หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   ICU : Interesting Creative Usergroup
   Post reply ( Re: ประชาชนเสียอะไรถ้าหมอยังเสี่ยงต่อการถูกตัดสินจำคุก )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 05:00:50
ประชาชนเสียอะไรเมื่อแพทย์เสี่ยงต่อการติดคุกจากการรักษาประชาชน
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย
     วิชาชีพเวชกรรมหรือวิชาชีพแพทย์ เป็นวิชาชีพที่จำเป็นต่อสังคมอย่างยิ่ง เพราะคนเราย่อมต้องอาศัยแพทย์หรือผู้มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาโรค เพื่อจะได้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ห่างไกลโรค มีชีวิตที่ยืนยาว มีความสุขเพราะมีสุขภาพดี หรือแม้ว่าคนเราจะมีการดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอย่างดีเยี่ยมอย่างไ รก็ตาม ก็ยังมีการเจ็บป่วยจากความเสื่อมของสังขาร เจ็บป่วยจากสิ่งแวดล้อมและเชื้อโรค เจ็บป่วยจากพฤติกรรมในการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองและผู้อื่นในสังคม เช่นการเกิดอุบัติภัยจากการจราจร การได้รับมลภาวะจากสิ่งแวดล้อม หรือการดื่มเหล้า การใช้สารเสพติด ภาวะโรคทางพันธุกรรม หรือสารพิษในอาหารและอากาศที่ก่อให้เกิดมะเร็ง หรือโรคร้าย และสาเหตุต่างๆอีกมากมายที่จะทำให้คนเราเจ็บป่วย รวมทั้งความเสื่อมของร่างการตามวัยและสังขารของแต่ละคน
 เมื่อเกิดการเจ็บป่วย (บาดเจ็บ และเป็นโรค) แล้ว สิ่งแรกที่ประชาชนจะนึกถึงก็คือ การไปแสวงหายาหรืออาหารหรือวิธีการต่างๆที่ประชาชนผู้เจ็บป่วยจะแสวงหาจากผู ้รู้เพื่อดูแลรักษาตนเอง อาจเริ่มจากญาติผู้ใหญ่ในบ้าน เพื่อนบ้าน และท้ายที่สุดไปซื้อยามารักษาตัวเอง และในที่สุดก็จะต้องไปหาผู้มีความรู้ในด้านการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นคนขายยา (ที่อาจมีความรู้ในสรรพคุณของยารักษาโรค) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) พนักงานสาธารณสุขหรือที่เรียกว่าหมออนามัย พยาบาล และอาจไปแสวงหาการรักษาจากการแพทย์ทางเลือก แต่ในที่สุดแล้ว การแพททย์แผนปัจจุบันที่เราได้รับการพัฒนาจากแบบแผนทางตะวันตก ก็จะเป็นที่พึ่งแห่งสำคัญที่สุดที่ประชาชนเชื่อถือและไว้วางใจ จากสถิติพบว่า ประชาชนไปรับการรักษาความเจ็บป่วยเฉพาะที่ไม่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลถึง 130 ล้านครั้ง ต้องไปนอนรักษาและผ่าตัดในโรงพยาบาลมากกว่า 20..ล้านคน ซึ่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย ถือว่าอยู่ในระดับเท่าเทียมกับการแพทย์แผนปัจจุบันของประเทศที่พัฒนาแล้วทั้ งปวง ไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐ แคนาดา และประเทศในยุโรปหรือออสเตรเลีย  ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้ าที่ได้ทรงสร้างโรงศิริราชพยาบาล ซึ่งได้มีการเจริญรุ่งเรืองเป็นสถานศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งแรกขอ งประเทศไทย และยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่จากสมเด็จพระมหิตลาธิบศร์อดุลยเดชว ิกรม พระบรมราชชนก ที่ได้ทรงสนับสนุนและพัฒนาการแพทย์ไทย และพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ได้ทรงสนับสนุนการพัฒนาการแพทย์ และการสาธารณสุขไทยให้เจริญรุ่งเรืองตลอดมา ทำให้ประชาชนไทยมีสุขภาพดี มีชีวิตยืนยาวมากขึ้น และไม่ต้องไปแสวงหาการรักษาจากต่างประเทศ เนื่องจากความเจริญรุ่งเรืองในการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย สถานศึกษาทางการแพทย์ไทยได้สั่งสอนนักศึกษาที่จะจบมาเป็นแพทย์ให้ยึดถือคุณธ รรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพแพทย์ โดยยึดถือพระราชดำรัสในสมเด็จพระบรมราชชนกที่ว่า “ให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เหนือผลประโยชน์ของตนเอง และให้ยึดถือคุณธรรมและจริยธรรมของวิชาชีพแพทย์เหมือนกับคุณธรรมและจริยธรรม ของแพทย์ที่ถือเป็นสากลทั่วโลก เราจึงเห็นได้ว่าแม้แพทย์จะมีความทุกข์ที่ในปัจจุบันนี้ ประชาชนฟ้องแพทย์เป็นคดีอาญาจนศาลยุติธรรมได้ตัดสินให้จำคุกแพทย์ 3 ปีในความผิดฐานทำให้คน(ผู้ป่วย)ตายโดยประมาท โดยไม่มีการรอลงอาญา แพทย์ก็ยังต้องทำงานรักษาผู้ป่วยต่อไป แม้ว่าแพทย์ไทยในระบบราชการจะต้องทำงานหนักถึงสัปดาห์ละ 90- 100 ชั่วโมง แพทย์ก็ยังก้มหน้าก้มตาทำงานของตนต่อไป ถึงแม้เงินเดือนแพทย์จะน้อย เริ่มต้นเพียงเดือนละหมื่นบาท และค่าทำงานตรวจผู้ป่วยฉุกเฉินในเวลากลางคืน( ที่สมควรจะได้พักผ่อนและใช้ชีวิตกับลูก ภรรยา หรือสามี) ก็ได้รับค่าตอบแทนเพียงชั่วโมงละ 50 บาท แพทย์ก็ยังก้มหน้าก้มตาทำงานต่อไป แม้รัฐบาลจะใช้มาตรการบังคับให้แพทย์ต้องไปทำงานต่างจังหวัดหลังเรียนจบ 3 ปี ทั้งๆที่ไม่เคยได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลเลย แพทย์ส่วนมากก็ยังยอมถูกบังคับและไปทำงานในชนบทที่ห่างไกลและทุรกันดาร ตรวจผู้เจ็บป่วยวันละ 100-200 คน และพยายามดูแลรักษาประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถ ในการที่จะดูแลรักษา ผ่าตัด ทำคลอด ใส่เฝือก ดมยา ฯลฯ ทั้งๆที่ขาดอุปกรณ์ที่ทันสมัย และที่สำคัญแพทย์ยอมเสี่ยงที่จะรักษาและผ่าตัดทั้งๆที่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวช าญเฉพาะทาง เพื่อที่จะช่วยเหลือประชาชนผู้เจ็บป่วยด้วยสารพัดโรค แต่เมื่อทำการรักษาหรือผ่าตัดแล้ว เกิดอาการแทรกซ้อน หรือผลอันไม่คาดคิดและไม่พึงประสงค์ (Untoward side effects or unexpected outcome or unwanted reactions) ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น พิการหรือเสียชีวิต ประชาชนก็จะไม่ยอมรับในผลการรักษาเหล่านี้ แม้เมื่อนำเรื่องไปร้องเรียนสภาวิชาชีพแล้ว ได้รับคำชี้แจงจากผู้เชี่ยวชาญว่า ผลแทรกซ้อนหรืออาการอันไม่พึงประสงค์นั้น เป็นเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ และมีรายงานทางการแพทย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว ประชาชนก็ไม่ยอมรับคำอธิบายและคำชี้แจงจากผู้เชี่ยวชาญ กลับกล่าวหาว่าสภาวิชาชีพเข้าข้างแพทย์ หรือปกป้องแพทย์ และนำเรื่องไปฟ้องศาลทางแพ่งก็ขอค่าชดเชยสูงมากนับเป็นนสิบๆร้อยๆล้านบาท และบางคนยังเกิดความเคียดแค้น แพทย์อีกว่าทำความผิดให้ผู้ป่วยตายโดยประมาท นำเรื่องไปฟ้องศาลอาญา ทำให้เกิดการตัดสินจำคุกแพทย์ในการที่ “พยายามจะรักษาคน” แต่รักษาไม่ได้ คนๆนั้นกลับตาย กลายเป็นว่าแพทย์ต้องถูกตัดสินจำคุกทั้งๆที่พยายามจะช่วยชีวิตคน  
     ผลกระทบจากคำพิพากษาในคดีอาญาเช่นนี้ ย่อมมีผลกระทบสุดท้ายไปถึงประชาชนอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนระดับสูงที่มีเงินมากและไปหาแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน หรือประชาชนคนเดินดินกินข้าวแกงที่ยากจนต้องอาศัยการักษาเยียวยาจากโรงพยาบา ลของรัฐบาล เพราะแพทย์ต่างก็คงไม่อยากเสี่ยงต่อการติดคุกตามบรรทัดฐานของการตัดสินของศา ล ที่ว่าเมื่อไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญการดมยาสลบ แล้วไปทำการดมยาสลบ ถือว่าได้กระทำการโดยประมาททำให้คนตาย ต้องติดคุก 3 ปี ต่อไป แพทย์ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัด การทำคลอด การดมยาสลบ ก็คงต้องเลิกทำงานในด้านนั้นๆ เพราะนอกจากจะทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนดังกล่าวแล้ว(ซึ่งมีน้อยมาก อาจเป็นเพียง 1 ในล้านคน ซึ่งน่าที่จะเสี่ยงรักษาได้) แต่เมื่อแพทย์เลือกที่จะรักษาแล้ว
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 05:02:12
