หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   ICU : Interesting Creative Usergroup
   Post reply ( Re: เลือกตั้งแพทยสภา ๒๕๕๒ - ๒๕๕๔ คิดเห็นอย่างไร เลือกใครกันบ้าง )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 19:15:44

 
 
ผ่านไป ๒ ปี สำหรับ การทำงานของแพทยสภาชุดนี้ ..
 
ถึงเวลาเลือกกรรมการแพทยสภา อีกแล้วครับพี่น้อง ...  เร็วจริงๆ ... น่าจะเพิ่มวาระเป็น ๔ ปี จะได้มีเวลาทำงานกันต่อเนื่อง ... ไม่ต้องเลือกกันบ่อยๆ  
 
 
ผลงานที่ผ่านมา ก็พอจะบอกได้ว่า ใครเป็นใคร ใครที่ทำงาน ต้องตา โดนใจ บ้าง ...  หรือ ใครที่เคยเลือกไปแล้ว ก็เงียบหาย ไม่เคยได้ยินข่าวคราว อีกเลย ..
 
 
มาสนับสนุน ผู้ที่เราคิดว่า ดี เหมาะสม กับตำแหน่ง หน้าที่ของแพทยสภาให้ได้เข้าไปทำงาน กันเถอะ ..
 
 
 
 
 
http://www.tmc.or.th/detail_news.php?news_id=396&id=4
 
ขอเชิญสมาชิกแพทยสภาทุกท่านโปรดใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาวาระ พ.ศ.2552-2554
 
 
ขอเชิญสมาชิกแพทยสภาทุกท่านโปรดใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาวาระ พ.ศ.2552-2554
 
โดยส่งบัตรลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา ส่งไปยังสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ทางไปรษณีย์ หรือนำบัตรลงคะแนนดังกล่าวไปใส่หีบเลือกตั้ง ที่สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา อาคาร 6 ชั้น 7 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  
 
  หมดเขตการรับบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง วันที่ 20 มกราคม 2552 เวลา 16.30 น.  
 
  เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการตรวจนับคะแนน  
  1.อย่าลืมเซ็นชื่อของตัวท่านเอง  
  2.โปรดระบายดินสอ ให้เต็มวงกลม ไม่เกิน 26 หมายเลข  
 
อนึ่ง ในกรณีที่ท่านไม่ได้รับบัตรลงคะแนนเลือกตั้งหรือต้องการบัตรแทน โปรดแจ้ง ความจำนงด้วยตนเอง  พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นใดที่สามารถอ้างอิงได้ โดยลงลายมือชื่อรับรองเอกสาร ไปยังสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา อาคาร 6 ชั้น 7 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์  
อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 หรือ โทรสาร 0-2591-8614-5 ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2551 – 9 มกราคม 2552  
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 0-2590-18881 , 0-2590-1888 ต่อ 610 ,620  
 
  กำหนดตรวจนับคะแนนบัตรเลือกตั้ง วันที่ 21 มกราคม 2552 เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร อาคาร 7 ชั้น 9 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  
 
 
 
คณะกรรมการแพทยสภาวาระ พ.ศ. 2550 - 2552 (ตาม พรบ. มาตรา15)
http://www.tmc.or.th/about_commitee.php
 
นโยบายคณะกรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ. 2550-2552
http://www.tmc.or.th/about_policy.php
 
 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 19:23:41

 
 
ก่อนอื่น ขอชี้แจงข้อตกลงเบื้องต้น สำหรับ กระทู้นี้ก่อนนะครับ ...
 
๑. เชียร์ ได้ หาเสียงได้ แต่ ห้ามด่าว่าโจมตีคนอื่น  
 
๒. แสดงความคิดเห็น ในทางสร้างสรรค์ ด้วยภาษาที่เหมาะสม ไม่หยาบคาย
 
 
 
จะเลือกใครก็ได้ เพราะ ผมเชื่อว่า ผู้สมัครทุกคน มีความหวังความตั้งใจดี ที่จะมาทำงาน แต่เนื่องจากมีจำนวนจำกัด ก็ขอให้เลือกคนที่คิดว่า เหมาะสม กับตำแหน่งหน้าที่ของแพทยสภา  
 
 ผมก็เลือกคนที่ผม คิดว่า " ดี "  ... ส่วน จะตรงกับคนอื่น หรือเปล่านั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง  ....  
 
 
ที่ผม มองๆ  ไว้ ยังไม่ครบทั้ง  ๒๖ ท่าน  แต่ที่เลือกแน่ ๆ  
 
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา เบอร์ 29
 
ทีม ชพพ   ๓๐ – ๕๐  ยกทีมไปเลย ..
 
 
อยู่บ้านนอกก็แบบนี้แหละ ... ยังไม่ได้เอกสาร บัตรลงคะแนนเลย ครับ ..  
 
ปีนี้ ในเวบแพทยสภา ก็ไม่มีรายชื่อ ผู้สมัครท่านอื่น ก็เลยเลือกแค่นี้ไปก่อน ... ๒๑ คน ...  
 
 
รักใคร เลือกใคร เชียร์ใคร ก็มาแจมกันได้เลยครับ ...
 
 
 
 
มีกระทู้ที่เกี่ยวข้อง ตอนนี้ ๒ กระทู้ ก็เอามาลงไว้ด้วยกันเลย เผื่อใครยังไม่ได้อ่าน .
 
 
กระทู้ของ Dr.TUM เฮฮา แบบมีสาระเช่นเคย .. มีแจมกันเพียบ
 
หัวข้อ 34852: เย้...เลือกได้ครบ26คนแล้ว...ลงคะแนนกันรึยังครับ..^_^  (จำนวนคนอ่าน 279 ครั้ง) ...  
 
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1229329944;start=0
 
 
กระทู้ ผู้สมัคร หมายเลข ๑  ที่มีหลาย ๆท่านเทคะแนนให้ ...  
 
หัวข้อ 34657: โปรดพิจารณาผู้สมัครกรรมการแพทยสภาหมายเลข 1  (จำนวนคนอ่าน 563 ครั้ง)
 
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1228921764
 
 
 
 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 19:24:50

 
ผมนำบทความ ที่ พี่ 716:16 ได้นำมาลงไว้ ให้อ่านกันอีกรอบ  อาจยาวหน่อย แต่ผมคิดว่า มีประโยชน์มาก ....  
 
 
หัวข้อ 43524: มองอดีตการเลือกตั้ง48.. ถึงยุทธศาสตร์แพทยสภา50 new  (จำนวนคนอ่าน 166 ครั้ง)  
 
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1166427707  
 
 
มองอดีต การเลือกตั้ง ..2548 ถึง..ยุทธศาสตร์แพทยสภา 2550  
 
ข่าวมติชน-เมื่อวันที่ 20 มกราคม2548 สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา  ได้นับผลคะแนนการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาชุดใหม่ หลังจากชุดเดิมหมดวาระในเดือนมกราคม จากผู้สมัครทั้งหมด 59 ราย โดยจะเลือกจาก 19 อันดับตามลำดับคะแนน  
 ซึ่งการเลือกตั้งได้จัดส่งบัตรเลือกตั้งทั้งหมด 28,728 โดยได้รับบัตรเลือกตั้งส่งกลับคืนทั้งหมด 12,793 คิดเป็น 44.53%  จากจำนวนสมาชิกตามใบอนุญาตที่มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด 30,616  
โดยแบ่งเป็น บัตรดี 12,711 ใบ บัตรเสีย 82 ใบ  
 
ผลการนับคะแนนเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา วาระ 2548-2550  
จำนวน 19 คนที่ได้รับการเลือกตามลำดับคะแนน  
 
1.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา 9,362 คะแนน  ----[>2550 หมายเลข  26] ราชวิทยาลัย-รร.แพทย์ -62ปี  
2.นพ.พินิจ กุลละวณิชย์ 7,794 คะแนน  ----[>2550 หมายเลข  22] อิสระ-รร.แพทย์-61 ปี  
3.นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ 7,010 คะแนน ----[>2550 หมายเลข 19] พป.-เอกชน-60 ปี  
4.นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ 6,778 คะแนน----[>2550 หมายเลข  46] ชพพ.-ภาครัฐ-49 ปี  
5.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ 5,561 คะแนน  ----[>2550 หมายเลข  13] พป.-รร.แพทย์-64 ปี  
6.พญ.อนงค์ เพียรกิจกรรม 5,256 คะแนน----[>2550 หมายเลข  40] อิสระ-รร.แพทย์-69 ปี  
7.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร 5,244 คะแนน  ----[>2550 หมายเลข  6] ราชวิทยาลัย-รร.แพทย์-64 ปี  
8.นพ.พินิจ หิรัญโชติ 5,145 คะแนน  ----[>2550 หมายเลข  11] พป.-ภาครัฐ-56 ปี  
9.นพ.วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ 4,807 คะแนน----[>2550 หมายเลข  16] พป.-รร.แพทย์-49 ปี  
10.นพ.สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล 4,641คะแนน ----[>2550 หมายเลข  32] ชพพ.-ภาครัฐ-50 ปี  
11.นพ.วิทยา ศรีดามา 4,497 คะแนน ----[>2550 หมายเลข   3] ราชวิทยาลัย-รร.แพทย์-53 ปี  
12.นพ.สมพล พงศ์ไทย 4,218 คะแนน  ----[>2550 หมายเลข  15] พป.-รร.แพทย์-55 ปี  
13.นพ.อำนาจ กุสลานันท์ 4,174 คะแนน  ----[>2550 หมายเลข  28] ชพพ.-รร.แพทย์-59 ปี  
14.นพ.จอมจักร จันทรสกุล 3,945 คะแนน ----[>2550 หมายเลข  20 ] อิสระ-รร.แพทย์-67 ปี  
15.นพ.อรุณ โรจนสกุล 3,890 คะแนน  ----[>2550 หมายเลข  14] พป.-รร.แพทย์-53 ปี  
16.นพ.สมหวัง ด่านชัยวิจิตร 3,878 คะแนน----[>2550 หมายเลข   4] ราชวิทยาลัย-รร.แพทย์-60 ปี  
17.นพ.เสรี หงษ์หยก 3,826 คะแนน  ----[>2550 หมายเลข  17] พป.-ภาครัฐ-54 ปี  
18.พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา 3,823 คะแนน ----[>2550 หมายเลข  41] ชพพ.-ภาครัฐ-59 ปี  
19.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ 3,755 คะแนน  ----[>2550 หมายเลข  30] ชพพ.-รร.แพทย์-57 ปี  
 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 19:26:14

