หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   ICU : Interesting Creative Usergroup
   Post reply ( Re: *&* จุดบอดของการต่อสู้คดีอาญา (กรณีจำคุก) ของแพทย์ *&* )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: ppom โพสเมื่อวันที่: 01/17/08 เวลา 15:13:17
อ่านได้แล้วค่ะ จุดบอดของการต่อสู้คดีอาญาของแพทย์ที่สืบเนื่องมาจากคำพิพากษาให้จำคุกแพทย์อันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่
 
โดย นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ พบ. ;  นบ.
 
นำมาฝากนกแก้วและผู้สนใจตามสัญญาในกระทู้ 17951  
 
หมอทุกคนควรได้อ่านเป็นความรู้ เพื่อจะได้รักษาคนไข้อย่างระมัดระวังและรู้เท่าทัน
 
คลิกอ่านได้ที่นี่  Wink จุดบอดของการต่อสู้คดีอาญาของแพทย์  Wink  
 
แถม  Wink ป้องกันการถูกฟ้องร้องเมื่อปฏิบัติงานทางการแพทย์   Wink
 
อาจารย์เขียนได้ดีมากๆๆๆ ค่ะ เราจะได้อ่านแบบอย่างของบทความที่เขียนโดยแพทย์นักเขียนที่เป็นทั้ง clinichian (ศัลยกรรมระบบประสาท) และแพทย์ผู้จบกฏหมาย    
  
นับเป็น พบ. และ นบ. นักคิด นักเขียน นักวิเคราะห์ที่มีใจเป็นธรรม มีจิตวิญญาณของความเป็นแพทย์เต็มเปี่ยมเพราะยังทำงานรักษาคนไข้อยู่ รักษาคนไข้หนักซะด้วยซี    
  
อีกทั้งเป็นแพทย์ผู้รู้กฎหมาย ที่สามารถวิเคราะห์ได้ถ้วนถี่ในทั้ง 2 ด้าน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย แถมยังเป็นผู้มองโลกในแง่ดีมีธรรมะในหัวใจ จึงเขียนได้น่าอ่านอย่างนั้น  
  
อ่านแล้วจะติดใจว่า ท่านสมเป็นคุณหมอนักเขียน (คอลัมนิสต์) ที่ดีคนหนึ่ง ที่เขียนอย่างสร้างสรรค์ ให้ความรู้ทางกฎหมายด้วย  

 
จากคุณ: Dr.R โพสเมื่อวันที่: 01/17/08 เวลา 15:24:40
ขอบคุณครับ
จากคุณ: F@mily_Comes_1st โพสเมื่อวันที่: 01/17/08 เวลา 15:31:22
ขอบคุณค่ะ Wink Cheesy Cheesy
จากคุณ: Dr.R โพสเมื่อวันที่: 01/17/08 เวลา 15:45:28
คิดเหมือนๆกัน
จากคุณ: นกแก้ว โพสเมื่อวันที่: 01/17/08 เวลา 16:57:55
ขอบคุณค่ะ  รวดเร็วทันใจดีจัง  ยังเกรงๆ ว่า ช่วงปลายๆ เดือน จะหาอ่านได้ไหม  Wink
 
ที่จริงบทความนี้มีประโยชน์มาก ต่อสังคม  แต่รู้สึกสมาชิกถึงเข้าได้  Tongue
(ขอแอบแสดงความคิดเห็น ประสาช่างจ้อเล็กๆ น้อยๆ ที่จริง บทความที่เป็นประโยชน์และไม่ใช่เรื่องละเอียดอ่อนความลับเกินไป  น่าจะมีการเผยแพร่ให้ประชาชนรับรู้ได้นะคะ  Smiley
 
แหะ ๆ แสดงความคิดเห็นไป  แต่ในทึ่สุด  นกแก้วก็ไม่ทราบข้อจำกัด หรือเหตุผลหลายๆ อย่าง ของผู้จัดทำ  ที่เห็นเฉพาะบทความ 2 บทความนี้  คือ มองว่าเป็นการให้ความรู้  เพื่อแก้ไขข้อเข้าใจไม่ถูกต้องในสังคมนะค่ะ  Smiley
 
ผู้เขียนเขียนสำนวนได้ชวนอ่านมากค่ะ เนื้อหาเข้าใจง่าย เหมาะกับประชาชนมาก  เหมือนอ่านบทความในนิตยสารทั่วๆ ไป  ไม่หนักแบบวิชาการ  Cheesy
 
ที่นกแก้วชอบมากที่สุด คือ หน้า 80 ย่อหน้าที่ 2 ที่ขึ้นต้นว่า "หลายต่อหลายรายขึ้นสู่ศาล ...    นกแก้วอยากให้มีเนื้อหาทำนองนี้กระจายออกไปมากๆ สุ๋ประชาชน เป็นการใหความรู้ประชาชนได้ดี  Smiley
 
 
ขอบคุณหมอหมู ที่ไปแปะเพิ่มเติมในกระทู้  Cheesy
 
ขอบคุณ หมอ ppom ช่วยนำมาให้อ่าน  Cheesy
 
^
^^
 
ขอบคุณนกแก้วที่ชอบอ่าน และกล้าตั้งกระทู้ขอ  Tongue
 
 
 
 
 
จากคุณ: ppom โพสเมื่อวันที่: 01/17/08 เวลา 17:14:49
เปิดเข้าไปดู med progress ทุกวันเลยค่ะ พอเห็นฉบับใหม่ในวันนี้ ก็รีบ link มาให้ทันทีค่ะ เพราะอยากให้แพทย์ทุกคนได้อ่าน เนื่องจากเป็นประโยชน์กับบรรดาแพทย์ และเป็นการให้ความเข้าใจแก่สาธารณชนด้วย
 
คนที่พร้อมเปิดใจ อยากรู้อยากเห็น พร้อมรับฟังความเห็นและเข้าใจผู้อื่นด้วยเจตนาดี มองโลกในแง่ดีทั้ง 2 ด้าน ใช้ปัญญาพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลอย่างนกแก้วมีมากพอควรในสังคม แต่มักเป็นกลุ่มพลังเงียบ
 
แต่สำหรับคนบางหมู่เหล่าที่มีอคติในใจ โทสะจริตครอบงำ คิดตรงกันข้ามมีไม่น้อย มักไม่เข้าใจและพร้อมจะอัดกลับด้วยถ้อยคำแรงๆ หาว่าหมอเข้าข้างกันเอง ปรมาจารย์ยังโดนซะเละ  
 
คนนอกไม่เคยรักษาคนไข้ ไม่รู้พอเข้าใจได้ แต่หมอด้วยกันเองที่ไม่มีประสบการณ์เฝ้าคนไข้หนัก บางคนเลิกเป็นหมอไปแล้ว บางคน personality disorder เข้ากับใครไม่ได้ บางคนเป็นหมอเทศบาล ก็เป็นไปกะเค้าด้วย  
 
หมอเรา ถ้าเคยเห็นคนไข้มากๆ ประสบการณ์สูง ก็จะรู้ว่า โรคเดียวกัน ผลการรักษาออกมาหลากหลายรูปแบบ เรารักษาแบบเดียวกันแท้ๆ ผลไหงออกมาต่างกัน ผลไม่เป็นดังคาดมีบ่อยๆ ไส้ติ่งแตกแล้ว ท้องยังนิ่มก็มี บางคนปวดท้องท้องแข็งเป็นไปตามตำรา พอผ่าเข้าไปไส้ติ่งปกติก็มี ฯลฯ
 
หมอที่ผิดจริงสมควรถูกลงโทษ เราไม่ได้เข้าข้างกัน ทั้งที่ผิดจริยธรรมเรื่องโฆษณา หรืออย่างหมอฆ่าเมีย หมอเสริมสวยที่ต้องสงสัยฆ่าคนไข้ ห้องยาจ่ายยาเบาหวานให้คนไข้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน ฯลฯ
 
จึงต้องแยกให้ออกระหว่าง  
 
 Sad malpractice คือการรักษาที่ผิดมาตรฐานทางการแพทย์ต่างๆ
 
 Sad medical errer อย่างเช่น ผ่าผิดข้าง ลืม guaze ไว้ในช่องคลอด หรือในท้อง ลืมเครื่องมือในท้อง ฉีดยาผิด จ่ายยาผิด ให้เลือดผิด ฯลฯ
 
 Sad complication ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เป็นธรรมชาติของโรค แผลติดเชื้อ การติดเชื้อเข้าสู่กระแสโลหิต แพ้ยาโดยไม่รู้มาก่อน
 
 Sad ธรรมชาติของโรคเอง เช่น น้ำคร่ำอุดปอด การวินิจฉัยโรคไม่ได้ในระยะแรกที่อาการแสดงน้อย ไม่ชัดเจน คนไข้ที่กิน steroid พอติดเชื้อ อาการไม่มาก ไข้ก็ไม่ขึ้น  คนไข้ที่การตอบสนองต่อยาของร่างกายผิดไปจากคนทั่วไป ฯลฯ  
 
ใครกำลังโวยวายเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องอย่างไร้ความปรานี ใครกำลังพยายามแก้ปัญหาของระบบก่อนที่จะพังครืน เราต้องใช้วิจารณญาณและมองให้ออก
 
โดยส่วนตัว กับคนเหล่านั้น เหนื่อยที่จะอธิบาย ต่อให้อาจารย์เขียนมาดียังไง เค้าก็คิดอีกแบบและพร้อมด่ากลับด้วยถ้อยคำไม่สุภาพ คนสวมแว่นดำมักเห็นอะไรเป็นสีดำไปหมด บางคนก็มีความหลังฝังใจที่ไม่ดีอยู่ที่จิตใต้สำนึก ลึกจนขุดไม่ออก
 
เราใช้พฤติกรรมของคนเหล่านี้ฝึกธรรมะหัวข้อพรหมวิหาร 4 ที่ว่าด้วยเรื่องเมตตาและอุเบกขามากกว่าค่ะ ทำได้มั่งไม่ได้มั่ง ค่อยๆฝึกกันไป  
 
คนที่มีอุปนิสัยสุดโต่ง เหมาะที่จะใช้เป็นคุณครูในการศึกษาวิชาพฤติกรรมมนุษย์และวิชาจิตวิทยา เป็นคุณครูชั้นดีซะด้วย เพราะอาการและอาการแสดงชัดเจน ถ้าเป็นโรค ก็ถือว่าเป็นโรคที่ Dx ง่าย แต่รักษายากชะมัด แถมมี Cx ตามมาเพียบ Grin
 
ธรรมชาติของมนุษย์บางประเภท เป็นอย่างนั้นเอง เราอย่าไปถือสาหรือทะเลาะด้วย เปลืองพลังงาน เป็นธรรมชาติของคนที่มักจมอยู่กับวังวนของกิเลส โลภ โกรธ หลง หาทางออกไม่เจอ มีแต่เรื่องร้อนใจ ไม่รู้ว่าเป็นโรค OCD หรือเปล่า Grin
 
คนเราเผชิญความทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ทางออกนั้นต่างกัน บางคนให้อภัย อโหสิกรรม ปล่อยวางได้ จึงออกจากความทุกข์ แต่บางคนไม่สามารถหลุดออกจากบ่วงทุกข์ได้ วิบากกรรมคงยังไม่หมด เราทำเต็มที่ ทำดีที่สุดแล้ว ผลเป็นยังไงก็ต้องถือว่ากรรมใครก็กรรมของเค้า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
 
แผ่เมตตาให้ก็แล้วกันเนอะ  Grin
 
 Cheesy ขอให้สรรพสัตว์จงปราศจากความโกรธ ความเกลียด ความมุ่งร้าย
 
 Cheesy ขอให้สรรพสัตว์จงมีแต่ความรัก ความเมตตา มีมิตรไมตรี  
 
ภวตุ สัพพะ มังคลัง
จากคุณ: anantom โพสเมื่อวันที่: 01/17/08 เวลา 17:27:20
ขอบคุณครับ
จากคุณ: นกแก้ว โพสเมื่อวันที่: 01/17/08 เวลา 17:28:02
กำลังจะปิดเครื่อง  ขอแวะดูอีกที  Cheesy
 