แพทย์เองจะต้องเสี่ยงว่า ตัวเองจะถูกจำคุกหรือไม่ แพทย์ซึ่งก็คงจะต้องใช้วิจารณญาณเหมือนมนุษย์ปุถุชนทั่วไป ที่จะเลือกที่จะ “ไม่เสี่ยงรักษาผู้ป่วย” เพราะตัวเองต้องเสี่ยงต่อการติดคุก เหมือนเป็นอาชญากรโฉดชั่วมีความประมาทต่อชีวิตผู้อื่น แพทย์ก็ต้องเลือกที่จะส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่นที่มีหมอดมยาสลบเพื่อที่ จะได้รับการดมยาเพื่อผ่าตัด “อย่างมีคุณภาพมาตรฐานและไม่ประมาท” ตามบรรทัดฐานของศาล เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและเพื่อความปลอดภัยของแพทย์(จากการที่จะไม่ถูกฟ ้องหรือถูกตัดสินจำคุก)
  แต่การที่ประเทศไทยขาดแคลนแพทย์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ทั่วไป แพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางไม่ว่าจะเป็นแพทย์ผ่าตัด (ทั้งผ่าตัดทั่วไป ผ่าหัวใจ ผ่าสมอง ฯลฯ) แพทย์ทำคลอด ผ่าคลอด) แพทย์ดมยาสลบ แพทย์โรคไต โรคหัวใจ โรคปอด และทุกๆสาขา ฯลฯ ประชาชนก็จะต้องถูกแพทย์ทั่วไปส่งไปหาแพทย์เฉพาะทางมากขึ้น ประชาชนต้องเสี่ยงต่ออาการหนักมากขึ้น เช่นคลอดไม่ได้ในโรงพยาบาลอำเภอ ก็อาจถูกส่งไปยังโรงพยาบาลจังหวัด(เพราะโรงพยาบาลอำเภอไม่มีหมอเชี่ยวชาญการ ผ่าตัดทำคลอด และไม่มีหมอดมยาสลบ (เพราะโรงพยาบาลทั่วประเทศไทยก็ขาดหมอดมยาสลบทั้งนั้น โดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชนที่มีอยู่ 700 แห่งทั่วประเทศ มีหมอดมยาสลบอยู่เพียง 1-2 โรงพยาบาลเท่านั้น) การที่ผู้ป่วยถูกส่งไปทางไกลหรือทางทุรกันดารก็อาจเพิ่มความเสี่ยงจากการที่ มดลูกแตกตายทั้งแม่ทั้งลูก เสี่ยงต่อไส้ติ่งแตก อาการสาหัส ฯลฯ แพทย์เองก็อึดอัดคับข้องใจ อยากจะช่วยรักษาหรือผ่าตัด ก็ไม่กล้าทำ เพราะถ้าเกิดผลแทรกซ้อนดังกล่าวแล้ว ผู้บริหารกระทรวงก็ไม่เคยช่วยในการสู้คดี ต้องบากหน้าไปหาสภาวิชาชีพให้ช่วยเหลือก่อน และสื่อมวลชนหรือสังคมก็ไม่พยายามที่จะเข้าใจหรือเห็นใจในความขาดแคลนทั้งบุ คลากร ประสบการณ์และวัสดุอุปกรณ์ ได้แต่เรียกร้องสิทธิการรักษา สิทธิการชดเชย และสิทธิมนุษยชน ไม่พยายามเข้าใจว่า แพทย์ไม่ใช่เทวดาที่จะรักษาทุกคนไม่ให้ตายได้ทุกสถานการณ์และทุกโรค  
  แพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนเอง ก็ต้องพยายามระมัดระวังในการที่จะตรวจรักษาผู้ป่วย ต้องส่งตรวจทุกชนิด เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างว่า “ประมาท” โรงพยาบาลก็ต้องบวกค่าบริการเพิ่มขึ้น เผื่อว่าถ้าถูกฟ้องจะได้มีเงินชดใช้ตามข้อเรียกร้องหรือต้องชดใช้ตามคำสั่งศ าล และหมอก็คงต้องส่งผู้ป่วยไปปรึกษาหมอผู้เชี่ยวชาญหลายๆคน ก่อนที่จะตัดสินใจทำการรักษาหรือผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองต้องถูกฟ้องร้องทั้งในคดีแพ่งหรือคดีอาญา และเมื่อต้องส่งผู้ป่วยไปปรึกษาหมอหลายๆคน ผู้ป่วยก็คงต้องจ่ายเงินค่า “รับการปรึกษา” มากขึ้น และผู้ป่วยก็คงต้องเสียเวลาที่ยาวนานมากเกินไปก่อนที่จะได้รับการรักษา ซึ่งอาจจะทำให้สูญเสีย เวลาที่เป็น “นาทีทอง” ของชีวิตที่ควรจะได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วแต่กลับต้องรอ “ความเห็น” จากผู้เชี่ยวชาญนานเกินไป
  ในปัจจุบันนี้ ประชาชนได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลมากขึ้นจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหร ือที่เรียกว่า 30 บาทรักษาทุกโรค ประชาชนจึงมารักษาที่โรงพยาบาลของรัฐบาลมากขึ้น แต่จำนวนแพทย์มีน้อยลงเนื่องจากแพทย์มีความกดดันจากการทำงานมาก ขาดเวลาพักผ่อน และยังเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องทั้งคดีแพ่ง เพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย ถูกเสี่ยงว่าจะถูกจำคุกจากคดีอาญา ได้เงินค่าตอบแทนต่ำในขณะที่ต้องทำงานมากและมีความรับผิดชอบสูง ทำให้แพทย์ต้องเลือกระหว่างงานหนัก ทำงานมากก็เสี่ยงต่อการถูกฟ้องและถูกลงโทษมาก ฉะนั้นถ้าลาออกจากโรงพยาบาลรัฐบาลไปทำงานเอกชนน่าจะดีกว่า มีภาระงานน้อยกว่า ความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องน้อยกว่า รายได้ มากกว่า มีสิทธิเลือกที่จะทำงานได้ตามความสามารถและความเชี่ยวชาญ มีเวลาพักผ่อนและดูแลครอบครัว ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการมาอยู่เอกชนมากขึ้น รัฐบาลก็ชอบที่โรงพยาบาลเอกชนทำรายได้จากการรักษาผู้ป่วยต่างประเทศมากขึ้น และแพทย์ที่จะมาอยู่เอกชนได้ก็มักจะต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการ ณ์ในการรักษาพยาบาลมาพอสมควร จึงทำให้โรงพยาบาลรัฐบาลขาดแคลนแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มากข ึ้นๆทุกปี  แม้แพทย์จบใหม่เองก็จะขาดแพทย์อาวุโสที่จะคอยเป็นผู้ดูแลให้คำปรึกษา ทำให้ประชาชนขาดแคลนทั้งแพทย์ทั่วไป และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และการที่แพทย์ต้องถูกตัดสินการรักษาผู้ป่วยในคดีอาญาด้วย ก็จะทำให้แพทย์ส่วนหนึ่งเลิกอาชีพแพทย์ ไปเป็นนักธุรกิจ นักการเมือง นักกฎหมาย ฯลฯ ก็ยิ่งจะทำให้แพทย์ขาดแคลนต่อไปเรื่อยๆ และผลเสียหายทั้งหลายก็จะอยู่กับประชาชนทั่วไปนั่นเอง
    ในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง กำลังมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องแพทย์มากขึ้น แต่การฟ้องร้องนี้ก็จะเป็นเพียงการฟ้องในคดีแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยที่ผ ู้ป่วยคิดว่าเกิดจากความผิดพลาดของแพทย์ ซึ่งแพทย์เองก็จะต้องจ่ายเงินค่าประกันการประกอบวิชาชีพ เมื่อแพทย์ถูกฟ้องบริษัทประกันก็จะจัดหาทนายความมาสู้คดี ถ้าบริษัทประกันเห็นว่าฝ่ายแพทย์จะชนะ ก็จะสู้คดีกันจนถึงที่สุดเป็นเวลาหลายๆปีเช่นเดียวกัน บางบริษัททนายก็จะแอบไปตกลงนอกศาลกับฝ่ายผู้ป่วย ยอมออมชอมกันและจ่ายค่าชดเชยไป แต่เมื่อบริษัทประกัน(การประกอบวิชาชีพแพทย์) ได้จ่ายค่าชดเชยให้ผู้เรียกร้องแล้ว ก็จะมาขึ้นค่าเบี้ยประกันของหมอคนนั้น (หลักการเดียวกันกับการประกันรถยนต์ คือถ้าผู้ประกันขับรถมีอุบัติเหตุต้องเบิกค่าซ่อมรถบ่อยๆ ก็ต้องจ่ายค่าประกันเพิ่มขึ้น) และถ้าต้องจ่ายค่าชดเชยมาก หมอก็จะต้องจ่ายค่าประกันเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว  และหมอก็จะต้องไปขึ้นราคาค่ารักษาจากประชาชนเพิ่มขึ้น ไม่เช่นนั้นหมอจะได้เงินที่ไหนมาจ่ายค่าประกัน ทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการไปพบแพทย์มากขึ้นเรื่อยๆทุกๆปี และเยาวชนในสหรัฐเองก็หันไปเรียนวิชาชีพอื่นมากกว่าวิชาชีพแพทย์ พ่อแม่ที่มีอาชีพแพทย์ก็ไม่อยากสนับสนุนให้ลูกเรียนแพทย์ ไม่ว่าจะในไทยหรือสหรัฐอเมริกา
  ในปัจจุบันนี้ สหรัฐอเมริกาจึงได้มีความพยายามที่จะแก้ไขกฎหมายกำหนด “เพดาน” ค่าชดเชยจากการรักษาเยียวยาไม่ให้สูงเกินไปจนไม่มีขอบเขตจำกัด เพราะผลจาการฟ้องร้องและการต้องจ่ายค่าชดเชยแพงย่อมสะท้อนกลับมาที่ประชาชนท ี่จะต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลมากขึ้นเสมอไป(เพราะแพทย์จะไปเอาเงินมาจากไห น ถ้ามิใช่ได้มาจากการรักษาผู้ป่วย)
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 05:05:13
และทางสหรัฐอเมริกาเองไม่มีการฟ้องร้องที่จะเอาผิดแพทย์ในคดีอาญาจากการรักษ าผู้ป่วย (นอกจากเป็นคดีตั้งใจฆ่าเท่านั้น) เพราะประชาชนเข้าใจว่าแพทย์มีความตั้งใจที่จะช่วยรักษาชีวิต แต่เมื่อเกิดผลแทรกซ้อนอันเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะช่วยชีวิตไม่ได้แล้วก็ไม่คว รจะต้องรับโทษในฐานฆ่าคนตายโดยประมาท มิได้  
 