===----ข้อสังเกตุ จาก 2548--->2550===  
 
1.กรรมการแพทยสภาชุดเดิม สมัครทั้งชุด 19 คน ทุกคน บางคนเปลี่ยนทีมไป  
 
2.ปี 2550 มีกรรมการเพิ่มจำนวน 4 คนจากการที่มีคณะแพทย์เพิ่ม 4 แห่ง  
 
3.ทีมหลักในปี 2550 มี 3 ทีม คือ  
 
 3.1 กลุ่มสถาบันฝึกอบรมส่ง10คน (หมายเลข1-10)   ชุดที่ผ่านมาได้ 4 คน [ 21%]  
 
 3.2 กลุ่ม พป.ส่ง 9 คน (หมายเลข 11-19)     ชุดที่ผ่านมาได้ 7 คน**[37%]**มากที่สุด  
 
 3.3 กลุ่ม ชพพ.ส่ง 14คน (หมายเลข 26-39)  ชุดที่ผ่านมาได้ 5 คน(แยกไปอิสระ2) [26%]  
 
 3.4 สมัครอิสระ 13 คน (หมายเลข 20-25 และ 40-46)  ชุดที่ผ่านมาได้ 3 คน(รวมที่มาจากชพพ.2เป็น5คน) [16%] ..
 
4. ข้อเท็จจริงคือในแพทยสภาทุกชุดจะมีกรรมการจากคณบดีโรงเรียนแพทย์ และ กระทรวง เจ้ากรมแพทย์ทหาร ตำรวจเป็นกรรมการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว ครึ่งหนึ่ง  
 
ในชุดที่ผ่านมา 19คน จาก 38คน โดยมีสัดส่วน เป็น 7 ภาครัฐ ที่ไม่ใช่ รร.แพทย์ และ 12 คณบดีคณะแพทย์    
 
และ น่าสังเกตุว่านอก กรรมการจากการเลือกตั้งแล้วก็ยังมีสายที่มาจาก รร.แพทย์ จากการเลือกของลูกศิษย์อีกจำนวน  13 คน  
 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 19:27:14

**ถ้าลองวิเคราะห์ ปี 2548    
 
 4.1 กลุ่มที่มาจาก รร.แพทย์ จากการเลือกตั้งได้มากถึง 13 คน  คิดเป็น 68%ของชุดเลือกตั้ง 19คน และ 25 คนของทั้งคณะ 38 คน 66%**  
 
 4.2 จากภาครัฐและกระทรวง 5 คนคิดเป็น 26% ของชุดเลือกตั้ง 19คน  และ 12 คนของทั้งคณะ 38 คน คิดเป็น 32% **  
 
 4.3  เอกชนแท้ๆ 1คน 5% ของชุดเลือกตั้ง19คน และ**2.6%ของทั้งคณะ 38 คน  
 
5.ทิศทางในการบริหารงานของแพทยสภามักเป็นในทิศทางเดียวกับประสบการณ์ของกรรม  การที่เลือกเข้ามา  
 
: : โดยสัดส่วนของกรรมการมาจาก รร.แพทย์  มากถึง 2 ใน 3  ซึ่งส่วนใหญ่ดูแล Tertiary care  
 
: : คนไข้หลักของประเทศ  Primary care และจำนวนหมอในภาครัฐหลักอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยราชการซึ่งดูแลคนไข้ ภาครัฐ 70-80%ของประเทศ  
 
**ที่มีปัญหา 30บาท ฟ้องร้อง อาญา มีตัวแทนเข้ามาเพียง 32% หรือ 1 ใน 3 ซึ่งสะท้อนภาพสัดส่วนการแก้ปัญหา  
 หากต้องมีการโหวต ออกเสียงใดๆ รร.แพทย์มักถูกมองปัญหาได้มากกว่า แก้ได้ตรงกว่า เนื่องตัวแทนของผู้นั่งตรวจจริงในชนบท นั้นน้อยมากไม่เพียงพอจะfocus ปัญหาให้ตรงประเด็น  
 
: : วีถีความคิดอาจารย์แพทย์ในการตรวจคนไข้ 20คนใน3ชั่วโมง พร้อม Resident extern กับ แพทย์ในชุมชน หรือชนบทในการนั่งตรวจคนไข้ กว่า100คนใน3ชั่วโมง ต่างกันชัดเจน เศรษฐานะ ของคนไข้ จนๆ ในชนบท กับคนไข้ของอาจารย์ใน รร.แพทย์ย่อมต่างกันมากด้วย  
 
: : ยิ่งภาคเอกชนยิ่งมีตัวแทนน้อยกว่ามากแต่อย่างไรก็ดี อาจารย์ รร.แพทย์มักมีบทบาทแฝงในรพ.เอกชนอยู่แล้ว อาจมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด โดยที่จะไม่ทำเอกชนเลย เช่น อ.พินิจ(เลขา)นั้นน่าจะหาได้ยาก  ดังนั้นเสมือนปัญหาภาคเอกชน กรรมการแพทยสภาชุดนี้ที่มีอาจารย์เอื้อชาติเป็นตัวแทนอยู่ย่อมแก้ไขได้โดยดี    
 
 
: :6.เมื่อมองถึงอายุโดยรวมของกรรมการทั้ง 19ท่าน  
 
ในการเลือกตั้ง 2548  แล้วน่าสนใจ ดังนี้  
 
..พบว่า อายุ รวม 1101 ปี เฉลี่ย 57.95 ปี อายุมากที่สุด คือ อ.อนงค์ 69 ปี และอายุน้อยที่สุด 49ปี มี2ท่านคือ อ.ฐาปนวงศ์และ อ.วิสูตร ซึ่งบ่งบอกวิสัยทัศน์ และ ประสบการณ์ในชุดนี้ว่า มาก มาย  
 
หากแต่จะมีกระบวนทัศน์ที่ออกมารับสังคมและการเปลี่ยนแปลงได้ดีแค่ไหน ต้องดูเป็นรายบุคคล ไม่ใช่ดูอายุครับ ..ว่ายุคโลกาภิวัฒน์ที่ทั้งลูกศิษย์และคนไข้ต่างต้องเรียนรู้โลกผ่าน cyber ด้วยความเร็วสูง 24ชม. ผ่าน email  
 
อาจารย์ท่านใดที่อยู่ในยุคร่วมสมัยที่จะมาดูปัญหาของปัจจุบันและแก้ตามได้ทั นท่วงที ที่ผ่านมา2ปีก็คงจะพอเห็นอยู่บ้างแล้ว และทั้ง 19 ท่านที่เสนอตัวมาลงซ้ำในครั้งนี้ ต่างอายุมากขึ้น คนละ 2 ปี รวมเป็นอายุเพิ่มขึ้นเป็น 1139 ปี เฉลี่ยเป็น 59.9ปี คือ เกษียณพอดี  
 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 19:28:51

7.วิเคราะห์จากโจทย์สถานการณ์ปัญหาทางยุทธศาสตร์ในช่วง2ปี ที่ผ่านมาถึงปัจจุบันนั้นเรื่องเด่นๆได้แก่  
 
 7.1.ทางกฏหมายอาญาการฟ้องร้องรวมไปถึงการผิดพลาดจากการรักษาที่อาจเกิดจากคว  ามรู้ของแพทย์    
 
 7.2.ปัญหากำลังพลแพทย์สมองไหล  จากภาครัฐสู่เอกชน  
 
 7.3.ปัญหาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขจากผลกระทบ 30บาท และ FTA  etc  
 
 7.4.ปัญหาระบบข้อมูลสมัยใหม่ การสื่อสาร ไอที ระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงทั่วโลกที่แพทยสภาตามไม่ทัน  ฯลฯ  
 
----แพทย์ที่มีความรู้ทางกฎหมายในคณะที่ผ่านมามี 4 ท่าน คือ อ.อำนาจ อ.พินิจ อ.วิรัตน์ และ อ.วิสูตร และมีผู้ประสานงานที่ดูแลคือ อ.เอื้อชาติ ที่นัยว่า active มากที่สุดเนื่องจากภาคเอกชนเป็น segment ที่เสี่ยงต่อการกระทบกับกฏหมายมากที่สุดเช่นกัน  
 
การแก้ไขปัญหาทางอาญาก็เป็นเพียงคลื่นมาเป็นระลอก และมาhot ช่วงปลายเทอมซึ่งอาจไม่ใช่จากการเลือกตั้ง  แต่หากเป็นกระแสที่แพทย์ถูกฟ้องจนนั่งไม่ติดที่กัน ต้องออกมาเคลื่อนไหว..ประจวบจังหวะเลือกตั้งพอดี*  
 