 
นกแก้วตามข่าวค่ะ  Smiley
 
 
แต่นกแก้ว เชื่อว่า คนที่มีความเข้าใจ มีความเป็นกลาง ในสังคมยังมี  แต่ถ้ามีแต่ฝ่ายเดียวให้ข่าว  คนที่เป็นกลางก็เขว เพราะคิดว่าเป็นเช่นนั้น  Smiley
 
นกแก้วอยากให้มีข่าวสาร วิชาการที่เป็นะณรมและเป็นกลาง  ให้ ประชาชน คิดและตัดสินค่ะ  Wink
 
 
คนนอกวงการที่ชอบจ้อ ชอบแสดงความคิดเห็น  Tongue
จากคุณ: นกแก้ว โพสเมื่อวันที่: 01/17/08 เวลา 17:32:04
ขอแก้ พิมพ์ผิด คือ เป็นธรรมและเป็นกลาง  Embarassed
 
 
^^
 
 
กลายเป็นทู้คุยอีก แล้ว  Tongue Grin
จากคุณ: Confused โพสเมื่อวันที่: 01/17/08 เวลา 21:14:28
ขอบคุณนะครับ
จากคุณ: นกแก้ว โพสเมื่อวันที่: 01/18/08 เวลา 09:05:41
^
 
^^
 
มาคุยต่อ Smiley
 
เมื่อเช้า หาตั้งหลายรอบ นึกว่ากระทู้หาย คิดไปคิดมา คงได้รับการยกขึ้น ปักหมุด Cheesy Cheesy
 
จะมารบกวน ขจกท ว่า ช่วยแปะ link บทความกฎหมายทางการแพทย์ที่มีทุกฉบับได้ไหมคะ Cajole Cajole
 
เกรงใจค่ะ  แต่บทความเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนได้รับรู้ข้อเท็จจริงทางวิชา การ  ไม่ใช่ประโยชน์เฉพาะแพทย์  Smiley
 
ประโยชน์ที่ได้ในที่สุดจะตกแก่ประชาชนและระบบสาธารณสุขของประเทศ Thanks Thanks
จากคุณ: ppom โพสเมื่อวันที่: 01/18/08 เวลา 09:49:25
เห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกันจากมติชน ก็เลยมาแปะให้อ่านด้วย มาจากที่นี่
 
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01lif151701 51&day=2008-01-17&sectionid=0132
 
เมื่อแพทย์ต้องเข้าคุก จุดเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย
 
โดย นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
 
ผู้ป่วยหญิงไทย ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง แพทย์ให้การรักษาด้วยการผ่าตัดไส้ติ่ง โดยการวางยาสลบด้วยการฉีดยาเข้าสันหลัง ขณะกำลังให้การรักษานั้นเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 2-6 รายใน 10,000 ราย แพทย์ได้ทำการกระตุ้นหัวใจและช่วยการหายใจจนผู้ป่วยดีขึ้น และได้นำผู้ป่วยส่งไปรับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจังหวัด ซึ่งเสียชีวิตในอีก 16 วัน ต่อมา เป็นเหตุให้พนักงานอัยการจังหวัดเป็นโจทก์ โดยมีบุตรผู้ตายเป็นโจทก์ร่วม ยื่นฟ้องแพทย์ผู้ทำการรักษา เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2550 ได้มีคำพิพากษาจำคุกแพทย์ที่วางยาสลบเป็นเวลา 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา จากฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 กระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
 
กรณีดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวาง ไม่เฉพาะแค่วงการแพทย์ แต่เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่กระเทือนไปถึงโครงสร้างพื้นฐานของระบบบริการ สาธารณสุขของไทยเลยทีเดียว
 
ผลกระทบเมื่อแพทย์ถูกจับเข้าคุกในความผิดจากการประกอบวิชาชีพ
 
ในอดีต เราขาดแคลนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เข้าไปปฏิบัติงานในชนบทและท้องถิ่นที่ห่างไกล ชาวบ้านก็เรียกร้องขอให้มีแพทย์ มีบุคลากรสาธารณสุขมาอยู่ใกล้บ้าน ให้ได้พึ่งพายามเจ็บป่วย ก็พอใจแล้ว
 
แต่ปัจจุบัน เราก็ยังขาดแคลนบุคลากรทุกระดับ ทุกประเภทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอดีต แต่ชาวบ้านไม่แต่เพียงแต่เรียกร้องขอให้มีแพทย์ มีเจ้าหน้าที่มาทำงาน แต่คาดหวังอย่างสูงยิ่งด้วยว่า โรงพยาบาลจะต้องรักษาเขาให้หาย ได้มาตรฐานเหมือนกับโรงเรียนแพทย์ ทำผิดพลาดไม่ได้ และหากผลการรักษาไม่เป็นตามที่คาดหวัง ก็ติดตามมาด้วยการฟ้องร้อง เรียกร้องค่าเสียหายต่างๆ  
 
จนถึงกรณีล่าสุดซึ่งถือเป็นกรณีที่ร้ายแรงที่สุด ก็คือแพทย์ของรัฐที่ตั้งอกตั้งใจรักษาคนไข้ กำลังปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในสถานพยาบาล ต้องติดคุก ด้วยข้อหาที่ไม่ต่างจากฆาตกร  

จะเกิดผลกระทบอะไรตามมาจากเหตุการณ์ครั้งนี้บ้าง

คำตอบแรกที่สุดคือ แพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคน….. กลัว กลัวว่าหากคนไข้เป็นอะไรไปจากการรักษาพยาบาลแล้วต้องติดคุก หรือต้องถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย กลัวเสียขวัญ กลัวเสียชื่อเสียง กลัวผลกระทบต่อภารกิจการงาน กลัวไปจิปาถะ
 
ผลที่ติดตามมาเมื่อเกิดความกลัว ก็คือ ระวัง  
 
จะตรวจ จะรักษาคนไข้ก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น
 
จะตัดสินใจวินิจฉัย ให้การรักษา ก็ต้องส่งตรวจจนมั่นใจ
 
ไม่แน่ใจ ไม่พร้อม ก็ไม่ทำ ไม่รักษา  
 
ไม่มั่นใจ ไม่มีความเชี่ยวชาญ ก็ไม่เสี่ยง ก็จะต้องส่งต่อ
 
โรงพยาบาลชุมชนที่ไม่มีวิสัญญีแพทย์ ก็คงไม่กล้าผ่าตัด เพราะไม่ได้มาตรฐานวิชาชีพ
 
บรรยากาศที่กล่าวมานี้ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ ในผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั่วประเทศ

 
ในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ซึ่งเคยมีคนไข้ผ่าตัดไส้ติ่งคืนหนึ่งประมาณ 4-5 ราย ขณะนี้บางวัน มีคนไข้ที่ถูกส่งต่อมารับการผ่าไส้ติ่งสูงถึง 10-15 ราย ห้องคลอดที่เคยทำคลอดเสร็จสบายๆ ในทุกเวร ปัจจุบันนี้มีคนไข้รอคลอด ทำคลอด จนไม่มีเวลาว่าง และไม่มีทางจะทำให้เสร็จเรียบร้อยในเวลาอันรวดเร็ว
 
สถานการณ์ดังกล่าวนี้ ผู้ที่ต้องได้รับผลกระทบอย่างสูงยิ่งโดยตรง คือ ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนที่ด้อยโอกาสที่ไม่มีทางเลือก ไม่มีฐานะพอที่จะเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชน

 
ถึงที่สุดแล้ว คนเก่งๆ จะเลือกเป็นแพทย์น้อยลง  
 
พยากรณ์ได้ว่า องคาพยพของระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทยทั้งระบบ ก็จะต้องอ่อนแอลงในอนาคตอันใกล้นี้
 
ปัญหาเรื่องนี้จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมและเร่งด่วน โดยทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนที่เป็นผู้รับผลกระทบโดยตรง
 
1.กระทรวงสาธารณสุข จะต้องเร่งสร้างกลไกเชิงรุก ในการบริหารจัดการเมื่อเกิดปัญหาที่เป็นผลมาจากการรักษาพยาบาลขึ้นมารองรับโ ดยเร็วที่สุด เพราะปัญหาการร้องเรียนจ่ออยู่ ณ ปากประตูของโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ ในทุกๆ วันของการทำงานของทุกๆ คน  
 
2.กระทรวงสาธารณสุขต้องเร่งทบทวนบทบาท และแนวทางการปฏิบัติที่ครอบคลุมทุกมิติ ของโรงพยาบาลแต่ละระดับ ว่าสิ่งไหนโรงพยาบาลสามารถทำได้ สิ่งไหนไม่ควรทำ พร้อมทั้งประกาศให้รับรู้อย่างเป็นระบบ  
 
3.กระทรวงต้องเร่งพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาล ทั้งในด้านบุคลากร ขวัญกำลังใจและแรงจูงใจ รวมถึงการจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ที่จำเป็นอย่างพอเพียง
 
4.ต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับรู้ถึงสภาพความเป็นจริงข องระบบสาธารณสุขในปัจจุบัน ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนเมื่อโครงสร้างเปลี่ยนไป และความร่วมมือของประชาชนในการช่วยเหลือกันทะนุบำรุง รักษาระบบบริการสุขภาพของเราให้คนไทยสามารถเข้าถึงได้จริง ด้วยประสิทธิภาพที่ยอมรับได้  
จากคุณ: ppom โพสเมื่อวันที่: 01/18/08 เวลา 09:53:37
on 01/18/08 เวลา 09:05:41, นกแก้ว wrote:
^
 
^^
 
มาคุยต่อ Smiley
 
เมื่อเช้า หาตั้งหลายรอบ นึกว่ากระทู้หาย คิดไปคิดมา คงได้รับการยกขึ้น ปักหมุด Cheesy Cheesy
 
จะมารบกวน ขจกท ว่า ช่วยแปะ link บทความกฎหมายทางการแพทย์ที่มีทุกฉบับได้ไหมคะ Cajole Cajole
 
เกรงใจค่ะ  แต่บทความเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนได้รับรู้ข้อเท็จจริงทางวิช าการ  ไม่ใช่ประโยชน์เฉพาะแพทย์  Smiley
 
ประโยชน์ที่ได้ในที่สุดจะตกแก่ประชาชนและระบบสาธารณสุขของประเทศ Thanks Thanks

 
บทความทางกฎหมายไม่ได้มีทุกเล่มค่ะ มีเรื่องอื่นสลับกันบ้าง  
 
นกแก้วเข้าไปหน้านี้ เลือกอ่านตามสบาย มีบทความทางการแพทย์ที่เขียนแบบอ่านไม่ยากนัก และน่าอ่านหลายเรื่อง
 
http://www.medicalprogress-cme.com/index.asp
จากคุณ: ppom โพสเมื่อวันที่: 01/18/08 เวลา 10:21:17
อีกบทความของอาจารย์จากที่นี่ค่ะ
 
http://www.pr-ddc.com/modules.php?name=News&file=print&sid=39
 
โดย นพ.เมธี  วงศ์ศิริสุวรรณ นิตยสาร Healthtoday

ทุกวันนี้หากเปิดตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือดูรายการวิเคราะห์ข่าวรายวันจะพบว่าประเด็นที่ร้อนแรง และได้รับความสนใจในทุกครั้งที่เป็นข่าวคือ คดีร้องเรียนแพทย์ว่าให้การรักษาโดยประมาท ไม่เอาใจใส่ ทำให้ผู้ป่วยได้รับความเสียหาย  
มีทั้งการฟ้องร้องทางอาญา และฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง ด้วยคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะแพทย์ จ.พังงา ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านน้ำเค็มประมาณ 8 กม. เป็นอีกจุดที่ได้รับความเสียหายมาก  
 
ในหน้า classified ตามหนังสือพิมพ์จะเห็นประกาศของสำนักทนายความรับว่าความคดีแพทย์โดยเฉพาะ เหมือนที่เมืองนอกมีกัน และแพทย์หลายคนเริ่มเปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่น เช่น ทำธุรกิจส่วนตัว หรือแม้กระทั่งไปขายตรงสินค้าต่างๆ ซึ่งนับเป็นการสูญเสียใหญ่หลวง ของบุคลากรอันมีค่ายิ่งของประเทศ เกิดอะไรกันขึ้นกันแน่ในการรักษาพยาบาลของเมืองไทย?
 