หมายความว่าแพทย์จะขอเป็น “อภิสิทธิ์ชน” อย่างที่บางคนพยายามจะบิดเบือนว่า การไม่ให้ฟ้องแพทย์ในคดีอาญานั้น เท่ากับเป็นการทำให้แพทย์เป็นผู้อยู่เหนือกฎหมาย
 สหรัฐอเมริกาเองได้พยายามที่จะลดปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ในคดีแพ่ง โดยการจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยแก่ผู้ป่วยในการรักษาเยียวยาจากแพทย์และโรงพย าบาล  โดยการจัดหาเงินกองทุนตั้งแต่ปีคศ. 1889 โดยตั้งเป็นมูลนิธิเรียกว่า “ National Patients Safety Foundation”  การตั้งเป็นมูลนิธิก็เพื่อให้มีการบริจาคสมทบจากโรงพยาบาล แพทย์ หรือบริษัทต่างๆที่ทำธุรกิจด้านสุขภาพ  เพื่อให้กองทุนมีเงินมากขึ้น เพราะการบริจาคเข้ามูลนิธินั้น ผู้บริจาคสามารถนำเงินบริจาคไปหักภาษีได้  และแพทย์หรือโรงพยาบาลสามารถรายงานภาวะแทรกซ้อน ผลเสียหายที่ไม่คาดคิดหรือไม่พึงประสงค์มายังมูลนิธิ เพื่อขอให้มีการชดเชยแก่ผู้ป่วยและญาติได้  หรือผู้ป่วยและครอบครัวเอง ก็อาจมาร้องขอความช่วยเหลือได้ ทางมูลนิธิจะมีการส่งเรื่องให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละแขนงวิชาทำการสอบสวน เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ในการป้องกันหรือการแก้ไขเหตุแทรกซ้อนอันไม่พึงประสง ค์ต่างๆเพื่อจะได้หาทางป้องกันมิให้เกิดขึ้นอีกต่อไปในอนาคต เป็นการพัฒนาความรู้และวิธ๊การหรือเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่อไป สำหรับแพทย์ผู้รักษาเองก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ ถ้าผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าเป็นการรักษาที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็จะมีการลงโทษทางวิชาชีพ เช่นยึดใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือ ต้องไปเข้าโครงการ(course) ฝึกอบรมในการรักษาผู้ป่วยในโรคหรือเหตุการณ์ที่ทำผิดนั้นๆ เพื่อให้มาสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพใหม่ โดยไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา ทั้งนี้ การทำเช่นนี้นอกจากจะช่วยลดปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ลงได้บ้างแล้ว ยังเป็นการช่วยให้วงการแพทย์ได้รับความรู้ในเรื่องโรคต่างๆได้ดีขึ้นและช่วย พัฒนาวงการแพทย์ได้ต่อไป
 ในประเทศไทยเอง มีการฟ้องร้องแพทย์มากขึ้น จาการที่สภาวิชาชีพทางการแพทย์ได้ประกาศสิทธิผู้ป่วย เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ตระหนักและไม่ละเมิดสิทธิผู้ป่วย แต่ก็ทำให้ผู้ป่วยเรียกร้องสิทธิมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรแพทย์น้อย ทำให้แพทย์ต้องรีบตรวจผู้ป่วยแข่งกับเวลา ไม่เช่นนั้นผู้ป่วยก็จะไม่ได้รับการตรวจรักษาทุกคน การที่แพทย์ต้องรีบเร่งตรวจผู้ป่วยมากเกินไป ทำให้ขาดเวลาที่จะใช้ในการอธิบายเรื่องโรคและการรักษาให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ถู กต้องชัดเจน  ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันก่อให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องมากขึ้น และพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติม.41และ 42 ได้ทำให้ประชาชนฟ้องร้องเพิ่มขึ้นทั้งๆที่ส่วนใหญ่แล้ว การที่หมอรักษาไม่หายหรือตายนั้น อาจเกิดเพราะผู้ป่วยอาการหนัก มีโรคแทรกซ้อน ร่างกายไม่ตอบสนองการรักษาหรือ เพราะประชาชนมีความคาดหวังว่าแพทย์จะต้องรักษาอาการเจ็บป่วยได้อย่างมีประสิ ทธิภาพได้เกินจริง จึงทำให้การฟ้องร้องยิ่งมากขึ้นเป็นเงาตามตัว  
    และผลของการฟ้องร้องแพทย์นี้เอง ก็จะค่อยๆทำลายความรู้สึกและความสัมพันธ์อันดีระหว่างแพทย์กับประชาชนให้ค่อ ยๆเลือนหายไป ประชาชนก็ระแวงแพทย์ แพทย์ก็ต้องระวังไม่ให้ตัวเองถูกฟ้อง แพทย์อาจทำการตรวจพิเศษมากๆโดยอาจเกินความจำเป็น เพื่อเอาไว้เป็นพยานทางวิชาการในกรณีถูกฟ้องร้อง หรือต้องส่งตัวผู้ป่วยไปหาผู้เชี่ยวชาญ เกิดการใช้เทคโนโลยี และบุคลากรมากเกินความจำเป็น และมีผลกระทบต่อการรักษาและอาจเกิดผลกระทบต่อทั้งสุขภาพและภาระการเงินของปร ะชาชนและของรัฐบาลเองดังกล่าวแล้ว
     จึงถึงเวลาที่ผู้บริหารบ้านเมือง  สภาผู้แทนราษฎร ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ประชาชน ในสังคม และสภาวิชาชีพเอง ที่จะต้องหาทางแก้ไขปัญหาในวงการแพทย์และการรักษาเยียวยาสุขภาพประชาชนให้ดี  ให้แพทย์ยังสามารถใช้วิชาชีพของตนได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายต่อประชาชนและแพทย์ผู้ทำงานดูแลรักษาสุขภาพและชีวิ ตประชาชนเช่นเดียวกัน เพื่อจะได้มีเยาวชนคนรุ่นใหม่ยังอยากจะมาศึกษาเล่าเรียนเป็นแพทย์ต่อไป เพราะปีการศึกษาที่ผ่านมานั้น นักเรียนที่สอบได้เรียนแพทย์ได้สละสิทธ์ที่จะเรียนแพทย์ไปถึง 25% ซึ่งจะทำให้จะขาดแพทย์ที่มีคุณภาพไปดูแลรักษาประชาชนต่อไปในอนาคต
จากคุณ: preterm โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 08:30:24
เห็นด้วยทุกประการ อยากเขียนแบบนี้ให้คนอื่นได้อ่านบ้างแต่เขียนไม่เป็น
 
