรษฐกิจถดถอย สงสัยจริง Huh
 
แต่ก็ถือว่า เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจวิธีหนึ่ง ให้เงินหมุนไปๆ ใช่ไหมครับ Grin
จากคุณ: drnobeta โพสเมื่อวันที่: 03/20/08 เวลา 11:50:35
Grinยินดีกับทุกท่านถ้าได้จริง
จากคุณ: amyloidosis โพสเมื่อวันที่: 03/20/08 เวลา 17:44:37
ขอให้จริงเถอะครับ Grin
จากคุณ: season โพสเมื่อวันที่: 03/20/08 เวลา 19:34:25
เห็นด้วยนะครับ
ขอบคุณที่แพทยสภาพยายามแก้ไขปัญหา
เรื่องเงินนั้นก็ต้องยอมรับว่ามีความสำคัญจริง
การช่วยเรื่องนี้ก่อนโดยเร็วก็เหมาะแล้วครับ
สาขาขาดแคลนมีแรงจูงใจสูงกว่าผมว่าก็okนะ
 
เรื่องภาระงานผมว่าถ้าช่วยๆกันอยู่ ไม่รีบออกไปก่อนกำหนด
ก็จะเบาลงได้ ความสุขในการทำงานก็เป็นไปได้ครับถ้าคนอยู่ในระบบมากขึ้น
เรื่องอื่นๆน่าจะค่อยๆคลี่คลายไปได้
 
จากคุณ: john โพสเมื่อวันที่: 03/20/08 เวลา 20:03:05
ยิ่งเพิ่มเงินค่าตอบแทน ความคาดหวังและความรับผิดชอบยิ่งเพิ่มมากขึ้น  
 
เหตุผลในการเพิ่มเงินยังไม่เห็นมีการชี้แจงชัดเจนเลย  
เงินเฟ้อ ค่าครองชีพ เพิ่มประมาณ 10 % แต่ขอเงินเพิ่มเป็น 100%  
(มันดูโลภๆ ยังไงก็ไม่รู้นะครับ )
ไม่เอานโยบายเศษสตางค์ของท่านนายกมาใช้เลย  
สงสัยคงตั้งใจจะให้เอาเงินที่เพิ่มขึ้นไปเข้ากองทุน ประกันการฟ้องร้องแพทย์  
หรือไม่ก็ให้เอาไปจ้างทนายเสียละมัง
จากคุณ: gamo โพสเมื่อวันที่: 03/20/08 เวลา 21:19:52
Grin อยากได้เงินเพิ่มก้จริงอยู่ค่ะ  Grin
 
แต่ก้อยากลดงานมากกว่าอ่ะ Tongue
จากคุณ: ฟ้าจ๋าฟ้า โพสเมื่อวันที่: 03/20/08 เวลา 22:22:13
Grin Grin Grin Grin
จากคุณ: ^.^ Eagle คุง ^.^ โพสเมื่อวันที่: 03/21/08 เวลา 02:25:43
ลดงานดีกว่ามั้ง  Grin Grin
จากคุณ: Dr.MTB โพสเมื่อวันที่: 03/22/08 เวลา 01:18:52
รอดูผลของการนี้ ว่าจะเป็นไปยังไง
จากคุณ: nong-pang โพสเมื่อวันที่: 03/22/08 เวลา 04:58:14
Wink
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 03/22/08 เวลา 11:02:04
ตอบคห.ที่ 28  
 
การที่ขอเพิ่มเงินมากขึ้นก็เพราะเราเปรียบเทียบกับหมอในภาคเอกชนที่มีรายได้ สูงมากๆ ถ้ารายได้หมอภาครัฐยังน้อยกว่าเอกชนมากๆแล้ว ก็จะไม่มีแรงจูงใจให้หมอยังอยู่ในราชการ และอีกอย่างหนึ่งที่เป็นเหตุผลในการขอขึ้นมากๆ เพราะเราเอาไปเปรียบเทียบกับข้าราชการฝ่ายกฎหมาย เช่นอัยการ ผู้พิพากษาที่ทำงานรับผิดชอบความยุติธรรม มีรายได้สูงเพราะรัฐบาลต้องการรักษาความยุติธรรมของประชาชน คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนค่าตอบแทนของแพทย์ แห่งแพทยสภา ก็เลยคิดว่า รัฐบาลน่าจะต้องให้ความยุติธรรม กับแพทย์ผู้รักษาชีวิตคนว่าควรได้รับค่าตอบแทนการทำงานให้เท่าเทียมกับ  ผู้ที่รักษาความยุติธรรมด้วย
 
 การที่มีแพทย์บางคนที่เขียนว่าไม่อยากให้เพิ่มเงิน แต่อยากลดงานนั้น ทางคณะอนุกรรมการฯก็เห็นด้วย แต่เนื่องจากการจะลดงานนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ
 1.มีคนทำงานมากพอๆกับผู้ป่วย
 2. มีการบริหารจัดการระบบที่ดี ให้แพทย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นระบบส่งต่อ มีบุคลากรอื่นๆช่วยแบ่งเบางานของแพทย์ และมีระบบนัดผู้ป่วย และมีเทคโนโลยีและเครื่องมือเหมาะสม
 3. การที่จะมีคน(แพทย์) ยังทำงานมากๆก็ต้องเพิ่มแรงจูงใจให้แพท์ไม่ลาออก และหนึ่งในแรงจูงใจให้แพทย์ไม่ลาออก
ก็คือค่าตอบแทนที่ไม่ขี้เหร่เกินไปนัก เมื่อเทียบกับงานในลักษณะเดียวกันกับภาคเอกชน
 4.ที่สำคัญก็คือข้อเสนอนี้เกิดจากคณะอนุกรรการพิจารณาปรับเปลี่ยนค่าตอบแทนแ พทย์แห่งแพทยสภา ที่ได้เสนอไปยังกรรมการแพทยสภา และกรรมการแพทยสภาได้ลงมติรับรอง แล้วจึงได้เสนอให้ท่านนายกแพทยสภาทำหนังสือเสนอไปยังกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีหน้าที่ผลักดันให้เกิดผลสำเร็จต่อไป
 
 
 ส่วนเรื่องการลดภาระงานนั้น มีคณะอนุกรรมการอีกคณะหนึ่งคือคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานการทำงานของแพทย์ใน ภาคราชการ ซึ่งได้ทำงานวิจัยเรื่อง "ชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข" และกำลังพิจารณาอยู่ว่าควรกำหนดให้แพทย์ตรวจผู้ป่วยคนละกี่นาที แพทย์ควรทำงานไม่เกินสัปดาห์ละกี่ชั่วโมง ฯลฯ ซึ่งอนุกรรมการยังไม่กล้าฟันธงลงไปว่าจะกำหนดได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐานหรือไม ่ เพราะกลัวว่าถ้ากำหนดไปแล้ว และกระทรวงสธ.บริหารจัดการไม่ได้แล้วจะมีปัญหาการฟ้องร้องกันอีก
 
 ที่ทราบก็เพราะข้าพเจ้าเป็นอนุกรรมการอยู่ทั้ง 2 คณะ
 
 
จากคุณ: PomP@ รักแห่งสยาม โพสเมื่อวันที่: 03/22/08 เวลา 13:11:41
Cheesy Smiley
จากคุณ: tkdmanstanding โพสเมื่อวันที่: 03/22/08 เวลา 17:35:11
0h จะป้องกันหมอลาออกได้มั้ยครับ
จากคุณ: แม่น้ำยมโลก โพสเมื่อวันที่: 03/23/08 เวลา 10:22:05
ไม่แน่นาเงินเดือนดีใกล้เคียงเอกชนแถมได้เป็นข้าราชการอีก
กระแสอาจไหลกลับก็ได้มาอยู่รพ รัฐกันหมด หวังไว้ลึกๆ Grin
จากคุณ: ส้มตำ โพสเมื่อวันที่: 03/23/08 เวลา 10:41:10
1. แยกบัญชีไปเลย
เอาบัญชีผู้พิพากษาก็ได้ โดยเฉพาะแพทย์ที่ต้องการไม่ประกอบวิชาชึพนอก รพ รัฐ หลายคนคิดว่าเป็นค่าตอบแทนในระดับที่รับได้และพอเพียงต่อคุณภาพชีวิตที่ดีแล ้ว
 
2. หมอมี 4 พวก ขอความกรุณาให้ผู้เกี่ยวข้อง อย่ามองเป็นหน้ากระดานเหมือนกันหมด อย่างที่ทำมาตลอดและไม่ work
เน้น service เช่น หมอตามรพช ด่านแรกของกระทรวง
เน้นวิชาการ โรงเรียนแพทย์ หรือเทียบเท่า
ผสมกัน เช่น รพจ รพศ ที่มีการเรียนการสอนระดับต่างๆ
บริหาร
 
แต่ละพวกมี่ลักษณะงาน ความรับผิดชอบ ความเสี่ยงจากวิชาชีพ ไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง การตอบแทนและความก้าวหน้าควรใช้เกณฑ์ที่ต่างกัน
 
เสนอมาห้าร้อยรอบแล้ว  
 
แต่ชาตินี้คงไม่ได้เห็นอะไรอีกเช่นเดิม
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 03/23/08 เวลา 17:26:45
ข้อเสนอของลุงส้มตำก็ดีมากๆเลย คณะอนุกรรมการก็เห็นด้วยทุกประการเรื่องแยกบัญชีเงินเดือน แต่อาจจะต้องใช้เวลาอันยาวนานกว่าการขอขึ้นค่าอยู่เวรและค่าพตส.อย่างที่เสน อไปแล้ว
 
 แต่ที่เสนอๆไป ก็อาจไม่ได้อะไร เพราะกรรมการแพทยสภาไม่ใช่ผู้อนุมัติให้ขึ้นค่าตอบแทนได้  
 ก็ต้องอาศัยพวกเราที่จะต้องเรียกร้องกับผู้บริหารต่อไปอย่างที่เรียกว่า consistency หรือมีอาจารย์ที่เคารพรักท่านหนึ่งบอกว่า "กัดไม่ปล่อย" คือเรียกร้องไปเรื่อยๆ เหมือนชาวพม่าเรียกร้องประชาธิปไตย หรือชาวธิเบตเรียกร้องอิสรภาพ
 หมอไทยเราก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 Sad
จากคุณ: C-kit โพสเมื่อวันที่: 03/24/08 เวลา 09:53:30
เอาเข้าจริงๆเงินที่ได้จะตกอยู่กับผู้บริหารครับ....เท่าที่เคยจำได้ตอนเป็น  intern ได้ 2000 ผอ.ได้ 80000...
ผมมองว่า ปัญหาส่วนใหญ่ที่หมอลาออกเป็นเพราะระบบราชการที่ไม่สอดคล้องกับการทำงานของแ พทย์มากกว่า...และเอกชนก็ให้ข้อเสนที่เหมาะสมกว่าทั้งค่าตอบแทนและระบบงาน  ความพร้อมอื่นๆ( คือกัดการให้ทุกอย่าง ให้ support การดูแลผู้ป่วยอย่างดีที่สุด)    
    ส่วนราชการต้องทำงานตามคำสั่ง หรือนโยบายผู้บริหาร เช่น สสจ. ผอ. ซึ่งหลายครั้งผู้ปฏิบัติไม่สามารถทำได้  คนไข้เสียประโยชน์  สุดท้ายการสาธารณสุขของประเทศก็จะเปลี่ยนไปเป็นภาคเอกชนทั้งหมด อย่างแน่นอนครับ
จากคุณ: AceOfHearts โพสเมื่อวันที่: 03/27/08 เวลา 11:44:43
ขอบคุณท่านอาจารย์สมศักดิ์นะครับ
ที่พยายามเพื่อพวกเรามาตลอด
 
คราวนี้จะพยายามมีความหวังครับ
ถึงจะรู้ว่าเปอร์เซ็นต์ผิดหวังสูงเหลือเกิน Undecided
จากคุณ: mamean โพสเมื่อวันที่: 03/27/08 เวลา 20:45:45
"ทำไมไม่เพิ่มเท่าๆกันครับบางสาขาที่ได้เงินเพ่มหนะงานสบายเวรไม่ต้องอยู่วด ร ์ดไม่ต้องราวด์ เสาร์อาทิตย์นอนอยู่บ้าน"
 
อ่านแล้ว รู้สึกไม่ดีเลยครับ
ผมอยู่ในสาขาที่ไม่มีต้องอยู่เวร ที่เลือกมาทางนี้เพราะว่าผมไม่ชอบทึ่ต้องตรวจคนไข้ ต้องพูดเหมือนกันเดิม ๆ ไหนจะบรรดาญาติคนไข้อีก ถ้าต้องอดนอนตอนกลางคืนไม่ไหวจริง ๆ พอมาเรียนและได้สัมผัส ผมก็ชอบและคิดว่าเลือกถูกแล้ว งานที่ทำทุกวันนี้ก้มากเช่นกันครับ (แต่คนอื่น แม้แต่หมอด้วยกัน มักมองว่า สบาย) จริง ๆ มันสบายและลำบากกันคนละอย่าง ทุกวันนี้งานในเวลาถ้าไม่เสร็จก็ต้องเอามาทำต่อที่บ้าน (ไม่มีเงินให้เพื่ม) เพียงแต่การทำงานของเราไม่ได้ออกไปแสดงให้คนอื่นเห็นเท่านั้นเอง
จากคุณ: jubjeab โพสเมื่อวันที่: 03/27/08 เวลา 22:48:56
การจะลดงาน น่ะครับ ควรคิดเป็นประการสุดท้าย เพราะตามสามัญสำนึกแล้วเป็นไปได้น้อยที่สุด และยากที่สุด
การจะเพิ่มค่าตอบแทนแม้ไม่แก้ปัญหาทั้งหมดแต่ก็ยังเป็นไปตามหลักการตอบแทนผล ของการทำงานบ้างครับ
มันก็ยังก่อให้เกิดกำลังใจผลักดันให้พยายามทนทำงานต่อไปได้เพื่อความสุขในอน าคตของตนและคนใกล้ชิด
 
สิ่งที่แพทย์สภากำลังผลักดันผมในฐานะแพทย์คนหนึ่งขอขอบพระคุณและให้กำลังใจอ าจารย์ทุกท่านโปรดเข้าใจและช่วยเหลือพี่น้องแพทย์ต่อไปด้วยครับ
จากคุณ: น้องบาลค่ะ โพสเมื่อวันที่: 03/28/08 เวลา 23:13:53
พยาบาลได้พตส..เดือนละ 1500บาทค่ะ.... Grin
จากคุณ: teekay โพสเมื่อวันที่: 03/29/08 เวลา 15:11:54
อยากให้แก้เรื่องภาษีมากกว่ากว่าเพราะทุกวันนี้ทำงานรัฐบาล 12 เดือนเวลาเสียภาษีกลับเสียเป็นเงิน 1.5 เดือน แต่เงินส่วนที่มีก้มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ถ้าปรับส่วนของเงินเวรไปป็น 40(6) น่าจะดีกว่าเหมือนกับคนอื่นที่ทำงานรัฐ+เอกชน  ช่วยคนที่ทำงานรัฐอย่างเดียวบ้างก็ดีนะครับ
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 03/29/08 เวลา 21:49:22
เมื่อวันที่ 27 มีค.นี้ ผู้แทนนายกแพทยสภา 2 คนคือนพ.สมศักดิ์ เจริญชัยปิยะกุลและพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ได้เข้าประชุมกับสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับผู้แทนสภาวิชาชีพอื่นที่เป็นบุคลากรของกระทรวงสธ. เพื่อจะกำหนดแนวทางในการขอเพิ่มค่าตอบแทนในหมวดพ.ต.ส. และได้ข้อสรุปดังนี้ คือ ที่ประชุมได้ขอให้ผู้แทน  ของแต่ละสภาวิชาชีพ ไปตกลงกันในแต่ละสภาวิชาชีพในเรื่องการขอพ.ต.ส.เพิ่ม เพิ่อให้ได้รับการตอบรับจากค.ร.ม.(อนุมัติตามขอ) ให้มีทางเลือกตามลำดับดังนี้
 1.ให้ขอเพิ่มค่าพ.ต.ส.เป็น 2 เท่าจากกลุ่มที่เคยได้รับเดิมเท่านั้น
หรือ
 2.การเปลี่ยนกลุ่มใหม่จากบางสภาวิชาชีพ เช่นที่แพทยสภาหรือสภาเภสัชเสนอไป ขอให้เป็นทางเลือกที่2
หรือ
  3..การจะขอเพิ่มกลุ่มใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับพ.ต.ส.ให้เป็นทางเลือกที่3
และ 4.ให้กระทรวงหาอัตราข้าราชการบรรจุให้ลูกจ้างที่ทำงานในวิชาชีพเดียวกันให้ไ ด้หมดทุกคน เพื่อที่จะมีสิทธิรับเงินพ.ต.ส.เหมือนๆกัน
 
 โดยประธานในที่ประชุมคือนพ.สุพรรณ ศรีธรรมา ที่ปรึกษากระทรวงสธ.ซึ่งได้เห็นด้วยกับผู้แทนแพทยสภาที่ว่า ควรเปรียบเทียบรายได้ของ
วิชาชีพเดียวกันในภาคเอกชน เพื่อให้ข้าราชการมีรายได้ไม่ต่ำกว่าภาคเอกชนมากนัก
ทั้งนี้ก็ เพื่อป้องกันบุคลากรภาครัฐการลาออกไปอยู่เอกชนอีก และการจัดระบบการเลื่อนเงินเดือนแพทย์ประจำบ้าน การเลื่อนตำแหน่งและเงินเดือนและความก้าวหน้าของข้าราชการสายการแพทย์  
รวมทั้งการออกระเบียบเพิ่มเงินค่าอยุ่เวรปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ก็จะต้องดำเนินการต่อไป  
 จึงส่งข่าวมาเพื่อทราบ ถ้าท่านยังเป็นข้าราชการอายุน้อยกว่า 50 ปี อาจจะพอมีหวังที่จะอยู่จนได้เงินเดือนและค่าตอบแทนเพิ่มมั๊ง ถ้าไม่ถอดใจลาออกไปก่อน!!!!!
 
 Huh
จากคุณ: Kun_ki โพสเมื่อวันที่: 03/31/08 เวลา 01:34:07
on 03/23/08 เวลา 17:26:45, cmu06 wrote:
ข้อเสนอของลุงส้มตำก็ดีมากๆเลย คณะอนุกรรมการก็เห็นด้วยทุกประการเรื่องแยกบัญชีเงินเดือน แต่อาจจะต้องใช้เวลาอันยาวนานกว่าการขอขึ้นค่าอยู่เวรและค่าพตส.อย่างที่เสน อไปแล้ว
 
 แต่ที่เสนอๆไป ก็อาจไม่ได้อะไร เพราะกรรมการแพทยสภาไม่ใช่ผู้อนุมัติให้ขึ้นค่าตอบแทนได้  
 ก็ต้องอาศัยพวกเราที่จะต้องเรียกร้องกับผู้บริหารต่อไปอย่างที่เรียกว่า consistency หรือมีอาจารย์ที่เคารพรักท่านหนึ่งบอกว่า "กัดไม่ปล่อย" คือเรียกร้องไปเรื่อยๆ เหมือนชาวพม่าเรียกร้องประชาธิปไตย หรือชาวธิเบตเรียกร้องอิสรภาพ
 หมอไทยเราก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน
 
แล้วจะไปเรียกร้องกับใครครับ วันๆแค่นั่งตรวจอย่างเดียวแทบตายหาเวลาไปไหนยังไม่ได้เลย จะลาทีร.พ. แทบแตกเพื่อนรว่มงานเหนื่อย จะไปได้ก็หลัง16.30 น. ไม่รวมนั่งรถเข่าจังหวัด ผมก็เข้าใจแต่หมอร.พ.ช.ตำแหน่งแค่ซี 5 ทำอะไรใครฟังบ้าง  พลสุดท้ายก็ลาออกครับ  อยู่เวร on call ทีต้องมาดูพวก URIบ้าง หายใจไม่อิ่มบ้าง เมาไม่มีที่ไปบ้าง ไอ้ที่หนักจริงก็ไม่ว่าครับ เดี๋ยวนี้ชอบมากลางคืนเพราะกลางวันรอนานมาทีต้องให้หมอมาดูให้ไม่งั้นมีฟ้อง  
เซงไหมครับ พี่ๆมีใครโดนบ้างครับ  อยากให้มากลางคืนไม่หนักจริงเก็บเงินค่าทำเนียมบ้าง  ไม่ใช่อะไรก็ 30 บาท คนไข้มาร.พ.เหมือนมามูลนิธิ มาขอยาบ้างอะ        มาขอนอนเอาประกัยบ้างละ สารพัด ของฟรี ทำให้งานมันมีมากก็เพราะแบบนี้ คนทำงานมันจึงเหลือน้อย ลาออกกันไปอยู่เอกชน เพราะเงินดี งานสบายครับบบบบบบบบ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 Sad

จากคุณ: กะปุ๊กลุ๊ก โพสเมื่อวันที่: 03/31/08 เวลา 12:45:09
อยากทราบว่าเงิน พตส นี้ต้องเป็นข้าราชการเท่านั้นถึงจะได้รับใช่มั๊ยคะ
ถ้าได้ตำแหน่งเป็นพนักงานของรัฐหรือของมหาวิทยาลัย จะได้รับมั๊ยคะ
 
ขอบคุณค่ะ
จากคุณ: DCM โพสเมื่อวันที่: 04/03/08 เวลา 00:03:35
on 03/31/08 เวลา 12:45:09, กะปุ๊กลุ๊ก wrote:
อยากทราบว่าเงิน พตส นี้ต้องเป็นข้าราชการเท่านั้นถึงจะได้รับใช่มั๊ยคะ
ถ้าได้ตำแหน่งเป็นพนักงานของรัฐหรือของมหาวิทยาลัย จะได้รับมั๊ยคะ
 
ขอบคุณค่ะ

 
 
 
     แล้วแต่รพ. ครับ ของรพ.ผม ไม่ว่าจะเป็นพนักงานหรือข้าราชการ ( เฉพาะแพทย์นะ) ได้ พตส.ด้วย แต่วิธีเบิกจ่ายใช้งบส่วนประกันสังคม ที่เค้าจ่ายทุกเดือนนั่นล่ะ เพราะไม่มีระเบียบในส่วนราชการ  
   
    แต่ที่ผอ. และกลุ่มงานเสนอขอเพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจ แก่แพทย์ที่เป็นพนักงาน แต่สุดท้าย แพทย์กลุ่มนั้นก็ได้บรรจุเป็นข้าราชการทุกคน  
 
    ขึ้นกับรพ.ครับว่าจะได้รึป่าว
จากคุณ: E-guana โพสเมื่อวันที่: 04/05/08 เวลา 11:52:08
Wink Wink ว้า แย่จังกว่าจะได้ รู้งี้ไม่ลาออกนะเนี๊ยะ Roll Eyes Roll Eyes
จากคุณ: Devil_Girl โพสเมื่อวันที่: 04/05/08 เวลา 14:02:49
ดีจัง Smiley Smiley
จากคุณ: Army doctor โพสเมื่อวันที่: 04/06/08 เวลา 17:55:24
เกิดมายังไม่เคยได้เงินพวกนั้น เสียใจนะระบบราชการ ลาก่อน
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 04/07/08 เวลา 12:13:03
คห. 47
แล้วจะไปเรียกร้องกับใครครับ วันๆแค่นั่งตรวจอย่างเดียวแทบตายหาเวลาไปไหนยังไม่ได้เลย จะลาทีร.พ. แทบแตกเพื่อนรว่มงานเหนื่อย จะไปได้ก็หลัง16.30 น. ไม่รวมนั่งรถเข่าจังหวัด ผมก็เข้าใจแต่หมอร.พ.ช.ตำแหน่งแค่ซี 5 ทำอะไรใครฟังบ้าง  พลสุดท้ายก็ลาออกครับ  อยู่เวร on call ทีต้องมาดูพวก URIบ้าง หายใจไม่อิ่มบ้าง เมาไม่มีที่ไปบ้าง ไอ้ที่หนักจริงก็ไม่ว่าครับ เดี๋ยวนี้ชอบมากลางคืนเพราะกลางวันรอนานมาทีต้องให้หมอมาดูให้ไม่งั้นมีฟ้อง    
เซงไหมครับ พี่ๆมีใครโดนบ้างครับ  อยากให้มากลางคืนไม่หนักจริงเก็บเงินค่าทำเนียมบ้าง  ไม่ใช่อะไรก็ 30 บาท คนไข้มาร.พ.เหมือนมามูลนิธิ มาขอยาบ้างอะ   มาขอนอนเอาประกัยบ้างละ สารพัด ของฟรี ทำให้งานมันมีมากก็เพราะแบบนี้ คนทำงานมันจึงเหลือน้อย ลาออกกันไปอยู่เอกชน เพราะเงินดี งานสบายครับบบบบบบบบ
 