      แต่หากมองในมุมของแพทย์แล้ว แพทย์ส่วนใหญ่คงจะเสียกำลังใจ ท้อใจ เพราะทุกวันนี้แพทย์ทำงานหนัก ให้การรักษาอย่างเต็มกำลังทุกครั้ง ความผิดพลาดที่เกิดนั้นอาจเกิดจากความบกพร่องโดยตรงของแพทย์บางราย ซึ่งเป็นส่วนน้อย หรืออาจเกิดจากความเข้าใจผิดของผู้ป่วยและญาติ กระทั่งอาจเกิดอย่างสุดวิสัยที่จะป้องกันหรือแก้ไขได้  
 
     ผู้ป่วยหรือญาติที่ร้องเรียนแพทย์มักกล่าวในทำนองว่า ตอนเข้ารักษาก็เดินมาดีๆ แต่ทำไมญาติถึงเสียชีวิต และที่ต้องร้องต่อสื่อมวลชนก็เพียงแต่ต้องการให้สื่อเป็นตัวกลาง แต่เมื่อสื่อตีข่าวออกไปแพทย์ก็ตกเป็นจำเลยทางสังคมทั้งๆ ที่อาจไม่ได้ทำผิด ในบทความนี้จึงนำเสนอตัวอย่างความไม่เข้าใจจนเกิดการฟ้องร้องขึ้นระหว่างแพท ย์กับผู้ป่วยหรือญาติที่พบบ่อยๆ ในสังคมไทย
 
“แพทย์ต้องทำตัวเป็นหมอเทวดา ไม่ว่าจะอาการหนักแค่ไหน เมื่อมาถึงมือแพทย์แล้วสบายใจได้ ผู้ป่วยต้องไม่เป็นอะไร”  
 
      ความจริง : หลายต่อหลายกรณีที่มีการร้องเรียนว่าแพทย์ประมาท ไม่สนใจดูแลผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักหรือแย่ลง ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วแพทย์ได้ให้การรักษา เต็มที่เท่าที่จะทำได้ในสถานการณ์นั้นๆ แล้ว
 
     ปัจจุบันนี้ดูเหมือนมีความสับสนระหว่างความเข้าใจในขั้นตอนการรักษาของแพทย์กับความคาดหวังถึงผลที่จะได้รับของผู้ป่วย โดยคนทั่วไปมีความคาดหวังต่อแพทย์สูง และไว้วางใจแพทย์เป็นที่พึ่งสุดท้าย เมื่อการรักษาไม่เป็นดังหวังจึงรู้สึกว่าเป็นความผิดของแพทย์  
 
ตัวอย่างเช่น หากมารดามาฝากครรภ์กับแพทย์และตรวจตามนัดโดยตลอด ในการคลอดบุตรก็ต้องไม่มีการเสียชีวิตของทั้งบุตรและมารดา หากเกิดการเสียชีวิตแพทย์ย่อมเป็นฝ่ายผิด แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้แต่ในประเทศที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้า การคลอดบุตรก็ยังมีอัตราตายอยู่เสมอ โดยอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งไม่สามารถตรวจพบได้ระหว่างการฝากครรภ์หรือช่วงก่อนคลอด

 
ความเข้าใจผิด เช่น ถ้ามีเงินมากมายพร้อมจ่ายให้ โรงพยาบาลก็ต้องรับประกันความปลอดภัยให้ถึงที่สุด
และไม่ควรมีคำว่า “เหตุสุดวิสัยทางการแพทย์” ทั้งๆ ที่ในตำราทางการแพทย์ ระบุชัดเจนว่า “ไม่มีการรักษาใดๆ ที่ไม่มีความเสี่ยง” ทุกวันนี้ชีวิตเราเต็มไปด้วยความเสี่ยง เพียงคุณซื้อยาแก้ปวด paracetamol มารับประทานเอง ก็อาจจะแพ้ยาตายได้ หรือเกิดตับอักเสบรุนแรงอันเนื่องมาจากการตอบสนองต่อยาที่ผิดจากคนปกติทั่วไ ป  
 
การรักษาในปัจจุบันนี้การรักษาพยาบาลกระทำไปบนพื้นฐานของการชั่งน้ำหนักว่าว ิธีใดมีความเสี่ยงน้อยที่สุด แพทย์ก็จะเลือกวิธีนั้น ดังนั้นผู้ป่วยหรือญาติจึงไม่ควรคาดหวังในสิ่งที่เกินความเป็นจริง

 
ความประมาทหรือความละเลยของแพทย์บางท่านในการให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย มีทั้งที่เป็นความไม่รับผิดชอบของบุคลากรทางการแพทย์เอง หรือเป็นเหตุสุดวิสัยที่แพทย์ได้ทำดีที่สุดแล้วเท่าที่สถานการณ์จะเอื้ออำนว ยให้  
 
เช่น แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนที่มีสัดส่วนอัตรากำลังน้อยของหมอน้อยมากต่อจำนวนคนไข ้ บางแห่งแพทย์หนึ่งท่านดูแลผู้ป่วยนอก วันละหลายสิบหรือเกือบร้อยคน หากบริการช้าก็โดนต่อว่า หากเร่งให้เร็วขึ้นก็ไม่มีเวลาพูดคุยอธิบายกับผู้ป่วย เรียกว่าโดนต่อว่าทั้งขึ้นทั้งล่อง

 
ซึ่งเหตุการณ์นี้พบได้มากในโรงพยาบาลของรัฐ แต่เมื่อมีการสื่อออกไปในวงกว้าง กลับฉายภาพออกมาเพียงมุมเดียว โดยไม่นำเสนอภาพหรือเงากระจกอีกด้านของการทำงานของแพทย์ให้ประชาชนได้รับทรา บ
 
การแก้ไขต้องทำทั้งสองทาง โดยเพิ่มอัตรากำลังแพทย์ให้เพียงพอกับผู้ป่วยและพัฒนาสถานที่ อุปกรณ์การแพทย์ให้เพียงพอขึ้น ซึ่งอาจทำไม่ได้ทั้งหมดในทันทีและคงต้องใช้เวลาและงบประมาณเป็นจำนวนมาก ส่วนภาคประชาชนต้องมีการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งให้ความรู้ภาคประชาชนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพพื้นฐาน เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยในระยะยาว
 
      ในความเป็นจริงแพทย์ทุกคนถูกสั่งสอนจากโรงเรียนแพทย์ ให้ดูแลผู้ป่วยทุกคนด้วยความเท่าเทียมกัน ไม่มีความลำเอียง แพทย์ก็ต้องให้การรักษาอย่างไม่เลือกชั้นวรรณะ เชื่อแน่ว่าระบบนี้ยังมีอยู่และจะเป็นอยู่ต่อไปในอนาคต แต่เหตุที่การรักษาผู้ป่วยแต่ละรายทำได้ไม่เท่าเทียมกัน ก็เพราะสถานะภาพของแต่ละโรงพยาบาลแตกต่างกันไป มันเป็นธรรมดาของโลก
 
“แพทย์ให้ยาอะไรมา ทำไมกินแล้วแพ้ยา สงสัยจะเป็นยาไม่มีคุณภาพ” หรือ “ทำไมแพทย์ไม่จ่ายยาตัวนี้เหมือนที่โรงพยาบาล (มักเป็นเอกชน) จ่ายให้ล่ะ”     
 
     ความจริง : ปัญหากรณีดังกล่าวเป็นปัญหาที่แพทย์ที่ปฏิบัติงาน ในภาครัฐหรือเอกชนบางแห่งค่อนข้างลำบากใจ เพราะในปัจจุบันมีเงื่อนไขการสั่งจ่ายยาที่ต่างจากในอดีตค่อนข้างมาก  
 
แต่เดิมนั้นถ้าแพทย์เห็นควรว่า ผู้ป่วยรายนี้จำเป็นต้องได้รับยาชนิดใดชนิดหนึ่งเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้น แม้ผู้ป่วยจะไม่มีเงินจ่ายค่ายา แพทย์ก็สามารถสั่งให้ได้ เพราะมีระบบสังคมสงเคราะห์หรือเงินกองกลางจากเงินบำรุงของโรงพยาบาล ที่เปรียบเสมือนหน่วยกลางในการบริจาคยาให้โรงพยาบาลแต่ละที่อยู่แล้ว

 
แต่ปัจจุบันระบบการรักษาเปลี่ยนไป มีการทำบัญชียาหลัก ที่แพทย์สามารถจ่ายได้ ยาบางอย่างต้องได้รับการอนุมัติ ยาบางอย่างผู้ป่วยต้องจ่ายเอง ประกอบกับระบบการเงินของโรงพยาบาล ที่ค่อนข้างจำกัดแตกต่างกันไปตามสถานะของแต่ละโรงพยาบาล  
 
การช่วยเหลือจากหน่วยงานดังกล่าวเปลี่ยนไปเพื่อให้สอดคล้องกับระบบในปัจจุบั น แพทย์จึงต้องให้การรักษาตามระเบียบที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นแล้วสถานะทางการเงินของโรงพยาบาลอาจมีปัญหาหนักขึ้นไปอีก

 
“ไม่เคยสำส่อนทางเพศ ไม่ได้ใช้ยาเสพติด อีกทั้งไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงใด ๆ แต่ทำไมหลังจากไปโรงพยาบาลผ่าตัดหรือฉีดยามา ผลเลือดกลับเป็นบวก”
 
 
      ความจริง : กรณีนี้เคยเป็นเหตุการณ์ฟ้องร้องทางการแพทย์มาแล้ว หลายคดีเรื่องก็ถูกนำไปสู่กระบวนยุติธรรมทางศาล ผมขออธิบายว่า...  
 
     ขั้นตอนการให้เลือดหรือส่วนประกอบโลหิตจะเริ่มด้วยการที่แพทย์สั่งพยาบาลเจา ะเลือดเพื่อหาหมู่เลือด และให้เจ้าหน้าที่นำส่งตัวอย่างเลือดให้กับงานห้องเลือด จากนั้นงานห้องเลือดก็จะตรวจเช็คตามขั้นตอนว่าเลือดดังกล่าวมีเชื้อแอบแฝงหร ือไม่ หากไม่มีก็จะแจ้งผลว่าได้เลือดที่ต้องการและกันไว้ให้สำหรับผู้ป่วยรายนั้นๆ  และเมื่อแพทย์ต้องการใช้เลือดก็จะสั่งการรักษาโดยให้พยาบาลนำเลือดมาให้  
 
     ดังนั้นโลหิตทุกถุงที่ให้กับผู้ป่วยจึงได้รับการการันตีด้วยมาตรฐานการแพทย์ ที่เท่าเทียมกันกับการแพทย์ฝั่งตะวันตก ว่าปลอดเชื้อ แต่ต้องภายใต้ข้อแม้ว่า เลือดดังกล่าวตรวจไม่พบเชื้อ ณ วันที่ตรวจเช็ค แต่เชื้อโรคหลายชนิดมีระยะฟักตัวในเลือดที่สารเคมีทางห้องปฏิบัติการทุกวันน ี้ไม่สามารถตรวจพบได้หากยังมีเชื้อจำนวนน้อยหรือกำลังฟักตัวอยู่ ดังนั้นผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับเลือดถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสได้รับเชื้ อทั้งสิ้น

 
“แพทย์บอกว่าต้องผ่าตัด แต่พอจะให้รับรองผลการผ่าตัด แพทย์กลับปฏิเสธ อย่างนี้ใครจะกล้าให้ผ่าตัด”  
 
      ความจริง : หากแพทย์ท่านใดรับปากผู้ป่วยหรือญาติว่า การผ่าตัดใดๆ ที่กำลังมีขึ้นไม่มีความเสี่ยง แทบจะ เรียกได้เลยว่าเป็นเท็จ เพราะแม้แต่ในตำราทางการแพทย์ระบุว่าหัตถการทุกอย่างมีความเสี่ยงทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดไส้ติ่ง การผ่าท้องคลอด เป็นต้น  
 