อยากให้เอาไปอ่านให้ประชาชนทุกคนรับทราบข้อเท็จจริง
 
แพทย์ต้องทำงานทั้งที่บุคคลากร อุปกรณ์ไม่พร้อม  
 
คนเรามีเกิดแก่เจ็บตาย ญาติผมก็เคยตายโดยที่ผมไม่เคยขอดูเวชระเบียนเลยซักแอะเดียว
จากคุณ: ดญ.ดอกแก้ว โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 09:33:05
อืมมม
คนตกน้ำ ไม่อยากมีใครลงไปช่วย
เพราะถ้าช่วยไม่ได้ คนที่ลงไปช่วยต้องติดคุก  Undecided Undecided
 
จากคุณ: parinyaMD25 โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 09:44:45
on 03/19/08 เวลา 09:33:05, ดญ.ดอกแก้ว wrote:
อืมมม
คนตกน้ำ ไม่อยากมีใครลงไปช่วย
เพราะถ้าช่วยไม่ได้ คนที่ลงไปช่วยต้องติดคุก  Undecided Undecided
 

พระนางเรือล่ม Undecided Undecided
จากคุณ: ART_OF_IRIS โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 09:50:56
on 03/19/08 เวลา 09:33:05, ดญ.ดอกแก้ว wrote:
อืมมม
คนตกน้ำ ไม่อยากมีใครลงไปช่วย
เพราะถ้าช่วยไม่ได้ คนที่ลงไปช่วยต้องติดคุก  Undecided Undecided
 
แล้วจะหวังพึ่งอะไรกับกระบวนการยุติธรรม
หรืออกฏหมายในบ้านเรา เซ็งจิงๆ Tongue Tongue Tongue Tongue Tongue
จากคุณ: Dr.R โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 10:29:56
อย่าไปคาดหวังคนอื่นช่วย  
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
 
อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด
 
สุดท้ายปัญหาต่างๆก็ตกผลึกของมันเอง  Grin
 
จากคุณ: RETINA โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 11:02:19

อย่างกรณี
 
ไม่มีวิสัญญีแพทย์   แล้วแพทย์ลงมือผ่าตัด  คนไข้เป็นอะไรขึ้นมา  แพทย์ผิด
 
แปลว่า  ขณะนี้  ทุกคนที่กระทำหัตถการผ่าตัดคนไข้โดยไม่มีวิสัญญีแพทย  กำลังทำผิดกฎหมายอยู่ตลอดเวลา
 
น่าจะเอาตำรวจไปจับให้หมดทั้งประเทศเลยน่าจะดีนะคะ
 
ไม่ก็เลิกทำไปเลยเพราะมันผิดกฎหมายค่ะ
 
 Cheesy
จากคุณ: RETINA โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 14:57:53

 
น่าปักหมุดกระทู้นี้ค่ะ
 
 Cheesy
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 18:29:07
Quote:
อย่างกรณี  
 
ไม่มีวิสัญญีแพทย์   แล้วแพทย์ลงมือผ่าตัด  คนไข้เป็นอะไรขึ้นมา  แพทย์ผิด  
 
แปลว่า  ขณะนี้  ทุกคนที่กระทำหัตถการผ่าตัดคนไข้โดยไม่มีวิสัญญีแพทย  กำลังทำผิดกฎหมายอยู่ตลอดเวลา  
 
น่าจะเอาตำรวจไปจับให้หมดทั้งประเทศเลยน่าจะดีนะคะ

 
 
 
แหม .. ก็ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับ .. .
 