 การเรียกร้องก็ต้อง "ร่วมแรงร่วมใจ" ทำพร้อมกัน โดยเฉพาะน้องๆที่ยังทำงานอยู่รพ..ชุมชนที่แหละจะต้องร่วมมือกันมากๆ พร้อมๆกัน ให้ประชาชนรับทราบว่าหมอที่ยังไม่ชำนาญ มีประสบการณ์น้อย แต่ต้องตรวจรักษาผู้ป่วยแต่ละคนในระยะเวลาอันสั้น เพราะมีคนไข้มากกว่าวันละ 100คน ที่หมอเพียง 1 คน จะต้องตรวจให้เสร็จในเวลาราชการ เพราะถ้าใช้เวลาตรวจนานเกินไป ผู้ป่วยคนอื่นๆก็จะไม่ได้ตรวจรักษา
 ซึ่งผู้เจ็บป่วยเองก็ต้องเสี่ยงต่อความผิดพลาดอันจะก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ส ุขภาพ ของประชาชน และหมอเองก็เหนื่อยล้า เสี่ยงต่อการตัดสินใจรักษาผู้เจ็บป่วยอย่างเร่งรีบ เมื่อเกิดผิดพลาดแล้วหมอยังต้องตกเป็นจำเลยต่อสังคม และเป็นจำเลยทั้งศาลแพ่งและศาลอาญาอีก
 แล้วต้องตั้งประธานชมรมแพทย์ใช้ทุนขึ้นมาเรียกร้อง ให้รัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงระบบหลักประกันสุขภาพ( 30 บาท) คือให้ประชาชนมาตรวจได้ตามนัด ส่วนเจ็บป่วยฉุกเฉินเท่านั้นที่จะมารักษาได้ตลอดเวลา
 และประชาชนที่ไม่ยากจนจริง ควรต้องจ่ายเงินค่ายาเอง ทั้งนี้จะช่วยลดจำนวนผู้มาเอายา "แจกฟรี" ลงไปได้อย่างน้อยก็ประมาณ 50% ของผู้ป่วยทั้งหมด
 
 ถ้าหมอเราในราชการทนได้ทนไป ทนไม่ได้ก็ลาออกไปแบบเดิมๆ ปัญหาเรื่องการทำงานมาก เสี่ยงต่อความผิดพลาดมาก และผู้ป่วยมากเกินจริงก็คงจะไม่ได้รับการแก้ไข เพราะผู้บริหารเขาไปเพิ่มการ "ผลิต" แพทย์ให้มากขึ้นอย่างเดียว แต่เขาไม่ได้สนใจที่จะ "จูงใจ" ให้แพทย์ไม่ลาออกจากราชการ
 ถ้าแพทย์ส่วนมากออกมาเรียกร้องผ่านประธานชมรมแพทย์ใช้ทุน หรือชมรมแพทย์รพ.ชุมชนอาจจะได้รับการแก้ไขเร็วขึ้น
 จะไปรอให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขคิดแก้ไขเอง หรือรอให้ประธานชมรมแพทย์ชนบท มาเรียกร้องแทน ก็คงเป็นชาติหน้าตอนบ่ายๆ  ส่วนจะรอให้กรรมการแพทยสภาแก้ ก็อาจจะสำเร็จยาก เพราะแพทยสภาก็ต้องไปอ้อนวอนกระทรวงสธ.อีกทีหนึ่ง แพทยสภาไม่มีศักยภาพที่จะทำได้เอง
   Huh Huh Huh
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 04/07/08 เวลา 12:29:35
เคยฟังหรืออ่านนิทานอิสปไหม? ที่มีเรื่องนกกระจาบไปติดตาข่ายของนายพราน แล้วต่างก็เกี่ยงกันว่าตัวไหนเก่งก็บินขึ้นไปซิจะมารอความช่วยเหลือคนอื่นอย ู่ทำไม ตในที่สุดก็ไม่สำเร็จ จึงมีนกตัวหนึ่งบอกว่าต้องพร้อมใจกันบินขึ้นพร้อมกัน จึงจะบินหนีออกจากตาข่ายของนายพรานได้ และเมื่อนกทั้งหลายนัดแนะกันบินขึ้นพร้อมกัน ก็พากันบินพ้นตาข่ายของนายพรานได้ Roll Eyes Shocked
 และยังมีนิทานหรือเรื่องจริงอีกมากมายที่แสดงถึงประโยชน์ของความสามัคคี
จากคุณ: MadDoc. โพสเมื่อวันที่: 04/07/08 เวลา 17:24:03
Grin  เพิ่มเงินก็ดี แต่ขอให้จ่ายตรงเวลาด้วยน่ะครับ Kiss
จากคุณ: เด็กดื้อ โพสเมื่อวันที่: 04/10/08 เวลา 17:11:30
เห็นด้วยๆ ดีๆ ยกมือด้วยคน
จากคุณ: Tara โพสเมื่อวันที่: 04/14/08 เวลา 08:41:29
 Cool
 
ก็ดีค่ะ แต่บางทีก็อยากให้พิจารณาว่าน้องๆ ที่อยู่ รพช. วุฒิบัตรก็ยังไม่มี เขาเหนื่อยไม่แพ้ specialist นะคะ
จากคุณ: pat1 โพสเมื่อวันที่: 04/14/08 เวลา 10:36:03
ไม่ทันแล้วสำหรับ ผม ลาออกมาแล้วครับ
แต่ก็อยากให้เพื่อนๆ ที่ยังทำงานอยู่ในรัฐบาล สบายเหมือนผมนะครับ
ยังไงส่วนตัวผม ยังคิดว่าเรื่องเวลาส่วนตัวสำคัญกว่า เรื่องเงินครับ
ทำดี ทำบุญ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่พิ้นฐานก่อนที่จะไปคิดเรื่องนั้น ไม่ควรเบียดเบียนตัวเองเป็นสิงสำคัญ ที่สุด หากพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ยังไม่ได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม เรื่องกิน อยู่ หลับ นอน เป็นสิ่งที่ทุกคนควรมี ก่อนที่จะไปทำงานให้กับสังคม หรือคนส่วนรวม
ถ้าเวลานอนสำหรับเพื่อนๆ โดนเฉพาะแพทย์ที่จบใหม่ ๆ ผมเห็นใจมาก โดนแพทย์อาวุโส ผอ. บ้าง เบียดเบียน ทำงานมาก พักผ่อนน้อย ถึงจุดหนึ่งไม่มีทางออก ไม่สามารถพูดกับใครได้ ก็ลาออกมาเสียส่วนใหญ่  
ก็ขอให้ ทางผู้มีอำนาจได้ เห็นใจน้องๆ ที่ทำงานเหนื่อยๆ กันบ้าง
เรื่องค่าตอบแทนมันเป็นประเด็นรองลงมา เงินมันเป็นของนอกกาย สำคัญรองลงมา  อย่าไปหลงประเด็น แต่เท่าที่ได้อยู่ตอนนี้ก็เห็นว่าไม่เหมาะสม เพราะน้อยกว่าเอกชนอยู่ และ ความรับผิดชอบของพวกเรามันสูง กว่าอาชีพอื่น ความคาดหวังสูงกว่าอาชีพอื่น แต่รายได้ไม่ได้มากกว่าอาชีพอื่น และต้องมีความเสี่ยงเรื่องถูกฟ้องร้อง ไม่เหมือนอาชีพอื่น เช่นผู้พิพากษาที่ตัดสินผิดแล้วไม่ต้องมาจำคุกแทนคนที่ไปเข้าคุก แต่ของเราต้องไปนอนในคุกแทน อาจเป็นเพราะความผิดพลาดทั้งที่ตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ
สุดท้ายนี้ก็อย่าคิดว่าอาชีพหมอเป็นอาชีพที่ทำแล้วได้บุญมาก มีเวลาหมั่นเข้าวัดฟังธรรม ปฏิบัติธรรมเสียบ้าง เห็นว่าหมอผู้ใหญ่สมัยนี้จิตใจค่อนข้างขับแคบ ชอบพูดจา เบียดเบียนแพทย์เด็กๆไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธเคส ไม่รับรีเฟอร์ และพูดจาปัดความรับผิดชอบ ใช้อารมย์กับผู้ร่วมงาน หมั่นรักษาศีล 5 จะทำให้อาชีพเราและคนทีร่วมงานมีความสุขกับการทำงานร่วมกัน  
จากคุณ: nnm โพสเมื่อวันที่: 04/14/08 เวลา 14:25:40
เห็นด้วยว่า ลดงานแพทย์ดีกว่า  ไม่สุขภาพกายและใจแพทย์จะแย่เอา แล้วคนไข้ก็รับผลกระทบตามมา    
แต่จะเพิ่มค่าตอบแทนให้ก็ไม่ขัดข้อง เพราะยังไงก็หาแพทย์เพิ่มมาช่วยลดงานให้ไม่ได้อยู่ดี  เลยต้องสร้างแรงดึงดูดให้แพทย์ที่ยังอยู่ในระบบมีกำลังใจจะอยู่ต่อ  
ต่อไปในโรงเรียนเราต้องปลูกฝังค่านิยม พอเพียง อดทน เสียสละ และทางสายกลางเพิ่มด้วย
จากคุณ: medicist โพสเมื่อวันที่: 04/16/08 เวลา 22:35:59
เป็น intern1 อยู่ต่างจังหวัดครับ ตอนอยู่รพ.ในเมืองทำงาน อยู่เวรไม่ได้หลับ ไม่ได้นอน พอต้องออกไปรพช. ปรากฎว่าทั้งจังหวัดย้าย+ลาออก กันเยอะมาก สรุปไปอยู่รพช รวมผม มีหมอ 2 คน  ผมเริ่มรู้สึกตลอดเวลาที่ทำงานหนักมา 1 ปี ผมเริ่มเครียดและหงุดหงิดง่าย มันเป็นสัญญาณที่ไม่ดี สำหรับตัวผม พ่อแม่มาหายังไม่มีเวลาจะไปพบท่านเลย บ้านก็ไม่ค่อยได้กลับ เพราะต้องราวน์วอร์ด+อยู่เวร  
กำลังกายก็ไม่ค่อยได้ออก เพราะเพลียสำหรับงานที่ทำในแต่ละวัน  ผมคิดว่าถ้าอยู่อย่างนี้ตายเร็วแน่เลย  
   ตอนนี้กำลังจะลาออกแล้วครับ ใครจะว่าเห็นแก่ตัวบ้างก็ตามใจ ผมว่ามันเป็นการเห็นแก่ตัวเองมากกว่า ในเมื่อเรามีทางเลือกที่ดีกว่า เราก็มีสิทธ์เลือก
จากคุณ: valentile โพสเมื่อวันที่: 04/17/08 เวลา 12:44:34
เสนอ เห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่รัฐ ควรอนุโลมให้แพทย์ใช้ช่องทางภาษี แบบ ภงด 90 โดยไม่ต้องเป็นคณะบุคคล โดยใช้ 40(6) วิชาชีพแพทย์ โดยไม่มีกรมสรรพากรคอยมาตรวจสอบสัญญาต่างๆ เพราะถ้ารายได้มาจากรพ. ก็ถือได้ว่าไม่ต้องตรวจสอบแล้ว ไม่งั้นทำงานหนักรายได้มากจากหยาดเหงื่อแรงงาน ก็ถูกขูดรีดไปหมด เช่นได้ 1000 บาท โดนหัก ไป 300 บาทจะมีกำลังใจทำหรือ
 
เทียบกับพวกเปิดตลาดนัดเก็บแผงละ 200 บาทต่อวันรายได้หลายหมื่นต่อวันไม่เสียภาษีเลย หรือพวกเจ้าของธุรกิจ มีหุ้นรายได้น้อย ค่าใช้แทบไม่มีเพราะเบิกในนามบริษัททั้งหมด ก็แทบไม่เสียภาษี
 
เบื่อมาก สรรพากร กับแพทย์
จากคุณ: teekay โพสเมื่อวันที่: 04/18/08 เวลา 22:29:37
on 04/16/08 เวลา 22:35:59, medicist wrote:
เป็น intern1 อยู่ต่างจังหวัดครับ ตอนอยู่รพ.ในเมืองทำงาน อยู่เวรไม่ได้หลับ ไม่ได้นอน พอต้องออกไปรพช. ปรากฎว่าทั้งจังหวัดย้าย+ลาออก กันเยอะมาก สรุปไปอยู่รพช รวมผม มีหมอ 2 คน  ผมเริ่มรู้สึกตลอดเวลาที่ทำงานหนักมา 1 ปี ผมเริ่มเครียดและหงุดหงิดง่าย มันเป็นสัญญาณที่ไม่ดี สำหรับตัวผม พ่อแม่มาหายังไม่มีเวลาจะไปพบท่านเลย บ้านก็ไม่ค่อยได้กลับ เพราะต้องราวน์วอร์ด+อยู่เวร  
กำลังกายก็ไม่ค่อยได้ออก เพราะเพลียสำหรับงานที่ทำในแต่ละวัน  ผมคิดว่าถ้าอยู่อย่างนี้ตายเร็วแน่เลย  
        ตอนนี้กำลังจะลาออกแล้วครับ ใครจะว่าเห็นแก่ตัวบ้างก็ตามใจ ผมว่ามันเป็นการเห็นแก่ตัวเองมากกว่า ในเมื่อเรามีทางเลือกที่ดีกว่า เราก็มีสิทธ์เลือก  

    พี่ก็เห็นใจน้องและทุกๆคน ตัวพี่เองตอนนี้ทำงานรพช. 30เตียงเป็นผอ.และอยู่คนเดียวมา 4เดือนแล้ว ก็เครียดเหนื่อย แต่ดีที่ได้กำลังใจจากลูกน้อง เลยอยู่ต่อและลองคิดอีกแง่หนึ่งว่าทุกวันนี้เราลาออกกันมากขึ้น ระบบสาธารณสุขอาจล่มในไม่ช้า เพราะมีmedical hub ที่เตรียมขยายตัวด้วย แต่ผลกระทบมันจะย้อนกลับมาหาประชาชนตาดำๆที่ไม่มีทางเลือกหรือญาติพี่น้องเร าเองที่ไม่ได้เป็นข้าราชการที่อาจไม่มีทางเลือกหรือต่อรอราคากับต่างชาติในก ารลดอัตราค่าบริการ ขณะที่พวกเราอาจได้เงินจำนวนมากในช่วงทำงานแต่ตอนเกษียณถ้าออมเงินดีก็ดีไปแ ต่ถ้าไม่ดีรวมค่าเงินบาทอ่อนตัว มีเงินเฟ้อที่เก็บมาก็ไม่ช่วยมากเท่าไหรเลย
   ผมเลยอยากชวนให้ร่วมคิดว่าถ้าอยู่ในระบบราชการจะช่วยใหดีขึ้นอย่างไรเพื่อนค นที่รอเราอยู่และเพื่อพวกเราด้วยกัน
จากคุณ: blitzs โพสเมื่อวันที่: 04/20/08 เวลา 00:18:35
     work load เท่านั้นที่ยุติธรรม  แต่กระทรวงกล้าจ่ายไหม  รพช อยู่เวรตรวจกี่คนก็คูณไปเลยหัวละสักห้าสิบ admit caseละร้อย  รพศ OR ได้ caseละสองพัน consultละสักห้าร้อย มันจะเกิดสถานะการณ์ win win  คนไข้มามาก หมอก็ได้เงินมาก อย่างน้อยเงินก็ส่งผลให้หมออยากทำงาน  คนไข้ได้รับการบริการ มากขึ้น  ถ้าจ่ายแบบเหมาๆ  แล้วไงละ มาอยู่เวรเจอคนไข้เยอะก็เหนื่อย  จะส่งก็ยาก เพราะ รพศก็รู้สึกว่ารับมาก็เป็นภาระ เลี่ยงได้ก็ไม่รับ รอได้ก็รอไปก่อน คนไข้ก็ได้รับการรักษาช้า  ถ้ากล้าจ่ายจริงหมออาจมีรายได้เป็นแสนในช่วงแรกๆ พอเงินมากพอก็จะดึงดูดหมอเข้าในระบบ  แล้วตัวหารก็จะมากขึ้นสุดท้ายก็งานลดเงินก็จะพอดีๆ  เกลี่ยๆกันไป สุดท้ายก็อาจได้กันคนละหกเจ็ดหมื่น เหมือนที่พยายามเพิ่มโน่นนิดนี่หน่อย อย่างที่ทำตอนนี้  ปริมาณเงินที่จ่ายเพิ่มเข้าระบบตอนท้ายจะเท่าๆกันอะครับ  หมอมากถ้าเงินเหมาๆมากคูณกันก็มาก   ถ้าเพิ่มทีละหมื่นสองหมื่นแบบนี้อาจดูมากก็จริง  แต่ไม่มากพอที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ครับ  
   ส่วนโรงเรียนแพทย์ ผมไม่ขอแสดงความเห็นละกันว่าควรจัดสรรอย่างไร
จากคุณ: Buzz โพสเมื่อวันที่: 04/20/08 เวลา 18:23:29
เห็นด้วยกะการคิดค่าตอบแทนตาม work load
แต่ก็ควรเว้นที่ให้รัฐบาลบ้าง
เพราะเงินเดือนค่าราชการเป็นรายจ่ายหลัก(เกือบ 80%ของงบประมาณรัฐ)
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 04/22/08 เวลา 09:52:34
สธ.ชงเมกะโปรเจกต์ 38,000 ล้านบาทเข้า ครม.อังคารนี้
21 เมษายน พ.ศ. 2551 10:13:00
 
http://www.bangkokbiznews.com/2008/04/21/WW55_5509_news.php?newsid=24982 7
สธ.เสนอโครงการเมกะโปรเจกต์ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการแพทย์-การพัฒนา  บุคลากร งบ 38,000 ล้านบาท คาดเข้า ครม. อังคารนี้
 
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ด้านบริหาร กล่าวว่า สธ.ได้เตรียมแผนโครงการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบบริการทางด้านสาธารณสุขทั่วประเทศ หรือ เมกะโปรเจกต์ โดยโครงการดังกล่าวใช้งบประมาณราว 38,000 ล้านบาท ดำเนินการระหว่างปี 2551-2554 ซึ่งคาดว่า นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะเสนอโครงการ เข้าที่ประชุม ครม.วันอังคารที่ 22 เม.ย.นี้
 
โดยแผนเมกะโปรเจกต์ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริการของโรงพยาบาลศูนย์ 70 แห่ง มีศักยภาพเพิ่มขึ้น สร้างศูนย์ความเลิศทางด้านการแพทย์ (Medical Excellence Center) เพิ่มอีก 4 แห่ง  2. โครงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อมารองรับระบบบริการในศูนย์ความเป็นเลิศทางด้  านการแพทย์ ซึ่งจะใช้งบประมาณราว 1,680 ล้านบาท
 
พญ.ศิริพร กล่าวว่า ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้บริหาร สธ. ได้กำหนดแผนพัฒนาโครงสร้างสาธารณสุขแห่งชาติ โดยตั้งงบประมาณไว้ปี 2549-2552 ซึ่งต้องใช้งบ ประมาณเกือบ 100,000 ล้านบาท แต่หลังจากนั้น โครงการนี้ระงับไปจนกระทั่ง รัฐบาลของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้มีแนวคิดนำโครงการดังกล่าวมาปัดฝุ่นอีกครั้ง ซึ่งตนเห็นด้วยที่จะนำโครงการนี้มาสานต่อ เนื่องจากงานทางด้านสาธารณสุขยังต้องการพัฒนาอีกมาก
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 04/22/08 เวลา 10:04:31
ดูจากข่าวเสนอเมกกะโพรเจ็คท์แล้วก็จะเห็นว่ารัฐบาลยังมีเงิน สำหรับพัฒนา ระบบอีกเยอะแยะ  
 
แต่จะมีเงินตอบแทนคนทำงานหามรุ่งหามค่ำสัปดาห์ละ 90-120 ชั่วโมง และตรวจผู้ป่วยวันละ 200 คนในโรงพยาบาลของกระทรวงสธ.ได้แค่ไหน?  
หรือปล่อยไว้เหมือนเดิม ใครทนได้ทนไป ใครทนไม่ไหวก็เชิญลาออกไป แล้วก็ไปบังคับคนเรียนจบใหม่มาแทน
 
 อยู่ที่มุมมองของผู้บริหาร
 และอยู่ที่แพทย์จะสามัคคีกัน เพื่อเรียกร้องให้พัฒนาระบบการทำงานและค่าตอบแทนที่เป็นธรรมหรือไม่
 
จากคุณ: season โพสเมื่อวันที่: 04/22/08 เวลา 12:10:14
น่าสนใจนะครับ
มีใครเคยคำนวนเรื่องworkloadบ้างหรือยังครับ
ว่ารัฐจะต้องเพิ่มเงินเท่าไหร่ถ้าจะใช้วิธีนี้
อาจไม่มากอย่างที่คิดก็ได้นะครับ
 
งบที่ใช้ในส่วนนี้จะว่าไปจำนวนจะค่อนข้างตายตัว
ไม่เพิ่มไม่ลดเท่าไหร่เพราะขึ้นกับจำนวนคนไข้
ไม่เหมือนกรณีเพิ่มเงินเดือนที่มีแต่จะเพิ่มภาระในระยะยาว
 
มุมนึงถ้ารัฐอยากลดcostส่วนนี้อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่การลงทุนเพื่อส่ งเสริมป้องกันไม่ให้คนป่วยมากขึ้นด้วย  
 
ทำอะไรก็ต้องลงทุนทั้งนั้นครับ
การลงทุนกับคน ดึงคนที่functionเอาไว้ในระบบ
คุ้มค่าแน่นอนครับ
 
ถ้าขยาย พัฒนาแต่ในแง่ระดับ Excellence center
เราจะได้แต่structure
พัฒนาคนเพื่อรองรับ
ก็จะได้คนสักระยะ
และสุดท้ายคนที่สร้างขึ้นก็จะไม่อยู่ในระบบอยู่ดี
จะเสียหาย
 
แต่ถ้าหาวิธีดึงคนให้อยู่ในระบบได้เมื่อไหร่
ทำเรื่องนี้ก่อน หรือทำคู่ขนานไปด้วยกัน
เราถึงจะได้ระบบที่เข้มแข็ง
และสามารถต่อยอดได้อย่างยั่งยืน
 
จะไม่เกิดอาการหัวโต ตัวลีบ แล้วสุดท้ายก็สิ้นชีพไป
หัวโตหมายถึงกลุ่มExcellence ที่สร้างขึ้น
เป็นความทันสมัยเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการที่ถูกเร่งให้เกิดขึ้นแบบผิดธรรม ชาติ สร้างค่านิยมให้ทั้งวงการแพทย์และสังคมเข้าสู่กระแสspecialอย่างรุนแรงโดยไม ่มีภูมิคุ้มกันทั้งเรื่องความเข้าใจของสังคมและการไหลของประชากรแพทย์ที่ไม่ ได้อุดรูรั่ว
ตัวลีบหมายถึงระบบการแพทย์ขั้นพื้นฐานระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิที่ไม่ได้รับ การเหลียวแล  
รากฐานที่ค้ำจุนระบบสุขภาพที่แท้จริงอยู่ที่นี่แท้ๆแต่กลับไม่ได้รับการดูแล  สุดท้ายจะใม่มีคนทำงานและเกิดfailureในที่สุด
ก็จะรวนกันทั้งระบบแน่นอนครับ
 
ตลกดีที่เราไม่แก้สาเหตุ
เราหาอะไรใหม่ๆมาเล่นอยู่เสมอ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเรื่องชื่อเสียงหน้าตาและเงินตราที่นักการเมืองจะได้รับ แนวโน้มมันถึงออกมาแต่ในเรื่องการสร้างของใหม่
แล้วก็ต้องหาวิธีแก้ไขกันเป็นแบบเฉพาะกิจเฉพาะหน้าเอาหน้ารอดไปเรื่อยๆ
ทิ้งปัญหาไว้กับคนทำงานและประชาชนต่อไป
 
ใครอยู่ในกระทรวงช่วยกันหน่อยได้ไหมครับ
ชี้ให้ผู้มีอำนาจเห็นถึงประโยชน์ของการลงทุนแก้ไขปัญหาบุคลากร
ว่าควรต้องทำไปพร้อมๆกับเรื่องสีสันการลงทุนต่างๆเพื่อการหาเสียง
ท่านจะได้สองสามต่อมีแต่ได้กับได้
 
จากคุณ: Santa_Claus โพสเมื่อวันที่: 04/24/08 เวลา 22:47:03
อาจารย์โรงเรียนแพทย์บางคน ถึงขึ้นเงินพตส.ให้
ก็ไม่ทำงานเหมือนเดิมครับ
 
 Lips Sealed
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 05/02/08 เวลา 21:37:29

       30    เมษายน 2551  
       
 
เรื่อง ขอส่งความเห็นเพื่อเสนอ อกพ. กระทรวงสาธารณสุขและสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
 
 กระทรวงสาธารณสุข  
 
เรียน นายกแพทยสภา  
 
อ้างถึง หนังสือจดหมายรายงานผลการประชุมถึงนายกแพทยสภาลงวันที่ 7 เม.ย. 2551  
 
  สิ่งที่ส่งมาด้วย  บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ(พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 )  
 
      ตามหนังสือที่อ้างถึงนั้น คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการฯเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2551 แล้ว คณะอนุกรรมการฯได้พิจารณาข้อสรุปและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเงิน พ.ต.ส. และอัตราเงินเดือนของแพทย์ใหม่ดังนี้
 