 ----ในส่วนการขาดแคลนแพทย์นั้น มีการเร่งผลิตแพทย์จนไม่แน่ใจเรื่องของคุณภาพ การคัดสรรที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายรูปแบบจนที่สุด รร.แพทย์บางส่วนต้องรับตรง และคะแนนการเข้าแพทย์ก็ลดลงอย่างน่าใจหาย  
 
แม้แต่หมอผู้ชายที่เราต้องการเพื่อดูแลชาวชนบทปัจจุบันแทบจะหาได้ยาก มีแต่นักเรียนแพทย์หญิงมากมาย ในอนาคตแพทย์หญิงที่จะจบออกไป..อีก10ปีจะอยู่ในชนบทได้ดีเพียงใด คนอีก 40 ล้านคนที่ต้องพึ่งระบบ กระทรวงสาธารณสุข รออยู่..ทั้งนี้ต้องรอการพิสูจน์    
 
----ทั้งคลื่นการลาออกจากราชการจำนวนมากเป็นเหตุให้ในช่วง 2ปี มีแพทย์ทั้งระดับทั่วไป โดยเฉพาะระดับผู้เชี่ยวชาญหลุดออกจากราชการคณานับ ในขณะเดียวกับที่มีการขยายตัวของ รพ.เอกชน รองรับ medical Hub ตามที่ทราบกันอยู่..ปัจจุบันแม้ รร.แพทย์บางแห่งยังไม่สามารถมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญครบ (เคยครบ)และในปีหน้าอาจจะมีสถาบันสมทบที่ถูกยกเลิกการผลิตเพราะแพทย์ผู้เชี่  ยวชาญออกจนมีไม่เพียงพอใรการสอน รออยู่..  
 
----ปัญหาระดับกำลังพลประเทศเหล่านี้ อาจารย์แพทย์ที่เข้าไปท่านทำอะไรมากมายในช่วง2ปี น่าสนใจที่ควรมีบทสรุปตอบกับแพทย์ทั้งประเทศบ้างทางสื่อหรือสาธารณชน เป็นรูปธรรม เพื่อสนับสนุนระบบแทนการเดินสายพูดคุยแบบไม่เป็นทางการของอาจารย์นักประชาสั มพันธ์บางท่านซึ่งท่านต้องเหน็ดเหนื่อยมากในการทำความเข้าใจกับแพทย์ทั้งประ  เทศ *  
 
----ผลกระทบ 30บาท การขาดทุนของรพ.รัฐ การขาดงบลงทุน การเปลี่ยนแปลงระบบจ่ายเงิน การมีนาย 2คน คนหนึ่งคุมเงิน คนหนึ่งคุมนโยบายแต่ไม่มีเงิน ล้วนเป็นปัญหาทาง pipeline การบริหารผ่านท่อเงิน ที่เกิดระหว่าง สปสช กับ สธ. กระทบโดยตรงกับแพทย์ภาครัฐ  
 
แพทย์ส่วนหนึ่งเลือกเติบโตสายบริหารหลีกเลี่ยงการตรวจรักษา ส่วนหนึ่งไปเอกชน มีแต่แพทย์ที่รักถิ่นฐาน และน้องใหม่ คิดแล้วน่าใจหาย เพดานค่าตอบแทนที่สูงกว่าในระบบหนึ่งหอมหวล จนอีกระบบหนึ่งเกิดความคิดสะท้อนใจในความไม่เสอมภาด แต่หากมองภาพความจริงแล้ว ระบบที่เงินสูงกว่านั้นยังมีรายได้น้อยกว่างานระดับเดียวกันในองค์กรอื่นด้ว ยซ้ำไป  
 
แนววิธีที่เหมาะสมน่าจะเกิดการปรับเพดานรายรับแพทย์ภาครัฐให้ตรงกับความจริง  ใกล้เคียงกับภาคเอกชน และ สปสช. มากกว่าจะมา discuss กันเองให้แตกแยก และไม่เป็นประโยชน์แก่ระบบทั้งประชนจะเสื่อมศรัทธาโดยไม่รู้ความจริง  
 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 19:30:13

 
-----ยุทธศาสตร์การต่อสู้ต้องดูตัวอย่าง ทางภาคยุติธรรมที่สามารถปรับรายรับให้ตรงความจริงไปแล้ว ด้วยการรวมตัวกัน ผนึกกำลัง ไม่ใช่ด้วยความแตกแยกกันเอง...  
 
----- ปัญหาการบริหารเชิงเศรษฐศาสตร์ น่าเป็นจุดสนใจที่ดี ในชุดกรรมการที่ผ่านมามีท่านที่ให้ความสนใจหรือเรียนจบทางเศรษฐศาสตร์ไม่มาก   ไม่ให้ความ สำคัญ ทางการเงินที่เป็นปัจจัยหลักของการบริหารเท่าที่ควร ทั้งกระบวนการคิดค่าตอบแทน รายได้หมอพื้นฐาน ค่าใช้จ่ายสถาน พยาบาลที่เพียงพอ ที่จะสะท้อนไปยังคุณภาพชีวิตแพทย์จากรายได้ที่เหมาะสมและพอเพียงตามระบบ Sufficient economic  หรือเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไร  
 
ควรมีกรรมการที่เข้าใจระบบนี้บ้างจึงแก้ปัญหาได้ตรง ควรมีแพทย์ระดับผู้บริหารองค์กรเอกชน ที่ประสบความสำเร็จเข้าไปมากๆ ขึ้น เพราะแพทย์ที่คุ้นเคยกับการใช้แรงงานตนเอง โดยเป็นแรงงานชั้นสูงนั้น ย่อมไม่เชี่ยวชาญการมองปัญหาระดับนี้แน่นอน..ผลของการบริหารที่เห็นจึงเป็นก ารไล่ตามปัญหามากกว่าไปวางแผนกำจัดปัญหาเช่นปัจจุบัน และไม่มีแผนล่วงหน้า 5-10 ปีที่เหมาะสมออกมาให้แพทย์ดูมาก่อน..  
 
----ทั้งนี้แพทยสภาเองเป็นองค์กรที่ต้องดูแลแพทย์ทั้งประเทศกลับได้รับงบประ มาณในอดีต ระดับ 1+ล้านบาท และพึ่งมีการต่อสู้โดยอ.พินิจ(กุล)เป็นเลขาโดยขอเพิ่มเป็น 10 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา เพื่อใช้ในการดูแลกิจกรรมและแพทย์ทั่วประเทศ หากแต่ผ่านอนุมัติเพียงครึ่งเดียว เงินจำนวนนี้น้อยมากเมื่อเทียบกับภาระกิจกรรม การดูแลปัญหาแพทย์ทั่วประเทศเป็นไปอย่างจำกัดจำเขี่ย..
 
สมาชิกมองเห็นปัญหามากมาย อยากให้แก้ไข ทุกอย่างจำเป็นต้องใช้ แรงงานคน การเดินทาง เอกสาร เป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น งบประมาณอันเล็กน้อยเทียบไม่ได้กับกระทรวงสาธารณสุข หรือ องค์กรอื่นด้วยซ้ำ เป็นความมหัศจรรย์ที่ท่านเลขาพินิจฯบริหารงานได้ บนงบที่น้อยมากและไม่แปลกใจที่ระบบคอมพิวเตอร์ สารสนเทศราคาสูงจึงไม่สามารถนำเข้ามาใช้ได้ ..และมีความพยายามที่จะหางบประมาณเพิ่มเพื่อมาบริการแพทย์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่แพทยสภาได้ไป Defence งบวิชาชีพจนแพทย์หลายท่านได้งบที่ส้มหล่นย้อนหลังมาใน2ปีที่ผ่านมา หากแต่แพทย์สภาเองกลับจน มีรายได้บริหารไม่เพียงพอ..  
 
---- ควรต้องหันมาเก็บเงินกันเองบ้างแบบสภาการพยาบาลแล้วหรือยัง..เพื่อสร้างมาตร ฐานการบริหารแบบมืออาชีพใหม่..  
 
----ระบบการสื่อสารต่อประชาชนทางสื่อต่างๆที่โลกหมุนไป ใกล้ตัวมากขึ้น แพทย์มิได้อยู่บนหอคอยงาช้างแล้ว จับต้องได้ต้องใกล้ชิดประชาชน กรรมการแพทยสภาแต่ละท่านต้องเป็นตัวแทน brand image ที่ดีต่อประชาชน ทั้งให้ความรู้ แก้ปัญหา สื่อสารที่ดี สร้างภาพลักษณ์ทันสมัย โปร่งใส  
 
อาจารย์หลายท่านที่ดีเช่น อ.ประสบศรี อ.สมศักดิ์ อ.พินิจ(กุล) ฯลฯ ท่านมีการส่งข่าวสะท้อนถึงประชาชนเสมอ ท่านอื่นๆ อยู่ที่ใด?  
 
แพทย์สภาต้องทำการตลาดเชิงรุกสู่ประชาชน ทำงานเป็นทีม มี PR แต่ละเรื่องมิใช่ทำตามอำเภอใจ หรือทำเมื่อเกิดเรื่องเฉพาะหน้า ต้องมองระบบใหม่ว่า แพทยสภามีลูกค้า2 ชนิด คือ ลูกค้าที่เป็นประชาชน และลูกค้าที่เป็นแพทย์  ต้องสม่ำเสมอใกล้ชิดทั้ง 2ฝ่ายและทำให้เข้ากันได้ดี และเข้าใจกัน ซึ่ง ต้องรู้ว่าสิ่งเหล่านี้มีศาสตร์และศิลป์ ..และควรทำโดยมืออาชีพ กลยุทธที่เหมาะสมต่อเนื่องตลอดทั้งปี..  
 