หมอก็ทำไปเรื่อย ๆ อย่าให้เกิดเรื่องละกัน   Roll Eyes
จากคุณ: dr.mengka โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 18:37:58
เขียนได้เยี่ยมมากครับ  น่าจะลงในหนังสือพิมพ์ แต่ ตอนนี้ " อย่าเสี่ยงรักษาคนไข้ " เลย ไม่ชัวร์ ส่งต่ออย่างเดียวเพราะไม่มีอะไรรับประกันความปลอดภัย
จากคุณ: BOZZ_GUZA โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 19:58:12
การทำความดีมีองค์ประกอบ 3 อย่าง
 
1. เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
2. เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
3. ตัวเราเองต้องไม่เดือดร้อน
 
ถ้ารักษาคนแล้วตัวเราเดือดร้อน  
หรือเสี่ยงต่อความเดือดร้อน
 
ก็อย่าทำเลยครับ
 
ส่งเขาไปในที่ที่สามารถรักษา  
 
โดยครบองค์ประกอบ 3 อย่างนั้นได้
 
จะเป็นกุศลยิ่ง
จากคุณ: RETINA โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 20:10:49
on 03/19/08 เวลา 18:29:07, หมอหมู wrote:

 
 
 
แหม .. ก็ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับ .. .
 
หมอก็ทำไปเรื่อย ๆ อย่าให้เกิดเรื่องละกัน   Roll Eyes

 
 
หนูพูดประชดอ่าค่ะพี่หมูก็
 
อิอิ
 
 Cheesy
จากคุณ: RETINA โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 20:12:15

 
แต่ก็ไม่แน่น้า
 
 
ผ่าตัดอยู่ดีๆ
 
 
อาจจะมีตำรวจเข้ามาจับก็ได้นะเอ้า
 
 
โทษฐานทำหมันคนไข้โดยที่ไม่ใช่สูตินรีแพทย์
 
 
หรือโทษฐานผ่าไส้ติ่งหรือก้อนเต้านมหรือต่อมน้ำเหลืองโดยไม่ใช่ศัลยแพทย์
 
 
อิอิ
 
 Cheesy
จากคุณ: zacc โพสเมื่อวันที่: 03/19/08 เวลา 21:31:52
จริงๆ รพศูนย์ เปิดห้องผ่าตัดทีละสาม ห้อง สี่ห้อง เนี่ย  หมอดมยามีคนเดียว  
 ก็ ถือว่า ไม่ได้มาตรฐาน สิเนี่ย  
   ถ้าลอง เปิด ทีละห้อง เฝ้าทีละคน ทำไปเรื่อยๆ ให้ได้มาตรฐานทุกคน ทนได้ก็ทน ทนไม่ได้ ก็.. ไป สังคมจะได้ รับรู้บ้าง  
 
 
จากคุณ: pongthwo โพสเมื่อวันที่: 03/20/08 เวลา 08:54:14
บทความนี้ได้ลงในหนังสือพิมพ์แล้วครับ ผมได้อ่านแล้วในหนังสือพิมพ์มติชน
เห็นด้วยว่า ขณะนี้สังคมกดดันแพทย์และคาดหวังมาก เกินกว่าที่เราจะให้ได้
   คงต้องช่วยกันผลักดันครับ  
   ขอชื่นชมอ.เชิดชูครับ
จากคุณ: pumpa โพสเมื่อวันที่: 03/20/08 เวลา 19:21:04
ขอขอบคุณอาจารย์มากค่ะ
จากคุณ: ok. โพสเมื่อวันที่: 03/20/08 เวลา 23:52:44
ถามจริง เคสที่เป็นปัญหา เพราะไม่มีหมอดมยา หรือมีแต่หมอดมยา ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอ
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 03/22/08 เวลา 11:21:47

ได้ส่งบทความนี้ให้เพื่อนที่เป็นแพทย์ในสหรัฐอ่าน และเขาได้ให้ความเห็นมาดังข้างล่างนี้
 
อย่างที่ย่อหน้าสุดท้ายกล่าวใว้ข้างบน คือ ทางฝ่ายบริหารประเทศต้องทำอะไร แต่.....
ดูจากสภาพบ้านเมืองเรา อันนี้ ไม่ใช่ priority ของประเทศหรอก
มันเป็นปํญหา ของวงการแพทย์ ฝ่ายบริหารประเทศ (ยัง)ไม่สนใจหรอก มันยังไม่ถึงขั้นวิกฤตที่โดนกับตัวเขา หรือญาติโดยตรง
 
ฉนั้น หากจะให้มันมีรูปธรรม นามธรรมขึ้นมา มันต้องมีผลจากข้างล่าง คือ หมอ รพ ที่ ต้องทำให้สถานะการณ์มันวิกฤตขึ้นมา กล่าวคือ คนไข้ เดือนร้อน จากการที่หมอกองหน้าทั้งหลายในรพ ท้องถิ่นต่างๆ ทำตามกฎอย่างเหนียวแน่น คือ refer ให้หมด จน ทาง รพ ศูนย์เดือดร้อน จนชาวบ้านเดือดร้อน (รวมจนถึง ผป ระดับ ผู้บริหาร ระดับท้องถิ่นด้วย เช่น สมาชิก หรือญาติ ของอบต ต้อง refer ให้หมด )
 
ให้มันเดือดร้อนกันทั่วหน้า แล้วถึงจะเกิดอะไรขึ้นมา มิฉนั้น ผมว่า จะไม่มีอะไร ที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ในเรื่องนี้เกิดขึ้นเด็ดขาด เพราะ วัฒนธรรมทางการเมือง ของบ้านเรามันไม่ใช่ ว่า ฝ่ายบริหารจะเห็นแล้วถึงคิดทำ
 
ว่าไปแล้ว เวลาญาติ ผป ฟ้อง ผมว่า น่าจะรวม บุคคลในกระทรวงรายตัว ที่รับผิดชอบ เช่น ปลัดกระทรวง เข้าไปเป็น จำเลยด้วย เพราะละเลยหน้าที่ ที่ดันเอาคนไม่ qualify พอ หรือ จัดทำให้สถานบริการทางการแพทย์เข้ามาตรฐานพอ ถือว่า บกพร่องต่อหน้าที่ ( ว่าในภาษาหมอ ก็คือ ข้าราชการพวกนี้ malpractise ) ต้องถูกฟ้องเป็นรายตัวเข้าไปด้วย หากพวกรับผิดชอบข้างบน ไม่โดนเสียบ้าง ไม่ว่าการทำงาน ซึ่งเป็นผลจากนโยบายของเขาจะ ห่วยอย่างไรก็ตาม พวกนี้ ก็ยังเอ้อละเหยอยู่ในกระทรวงไปได้เรื่อยๆ เหมือนกับกระทรวงศึกษาธิการ ก็เช่นกัน ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานเราแย่ จนเละเทะแล้ว พวกนี้ ก็ยังอยู่ได้ ไม่มี consequence เกิดกับพวกนี้เลย
 
สรุปก็คือ ต่อให้เราร้องเย้วๆๆ กันให้ตาย ฝ่ายบริหารประเทศ เขายังมองไม่เห็นหรอก ดูจากสภาพสังคมบ้านเรา มันต้องให้มันเดือดร้อนกันทั่วหน้า เขาถึงจะทำ ครับ
 