     1. คณะอนุกรรมการฯพิจารณาเกี่ยวกับเงิน ( พ.ต.ส.) เดิม  ที่ประชุมมีความเห็น
 
เช่นเดิมคือ
 
      1.1 แพทย์ทั่วไป เพิ่มจาก 5,000 บาท/เดือน ขอเพิ่มเป็น 10,000 บาท/เดือน  
     1.2 แพทย์ผู้มีวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตร เพิ่มจาก 10,000 บาทเป็น 20,000 บาท/เดือน  
     1.3 แพทย์สาขาเฉพาะเดิม 9 สาขาที่ได้พ.ต.ส.เดือนละ 15.000 บาท( ได้แก่ พยาธิวิทยา
 
ทั่วไป พยาธิวิทยากายวิภาค พยาธิวิทยาคลินิก นิติเวชศาสตร์ จิตเวชศาสตร์ จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ประสาทศัลยศาสตร์ ศัลยศาสตร์ทรวงอก เวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา) ขอเพิ่มเป็นเดือนละ 25,000 บาท  
 
 
 
     นอกจากนั้นกรมการแพทย์ได้เสนอแพทย์สาขาขาดแคลนอีก 8 สาขาให้ได้รับเงินพ.ต.ส.เหมือนกลุ่ม 3นี้ ได้แก่ กุมารเวชศาสตร์โรคเลือด รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ หรือรังสีรักษา เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เวชศาสตร์นิวเคลียร์ อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา อายุรศาสตร์โรคเลือด มะเร็งวิทยานรีเวช เวชศาสตร์ป้องกันแขนงอาชีวเวชศาสตร์  ที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้และเสนอให้เพิ่มอีก 1 สาขาคือ ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา เพื่อให้สนับสนุนให้งานมะเร็งวิทยาทำงานครบทีม  
     2. ค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาราชการ คณะอนุกรรมการฯ มีความเห็นเดิมที่เคย
 
เสนอไปแล้วตามจดหมายของนายกแพทยสภาที่ พส.014/584 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2550 เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์มงคล ณ สงขลา ) โดยเสนอให้เพิ่มค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาราชการของแพทย์เป็น 3 - 4 เท่าจากอัตราในปัจจุบัน และขอให้จัดสรรงบประมาณประจำปีสำหรับจ่ายค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ โดยไม่ขึ้นกับสถานะเงินบำรุง เพิ่มค่าตอบแทนการทำหัตถการเป็น 2-3 เท่าของอัตราเดิม ให้จ่ายค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาราชการทุกประเภท เช่น การตรวจผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (นอกเวลาราชการ)  เพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายของรพช.เป็น 2 เท่าของอัตราเดิม เพิ่มค่าตอบแทนแพทย์เพิ่มพูนทักษะและแพทย์ประจำบ้านให้มากกว่าในปัจจุบัน ในอัตรา ที่เหมาะสมเพื่อให้ เหมาะสมกับค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อ และให้แพทย์ประจำบ้านที่มีต้นสังกัดได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประ จำปีในขณะฝึกอบรมด้วย  
   3. คณะอนุกรรมการฯ มีความเห็นว่า ในระยะยาว ควรแยกตำแหน่งข้าราชการแพทย์และบุคลากรการแพทย์อื่น ๆ ออกจาก กพ.  ซึ่งเคยมีผู้เสนอมานานแล้ว ทั้งนี้จะพยายามศึกษาถึงความเป็นไปได้ เช่น ข้าราชการครู อัยการ  ผู้พิพากษา ตำรวจ ฯลฯ เพื่อจะได้ช่วยให้บุคลากรแพทย์และบุคลากรอื่น ๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ได้รับการพิจารณากำหนดตำแหน่งและเงินเดือนที่เหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกันในภาคเอกชน ทั้งนี้เพื่อเป็นแรงจูงใจไม่ให้เกิดสมองไหลอย่างต่อเนื่อง
 
     4. จากข้อมูลของสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เกี่ยวกับเงินเดือนของแพทย์ที่ปฏิบัติงาน
 
ในภาคเอกชน ได้รับเงินเดือนต่ำสุดเดือนละ ๆ 60,000 บาท สูงสุดเดือนละ 400,000 บาท
 
     5. คณะอนุกรรมการฯ เห็นควรให้แพทยสภาทำหนังสือถึง อกพ. กระทรวง
 
สาธารณสุข เพื่อปรึกษาหารือเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดอัตราเงินเดือนของตำแหน่งแพทย์ตามร ่างพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดยขอให้มีหลักการพิจารณาเงินเดือนแพทย์ตามค่าของภาระงานและอัตราตลาดดังนี้  
 
  5.1  แพทย์จบใหม่ เห็นควรให้มีตำแหน่งอยู่ในแท่งของชำนาญการ โดยเริ่มเงินเดือนขึ้นต้นไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท
 
   5.2 แพทย์ที่จบเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือแพทย์ที่ปฏิบัติงานนานเกินกว่า  5 ปี  ควรปรับตำแหน่งมาที่ชำนาญการพิเศษ เงินเดือนขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท  
 
  5.3  แพทย์ที่เรียนจบเฉพาะทาง(สาขาต่อยอด) ให้อยู่ในตำแหน่งผู้ชำนาญการพิเศษโดย
 
เงินเดือนขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท
 
  5.4  การปรับเงินเดือนจากผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้ขึ้นอยู่กับระยะเวลา ผลงานประสบการณ์และประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน  
 
  จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง  
 
      ขอแสดงความนับถือ  
 
 
         (แพทย์หญิงเชิดชู อริยศรีวัฒนา )
 
    ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือน
 
       และค่าตอบแทนแพทย์  
     
     
     
 
สำเนาเรียน   1. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
 
      2 . ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
 
      3.  นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมา
 
จากคุณ: season โพสเมื่อวันที่: 05/03/08 เวลา 12:57:27
ขอบคุณครับ
 
หลังจากได้รับหนังสือนี้นายกแพทยสภา ,อกพ. กระทรวงสาธารณสุข,สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ และปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการอย่างไรและเมื่อใดต่อไปครับ  
 
จะได้ติดตามต่อได้แบบมีหลักการ
จากคุณ: Jiang Wei โพสเมื่อวันที่: 05/05/08 เวลา 23:54:57
มีประเด็นหนึ่งที่ไม่เห็นมีใครพูดเลย
 
การเพิ่มเงินนั้นพอเพิ่มขึ้นก็ดูเหมือนจะดี ผ่านไปไม่กี่ปี ก็ต้องวนเข้าสู่วัฐจักรเดิม ก็ในเมื่อค่าครองชีพสูงขึ้นทุกปี ผ่านไปไม่กี่ปี เงินที่ได้เพิ่มก็เสมือนจะน้อยนิด และก็ต้องมาทะเลาะ หรือมานั่งถกหาสาเหตุแพทย์ลาออกมากอีก
 
ทำไมไม่หาทาง หรือหาความเป็นไปได้ที่เพิ่มเป็นลักษณะเป็นตัวแปร กล่าวคือ หาก เงินเฟ้อปีนี้เพิ่มเป็นห้าเปอร์เซนต์ เงินเดือนปีหน้าจะเพิ่มให้เป็นกี่เปอร์เซนต์ ทำได้อย่างนี้ เงินเดือนจะถูกผูกเข้ากับค่าครองชีพที่สูงเพิ่มขึ้นโดยสัมพันธ์กัน ไม่ต้องมาทะเลาะ หรือ น้อยใจลาออก เพราะงานเยอะ ความคาดหวังมาก แต่เงินกลับน้อยนิดแบบเทียบกับเอกชนไม่ได้เลย
 
ขอโทษครับ หากปล่อยทิ้งไว้ผมขอพยากรณ์ไว้เลยครับ แพทย์ไทยก็จะไม่ต่างจาก ที่เภสัชกรไทยมีสภาพอยู่ในขณะนี้ นั่นคือ เภสัชกรมากมายล้น แต่งานในรพ.กลับขาดแคลนเภสัชกรอยู่ดี เพราะลาออกกันมาก เปิดร้านก็ลำบาก เพราะร้านยาดาษดื่นเต็มตลาด เป็นdetail ยาก็ดูเสื่อมเกียรติไปมากต้องมาตามง้อหมอ เปลี่ยนอาชีพไปก็มาก สักวันคุณค่าของหมอก็คงด้อยไปมากเลยๆ เดี๋ยวนี้คนก็ไม่อยากเรียนโขอยู่แล้ว หน่ำซ้ำ คะแนนสอบเข้า แค่ 49% ก็ติดหมอได้แล้วในบางสถาบัน
 
ส่วนประเด็นเพิ่มเงินในบางสาขา อยากให้ผู้มีส่วนช่วยทำใจเป็นกลางหน่อยเถอะครับ หลายคนก็พูดแล้ว วัดกันด้วยเนื้องานจริงๆดีกว่าครับ หากทางวัดให้เป็นรูปธรรมให้ได้ ผมเชื่อว่า หากผลตอบแทนเท่ากับความลำบากในการทำงาน คนย่อมยอมรับได้มากกว่า
 
จริงๆแล้วค่านิยมของหมอที่คนต้องการเรียนลดลง หรือการฟ้องร้องที่สูงมากขึ้น งานของแพทย์ที่หนักขึ้น หรือแม้แต่การที่แพทย์ออกมากขึ้น จะโทษแต่รัฐบาล หรือแพทย์รายบุคคลก็คงไม่ถูกซะทีเดียว แต่หากแพทย์สภาก็มีความเกี่ยวข้องมากต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
จากคุณ: cherry-jun โพสเมื่อวันที่: 05/08/08 เวลา 21:21:42
อยากได้บ้าง เงินเวรน้อยจังเลย
จากคุณ: -MaCoAlEe- โพสเมื่อวันที่: 05/09/08 เวลา 16:37:13
ข้าพเจ้าเวรละ 900 อยู่เดือนละ 15 เวร...
ที่จังหวัดบอกว่า...สมัยก่อนเค้าก็ได้กันเท่านี้
 
สมัยก่อนที่น้ำมันลิตรละ 8 บาทน่ะสิคะ
 
เฮ้อ...
จากคุณ: drjack_swu โพสเมื่อวันที่: 05/11/08 เวลา 07:16:39
ต้องเพิ่มโดยด่วน
จากคุณ: thun โพสเมื่อวันที่: 05/13/08 เวลา 16:01:29
เงินเดือนรวมเงินเวร รวมเงินพตสขณะนี้ 30000 บาทถ้วน
 
น้ำตาไหลพราก
 
 
โอพีดีออกถึง12:40 เกือบทุกวัน มาอีกทีก็บ่ายโมงสิบ
 
 
เวรอีอาร์ออกโอพีดีนอกเวลาด้วยควบไปในตัวถึง2 ทุ่ม
 
ยิ่งวันไหนนักขัตฤกษ์หรือวันหยุด ออกโอพีดีถึงเที่ยงรอบแรก รอบสองออกโอพีดีสี่โมงถึงสองทุ่ม ดูอีอาร์ควบอีก ได้เวรละ900
 
 
โอพีดีเช้าเท่าวันธรรมดา 150 คนโหะๆๆๆๆแต่ตรวจคนเดียว Cry
 
 
 
 
 
 
 
เก็บตังค์ไปเรียน10000 ให้พ่อแม่เดือนละ15000 รึยังไงดีน้อ
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 05/16/08 เวลา 11:43:33
ในระยะเวลานี้ กพ., กพร.และกระทรวงต่างๆกำลังพิจารณาจัดสรรตำแหน่งต่างๆ และกำหนดอัตราเงินเดือนใหม่ ให้เข้ากลุ่มตามระบบของพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และจะมีผลบังคับใช้ในปีงบประมาณ 2552 (เริ่มจากเดือนตุลาคม 2551 ตามปีงบประมาณของราชการ)
 
 ซึ่งอนุกรรมการกพ.( อกพ.กระทรวงที่มีรมว.สธ.เป็นประธาน) ของกระทรวงควรจะมีบทบาทสำคัญที่จะผลักดันการกำหนดอัตราตำแหน่ง และเงินเดือนใหม่ให้เหมาะกับภาระงาน  ความรับผิดชอบ และเปรียบเทียบกับราคาตลาดได้(ตามแนวคิดของกพ.ยุคนี้) เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ยังอยู่ในราชการต่อไป เพื่อประชาชนจะได้รับบริการทางการแพทย์ต่อไป
 
 ขอฝากอจ.716 ที่มีตำแหน่งในกก.บริหารแพทยสภา และกรรมการแพทยสภาทุกๆท่าน ได้ประสานงานกับอกพ.กระทรวง และกพ. เพื่อช่วยให้ข้าราชการแพทย์สามารถทำงานอยู่ในราชการได้  เพื่อประชาชนจะได้รับบริการที่ดีต่อไป
 
 เมื่อมีแพทย์มากขึ้น ก็จะมีเวลาตรวจละเอียด จะช่วยให้ประชาชนปลอดภัย และแพทย์ก็ไม่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องด้วย
 
  ผลการประชุมของคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและ ค่าตอบแทนแพทย์ ในภาคราชการของแพทยสภา จะสามารถผลักดันให้สำเร็จเป็นรูปธรรมได้ต้องอาศัยการผลักดันของกรรมการแพทยส ภา และอกพ.สธ.เท่านั้น
 
และเวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด เพราะเป็นการเริ่มระบบใหม่จากพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
จากคุณ: Freeman โพสเมื่อวันที่: 05/19/08 เวลา 18:46:19
Huh Huh Huh Huh Huhจะลืมตาอ้าปากได้ไหมเนี๊ยะ Huh
จากคุณ: sinbad โพสเมื่อวันที่: 05/24/08 เวลา 11:29:35
Smiley
จากคุณ: Freeman โพสเมื่อวันที่: 05/28/08 เวลา 19:19:14
Undecided Undecided Undecided
จากคุณ: Dr.T_ra โพสเมื่อวันที่: 05/29/08 เวลา 20:19:12
แสดงว่า จะได้ พตส กับเงินเดือนเพิ่ม หลังจากเดือนตุลาปีนี้
 
ผมเข้าใจถูกใช่ไหมครับ
 
แหะๆ
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 05/30/08 เวลา 10:39:03
อาจจะได้  
 ถ้าอกพ.กระทรวงที่มีรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ และสามารถตกลงกับกพ.และสามารถผลักดันผ่านมติครม.ได้
 แต่ถ้าผู้บริหารกระทรวงไม่ดำเนินการต่อ ก็อาจไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
จากคุณ: season โพสเมื่อวันที่: 05/30/08 เวลา 12:05:46
คำถามคือ ทำอย่างไรอกพ.จะเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้  
ใครคือkey man
มีการเตรียมการนำเสนออย่างไร ประเด็นใดที่จะทำให้อกพ.เห็นด้วย
ประเด็นใดที่จะทำให้อกพ.ไม่เห็นด้วย
 
กพ.คิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในแง่ของนโยบายและความเข้าใจ
การตกลงกับกพ.มีประเด็นเหตุผลใดที่จะไม่ยอมรับ
อกพ.มีเหตุผลใดที่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้กพ.เข้าใจ
 
จะผ่านครม.ได้ต้องทำอย่างไร
อะไรคือปัจจัยที่จะทำให้ครม.มีมติเห็นชอบ
อะไรคือปัจจัยที่จะทำให้มติไม่เห็นชอบ
 
ดูท่าจะยาวหลายขั้นตอนอยู่นะครับ Smiley
 
เป็นกำลังใจให้อาจารย์cmu06 ครับ
งานนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่มีความสำคัญต่องานสาธารณสุขจริงๆ
อาจเป็นฟางเส้นสุดท้ายของใครหลายๆคน
หากไม่สำเร็จสิ่งที่จะเกิดคือ โดมิโน effect
จะbleedไม่หยุดฉุดไม่อยู่
สุดท้ายชาวบ้านจะซวยอย่างมีเหตุผลแน่นอน
 
 
จากคุณ: gigglegoggle โพสเมื่อวันที่: 06/04/08 เวลา 14:09:32
ผมเป็นอินเทอร์น 1 ใช้ทุนอยู่
เห็นด้วยกับระบบ 30 บาท ที่มันสปอล์ยคนไข้
 มีแต่คนมาขอยา นอกเวลามีแต่คนไข้ไม่เร่งด่วน
อยู่เวร ER ช่วงบ่าย ตรวจคนไข้ไปวันละ80-100คน 90 เปอร์เซ็นต์เป็น โอพีดีเคส
ค่าหัวก็ไม่ได้
ขนาดคิดค่าธรรมเนียมพวกไม่เร่งด่วนคนละร้อยก็ยังมากัน เพราะมารพ เสียร้อยเดียวร้อยเดียวกินข้าวได้สองจาน ไม่ต้องจ่ายค่ายาด้วย ไปคลินิกต้องจ่ายค่ายา แล้วก็ชอบมาตอนตีสี่ตีห้าเป็นไข้มาสองวันเดินมารพ ถามไปว่าทำไมมาตอนนี้ ก็บอกว่าพึ่งตื่น มาตอนนี้ได้ตรวจเลย (บางคืน มาอย่างงี้ทุกชม.ทั้งคืน) พยายามอธิบายไปปากเปียกปากแฉะ สุดท้ายครั้งต่อไปก็มานอกเวลาอยู่ดี
สุดท้ายขี้เกียจอธิบายเพราะแค่ตรวจอย่างเดียวก็เหนื่อยจะแย่ อธิบายไปก็ไม่ฟังอยู่ดี
ยิ่งถ้าวันไหนฝนตกตอนเย็นๆ คนไข้ก็จะรอให้ฝนหยุดก่อน พอค่ำๆก็มากันเพียบ
(แสดงให้เห็นอย่างแรงว่าไม่ Emergency)
ตรวจจนจะอ้วก บางคนก็หงุดหงิดโวยวาย ว่าหมอไปไหน ทั้งที่หมอกำลังตรวจคนไข้ทรอม่าพะงาบๆอยู่ห่างไปประมาณ 6 เมตร พอไปตรวจทีก็อารมณืไม่ดีใส่หมออีก
บางคนมาก็จะขอ แอดมิท ขอน้ำเกลือ ไม่ให้ก็หงุดหงิดใส่หมอ บางคนก็ฟ้องร้องแบบไร้สาระ เพราะหงุดหงิดที่ไปดูช้า
เคยมีคนฟ้องไปถึง สธ ต้องสอบเรื่องกันวุ่นวาย
หมอคนนั้นเค้าดูคนไข้ Emer นอนเรียงกัน 5 เตียงอยู่ CHF 1 เตียง Trauma 4 เตียง กำลังใส่ Tube 2 เตียง
ตอนช่วงที่เตียงล้นนี่ยุ่งมากพวกคนไข้จะขอนอนขอน้ำเกลือ จริงๆก็แค่ Fatigue
แล้วแบบนี้ รพ. จะไม่ขาดทุนได้ยังไง ในเมื่อคนไข้เรียกร้องนั่นเรียกร้องนี่
พอไม่ให้ก็มีเรื่องอีก  ที่ให้ๆไปก็เพราะเหนื่อย คนไข้เยอะคุยแล้วเหนื่อยเพราะคุยไปสุดท้ายก็ไม่ช่วยไรอยู่ดี
 
ควรคิดเป็น work load  แยกเงินเดือนออกจากระบบราชการทั่วไป
คิดเงิน คิดค่ายา คิดตังส์ พวกที่ขอนอนรพ. ขอนั่นขอนี่ ที่หมอเห็นว่าไม่จำเป็น
แล้วคนไข้ยังยืนกรานจะเอาให้ได้ เอาเรื่องพวกที่ซี้ซั้วฟ้องต้องจ่ายให้รพ.เท่าที่คนไข้เรียกร้อง
ถ้าฟ้องแล้วหมอไม่ได้ผิดจริงๆ จะได้เอาเงินไปพัฒนารพได้
 
อยากบอกว่าถ้าระบบมันยังแย่  
งานหนักมากๆเงินน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณงาน
เช่น ER 900 บาท ตรวจคนไข้ 100 คน = หัวละเก้าบาท
หรือ เวร 24 ชม 400 บาท ซึ่งเวรยุ่งทั้งวัน พอขอขึ้นเงินเวร ก็บอกว่า อินเทอร์นเห็นแก่เงิน
(คิดได้ไง รายได้หมอน้อยกว่าคนเสิร์พ MK อีก)
 
 
 รุ่นพี่เอาเปรียบหมอจบใหม่
ถือประโยชน์ผปที่เรียกร้องนั่นนี่สำคัญกว่าลูกน้อง (ไม่รู้จักซื้อใจลูกน้อง)
 
สุดท้ายหมอก็ลาออกอยู่ดี
 
หลายๆที่ๆคนไม่ค่อยเลือกไปใช้ทุนในขณะที่จังหวัดรอบๆคนเลือกกันหมด (ยกเว้นภาคใต้)
ผู้บริหารก็ควรพิจารณาได้แล้วว่าระบบภายในน่ะมีปัญหารึเปล่า
 
เดี๋ยวนี้การสื่อสารมันฉับไว รพ.ไหนเป็นไงแป๊บเดียวก็รู้แล้ว
แพทย์จบใหม่ที่จะจับฉลากเค้าก็สืบกันมาหมดแล้ว
 
ก็หวังว่าค่าแรงจะเพิ่มนะครับ
 และ คนไม่ออกนอกระบบกันนะครับ(ยาก ถ้ายังแก้ปัญหาไม่ได้)
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 06/06/08 เวลา 11:24:46
สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา
6 มิถุนายน 2551
เรื่อง ขอติดตามผลการดำเนินการเพิ่มค่าตอบแทนและปรับลดชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในภา คราชการ
เรียน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
อ้างถึง หนังสือที่สธ.0100.2/ 2883
         
          ตามหนังสือที่อ้างถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มอบเรื่องการพิจารณาเพิ่มค่าตอบแทนแพทย์แ ละปรับลดชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในภาคราชการ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แพทย์ยังคงปฏิบัติงานในราชการ
 
           บัดนี้เป็นเวลาเนิ่นนานถึง 6 เดือนแล้ว แพทยสภาจึงขอติดตามความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวว่าท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการไปแล้วหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้เพื่อจะสามารถรักษาแพทย์ไว้ในระบบราชการให้พอเพียงที่จะสามารถให้การ ตรวจรักษาประชาชนได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยและมีสุขภาพดีอย่างมั่นคงและยั่งย ืนต่อไป
 
         จึงเรียนมาเพื่อขอทราบความก้าวหน้าในการดำเนินการดังกล่าว
 
ขอแสดงความนับถือ
นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา
นายกแพทยสภา
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 06/06/08 เวลา 11:25:38
สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา
6 มิถุนายน 2551
 
เรื่อง ขอติดตามผลการดำเนินการเพิ่มค่าตอบแทนและปรับลดชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในภา คราชการ
 
เรียน เลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งประเทศไทย
 
อ้างถึง หนังสือแพทยสภา ที่ พส.014/584 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2550
 
        ตามหนังสือที่อ้างถึง แพทยสภาได้เสนอให้รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาเพิ่มค่าตอบแทนแพทย์และปร ับลดชั่วโมงการทำงานแพทย์ในภาคราชการ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แพทย์ยังคงปฏิบัติงานในราชการ รวมทั้งมีข้อเสนอเกี่ยวกับแพทย์ประจำบ้าน ตามรายละเอียดที่ได้ส่งสำเนาเรียนท่านแล้วนั้น
 
 
           บัดนี้เป็นเวลาเนิ่นนานถึง 7 เดือนแล้ว แพทยสภาจึงขอติดตามความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวว่าท่านเลขาธิการกลุ่มสถาบัน แพทยศาสตร์ศึกษาแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการไปแล้วหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้เพื่อจะสามารถรักษาแพทย์ไว้ในระบบราชการให้พอเพียงที่จะสามารถให้การ ตรวจรักษาประชาชนได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยและมีสุขภาพดีอย่างมั่นคงและยั่งย ืนต่อไป
 
         จึงเรียนมาเพื่อขอทราบความก้าวหน้าในการดำเนินการดังกล่าว
 
ขอแสดงความนับถือ
นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา
นายกแพทยสภา
 
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 06/06/08 เวลา 11:32:42
สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา
6 มิถุนายน 2551
 
เรื่อง ขอติดตามผลการดำเนินการเพิ่มค่าตอบแทนและปรับลดชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในภา คราชการ
 
เรียน คณบดีคณะแพทยศาสตร์.....
อ้างถึง หนังสือแพทยสภา ที่ พส.014/584 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2550
 
        ตามหนังสือที่อ้างถึง แพทยสภาได้เสนอให้รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาเพิ่มค่าตอบแทนแพทย์และปร ับลดชั่วโมงการทำงานแพทย์ในภาคราชการ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แพทย์ยังคงปฏิบัติงานในราชการ รวมทั้งมีข้อเสนอเกี่ยวกับแพทย์ประจำบ้าน ตามรายละเอียดที่ได้ส่งสำเนาเรียนท่านแล้วนั้น
 
 
           บัดนี้เป็นเวลาเนิ่นนานถึง 7 เดือนแล้ว แพทยสภาจึงขอติดตามความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวว่าท่านคณบดีแพทยศาสตร์..... ได้ดำเนินการไปแล้วหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้เพื่อจะสามารถรักษาแพทย์ไว้ในระบบราชการให้พอเพียงที่จะสามารถให้การ ตรวจรักษาประชาชนได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยและมีสุขภาพดีอย่างมั่นคงและยั่งย ืนต่อไป
 