----ทั้งการ handle แพทย์ และ ประชาชน สื่อรุ่นใหม่ อินเตอร์เนต ที่แพทย์ใช้ค้นหาความรู้ ได้เท่าใด ประชาชนใช้ได้เท่านั้น** ทุกอย่างรวดเร็วโปร่งใส หมดสมัยที่จะบอกคนไข้ว่าไม่เป็นไร เพราะเขาค้นเองได้   เร็วเท่าเรา หากเราไม่รู้อาจตกเป็นจำเลยได้ ต้องบอกชัดเจน ข้อดีเสีย-ผลรักษา การแทรกซ้อน ชัดเจน และถูกต้องในเวลานั้น มิใช่ความรู้ 10ปีก่อน 5ปีก่อน แค่ปีเดียวก็เปลี่ยนมากมาย ไม่งั้นอาจารย์แพทย์คงไม่ต้องวิ่งวุ่นไป update ความรู้กันทุกปี ที่ต่างประเทศ ...  
 
----การศึกษาต่อเนื่องจึงมีความสำคัญมาก และในที่สุดแพทย์จะถูกแยกเป็น2กลุ่มโดยการเข้าถึงเทคโนโลยี คือแพทย์กลุ่มก่อนยุค IT กับหลังยุค IT โดยมีความสามารถในการใช้สื่อ เรียนรู้ update ข้อเท็จจริงในการรักษาพยาบาลคนไข้เป็นสำคัญ  ผู้ที่อยู่ก่อนยุค IT ความรู้ในอดีต ย่อมมีโอกาสเกิดความพลาด(โดยไม่ตั้งใจ) ได้ง่ายเหลือเกิน ..ศนพ.ที่สร้างมาเพื่ออุดช่องว่างนี้ เดินเกมส์พลาดอย่างมหันต์ ที่นำไปผูกกับอายุใบ ว.จึงต้องชะงักงันไป ต่างกับสภาการพยาบาล หรือ เภสัชที่กลับมี cme ที่ต้องสะสมต่อแต้มกันโดยทำให้แพทย์ทั้งกลุ่มเดินตามกันไม่ตกข่าว..แพทยสภาย  ุคต่อไปต้องหาทางออกของโจทย์นี้ แบบ win win อย่างไร น่าขบคิด??  
 
----ความรู้หมดเวลาท่องจำแล้วครับ มันมาก มายจนมาถึงหน้าบ้าน และในห้องนอนผ่านสายเคเบิ้ล และ ผ่านอากาศ เพียงเปิดค้นก็ใช้ได้  แต่ต้องรู้ว่าจะทำอย่างไร  แพทยสภายุคนี้ต้องก้าวไกล ให้ข้อมูลถูกต้องเป็นจริง ทันสมัย โปร่งใส ตรวจ สอบได้ กับทั้งประชาชนและแพทย์ และเชื่อมโยงแพทย์ด้วยเทคโนโลยี ไม่ใช่จดหมายทุก2เดือน ต้อง real time วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีต้องมี ในยุค10ปีนี้เปลี่ยนแปลงมาก เห็นได้จากแนวพัฒนาในช่วงยุค2ปีที่ผ่านมา แทบไม่เห็นความแตกต่างจนทัน..ทัดเทียมนานาประเทศ ..ก็ต้องดูบรรทัดฐานของกรรมการที่เข้ามา  
 
 มีกรรมการกี่ท่านที่ใช้ email/ computer/web ที่อายุเฉลี่ย 60ปี หากแต่แพทย์รุ่นกลางเก่ากลางใหม่ที่รับมุมการเปลี่ยนแปลงได้และเข้าใจโลกปัจ  จุบันไปไหนหมด ?? อย่างนี้จะให้กรรมการแพทยสภารุ่นใหญ่ เข้าใจสภาพสถานการณ์ที่แพทย์ปัจจุบันประสบได้ดีได้อย่างไร??  
--  
 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 19:31:38

8.บทเรียนจากแพทยสภาในช่วง2ปีที่ผ่านมาให้อะไรเราได้บ้าง? ? ?  
 
8.1 น่าจะมาถามตัวเรากันเองว่า เราเลือกกรรมการแพทย์สภากันไปทำอะไร??  
 
ภาระหน้าที่ที่ต้องการหรือโจทย์ทางยุทธศาสตร์ที่วงการแพทย์ต้องการขณะนี้คือ  อะไร??  
 
เลือกคนไปใช้ให้ถูก คุณจะไปเกาะกลางทะเลข้ามน้ำ ข้ามทะเล คุณเอารถถังไปไม่ได้?? คุณต้องเอาเรือ ไป  
 
คุณอยากให้แพทยสภาทันสมัย คุณเอาอาจารย์ สูงอายุ 65-69 ที่ไม่ทันสมัย(หลายท่านอายุมากแต่ทันสมัยนั้นอยู่ในข้อยกเว้นนะครับดูจากผลง าน)เข้าไป จะทำได้อย่างไร  
 
 
คุณต้องเป็นคนเลือก body ของแพทยสภา..แพทยสภาจะพิกลพิการ ง่อยหรือ smart ต้องเกิดจากแพทย์ที่เลือก เข้าไป  
 
เลิกเถอะค่านิยม เอาอาจารย์นั้นอาจารย์นี้เข้าไปเพราะเคยสอน...เขาไม่ได้เอาแพทย์สภาไว้สอน อันด้านวิชาการนั้นเป็นเรื่องของราชวิทยาลัย  
 
แพทยสภาเขาไว้ดูแล ปกป้อง คุ้มครองแพทย์และประชาชน ต้องบริหาร ต้องบริการ ต้องรู้กฏหมาย ต้องสื่อสารดีพอ เข้าใจเรา เข้าใจประชาชน ขจัดหมอพาล อภิบาลหมอดี จรรโลงคุณธรรม ..
 
นั่นคือโจทย์  อาจารย์ รร.แพทย์นะครับเลือกได้ไม่ขัอข้องแต่ต้องมีวิสัยทัศน์เป็นที่ประจักษ์ ติดดิน ติดกับปัญหา พร้อมแก้ไข และมีผลงานครับ ถึ่งจะช่วยพวกเราได้..เราเลือกเพื่อทั้งองค์กรจะดีกว่าไม่งั้นถึงคราวล่มสลา ยขององค์กรแพทย์โดย NGO จะเข้ามาจัดระเบียบพวกเราแทน หากดูแลกันเองได้ไม่เป็นระบบ หรือมัวแต่ขัดกันเองแบบนี้นะครับ  
 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 19:35:08

8.2ยุทธศาสตร์ตอนนี้ น่าจะต้องเป็นเรื่องของอะไรบ้าง-  
 
----ยุทธศาสตร์กฎหมาย มีกี่คนที่เลือกสมัครครั้งนี้จบกฏหมาย --->รู้กฎหมายจริงๆ มาช่วยกันดูแลพวกเราแบบพี่น้องๆ   อย่าให้คนดีต้องติดคุก ให้คนไม่ดีติดก็เพียงพอแล้ว ทำอย่างไรให้หมอดีๆอุ่นใจ เต็มใจ จริงในกับการดูแลประชาชนโดยไม่หวาดระแวง.
 
อันนี้คนพูดกันมากแล้วครับหากอยากดูข้อมูลเพิ่มลองดูจาก powerpoint นี้ครับ สถานการณ์ความขัดแย้งทาง การแพทย์และสาธารณสุข http://www.moph.go.th/ops/cphc/documents/situation_all.pps  
 
----ยุทธศาสตร์การสื่อสารและประชาสัมพันธ์เชิงรุกต่อประชาชน ต่อแพทย์ สร้างภาพลักษณ์ที่ดี แบบมืออาชีพ ไม่ใช่แบบรายวัน วางแผนราวกับบริษัทผลิตภัณฑ์ยาออกproduct ใหม่ เอามือบริหารการตลาดมาช่วย หมอเราเก่งๆเยอะครับ แบบ สสส.เลิกเหล้า แบบ ช่วงขจัดลูกน้ำยุงลาย เราทำได้ แพทยสภาต้องทำครับ เพราะแพทย์สภาเป็นปากเสียงประชาชนต้องมีข่าวที่มีแผนตลอดปี ต้องเลือกคนที่คิดเป็นเข้าไป หรืออย่างน้อยที่มีvision แล้วหาคนที่คิดเป็นและมีฝีมือมาเป็นลูกมือครับ  
 
----ยุทธศาสตร์ information ไอที ต้องดี อินเตอร์เนต +เวป ต้องเอามาใช้งาน ปฏิเสธไม่ได้แล้วครับ ลูกเด็กเล็กแดงตอนนี้ทำการบ้าน online ทั้งนั้น แพทยสภาต้องเน้นเอาเทคโนโลยีทำงาน ตั้งแผนโครงการณ์ใน1ปี 2ปี online บริการสมาชิก 24 ชม.แก้ปัญหา ปรึกษาทาง mail link เชื่อมโยงระหว่างประเทศ ระหว่างชุมชน เมืองและชนบท เดี๋ยวนี้มีเกือบ100% ของ รพ.แล้ว ในยุโรป ระบบ consult online มีมาตั้งนานแล้ว อาจารย์อยู่ในเมือง ยามชนบทมีปัญหาตามอาจารย์ถามได้หมด ความรู้หลักต้องลง cyber ครับ ให้แพทย์มาดูหาอ่านได้ทันที  
 