อย่างที่เรากำลังทำกันนี้ มันต้องเอาไปใช้ในประเทศที่การศึกษาสูง เช่น ฟินน์แลนด์ ถึงจะได้ผล เพราะประชาชนเขามีมาตรฐานทั้งการครองชีพ และ การศึกษาสูง ความแตกต่างในฐานะเศรษฐกิจ และการศึกษาเขาน้อยมาก  ( Huh Huh Huh
จากคุณ: Drpong โพสเมื่อวันที่: 03/23/08 เวลา 10:20:34
 ผมขอถาม  ฝากถาม ผู้ที่ตามเรื่องนี้นะครับว่า
 
   1. อเมริกา  ออกเป็นกฏหมายเลยหรือครับว่า  ห้ามฟ้องร้องคดีอาญากับแพทย์
   2. ทราบคราวๆว่าอเมริกา ใช้คณะลูกขุนตัดสิน  แต่อยากถามว่า แล้วคดึแพ่งล่ะใช้คณะลูกขุนหรือไม่  อย่างไร
 
    3. การออกกฏหมายไปคุ้มครองผู้มีใบอนุญาติ  แล้วจะทำอย่างไร หาก ผู้มีใบอนุญาติทำผิด   หมายถึงเวลาไปตั้งเรื่องจะแจ้งข้อหาอะไรล่ะครับ  คือพูดง่ายๆ กฏหมายนี้จะทำให้ไม่สามารถลงโทษ  ผู้มีใบอนุญาติ ที่ฆ่าคน ถูกละเว้นได้ง่ายหรือเปล่า  
 
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 03/23/08 เวลา 17:39:33
. 1.อเมริกาไม่มีกฎหมายห้ามฟ้องคดีอาญา แต่ประชาชนเขาเข้าใจว่า หมอไม่ได้ตั้งใจฆ่า เขาจึงต้องการเงินชดเชยเท่านั้น
 แต่ถ้าเป็นกรณีที่สงสัยในเจตนาของหมอ ทางการจะเป็นผู้สืบสวนและดำเนินคดีทางอาญาเอง
2 .คดีแพ่งก็ตัดสินโดยลูกขุนเข่นกัน
 3. การออกกฎหมายไม่ได้คุ้มครองมิให้ดำเนินคดีอาญาในทุกกรณี แต่จะดำเนินคดีอาญาได้เมื่อเป็นการประกอบวิชาชีพที่ขาดมาตรฐาน (ซึ่งคงจะต้องพิจารณาโดยผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญในวิชาการแพทย์เป็นผู้ตัดส ิน  
หรือเป็นผู้พิพากษษสมทบ)  
หรือแพทย์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือจงใจฆ่า ซึ่งจะต้องบัญญัติไว้ในพ.ร.บ.ตามรายละเอียดที่จะต้องพิจารณากันอย่างละเอียด รอบคอบต่อไป
จากคุณ: Doc.DIP โพสเมื่อวันที่: 03/24/08 เวลา 14:03:48
เรื่องนี้ใครไม่เคยโดนกับตัวเองคงจะไม่รู้สึก
หรือว่าผู้พิพากษาไม่เคยตัดสินคดีผิดพลาด....
กรณีแกงค์ ตชด. ยัดยาบ้า จับคนติดคุกติดตราง  ถึงที่สุดเมื่อพิสูจน์แล้วว่าถูกกลั่นแกล้ง  แบบนี้ผู้พิพากษาที่ตัดสินคดี ต้องติดคุกบ้าง  จึงจะรู้สึก....
ต่อไปจะได้มีความรอบคอบมากกว่านี้  ไม่ใช่ตัดสินคดีแบบชุ่ยๆ
............  Huh
จากคุณ: Doc.DIP โพสเมื่อวันที่: 03/24/08 เวลา 14:16:18
ใครไม่เคยมีประสบการณ์ขึ้นโรงขึ้นศาล...
เมื่อพูดถึงท่านผู้พิพากษา..ก็จะให้ความเคารพนับถือ
แต่ใครที่เคยเฉียดแวดวงนี้  จะเข้าใจคำว่า.....
ศาลก็เป็นปุถุชนคนธรรมดา  ย่อมมีกิเลสมากน้อยบ้างตามฐานานุรูป
..... การเป็นผู้พิพากษา  มิได้รับประกันว่า จะเป็นคนดีทุกคน.....
คงต้องดู และพิจารณาพฤติกรรมเป็นรายๆ ไป
จากคุณ: bigbird โพสเมื่อวันที่: 03/25/08 เวลา 23:49:23
ขออนุญาตเอาความเห็นของแพทย์ท่านหนึ่งมาให้ดูบ้าง  Lips Sealed Lips Sealed Lips Sealed  
 