         จึงเรียนมาเพื่อขอทราบความก้าวหน้าในการดำเนินการดังกล่าว
 
ขอแสดงความนับถือ
นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา
นายกแพทยสภา
 
 
 
 
จากคุณ: *-*_banana_*-* โพสเมื่อวันที่: 06/10/08 เวลา 14:28:22
Smiley
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 06/12/08 เวลา 21:33:53
ที่พส. 014/
มิถุนายน  2551
 
 
เรื่อง ขอเข้าพบเพื่อปรึกษาหารือในการกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการแพทย์  
ประเภทวิชาการ ตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
 
เรียน ประธาน อกพ.กระทรวงสาธารณสุข (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
 
 
สิ่งที่ส่งมาด้วย  1. บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ(พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 )
 2. จดหมายถึงท่านนายกแพทยสภาลงวันที่ 30 เมษายน 2551
 
      ตามที่คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 5/2551 วันที่15 พฤษภาคม 2551 เห็นชอบกับข้อเสนอของคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทน แพทย์ ให้ทำหนังสือถึง ประธานอกพ. กระทรวงสาธารณสุข ขอเข้าพบเพื่อเสนอข้อพิจารณาในการกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนและค่าตอบแท นแพทย์ สายวิชาการ
จึงเรียนเสนอท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธาน อกพ.
โปรดพิจารณากำหนดวันเวลาให้ตัวแทนแพทยสภาเข้าพบ ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการปรับค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับค่างานและอัตราตลาด  เป็นแรงจูงใจให้แพทย์ยังอยู่ในระบบราชการ  ขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้
 
     ขอแสดงความนับถือ
 
 
        (นายแพทย์สมศักดิ์  โล่ห์เลขา) )
  นายกแพทยสภา
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 06/12/08 เวลา 21:36:52
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=12132808
จากคุณ: '' หมอเอ้ครับ '' โพสเมื่อวันที่: 06/13/08 เวลา 13:44:45
Grin Grin Grin
 
ขอใหดีไปกว่านั้เสียทีเถิด
จากคุณ: Freeman โพสเมื่อวันที่: 06/16/08 เวลา 07:55:44
Grin Grin Grin ทำงานเหมือน ทาสเลยตอนนี้
จากคุณ: He-SiCk..So_sick โพสเมื่อวันที่: 06/17/08 เวลา 16:28:55
ขอบคุณอาจารย์สมศักดิ์ที่พยายามช่วยแพทย์ขอให้สำเร็จค่ะแพทย์จะได้มีแรงจูงใ จมากขึ้น
new pediatrician.
จากคุณ: Rursegy โพสเมื่อวันที่: 06/19/08 เวลา 22:39:48
รีบๆคลอดออกมา phase แรกก่อน แล้วค่อยๆปรับก็ได้นะ  
รีๆรอๆมาตั้งนานแล้ว
จากคุณ: porntipsiri โพสเมื่อวันที่: 07/03/08 เวลา 14:58:47
รู้จักพอไหมค่ะหมอ คนไทยยังยากจนอีกเยอะ
จากคุณ: ConstipatioN โพสเมื่อวันที่: 07/04/08 เวลา 12:59:23
on 07/03/08 เวลา 14:58:47, porntipsiri wrote:
รู้จักพอไหมค่ะหมอ คนไทยยังยากจนอีกเยอะ

 
 
ก็มาเรียนหมอสิคะ  
 
จะได้มีหมอเป็นคนดีๆแบบคุณเยอะๆไง
 
คิดแง่บวกเป็นไหมคะ Tongue
จากคุณ: ConstipatioN โพสเมื่อวันที่: 07/04/08 เวลา 13:05:44
มายุอีกรอบ
 
ตอนนี้ทำงานเหนื่อยเป็น buffalo แล้วค่ะ
 
 Tongue
 
ถ้าไม่ผ่านก็ลาออกกันเลยคะน้องอินเทร์น
 
 
 
ปล. แอบเห็นใจพยาบาลนิดนึง
 
พี่ๆที่เป็นหัวหน้าใหญ่การพยาบาล  น่าจะเรียกร้อง OT เพิ่มนะคะ
 
งานหนักกว่าคนขาย MK อีก  
 
จะได้มีคนอยากเป็นพยาบาลเยอะๆ
 
 
ปล. ตอนนี้พยาบาลแถวบ้านลาออกทำสวนยางกันหมดแว๊ววคะ
 
ตอนนี้เดี๊ยนก็เริ่มหาซื้อสวนยางแล้ว
 
 
ถ้าได้เดือนละแสนจากสวนยางเมื่อไร  เดี๋ยนก็เผ่นคะจากกระทรวงนี้
 
 
 
 
 Tongue Grin
จากคุณ: Dr.T_ra โพสเมื่อวันที่: 07/04/08 เวลา 14:06:18
Doctor room นี่เข้าใจบ้างไหม
 
อยากนอนเตียงมากๆ
 
ต้องไปนอนที่บ้านนะครับ มีหมอนให้หนุนด้วย
จากคุณ: PEACE โพสเมื่อวันที่: 07/05/08 เวลา 16:20:28
อาจรอปรับพร้อมเข้าระบบแท่งทีเดียว Roll Eyes
จากคุณ: PEACE โพสเมื่อวันที่: 07/05/08 เวลา 16:38:48
ปัญหาสำคัญอยู่ที่การขาดแคลนบุคลากรในรพช ซึ่งสาเหตุนี้นำมาซึ่งปัญหาต่างๆมากมาย
 
ถ้าคนพอ งานต่อคนก็ไม่มากจนเป็นภาระ
 
คนพอ งานเหมาะสม เงินที่ได้อยู่ก็น่าจะเหมาะสม
 
คนพอ งานเหมาะสม เกิดคุณภาพ ก็จะมีเวลาทำอย่างอื่นบ้าง
 
สธ เป็นไท ออกจากกพ. มาดูแลบุคลากรของเราเองน่าจะดีกว่า  
 
เราได้รู้ปัญหา เราจะแก้ปัญหาได้ถูกต้อง ถูกใจ
 
 Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley
จากคุณ: Freeman โพสเมื่อวันที่: 07/05/08 เวลา 22:31:30
Roll Eyes
จากคุณ: pat1 โพสเมื่อวันที่: 07/05/08 เวลา 23:41:30
ลำบากนะผมว่า อีกนานกว่าจะได้
น้ำมันก็แพง ค่าครองชีพก็สูง
เงินเดือนก็เท่าเดิม  
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 07/06/08 เวลา 13:54:00
การแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข (ร่าง)
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชก าร แพทยสภา
หลักการและเหตุผล
    เป็นที่ทราบกันดีว่าโรงพยาบาลของราชการโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลของกระทรว งสาธารณสุขนั้นมีผู้ป่วยไปขอรับการตรวจรักษามากจนล้นโรงพยาบาล(1)  แต่มีจำนวนแพทย์อยู่น้อยจนทำให้แพทย์มีเวลาตรวจผู้ป่วยเพียง 2-4 นาที (2}{3)  และแพทย์แต่ละคนต้องทำงานตรวจรักษาผู้ป่วยทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ถึงสัปดาห์ละ 90-120 ชั่วโมง (2)  การที่แพทย์ต้องเร่งรีบทำงานและขาดเวลาพักผ่อนทำให้มีความเสี่ยงต่อความผิดพ ลาดหรือความเข้าใจผิดของผู้ป่วย ทำให้มีคดีฟ้องร้องมากขึ้น(4)จนถึงกับแพทย์ถูกตัดสินให้จำคุก(5) จากการที่พยายามจะช่วยชีวิตผู้ป่วยแต่ช่วยไม่ได้ทั้งๆที่พยายามจนสุดความสาม ารถแล้ว ทำให้แพทย์มีความเครียดและเมื่อมีทางเลือกอื่น ก็จะลาออกจากราชการไปอยู่โรงพยาบาลเอกชน (6,7) ซึ่งแพทย์จะได้รับเงินเดือนและ/หรือค่าตอบแทนดีกว่า มีภาระงานที่เหมาะสม จึงทำให้จำนวนแพทย์ที่ยังเป็นข้าราชการอยู่มีจำนวนไม่เพียงพอที่จะให้การดูแ ลรักษาประชาชนอย่างมีมาตรฐานต่อไป   ในขณะเดียวกันนักศึกษาที่สอบเข้าเรียนต่อแพทย์ได้ ก็สละสิทธิ์ไม่ยอมเข้าเรียนถึง25% (Cool ทำให้น่าเป็นห่วงว่า ประเทศชาติจะยิ่งขาดแพทย์ที่จะทำหน้าที่ตรวจรักษาประชาชนในอนาคตยิ่งขึ้น
 จึงเห็นได้ว่าการขาดแคลนแพทย์ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขสาธารณสุขก่อให ้เกิดผลเสียหายต่อประชาชนและต่อแพทย์เองด้วย
 กระทรวงสาธารณสุขเองได้พยายามที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในราชการ โดยได้ออกระเบียบบังคับให้นักศึกษาแพทย์ทำสัญญาชดใช้ทุนการศึกษา 3 ปี (ทั้งๆที่ไม่ได้ให้ทุนการศึกษาแต่อย่างใด (Cool  แต่ก็ไม่สามารถจะ “จูงใจ” ให้แพทย์ “รัก” ที่จะทำงานในราชการของกระทรวงสาธารณสุข ถ้าไปถามสาเหตุการลาออกของแพทย์จะพบว่า เกิดจาก เงินเดือนน้อย งานหนักและชั่วโมงการทำงานยาวนาน และมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง(9) และที่สำคัญก็คือรัฐบาลส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นเมดิคอลฮับ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยต่างชาติมารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนมากขึ้น แพทย์จึงลาออกไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชนมากขึ้นเนื่องจากค่าตอบแทนสูงกว่า และภาระงานน้อยกว่า(6)
 
ฉะนั้นจึงควรมาช่วยกันแสวงหาทางออกเพื่อเสนอทางแก้ไขต่อกระทรวงสาธารณสุขในก ารแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขดังนี้
 
สาเหตุแห่งปัญหา
1แพทย์ถูกบังคับชดใช้ทุน โดยไม่สามารถขอย้ายจังหวัดได้ใน 3 ปี(8 ,11)
2. แพทย์ต้องทำงานหนักเกินกำลัง (2)และบางแห่งแพทย์ผู้อาวุโสและผู้บริหารไม่ช่วยทำงานนอกเวลาราชการ
3.มีผู้ป่วยมากเกินไป ทำให้แพทย์ไม่มีเวลาพอที่จะตรวจรักษาผู้ป่วยอย่างดีมีคุณภาพมาตรฐาน (2)ผู้ป่วยเสี่ยงต่ออันตรายด้านสุขภาพ และแพทย์เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา(4,5)
4.เงินเดือนและค่าตอบแทนน้อยกว่าการทำงานในโรงพยาบาลเอกชนเป็นสิบเท่า(12)
5.แพทย์ลาออกจากราชการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ(7)
เป้าหมายของการแก้ปัญหา
1. แพทย์มีจำนวนเหมาะสมทั้งในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์
2. แพทย์ไม่ลาออกจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
3. ประชาชนได้รับการดูแลรักษาสุขภาพอย่างปลอดภัยและมีมาตรฐาน
4. ประชาชนมีความสุขและพึงพอใจต่อการบริการทางการแพทย์ มีการฟ้องร้องน้อยลง
 
วิธีการแก้ปัญหา
1.การจัดสรรบุคลากรและการโยกย้ายสถานที่ทำงาน ควรให้มีความยืดหยุ่นพอสมควร ไม่ควรให้รู้สึกกดดันเพราะขาดอิสรภาพ
2.การจัดกลุ่มทำงานของโรงพยาบาลแต่ละระดับ ควรให้มีแพทย์ในสาขาเดียวกันอย่างน้อยแห่งละ 3-4 คน เพื่อผลัดเปลี่ยนกันทำงานนอกเวลาราชการได้อย่างเหมาะสม แพทย์ไม่ต้องอดนอนมากเกินไป (13)
3.จัดระบบการประกันสุขภาพให้เหมาะสมและให้ประชาชนมีส่วนร่วมจ่ายเงินในการมา รักษาสุขภาพที่โรงพยาบาล  
4.จัดระเบียบการใช้บริการทางการแพทย์ใหม่ตามระบบนัด(13) และส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและรักษาสุขภาพเบื้องต้นของตนเองและครอบครัวได้ และรู้ว่าเมื่อไรควรรีบมาพบแพทย์ (13)
4.จัดระบบการส่งต่อที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อความสะดวก ปลอดภัยในการส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลระดับสูงต่อไป  (13)
5.พิจารณากำหนดเงินเดือนและค่าตอบแทนการทำงานให้เหมาะสม พอจะเทียบได้ประมาณ50% ของภาคเอกชน(14,15)
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 07/06/08 เวลา 13:55:52
เอกสารอ้างอิง
1.เชิดชู อริยศรีวัฒนา :.ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล : วารสารวงการแพทย์ 2551:272:
2. ฉันทนา ผดุงทศ และคณะ : ชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข วารสารวิชาการสาธารณสุข 2550; 16(4) :493-502
3..ศ.ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษและคณะ: โครงการการกำหนดยุทธศาสตร์กำลังคนภาครัฐ: กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์
4.สถิติการฟ้องร้องแพทย์ แพทยสภา
5. วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ : คำพิพากษาให้แพทย์ต้องโทษจำคุก : วารสารวงการแพทย์ :2551: 262,263 :16-20
 6.อดุลย์ วิริยเวชกุล:.แพทย์ไทยลาออกสนองรับ “เมดิคอลฮับ” บทบรรณาธิการ:วารสารวงการแพทย์ 2551 : 265  
7.ข้อมูลจากกลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
8.สรนิต ศิลธรรม รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลใน : รายงานสรุปผลการสัมมนาเรื่องสิทธิ ปัญหา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการและผู้รับบริการทางการแพทย์ 2550:16
9.เชิดชู อริยศรีวัฒนา :จดหมายเปิดผนึกถึงบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน 6 มิย. 2551
10.การสำรวจของคณะกรรมการแพทยสภา นำเสนอในการประชุมสัมมนาเรื่องฝ่าวิกฤติแพทย์ภาครัฐเพื่อบรรลุหลักประกันสุข ภาพถ้วนหน้าของประชาชน เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2547
 
11.หนังสือด่วนที่สุด ที่สธ. 021.032/ว 81 8 เมษายน 2551
12.ข้อมูลจากนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน
13.เชิดชู อริยศรีวัฒนา :การปฏิรูประบบการแพทย์ไทย : :http://dr716.com/board/viewtopic.php?p=68&sid=c0b204a748bcc7afe019fa a82abcedf0
14.การพิจารณากำหนดเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ มติของคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ แพทยสภา โดยกรรมการแพทยสภาให้ความเห็นชอบ: หนังสือแพทยสภา ที่ พส.014/584 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2550 ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นพ.มงคล ณ สงขลา)
15.รายงานผลการศึกษาและข้อเสนอแนะในการขอเพิ่มค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวล าราชการและเงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานสาธารณ สุข(พตส.)
ในภาคราชการ: เสนอต่อนพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แนบไปกับหนังสือแพทยสภา ที่พส. 014/584 ลงวันที่ 2 ตค.. 2550
16.หนังสือที ่สธ.0100.2/2883 รัฐมนตรีกระทรวงสธ.แจ้งให้นายกแพทยสภาทราบว่า รัฐมนตรีฯได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสธ.พิจารณาดำเนินการตามที่แพทยสภาเสนอ  
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 07/06/08 เวลา 14:07:44
การพิจารณากำหนดเงินเดือนและค่าตอบแทนข้าราชการแพทย์  (ร่าง 5 กค. 51)
ข้อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ แพทยสภา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการแพทยสภา
7 กรกฎาคม 2551
หลักการและเหตุผล
เนื่องจากได้มีการประกาศใช้พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปีงบประมาณพ.ศ. 2552 โดยเริ่มจากเดือนตุลาคม 2551 นี้ จึงเป็นความจำเป็นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้บริหารสูงสุดข องกระทรวงและดำรงตำแหน่งประธานอกพ.กระทรวงสาธารณสุข จะได้พิจารณากำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนรวมทั้งค่าตอบแทนต่างๆของข้าราชก ารแพทย์ให้เหมาะสม ตามความขาดแคลน ความจำเป็นของประเทศ ความรับผิดชอบ ความตรากตรำที่ต้องทำงานต่อเนื่อง และความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะที่มิอาจจะโอนงานไปอยู่ในความรับผิดชอบของผู้อ ื่นหรือใช้เทคโนโลยีอื่นมาทำงานรับผิดชอบแทนได้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แพทย์ยังคงทำงานบริการประชาชนในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธ ารณสุข ทำให้มีจำนวนบุคลากรแพทย์อย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับการตรวจรักษาและฟื้นฟูสุขภาพอย่างมีคุณภาพมาตรฐ าน มีสุขภาพดี มีความพึงพอใจต่อคุณภาพและมาตรฐานการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างข้าราชการแพทย์และประชาชน และลดปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ ทั้งประชาชนและแพทย์ต่างก็มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ข้อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการ
 
คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการของแ พทยสภา  โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการแพทยสภา ขอเสนอให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณากำหนดดังต่อไปนี้
1.เงินเดือน พิจารณาโดยอาศัยพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 ในแท่งของแพทย์ผู้ปฏิบัติงานด้านบริการวิชาการ
1.1 แพทย์ในสายการปฏิบัติงานด้านวิชาการ ควรเริ่มบรรจุใหม่ที่อัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท
1.2 แพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ผู้ปฏิบัติงานครบ 5 ปีในโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลทั่วไป ควรปรับตำแหน่งมาที่ผู้ชำนาญการพิเศษ เงินเดือนขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท
1.3.แพทย์ที่เรียนจบเฉพาะทางสาขาต่อยอด ให้อยู่ในตำแหน่งผู้ชำนาญการพิเศษเงินเดือนขั้นต้นไม่ต่ำกว่า  50,000 บาท
1.4การปรับเงินเดือนจากผู้ชำนาญการพิเศษไปเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ขึ้นอยู่กับผลงาน ระยะเวลาการปฏิบัติราชการ และประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน โดยเงินเดือนสูงสุดไม่ควรต่ำกว่า 80,000 บาท
2.เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานสาธารณสุข(พตส. )เดิม
2.1 แพทย์ทั่วไปให้ได้รับเงินพ.ต.ส. 10,000 บาท  
2.2 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ ได้รับเงินพ.ต.ส. 20,000 บาท หรือแพทย์ทั่วไปทำงานครบ 4 ปีให้ได้เงินพ.ต.ส. 20,000 บาท
2.3 แพทย์สาขาขาดแคลนได้รับเงินพ.ต.ส. 25,000 บาท
3.เงินค่าตอบแทนผู้ไม่ทำเวชปฏิบัติเอกชนขอเพิ่มเป็น20,000บาท
4.เงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ตามเอกสารแนบท้ายที่เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(นพ.มงคล ณสงขลา )ตามหนังสือแพทยสภาที่ พส. 014/584 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2550 และรัฐมนตรีได้ลงนามเห็นชอบและมอบให้ปลัดกระทรวงพิจารณาดำเนินการ โดยได้ทำหนังสือแจ้งนายกแพทยสภาทราบ ตามหนังสือ ที่ สธ..0100.2/2883 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550
เอกสารอ้างอิง :พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
 
 
จากคุณ: Dr.T_ra โพสเมื่อวันที่: 07/06/08 เวลา 22:08:47
ตามความเข้าใจของผม
 
นี่เป็นขั้นตอนสุดท้ายแล้ว
 
คือการเสนอ รมต สาธารณสุข วันพรุ่งนี้
 
สิ่งที่แพทย์ชุมชนจะได้ค่าตอบแทนเพิ่มหลังจากเดือนตุลาคม ถ้า จดหมายฉบับนี้ผ่าน คือ
 
1. พตส ขึ้น จาก 5000 เป็น 10000
 
2. เงินเวรนอกเวลาเพิ่ม(??)
 
??
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 07/07/08 เวลา 06:17:40
เงินค่าเวรเพิ่มนำเสนอตามเอกสารหมายเลข 15 และ16
สรุป 1,ขอปรับเงินเดือนแพทย์บรรจุใหม่จาก 10,190 บาท เป็น 30,000 บาท  
2.ขอเพิ่มเงินพตส. และขอเพิ่มเงินไม่ทำเวชปฏิบัติเอกชนเป็น 20,000 บาท
3.เพิ่มเงินปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเป็น 3-4 เท่าจากอัตราเดิม (อันนี้ รมว.สธ.คนก่อน (มงคล ณ สงขลา ได้เห็นชอบในหลักการ และได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงดำเนินการตั้งแต่วันที่ 5 พย. 2550 แล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด และแพทยสภาได้ทำหนังสือทวงถามไปแล้ว) รวมทั้งการคิดค่าตอบแทนตาม work load และการกำหนดจำนวนการอยู่เวรแต่ละครั้งไม่เกิน  8 ชั่วโมง และไม่เกิน 7 ครั้งต่อเดือน การเพิ่มค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายรพช.และค่าไม่ทำเวชปฏิบัตินอกโรงพยาบาลเป็น 2 เท่าจากเดิม
รวมทั้งได้ขอให้เพิ่มเงินค่าอยู่เวรของ resident และการไม่งดเลื่อนขั้นเงินเดือนของ resident ด้วย
 และขอให้ตั้งงบประมาณค่าตอบแทนต่างหากจากเงินบำรุง โรงพยาบาลทุกแห่งจะได้มีเงินจ่ายค่าอยู่เวร
แพทยสภาควรจะขอตั้งคณะทำงานร่วมกับกระทรวงสธ.เพื่อดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต ่อไป
จากคุณ: Freeman โพสเมื่อวันที่: 07/07/08 เวลา 21:00:04
อ้าวเงินเดือนจบใหม่ 10190 เลยเหรอ จำได้ว่า ตอนบรรจุ สองปี่ก่อนได้ 9790 เองครับ
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 07/07/08 เวลา 21:24:10
ที่พส.014/572
7 กรกฎาคม 2551
เรื่อง  การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการแพทย์
 
เรียน นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 
สิ่งที่ส่งมาด้วย  1. ข้อเสนอในการพิจารณากำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนแพทย์ในสาย    
     ปฏิบัติการวิชาการ
     2. การแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข      
        เนื่องจากได้มีการประกาศใช้พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งจะ
มีผลบังคับใช้ในปีงบประมาณพ.ศ. 2552 โดยเริ่มจากเดือนตุลาคม 2551 นี้ จึงเป็นการสมควรที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้บริหารสูงสุดของ กระทรวงและดำรงตำแหน่งประธานอกพ.กระทรวงสาธารณสุข จะได้พิจารณากำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนรวมทั้งค่าตอบแทนต่างๆของข้าราชก ารแพทย์ให้เหมาะสม ตามความขาดแคลน ความจำเป็นของประเทศ ความรับผิดชอบ ความตรากตรำที่ต้องทำงานต่อเนื่อง และความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะที่มิอาจจะโอนงานไปอยู่ในความรับผิดชอบของผู้อ ื่นหรือใช้เทคโนโลยีอื่นมาทำงานรับผิดชอบแทนได้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แพทย์ยังคงทำงานบริการประชาชนในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธ ารณสุข ทำให้มีจำนวนบุคลากรแพทย์อย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับการตรวจรักษาและฟื้นฟูสุขภาพอย่างมีคุณภาพมาตรฐ าน มีสุขภาพดี มีความพึงพอใจต่อคุณภาพและมาตรฐานการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างข้าราชการแพทย์และประชาชน และลดปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ ทั้งประชาชนและแพทย์ต่างก็มีคุณภาพชีวิตที่ดี
        คณะกรรมการแพทยสภา จึงขอเสนอท่านรัฐมนตรีได้โปรดพิจารณาสั่งการให้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อพิจาร ณากำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการแพทย์สายการปฏิบัติงานวิชาการ ตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการจูงใจและเป็นขวัญกำลังใจให้แพทย์ยังคงรับราชการอย่างต่อ เนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการทางการแพทย์ในภาคราชการให้มีมาตรฐานที่ดี เพื่อความปลอดภัยและประโยชน์สุขของประชาชนโดยทั่วหน้ากัน
       จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไป
                 ขอแสดงความนับถือ
 
            (นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา)
               นายกแพทยสภา
   
     
 
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 07/07/08 เวลา 21:38:33
วันนี้เวลา ประมาณ 10 นาฬิกาเศษ คณะกรรมการแพทยสภานำโดย นายก ฯ รวมทั้งเลขาธิการ รองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ(นพ.อิทธพร) และประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนฯ  ได้เข้าพบรมว.สธ.พร้อมกับยื่นจดหมายข้างบน และเอกสารอ้างอิงแนบท้าย เพื่อเสนอให้รมว.ดำเนินการกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการแพทย์ เพิ่มขึ้น ตามหลักการของพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพ.ศ. 2551 ที่จะพิจารณาเงินเดือนให้เหมาะสมกับภาระ ความรับผิดชอบ รวมทั้งคุณค่าของงานและเปรียบเทียบกับราคาตลาดในภาคเอกชน
 