หัตถการเหล่านี้แม้แพทย์จะยังไม่ได้ลงมีดผู้ป่วยก็อาจเสียชีวิตได้ เช่น เกิดแพ้ยาที่ฉีดให้ระหว่างเริ่มการดมยาสลบ หรือ เกิดแพ้ยาที่ฉีดเข้าไขสันหลังเพื่อระงับความรู้สึกก่อนผ่าตัด ดังนั้นในความเป็นจริงแล้ว ทุก ๆ หัตถการทางการแพทย์มีความเสี่ยงทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าความเสี่ยงมากหรือน้อย

 
      จากทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่มีการฟ้องร้องและการร้อ งเรียน ต่อการให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งไม่มีแพทย์ท่านใดที่ต้องการให้ผู้ป่วยที่ตนดูแลเสียชีวิตหรือได้รับอันต รายจากการรักษาพยาบาล
 
หลายครั้งการร้องเรียนหรือฟ้องร้องอาจเกิดจากความผิดของแพทย์ผู้รักษาจริง ก็ต้องดำเนินคดีให้ผู้ป่วยและญาติได้รับความเป็นธรรม และการชดเชยที่เหมาะสม
 
แต่หลายครั้งการร้องเรียนหรือฟ้องร้องเกิดจากความเข้าใจผิดบางอย่างหรือเป็นความเสี่ยงทางการแพทย์ดังที่กล่าวมาแล้ว ในกรณีเหล่านี้การนำเสนอข้อเท็จจริงสู่สังคมเป็นสิ่งสำคัญมาก สื่อควรมีการตรวจสอบในทุกแง่มุมก่อนนำเสนอ
 
เพราะกรณีปัญหาระหว่างผู้ป่วยและแพทย์เป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งโดยแพทย์ตกเป็นจำเลยของสังคมที่เข้าใจว่าแพทย์ละเลยเลื อกปฏิบัติหรือไม่รับผิดชอบ จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยจากลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกั นกลายเป็นลักษณะพ่อค้ากับลูกค้าในระบบทุนนิยม ที่เมื่อลูกค้าจ่ายเงินแล้วต้องได้รับความพึงพอใจสูงสุด หากผลไม่เป็นดังหวัง ก็จะเกิดการฟ้องร้อง
 
ซึ่งลักษณะแบบนี้มีให้เห็นแล้วในประเทศฝั่งตะวันตก แพทย์ต้องป้องกันตัวเองจากการฟ้องร้อง โดยทำประกันภัยวิชาชีพ และวินิจฉัยโรคโดยส่งตรวจทุกอย่างไม่ว่าจะจำเป็นหรือไม่เพื่อป้องกันตัวเอง (defensive investigation) เพราะหากแพทย์ไม่ส่งตรวจ
 
บริษัทประกันก็อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ผลจากระบบความสัมพันธ์แบบนี้จะส่งผลเสียต่อประชาชน ที่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ดังนั้นคงไม่มีใครที่ต้องการให้ระบบของไทยก้าวตามรอยเท้าของตะวันตกไปสู่ควา มตกต่ำของความสัมพันธ์ ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย
 
   ดังนั้นคงไม่มีใครที่ต้องการให้ระบบของไทยก้าวตามรอยเท้าของตะวันตกไปสู่ความตกต่ำของความสัมพันธ์ ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย
 
จากคุณ: นกแก้ว โพสเมื่อวันที่: 01/18/08 เวลา 10:33:29
ขอบคุณค่ะ  Smiley
 
แต่ก่อน อ่าน นสพ ก่อน  แต่เด๋วนี้เช้า เข้า tcc ก่อน  Tongue Wink
 
จากคุณ: bigbird โพสเมื่อวันที่: 01/18/08 เวลา 11:25:49
Sad เขียนเอง เออเอง คดีอาญานั้นเกิดจากการแจ้งความ การแจ้งความเกิดจาก หมอไม่ให้เวชระเบียน เบี้ยวเขาก่อน และอีกเรื่องคือเพราะคดีหมดอายุความ เพราะสธ.ชอบสู้เรื่องอายุความ ไม่เมตตาคนไข้เขาเสียหาย เอาอายุความมาสู้ทำไม ดังนั้นคนไข้เขาเลยต้องสู้คดีอาญา จำเอาไว้ อย่าคิดแทนผู้เสียหาย คนไข้ไม่ได้ต้องการเห็นหมอติดคุก แต่ที่ติดเพราะแพทยสภาตัวดีกับสำนักปลัด ทำไมไม่ไปว่าผู้ร้ายตัวจริงโน่น
จากคุณ: หมอก้อนหิน โพสเมื่อวันที่: 01/18/08 เวลา 18:19:13
จุดบอดอย่างหนึ่งของวิชาชีพแพทย์ คือ ตำราเขียนไม่เหมือนกัน
เช่น Tibia หัก ตำรา ortho ที่มหาลัยนึงให้ผ่าตัด อีกตำราให้ใส่เฝือก long leg cast อีกตำราให้ short leg cast  
บางที ตำราเดียวกัน คนเขียนคนเดียวกัน แต่เขียนแย้งกันเองก็มี
ทีนี้ พวกเครือข่ายชอบฟ้องแพทย์ ก็ใช้ตำราอีกตำรามาเป็นหลักฐาน เราก็แพ้อยู่ร่ำไป
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 01/19/08 เวลา 19:18:50

 
Quote:
บทความที่เป็นประโยชน์และไม่ใช่เรื่องละเอียดอ่อนความลับเกินไป  น่าจะมีการเผยแพร่ให้ประชาชนรับรู้ได้นะคะ

 
ผมเคยส่งเมล์ไปที่ บรรณาธิการ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบกลับมา ก็เลยไม่แน่ใจว่า การนำมาเผยแพร่จะได้หรือไม่ ...  Roll Eyes
 
แต่เห็นด้วยนะครับว่า ประชาชน ก็ควรได้รับรู้ข้อมูลอีกด้านบ้าง ... ส่วนว่าจะเลือกเชื่อ หรือ ตัดสินใจอย่างไร ก็เป็นเรื่องของเขา ...
 
 
 
 
Quote:
โดยส่วนตัว กับคนเหล่านั้น เหนื่อยที่จะอธิบาย ต่อให้อาจารย์เขียนมาดียังไง เค้าก็คิดอีกแบบและพร้อมด่ากลับด้วยถ้อยคำไม่สุภาพ คนสวมแว่นดำมักเห็นอะไรเป็นสีดำไปหมด บางคนก็มีความหลังฝังใจที่ไม่ดีอยู่ที่จิตใต้สำนึก ลึกจนขุดไม่ออก  
 
เราใช้พฤติกรรมของคนเหล่านี้ฝึกธรรมะหัวข้อพรหมวิหาร 4 ที่ว่าด้วยเรื่องเมตตาและอุเบกขามากกว่าค่ะ ทำได้มั่งไม่ได้มั่ง ค่อยๆฝึกกันไป    
 
ธรรมชาติของมนุษย์บางประเภท เป็นอย่างนั้นเอง เราอย่าไปถือสาหรือทะเลาะด้วย เปลืองพลังงาน

 
 
เห็นด้วยครับ .. ผมเคยพยายามเหมือนกัน แต่สำหรับบางคน เปลี่ยนไม่ได้จริง ๆ  ซึ่งไม่เกียวกับระดับการศึกษาด้วยนะครับ เรียนสูงไม่ได้หมายความว่าจะเปิดใจ ยอมรับฟัง คนอืน ยอมรับความเห็นที่แตกต่างจากตนเอง .. บางคนยิ่งเรียนสูง กลับยิ่งคับแคบ  ในเวบนี้ ก็มีตัวอย่างให้เห็นบ่อยๆ    
 
 
 
Quote:
ผลที่ติดตามมาเมื่อเกิดความกลัว ก็คือ ระวัง  
 
จะตรวจ จะรักษาคนไข้ก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น  
 
จะตัดสินใจวินิจฉัย ให้การรักษา ก็ต้องส่งตรวจจนมั่นใจ  
 
ไม่แน่ใจ ไม่พร้อม ก็ไม่ทำ ไม่รักษา  
 
ไม่มั่นใจ ไม่มีความเชี่ยวชาญ ก็ไม่เสี่ยง ก็จะต้องส่งต่อ  
 
โรงพยาบาลชุมชนที่ไม่มีวิสัญญีแพทย์ ก็คงไม่กล้าผ่าตัด เพราะไม่ได้มาตรฐานวิชาชีพ  
 
บรรยากาศที่กล่าวมานี้ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ ในผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั่วประเทศ  
   
 
พยากรณ์ได้ว่า องคาพยพของระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทยทั้งระบบ ก็จะต้องอ่อนแอลงในอนาคตอันใกล้นี้

 
ตอนนี้ ก็เกิดขึ้นแล้ว ครับ .. อย่างน้อย ก็ตัวผม ๑ คนที่เปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อให้มีความเสี่ยงลดลง เพราะผมไม่เชื่อว่า มาตรการที่คิด  ๆ กันกว่าจะเห็นผล ก็คงอีกนานมาก ซึ่ง ผมก็ไม่อยากเสี่ยงที่จะทำไปเรื่อย ๆ แบบนั้น ...
 
 
หัวข้อ 15588: เราได้อะไร จากคดีนี้ Huh  (จำนวนคนอ่าน 929 ครั้ง)
 
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1197118041;start=0
 
หมอรพ.รัฐ นะเสี่ยงมากกว่า รพ.เอกชนหลายเท่า ขาดแคลนทั้งคน ทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์  ทั้งเวลา แถมปริมาณงานก็เยอะกว่าหลายเท่า ... แต่ผมก็ไม่ได้ให้ทุกคนทำแบบผม นะครับ เพียงแต่ อยากให้ระมัดระวังที่จะทำอะไร นอกจากคิดถึง โรค คิดถึงผู้ป่วยแล้ว ก็อย่าลืม คิดถึงตนเองและครอบครัวไว้บ้าง ...
 
ลองดูจากกระทู้นี้ก็ได้ ...  
 
หัวข้อ 15820: รวบรวมกระทู้ ร้อน ๆ  ในช่วงนี้ ...  (จำนวนคนอ่าน 2208 ครั้ง)
 
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1197393183
 
ช่วงแรก ๆ เป็นอย่างไร .. แล้วตอนนี้เป็นอย่างไร  
 
พอถึงเวลา คนที่เดือดร้อนจริงๆ ก็คือ ตัวเราเองและครอบครัว  คนอื่น ๆ (พี่ ๆ น้องๆ หมอ ญาติ  ผอ. ปลัดฯ ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ) เขาก็อาจเดือดร้อน เห็นใจ แต่พอสักพักก็ลืม ๆ เลือน ๆ ไป  Lips Sealed
 
ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่าง ครูจูหลิง ก็ได้  เมื่อไม่นาน ดูข่าวก็ยังเห็นพ่อแม่ร้องไห้คิดถึงลูกอยู่เลยทั้งที่ผ่านไป ๑ ปี แล้วคนอื่น ๆ ละ ยังจำครูจูหลิงได้บ้างหรือเปล่า  Lips Sealed  
 
มีกรณีของหมอฯ ถูกฟ้อง แบบนี้ .. อย่างน้อย อาจารย์หลาย ๆ ท่าน ก็คงเลิกพูดว่า " หมอรักษาคนไข้เขาดี ๆ แค่นี้หมอก็ไม่ต้องห่วงว่าเขาจะฟ้องหมอแล้ว "    
 
 
พูดเรื่องนี้ที่ไร ยาวทุกทีสิน่า ...  Roll Eyes
 
 
ก็ขอให้แคล้วคลาดปลอดภัยนะครับ พี่ ๆ น้อง ๆ หมอ ทั้งหลาย  Smiley
 
นอกจากห่วงคนอื่น แล้ว อย่าลืม ห่วงตัวเอง และ ครอบครัว ด้วยนะครับ   Wink
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 01/19/08 เวลา 19:43:58
อ้อ ..ลืมแปะภาพหนังสือ ...  
 
ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ขอโปรโมท หน่อยละกัน  Grin
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 01/19/08 เวลา 19:45:19
ราคา ๓๙๐ บาท เอง คุ้ม สุด  ๆ  
 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 01/19/08 เวลา 19:45:40

ผู้แต่ง ..
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 01/19/08 เวลา 19:49:57

อืม .. รู้สึกว่า ชักจะเชียร์ ออกนอกหน้าไปหน่อย ....  Tongue
 
 
Quote:
น่าจะถือว่าเป็น หนังสือ ที่ต้องอ่าน สำหรับ แพทย์ที่ยังประกอบวิชาชีพอยู่ ทุกคนเลย ก็ว่าได้    

 
แต่เป็นหนังสือที่ดี จริงๆ ครับ ... อ่านแรก ๆ คงจะ งง ๆ หน่อย  ก็อ่านหลาย ๆ รอบ ก็จะเข้าใจดีขึ้น ... อ่านเฉพาะเรื่องที่สนใจ ก็ได้ .. ค่อย ๆ อ่านไป ไม่ต้องรีบ ไม่ได้เอาไปสอบที่ไหน แต่เอาไว้เป็นความรู้เพื่อตัวเอง   Wink
 
 
 
อย่าลืมนะครับ .. ถ้าโทรมาในสิบนาทีนี้ จะได้รับ กุญแจมือ และ หมายศาล เป็นของแถม ... ( ล้อเล่น ๆ ๆ )
จากคุณ: nong-pang โพสเมื่อวันที่: 01/20/08 เวลา 07:06:17
ขอบคุณครับ ช่วยๆกัน
จากคุณ: ruraldoctor โพสเมื่อวันที่: 01/20/08 เวลา 13:09:31
Undecided
ไปประชุมมา
เห็นว่า แยกกันอยู่ ตายหมู่แหงมๆ
จบ
จากคุณ: RETINA โพสเมื่อวันที่: 01/20/08 เวลา 21:57:11
ขอบคุณค่ะ
 
แต่ยังขอท้วงสักนิดเรื่องหมอลืมก๊อซหรือเครื่องมือในท้องคนไข้
 
ศัลยแพทย์ทุกคนคงทราบดีว่า
 
น่าจะเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของผู้ที่อยู่ในห้องผ่าตัดขณะนั้น
 
เนื่องจากก๊อซต้องผ่านการนับหลายรอบมาก ตั้งแต่คนจัดเป็นชุดก่อนจะนำไปนึ่ง scrub nurse  พยาบาลผู้ช่วยในฟิลด์ และสุดท้าย คนนับขณะใช้แล้ว รวมถึงก่อนจะปิดแผลผ่าตัดจะต้องนับให้เรียบร้อยอีกครั้งไม่อย่างนั้นจะไม่ปิ ด
 
ดังนั้นการที่มีก๊อซในท้องคนไข้ ถือว่า เป็นความผิดพลาดที่น่าจะพอให้อภัยได้เพราะว่ามันเกิดผิดพลาดผ่านมือคนมาอย่า งน้อย3คนเลยทีเดียวค่ะ
 
เครื่องมือต่างๆก็ทำนองเดียวกัน ต้องมีการนับทุกครั้งอยู่แล้ว
 
ไม่คิดว่าจะเป็น malpractice ค่ะ แต่ถึงอย่างไรศัลยแพทย์ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบอยู่ดี
จากคุณ: ppom โพสเมื่อวันที่: 01/21/08 เวลา 08:13:43
^
 ^
ขอบคุณมากค่ะ    
 
เห็นด้วยค่ะ ใช้ภาษาผิดไปหน่อย  
 
ไปแก้ไขแล้วค่ะ เผื่อคนมาอ่านทีหลังจะได้ไม่เข้าใจผิด
จากคุณ: bigbird โพสเมื่อวันที่: 01/21/08 เวลา 12:09:41
  เรื่อง ความผิดต่อชีวิต ประมาท
 
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ ๒๓ ถึง ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๕ เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน กล่าวคือ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๕ เวลากลางคืนหลังเที่ยง นางพรรณรายหรืออรัญญา ขวยเจริญ ผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เจ็บป่วย ปวดศีรษะได้เข้าตรวจรักาอาการเจ็บป่วย ที่โรงพยาบาลของจำเลยที่ ๕ ณ ห้อง ๑๑๐ โดยมีจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลของจำเลยที่ ๕ เป็นแพทย์เจ้าของไข้ จำเลยที่ ๑ มีหน้าที่จะต้องรักษาไว้โดยการตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรคเพื่อหาสาเหตุแห่งการเจ็บป่วย และรักษาไข้เจ็บป่วย ให้หายเป็นปกติตามหน้าที่วิชาชีพของแพทย์อันพึงมีตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่จำเลยที่ ๑ ประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างเช่นผู้ประกอบวิชาชีพของแพทย์ ซึ่งจะต้องมีความระมัดระวังในภาวะเช่นนั้นตามวิสัยและพฤติการณ์ ทั้งนี้ตั้งแต่ผู้ตายเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลของจำเลยที่ ๕ ยังเจ็บป่วยไม่หายจนถึงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๕ เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นแพทย์ศัลยกรรมไม่ใช่แพทย์เจ้าของไข้   จำเลยที่ ๒ไม่ได้มาตรวจอาการเจ็บป่วยหรือตรวจร่างกายผู้ตายก่อนที่จะกระทำการรักษา จำเลยที่ ๒ สั่งให้จำเลยที่ ๓ ซึ่งทำหน้าที่เป็นพยาบาลประจำอยู่โรงพยาบาลของจำเลยที่ ๕ ฉีดยาที่ผิดประเภทเข้าสู่ร่างกายของผู้ตาย จนเป็นเหตุให้ผู้ตายมีอาการช็อคและชักกระตุก ตาค้างเมื่อผู้ตายมีอาการดังกล่าวได้แจ้งให้จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นแพทย์เจ้าของไข้มาตรวจดูอาการ  แต่จำเลยที่๑ กลับเพิกเฉย จนกระทั่งในเวลาต่อมาจำเลยที่ ๒ ประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างเยี่ยงบุคคลประกอบวิชาชีพแพทย์ สั่งให้จำเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นพยาบาลประจำโรงพยาบาลของจำเลยที่ ๕ ฉีดยาวาเลี่ยมเข้าสู่ร่างกายผู้ตาย โดยที่จำเลยที่ ๒ มิได้มาตรวจดูอาการของผู้ตายก่อนแต่อย่างใดอีก จนเป็นเหตุให้ผู้ตายเกิดอาการภาวะหัวใจและหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันถึงแก่ความต าย จากการที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ เป็นแพทย์เป็นผู้มีหน้าที่รักษาผู้ตาย ต้องใช้ความระมักระวังในการรักษาอาการเจ็บป่วยของผู้ตายอย่างวิชาชีพแพทย์ แต่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ทำการรักษาอาการเจ็บป่วยของผู้ตายโดยมิได้ทำการวินิจฉัยโรคก่อนไม่ได้มาตรวจ หรือดูอาการผู้ตายหรือละเลยไม่มาดูอาการของผู้ตายในขณะพักรักษาตัวอยู่โรงพย าบาล อันเป็นความประมาทซึ่งแพทย์จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ไม่กระทำเช่นนั้น การที่จำเลยนั้นประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ ๕ ซึ่งเป็นนายจ้างย่อมรับโทษด้วย เหตุเกิดที่...................... ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๘๓,๒๙๑,๓๐๗,๓๐๘
ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้ว คดีมีมูลให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา
 
จำเลยทั้งห้าให้การปฏิเสธ
 
พิเคราะห์พยานหลักฐานจำเลยโดยตลอดแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์กับผู้ตายเป็นสามีภรรยาชอบด้วยกฎหมาย ตามหลักฐานใบสำคัญการสมรสและหนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ เอกสารหมาย จ. ๑ และ จ. ๒ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๕ เวลาประมาณ ๒๐ นาฬิกา ผู้ตายเจ็บป่วยปวดศีรษะอย่างมาก ในขณะที่โจทก์ไม่อยู่ ได้มีนายสนธยา ธนาวุฒิ ขับรถพาผู้ตายไปส่งโรงพยาบาลของจำเลยที่ ๕ โดยนางสาวกุหลาบ เอียดใส ไปคอยดูแลรับใช้ ในเบื้องต้นนาย.........แพทย์ผู้ตรวจรับคนไข้ไว้ วินิจฉัยโรคผู้ตายมีอาการปวดศีรษะ ให้พักที่โรงพยาบาล เพื่อดูอาการที่ห้อง ๑๑๐ ซึ่งจำเลยที่ ๑ เป็นแพทย์เจ้าของไข้ โดยจำเลยที่ ๒ เป็นแพทย์ผู้รักษาอาการเจ็บป่วยของผู้ตายนี้อีกคนหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ทำหน้าที่เป็นพยาบาลดูแลและรักษาคนไข้หรือที่เจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลของจำเลย ที่ ๕ ในการนี้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔กระทำในทางการที่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๕ ซึ่งฐานะเป็นนิติบุคคล รายละเอียดในการตรวจรักษาอาการเจ็บป่วยของผู้ตาย   จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔ ได้ทำเอกสารเวชระเบียนผู้ป่วยการรักษาและวิธีการรักษาพร้อมทั้งการให้ยาแต่ล ะวันหรือแต่ละครั้ง สำเนาเอกสารหมาย จ. ๑๓ และ ล. ๖ ถึง ล. ๑๖  จากการรักษาดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายตามหนังสือรับรองการตาย ของจำเลยที่ ๕ และใบมรณบัตร เอกสารหมาย จ. ๙ และจ. ๑๐    โจทก์ซึ่งเป็นสามีชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า ประเด็นต้องวินิจฉัยมีว่าจำเลยทั้งห้ากระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่  
    