---ระบบข้อมูลแพทยสภาต้องแข็งถามว่ามีแพทย์กี่คนในไทย กี่คนทำงานแพทย์ กี่คนลาออกมีชื่อแพทย์แต่ไม่ทำงานแพทย์แล้ว ยังตอบไม่ได้ เวลามีข่าวจับแพทย์เถื่อนทีหนึ่ง แพทย์เมา ทำร้าย แพทย์ขายยา ตรวจสอบจริงไม่ใช่แพทย์ซักคน แพทยสภามัวช้าทำให้ชื่อแพทย์มัวหมอง หน้าที่นี้ต้องได้รับการแก้ไข  
 
---สมาชิกต้องเข้าไปใช้บริการได้แบบธนาคารรวมถึงการบริการโดยเจ้าหน้าที่แพท ยสภาต้องยกระดับแบบ กรมการกงศุลที่ทำพาสปอร์ท ต้องเร็ว กระชับ บริการดี ทันที มี call center หน้าที่เหล่านี้ทำได้ไม่ยากเลยหากกรรมการเห็นความสำคัญบ้าง ที่ผ่านมา2ปี ไม่แถลงความคืบหน้าด้านนี้เท่าที่ควร ชุดต่อไปต้องคิดเป็นการบ้านหลัก..ไม่งั้นผ่านไปเรื่อยๆทุก2ปี.2ปี แก่ลงเรื่อยๆ กรรมการชุดเดิมก็สูงวัยมากขึ้นเรื่อยๆเพราะคุณเลือกเอาท่านไปใช้งานไม่ยอมหย ุด แล้วยังไปว่าท่านได้อย่างไร ก็คุณเป็นคนเลือกเอง...ดูอย่างรพ.รัฐ รพ.เอกชน เดี๋ยวนี้ แทบจะ paperless แล้ว ราชวิทยาลัยบางแห่งประชุมระบบ  online แล้ว แพทยสภายังประชุมเหมือน10ปีก่อนได้อย่างไร..งบครับ งบไม่มี อันนี้ปัญหาต้องขบคิดต่อไป??  
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 19:36:43

 
----ยุทธศาสตร์กำลังพลแพทย์ การดูแลอนุรักษ์ สร้างผลิต รักษาให้เพียงพอ สร้างสวัสดิการลดภาระงานให้เหมาะสม เพิ่มมาตรฐานความรู้ และช่วยให้เขามีความสุขในชีวิตพอเพียงไม่ว่าจะอยู่ อ.เซกา อ.ลันตา ทุ่งหมาว้อ เพราะทุกที่มีประชาชน ต้องดูแล  
 
แพทย์ต้องอยู่ได้ครับแบบที่อาจารย์พินิจ(กุล)พูดเสมอๆ เราจะmonitor คนของเราอย่างไร จากทุกที่ทุกภาค มีข้อมูลสรุปแบบ cockpit management report รายเดือน รายปี ให้เห็นความเคลื่อนไหวระบบ ใครทุกข์ใครสุข ใครเดือนร้อน ฐานข้อมูลสำคัญครับ ภาคไหนออกมาก น้อย ปัญหาอยู่ที่ใดแพทยสภาจะได้มีโอกาสร่วมแก้ไข ให้เป็นที่พึ่งของหมอได้จริงๆ  
 
----ยุทธศาสตร์เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ เช่นที่อาจารย์ประเวศ วะสี ท่านกล่าวถึงเสมอๆ การทำงานต้องร่วมแรง ขยับร่วมกันเป็นเครือข่ายเหมือนยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา องค์กรแพทย์โดยแพทยสภาควรให้เป็นแกนนำที่ชัดเจน จัดเครือข่ายระบบทั้งภาครัฐและเอกชนให้เป็นรูปธรรมรวมกิจกรรมเข้าด้วยกัน สมานฉันท์ ใช้วาทะ แบบสุนทรียสนทนา http://www.hsri.or.th/ (ทำการแพทย์แบบหัวใจมนุษย์ อันนี้ดีมากครับ สร้างระบบคุณธรรม ร่วมกันแบบในไต้หวัน ) รวมสหกำลังภาครัฐ ได้แก่ตั้งแต่ กระทรวงสาธารณสุข กรรมาธิการการสาธารณสุข ที่วุฒิสภา และสภาผู้แทน(ตอนประชาธิปไตยนะครับตอนนี้ไม่มี เป็นสมช.) สปสช. สสส. หลายๆ สมาคมเช่น แพทยสมาคม ราชวิทยาลัยต่างๆ สมาคมรพ.เอกชน สมาคมแพทย์เมือง แพทย์ชนบท เอาให้ชัดเจน มีเวทีของเราเองคุยกันว่าจะเอาอย่างไร เคารพกติกา  
 
อย่าให้ใครออกหน้ามาลงสื่อมวลชน โดยไม่เป็นระบบ อันนี้มีแต่พังกับพัง..สาวไส้กันเอง จริงบ้างเท็จบ้างเพื่อเอาชนะ แพทย์เราจะเสียศรัทธาประชาชน..เราต้องคุยกันให้รู้เรื่องแล้วค่อยแถลงกัน ทำงานกันเป็นเครือข่าย เครือข่ายแพทย์สมานฉันท์ ทางข้อเท็จจริงความเห็นแตกต่างไม่เป็นไร ดีเสียอีกทำให้เกิดการพัฒนาร่วมกัน-ช่วยกัน  อย่าทำการแสดงความเห็นเพื่อทำลายและเอาชนะ หากเป็นเช่นนั้นองค์กรกลางแพทย์ต้องควบคุม จัดระเบียบ โดดเดี่ยว กลุ่มที่ไร้คุณธรรมเหล่านั้น โดยทั้งสิ้นต้องมุ่งหวังภาระกิจเพื่อประชาชน  
 
หมอเราก็คือลูกหลานของประชาชน ลูกหลานหมอก็คือประชาชน..เมื่อหมอเกษียณก็เป็นประชาชน เมื่อหมอเข้าสู่วัฏฏสังสาร หมอแก่ก็ต้องป่วย ป่วยก็ต้องเป็นคนไข้ และต้องเดินทางสู่ความตายเช่นกัน อย่าแยกหมอกับประชาชนเลย  
 
----หมอแค่ตำแหน่งหลอกๆของประชาชนที่ได้ร่ำเรียนวิชาแพทย์เท่านั้นเอง หากจะใช้วิชาแพทย์หรือไม่ หรือมากเท่าใดไม่มีใครรู้..  
 
 -ตัวอย่างดังกล่าวยังมีอีกหลาย model ทางยุทธศาสตร์ ที่แพทยสภาควรต้องคิด และ แพทย์ในฐานะเจ้าของเสียง ต้องคิดและบังคับทิศทางของแพทยสภาเช่นกัน อยากได้อาหารไทยเลิศรส ส่งแม่ครัวจีนหรือลาวเข้าไปคงไม่ได้กินในปีนี้ อาจ ต้องรออีก 2 ปีเชียวนะครับ  
 
 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 19:37:54
9.กรรมการแพทยสภาควรเป็นใคร??   มีข้อสังเกตุว่า  
 
----9.1 จำนวนสัดส่วนแพทย์ที่เป็นภาครัฐกับ รร.แพทย์น่าจะสมดุลย์กัน เพื่อกระจายการแก้ปัญหา เข้าสู่ข้อเท็จจริง  
 
----9.2 กรรมการที่เข้ามาควรมีทุกรุ่น และมีอายุคาบเกี่ยวการทำงานที่มองปัญหาเหมือนกับแพทย์ประสบจริง อย่าสูงวัยเกินยุคจนเกินไป แต่อันนี้ยกเว้นหลายท่านที่อาวุโส แต่ตามงานบ้านเมืองสังคมทันสมัยรู้แจ้งไปหมด เลือกได้ครับ บางท่านพูดได้ แต่ไม่ค่อยทำ บางท่านทำแต่ไม่พูด ดูผลงานดีกว่าครับ  
 
----9.3 หากพึงพอใจอาจารย์แพทย์ที่สอนท่านมา 5ปี 10ปี 20 ปี น่ะครับ กรุณานึกว่าท่านต้องไปแก้ปัญหาให้เราได้ ไม่ได้เชิญไป lecture หรือสอนครับตอนนี้ท่านต้องแต่งชุดรบเข้าสงครามกับเราได้เลย แบบเคียงบ่าเคียงไหล่ ไม่ต้องการท่านมายืนชี้นิ้วสอน หรือบอกว่าสมัยอาจารย์ไม่เห็นมีปัญหา ตรวจ100คนได้ คนไข้ดี มีคุณธรรมมาก คนไข้รักทั้งอำเภอ (ตอนประเทศไทยมี 40ล้านคนรึป่าวครับตอนนี้60ล้านคนแพทย์ 3หมื่นคน(จริงๆเหลือ 1.5-1.6หมื่นคนรวมผู้บริหาร)รับผิดชอบ opd วันละ 3+แสนราย ปีละ กว่า 120+ ล้านครั้ง(ประชากร 2ครั้งต่อคนต่อปี) เธอทำไมไม่เขียนเวชระเบียนแบบเรียนที่ รร.แพทย์ล่ะ สอนไปหมดแล้ว ทำไมไม่ถามประวัติ ไม่ตรวจร่างกาย สอนแล้วทั้งนั้น..  
 