เมื่อท่านรัฐมนตรีทราบว่า แพทยสภาขอเงินเดือนเริ่มต้นของแพทย์เดือนละ 30,000 บาท ท่านยังบอกว่าน่าจะขอเป็น 50,000 บาท เพราะแพทย์ถูกซื้อไปอยู่เอกชนหมดถ้าราชการเงินเดือนน้อย และท่านรับปากว่าจะตั้งคณะกรรมการดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป รวมทั้งให้แพทยสภาทำหนังสือเสนอตั้งกรรมการดำเนินการร่วมกับกระทรวงสธ.ด้วย
 
จบข่าววันนี้
จากคุณ: Freeman โพสเมื่อวันที่: 07/08/08 เวลา 13:11:51
เริ่มเห็นความหวังแล้วครับ Grin
จากคุณ: Dr.T_ra โพสเมื่อวันที่: 07/08/08 เวลา 16:47:28
โอ้
 
อารมณ์ เหมือนอาต๋อย ไตรภพ
 
ค่อยๆ เข็นรถเข็น พร้อมด้วย หม้อไห เดินมาอย่างช้าๆ
 
5 5 5
จากคุณ: pat1 โพสเมื่อวันที่: 07/08/08 เวลา 22:45:40
จะยุบสภาแล้วมั้ยอ่ะครับ  
สงสัยต้องรอสมัยหน้า
ให้น้ำมัน สองลิตรร้อย
หมอถึงได้เงินเพิ่ม
ความแน่นอนคือความไม่แน่นอนครับ
เมื่อก่อนอาชีพเราถือว่าเงินดีพอสมควรนะ
แต่ตอนนี้เมื่อเทียบกับค่าครองชีพแล้วก็พออยู่พอกิน
เป็นหมอก็ต้องหาอาชีพเสริมบ้างนะผมว่าอย่าไปพึ่งคนอื่นอย่างเดียว
 
จากคุณ: ConstipatioN โพสเมื่อวันที่: 07/09/08 เวลา 06:40:00

 
กรรมครับ
 
 
อาต๋อยถูกยุบพรรคเสียแล้ว
 
- -"
 
 
แล้วแบบนี้เราต้องรอไปอีกนานเท่าไรคะอาจารย์
 
 
ถ้าจำไม่ผิดปีที่แล้วมีการปรับเงินเดือนข้าราชการแล้ว
 
แต่ทำไมถึงยังไม่เกิดอะไรขึ้นคะ
 
หรือว่าปรับแล้วก็ได้แค่นี้ Embarassed
จากคุณ: drrd โพสเมื่อวันที่: 07/09/08 เวลา 10:58:13
อา
 
น้าต๋อย
 
ด๋อยซะแล้ว
 
ลุง CMU06 ครับ
 
ช่วยด้วย
จากคุณ: ConstipatioN โพสเมื่อวันที่: 07/09/08 เวลา 17:58:47

 
ช่วยด้วยค๊าฟฟฟ
 
 
ฝันที่เป็นจริง และรถเข็ญ กำลังถูกลากกลับ Embarassed
จากคุณ: pat1 โพสเมื่อวันที่: 07/09/08 เวลา 22:35:30
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนครับ
เราต้องหาอาชีพเสริมครับ  
แต่อย่างหนึ่งที่อย่าเข้าใกล้ตอนนี้คือ ตลาดหุ้นครับ
ผมละเจ็บตัวมาแล้ว ขอเตือน
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 07/10/08 เวลา 07:48:48
มีเรื่องที่น่าสนใจที่อยากจะเล่าให้ข้าราชการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขฟัง คือ เมื่อคณะกรรมการแพทยสภาไปรอพบรมว.สธ.นั้น ได้พบกับปลัดกระทรวงและรองปลัดกระทรวงสธ.ท่านหนึ่งซึ่งได้สอบถามว่าแพทยสภาม า
พบรมว.เรื่องอะไร พอทราบว่ามาเรียกร้องขอเพิ่มเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ ท่านรองปลัดท่านนี้ได้พูดว่า ถ้าขอเงินเดือนเพิ่มก็ควรเพิ่มค่าเล่าเรียนแพทย์ด้วย  
พวกแพทยสภา Huh? อึ้งกิมกี่ไปเลย
 หลังจากเข้าพบรมว.แล้ว รมว.ได้เชิญไปกินข้าวกลางวันกับคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสธ.คือ ปลัด รองปลัด อธิบดีต่างๆ ปรากฎว่าปลัดได้กล่าวในที่ประชุมตรงนั้นอย่างภาคภูมิใจว่า ท่านได้ไปต่อสู้กับกพ. เพื่อขอตำแห่ง ซี 9 ให้ผอ.รพ.ชุมชน ผอ.วิทยาลัยพยาบาล และเภสัชกร รพ.ชุมชนทุกแห่ง ได้หมดแล้ว
 แต่ท่านไม่ได้กล่าวถึงเลยว่า ท่านได้ขอเพิ่มค่าตอบแทนให้บุคลากรสายปฏิบัติการแต่อย่างใด ปลัดขอให้แต่ผู้บริหารเท่านั้น ไม่คิดถึงความสำคัญของผู้ทำงานเลย
 
 ส่วนเรื่องที่รมว.สธ.ต้องพ้นตำแหน่งไป ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งเป็นชะตากรรมของข้าราชการแพทย์ที่อาจต้องรอต่อไปอีก กว่าจะได้รับความยุติธรรมในการทำงานเหมือนข้าราชการอื่นๆ
 แต่ก็คงจะต้องเรียกร้องต่อผู้บริหารสูงสุดคนต่อไป ไม่ว่าจะมาจากพรรคใด Huh
จากคุณ: season โพสเมื่อวันที่: 07/10/08 เวลา 08:09:44
รองปลัดคนนี้น่าสนใจ เขาคิดอะไรอยู่ Huh
 
จะมีใครอีกไหมที่กล้ามาเป็นรมต.สธ.ใหม่
ไม่ว่าจะเป็นใคร
จากบทเรียนในอดีตและสถานการณ์ปัจจุบันคงเป็นเครื่องเตือนสติผู้ที่คิดมากอบโ กยได้เป็นอย่างดี ว่าไม่ง่าย  
 
อย่างไรก็แล้วแต่  
เรื่องค่าตอบแทนขณะนี้ดำเนินการตามระบบไปได้มากแล้ว
ถึงเปลี่ยนรมต.ก็คงดำเนินการต่อไป
คงเหนื่อยในการอธิบายความเข้าใจกันสักหน่อย
แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ตรงไปตรงมามากๆ
เชื่อว่าถ้าไม่มีอคติมาขวาง ไม่ว่าเป็นใครก็ย่อมเข้าใจได้ไม่ยาก
เป็นกำลังใจให้พี่ๆทุกท่านช่วยกันผลักดันต่อไปครับ
 
จากคุณ: Freeman โพสเมื่อวันที่: 07/10/08 เวลา 14:57:46
Grin
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 07/20/08 เวลา 21:52:10
นักการเมืองเขาบอกว่า กระทรวงสาธารณสุขเปรียบเหมือนโรงเรียนเตรียมอุดม ใครที่เคยเป็นรมว.สธ.แล้ว สามารถไปเป็นรมว.ได้ทุกกระทรวง
 
ไม่รู้เหมือนกันว่าแปลว่าอะไร
จากคุณ: jame โพสเมื่อวันที่: 07/24/08 เวลา 09:33:25
เราต้องการเพิ่มค่าตอบแทนจากการปฏิบัติงานเช่นค่าเวร ค่าทำหัถการค่าการรับปรึกษาตรวจต่างๆแต่ไม่เคยได้เพิ่ม กลับได้เพิ่มเป็น พตส เงินหมื่น อะไรพวกนั้น  ซึ่งมันได้เท่าๆกันทุกคนเหนื่อยมากเหนื่อยน้อย ได้เท่ากันรวมทั้งพวกที่ไม่ได้ตรวจคนไข้เลยที่อยู่ในกระทรวงทั้งนั้นสรุปว่า มันต้องได้ประโยชน์ด้วยมันถึงจะอนุมัติ เรียกว่าชั่วๆทั้งนั้นต้องกำจัดแพทย์ชั่วๆพวกนี้ก่อนจึงเจริญได้ ครับพี่น้อง ....ตามนั้นเลย
จากคุณ: sctewa โพสเมื่อวันที่: 07/24/08 เวลา 11:32:29
ผมลาออกแล้ว ครอบครัวไม่ลำบากมาก มีบ้าน มีรถ ดีกว่าระบบราชการเยอะ
ลาออกกันเถอะ Grin Grin Grin
จากคุณ: sarah โพสเมื่อวันที่: 07/26/08 เวลา 09:58:12
เพิ่มเงินเวรดีกว่ามั้ยคะ
 
ก็ทุกวันนี้ก็ toxic ที่งานหนัก ค่าเวรน้อยไม่ใช่เหรอ
จากคุณ: Freeman โพสเมื่อวันที่: 07/26/08 เวลา 13:28:52
เออ เพิ่มเงินเวร ผู้บริหารเค้าไม่ได้ เค้าคงไม่ยอมมั้งครับ
จากคุณ: xixxers โพสเมื่อวันที่: 08/06/08 เวลา 23:22:25
หมอใน รร แพทย์ ก็อดตามเคย ได้แต่สาธารณสุข Sad
จากคุณ: note086 โพสเมื่อวันที่: 08/17/08 เวลา 00:11:39
Intern1 ครับผมอยู่ รพท ที่ภาคอีสาน (ซึ่งก็มีมากมายหลายแห่ง
  )ผมเห็นด้วยกะการเพิ่มค่าตอบแทนเป็นworkloadนะครับ เพราะว่า เหนื่อยแค่ไหนก็ได้แค่นั้น ยุติธรรมดี    ที่สำคัญ คือ มันทำให้เรายังคงทำงานกะ พบาบาล เภสัช ทันตะ ห้องแล็ป ได้ด้วยดี คือผมลองมาคิดดูครับว่า ถ้าเราเพิ่มเงินเดือนเยอะมากเกินงาม เช่น จากหมื่นนึง เป็นสามหมื่น แล้วเราไม่เพิ่มให้กับทาง กลุ่มงานต่างๆด้วย ก็จะมีการต่อต้าน ประท้วงขอเพิ่มค่าแรงตามหน่วยงานต่างๆอย่างไม่จบไม่สิ้น จริงอยู่ครับ ที่พวกเราทำงานกันหนัก เรียกว่าเยี่ยงทาส เวลาก็ไม่มี  กลุ่มงานอื่นๆเค้าก็คิดเหมือนกันครับ ดังนั้น การทำworkload จะช่วยให้มันดูดี และประคองการทำงานให้เป็นระบบได้  
แต่ก็คงต้องกำหนดเพดานด้วยมั๊งครับ หรือเก็บเงินจากคนไข้ที่มาขอยาไร้สาระ ประมาณนั้น
อีกอย่างครับที่สำคัญ คือต้องให้คนไข้เค้ารู้ว่า ฉุกเฉินคือฉุกเฉิน ถ้าไม่ได้มาที่โอพีดีนอกเวลาแล้ว ก็อย่าได้คาดหวังเลยว่าจะได้ตรวจถ้า คนที่หนักกว่าเค้าไม่ได้ตรวจเสร็จก่อน
แน่นอนครับว่า เค้าไม่รับรู้หรอกครับว่าใครมันจะเป็นจะตายยังไง แต่อยากให้มีระบบ หรือการทำความเข้าใจกับประชาชนครับว่า ถ้าไปโรงพยาบาลแล้ว  
 โรงบาลมักมีแพทย์เวรไม่กี่คน อาจมีแค่คนเดียว
โรงบาลมีเจ้าหน้าที่จำกัด
โรงบาลมี คนไข้มากมายและเป็นหนักกว่าคุณ
โรงบาลต้องดูแลคนไข้ที่หนักก่อน
 ผมว่าต้องมีอะไรเค้าเข้าใจอย่างงี้ ให้ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่เข้าใจกันอย่างนี้  ปัญหาจะได้ลดลงบ้าง   ส่วนพวกที่งี่เง่าจะฟ้อง ห้ได้ ก็ต้องมีอะไรที่supprt พวกเราอีกทีครับ   ให้พวกงี่เง่าเหล่านั้นมันทำอะไรไม่ได้
ผมเองก็เหนื่อยครับ คนเดียว บ่ายดึกที่อีอาร์
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 08/18/08 เวลา 16:53:42
หลังจากการสัมมนาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ที่กระทรวงสาธารณสุขรับเป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2551แล้ว
ทุกๆสาขาวิชาชีพ ก็สรุปได้เกือบจะเป็นพิมพ์เดียวกันเลยว่า
 
 บุคลากรขาดแคลน แต่ประชาชนมาใช้บริการเพิ่มขึ้นมาก
 ค่าแรงงานก็ต่ำมาก
เวลาทำงานก็เยอะมาก
คุณภาพชีวิตของบุคลากรก็แย่มากๆ
 
แต่ละวิชาชีพก็เสนอทางแก้ไขให้ตรงกับสาเหตุของปัญหา
 
และแพทยสภาขอเสนอให้ผู้แทนของแต่ละสภาวิชาชีพ ได้เป็นกรรมการร่วมกับข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ในการแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน
 
 ตอนนี้ กำลังรอคำตอบจากผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการเมือง คือรมว.และรมช. ว่าจะอนุมัติตามที่แพทยสภาเสนอหรือไม่
 
ยังเป็นกิจกรรมที่ยาวนาน มากๆๆๆ
 
 แต่ถ้าสามารถให้ผู้แทนสภาวิชาชีพ มีส่วนไปเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้ ก็คงจะมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ให้พอมองเห็นได้บ้าง
 
 Smiley
จากคุณ: season โพสเมื่อวันที่: 08/19/08 เวลา 00:34:31
เรื่องนี้ต้องรีบแก้ครับ
จะรอนานไม่ได้
ยิ่งถ้าคิดแก้ทั้งระบบยิ่งต้องรีบแก้
รอนานคนจะไม่รอครับ
จากคุณ: apirat โพสเมื่อวันที่: 08/22/08 เวลา 17:42:56
สมัยที่เป็นintern ทำผ่าตัดAppendectomy ได้400บาท คนไข้ก็หายดีเป็นปรกติ
พอเป็นgen surg รู้สึกมั่นใจ ทำผ่าตัดAppendicectomy ได้เป็นอย่างดี คนไข้ก็หายเป็นปรกติดีเช่นกัน และผมยังสอนคนอื่นผ่าตัดได้ด้วย ผมก็ยังได้400บาท เหมือนเดิมอ่ะแหละ
 
 Undecided  Undecided  Undecided  Undecided  Undecided
จากคุณ: GaZo โพสเมื่อวันที่: 08/22/08 เวลา 18:18:04
อายุเฉลี่ยแพทย์~50-60ปีจริงเปล่า แล้วทำงานหนักเพื่อประชาชนตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์หรือไม่ ฝากทำหนังสือถามเทวดาให้ผมหน่อยครับ(ปลงตกแล้ว ฮือๆ!!!!!!)
จากคุณ: pat1 โพสเมื่อวันที่: 08/22/08 เวลา 18:45:35
ทำงานช่วยคนอื่น ถือเป็นวัตถุทาน อย่างหนึ่งหรือป่าวครับ
ถ้าเป็นเช่นนั้น บุญยังไม่พอหรอกครับ ตายไปตกนรกได้ แต่คงมีคนช่วยเหลือ  
อยากขึ้นสวรรค์ ขั้นต่ำต้องรักษาศีล ห้าครับ ชาติหน้าต่ำสุดก็เป็นมนุษย์เหมือนเดิม  
ถ้าให้ดีกว่านี้ บุญใหญ่กว่าต้อง ภาวนา ครับ
ตามที่รู้มาก็แค่นี้แหละครับ
หน้าที่ชาวพุทธ  
ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา  
ได้บุญตามลำดับจากน้อยไปมากครับ
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 08/22/08 เวลา 22:17:47
ขอให้ช่วยกันภาวนามากๆนะจ๊ะ  
เพื่อว่าอานิสงค์ของ
 การบำเพ็ญทาน
การรักษาศีล
และการเจริญภาวนา
 
จะเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ ทำให้ข้าราชการแพทย์ ของประเทศไทย ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม เหมือนข้าราชการอื่นๆ  
ได้รับการยอมรับนับถือ
 ไม่ถูกก่นด่าจากประชาชนบางพวก
ได้รับค่าแรงงานที่เป็นธรรม พอสมน้ำสมเนื้อกับาระงานและความรับผิดชอบ
 ได้มีเวลาพักผ่อนจากภาระอันหนักอึ้ง มีเวลาดูแลพ่อแม่ลูกเต้าและครอบครัว
เหมือนกับข้าราชการพลเรือนอื่นๆบ้าง
 
อย่าลืมช่วยกัน
บำเพ็ญทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา
 
การช่วยเหลือผู้อื่นโดยการรักษาชีวิต ถือได้ว่าเป็นการบำเพ็ญทานอันยิ่งใหญ่  
 
 Smiley
จากคุณ: pat1 โพสเมื่อวันที่: 08/22/08 เวลา 22:29:33
ทานแบ่งออกเป็นสามอย่างครับ
วัตถุทาน
อภัยทาน และ
ธรรรมทาน  
ให้ธรรมะเป็นทาน ย่อยเหนือการให้ทั้งปวง
เหมือนที่ผมได้เขียนอธิบายอยู่นี้แหละครับ ถือเป็นธรรมทาน  
การเป็นหมอผมก็สงสัยเหมือนกันว่าเป็นทานข้อไหน
จากคุณ: Pao_devil โพสเมื่อวันที่: 08/24/08 เวลา 00:27:17
ขอบคุณอาจารย์มากครับ
ถ้าไม่มีอาจารย์หมอๆคงแย่
 
อาจารย์สมศักดิ์เป็นพ่อพระของทุกคน
จากคุณ: beaugirl โพสเมื่อวันที่: 09/06/08 เวลา 15:52:58
หนูว่าน่าจะเพิ่มเงินไม่ทำร้านมากกว่านะคะ
คนจะได้อยู่ในระบบมากขึ้น คือแว๊บไปทำเอกชนน้อยลง งานในรพ.จะได้เบาขึ้น
แล้วอีกอย่าง เงินหมื่นที่ได้กันอยู่ตอนนี้ก็ได้ข่าวว่า ไม่ได้เพิ่มมา 36 ปี แล้วค่ะ
จากคุณ: Freeman โพสเมื่อวันที่: 09/06/08 เวลา 20:16:55
on 09/06/08 เวลา 15:52:58, beaugirl wrote:
หนูว่าน่าจะเพิ่มเงินไม่ทำร้านมากกว่านะคะ
คนจะได้อยู่ในระบบมากขึ้น คือแว๊บไปทำเอกชนน้อยลง งานในรพ.จะได้เบาขึ้น
แล้วอีกอย่าง เงินหมื่นที่ได้กันอยู่ตอนนี้ก็ได้ข่าวว่า ไม่ได้เพิ่มมา 36 ปี แล้วค่ะ

 
ไม่ทำร้านเพิ่มเป็นสองหมื่นห้าไปเลย อิอิ
จากคุณ: Munez โพสเมื่อวันที่: 09/10/08 เวลา 01:47:17
เป็นไปได้HuhHuh?
จากคุณ: erny โพสเมื่อวันที่: 09/14/08 เวลา 18:59:37
คุณภาพ กับปริมาณ ถ้าอยากได้ทั้งสองอย่าง มันก็ต้องเงิน พวกที่มีอำนาจก็ไม่ช่วยน้องๆ น้องๆก็ไม่รู้ทำอย่างไร ทำได้ก็แต่บ่นๆๆ
จากคุณ: Sen._MD โพสเมื่อวันที่: 09/24/08 เวลา 14:35:06
ผมมีความเห็นว่า เมื่อวิชาชีพแพทย์ เป็นวิชาชีพอิสสระ แพทย์ทุกคนที่
ประกอบวิชาชีพแพทย์อยู่ ในโรงพยาบาล หรือในคลินิค ควรเสียภาษี
40(6) เหมือนกันหมด ขอให้แพทย์ที่รับราชการ ลองกรุณาคิดดูนะครับ
ว่าทำไมท่านจึงต้องเสียภาษี 40(1) หรือ40(2) ในขณะที่ท่านประกอบวิชาชีพแพทย์
จากคุณ: amyloidosis โพสเมื่อวันที่: 09/26/08 เวลา 13:10:38
เงินเพิ่มก็ไม่รู้ได้หรือเปล่า พตส.ก็มีแววโดนตัดอีก ทุนก็ให้กันจำนวนมากจนล้น(ประชด) คงดึงคนได้น่ะกระทรวงทำแบบนี้
จากคุณ: PEACE โพสเมื่อวันที่: 09/29/08 เวลา 10:05:57
ท่านเฉลิม อาจทำเซอร์ไพรส์ Shocked
จากคุณ: Freeman โพสเมื่อวันที่: 10/01/08 เวลา 11:01:53
เซงเป็ดเลยครับพี่น้อง เห็นคนลาๆๆ ไม่เว้นเเต่ละวัน เสร้าใจจริงๆๆ
จากคุณ: mamee โพสเมื่อวันที่: 10/01/08 เวลา 16:01:46
ตกลงว่าตอนนี้ก็ยังไม่รู้ใช่มั๊ยว่าจะได้เมื่อไหร่หรือจะได้หรือเปล่า Sad
จากคุณ: LookKae โพสเมื่อวันที่: 10/02/08 เวลา 22:10:25
ตกลงจะเริ่มเพิ่มเงินกันเมื่อไหร่เนี่ย
ผมจะไปหาที่ตายอยู่แล้ว
จากคุณ: L_live_note โพสเมื่อวันที่: 10/11/08 เวลา 21:14:45
หลายเดือนผ่านไป  เงินใด ๆ ก็ไม่มีการเพิ่มซักที
ระบบก็ยังห่วยเหมือนเดิม
คนไข้ก็คิดว่า รพ เป็นที่ขอยาฟรีทุกครั้งไป
การเมืองก็ไม่ stable
การเงินจึงไม่คืบหน้า
เพลียกายเพลียใจ  ลาออกดีไหมนี่
จากคุณ: Prince Andaman โพสเมื่อวันที่: 10/13/08 เวลา 18:42:56
Grin
จากคุณ: mamee โพสเมื่อวันที่: 10/16/08 เวลา 15:00:48
on 10/11/08 เวลา 21:14:45, L_live_note wrote:
หลายเดือนผ่านไป  เงินใด ๆ ก็ไม่มีการเพิ่มซักที
ระบบก็ยังห่วยเหมือนเดิม
คนไข้ก็คิดว่า รพ เป็นที่ขอยาฟรีทุกครั้งไป
การเมืองก็ไม่ stable
การเงินจึงไม่คืบหน้า
เพลียกายเพลียใจ  ลาออกดีไหมนี่
.
 