ประกัน
ผมเคยพยายามพูดเสมอว่าการทำงานของแพทย์ย่อมต้องมีผิดพลาดบ้าง ไม่ผิดพลาดเลยเป็นไปไม่ได้ หมอเป็นคนไม่ใช่เทวดา
มีประเทศเดียวที่หมอทำไม่เคยผิดพลาดเลย ไม่ต้องบอก็คงจะรู้ว่าประเทศไหน อุบายจริงๆ คิดได้ยังไง ไม่เคยผิดเลยมีแต่เหตุสุดวิสัย
ทีนี้เวลาผิดพลาด ทำเขาตายเขาเจ็บ เขาพิการ ลูกเมียลำบาก เขาก็ควรได้รับการเยียวยา แก้ไข ช่วยเหลือ ไม่ใช่ต้องไปจ่ายเงินรักษาเองตามมีตามเกิดจากความผิดพลาดที่หมอทำขึ้น  
แต่การจะให้หมอจ่ายทีเป็นหลายๆแสนหรือหลายๆล้านนั้น ก็คงไม่ไหว หมอไม่ใช่รวยและเก็บค่ารักษา กว่าจะได้มีกำไรเหลือกินซื้อบ้านซื้อรถ ก็หมดตัวกันพอดีกับการจ่ายค่าเสียหาย
ระบบประกัน จะช่วยเหลือเรื่องนี้ได้  
ในสหรัฐ สถิติชี้ว่า ถ้าหมอเก็บเงินคนไข้ได้ 100 บาท หมอจะจ่ายค่าประกันถูกฟ้องประมาณ 3-5 บาท ก็ไม่มากคือแทนที่จะเก็บเงินคนไข้ 95-97 บาท ก็เก็บ 100 บาท (ไม่ได้แพงขึ้นสักเท่าไหร่) แล้วเอาไปจ่ายประกัน 3-5 บาท จากนั้นฟ้องมา ก็จ่ายได้เป็น สิบ เป็นร้อยล้านบาท ไม่กระเทือน หมอไม่ต้องจ่าย
ในเมืองไทย ถ้าคุณเก็บเงิน คนไข้แพงอีก 3 % ก็จะมีเงินกองทุนพอใช้ค่าเสียหายแก่คนไข้เวลาเกิดความเสียหายเพราะหมอทำพลาด  พูดง่ายๆว่าถ้าคนไข้จ่ายค่ารักษาหวัด 100-300 บาท ก็เก็บเขา 103-309 บาท อีก 3 บาทหรือ 9 บาทก็ไปส่งกองทุน คนไข้เขายินดีจ่ายค่าประกันความเสี่ยง หมอก็รับไปเต็มๆเท่าเดิม คือ 100 บาท หรือ 300 บาท  
ถ้าหมอทำชุ่ย แล้วคนไข้ซวยไป ก็ไปรับเงิน จากกองทุน ที่คนไข้เขาจ่ายไว้ ไม่ได้เอาเงินหมอสักหน่อย หมอจะมีเงินพอให้คนไข้เขาหรือ เกิดจากท้องพ่อท้องแม่ก็มาแต่ตัว ก็เงินคนไข้เขาทั้งนั้นที่หมอใช้จ่ายทุกวันนี้ รวมทั้งเงินค่าเสียหาย  
ถ้า สปสช มีงบ 1 แสนล้าน ก็ต้องจ่ายประกันให้กองทุน 3000 ล้านบาท ก็ไม่ได้มากอะไร ค่ารักษาก็ไม่ได้แพงขึ้นหรือถูกลง เพียงแค่ 3 % พูดตรงๆ พวกเครดิตการ์ดหักมากกว่าอีก บางชนิดหักถึง 5 %  
ถามว่าหมอจะโวยหรืองกไปทำไม วิธีนี้ รักษาสบายใจ ผิดพลาดก็ไปเอาเงินกองทุน หมอจะได้ไม่ต้องเดือดร้อน ถามว่าโวยทำไม บ่นทำไม งี่เง่าจริงๆ
ในทุกระบบที่มีความเสี่ยง คนส่วนใหญ่จะช่วยกันออกคนละนิดหน่อยเอาไว้ช่วยคนส่วนน้อยที่ซวย เพื่อได้เงินก้อนใหญ่ที่เขาต้องได้ตามกฎหมาย เช่นเงินทำศพ เงินเลี้ยงลูกเมียเขา ฯลฯ
ไอ้ที่ว่าอ้างว่ามีประกันแล้วค่ารักษาแพงนั้นควรจะเลิกโกหกได้แล้ว อายชาวบ้าน เดี๋ยวไม่กล้าออกทีวีอีก โตๆกันจนหัวหงอกแล้ว แก้ไขดีกว่าแก้ตัว สร้างปัญหา
ทุกวันนี้การแพทย์ที่มีปัญหาก็เพราะระบบผูกขาด ผลิตน้อย เหมือนยุคแท็กซี่ป้ายเหลือง โทรศัพท์ขาดแคลน เบอร์ละ แสนสองแสน ขอโทรศัพท์ต้องรอ3-4 ปี ความฉิบหายจากการคุมจำนวนแพทย์ประเมินค่าไม่ได้ ควรจะเลิกบ่นเรื่องหมอไม่พองานหนัก หันหน้ามาตั้งหน้าตั้งตาผลิตแพทย์ให้ล้นจนไปขับแท็กซี่จะดีกว่า รวมถึงเรื่องเหตุสุดวิสัยที่ไร้สาระสิ้นดีด้วย ควรจะเลิกเสียที เพราะที่เจอมาแต่ละเรื่อง บอกตรงๆ อย่าให้ด่าเลย  
โดย: เบื่อพวกงกเอาแต่ได้ [25 มี.ค. 51 18:52] ( IP A:203.144.143.13 X: )  
จากคุณ: jubjeab โพสเมื่อวันที่: 03/27/08 เวลา 22:31:08
ถ้าเป็นอย่างที่คุณbigbirdว่าก็ดีนะครับ 100 ชัก 3 กลัวมันจะชัก10-20 แหละครับ และต่อให้อยากผลิตมากจนว่างไปขับแทกซึ่ก็ไม่มีปัญญาผลิตได้อย่างนั้นหรอกครั บ ประการแรกใครมันจะโง่ไปเรียนครับ หลานๆผมมันอยากเรียนตามผมตอนนี้หายหัวไปเรียนอย่างอื่นกันหมดแล้ว
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 03/29/08 เวลา 21:58:53
อยากผลิตหมอมากๆ ก็ต้องระวังคุณภาพมาตรฐานด้วย ขนาดในปัจจุบันนี้ กว่าจะเรียนจบมาเป็นแพทย์ได้ก็ต้องเคี่ยวเข็ญกันอย่างหนัก แต่ก็ยังมีปัญหาประชาชนไม่ยอมเข้าใจว่า ผลเสียหายที่ประชาชนได้รับนั้น อาจเกิดจากโรคแทรกซ้อน เหตุสุดวิสัย(ที่หมอไม่สามารถที่จะช่วยฟื้นคืนชีพมาได้เพราะหมอไม่ใช่เทวดา)  
 หรือเกิดจากความไม่เชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะโรค แต่หมอต้องพยายามรักษาเพราะขาดผู้เชี่ยวชาญ แต่กลับถูกพิพากษาจากประชาชนบางกลุ่มว่าหมอทำผิด ต้องตัดสินให้หมอตายตกไปตามกัน  
 
 เหมือนนักบินถ้าทำพลาดก็ต้องตายพร้อมกับผู้โดยสาร อย่างนั้นใช่ไหม คุณ บิ๊กเบิร์ด
จากคุณ: ppppb โพสเมื่อวันที่: 04/03/08 เวลา 11:51:26
ขับรถแทกซี่น่าจะใช้ความสามารถน้อยกว่าการเรียนแพทย์นะ ไม่ใช่ว่าคนไหนอยากเป็นหมอก็เรียนได้ มันต้องใช้สติปัญญาพอสมควร อันนี้พูดตามหลักความจริงไม่ได้ยกยอกันเอง  Angry Angry
ถ้าเอาใครที่ไหนก็ได้มาเป็นหมอ ก็ระวังปัญหาที่จะตามมาจากหมอที่ไม่มีคุณภาพก็แล้วกัน บางทีคดีฟ้องร้องอาจมากกว่าตอนนี้อีกหลายๆเท่า Sad Sad
จากคุณ: ppppb โพสเมื่อวันที่: 04/03/08 เวลา 11:53:48
ผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีผิดพลาด เมือตอนหลังความจริงเปิดเผยแล้ว มีบทลงโทษอะไรบ้าง ที่ทำให้คนตกนรกทั้งเป็น ต้องติดคุกโดยไม่มีความผิดจริง Angry Angry
จากคุณ: kaimuk โพสเมื่อวันที่: 04/09/08 เวลา 06:19:01
Grin
จากคุณ: dogdoc โพสเมื่อวันที่: 04/28/08 เวลา 18:52:45
Grinผู้พิพากษาเขาลอยลำน่ะครับ ตัดสินตามหลักฐานที่เขาให้มา
โอกาสผิดพลาดก็น้อยล่ะครับ Grin
จากคุณ: Mr.Tee โพสเมื่อวันที่: 04/30/08 เวลา 22:38:58
อ่านที่เขียนในบอร์ดนี้แล้ว  
 
นักกฎหมายขอออกความเห็นดังๆว่า "เหนื่อย" เราก็เหนื่อย ท่านก็เหนื่อย ที่จะต้องร่วมกันแก้ปัญหาพวกนี้  
 
มันเป็นยอดน้ำแข็งโผล่พ้นน้ำ ค่อยๆคิดแก้ไขกันไปนะครับ อย่าใจร้อน Smiley
จากคุณ: Buzz โพสเมื่อวันที่: 05/01/08 เวลา 22:10:50
ผมเชื่อว่าอีหน่อยเราก็คงหาทางแก้ไขเรื่องนี้ได้เอง
ตราบเท่าที่ยังมีองค์กรวิชาชีพแพทย์อยู่
คอยปกป้องและเป็นปากเสียงแทนแพทย์ทุกคน
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเพื่อนแพทย์ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการแพทย์สภ า
จะทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถนะครับ
 