-----อาจารย์ต้องมานั่งตรวจกับพวกเรา แบบ 100คนต่อ3ชม ราวน์ วอร์ด อยู่เวร  ดูไอซียู ..ทำงาน8ชม.อยู่เวร 16ชม.ล้วต่ออีก8ชม.ไม่ได้พัก ..ในต่างจังหวัดซิครับจะเข้าใจ ก็เลือกที่ตรงประเด็นครับ นิติเวชนี่จำเป็นผมว่าจะช่วยงานได้ดี อื่นๆด้านวิชาการไว้เลือกอาจารย์ไปทำงานราชวิทยาลัยเถอะครับ..  
 
 
 
9.4 หากลุ่มตอบสนองยุทธศาสตร์เข้าไปให้มากขึ้น  
 
----1.พิจารณาเลือกนิติศาสตร์ อันดับ 1 สำคัญมากไปแก้ไขงานกฏหมาย พรบ.วิชาชีพที่ออกมาก10-20ปี เอามายกเครื่องได้แล้วครับอย่ารอให้หมอดีติดคุกมากเกินไป  
 
----2.พิจารณาเลือกผู้แทนในการสื่อสารกับประชาชน เลือกแบบ สุนทรียสนทนา ไปรักษาน้ำใจกันมากกว่าเลือกแบบรถถังไปลุย ระเบิดไปทำลายล้างบาง...แพทยสภาจะลุกเป็นไฟ อยากได้ผลแบบเดียวกัน  
**เดี๋ยวนี้ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังครับ ใช้การฑูต วาทะศิลป์ดีกว่าครับ  
ให้แพทยสภาน่าคบหาในสังคมต่อไปแบบเคียงข้างประชาชนครับ เอาอาจารย์ที่ติดดินอย่าอยู่บนหอคอยงาช้าง โดยเฉพาะที่ออกทีวีได้..ไม่เขิน  พูดแบบโฆษกรัฐบาลได้ เรามีอยู่แล้ว..  
 
----3. เลือกนักบริหารจัดการ วางยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ได้ ดูแลลูกค้าได้ แบบมืออาชีพ..ประสาน10 ทิศครับ เชื่อมโยงเครือข่ายเข้าหากันทุกรูปแบบ แบบพันธมิตรทั้งการเมืองและต่างประเทศยิ่งดี เรามีอยู่แล้วใน 46 คนนี่ครับ  
 
----4. เลือกนักจัดการด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ทางการแพทย์ถ้ามี และ หรือให้ท่านที่มีการเชื่อมโยงกับกลุ่มเศรษฐกิจครับจะช่วยพวกเราได้มาก  
 
----5.เลือกท่านที่มีวิสัยทัศน์ทันสมัยทางไอที ที่สามารถสร้างระบบมาบริการพวกเราได้ให้ทันสมัยมากพอตามยุทธศาสตร์สารสนเทศ หากไม่มีคงต้องเลือกคนที่มีวิสัยทัศน์ทางด้านนี้มากๆ หรือกลุ่มที่อายุน้อยลง เข้าใจระบบสารสนเทศปัจจุบันเพียงพอ มาทำข้อมูลสารสนเทศ รับใช้แพทย์เราได้  
 
----6. บางท่านไม่รู้จะเลือกทำไมเป็นคนดังมีชื่อเห็นบ่อยๆแต่ไม่รู้เขาจะทำอะไรให้  อย่าเลือกแบบไม่มีจุดมุ่งหมายเลยครับ เพราะอาจจะไปกันให้กรรมการที่คุณอยากได้น่ะตกรอบแทนครับ อีกประการเลือกใครให้ดูว่าเขาเสถียรหรือยัง หากชีวิตยังไม่ลงตัว ต้องรับภาระมากมาย แก้ปัญหารักษาองค์กรตนเองก็แทบไม่มีเวลาแล้ว จะแบ่งเวลา 24 ชม.มาช่วยแพทยสภาได้อย่างไร ..  
 
----ยิ่งภาระตำแหน่งเพียบ ยิ่งไม่มีเวลา แพทยสภาไม่ใช่งาน routine  ต้องเป็นงาน-เท่าทันคน-เท่าทันสังคม ต้องมีเวลาให้ครับหรือ บางท่านต้องออกโอพีดี ทำเอกชนเพียบ ก็ไม่มีเวลาครับ กรุณาพิจารณาก่อนเลือกท่านมาใช้ให้ดีนะครับ  
 
----7.คิดเสียว่าการเลือกเพื่อสร้างอนาคตแพทยสภานะครับ ไม่ได้เลือกคนรู้จักคนดังตามกระแส ไว้อวดว่าเรารู้จักครับ ยิ่งวิกฤติขนาดนี้ ไม่รีบแก้ไข องค์กรแพทย์จะไปไม่รอดนะครับ..  
 
 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 19:40:37

 
 
 
 
..คุมกันเองดีกว่า หยุดยั้ง ngo ที่อยากแก้กฎหมายเข้ามาคุมพวกเรา (ตอนนี้เขาขอเข้ามามีที่นั่งในแพทยสภาแล้วนะครับถ้ายังไม่ทราบโปรดทราบ) เพราะอะไรครับ เพราะเขามองว่าแพทยสภาปกป้องพวกเดียวกันเกินไป..ทำไมหรือ..
 
ลองมองดูซิครับว่าข้อเท็จจริงคือแพทย์เองเป็นปุถุชน ไม่ได้ดีเยี่ยม มีคุณธรรมทุกคน ถึงแม้คนดียังมีโอกาส เหนื่อย หิว ง่วง และผิดพลาด ได้เช่นทุกคน และเช่นเดียวกันไม่มีครูคนใดสอนได้ทุกวิชา..ไม่มีศาลใดศาลเดียวว่าความได้ทุ กคดี(ต้องแยกศาลต่างๆ)  ไม่มีตำรวจคนใดจับผู้ร้ายได้ทุกประเภท และโบกจราจรได้ด้วย ดังนั้นไม่มีหมอคนใดในโลกนี้ รักษาโรคของผู้ป่วยได้ทุกโรค(จึงต้องปฎิเสธหรือเปล่าครับ??)   คนที่ไม่ดีก็มีบ้างต้องยอมรับความจริง แต่น้อยครับ  
 
--------- แพทยสภามีหน้าที่ต้องมาดูแล ปลาทั้งข้อง..จัดระเบียบปลา หากปลาตัวใดเน่า..แล้วทำข้องเหม็นต้องรีบย้ายออกนอกข้องนะครับ ..ลงโทษเลยให้ชัดเจน แพทย์ไม่ดี จะติดคุก ต้องไม่ช่วย เพื่อให้แพทย์ดีๆ ซึ่งเป็นแพทย์ส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ได้ครับ แต่ถ้าแพทย์ดีๆต้องปกป้องสุดตัวครับ  
 
อันนี้ชี้ให้ประชาชนเห็นว่าเราเป็นธรรม เรารักประชาชน และรักษามาตรฐานตัวเองได้ ผมคิดว่าไม่มีองค์กรไหนอยากมายุ่งกับเราหรอกครับ..และองค์กรวิชาชีพอื่นก็แท บไม่มีใครที่มีคนนอกเข้าไปนะครับ..เราต้องจริงจังกับมาตรฐาน..ถ้าคุมกันไม่ไ ด้เราจะเสียอำนาจการปกครองพวกเราเอง..ถึงเวลานั้นจะต้องเสียใจ..เสียดายโอกา ส..เพราะเราเป็นคนเลือกผู้บริหารเองกับมือครับ..  
 
..แพทยสภาจะเป็นอย่างไรอยู่ในมือท่านแล้ววันนี้ตระหนักสักนิด ก่อนคิดเลือกใคร.....  
 
 
 
-::- Information Technology is Power of the Next Generation -::-
<<ข้อเท็จจริงทางการแพทย์>>ไม่มีหมอคนใดที่สามารถรักษาได้..ทุกโรค สามารถทำงานได้ตลอด24 ชม.ด้วยสติ สมาธิ มีประสิทธิภาพ โดยไม่ใช้ประวัติที่ถูกต้องจากผู้ป่วยและไร้ข้อผิดพลาดของมนุษย์  
 
ส่งโดย: 716 ' 16  
 
 
 
 
 
นำมาฝากกัน .. ก็ยังมีข้อคิด ความเห็นที่ยังน่าสนใจ น่าขบคิดกันต่อ ...
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 19:46:24

 
 
ยาวมาก .. ต้อง เน้นอีกรอบ ที่ผมตั้งใจจะเลือกแน่ ๆ ....   Grin
 
 
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา เบอร์ 29
 
ทีม ชพพ   ๓๐ – ๕๐  ยกทีมไปเลย   Shocked
 
 
ฝากพี่ ๆ น้อง ๆ ด้วยนะครับ ...
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 19:48:14

เชียร์กันเห็นๆ ชัด ๆ จะ ๆ ไปเลย ...  
 
 
 
ปล. พี่ เชิดชู อริยศรีวัฒนา เบอร์ 29 ไม่มีรูปนะครับ แต่พี่เข้ามาแจมกับพวกเราบ่อยมาก  หลาย ๆ ท่าน ก็คงพอรู้จักกันบ้างแล้ว ... Grin
จากคุณ: e1vtm1 โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 21:52:40
Winkแบบนี้น่าจะสนับสนุน แพทย์จากภาครัฐในต่างจังหวัดให้มากขึ้นนะครับ แต่ว่าแล้วจะว่างหรือไปทำงานได้หรื่อ เพราะกทม.คือศููนย์กลางของทุกสิ่ง อยากให้แพทย์ต่างจังหวัดมีปากมีเสียงมั่ง ไม่อยากให้แพทยสภาเหมือนการเมืองสนามใหญ่ที่ี่ให้แต่กทม.อ่ะ
จากคุณ: หมอก้อนหิน โพสเมื่อวันที่: 12/19/08 เวลา 22:20:45
จะพยายามเลือกแพทย์ที่ทำงานที่ต่างจังหวัดครับ น่าจะรู้ปัญหาดีกว่าแพทย์ที่ทำงานในเมือง
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/20/08 เวลา 18:03:04

เลือกแพทย์ต่างจังหวัด ก็มีปัญหาเหมือนกันนะครับ ...  
 