เห็นด้วยๆ
ยิ่งระบบรักษาฟรีกับพรบ.คุ้มครองผู้บริโภคด้วยตกลงเราเป็นคนขายบริการใช่มั๊ ย)
ผมเห็นด้วยในหลักการแต่มันควรมีอะไรมากำหนดขอบเขต และวิธีที่คนไข้ต้องเรียนรู้เรื่องหน้าที่ของตัวเองด้วย
 
ตอนสบายดีก็เห็นเราเป็นคนจ่ายยา จะเอานั่นเอานี่ ไม่เอานู่น
ตอนป่วยก็เห็นเราเป็นขี้ข้า ไมไม่ทำนู่น ทำนี่
ตอนญาติตายก็เห็นเราเป็นจำเลย
 
คนไข้ที่เข้าใจเราสมัยนี้หายาก
 
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 10/29/08 เวลา 12:11:54
จดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมการแพทยสภา
29 ตุลาคม 2551
เรื่อง ขอติดตามความก้าวหน้าเรื่องการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข
เรียนนายกแพทยสภาและกรรมการแพทยสภาทุกท่าน
สิ่งที่ส่งมาด้วย ผลสรุปการสัมมนาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ของกระทร วงสาธารณสุข 8 สิงหาคม 2551
 
       สืบเนื่องจากการที่คณะอนุกรรมการพิจารณาและปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแท นแพทย์ในภาคราชการของแพทยสภา ได้เสนอให้กระทรวงสาธารณสุขจัดสัมมนาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคลาก รทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2551 ตามสรุปการสัมมนาที่ส่งมาด้วยนั้น ต่อมาได้มีคณะกรรมการแพทยสภานำโดยนายกแพทยสภาและประธานอนุกรรมการพิจารณาปรั บเปลี่ยนเงินเดือนแพทย์ในภาคราชการของแพทยสภาได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรว งสาธารณสุขในขณะนั้นคือนายชวรัตน์ ชาญวีรกุล เพื่อขอจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและแพทยสภาร่วมกับสภาว ิชาชีพในทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ เพื่อดำเนินการต่อเนื่องโดยนำเอาข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และ บุคลากรทางการแพทย์อื่นๆที่ได้มีการสรุปจากการสัมมนาครั้งนี้ มาดำเนินการแก้ไขให้เป็นรูปธรรม แต่ได้มีการเปลี่ยนรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่  
จึงไม่ได้ทราบว่ากระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการในเรื่องการแก้ปัญหาการขาดแคล นบุคลากรแพทย์ตามที่แพทยสภาได้เคยเสนอไปหรือไม่ อย่างไร
 
      ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคร าชการฯดิฉันจึงขอเสนอให้นายกแพทยสภาและคณะกรรมการแพทยสภาทุกท่านกรุณาติดตาม ทวงถามความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรแพทย์ตามข้อเสนอของแพทยสภ าทั้งนี้เพื่อจะได้แก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข อันจะทำให้ประชาชนได้รับการตรวจรักษาตามคุณภาพมาตรฐานทางการแพทย์ที่ดีที่สุ ด เพื่อป้องกันความเสี่ยงอันตรายจากการที่ต้องรอรับการตรวจรักษานานหรือการตรว จรักษาอย่างเร่งรีบ เพราะมีแพทย์จำนวนจำกัดแต่ผู้ป่วยมากเกินกำลังที่แพทย์จะสามารถตรวจรักษาได้ ตามมาตรฐาน ทำให้ประชาชนได้รับอันตรายและฟ้องร้องแพทย์มากขึ้น เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้แพทย์ลาออกจากกระทรวงสาธารณสุขมากขึ้น  
 
     จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการโดยด่วน โดยการประสานงานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนปัจจุบันโดยด่วนด้วย เพื่อจะได้บริหารจัดการให้มีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในโรงพยาบาลของกระ ทรวงสาธารณสุขอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อคุ้มครองประชาชนทั่วไปให้ได้รับการตรวจรักษาจากโรงพยาบาลของกระทรวงสาธ ารณสุขที่มีมาตรฐาน ไม่เสี่ยงอันตรายเพราะการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อีกต่อไป
 
ขอแสดงความนับถือ
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการ
 แพทยสภา
 
 
 
 
จากคุณ: amyloidosis โพสเมื่อวันที่: 10/29/08 เวลา 20:22:35
ถ้ายังไม่ได้เพิ่มตอนนี้ก็อย่าตัดของเดิมแล้วกัน(พตส.ไม่ได้มา๒เดือนแล้ว)
จากคุณ: Medicine_Story โพสเมื่อวันที่: 10/30/08 เวลา 19:23:22
ทำไมเพิ่มไม่เท่ากันอ่ะ
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 11/07/08 เวลา 10:25:52

 
 
 
ที่พส.014/พิเศษ
 
6 พฤศจิกายน 2551
 
เรื่อง ขอเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์
 
เรียน นายกแพทยสภา
 
สิ่งที่ส่งมาด้วย หนังสือเรื่องขอเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพ ทย์
  ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้อนุญาตให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย ์ ตามหนังสือ ที่พส.010/687 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2551 นั้น
  ในการนี้เพื่อติดตามการดำเนินงานในการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์  ให้บรรลุผลสำเร็จ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภ าคราชการของแพทยสภา จึงขอเสนอให้ท่านลงนามในหนังสือขอเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการขาดแค ลนบุคลากรทางการแพทย์  เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการทรวงสาธารณสุข เพื่อพิจารณาแต่งตั้งต่อไป
  จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาลงนามในหนังสือดังกล่าวด้วย จะเป็นพระคุณ
 
           ขอแสดงความนับถือ
 
     
     ( แพทย์หญิงเชิดชู  อริยศรีวัฒนา)
  ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือน  
       และ ค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการ
 
 
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 11/07/08 เวลา 10:31:57

 
 
ที่ พส.014/
 
         7     พฤศจิกายน  2551
 
เรื่อง  ขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์  
   
เรียน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 
อ้างถึง หนังสือ พ.ส.010/687 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2551
 
สิ่งที่ส่งมาด้วย  1. หนังสือที่ พ.ส.010/687 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2551
 
 ตามที่แพทยสภาได้ขอเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลน แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ตามหนังสือที่พส. 010/687 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2551 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น คือนายชวรัตน์  ชาญวีรกุล ได้อนุญาตตามที่แพทยสภาเสนอแล้ว
 
 แพทยสภาจึงขอเสนอ รายชื่อคณะกรรมการร่วมจากองค์กรวิชาชีพ กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานราชการอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาการ ขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ดังต่อไปนี้
 รายชื่อคณะกรรมการดำเนินการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์
 
 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข       ที่ปรึกษา
 2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข     ที่ปรึกษา
 3. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข       ประธานกรรรมการ
 4.  ปลัดกระทรวงการคลัง     กรรมการ
 5.  ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ     กรรมการ
 6. เลขาธิการสำนักงานข้าราชการพลเรือน    กรรมการ
 7. ประธานที่ปรึกษาสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  กรรมการ
8. เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   กรรมการ
9. อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ    กรรมการ
10. นายกแพทยสภา      กรรมการ
11.  นายกสภาการพยาบาล     กรรมการ
12. นายกทันตแพทยสภา      กรรมการ
13. นายกสภาเภสัชกรรม      กรรมการ
14. นายกสภาเทคนิกการแพทย์     กรรมการ
15. นายกสภากายภาพบำบัด     กรรมการ
16.  แพทย์หญิงอนงค์  เพียรกิจกรรม    กรรมการ
17.  แพทย์หญิงประสบศรี  อึ้งถาวร    กรรมการ
18. นาวาอากาศเอก(พิเศษ)นายแพทย์อิทธพร  คณะเจริญ  กรรมการ
    19. แพทย์หญิงเชิดชู  อริยศรีวัฒนา    เลขานุการ
    20. นางณิชากร  ศิริกนกวิไล     ผู้ช่วยเลขานุการ
           
 จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรท างการแพทย์ องกระทรวงสาธารณสุข เพื่อดำเนินการการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้โรงพยาบาลมีบุคลากรที่เหมาะสม  ทั้งนี้จะทำให้ประชาชนได้รับการดูแลรักษาจากโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขที ่มีคุณภาพมาตรฐานที่ดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน และช่วยป้องกันการฟ้องร้องแพทย์และโรงพยาบาลอีกด้วย
 
     ขอแสดงความนับถือ
 
 
      (นายแพทย์สมศักดิ์  โล่ห์เลขา)
      นายกแพทยสภา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 11/07/08 เวลา 10:36:07

 
 
 
ที่ พส.014/
 
         7     พฤศจิกายน  2551
 
เรื่อง  ขออนุญาตเข้าพบ
   
เรียน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 
  เนื่องจากแพทยสภาได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ขอ งกระทรวงสาธารณสุข ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ไปรับบริการทางการแพทย์ที่ต้ องรอนาน และเสี่ยงต่อความผิดพลาดจากการรักษาพยาบาล เนื่องจากแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์มีน้อย ต้องรีบเร่งตรวจรักษาประชาชน เสี่ยงต่อความผิดพลาดก่อให้เกิดผลเสียแก่สุขภาพของประชาชน และแพทย์เสียงต่อการถูกฟ้องร้อง
  ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในขณะนั้นคือ นายชวรัตน์  ชาญวีรกุล ได้อนุญาตให้แพทยสภาจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างองค์กรวิชาชีพทางการแพทย์แ ละหน่วยงานภาครัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการตามที่แพทยสภาเสนอ
  คณะกรรมการแพทยสภา จึงขออนุญาตเข้าพบท่านรัฐมนตรีว่ากระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์  ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน และช่วยลดปัญหาการฟ้องร้องแพทย์อีกด้วย  
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณากำหนด วันเวลาให้คณะกรรมการแพทยสภา เข้าพบเพื่อ
ปรึกษาหารือในเรื่องดังกล่าวด้วย  จะเป็นพระคุณยิ่ง
 
     ขอแสดงความนับถือ
 
 
      (นายแพทย์สมศักดิ์  โล่ห์เลขา)
      นายกแพทยสภา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จากคุณ: F_r_e_e_m_a_n โพสเมื่อวันที่: 11/08/08 เวลา 01:36:10
สู้ๆๆๆ ครับ
 Grin Grin Grin Grin Grin
จากคุณ: destigma โพสเมื่อวันที่: 11/12/08 เวลา 00:06:06
Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley
จากคุณ: max ya โพสเมื่อวันที่: 11/15/08 เวลา 21:38:42
 ฝันไป...หรือเปล่า...ฉันไม่ได้ฝัน..ไปใช่ไหม...
  ผมไม่เคยเชื่อปากนักการเมืองครับ โดยเฉพาะ ปาก รัดถะบานนี้ Angry
จากคุณ: Sen._MD โพสเมื่อวันที่: 11/24/08 เวลา 23:13:40
ความจริงแล้ว ค่าตอบแทนของแพทย์ ไม่ควรเรียกเงินเดือน ในส่วนของแพทย์ที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ควรเรียกเป็น ค่าประกอบวิชาชีพ
แพทย์ที่ได้รับค่าประกอบวิชาชีพทุกคน  
ควรเสียภาษี ๔๐(๖) ไม่ว่าจะอยู่โรงพยาบาลใดในประเทศ
เพราะงานที่ทำคือ การประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งเป็นวิชาชีพอิสสระ ตามประมวลรัษฎากร
ขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ศึกษารายละเอียด ด้วยครับ
จากคุณ: PEACE โพสเมื่อวันที่: 11/26/08 เวลา 09:29:59
อีกไม่นานเกินรอ ให้อยู่รพช.นานๆละกันครับ Wink
จากคุณ: fruity_doc โพสเมื่อวันที่: 12/02/08 เวลา 17:57:19
เป็น intern 2 อยู่ รพช ค่ะ คิดว่าคุณภาพชีวิตดีกว่าตอนอยู่รพ.ศูนย์มาก เพราะอย่างน้อยก็มีวันหยุดเสาร์อาทิตย์ไม่ต้องไป round ward ทุกวัน   แต่ก็เหนื่อยมาก ๆ เหมือนกันเพราะต้องตรวจวันละ 100-150 case ต่อวัน ขณะจะเข้าห้องนำยังไม่มีเวลาไปเวลาไปเลย เคยคิดเหมือนกันว่าที่เราทำอยู่นี้จะทนได้อีกนานเท่าไหร่ มีความคิดอยากลาออกหลายครั้ง แต่ก็ทนอยู่ต่อไปเพื่อเตรียมไปเรียนต่อ ค่าตอบแทนได้ประมาณ 40000-50000 บาทต่อเดือนตามปริมาณเวร  แต่เวลาว่างมีแค่ 10 วัน ต่อเดือน  อยู่เวรต้องตรวจเองทุก case ถึงเที่ยงคืน ตอนกลางคืนก็ถูกปลุกเกือบทุกชั่วโมง ตอนเช้าก็ต้องมาทำงานตามปกติ ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปร่างกายเราจะป่วยเองซะก่อน คิดว่าถ้าไม่ได้เรียนต่อคงลาออกแน่ค่ะ เรื่องเงินเป็นเรื่องรอง เรื่องคุณภาพชีวิตเป็นเรื่องสำคัญกว่าค่ะ
จากคุณ: DRG โพสเมื่อวันที่: 12/07/08 เวลา 21:15:03
ขอขอบพระคุณ และเอาใจช่วยพี่ๆและอาจารย์ทุกท่าน  
ที่พยายามทำเพื่อวงการแทพย์และน้องๆแพทย์อย่างพวกเราทุกคนนะครับ Smiley
จากคุณ: DRG โพสเมื่อวันที่: 12/07/08 เวลา 21:26:05
on 11/24/08 เวลา 23:13:40, Sen._MD wrote:
ความจริงแล้ว ค่าตอบแทนของแพทย์ ไม่ควรเรียกเงินเดือน ในส่วนของแพทย์ที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ควรเรียกเป็น ค่าประกอบวิชาชีพ
แพทย์ที่ได้รับค่าประกอบวิชาชีพทุกคน  
ควรเสียภาษี ๔๐(๖) ไม่ว่าจะอยู่โรงพยาบาลใดในประเทศ
เพราะงานที่ทำคือ การประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งเป็นวิชาชีพอิสสระ ตามประมวลรัษฎากร
ขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ศึกษารายละเอียด ด้วยครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
หรืออย่างน้อยที่สุดในรพ.รัฐ OT ก็ไม่น่าจะใช่รายได้ประจำนะครับ
จากคุณ: PEACE โพสเมื่อวันที่: 12/09/08 เวลา 21:10:50
Wink Shocked Wink Kiss
จากคุณ: PEACE โพสเมื่อวันที่: 12/09/08 เวลา 21:12:52
Wink Wink Wink Wink
จากคุณ: kekokoong โพสเมื่อวันที่: 12/10/08 เวลา 00:26:41
ดีใจด้วยครับ
อยากให้ขึ้นเงินเดือนแพทย์ประจำบ้านด้วย
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 12/10/08 เวลา 10:21:13
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1228878484
 
ก.พ.ดีเดย์ยกเลิกระบบ"ซี" เริ่มใช้11ธ.ค.
 
เล ขาธิการก.พ.ระบุยกเลิกระบบ"ซี" 11ธ.ค.นี้ หลังจัดทำบัญชีจัดตำแหน่ง ขรก.พลเรือนสามัญแบบใหม่เสร็จ มั่นใจทิศทางบริหารทรัพยากรบุคคลตาม พ.ร.บ.ใหม่ จะพัฒนาประเทศให้เดินหน้า
 
กรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : นายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) กล่าวว่า จากการประกาศใช้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2551 และบทเฉพาะกาลกำหนดให้แก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภาย  ใน 1 ปี  
 
โดย เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2551 สำนักงาน ก.พ.ได้แจ้งเวียนหนังสือเวียนเรื่องแนวทางปฏิบัติการกำหนดอัตรากำลังและแต่ง  ตั้งข้าราชการในระหว่าง การปรับใช้ พ.ร.บ.ใหม่ เพื่อให้ข้าราชการคงกรอบอัตรากำลังเดิมไว้และชะลอการบรรจุแต่งตั้ง เมื่อตำแหน่งหยุด การเคลื่อนไหวในช่วงระยะเวลาหนึ่งจึงสามารถจัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ  เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่อย่างถูกต้องและเหมาะสม ให้แล้วเสร็จในวันที่ 11 ธ.ค.นี้ เพื่อให้การใช้บังคับตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ในทุกลักษณะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์
 
ขณะนี้การจัดทำบัญชีจัดตำแหน่งข้า ราชการพลเรือนสามัญ ได้เสร็จแล้ว โดยแบ่งข้าราชการพลเรือนสามัญออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย บริหาร อำนวยการ วิชาการ และทั่วไป ซึ่งขั้นตอนจากนี้ไปทุกส่วนราชการจะต้องดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน สามัญให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
 
"วันที่ 11 ธ.ค.นี้ เป็นวันที่ ก.พ.จะประกาศบัญชีจัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามกฎหมายใหม่เพื่อส่งให้ส่วนราชการ หรือเป็นวันที่จะประกาศว่าข้าราชการพลเรือนสามัญที่เดิมเคยอยู่ในตำแหน่งซี 1 ซี 2 ไปจนถึงซี 11 จะไปอยู่ในตำแหน่งประเภทใด ระดับใด ซึ่งมาวันนี้ถือได้ว่าพร้อมแล้ว หลังจากสำนักงาน ก.พ.และส่วนราชการได้ช่วยกันดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา หรือหลังจากที่ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มีผลใช้บังคับ และบทเฉพาะกาลกำหนดให้แก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี โดยหลังจากนี้ส่วนราชการจะไปดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการให้แล้วเสร็จ ขณะที่สำนักงาน ก.พ.ก็จะเร่งออกกฎหมายลำดับรองให้เสร็จทันตามกำหนด"
 
นายปรีชา กล่าวอีกว่า สำหรับ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ร่างขึ้นโดยยึดหลักการจัดระเบียบข้าราชการพลเรือน ต้องเป็นไปเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในภารกิจภาครัฐ มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า เป็นไปตามหลักคุณธรรม โดยข้าราชการต้องเป็นผู้ที่มีคุณภาพ คุณธรรม ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขณะที่ การจัดคนลงตำแหน่งนั้น ยึดหลักคือให้ข้าราชการทุกคนอยู่ในสถานะเดิม และคงในเรื่องสิทธิประโยชน์ ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลที่เกิดขึ้นนี้เอง มั่นใจว่าจะส่งผลดีต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ รวมทั้ง การบริการประชาชน จากการบริหารงานภาครัฐที่มีความคล่องตัวขึ้น  
 
"การประกาศใช้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งล่าสุด ก.พ.ได้กำหนดให้ การจัดคนลงตำแหน่งต้องเสร็จสิ้นในวันที่ 11 ธ.ค.นี้ จะทำให้การบริหารงานภาครัฐมีความคล่องตัวขึ้น นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงในเรื่องค่าตอบแทน จากเดิมที่มีเพียงบัญชีเดียว แต่ต่อไป การแบ่งข้าราชการเป็น 4 ประเภท จะทำให้การปรับเปลี่ยนบัญชีเงินเดือนทำได้สะดวกขึ้น และค่าตอบแทนตามบัญชีก็จะใกล้เคียงกับราคาตลาดที่ปัจจุบันมีการแข่งขันกัน มากขึ้น"
 
นายปรีชา กล่าวต่อว่า ในการประชุมระหว่างส่วนราชการกับสำนักงาน ก.พ.ประจำปี 2551 เมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา ทางผู้บริหารสำนักงาน ก.พ. ได้มีการทำความเข้าใจถึงทิศทางและแนวทางปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ในเรื่องการจัดคนลง การแต่งตั้ง และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการพลเรือนสามัญ ในระหว่างและหลังการปรับใช้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ ตลอดจนการประเมินผลการปฏิบัติงานและการเลื่อนเงินเดือน ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และผู้รับผิดชอบงานบริหารทรัพยากรบุคคลของ ส่วนราชการเข้าร่วมถึงกว่า 1,200 คน
จากคุณ: blitzs โพสเมื่อวันที่: 12/12/08 เวลา 14:42:53
ควรเปลี่ยนเงินได้เป็น  40(6) ลดภาษีลงทันทีปีละหลายหมื่น ไม่ต้องเอาตังมาเพิ่ม  ก็มีเงินในกระเป๋าเพิ่มครับ
จากคุณ: kunseub โพสเมื่อวันที่: 12/15/08 เวลา 22:59:47
เนื่องด้วยผมเป็นแพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อคนหนึ่งที่ทำงานที่โรงพยาบาลชุมช น ที่ต้องมีภาระต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดผู้ป่วยนอกเวลาเป็นประจำ แต่หากเทียบค่าตอบแทนที่ได้กับความเสี่ยงและที่ทำมันไม่ไปด้วยกัน ยิ่งหากเที่ยบค่าตอบแทนที่ได้กับเจ้าหน้าที่พยาบาลแล้วแตกต่างกันมาก ยกตัวอย่าง ผู้ป่วย Open Phalangeal Fracture ที่แพทย์ผู้ผ่าตัดจะได้ค่าตอบแทน 200 บาท แต่ทางพยาบาลจะได้ค่าตอบแทน 500 บาท (กำลังจะเพิ่มเป็น 800 แล้ว) ผมจึงอยากทราบว่าค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาราชการ จะมีการเพิ่มไหมครับหรือจะใช้อัตราเดิมครับ Huh Huh Huh Huh Huh Huh Huh Angry Angry
จากคุณ: stickyrice โพสเมื่อวันที่: 12/21/08 เวลา 11:58:25
แต่เท่าที่ได้รู้มา พตส ได้เท่าเดิมคะ
จากคุณ: stickyrice โพสเมื่อวันที่: 12/21/08 เวลา 12:01:15
on 12/15/08 เวลา 22:59:47, kunseub wrote:
เนื่องด้วยผมเป็นแพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อคนหนึ่งที่ทำงานที่โรงพ ยาบาลชุมชน ที่ต้องมีภาระต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดผู้ป่วยนอกเวลาเป็นประจำ แต่หากเทียบค่าตอบแทนที่ได้กับความเสี่ยงและที่ทำมันไม่ไปด้วยกัน ยิ่งหากเที่ยบค่าตอบแทนที่ได้กับเจ้าหน้าที่พยาบาลแล้วแตกต่างกันมาก ยกตัวอย่าง ผู้ป่วย Open Phalangeal Fracture ที่แพทย์ผู้ผ่าตัดจะได้ค่าตอบแทน 200 บาท แต่ทางพยาบาลจะได้ค่าตอบแทน 500 บาท (กำลังจะเพิ่มเป็น 800 แล้ว) ผมจึงอยากทราบว่าค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาราชการ จะมีการเพิ่มไหมครับหรือจะใช้อัตราเดิมครับ Huh Huh Huh Huh Huh Huh Huh Angry Angry

 
อยู่จังหวัดใหนคะ
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 01/08/09 เวลา 14:20:41
ข้อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์
เสนอโดยคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราช การของแพทยสภา
 
สืบเนื่องจากการประชุมของคณะอนุกรรมการฯเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2552 ได้ผลการประชุมดังนี้
1.คณะอนุกรรมการฯได้สรุปว่า การเสนอขอปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ ที่คณะกรรมการแพทยสภา ได้ยื่นต่อไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหลายเรื่องยังไม่ได้รับการแก ้ไขให้สำเร็จเป็นรูปธรรมตามเสนอ
2.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งให้เพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแก ่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้น ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้แพทย์อยู่ทำงานในโรงพยาบาลชุมชนเป็นเวลานาน  
3.คณะอนุกรรมการฯเห็นว่า การเพิ่มเงินเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับแพทย์โรงพยาบาลชุมชน เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่กระทรวงได้เห็นความเสียสละและภาระงานอันหนักอึ้งของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมช น ซึ่งจะทำให้แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนมีขวัญกำลังใจที่จะทำงานรับภาระอันหนักอึ้ งและมากมายต่อไปได้ อันจะทำให้ประชาชนที่ห่างไกลในชนบทได้รับการดูแลรักษาสุขภาพดีขึ้น ไม่ขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป
4.คณะอนุกรรมการเห็นว่า แพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลทั่วไป ก็ต้องรับภาระงานหนักและมากมายในการดูแลรักษาประชาชนเช่นเดียวกับแพทย์ในโรง พยาบาลชุมชนเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจำนวนแพทย์อาจจะมีมากกว่าแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน แต่ระดับการปฏิบัติงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์น ั้น เป็นการปฏิบัติงานที่ละเอียด ลึกซึ้ง ใช้เวลามาก(time consuming)และต้องใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง
( specialized) และประสบการณ์เฉพาะตัว (Experience) รวมทั้งต้องมีทักษะ (skill) ในการลงมือทำการรักษาเช่นผ่าตัด ช่วยกู้ชีวิต และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วยหนัก รวมทั้งต้องรักษาผู้ป่วยที่แพทย์โรงพยาบาลชุมชนส่งมาเพื่อรักษาต่อเป็นจำนวน มาก  ทำให้ภาระงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ก็ไม่ยิ่งห ย่อนไปกว่าแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนแต่อย่างใด
 จึงขอเสนอให้เพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแก่แพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบา ลศูนย์การแพทย์เหมือแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญลาออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชนที่มีร ายได้ดีกว่า
โดยการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแพทย์โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์การแพ ทย์สำหรับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้วุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตร  
ปฏิบัติงาน 5 ปีแรก ได้รับเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเดือนละ 20.000 บาท
ปฏิบัติงาน ปีที่6-10 ได้รับเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเดือนละ 30,000 บาท
ปฏิบัติงานปีที่ 11-20 ได้รับเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเดือนละ 40,000 บาท
ปฏิบัติงาน 20 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเดือนละ 50.000 บาท
5. คณะอนุกรรมการเห็นว่า แพทย์เป็นบุคลากรที่ต้องรับผิดชอบดูแลผู้ป่วยของตนทั้งในเวลาและนอกเวลาราชก าร ทั้งที่ต้องทำงานตามตารางเวรที่โรงพยาบาลกำหนด และยังต้องไปตรวจเยี่ยมผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลทุกวัน แม้มิใช่วันเวลาราชการ หรือต้องไปดูแลผู้ป่วยที่ตนผ่าตัดไว้ทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการ เนื่องจากปัญหาความเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่รอไม่ได้  และภาระงานมีมากและเป็นงานฉุกเฉินที่รอเก็บไว้ทำทีหลังไม่ได้
 จึงเห็นควรเพิ่มอัตราค่าตอบแทนการการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของแพทย์เพิ่มข ึ้นเป็น 3 เท่าของอัตราเดิมทีกระทรวงสาธารณสุขกำหนดมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่ได้เพิ่มมาเกือบ 10 ปี ในขณะที่ภาระงานมากขึ้นหลายเท่าตัว(ประชาชนไปใช้บริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ ป่วยในเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าตัว เนื่องจากใช้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพ) โดยอ้างอิงจากอัตราค่าตอบแทนที่ฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครเพิ่มให้แก่แพทย์ สังกัดหน่วยงานของกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550 (ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่บุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 ตามที่แพทยสภาเคยเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 2ตุลาคม 2550(ตามหนังสือที่พส.014/584) และ วันที่ 7 กรกฎาคม 2551 (นส.ที่พส.014/572
550)  
6.ตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2551 สำนักงานข้าราชการพลเรือน(กพ.)ได้ย้ำเสมอว่า หลักการในการกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการนั้น ให้พิจารณาจากคุณภาพของงาน และราคาเทียบได้กับค่าตอบแทนในภาคเอกชน จึงขอเสนอการกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนแพทย์ใหม่ โดยยึดหลักการของกพ.ตามที่แพทยสภาเคยเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 7 กรกฎาคม 2551   (ตามหนังสือที่พส.014/572)
7.ขอให้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขช่วยจัดสรรงบประมาณเร่งด่วนในการ จ่ายเงินค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อป้องกันปัญหาของโรงพยาบาลไม่มีเงินจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาร าชการของบุคลากรทางการแพทย์ได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ เนื่องจากขาดเงินบำรุงโรงพยาบาล(ตามข้อกำหนดเดิม)
 
สรุปความเห็นของคณะอนุกรรมการฯโดย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานคณะอนุกรรมการฯ
8 มกราคม 2552
 
 
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 01/08/09 เวลา 14:29:00
ได้ไปยื่นข้อเสนอต่อรมว.สธ.เมื่อเช้านี้ และท่านรมว.ได้กล่าวว่า จะต้องพิจารณาร่วมกันทุกวิชาชีพข้าราชการกระทรวงสธ. ตลอดไปจนถึงพยาบาล( ที่กำลังจะมาร้องเรียน) และเจ้าหน้าที่อื่นๆด้วย
 
ก็รอดูกันต่อไป ว่าจะมีทางออกอย่างไร ได้เรียนย้ำแก่ท่านรมว.ว่า กระทรวงสธ.ควรตั้งงบประมาณมาไว้เป็นค่าตอบแทนบุคลากรเพิ่มขึ้น เหมือนกระทรวงศึกษาธิการที่ตั้งงบประมาณมาจ่ายเงินแก่ครูที่ต้องสอนล่วงเวลา  (มากกว่าจำนวนชั่วโมงที่กำหนดว่าครูจะสอนเพียงสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง ถ้าต้องสอนมากกว่านี้ ต้องได้รับเงินค่าล่วงเวลา ชั่วโมงละ 400 บาท)
จากคุณ: BOZZ_GUZA โพสเมื่อวันที่: 01/08/09 เวลา 15:36:05
สู้ๆนะครับ
 
มาให้กำลังใจแพทยสภา  
 
คงจะต้องเหนื่อยอีกหลายยก
 
และขอขอบคุณอีกครั้งครับ
 
------------------------------------------------------------------
 
ครูสอนเกิน 20 ชั่วโมง ได้เป็นค่าล่วงเวลา 400 /ชั่วโมง  Shocked อู้ว์...........
 