ขอเป็นกำลังใจให้
จากคุณ: moo_noi โพสเมื่อวันที่: 05/24/08 เวลา 05:57:59
-ข้าพเจ้า จะยอมรับผิด และยอมติดคุก แต่จะไม่ยอมจ่ายเงิน ให้เป็น 10 ล้าน  แน่นอน
จากคุณ: anosognosia โพสเมื่อวันที่: 05/24/08 เวลา 17:00:21
Lips Sealed Undecided
จากคุณ: Frontal_Bone โพสเมื่อวันที่: 06/19/08 เวลา 10:23:15
เมื่อจบมาใหม่ๆเราจะคิดถึงคนอื่น
เมื่อจบไปนานๆมักจะคิดถึงตัวเองมากกว่าคนอื่น
ไม่รู้ว่าคุณอยู่ในจำพวกไหน
หรือว่าคุณเป็นเทวดา
 
เราใช้รัฐธรรมนูญเดียวกันกับประชาชน
จากคุณ: mireyu โพสเมื่อวันที่: 07/10/08 เวลา 21:15:27
ผลิตแพทย์เพิ่มนี่พูดง่ายนะคะ
ปริมาณกะคุณภาพมักจะผกผันกันเสมอ
จะมีซักกี่คนอยากให้นักศึกษาแพทย์ลองรักษาดู
ถ้าญาติคุณป่วยคุณจะให้นักศึกษาแพทย์ลองรักษาดีมั้ย
 เค้าจะได้มีประสบการณ์เป็นหมอเก่งๆในอนาคต
จากคุณ: mireyu โพสเมื่อวันที่: 07/10/08 เวลา 21:22:42
ถ้าไม่มีคนไข้ให้นักศึกษาแพทย์ตรวจผลก็คือ
เพิ่มนักศึกษาแพทย์ 10000คน เพราะตอนนี้มีหมอน้อย
เราก็จะได้หมอจบใหม่10000คนที่ไม่เคยรักษาคนไข้
เพราะไม่มีคนไข้ให้ลองรักษาดูก่อนตอนเรียน
 
คุณคิดว่ามันจะดีกะประเทศไทยแล้วใช่มั้ยคะ
จากคุณ: kyoshiro โพสเมื่อวันที่: 07/16/08 เวลา 18:07:18
เครียดอ่ะ Cry
จากคุณ: sarah โพสเมื่อวันที่: 07/26/08 เวลา 11:07:31
refer and consult โลดดด
จากคุณ: aiolos21 โพสเมื่อวันที่: 07/26/08 เวลา 22:10:41
ไม่เห็นด้วยกับคนที่บอกว่าให้ผลิตแพทย์เพิ่มครับ  ถ้าคุณจบแพทย์มาจริงก็น่าจะรู้ว่ากว่าจะจบมาได้น่ะมันยากเย็นขนาดไหน  การที่สักแต่จะเพิ่มปริมาณน่ะมันจะทำให้คุณภาพต่ำลงอีกนะครับ  แล้วอย่างงี้ปัญหาการฟ้องร้องมันไม่ยิ่งเพิ่มขึ้นหรือครับ
จากคุณ: enicidem โพสเมื่อวันที่: 08/06/08 เวลา 22:59:29
มันมี Vicious cycle  อยู่ในวงการแพทย์หลายวงครับ ยิ่งกว่า โง่ จน เจ็บ อีกครับ
 
จำนวนประชาการที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเมื่อก่อนมาก ในขณะที่แพทย์จำนวนเท่าเดิม หรืออาจลดลง
         (*) ประชาชนรอนานขึ้น อารมณ์เสียมากขึ้น แพทย์ตรวจคนไข้มากขึ้นอารมณ์เสียมากขึ้น แพทย์อยู่เวรเท่าเดิมหรือมากขึ้นหากมีเพื่อนลาออกแต่ได้เงินเวรเท่าเดิม ผู้ป่วยและญาติมีความคาดหวังมากขึ้นทั้งจากละครน้ำเน่า จากสื่อ จากฯลฯ  แพทย์มีเวลาแนะนำคนไข้น้อยลง ผู้ป่วยและญาติมีความศรัทธาต่อวงการแพทย์น้อยลง ความรู้ของผู้ป่วยและญาติเท่าเดิม ญาติคนที่สองและสามก็มีปัญหาอีกเพราะญาติคนแรกไม่สามารถอธิบายได้ว่าแพทย์ advice อะไรบ้าง ก็บอกว่าหมอไม่ได้บอกอะไร พอรักษาแล้วมีปัญหาภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียง แสดงว่าแพทย์เป็นคนทำให้แย่ลง ไม่เคยคิดว่าเป็นอาการจากตัวโรคเองเพราะไม่มีความรู้จำไม่ได้แล้วว่าแพทย์ Advice อะไรไปบ้าง ครามนี้ก็ฟ้องร้องแพทย์ เพราะต้องการหาคนผิดบ้าง ต้องการเงินบ้าง  แล้วแพทย์ที่รักษาก็หมดกำลังใจลาออก น้องๆทีจะเรียนแพทย์ก็สละสิทธิ์ แพทย์ก็น้อยลงอีก   -ซ้ำ-*
จากคุณ: princeszaa โพสเมื่อวันที่: 08/23/08 เวลา 04:38:43
เด๋วต่อไปประเทศไทยก็จะขาดแคลนหมอและพยาบาลที่ทำงานด้วยในกุศล
มีแต่ทำไปวันๆ แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับคนไข้เนี่ย  
เป็นกำลังใจให้กันไปเรื่อยๆนะคะ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหลาย
จากคุณ: Pao_devil โพสเมื่อวันที่: 08/24/08 เวลา 00:36:06
on 04/03/08 เวลา 11:51:26, ppppb wrote:
ขับรถแทกซี่น่าจะใช้ความสามารถน้อยกว่าการเรียนแพทย์นะ ไม่ใช่ว่าคนไหนอยากเป็นหมอก็เรียนได้ มันต้องใช้สติปัญญาพอสมควร อันนี้พูดตามหลักความจริงไม่ได้ยกยอกันเอง  Angry Angry
ถ้าเอาใครที่ไหนก็ได้มาเป็นหมอ ก็ระวังปัญหาที่จะตามมาจากหมอที่ไม่มีคุณภาพก็แล้วกัน บางทีคดีฟ้องร้องอาจมากกว่าตอนนี้อีกหลายๆเท่า Sad Sad

 
 
เห็นด้วยมากกกกกๆ เลยครับ
จากคุณ: Dr.S_m_i โพสเมื่อวันที่: 08/26/08 เวลา 16:41:54
ไงๆก็ไม่ควรฟ้องหมอคดีอาญาครับ
จากคุณ: fullmetal_doc โพสเมื่อวันที่: 08/29/08 เวลา 20:08:48
อ่านแล้วรู้สึก..บอกไม่ถูกเหมือนกันค่ะ
เหมือนกลืนไม่เข้าคายไม่ออก  
อยากทำอะไรบางอย่างแต่ก็มีความรู้สึกอีกอย่างขัดแย้งกัน
ได้แต่คิดว่า มันก็เป็นเช่นนั้นเอง
จากคุณ: bassxs โพสเมื่อวันที่: 09/08/08 เวลา 13:07:40
แพทย์ไม่พอต้องผลิตเพิ่ม ไม่ใช่คำตอบ ลองส่งลูกมาเรียนดูซิครับจะได้เข้าใจ
จากคุณ: menongus โพสเมื่อวันที่: 01/08/09 เวลา 10:34:30
เห็นด้วย 100% เลยครับ
 
อยากเขียนให้ได้อย่างนี้บ้างจัง
 
ขอบคุณที่เขียนแทนแพทย์หลายๆ คนนะครับ  Shocked Shocked
จากคุณ: หมอ คิกคุ โพสเมื่อวันที่: 02/12/09 เวลา 16:18:31
Lips Sealed


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by