เพราะ ต้องมีประชุม บ่อย ๆ ... ถ้าเป็นหมอ รพ.รัฐ ต้องอยู่เวร ออกโอพีดี แถมทำคลินิก ยิ่งถ้าอยู่ไกล ๆ จาก กทม. ต้องเดินทางอีก  ...
 
ใครที่เสนอตัวให้เลือก ก็ต้องพิจารณาดี ๆ เพราะที่ผ่านมา ก็มีเหมือนกันที่ ตัวแทนต่างจังหวัดไม่ค่อยได้เข้าประชุม ... ไม่ว่าจะเป็น ตัวแทนที่ได้รับเลือก หรือ ที่ได้รับแต่งตั้งโดยตำแหน่ง  Roll Eyes
 
สำหรับผู้สมัคร ... ถ้าได้รับเลือก ก็ควรจะทุ่มเท ให้สมกับที่ กล้า เสนอตัวเข้ามา และ ได้รับ ความสนับสนุนไว้วางใจจากแพทย์ท่านอื่น ... ได้อย่างก็เสียอย่าง จะเอาทั้งเงินทั้งกล่อง คงไม่เหมาะมั๊ง ... Roll Eyes
 
 
 
ปล.วันนี้ ก็ยังไม่ได้เอกสารเลยครับ .. ท่าทางอาทิตย์หน้าต้องตามทวงซะหน่อยแล้ว ... เดี๋ยวจะเสียสิทธิ ต้องรอ ๒ ปีโน่นนนนน
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/20/08 เวลา 18:36:38

กระทู้นี้ ก็น่าสนใจ  ... เป็นผู้สมัครรายเดียว ที่เข้ามาพูดคุย หาเสียง ในห้องนี้ ...  
 
แวะไปแจมกัน ..
 
 
หัวข้อ 35087: แนวทางแก้ไขปัญหา“การฟ้องร้องแพทย์” โดยผู้สมัครกรรมการแพทยสภา เบอร์ 1  (จำนวนคนอ่าน 47 ครั้ง)
 
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1229759781
จากคุณ: Blackburn>>> โพสเมื่อวันที่: 12/20/08 เวลา 19:17:57
on 12/20/08 เวลา 18:03:04, หมอหมู wrote:

เลือกแพทย์ต่างจังหวัด ก็มีปัญหาเหมือนกันนะครับ ...  
 
เพราะ ต้องมีประชุม บ่อย ๆ ... ถ้าเป็นหมอ รพ.รัฐ ต้องอยู่เวร ออกโอพีดี แถมทำคลินิก ยิ่งถ้าอยู่ไกล ๆ จาก กทม. ต้องเดินทางอีก  ...
 
ใครที่เสนอตัวให้เลือก ก็ต้องพิจารณาดี ๆ เพราะที่ผ่านมา ก็มีเหมือนกันที่ ตัวแทนต่างจังหวัดไม่ค่อยได้เข้าประชุม ... ไม่ว่าจะเป็น ตัวแทนที่ได้รับเลือก หรือ ที่ได้รับแต่งตั้งโดยตำแหน่ง  Roll Eyes
 
สำหรับผู้สมัคร ... ถ้าได้รับเลือก ก็ควรจะทุ่มเท ให้สมกับที่ กล้า เสนอตัวเข้ามา และ ได้รับ ความสนับสนุนไว้วางใจจากแพทย์ท่านอื่น ... ได้อย่างก็เสียอย่าง จะเอาทั้งเงินทั้งกล่อง คงไม่เหมาะมั๊ง ... Roll Eyes
 
 
 
ปล.วันนี้ ก็ยังไม่ได้เอกสารเลยครับ .. ท่าทางอาทิตย์หน้าต้องตามทวงซะหน่อยแล้ว ... เดี๋ยวจะเสียสิทธิ ต้องรอ ๒ ปีโน่นนนนน

 
 
 
งั้นต้องถามว่าทำไมต้องประชุมแต่ที่กรุงเทพ ฯ   คล้าย ๆ กับเรื่องประชุมวิชาการ   จริง ๆ ควรเปลี่ยนที่ประชุมให้ทั่วประเทศ     ทำไมหมอต่างจังหวัดต้องสละเวลาไปประชุมแต่เพียงฝ่ายเดียว  Huh
 
 
 
 
เอ....ว่าแต่ว่าปีนี้จะมีพวกนอกวงการตัวปัญหาเจ้าเดิมมาเที่ยววิจารณ์การเลื อกตั้งกรรมการแพทยสภาอีกมั้ยเนี่ย  Lips Sealed    
จากคุณ: stickyrice โพสเมื่อวันที่: 12/21/08 เวลา 12:31:31
ยังไม่ได้บัตรลงคะแนนเลย  ทำไงดี แง แง
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/21/08 เวลา 19:29:21

Quote:
 
งั้นต้องถามว่าทำไมต้องประชุมแต่ที่กรุงเทพ ฯ   คล้าย ๆ กับเรื่องประชุมวิชาการ   จริง ๆ ควรเปลี่ยนที่ประชุมให้ทั่วประเทศ     ทำไมหมอต่างจังหวัดต้องสละเวลาไปประชุมแต่เพียงฝ่ายเดียว

 
เห็นด้วยเลยครับ ...  
 
แต่ความเป็นจริง ก็คงลำบากเหมือนกันถ้าต้องเปลี่ยนที่ประชุม ทุกเดือน  Roll Eyes
 
 
Quote:

เอ....ว่าแต่ว่าปีนี้จะมีพวกนอกวงการตัวปัญหาเจ้าเดิมมาเที่ยววิจารณ์การเลื  อกตั้งกรรมการแพทยสภาอีกมั้ยเนี่ย

 
ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องลุ้น ... มี แน่นอน  ฟันธง  Grin
 
 
 
 
Quote:
ยังไม่ได้บัตรลงคะแนนเลย  ทำไงดี แง แง

 
แสดงว่า " อยู่บ้านนอก " เหมือนกับพี่ สิเนี่ย ... พี่ก็ยังไม่ได้เหมือนกัน ...
 
รอดูอาทิตย์หน้า  ถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็ต้องติดต่อแพทยสภา นะครับ ตามนี้เลย  
 
 
 
Quote:
อนึ่ง ในกรณีที่ท่านไม่ได้รับบัตรลงคะแนนเลือกตั้งหรือต้องการบัตรแทน โปรดแจ้ง ความจำนงด้วยตนเอง  พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นใดที่สามารถอ้างอิงได้ โดยลงลายมือชื่อรับรองเอกสาร ไปยังสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา อาคาร 6 ชั้น 7 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์  
อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 หรือ โทรสาร 0-2591-8614-5 ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2551 – 9 มกราคม 2552  
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 0-2590-18881 , 0-2590-1888 ต่อ 610 ,620  

 
 
 
อ้อ .... อย่าลืม นะครับ  
 
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา เบอร์ 29
 
ทีม ชพพ   ๓๐ – ๕๐  ยกทีมไปเลย
จากคุณ: Dr.Tum โพสเมื่อวันที่: 12/22/08 เวลา 01:34:41
Grinโห..เชียร์กันน่าดู Grin
จากคุณ: Majin Ingram โพสเมื่อวันที่: 12/23/08 เวลา 17:39:11
Grin Grin
จากคุณ: Dr.Freaks โพสเมื่อวันที่: 12/24/08 เวลา 02:46:02
การเมืองของแพทย์ครับ
จากคุณ: kitty2521 แมวแสนสวย โพสเมื่อวันที่: 12/24/08 เวลา 17:03:24
Roll Eyes
จากคุณ: tebes โพสเมื่อวันที่: 12/24/08 เวลา 17:58:53
เพิ่งได้รับบัตรเลิอกตั้ง   ส่งไปแล้วครับ ตามสูตรเพื่อแพทย์  โดยแพทย์และของแพทย์   ฮาๆๆๆ
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/24/08 เวลา 19:42:21

ได้รับเอกสาร มาเพิ่มเติม ...  Grin
 
ชุดนี้ หมายเลข ๒ - ๒๔   ... ส่วนใหญ่ก็คุ้นหน้ากันอยู่ ..  
 
 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/24/08 เวลา 19:47:36

นโยบาย
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/24/08 เวลา 19:48:01

ต่อ ...
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 12/24/08 เวลา 19:55:18

 
 
 
 
Quote:
ที่ผม มองๆ  ไว้ ยังไม่ครบทั้ง  ๒๖ ท่าน  แต่ที่เลือกแน่ ๆ  
 
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา เบอร์ 29
 
ทีม ชพพ   ๓๐ – ๕๐  ยกทีมไปเลย ..

 
ที่น่าสนใจ ... เพิ่มจากที่เลือกไว้แล้ว ( ๒๒ ท่าน ) ... อีก ๔ ท่าน  
 
หมายเลข
 
๒ อ.พินิจ
 
๖. อ.วิสูตร
 
๙ อ.สมศรี
 
๑๑ อ.เอื้อชาติ
 
 
 
 
ปีนี้ รู้สึกว่า การเลือกตั้ง มันเงียบ ๆ ยังไง ไม่รู้ ...  
 