 
จากคุณ: bigbird โพสเมื่อวันที่: 01/21/08 เวลา 12:10:00
การวินิจฉัยว่าวำเลยแต่ละคนกระทำผิดหรือไม่ จะต้องฟังพยานหลักฐานที่จำเลยแต่ละคนทำขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาอา การเจ็บป่วยของผู้ตาย ซึ่งพยานหลักฐานดังกล่าวได้แก่ เวชระเบียนผู้ป่วย เอกสารหมาย ล. ๖ รายงานอุณหภูมิ ชีพจร หายใจ เอกสารหมาย ล. ๗ ผลปฏิบัติการเอกสารหมาย ล. ๘ รายการรักษาหรือการให้ยาแก่ผู้ตาย เอกสารหมาย ล. ๙ รายงานตรวจรักษา เอกสารหมาย ล. ๑๑, ล. ๑๓ และใบรายงานอาการคนไข้เอกสารหมาย ล. ๑๕, ล. ๑๖ อันเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดี (ซึ่งตรงกับสำเนาหมาย จ. ๑๓ )  
ประกอบกับคำเบิกความของจำเลยแต่ละปากแต่ละคนที่เบิกความยืนยันต่อศาลถึงวิธี การรักษาอาการเจ็บป่วยของผู้ตาย จึงจะได้ความจริงว่า จำเลยคนใดประมาท เนื่องจากพยานหลักฐานอันสำคัญแห่งคดีขึ้นอยู่กับกระทำของจำเลยอันเป็นผู้ประ กอบวิชาชีพของแพทย์ และพยาบาล ซึ่งพยานของโจทก์เป็นเพียงบุคคลธรรมดามิใช่ผู้มีวิชาชีพอย่างเช่นจำเลย    ดังนั้นเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม จึงฟังพยานหลักฐานในทางที่เป็นกลางและ หรือเป็นพยานร่วมกันของคู่ความตามสำนวนเอกสารหมาย จ. ๑๓, ล. ๖, ล. ๗, ล. ๙, ล. ๑๑, ล. ๑๓, ล. ๑๕ และ ล. ๑๖ ในความประเด็นนี้ได้ความจากจำเลยที่ ๒ เบิกความยืนยันว่า ขณะที่พยานปฎิบัติหน้าที่แพทย์เวรในวันที่ ๒๔ เวลาประมาณ ๒๔ นาฬิกา ผู้ตายมีอาการปวดศีรษะทางพยาบาลโทรศัพท์ขอคำปรึกษา พยานจึงดูรายการรักษาทางเวชระเบียนโดยมิได้ไปดูอาการเจ็บป่วยของผู้ตาย จึงเจือสมกับทางนำสืบของโทจก์ที่นางสาวกุหลาบเบิกคววามไว้ต่อศาลและจำเลยที่  ๒ ยังให้การอีกว่า พบว่าก่อนหน้านี้จำเลยที่ ๑ ได้ใช้ยาแพทิดิน (pethidin) อันเป็นยาแก้ปวดขนิดแรง มีลักษณะเป็นยาเสพติด โดยวิธีฉีดเข้าเส้นให้แก่ผู้ตายมาแล้ว ๓ ครั้ง หรือทุก ๔ ชั่วโมง ครั้งละ ๕๐ มิลลิกรัม ซึ่งยาดังกล่าวจำเลยที่ ๒ ยังเบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์ว่า มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ แต่โดยหลักแล้วจะกดระบบการหายใจมากกว่า และความในข้อนี้จำเลยที่ ๒ ยังเบิกความว่า เมื่อได้รับแจ้งเกี่ยวกับความวิตกกังวลเรื่องการให้ยาแก่ผู้ตายจากพยาบาลแล้ ว จึงให้ความระมัดระวังมากขึ้นไปอีก เนื่องจากเห็นว่ายาแพทิดิน (pethidin)เป็นยาเสพติด อาจมีผลข้างเคียงต่อผู้ตาย ต้องเอาใจใส่ดูแล แต่กลับได้ความว่าจำเลยที่ ๒ ไม่เคยไปดูแลอาการเจ็บป่วยของผู้ตายแต่อย่างใด อันผิดวิสัยของแพทย์ที่จะต้องกระทำเพื่อให้ผู้ป่วยหายหรือมีชีวิตรอดอยู่ จากการที่จำเลยที่ ๒ ไม่ไปดูอาการเจ็บป่วย ด้วยตนเองอันผิดหน้าที่ของแพทย์แล้ว ยังกลับสั่งยาทรามอล ซึ่งเป็นยาแก้ปวดที่ให้ความรุนแรงน้อยกว่าฉีดเข้าเส้นและเวลาต่อมาสั่งให้ฉี ดยาแวเลี่ยม อันเป็นยานอนหลับหรือยาสงบประสาทเข้าเส้นให้แก่ผู้ตายอีก จึงนับว่าจำเลยที่ ๒ กะทำผิดวิสัยของแพทย์ที่มีหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลของตนจึ งเป็นการกระทำโดยประมาทจริงตามฟ้อง
ส่วนจำเลยที่ ๑ นั้นได้ความจากจำเลยที่ ๒ เบิกความยืนยันต่อศาลว่ายาแพทิดิน(pethidin) นั้นเป็นยาแก้ปวดชนิดรุนแรงและมีลักษณะเป็นยาเสพติด ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ โดยหลักแล้วจะกดระบบการหายใจ ซึ่งหากจำเลยที่ ๑ ใช้ความระวังอย่างเยี่ยงแพทย์ผู้มีวิชาชีพซึ่งมีความรู้ ความชำนาญในเรื่องยาและวิธีรักษาหรือการใช้ยาแล้ว ย่อมรู้ทันทีว่า เมื่อให้ยาครั้งแรก ๕๐ มิลิกรัม ภายใน ๔ ชั่วโมงไม่หายปวดศีรษะหรือให้ยานอนหลับ โคมิคุ่ม ๕ มิลลิกรัม โดยฉีดเข้าเส้นแล้วไม่หายปวดศีรษะหรือไม่หายเครียดแพทย์จะต้องรู้มีข้อผิดสั งเกตรู้ได้ทันทีว่า ผู้ป่วยหรือผู้ตายมิได้มีอาการปวดศีรษะอย่างธรรมดาหรือเป็นโรคเครียดแต่อย่า งใดก็ได้ จำเลยที่ ๑ ในฐานะแพทย์เจ้าของไข้จะต้องหาวิธีรักษาและวินิจฉัยโรคมากกว่าสั้งให้พยาบาล ฉีดยาหรือให้ยาแก่ผู้ตายเป็นระยะ ๆ ตามกำหนดเวลา และหรือนำยามาให้ผู้ตายรับประทานตามรายการเอกสารหมาย ล. ๙ หรือ จ. ๑๓   การกระทำของจำเลยที่ ๑ จึงนับว่า ประมาทมืได้ใช้ความระมัดระวังอย่างวิสัยแพทย์เจ้าของไข้ตามสมควรแก่พฤติการณ ์ ซึ่งแพทย์ทั่ว ๆ ไป ย่อมทราบเป็นอย่างดีว่าผู้ป่วยหากปวดศีรษะธรรมดา ย่อมรับประทานยาหรือฉีดยาแก้ปวดเข้าเส้น อาการดังกล่าวย่อมหายไป แต่กลับได้ความจากรายการฉีดยาเข้าเส้นหรือทางสายน้ำเกลือ หมาย ล. ๙ และการให้ยารับประทานตามหมาย ล. ๙ ดังกล่าว ปีปริมาณมากเกินพอที่ผู้ป่วยซึ่งปวดศีรษะธรรมดาจะรับได้อันเป็นพยานหลักฐานอ ันสำคัญที่ผูกมัดจำเลยและเจือสมกับทางนำสืบของโจทก์ อนึ่งจากคำเบิกความของจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ นั้น วางแนวทางรักษาอาการปวดศีรษะเนื่องจากความเครียดของผู้ตายเพียงอย่างเดียว น่าจะขัดกับใบรายงานอาการคนไข้เอกสารหมาย ล. ๑๕ ซึ่งตรงกับสำเนาหมาย จ. ๑๓ ที่ทางฝ่ายจำเลยทำขึ้น ระบุอาการของผู้ตายตั้งแต่วันที่ ๒๓ จนกระทั่งวันที่ ๒๔ ไม่มีอาการดีขึ้น เพียงแตทุเลาอาการเจ็บปวยลงเนื่องจากฤทธิ์ยาเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ มิได้หาสาเหตุแห่งการเจ็บปวยหรือเหตุแห่งการปวดศีรษะอย่างรุนแรงจากหน้าฝากท ะลุท้ายทอย จึงนับว่าจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ มิใช้ความระมัดระวังในการรักษาผู้ป่วยอย่างวิชาชีพอันแพทย์ทั่วไปพึงมีตามวิ สัยและพฤติการณ์เช่นนั้น จำเลยที่ ๑ ที่ ๒จึงกระทำผิดตามฟ้อง ประเด็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นเพียงพยาบาลมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วย เป็นผู้ตรวจสภาพปกติทั่วไปและสัญญาณชีพของผู้ป่วยที่พักรักษาอยู่ในโรงพยาบา ลของจำเลยที่ ๕ เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยรักษาอาการของแพทย์และเพื่อประโยชน์ในการรักษาพย าบาลรวมทั้งวิธีการให้ยาแก่ผู้ป่วยตามหลักวิชาการทางพยาบาลและตามคำสั่งของแ พทย์ โดยเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ ๓ นั้น จากใบรายงานอาการคนไข้เอกสารหมาย ล. ๑๕ หรือสำเนาหมาย จ. ๑๓ ประกอบกับคำพยานของโจทก์แล้ว ไม่มีพยานหลักฐานใดที่ยืนยันแน่ชัดได้ว่าจำเลยที่ ๓ มีส่วนประมาทหรือขาดความระมัดระวังในหน้าที่ คงมีแต่นางสาวกุหลาบ เบิกความยืนยันว่าเวลาประมาณ ๕ นาฬิกา ของวันที่ ๒๕ ขณะพยาบาลนอนหลับได้ยินเสียงของจำเลยที่ ๓ ที่ ๔ เข้ามาที่ห้องเกิดเหตุพร้อมร้องโวยวายว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ ๓ ออกเวรหรือพ้นหน้าที่ไปแล้ว เพียงเท่านี้ยังฟังไม่ได้ว่ากระทำโดยประมาท ส่วนจำเลยที่ ๔ นั้นอ้างตนเองเป็นพยานเบิกความยืนยันว่าหลังจากพยานรับมอบเวรแล้ว เวลาประมาณ ๒ นาฬิกา ไปตรวจรักษาผู้ตายอีกครั้งหนึ่งโดยตรวจวัดสัญญาณชีพ ประกอบด้วยอัตราการหายใจ การเต้นของชีพจร การไหลเวียนของน้ำเกลือพบว่าปกติและในเวลา ๓ นาฬิกาก็ไปตรวจผู้ตายอีกครั้งพบว่าผู้ตายนอนหลับหันหลังให้ทางประตูออกจึงไม ่ไปตรวจชีพจร แต่ตรวจการนับหายใจอย่างเดียว ซึ่งไม่ตรงกับใบรายงานอาการคนไข้ที่ระบุว่าเวลา ๒ นาฬิกาของวันที่ ๒๕ ผู้ตายมีอาการกระสับกระส่ายนี้นางสาวกุหลาบพยานโจทก์ก็ให้การยืนยันไว้ จึงทำให้คำเบิกความของจำเลยที่ ๔ นั้นขัดกับใบรายงานอาการคนไข้ ไม่น่าเชื่อถือ เชื่อว่าใบรายงานคนไข้นั้นทำขึ้นตรงความจริงในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่  ๔ เมื่อจำเลยที่ ๔พบว่าผู้ตายมีอาการกระสับกระส่าย โดยวิชาชีพพยาบาลย่อมรู้ทันทีว่าก่อนหน้านี้ผู้ตายเจ็บป่วยมีอาการเช่นไรและ ได้รับยาอะไรเข้าสู่ร่างกายไปป้าง เมื่อเห็นผิดปกติเช่นนี้ตามวิชาชีพพยาบาลจะต้องแจ้งให้แพทย์เจ้าของไข้หรือผ ู้บริหารของจำเลยที่ ๕ ทราบทันทีเพื่อหาทางรักษาหรือเยียวยาให้ถูกต้องแต่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๔ ไม่ได้แจ้งให้ผู้มีอำนาจหรือแพทย์เจ้าของไข้ทราบจึงถือได้ว่าจำเลยที่ ๔ มิได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเช่นพยาบาลผู้มีวิชาชีพอันพึงมีตามวิสัยและพฤติ การณ์จำเลยที่ ๔ จึงมีความผิดตามฟ้อง
อนึ่ง การที่ทางฝ่ายจำเลยต้องการชันสูตรพลิกศพเพื่อหาเหตุแห่งการตายก็เป็น คนละขั้นตอนกับหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ ในขณะที่ผู้ตายยังเจ็บป่วยอยู่ในความดูแลของจำเลย   แม้จะหาสาเหตุแห่งการตายได้ก็ไม่อาจปฏิเสธ หน้าที่ของแพทย์และพยาบาลได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป
สำหรับจำเลยที่ ๕ นั้นเป็นนิติบุคคล โจทก์มิได้นำสืบหรือนำพยานหลักฐานใดยืนยันว่าจำเลยที่ ๕ มีส่วนประมาทเพียงใดหรือใช้วิธีการอย่างใด เพียงแต่จำเลยที่ ๕ เป็นนายจ้างของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔ เท่านั้น ซึ่งเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวความผิดรับผิดในทางแพ่ง จำเลยที่ ๕ จึงไม่จำต้องรับโทษในทางอาญา
อนึ่ง ส่วนที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๐๗ล ๓๐๘ ฐานทอดทิ้งคนป่วยเจ็บจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้ศาลเห็นว่า จำเลยมีเจตนาจงใจทอดทิ้งอย่างไร เมื่อโจทก์ไม่นำพยานมาสืบทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ในขอหานี้ไม่มีน้ำหนักรับ ฟัง คดีไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของจำเลยอีกต่อไป ทั้งความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยสภาพของการกระทำผิด ไม่อาจมีตัวการร่วมกระทำความผิดได้
 