งานหนักนะนั่น เสี่ยงด้วย Grin
จากคุณ: Innominate โพสเมื่อวันที่: 01/08/09 เวลา 21:39:13
สอนเกิน 20 ชม.ต่อสัปดาห์ แสดงว่า สอนเกิน วันละ 4 ชม.แล้วนะครับ ไม่รวมงานเตรียมการสอน การตรวจงานอีก  
 
ผมว่าอาชีพครูควรจะเพิ่มรายได้มากกว่านี้ด้วยซ้ำไป เพื่อดึงดูดให้เด็กเก่งๆไปเป้นครู ปัจจุบันคนเก่งๆเป็นครูกันน้อยครับ  Undecided
จากคุณ: amyloidosis โพสเมื่อวันที่: 01/08/09 เวลา 22:05:43
ขอคุณอาจารย์ครับ ผมก็กำลังติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด หวังว่าคงมีข่าวดี เพื่อขวัญและกำลังใจของเรา
จากคุณ: zczc โพสเมื่อวันที่: 02/06/09 เวลา 18:55:12
อาจารย์เป็นนายกแพทยสภาอีกสมัย  ช่วยทำเรื่องนี้ต่อให้เป็นจริง ด้วยครับ ขอบคุณครับ
จากคุณ: *-*_banana_*-* โพสเมื่อวันที่: 02/10/09 เวลา 10:54:51
ของเรา ยังไงก็เท่าเดิม
จากคุณ: Medicine_Story โพสเมื่อวันที่: 02/17/09 เวลา 00:21:52
ดีใจที่ได้เงินเพิ่ม
 
แต่มันไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุเลยซักนิด
จากคุณ: ^.^ Eagle คุง ^.^ โพสเมื่อวันที่: 03/01/09 เวลา 14:24:56
Quote:
จำนวนชั่วโมงที่กำหนดว่าครูจะสอนเพียงสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง ถ้าต้องสอนมากกว่านี้ ต้องได้รับเงินค่าล่วงเวลา ชั่วโมงละ 400 บาท)

 
 Roll Eyes ของหมอ 16 ชม อาจจะ ชม ละ 100+ กว่า ๆ  Grin Grin Grin
จากคุณ: suong119 โพสเมื่อวันที่: 04/06/09 เวลา 19:30:08
ขอบคุณคร้าบบบบ..บ
 
แต่ถ้าให้ดีลดงานก็โอเคนะครับ
จากคุณ: = MaximuS = โพสเมื่อวันที่: 04/12/09 เวลา 23:27:00
เพิ่มเหมือนม่ายเตมจาย  Angry
จากคุณ: nijungus โพสเมื่อวันที่: 04/20/09 เวลา 21:24:32
ขอให้สำเร็จด้วยเถอะค่ะ อย่าลืมว่าพวกเราก็เป็นประชาชนคนหนึ่งที่มี ครอบครัว ภาระค่าใช้จ่ายในบ้าน ดูแลครอบครัว ถ้ามีลูกก็ต้องเก็บไว้เลี้ยงลูก ไหนจะค่าอาหาร ค่าเล่าเรียน สารพัดค่าใช้จ่าย บางคนอาจต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ในขณะที่ก็ทำงานหนักอยู่แต่เงินได้นิดเดียว มันจะไปมีแรงจูงใจให้อยู่ในภาครัฐได้นานไหมล่ะ จริงมะคะ  
 
ไม่ได้เห็นแก่เงินนะ แต่มันไม่พอใช้จ่ายหรอก  Sad
จากคุณ: gpatama โพสเมื่อวันที่: 04/26/09 เวลา 14:44:23
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ แพทยสภาที่พยายามรักษาประโยชน์ให้กับพวกเราคะ แต่ขอแสดงความเห็นสักนิดว่า
1. การจ่ายตาม work load อาจดูเป็นธรรมกับแพทย์ที่ทำงานหนัก แต่นี่คือ แนวทางที่สาธารณสุขต้องการหรือเปล่า การที่ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลมาก มองได้สองแง่ คือผู้ป่วยเข้าถึงมากขึ้น แต่ก็อาจหมายถึง การดูแลสุขภาพตนเองที่ไม่ดี
    อีกอย่างการตีความ work load ไม่ใช่เพียงการรักษาคนไข้อย่างเดียว แพทย์บางท่าน มีภาระงานสอน งานประเมินคุณภาพ  ซึ่งก็สำคัญต่อระบบดูแลผู้ป่วยเช่นเดียวกัน
 
2. การเหมาจ่ายตามวุฒิ สาขาวิชา ย่อมมีข้อถกเถียงตามมา
สมมติว่า มีผู้สนใจเข้าสอบบอร์ดที่ได้รับ พ.ต.ส. สูงๆ แต่หลังจบ
ไม่ได้ทำในสาขานั้น จะคิดอย่างไร  
 
เห็นด้วยว่า ปัญหา อยู่ที่การใช้แพทย์ อย่างไม่คุ้มค่า
 ( Ineffective) งานทีใช้แรงกาย มากกว่าความรู้ความสามารถ
 ซึ่งการบริหารระบบแบบกึ่งธุรกิจ..ทำอย่างไร ให้เหนื่อยน้อยลงได้ผลมากขึ้น  ใช้ศักยภาพบุคลากรด้านอื่นๆ  ใช้ระบบบริหารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ  และรัฐจ่ายค่าตอบแทนตามผลลัพธ์สุขภาพที่ต้องการ ( Quality performance) ไม่ใช่เพียงจำนวนหัวผู้ป่วยอย่างที่ผ่านมา อาจเป็นทางแก้หนึ่ง
  อยากให้มององก์รวมถึง .คุณภาพชีวิตของแพทย์..คะ.
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 04/28/09 เวลา 22:04:50
กลุ่มหมอยื่นข้อเรียกร้องจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแก่แพทย์
 
http://www.giggog.com/social/cat2/news12579/
 
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ที่ปรึกษาสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป เปิดเผยภายหลังกลุ่มแพทย์ ประมาณ 20 คนจากโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลทั่วไป (โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก Hospital and Medical Center and General Hospital) ในนามของผู้แทนแพทย์จากสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป นำโดยนพ.เฉลิมพงษ์ สุคนธผล ประธานสมาพันธ์ฯ ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พิจารณาจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแก่แพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์ฯและโรงพยาบาล ทั่วไป รวมทั้งพิจารณาปรับเพิ่มค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานตรวจรักษาผู้ป่วยนอกเวลา ราชการของแพทย์ให้เหมาะสมกับภาระและคุณค่าของงานและความรับผิดชอบต่อชีวิต และสุขภาพของประชาชน
 
พญ.เชิดชู กล่าวว่า เหตุผลในการเรียกร้องครั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายให้แก่โรงพาลชุมชนใน ระดับสูงสุดถึงเดือนละ 50,000 บาท ในขณะที่แพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์ฯและโรงพยาบาลทั่วไปไม่ได้รับค่าตอบแทนในแบบ เดียวกันนี้ ทั้งๆที่แพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์ฯและโรงพยาบาลทั่วไปต้องรับภาระการรักษาโรค ที่ยุ่งยากและซับซ้อน รวมทั้งต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัดทั้งหมดที่ถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชน (เนื่องจากโรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่ได้งดการผ่าตัดเนื่องจากแพทย์เกรงว่าจะถูก  ฟ้องและถูกตัดสินจำคุกเหมือนที่เคยเกิดขึ้นแล้วในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง)
 
ฉะนั้นแพทย์โรงพยาบาลศูนย์ฯและโรงพยาบาลทั่วไปจึงมีภาระงานมากขึ้น แต่ไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นเหมือนในโรงพยาบาลชุมชน กลุ่มแพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปจึงได้รวมตัวกันเป็นสมาพันธ์ แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ฯและโรงพยาบาลทั่วไป และได้รวบรวมลายเซ็น ได้ 3,000 คน เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้รมว.สธ.ดำเนินการให้มีการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเหมา จ่ายและเมค่าตอบแทนการปฏิบัติงานตรวจรักษาผู้ป่วยนอกเวลาราชการของแพทย์ใน โรงพยาบาลศูนย์ฯและโรงพยาบาลทั่วไปให้เหมาะสมกับภาระและคุณค่าของงาน
 
นพ.เฉลิมพงษ์ สุคนธผล ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ฯและโรงพยาบาลทั่วไป ได้กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ยอมรับที่จะตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนค่าตอบแทนแก่บุคลากร ทุกสาขาวิชาชีพภายในระยะเวลา1-2 เดือน โดยขอให้มีผู้แทนของทุกสาขาวิชาชีพร่วมเป็นคณะกรรมการร่วมกับผู้บริหาร กระทรวงสาธารณสุข เพื่อพิจารณาดำเนินการตามที่ทางสมาพันธ์แพทย์ฯเรียกร้องประธานสมาพันธ์กล่าว  อีกว่า ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น ทางสมาพันธ์คงต้องพิจารณาดำเนินการเคลื่อนไหววิธีอื่นต่อไป
 
 
 
เนื้อหาโดย : มติชน
จากคุณ: Prince Andaman โพสเมื่อวันที่: 05/04/09 เวลา 18:58:41
ขอหยุดงานดีก่า ได้เงิน  
 
แต่ยังดีกว่าทำไป  ไม่ได้ไร
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 05/05/09 เวลา 10:35:19
       สมาพันธ์ชมรมของ รพศ. / รพท.  
 
      24   เม.ย. 2552  
 
เรื่อง    ขอเชิญเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1 ของสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. แห่งประเทศไทย
 
เรียน    ผู้อำนวยการโรงพยาบาล/ประธานองค์กรแพทย์ และแพทย์ผู้สนใจ ร.พ................................
 
สิ่งที่แนบมาด้วย   แบบสอบถาม และกำหนดการประชุม  
 
  เนื่องจากปัญหาการอนุมัติเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแก่บุคลากรสาธารณสุขเฉพาะโรงพย าบาลชุมชนเพียงอย่างเดียว เมื่อ ธ.ค. 2551   ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์ /โรงพยาบาลทั่วไป ทั้งที่ต้องรับภาระงานที่หนัก จากการรับผู้ป่วยที่ปัญหาซับซ้อนและวิกฤต จากโรงพยาบาลชุมชนและตามมาด้วยความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องมากขึ้น  ดังที่เห็นได้จากข่าวหรือสื่อสารมวลชนอยู่เสมอ  รวมทั้งผลพวงจากนโยบายหลักประกันสุขภาพฯ   จึงมีแพทย์จาก รพศ./รพท.ทั่วประเทศรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. แห่งประเทศไทย เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมดังกล่าวและได้ประชุมเป็นครั้งแรกเมื่อ 14 ก.พ. 2552   และยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้พิจารณาเบี้ยเลี้ย งเหมาจ่าย แก่แพทย์ รพศ./รพท.เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2552 ซึ่งทางรัฐมนตรีได้รับข้อเสนอและจะแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนเบี้ย เลี้ยงเหมาจ่ายในภาพรวมทั้ง  13  วิชาชีพ โดยวิชาชีพแพทย์เสนอตัวแทนจากสมาพันธ์ 2 ท่านคือ นพ.สัมพันธ์  คมฤทธิ์ (ประธานองค์กรแพทย์ ร.พ.สมุทรปราการ,เลขาธิการแพทยสภา)และนพ.เฉลิมพงษ์ สุคนธผล (รักษาการประธานสมาพันธ์แพทย์ฯ) โดยทั้งนี้จากการติดตามการดำเนินงานดังกล่าว  ยังไม่มีความคืบหน้า
 
  จึงเห็นควรที่สมาชิกสมาพันธ์แพทย์ฯ  จะร่วมประชุมกันอีกครั้งซึ่งเป็นการประชุมใหญ่เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการดำเ นินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่เรียกร้องและร่วมกันเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรว งสาธารณสุข เพื่อเร่งรัดให้ ดำเนินการพิจารณาออกหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแก่แพทย์ รพศ./รพท.โดยเร็ว เพื่อขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน  ในโอกาสเดียวกันนี้เพื่อเสริมสร้างองค์กรสมาพันธ์แพทย์ฯ ให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ  จึงมีการประชุมเพื่อจัดตั้งกรรมการบริหารและสร้างเครือข่ายขององค์กรให้เข้ม แข็งเพื่อเป็นตัวแทนในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่กระทบต่อแพทย์ รพศ./รพท.ต่อไปในอนาคต
 
  สมาพันธ์แพทย์ฯ จึงขอความร่วมมือและความอนุเคราะห์พิจารณาให้ตัวแทนแพทย์หรือแพทย์ผู้สนใจ ร.พ.ของท่าน เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1 ในวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2552 เวลา  8.00 -16.00 น.  ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี ดังกำหนดการที่ได้แนบมาด้วย  โดยมีค่าลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมท่านละ 200 บาท
 
  จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
 
 ขอแสดงความนับถือ  
 
           
 
         (นพ.เฉลิมพงษ์ สุคนธผล)
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 05/05/09 เวลา 10:36:48
หมายเหตุ   ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถาม เพื่อเป็นข้อมูลในการนำเสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
 
    วิธีการแจ้งการเข้าร่วมประชุมมีดังนี้
 
      1.  แจ้งความจำนงค์มาทาง E-mail Chalermpongs@hotmail.com หรือ ส่ง Fax. มาที่  074-334714
 
         2.  แจ้งความจำนงค์มาทางโทรศัพท์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นพ.เฉลิมพงษ์  สุคนธผล  081- 8988420 ,     นพ.เพิ่มบุญ  จิรยศบุญยศักดิ์  081-5401760  
 
 กำหนดการ
 
ประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1 ของสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท.แห่งประเทศไทย
 
วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2552 เวลา 8.00 - 16.00 น.
 
Your browser may not support display of this image.ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี
 
  เวลา              วิทยากร
 
8.00 - 8.30 น.     ลงทะเบียน
 
8.30 - 9.00 น.     ความเป็นมาของการเคลื่อนไหวเรียกร้องเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย พญ.พจนา   กองเงิน
 
        และวัตถุประสงค์การประชุมใหญ่         (ประธานเครือข่ายบุรีรัมย์และอีสานตอนใต้)
 
9.00 - 9.30 น.     ความคืบหน้าการดำเนินการฯ          นพ.เฉลิมพงษ์   สุคนธพล
 
   และแนวทางการเคลื่อนไหวเชิงรุก     (รักษาการประธานสมาพันธ์ฯ)                พญ.เชิดชู   อริยศรีวัฒนา
 
          (อดีตกรรมการแพทยสภา)
 
9.30 - 11.00 น.   มาตรการเชิงรุกในการต่อรองและจังหวะก้าวในการเคลื่อนไหว
 
     o ทบทวน – ยืนยันข้อเรียกร้องเดิมและข้อเสนอของแพทยสภา พญ.สุธัญญา   บรรจงภาค
 
           (ร.พ.นครปฐมอดีตกรรมการแพทยสภา)
 
     o กำหนดมาตรการเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพในการต่อรอง  นพ.ศิริชัย   ศิลปอาชา(รพ.วชิระภูเก็ต)
     o กำหนดจังหวะก้าวการเคลื่อนไหว    นพ.เพิ่มบุญ จิรยศบุญยศักดิ
 
               (รักษาการเลขานุการสมาพันธ์ฯ)  
 
11.00 - 12.00 น.  อภิปรายทั่วไป
 
12.00 - 13.00 น.  กฎหมายใหม่กับการให้บริการทางการแพทย์      นพ.สุรินทร์   ทองนา
 
        (รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน)        (ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
 
                     ฝ่ายกฎหมาย – กรรมการแพทยสภา)
 
13.00 - 13.30  การเสริมสร้างสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท.แห่งประเทศไทย นพ.สัมพันธ์    คมฤทธิ์
 
     ให้เข้มแข็ง         (เลขาธิการแพทยสภา  
 
                     ประธานชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์)
 
13.30 - 14.00 น. การจัดตั้งสมาพันธ์แพทย์ฯ    พญ.ประชุมพร  บูรณ์เจริญ
 
    นโยบายเป้าหมายกิจกรรม และการจัดตั้งเครือข่าย      (ร.พ.สุรินทร์)      พญ.พจนา   กองเงิน (ร.พ.บุรีรัมย์)14.00 - 15.00 น.  เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาพันธ์แพทย์ฯ นพ.โชติศักดิ์  เจนพาณิชย์
 
             (ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา,
 
                         กรรมการแพทยสภา)
 
            ทีมงานบุรีรัมย์ ดำเนินการ
 
                 
 
หมายเหตุ     พิธีกร พญ.สุธัญญา   บรรจงภาค
 
        นพ.โชติศักดิ์  เจนพาณิชย์
 
        รับประทานอาหารว่างเวลา 10.00 - 10.15 น. และ 14.30 - 14.45 น. เสิร์ฟในห้อง  
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 05/05/09 เวลา 10:37:56
แบบสอบถามเกี่ยวกับเงินค่าเวร
 
ขอความกรุณาท่านช่วยตอบแบบสอบถาม โดย   O  หน้าข้อที่ต้องการ
 
    หลัง มีการประกาศใช้หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนใหม่ของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ 5 ก.พ.2552 ทางสมาพันธ์
 
   แพทย์ฯ ต้องการสำรวจว่า ร.พ.ของท่านมีปัญหาในการจ่ายค่าตอบแทนหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลในการเคลื่อนไหวต่อไป  
 
   1. ร.พ...........................................จ......................... .......................
   2. เงินค่าเวร ER ได้ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่
 
   ก.ตามเกณฑ์(1,100 บาท/8 ชม.) ข.มากกว่าเกณฑ์(ระบุ).....................ค.น้อยกว่าเกณฑ์(ระบุ).......... ...........
 
   3. เงินค่าเวรใน     ได้ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่
 
 ก.ตามเกณฑ์(550บาท/8 ชม.) ข.มากกว่าเกณฑ์(ระบุ).....................ค.น้อยกว่าเกณฑ์(ระบุ).......... ...........
 
   4. เงินค่าเวรตรวจผู้ป่วยนอกเวลาราชการ ที่ OPD
 
 ก.ตามเกณฑ์       ข.มากกว่าเกณฑ์(ระบุ).................... ค.น้อยกว่าเกณฑ์(ระบุ)......................
 
   5. เงินค่าเวรชันสูตรศพ (ตามเกณฑ์ จ่าย 500 บาท ชันสูตรในโรงพยาบาล ,800 บาท ณ สถานที่เกิดเหตุ ไม่มีศพ ได้ 550 บาท/8 ชม.)
 
     ก.ตามเกณฑ์    ข.มากกว่าเกณฑ์(ระบุ)............... ค.น้อยกว่าเกณฑ์(ระบุ).................ง. ไม่มีศพได้ 550 บาท / ชม.
 
   6. เงินค่าตอบแทน ward round เสาร์ - อาทิตย์ วันหยุดราชการ
 
 ก.ได้รับ(ระบุ)........................ ข.ไม่ได้รับ           ค.กำลังดำเนินการ
 
   7. เงินค่าตอบแทนตามปริมาณงาน
 
 ก.ได้ตามเกณฑ์        ข.ได้น้อยกว่าเกณฑ์       ค.อื่นๆ(ระบุ)..................................
 
   8. แพทย์เพิ่มพูนทักษะ ได้ค่าตอบแทนเวรใน อย่างไร
 
 ก.เท่ากับ staff      ข.น้อยกว่า staff(ระบุ)........................ค.อื่นๆ(ระบุ)........................ ..........
 
   9. แพทย์เพิ่มพูนทักษะ ได้รับค่าตอบแทนตามปริมาณงานหรือไม่
 
 ก. ได้ตามเกณฑ์        ข.ได้น้อยกว่าเกณฑ์(ระบุ).................ค.ไม่ได้
 
  10. มาตรการต่อรองในการเรียกร้องค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ใน ร.พ. ท่านคาดว่าแพทย์ส่วนใหญ่ยอมรับ
 
 ก.ไม่มี ยอมตามกระทรวงสาธารณสุข
 
 ข.ประกาศหยุด OPD 1 วัน ตรวจเฉพาะ ER
 
 ค.ประกาศลาป่วยพร้อมกันทั้งประเทศ
 
 ง.ประกาศไม่ให้ความร่วมมือในนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข
 
 จ. เรื่องขอย้ายไปโรงพยาบาลพร้อมกันทั่วประเทศ
 
 ฉ.อื่นๆ(ระบุ)........................................................... .........................  
 
 หมายเหตุ***  แจ้งความจำนงค์( / )    ขอเข้าร่วมประชุม....................ไม่ร่วมประชุม......................
 
 ผู้เข้าร่วมประชุม  น.พ./พ.ญ.........................................เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ.... ................................
 
 หรือ E-mail.................................................................. ...............  
 