อาจเป็นเพราะ การเมืองสนามใหญ่ ?  หรือ ไม่มี ข่าว คดีฟ้องร้องแพทย์ ?
 
ต้องรอให้เป็นเรื่อง เกิดเรื่องก่อน ถึงจะกระตือรืนร้นกันอย่างนั้นหรือ Huh?
 
 
ฝาก ๆ ช่วยกันหน่อยนะครับ ... บอกกันให้ใช้สิทธิ์ลงคะแนนกันเยอะ เลือกใครก็ได้ ที่คิดว่า เป็นตัวแทนทำหน้าที่นี้ได้ดีที่สุด ...  
 
 
 
 
 
ปล. ถ้าไม่รู้จะเลือกใครก็เลือกแบบผม ก็ได้ ไม่ว่ากัน อยู่แล้วววว Grin
จากคุณ: doctorNUKE โพสเมื่อวันที่: 12/26/08 เวลา 23:39:49
เลือกและส่งไปแล้วครับ
 Wink
จากคุณ: D_HRT โพสเมื่อวันที่: 12/27/08 เวลา 15:02:47
Smiley Smileyเพื่อนป๋มลงสมัครด้วยอะคับ Smiley Smiley
จากคุณ: Tiger_p โพสเมื่อวันที่: 01/06/09 เวลา 09:46:07
ส่วนใหญ่ก็เลือก รายชื่อข้างต้นแหละ
แต่ว่า ใส หมอ วิชัย เข้าไปคนหนึ่ง จะได้มีสีสันขึ้น...
 Grin Grin Grin Grin Grin Grin
จากคุณ: => Mr. Sniper  <= โพสเมื่อวันที่: 01/07/09 เวลา 16:03:33
ุ่เลือกไปแว้วค้าบ  Grin
 
เมื่อไรพี่หมูจะลงอ่ะคับ รออยู่ ๆ Smiley
 
แต่สังเกตว่า most common จะเป็นหมอศัลย์ Grin
จากคุณ: e1vtm1 โพสเมื่อวันที่: 01/08/09 เวลา 21:57:52
เลือกแล้ว แต่ตัวเลือกไม่ค่อยน่าเลือกเลยครับ ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารมาก่อน ทั้งภาครัฐและเอกชน บางคนเป็นอาจารย์แพทย์ ส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นผลงาน ไม่ค่อยมีแพทย์ที่ดูธรรมดาและสัมผัสได้ ไม่รู้ท่านทั้งหลายจะเข้าใจน้องๆ บ้างหรือไม่ เฮ้อ  Undecided
จากคุณ: หมอบนดอย โพสเมื่อวันที่: 01/12/09 เวลา 21:39:20
Wink
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 01/17/09 เวลา 08:02:11
         ใจกระผมเองเลือกตามปัญหาที่วงการแพทย์กำลังผะเชิญยิ่งยวด    แล้วกาบัตรเทหน้าตักรักหมดใจให้บุคคลที่พอจะจัดการกับปัญหาบ้าๆนั้นได้    ปัญหายิ่งยวดปัจจุบันคือภัยคุกคามวิชาชีพแพทย์  ที่สำคัญคือผู้ป่วยฟ้องร้องแพทย์ตามชอบใจ ซึ่งก็ไม่มีวิธีอื่นนอกจากเขียนกฏหมายใหม่   แปลว่า  เราต้องการแพทย์จบด้านกฏหมาย  ,  แพทย์อาวุโสมียศศักดิ์น่ายำเกรงต่อสังคมในวงกว้าง  , แพทย์ช่ำชองการเมือง-ระบบราชการ  และแพทย์ที่ดำเนินการเรื่องนี้อยู่   เหล่านี้   เพื่อกดดันให้บังเกิดกฏหมายใหม่ให้จนได้  กระผมหมอเมืองสยามเข้าใจว่า  แพทยสภาชุดปัจจุบันกำลังพยายามแก้ไขกฏหมายยิกๆดีแต่ยังไม่เสร็จ   อุปมาต้มโจ้กแต่ยังไม่สุก  เราๆท่านๆจำต้องทำอะไรสักอย่าง  ทางหนึ่งคือกาบัตรเลือก"ชุดปัจจุบัน"ไปต้มโจ๊กให้สุกครับ
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 01/19/09 เวลา 16:26:08

ตอนนี้ ก็รอลุ้นผลคะแนน ...
 
 
 
 
ว่าง ๆ ก็แวะไปแจม กระทู้นี้นะครับ ..
 
หัวข้อ 36209: TCC >>อยากให้กรรมการแพทยสภาวาระใหม่ที่เริ่ม 1 กพ.นี้ทำอะไรบ้างHuh...  
 
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1232291990
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 01/22/09 เวลา 16:58:59

ได้ทราบผลกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ...  
 
ยินดี กับ ท่านที่ได้ ...  
 
เสียใจ กับ ท่านที่ไม่ได้ ... ( โดยเฉพาะ อ.เชิดชู  Cry  )  
 
 
 
ตอนนี้ พวกเรา ก็มีหน้าที่ ต้องติดตาม การทำงานของแพทยสภาชุดใหม่ กันต่อไป  ต้องร่วมกัน ช่วยกัน แสดงความคิดเห็น เพื่อให้กรรมการแพทยสภาได้รับรู้ว่า เราคิดเห็นอย่างไร กับสิ่งที่เป็นอยู่ ...
 
      อะไรที่ไม่ชอบ ก็ติ (เพื่อก่อ)  
 
      อะไรที่อยากให้ทำ ก็แสดงความเห็น  
 
      อะไรที่ดีแล้ว ก็แสดงความชื่นชม เป็นกำลังใจ ...
 
 
 
 
ก็รวบรวมกระทู้ ซะหน่อย ... เผื่อใครสนใจ ...
 
 
หัวข้อ 36303: เลือกแพทยสภาพรุ่งนี้ระทึก! ลุ้น   (จำนวนคนอ่าน 238 ครั้ง)
 
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1232460960
 
 
หัวข้อ 36343: "หมอสมศักดิ์"มาทั้งก๊วนนั่งแพทยสภาสมัยที่ 13  (จำนวนคนอ่าน 605 ครั้ง)
 
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1232526492
 
 
หัวข้อ 36351: ประกาศผลการเลือกตั้งแพทยสภา วารที่17::  2552-2554  (จำนวนคนอ่าน 466 ครั้ง)
 
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1232538613
 
 
 
คงมีอีกหลายเรื่อง ที่รอให้ คณะกรรมการ ชุดนี้ ดำเนินการต่อ .. ฝากอาจารย์ ทุกท่าน ด้วยนะครับ ....
 
 
 
ปล. พวกเราเอง ก็ต้องติดตาม ไม่ใช่เลือกแล้วปล่อยเลยตามเลยเน้อ ..
 
 
 
 Wink
จากคุณ: 716:16 โพสเมื่อวันที่: 01/27/09 เวลา 07:39:52


 
 
 
ประกาศคณะอนุกรรมการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา
ที่   2  / 2552
เรื่อง  การเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ.2552 – 2554
…………………………………….  
ตามที่คณะอนุกรรมการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา     ได้ประกาศให้สมาชิกเลือกผู้สมควรเป็นกรรมการ  แพทยสภาจำนวน 26 คน จากผู้สมัคร 54 คน    โดยกำหนดระยะเวลาให้สมาชิกส่งบัตรลงคะแนนเลือกตั้งกลับคืนสำนักงานเลขาธิการ แพทยสภาในวันอังคารที่ 20  มกราคม พ.ศ.2552 เวลา 16.30 น.  นั้น
 
คณะอนุกรรมการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา ได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้ควบคุมงานชุดต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการ เลือกตั้งกรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ.2552 - 2554  เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบริสุทธิ์ยุติธรรม ดังนี้
 
(1.)ผู้ควบคุมดูแลเก็บรักษาและส่งบัตรเลือกตั้ง  มีนายแพทย์วีรพล     นิธิพงศ์  เป็นประธาน
 
(2.)ผู้เก็บรักษากุญแจหีบบัตรเลือกตั้ง       มีนายแพทย์พรณรงค์ โชติวรรณ   เป็นประธาน
 
นอกจากนี้ได้เชิญประธานคณะอนุกรรมการสอบสวนร่วมเป็นกรรมการสักขีพยานรวมทั้ง เชิญนิสิตและนักศึกษาแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล     คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าฯ    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี     คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต   คณะแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล   จำนวน   40 คน    เป็นผู้ตรวจนับคะแนนบัตรเลือกตั้ง   ในวันพุธที่  21 มกราคม พ.ศ.2552  เริ่มตั้งแต่เวลา  09.00 น.    
 
     
 
ผู้สมัครรับเลือกตั้งคณะกรรมการแพทยสภาที่ได้คะแนนสูงสุดยี่สิบหกคนแรก   ถือได้ว่าได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการแพทยสภา ในวาระ พ.ศ.2552 -2554  โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นต้นไป ตามนัยแห่งข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการเลือกตั้งและการเลือกตั้งกรรมการแพทยส ภา พ.ศ. 2525  หมวด 1  ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525          
ประกาศ ณ วันที่   21  มกราคม 2552
(นายแพทย์พรณรงค์  โชติวรรณ)    
ประธานคณะอนุกรรมการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา


 

 

 

 
ปัญหาที่รออยู่.....


จากคุณ: หมอ คิกคุ โพสเมื่อวันที่: 05/18/09 เวลา 23:55:19
Cheesy Grin


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by