พิพากษาว่า จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๙๑ ฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุกจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ คนละ ๔ ปี เมื่อพิเคราะห์ความรับผิดของจำเลยที่ ๔ ซึ่งน้อยกว่าจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ จึงให้จำคุกจำเลยที่ ๔ มีกำหนด ๑ ปี ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก ส่วนที่ ๓ และที่ ๕ ให้ยกฟ้อง  
จากคุณ: zinc โพสเมื่อวันที่: 01/21/08 เวลา 21:25:51
  มันขึ้นอยู่กับการวางรูปแนวคดีว่าจะให้จบแบบไหน  จะสังเกตุว่าผู้เสียหายจะให้ดำเนินการทางแพ่งก่อนอาญา  ถ้าชนะจึงจะดำเนินการทางอาญาต่อซึ่งน่ากลัวมาก  ทีนี่พรบ.สุขภาพแห่งชาติมาช่วยตรงที่ว่าถ้าผู้ป่วยปกปิดหรือไม่บอกในสิ่งที่ ควรบอกให้ทราบหรือโกหก ผู้รักษาไม่ต้องรับผิดในความเสียหายยกเว้นประมาทเลินเล่อร้ายแรงHuh?
   ถ้าคดีอาญาเดี่ยวๆไม่น่ากลัวนัก อย่างศรรามขับรถชนคนตายแท้ๆแต่เมื่อวางจุดจบว่าไม่ติดคุก มันจะออกมาว่าถูกผิดอย่างไรก็ให้ไม่ติดคุกเป็นพอ(รอลงอาญา)เพราะโดยปกติหากไ ม่มีประวัติหรือสันดานเป็นโจรแล้วไม่รู้ศาลจะจับคนดีๆเข้าคุกไปทำไม คุกควรจะมuไว้ดัดสันดานคนชั่วๆมากกว่า ประเด็นนี้สำคัญคือแพ้แต่ชนะ ซึ่งมันก็ควรเป็นเช่นนั้น
   ปล. แต่หมอเรามักสู้หัวชนฝาว่าไม่ผิดๆ หัวเลยแตก ส่วนที่ยกตัวอย่างมาต้องถือว่าถ้าไม่จงใจก็ต้องประมาทร้ายแรงแล้วครับ น่าจะมาดูคนไข้ซักรอบแล้วเขียนใบReferจะปลอดภัยกว่าและนอนหลับสบาย  แม้ผู้ป่วยจะตายเช่นเดิมก็ตาม !!!
จากคุณ: ปลาทอง.. โพสเมื่อวันที่: 01/22/08 เวลา 10:09:25
Smiley
จากคุณ: sppp112 โพสเมื่อวันที่: 01/22/08 เวลา 13:39:34
  จขกท.เป็นศิษย์ท่าน  GOENKAJI  หรือครับ   ถ้าใช่ก็เป็นพวกเดียวกัน
   มาช่วยเพิ่มเติมจุดอ่อนการสู้คดีของแพทย์ครับ
 
  พรบ.แก้ไข ป.วิ.แพ่ง ฉบับที่ 25  ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว  มีผลบังคับใช้วันที่    11 ธันวาคม  2550  มาตรา ๘๔/๑   เพิ่ม  " ข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฎจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์  เป็นคุณแก่ฝ่ายใด   ฝ่ายนั้นต้องพิสูจนเพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตนจะได้รับประโยชน์คร บถ้วนแล้ว   "    
 
   เข้าใจยากสักหน่อย     แต่จะทำให้เมื่อแพทย์ถูกฟ้อง     แล้วภาระการพิสูจน์ว่าถูกหรือผิด  เป็นของแพทย์
    ก็คือถ้าผู้ป่วยฟ้องว่าแพทย์ประมาท    ผู้ป่วยมีหน้าที่พิสูจน์เพียงว่าตนเข้ารับการรักษาครบถ้วนแล้ว   ปฏิบัติตามคำแนะนำในการรักษาของแพทย์แล้วก็พอ    เป็นหน้าที่ของแพทย์ที่ถูกฟ้องต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าตนไม่ประมาท     ถ้าพิสูจน์ไม่ได้  แพทย์จะแพ้คดีในประเด็นนี้  
   ผลก็คือแพทย์จะสู้คดีได้ยากขึ้น     ผู้ป่วยชนะได้ง่ายกว่าเดิมครับ
  ตรงกันข้ามกับกฎหมายเดิมที่ใช้หลักทั่วไป   ว่าผู้กล่าวหามีหน้าที่พิสูจน์ถ้าฟ้องว่าแพทย์ประมาท  ผู้ฟ้องมีหน้าที่พิสูจน์ว่าเป็นตามที่ตนฟ้อง
 
   เตรียมรับมือกันไว้ล่วงหน้าได้เลยครับเพราะกฎหมายมีผลบังคับแล้ว
และหลักนี้ใช้ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาด้วย   เตือนมาด้วยความห่วงใยเพราะผ่านมากว่าหนึ่งเดือนแล้ว  ยังเห็นเฉย ๆ กันอยู่
จากคุณ: sppp112 โพสเมื่อวันที่: 01/22/08 เวลา 16:10:58
   สรุปแนวทางการสู้คดี
 
    เวชระเบียนต้องสมบูรณ์  เพราะต้องใช้อ้างเป็นพยานของแพทย์ในศาล  ถ้าไม่มีหรือไม่สมบูรณ์  โอกาสแพ้สูงมาก   และห้ามแก้ไขเวชระเบียนเป็นอันขาด   ไม่ว่าจะเป็นใครแก้ก็ตาม  เพราะจะเป็นเอกสารปลอม  รับฟังไม่ได้   ซึ่งเท่ากับไม่มีเอกสารมายืนยัน  แถมจะผิดกฎหมายอาญาฐานปลอมเอกสารราชการ   หรือฐานทำพยานหลักฐาน   และนำสืบพยานหลักฐานเท็จ  อีกด้วย   มีโทษจำคุก    คู่ความสามารถขอให้ศาลสืบพยานไว้ล่วงหน้าได้และขอให้ศาลยึดเอกสารหรือวัตถุท ี่จะใช้เป็นพยานไว้ก่อนสืบพยานได้  โดยอ้างว่าจะสูญหายหรือยากแก่การนำมาสืบในภายหลัง   เวชระเบียนจะพ้นจากมือแพทย์ไปอยู่ในความคุ้มครองของศาล    
  ศาลจะรับฟังพยานเอกสาร  พยานวัตถุ  มากกว่าพยานบุคคล  ยิ่งเป็นเอกสารหรือวัตถุที่เกิดขึ้น  มีขึ้น  ทำขึ้น  ก่อน   จะมีการฟ้องหรือก่อนที่จะรู้ว่าจะถูกฟ้องคดี  ก่อนเกิดเรื่อง   จะน่าเชื่อถือมากที่สุดครับ
  พยานบุคคลฝ่ายใดอ้างมา  ก็ค่อนข้างจะมีอคติเข้าข้างฝ่ายนั้น  ศาลจึงฟังโดยระมัดระวัง  และให้นำหนักน้อยกว่าพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ
   
      ขอให้ทุกท่าน   เตรียมตัวให้พร้อมในการรักษาผู้ป่วย   การอ้างว่าภาระงานมาก  ไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ   อ้างไม่ขึ้นครับ  ศาลจะบอกว่า  " เป็นการอ้างลอย ๆ โดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนให้ฟังได้ตามที่อ้าง "     ครับ
 
      อย่าละเลยผู้ป่วยและอย่าละเลยการป้องกันตนเอง
 
      การเจรจาประนีประนอมก็เช่นกัน   ระวังอย่าให้ข้อมูลที่เป็นโทษต่อคดี ที่อาจถูกฟ้องในอนาคต
จากคุณ: penfold_bin407 โพสเมื่อวันที่: 01/22/08 เวลา 18:09:33
หลัก res ipsa loquitur ตามป.วิ.แพ่ง มาตรา ๘๔/๑ ดังที่กล่าวในความเห็นที่ ๓๐ นั้นผมเห็นว่าน่าจะคลาดเคลื่อนนะครับ
หลักนี้ตามกฎหมาย common law ของอังกฤษ และ อเมริกา เขาใช้ในกรณี ฟ้องแพ่ง
คือ negligence ซึ่งทางเราแปลว่า ประมาทธรรดา หรือ ประมาทเลินเล่อ และก็ใช้ใน
บางกรณีเท่านั้นเช่น กรณีลืมผ้าก๊อซในช่องท้อง  
ส่วนการฟ้องอาญาของศาลไทยไม่ใช้หลักนี้  
เพราะหลักการพิจารณาคดีอาญานั้น  
โจทก์มีหน้าที่นำสืบ หรือภาระการพิสูจน์เสมอ
น่าจะอ่าน หนังสือ หรือ ฟังคำบรรยาย ของท่านอาจารย์ พรเพชร วิชิตชลชัย ซึ่งท่านอาจารย์ สอนอยู่ที่เนติบัณฑิตหรือ link ไปที www.thaibar.thaigov.net
ก็จะได้ความรู้ที่แท้จริงนะครับ
 
ทุกวันนี้อ่านในnetแล้ว เหนื่อยใจ
ยิ่งคดีของคุณ bigbird นี้แล้ว  
เห็นใจเพื่อนๆแพทย์ทุกคน  
จากคุณ: penfold_bin407 โพสเมื่อวันที่: 01/22/08 เวลา 18:16:20
และก็ขอแสดงความเสียใจ กับญาติ ของผู้เสียหายในคดีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ด้วยครับ ในฐานะวิญญูชน คนหนึ่ง
จากคุณ: เด็กดี โพสเมื่อวันที่: 01/22/08 เวลา 19:34:01
วงการแพทย์  กับวงการตุลาการ เป็นเหมือนเส้นขนานที่ไม่มีวันบรรจบกันอ่ะ
จากคุณ: sppp112 โพสเมื่อวันที่: 01/23/08 เวลา 09:01:19
 คุณ penfold_bin407  ครับ
   ขอบคุณที่กรุณาช่วยออกความเห็น  ยิ่งช่วยกันวิจารณ์มาก  จะยิ่งแตกฉานครับ
     หลักหน้าที่นำสืบในคดีอาญาเป็นของโจทก์จริงตามที่ท่านออกความเห็นมา แต่ทุกหลักก็มีข้อยกเว้นครับ  จริงอยู่ที่ต่างประเทศใช้ในคดีแพ่งเท่านั้น  แตในไทยหลักที่นำมาใช้ไม่แน่ว่าจะใช้เฉพาะ ในคดีแพ่งเท่านั้น ต้องรอดูฎีกาครับ
     กรณีที่จำเลยรับตามโจทก์ฟ้อง  แต่ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างใหม่นั้น  จำเลยมีหน้าที่พิสูจน์ให้ศาลฟังได้ว่าตนไม่ผิดเพราะอะไรนะครับ
    ตัวอย่างเช่น   ผู้ป่วยฟ้องว่าเข้ารับการรักษา  แล้วแพทย์ประมาทเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหาย แพทย์สู้ว่าเข้ารับการรักษาจริงแต่แพทย์ไม่ได้ประมาท   ความเสียหายเกิดจากผู้ป่วยเองนั้น    ผู้ป่วยต้องพิสูจน์ว่าตนได้เข้ารักษาและปฏิบัติตามการรักษาครบถ้วนแล้ว  ซึ่งแพทย์ก็รับว่าผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจริง    ผู้ป่วยต้องพิสูจน์ว่าแพทย์ประมาทซึ่งประมาทหรือไม่ต้องใช้วิญญูชนเป็นหลัก    แต่แพทย์ก็ต้องสู้ว่าตนไม่ประมาทให้ศาลเห็น
    จากหนังสือ " พยานหลักฐาน "ของท่านศาสตราจารย์  โสภณ  รัตนากร ครับ     เป็นกรณี  ป.วิ.แพ่งมาตรา๘๔  ใช้ในคดีอาญาด้วย    แต่ที่แก้ไข   ต้องรอดูครับ
จากคุณ: penfold_bin407 โพสเมื่อวันที่: 01/23/08 เวลา 09:47:31
ขอบคุณครับ คุณsppp112
ตัวอย่างที่ยกมานั้น ก็สรุปเองแล้วนี่ครับ
ว่า ผู้ป่วย หรือ ผู้เสียหายจะต้องมีภาระการพิสูจน์ว่า
แพทย์ หรือจำเลย ประมาทหรือ ไม่
เพราะจำเลยก็ต้องให้การว่า ไม่ประมาท  
ประมาทหรือไม่ประมาท จึงเป็น ประเด็นแห่งคดี
และ โจทย์ในคดีอาญา ก็ต้องนำสืบอยู่แล้ว
เลยยังไม่เข้าใจว่า ขัดแย้งกับความเห็นเดิมอย่างไ
ส่วนตามปวิแพ่งมาตรา๘๔นั้นใช้ในคดีอาญาจริงแต่จริง
เฉพาะบางส่วน องค์ประกอบของมาตรา ๘๔ เดิมนั้น
มีมาก เขียนได้เป็นเล่มละครับ
แต่๘๔เดิมเขายกเลิกแล้ว บางส่วน
แต่หลักres ipsa loquitur นี้เพิ่งจะแทรกเข้ามา
ในมาตรา ๘๔/๑ ซึ่งเพิ่งจะ ประกาศใช้
และ เห็นว่า การตรากฎหมายในส่วนนี้
น่าจะเป็นผล มาจากกฎหมายcommon law
ถ้าเป็นดังนั้น การตีความก็ควรพิจารณาตามหลักนะครับ
สนุกดีครับ ขอบคุณอีกครั้งนะครับ
ดีใจที่มี คนcomment
จากคุณ: วัตถุโบราณ โพสเมื่อวันที่: 01/23/08 เวลา 12:50:35
on 01/22/08 เวลา 13:39:34, sppp112 wrote:
  จขกท.เป็นศิษย์ท่าน  GOENKAJI  หรือครับ   ถ้าใช่ก็เป็นพวกเดียวกัน
   มาช่วยเพิ่มเติมจุดอ่อนการสู้คดีของแพทย์ครับ
 