 กรุณาส่งคืนภายในวันที่  7 พ.ค. 2552 ไปยัง นพ.เฉลิมพงษ์ สุคนธผล โรงพยาบาลสงขลา  
 
 โทรสาร 074 -  334714  
 
     
 
     
 
 
 
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 05/05/09 เวลา 10:39:56
เรียนเพื่อนแพทย์ทุกท่าน
 
ดิฉันได้เรียนเชิญอาจารย์อนงค์ เพียรกิจกรรม และอาจารย์เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ (นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย) มาให้แง่คิดในการประชุมของพวกเราในวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 นี้ด้วย ในช่วงเช้าค่ะ  
 
เชิดชู
 
จากคุณ: syd7379 โพสเมื่อวันที่: 05/06/09 เวลา 23:04:46
Grin Kiss Tongue Huh Huh :::::หวังว่าคงเป็นความจริงนะครับ Shocked
จากคุณ: Xc111 โพสเมื่อวันที่: 06/14/09 เวลา 18:07:36
on 05/02/08 เวลา 21:37:29, cmu06 wrote:

                                30    เมษายน 2551  
                                
 
เรื่อง ขอส่งความเห็นเพื่อเสนอ อกพ. กระทรวงสาธารณสุขและสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
 
      กระทรวงสาธารณสุข  
 
เรียน นายกแพทยสภา  
 
อ้างถึง หนังสือจดหมายรายงานผลการประชุมถึงนายกแพทยสภาลงวันที่ 7 เม.ย. 2551  
 
            สิ่งที่ส่งมาด้วย  บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ(พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 )  
 
                     ตามหนังสือที่อ้างถึงนั้น คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการฯเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2551 แล้ว คณะอนุกรรมการฯได้พิจารณาข้อสรุปและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเงิน พ.ต.ส. และอัตราเงินเดือนของแพทย์ใหม่ดังนี้
 
               1. คณะอนุกรรมการฯพิจารณาเกี่ยวกับเงิน ( พ.ต.ส.) เดิม  ที่ประชุมมีความเห็น
 
เช่นเดิมคือ
 
                1.1 แพทย์ทั่วไป เพิ่มจาก 5,000 บาท/เดือน ขอเพิ่มเป็น 10,000 บาท/เดือน  
               1.2 แพทย์ผู้มีวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตร เพิ่มจาก 10,000 บาทเป็น 20,000 บาท/เดือน  
               1.3 แพทย์สาขาเฉพาะเดิม 9 สาขาที่ได้พ.ต.ส.เดือนละ 15.000 บาท( ได้แก่ พยาธิวิทยา
 
ทั่วไป พยาธิวิทยากายวิภาค พยาธิวิทยาคลินิก นิติเวชศาสตร์ จิตเวชศาสตร์ จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ประสาทศัลยศาสตร์ ศัลยศาสตร์ทรวงอก เวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา) ขอเพิ่มเป็นเดือนละ 25,000 บาท  
 
 
 
                    นอกจากนั้นกรมการแพทย์ได้เสนอแพทย์สาขาขาดแคลนอีก 8 สาขาให้ได้รับเงินพ.ต.ส.เหมือนกลุ่ม 3นี้ ได้แก่ กุมารเวชศาสตร์โรคเลือด รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ หรือรังสีรักษา เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เวชศาสตร์นิวเคลียร์ อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา อายุรศาสตร์โรคเลือด มะเร็งวิทยานรีเวช เวชศาสตร์ป้องกันแขนงอาชีวเวชศาสตร์  ที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้และเสนอให้เพิ่มอีก 1 สาขาคือ ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา เพื่อให้สนับสนุนให้งานมะเร็งวิทยาทำงานครบทีม  
                         2. ค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาราชการ คณะอนุกรรมการฯ มีความเห็นเดิมที่เคย
 
เสนอไปแล้วตามจดหมายของนายกแพทยสภาที่ พส.014/584 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2550 เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์มงคล ณ สงขลา ) โดยเสนอให้เพิ่มค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาราชการของแพทย์เป็น 3 - 4 เท่าจากอัตราในปัจจุบัน และขอให้จัดสรรงบประมาณประจำปีสำหรับจ่ายค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ โดยไม่ขึ้นกับสถานะเงินบำรุง เพิ่มค่าตอบแทนการทำหัตถการเป็น 2-3 เท่าของอัตราเดิม ให้จ่ายค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาราชการทุกประเภท เช่น การตรวจผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (นอกเวลาราชการ)  เพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายของรพช.เป็น 2 เท่าของอัตราเดิม เพิ่มค่าตอบแทนแพทย์เพิ่มพูนทักษะและแพทย์ประจำบ้านให้มากกว่าในปัจจุบัน ในอัตรา ที่เหมาะสมเพื่อให้ เหมาะสมกับค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อ และให้แพทย์ประจำบ้านที่มีต้นสังกัดได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประ จำปีในขณะฝึกอบรมด้วย  
   3. คณะอนุกรรมการฯ มีความเห็นว่า ในระยะยาว ควรแยกตำแหน่งข้าราชการแพทย์และบุคลากรการแพทย์อื่น ๆ ออกจาก กพ.  ซึ่งเคยมีผู้เสนอมานานแล้ว ทั้งนี้จะพยายามศึกษาถึงความเป็นไปได้ เช่น ข้าราชการครู อัยการ  ผู้พิพากษา ตำรวจ ฯลฯ เพื่อจะได้ช่วยให้บุคลากรแพทย์และบุคลากรอื่น ๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ได้รับการพิจารณากำหนดตำแหน่งและเงินเดือนที่เหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกันในภาคเอกชน ทั้งนี้เพื่อเป็นแรงจูงใจไม่ให้เกิดสมองไหลอย่างต่อเนื่อง
 
               4. จากข้อมูลของสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เกี่ยวกับเงินเดือนของแพทย์ที่ปฏิบัติงาน
 
ในภาคเอกชน ได้รับเงินเดือนต่ำสุดเดือนละ ๆ 60,000 บาท สูงสุดเดือนละ 400,000 บาท
 
               5. คณะอนุกรรมการฯ เห็นควรให้แพทยสภาทำหนังสือถึง อกพ. กระทรวง
 
สาธารณสุข เพื่อปรึกษาหารือเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดอัตราเงินเดือนของตำแหน่งแพทย์ตามร ่างพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดยขอให้มีหลักการพิจารณาเงินเดือนแพทย์ตามค่าของภาระงานและอัตราตลาดดังนี้  
 
            5.1  แพทย์จบใหม่ เห็นควรให้มีตำแหน่งอยู่ในแท่งของชำนาญการ โดยเริ่มเงินเดือนขึ้นต้นไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท
 
                  5.2 แพทย์ที่จบเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือแพทย์ที่ปฏิบัติงานนานเกินกว่า  5 ปี  ควรปรับตำแหน่งมาที่ชำนาญการพิเศษ เงินเดือนขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท  
 
            5.3  แพทย์ที่เรียนจบเฉพาะทาง(สาขาต่อยอด) ให้อยู่ในตำแหน่งผู้ชำนาญการพิเศษโดย
 
เงินเดือนขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท
 
            5.4  การปรับเงินเดือนจากผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้ขึ้นอยู่กับระยะเวลา ผลงานประสบการณ์และประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน  
 
            จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง  
 
                                    ขอแสดงความนับถือ  
 
 
                                       (แพทย์หญิงเชิดชู อริยศรีวัฒนา )
 
                        ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือน
 
                                          และค่าตอบแทนแพทย์  
                    
                    
                    
 
สำเนาเรียน   1. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
 
           2 . ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
 
           3.  นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมา
 

 
ไม่ทราบว่าเรื่องนี้ ไปถึงไหนแล้วอะครับ
 
แล้ว ...
สาขาขาดแคลน 8 สาขา ได้แก่ กุมารเวชศาสตร์โรคเลือด รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ หรือรังสีรักษา เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เวชศาสตร์นิวเคลียร์ อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา อายุรศาสตร์โรคเลือด มะเร็งวิทยานรีเวช เวชศาสตร์ป้องกันแขนงอาชีวเวชศาสตร์  ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา
 
ตอนนี้ได้ พตส. 10000 ใช่ป่าวครับ จริงๆสาขาขาดแคลน
 
น่าจะได้เท่ากับกลุ่ม 15000 นะครับ
 
สาขาขาดแคลน จะได้ดูน่ามาเรียนขึ้นอีกหน่อย Wink
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 06/17/09 เวลา 16:34:41
ปลัดกระทรวงไม่ได้แยแสกับการเรียกร้องหรือข้อเสนอของแพทยสภา
 
แต่ได้ออกประกาศเพิ่มค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแก่โรงพยาบาลชุมชน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 เท่านั้น
 
 
 
 
 
 
 
 Cry Cry Cry
จากคุณ: syd7379 โพสเมื่อวันที่: 06/17/09 เวลา 18:08:42
Wink Cheesy
จากคุณ: amyloidosis โพสเมื่อวันที่: 06/17/09 เวลา 21:46:03
รอแล้วรอเล่า
 Sad
จากคุณ: insider2 โพสเมื่อวันที่: 07/12/09 เวลา 08:38:20
ขอให้มองในจุดมุ่งหมาย แล้วจะเข้าใจ   อย่ามองในแง่ลูกคนโตได้ของเล่น ลูกคนรองก็ขอบ้าง  
 
1.  แพทย์รพช.     ต้องทนอยู่ไกลความเจริญ นอกเมือง ทำงานในแนวกว้างไม่เน้นลึกครอบคลุมทุกสาขา ดูแลชุมชน ทำงานซำๆน่าเบื่อ ตรวจคนไข้วันละมากๆ อยู่เวรก็มากๆ  
objective : ต้องให้แพทย์คงอยู่ในระบบนานๆ มากๆ  
สิ่งที่กระทรวงเน้นคือ ค่าloyalty  ต้องดึงให้อยู่ชุมชนให้นาน เพื่อรักษาบุคลากรไว้ คือ อยู่นานยิ่งได้เงินเพิ่ม จึงจะมีหมอยุคใหม่มีกำลังใจทนอยู่ต่อ  
 
2. แพทย์เฉพาะทาง อยู่ในที่เจริญ ในเมือง ทำงานเชิงลึก เน้นวิชาการและความซับซ้อน  ถ้าได้royalty เหมือน รพช. แล้วใครจะไปอยู่รพช.    
ระบบก็เหมือนเดิม หมอทุกคนก็แข่งกันไปเรียนเฉพาะทางเพื่อคุณภาพชิวิตที่ดี  
 
objective :ทำให้แพทย์เฉพาะทางมาอยู่รวมกลุ่มและทำงานมีประสิทธิภาพ  
 
แพทย์เฉพาะทาง ควรทำงานอย่างเต็มที่ อยู่เวรไม่มาก ไม่ต้องเหนื่อยมาก แต่ต้องทำงานในเวลาอย่างคุ้มค่า    
ผมเห็นว่าไม่ควรให้แพทย์เฉพาะทางโหมอยู่เวรมากๆ เพื่อแลกกับเงิน  
แต่อยากให้ทุ่มเทกับคนไข้และรพ และการพัฒนาเทคนิกและวิชาการ  
 
   จึงเสนอให้ เพิ่ม ค่าตอบแทนไม่ทำเวชปฎิบัติส่วนตัว+เฉพาะในรพท.+เฉพาะที่ยังทำงานในสาขาเฉพาะท  างนั้น ในอัตรา  -30000 -40000- 50000  (อาจมากกว่านี้ ) และเพิ่ม ค่าหัตถการ  
เพื่อดึงดูดให้แพทย์เฉพาะทางมาอยู่รวมกลุ่มกัน จะได้งานไม่หนัก และได้พัฒนาร่วมกัน มีคุณภาพชีวิตที่ดี  
 
เพราะต่อให้แพทย์รพท ได้เงินเท่ารพช ก็ไม่เกิดผลดีอะไรมากขึ้น ก็ยังทำงานเหมือนเดิม เปิดคลินิกเหมือนเดิม  
 
 
 
เป้าหมายคือ แพทย์ รพทก็ไม่ต้องบ่นว่า คนไข้มาก เหนื่อย เพราะไม่ต้องเอาเวลาไปเปิดคลินิก มีแพทย์มาช่วยเฉลี่ยเวรหลายๆคน เวรก็จะน้อยลง คุณภาพชิวิตก็ดีขึ้น ทำงานอย่างเดียวให้เป็นเลิศ  
 
แพทย์ รพช ทำงานจับฉ่าย   ก็ไม่ต้องบ่นว่า งานน่าเบื่อ ต้องทำ HA  เพราะ เขาจ้างให้คุณทำงานประเภทนี้ และคุณก็สมัครใจ อนาคต เมื่อหมอมากๆขึ้น ก็จะสบายขึ้น
จากคุณ: insider2 โพสเมื่อวันที่: 07/12/09 เวลา 09:05:31
ผมว่าถ้ากระทรวงอยากตัดปัญหาพ้นๆตัวก็คงอนุมัติให้แพทย์รพท ได้เท่า รพช ไปแล้ว
 
แต่ที่ไม่ให้เพราะมีเหตุผล  Tongue Lips Sealed Sad
เช่น  
ถ้าให้เท่ารพช โดยไม่มีเงื่อนไขพิเศษ ก็เท่ากับขึ้นเงินเดือนหมอทุกคน ผิดวัตถุประสงค์
เหตุผล : ให้ค่าตอบแทนแพทย์รพชเพิ่ม เพื่อดึงดูดให้อยู่ต่อนานๆ จะได้สะสมแพทย์เพิ่มขึ้น
แต่ถ้าให้เงินแพทย์รพท ในขนาดเท่าๆกัน ก็ไม่ได้ประโยชน์เพิ่ม
คนที่ทำคลินิก ก็ยังทำต่อ แล้วให้ อินเทิร์นอยู่เวรเหมือนเดิม   Angry
 
ทำคลินิก ก็เหมือนๆอยู่เวร OPD บ่ายทุกวัน พอ ไปอยู่เวรรพท. ก็ บ่นเหนื่อยๆ  Angry
ก็บ่นคุณภาพชีวิตไม่ดี ก็ไม่ค่อยเต็มใจรับrefer   Sad
บางคนกลางวันก็ยังอู้งานเหมือนเดิม  บางคนแอบไปทำคลินิก  Undecided
มีคนทำงานบริหารหลายๆคน แล้วให้ อินเทิร์นทำงานบริการ  
 
คิดดู ถ้า แพทย์รพท ทุกคนไม่ทำคลินิก + มีรายได้ดี
ทุกคนก็จะอยู่เวรอย่างมีคุณภาพ ช่วยๆกันเฉลี่ยเวร ทำงานได้คุณภาพ  Shocked
มีเวลาไปสอน นศพ    มีเวลาศึกษาเพิ่ม    มีเวลาใส่ใจรักษามากขึ้น สุขภาพจิตดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น  ได้อยู่กับครอบครัวมากขึ้น
ตอนเย็นก็มีเวลาสังสรรสมาคมกัน ออกกำลังกาย คุยกัน มีความเข้าใจอันดีต่อกันมากขึ้น  Smiley
แพทย์เฉพาะทางจะย้ายจาก รพช มา รพท   ได้ปริมาณเพียงพอ
 
เวรในรพ.ก็ไม่ขาดคน สาขาไมเนอก็มาช่วยอยู่เวรเล็กน้อยๆได้
อินเทิร์นก็มีคนให้consult  
 
แต่ถ้าคิดแค่ได้เงินเพิ่มอย่างเดียว ก็คงฝันไปว่าจะเกิดรพท.ที่สอนนศพได้คุณภาพ หรือคุณคิดว่าทำได้  Huh
ที่สธ.ไม่อนุมัติ.............ผมเข้าใจ
 
 
ความยุติธรรมไม่มีในโลก   Tongue
 
เราต้องมองถึงความจำเป็นและเป้าหมาย  
 
คุณต้องมองถึงสิ่งที่ควรจะเป็น และสิ่งที่เขาต้องการ  
คงไม่ต้องให้ขาเทียมกับทุกคน ทั้งคนขาดี และคนขาขาด  
เพียงเพราะ จะได้ " ยุติธรรม "  
 
ถ้าจะเถียงกันโดยอ้างแต่ตัวเอง ก็เถียงกันไม่จบ  
" แพทย์ที่ผ่าตัดหนักทั้งคืน กับแพทย์ที่นานๆโดนตามทีกลับได้เงินเท่ากัน"  
" อยู่รพช ตรวจคนไข้วันละ 100-200ทุกวัน แต่ เฉพาะทางที่ รพท.ตรวจแต่ครึ่งเช้า แถมมีday off ในวันราชการอีก  
 
กรุณา อย่าเรียกร้องในทำนองอิจฉาว่าเขาได้แล้วอยากได้บ้าง  
แต่ต้องแสดงถึง ความเหมาะสมและการแก้ปัญหา  
 
แต่ผมว่า ไม่มีใครกล้าเสนออย่างผมแน่ๆ เพราะเป็นการผูกมัดตัวเอง  
ทุกคนยังต้องการอะไรแบบเดิมๆ แต่ได้เงินเพิ่ม   Cry Cry Cry Cry Cry
 
ถ้าผมเสนออะไรผิดไปก็ขอโทษนะครับ อาจจะมีวิธีที่ดีกว่านี้    Cry Cry Cry Cry
 
จากคุณ: beebee23 โพสเมื่อวันที่: 07/22/09 เวลา 20:11:43
พระบิดาเคยสอนไว้ว่า ปรโยชน์ส่วนตัวให้ถือเป็นกิจที่สอง ประโยชน์ส่วนรวมถือเป็นกิจที่หนึ่งน่ะเคยได้ยินป่าว เฮ้อ เราเลือกที่จะเรียนแพทย์ก็ต้องทำใจนะ เพราะสถาบันผลิตแพทย์มาเพื่อช่วยเหลือประชาชนนะจะบอกให้ จริงอยู่ที่พวกเรางานหนัก แต่เราก็ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่านะเราคิดว่างั้น ไม่ว่าจะเรื่องรายได้ ก็มากกว่าวิชาชีพอื่นๆ ในรพ พวกเราคิดว่าใครเหนื่อยที่สุดอ่ะ เราตรวจ ออกคำสั่งดำเนินการ คนปฏิบัติคือ พยาบาล เภสัช ผู้ช่วยพยาบาล ไม่ใช่แค่เราคนเดียวหรอกนะที่เหนื่อย เหนื่อยกายแล้วก็อย่าคิดมากให้เหนื่อยใจเลย ภูมิใจในสิ่งที่ทำไม่ดีกว่าหรือ นอกจากรายได้แล้ว เรายังได้รับความนับถือ ให้เกียรติจากสังคมตั้งมากมายอย่างที่วิชาชีพอื่นก็คงได้ไม่เท่าเรา ได้ครบทั้งปัจจัยสี่และการยอมรับจากสังคมแล้วเราทำหน้าที่สมกับบทบาท สมกับความไว้วางใจที่ประชาชนมอบให้ ครบถ้วนแล้วหรือยัง ลองตรองดู
จากคุณ: syd7379 โพสเมื่อวันที่: 07/22/09 เวลา 23:39:10
Kiss
จากคุณ: Army doctor โพสเมื่อวันที่: 08/03/09 เวลา 17:21:39
เคยอยู่ในข่ายแพทย์ที่รอรับอานิสงส์จากกระทู้นี้
ตอนนี้มาทำงาน Private Company แทน  
 
เห็นว่า การเพิ่มค่าตอบแทน คงเป็นไปไม่ได้ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้
รัฐบาลคงต้องกู้เงินต่างประเทศมาเพิ่มอีกเยอะ ๆ หากต้องทำแบบนี้จริง ๆ
จากคุณ: nongtarn โพสเมื่อวันที่: 08/08/09 เวลา 21:12:57
อยู่ที่CMUค่ะเป็นcup splitของตัวเองไม่ได้ขึ้นกับโรงบาลใดๆตอนนี้เห้นพี่ๆกำลังรอเงินเบี้ยเลี้ยง สำหรับแพทย์ในรพ.ท.,รพ.ศ.แต่คราวนี้ก้อไม่ได้อีกอยู่ดีเพราะทำงานใน CMUเท่ากับทำงานในอนามัยแต่ไม่มีเงินตรงนี้ให้ ขอคำแนะนำจากใครก้อไม่ได้พอขอย้ายก้อไม่ให้ไป ไม่รู้จะทำยังไงค่ะที่อยู่ทุกวันี้ก้อเพราะคนไข้อย่างเดียวเลยค่ะ
จากคุณ: karen โพสเมื่อวันที่: 09/08/09 เวลา 18:34:34
Grin
ก้อดีนะคะ
ชอบจัง
จากคุณ: zaaz โพสเมื่อวันที่: 09/15/09 เวลา 23:50:43
คือ ชอบเรียนด้านรังสี แล้วก้อมะเร็งอ่ะค่ะ
ก้อเลยคิดว่าอยากเรียนสาขานี้
แต่เคยเห็นคนพูดกันว่า รายได้น้อย จริงมั้ยอ่ะพี่ แบบว่าต้องเลี้ยงปากท้องอ่ะค่ะ
จากคุณ: ave_maria โพสเมื่อวันที่: 10/05/09 เวลา 02:22:05
on 04/20/08 เวลา 00:18:35, blitzs wrote:
          work load เท่านั้นที่ยุติธรรม  แต่กระทรวงกล้าจ่ายไหม  รพช อยู่เวรตรวจกี่คนก็คูณไปเลยหัวละสักห้าสิบ admit caseละร้อย  รพศ OR ได้ caseละสองพัน consultละสักห้าร้อย มันจะเกิดสถานะการณ์ win win  คนไข้มามาก หมอก็ได้เงินมาก อย่างน้อยเงินก็ส่งผลให้หมออยากทำงาน  คนไข้ได้รับการบริการ มากขึ้น  ถ้าจ่ายแบบเหมาๆ  แล้วไงละ มาอยู่เวรเจอคนไข้เยอะก็เหนื่อย  จะส่งก็ยาก เพราะ รพศก็รู้สึกว่ารับมาก็เป็นภาระ เลี่ยงได้ก็ไม่รับ รอได้ก็รอไปก่อน คนไข้ก็ได้รับการรักษาช้า  ถ้ากล้าจ่ายจริงหมออาจมีรายได้เป็นแสนในช่วงแรกๆ พอเงินมากพอก็จะดึงดูดหมอเข้าในระบบ  แล้วตัวหารก็จะมากขึ้นสุดท้ายก็งานลดเงินก็จะพอดีๆ  เกลี่ยๆกันไป สุดท้ายก็อาจได้กันคนละหกเจ็ดหมื่น เหมือนที่พยายามเพิ่มโน่นนิดนี่หน่อย อย่างที่ทำตอนนี้  ปริมาณเงินที่จ่ายเพิ่มเข้าระบบตอนท้ายจะเท่าๆกันอะครับ  หมอมากถ้าเงินเหมาๆมากคูณกันก็มาก   ถ้าเพิ่มทีละหมื่นสองหมื่นแบบนี้อาจดูมากก็จริง  แต่ไม่มากพอที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ครับ  
             ส่วนโรงเรียนแพทย์ ผมไม่ขอแสดงความเห็นละกันว่าควรจัดสรรอย่างไร

อยากให้ท่านช่วยแสดงความเห็นสำหรับแพทย์ที่ทำงานใน รร แพทย์ด้วย เนืื่องจากตอนนี้ได้ยินข่าวเรื่อง RW กำลังมาแรง และอยากให้แพทย์อาวุโสช่วยมองปัญหาที่เกิดกับอาจารย์แพทย์ ที่เป็นพนักงานของรัฐด้วย เพราะไม่มั่นคงเท่ากับข้าราชการ และเงินต่าง ๆ ที่ว่านี้ไม่ทราบว่า รพ มีวิธีจัดสรรอย่างไร ตอนนี้ตัวเองไม่เปิดคลินิก ยังไม่เคยได้เงิน 10000 เลย ขอมให้เห็นแก่หมอที่สังกัดกระทรวงอื่น ๆ นอกเหนือจากสาธารณสุขด้วย
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 10/05/09 เวลา 06:17:06
การแก้ปัญหาในวงการแพทย์และสาธารณสุขเป็นปัญหาระดับชาติ ที่ผู้บริหารประเทศเท่านั้นที่จะแก้ได้
ลำพังกรรมการแพทยสภาและผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขก็คงทำอะไรไม่ได้มาก เพราะแพทยสภาเสนอได้ แต่ผู้ที่จะสั่งว่าจะทำอะไรได้นั้นคือผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งก็ยังวุ่นวายกับงบประมาณจัดซื้อวัสดุ สิ่งของ มากกว่าจะสนใจพํฒนาบุคลากร
 
 
 
แต่รัฐบาลที่บริหารประเทศอยู่ ก็ยังวุ่นวายกับการแก้ปัญหา "ความมั่นคงของรัฐบาล" มากกว่าจะมาสนใจปัญหาการบริหารบ้านเมืองทุกๆกระทรวง
 
 Cry
จากคุณ: syd7379 โพสเมื่อวันที่: 10/11/09 เวลา 18:32:47
Cry Cry
จากคุณ: ja-2009 โพสเมื่อวันที่: 10/12/09 เวลา 11:14:39
เห็นใจแพทย์ที่ทำงานหนัก
 
ผมเองเคยมีประสบการณ์เหล่านี้
 
ถ้าลูกหลานของ อ.รรพ. หรือ แพทย์ ในกระทรวงที่มีเส้นสาย  
 
คงมีทางออกที่ดีกว่านี้มาก
 
จากคุณ: BOZZ_GUZA โพสเมื่อวันที่: 10/28/09 เวลา 23:15:09
แยกบัญชีค่าตอบแทนทุกรายการ
 
อย่าเอาทันตแพทย์ มาอิงแอบใช้บัญชีเดียวกับแพทย์
 
มายืนยันความเห็นเดิม
 
เพราะเนื้องานมันต่างกัน
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 11/02/09 เวลา 16:42:40
ต้องแยกเงินเดือนและตำแหน่งบุคลากรทางการแพทย์ออกจากกพ.
 
ใครรู้บ้างว่าจะดำเนินการได้อย่างไร?
จากคุณ: Doc_Chang โพสเมื่อวันที่: 11/04/09 เวลา 03:00:58
เพิ่มเงินก็แก้ปัญหาในระดับหนึ่ง แม้จะไม่หมด  
การกะจายเงินก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
การกะจายงานก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
มองในแง่ดีแล้วพัมนาตัวเองด้วยกันจะดีกว่า
จากคุณ: cutenurse โพสเมื่อวันที่: 11/29/09 เวลา 10:40:44
Smiley Kiss Kiss Kiss Kiss Kiss
จากคุณ: หมอก้อนหิน โพสเมื่อวันที่: 12/06/09 เวลา 13:59:44
เข้ามาติดตามครับ เท่าที่อ่านดู
เรียกร้องเพิ่ม พตส. เรียกร้องมาตั้งแต่ต้นปีก่อน ตอนนี้จะหมดปีแล้ว ยังไม่ได้เลย


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by