  พรบ.แก้ไข ป.วิ.แพ่ง ฉบับที่ 25  ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว  มีผลบังคับใช้วันที่    11 ธันวาคม  2550       มาตรา ๘๔/๑   เพิ่ม  " ข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฎจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์  เป็นคุณแก่ฝ่ายใด   ฝ่ายนั้นต้องพิสูจนเพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตนจะได้รับประโยชน์คร บถ้วนแล้ว   "    
 
   เข้าใจยากสักหน่อย     แต่จะทำให้เมื่อแพทย์ถูกฟ้อง     แล้วภาระการพิสูจน์ว่าถูกหรือผิด  เป็นของแพทย์
    ก็คือถ้าผู้ป่วยฟ้องว่าแพทย์ประมาท    ผู้ป่วยมีหน้าที่พิสูจน์เพียงว่าตนเข้ารับการรักษาครบถ้วนแล้ว   ปฏิบัติตามคำแนะนำในการรักษาของแพทย์แล้วก็พอ              เป็นหน้าที่ของแพทย์ที่ถูกฟ้องต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าตนไม่ประมาท     ถ้าพิสูจน์ไม่ได้  แพทย์จะแพ้คดีในประเด็นนี้        
   ผลก็คือแพทย์จะสู้คดีได้ยากขึ้น     ผู้ป่วยชนะได้ง่ายกว่าเดิมครับ
  ตรงกันข้ามกับกฎหมายเดิมที่ใช้หลักทั่วไป   ว่าผู้กล่าวหามีหน้าที่พิสูจน์ถ้าฟ้องว่าแพทย์ประมาท  ผู้ฟ้องมีหน้าที่พิสูจน์ว่าเป็นตามที่ตนฟ้อง
 
   เตรียมรับมือกันไว้ล่วงหน้าได้เลยครับเพราะกฎหมายมีผลบังคับแล้ว
และหลักนี้ใช้ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาด้วย   เตือนมาด้วยความห่วงใยเพราะผ่านมากว่าหนึ่งเดือนแล้ว  ยังเห็นเฉย ๆ กันอยู่

  นี่เป็นความยุ่งยากอีกอันหนึ่งของสังคมที่กระทำต่อวงการแพทย์ไทย
ฝ่ายที่จะปรับแก้กม.ใดๆออกมาก็ทำไปเลย ไม่ให้โอกาสแพทย์ได้โต้แย้ง  Lips Sealed
 
อย่างที่เคยบอกครับ แพทย์เป็นแค่พลเมืองชั้นสอง  Tongue
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 01/26/08 เวลา 19:42:44

อย่างที่เคยบอก ....  
 
 
ตอนนี้ เกมเปลี่ยน กติกา ก็เปลี่ยนไปแล้ว  แต่หมอ เรา ยังเล่นเกม ยึดกติกา เก่า อยู่อีก ... เล่นยังไง ก็แพ้ ...  
 
ดังนั้น หมอ ถ้าไม่อยากแพ้ ก็ต้องเปลี่ยนวิธีเล่น  ให้ตรงกับ กติกาใหม่ ...

 
 
ถึงเวลาที่หมอเราต้องเปลี่ยนแปลงแล้วครับ ...   Lips Sealed
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 01/31/08 เวลา 06:54:46
ท่านผู้พิพากษาที่ไปร่วมdiscuss .ในการอภิปรายเรื่อง Medico-legal lawsuit ที่รพ.มหาราชนครราชสีมาให้ความเห็นที่น่าสนใจดังนี้
 1.ในการสู้คดีฟ้องร้องแพทย์นั้น ฝ่ายจำเลยต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่า ไม่ได้กระทำโดยความประมาทอย่างไร มีเหตุผลและประจักษ์พยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญสนับสนุนและหักล้าง กับฝ่ายโจทก์ได้อย่างไม่มีข้อสงสัย
 2.ผู้พิพากษาบางคนบอกว่า การที่หมอผ่าตัดผู้ป่วยโดยไม่มีความพร้อมของบุคลากร เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีมาตรฐานนั้น หมอได้คิดถึงความยุติธรรมที่ให้ผู้ป่วยหรือไม่
 3.การที่เกิดวิกฤติครั้งนี้ องค์กรแพทย์หรือกลุ่มแพทย์ควรรวมตัวกัน พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสในการ set standard ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยการผลักดันผ่านผู้บริหารกระทรวงสธ.ให้พัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ให้เหมา  ะสม
กับภาระงานและบุคลากรทางการแพทย์ในปัจจุบันนี้จะทำได้อย่างไร
 4.ผู้พิพากษาบางท่านก็ปลอบใจว่า ผู้พิพากษา ตำรวจ วิศวกร ฯลฯ ต่างก็เคยถูกตัดสินจำคุกมาแล้ว เนื่องจากการประกอบวิชาชีพนั้นๆของตน ฉะนั้น ถ้าหมอไม่สามารถพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่าคนเองไม่ได้ประมาท ก็จะติดคุกเสียบ้าง (จะแปลกอะไร หรือจะเป็นไรไป)
 5.ในสหรัฐอเมริกานั้น การฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งเท่านั้น เพราะต้องการเงินชดเชย แต่ผลเสียหายร้ายแรงก็คือ เมื่อหมอต้องประกันการประกอบวิชาชีพ ค่าตรวจรักษาก็จะแพงขึ้น(เพื่อให้หมอมีเงินจ่ายค่าประกัน) และคนที่รวยกว่าเพื่อนคือทนายความ จึงมีคำแนะนำว่า ให้พยายามไกล่เกลี่ยและมีกองทุนช่วยเหลือ ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดการฟ้องร้องเหมือนในสหรัฐอเมริกา แต่ในสหรัฐนั้น แพทย์จะมีเวลาพูดคุยและให้คำอธิบายกับผู้ป่วยมาก เพื่อให้ผู้ป่วยตัดสินใจว่าจะทำการรักษาแบบไหน และ informed consent นั้นก็จะมีรายละเอียดแบบที่ได้อธิบายให้ผู้ป่วยยอมรับแล้ว
ในสหรัฐมีการฟ้องคดีอาญาได้ แต่จะเป็นการฟ้องจากผู้รักษากฏหมายบ้านเมืองในกรณีจงใจฆ่าเท่านั้น
 6.การแก้ไขกฎหมายในแง่ที่แพทยสภาอยากจะแก้ว่า ไม่ให้การประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ประมาทเลินเล่อนั้นไม่ต้องถูกฟ้องเป็นค  ดีอาญา ก็สามารถทำได้ โดยให้ระดมพลังทางสภาผู้แทนราษฏร แต่ถ้ากฎหมายยังไม่มีการแก้ไข แพทย์ก็จะต้องถูกฟ้องในคดีอาญาและเสี่ยงต่อการถูกตัดสินจำคุกอยู่ดี เพราะศาลก็จะใช้ดุลพินิจไปตามตัวบทกฎหมาย ตามการเบิกความและการพิสูจน์โดยโจทก์ จำเลย และพยานของทั้งสองฝ่าย
 7.ถึงเวลาแล้วที่แพทย์จะต้องวางมาตรฐานการประกอบวิชาชีพในแต่ละแห่ง เพราะศาลก็จะพิจารณา ตาม "วิสัยและพฤติการณ์" คือสถานการณ์ในโรงพยาบาลนั้นๆว่ามีมาตรฐานอย่างไร ในสหรัฐอเมริกาเอง มาตรฐานของรัฐ New York ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาล 50 เตียง ในเขตนอกเมือง ก็ไม่เหมือนกัน
 การอภิปรายนี้ดำเนินการโดยโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ร่วมกับสมาคมแพทย์ไทยในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551
เรื่องนี้ มีแพทย์ไทยจากสหรัฐอเมริกา 3คน คือนพ.ประสพ รัตนานนท์ นพ.มนู ทองวรินทร์ นพ.สมนึก ศรีวิศาล มานำเสนอข้อมูลคดีในสหรัฐที่ได้ถูกฟ้องมาเอง ส่วนในฝ่ายไทย มีพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ได้นำเสนอในกรณีแพทย์ไทยถูกศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี โดยมีท่านผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและท่านผู้พิพากษาในศาลจังหวัดในภาค 3 มาร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น 11 ท่าน มีอัยการและทนายความมาร่วมรับฟังด้วย โดยมีนพ.สฤษดิ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านนิติเวช ของ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายร่วมกับนพ.สมนึก
 ทางโรงพยาบาลมหาราชได้บันทึกไว้แล้ว
ที่สรุปมานั้น เป็นความเห็นทั้งในห้องประชุม และการพูดคุยนอกรอบนอกห้องประชุม
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 02/04/08 เวลา 13:12:30
ข้อบกพร่องในการแก้ต่างของจำเลย(แพทย์) ในการถูกฟ้องในข้อหาประมาทและผลของการประมาทนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่น(ผู้ป่วย ) ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291นี้ ก็คือจำเลย พยานและทนายฝ่ายจำเลยไม่สามารถหักล้างคำให้การของโจทก์ พยานฝ่ายโจทก์และทนายฝ่ายโจทก์ ได้ว่า จำเลยไม่มีความประมาทแต่อย่างใด แต่ได้ใช้ความระมัดระวังและดุลพินิจในการตัดสินใจกระทำการรักษา อย่างดีที่สุดโดยมิได้กระทำการโดยประมาทตามวิสัยและพฤติการณ์ของโรงพยาบาล และมาตรฐานทางวิชาการอย่างดีที่สุดในขณะนั้นและสถานที่นั้นๆที่กระทรวงสาธาร ณสุขได้จัดหาไว้ให้อย่างดีที่สุดแล้ว
จากคุณ: ร่มเย็นเป็นสุข โพสเมื่อวันที่: 02/04/08 เวลา 17:29:05

 
ขอบคุณครับ...
 
 Smiley   Smiley  
 
จากคุณ: bigbird โพสเมื่อวันที่: 02/05/08 เวลา 21:54:04
ที่ออกในข่าวนั้นไม่ค่อยตรงกับคำฟ้อง  
เอาคำฟ้องไปดูหน่อยดีไหม
 
จำเลยมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นหน่วยงานของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีหน้ าที่กำกับดูแลโรงพยาบาลบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด รวมถึงการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติร าชการในโรงพยาบาลบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี  
ข้อ ๒. โจทก์เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ นางสาวมานิตา แซ่จึง ผู้ตาย (ปรากฏ ตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๑) ข้อ ๓. เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๙ นางสาวมานิตา แซ่จึง ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ ๕๐ กิโลกรัม ได้เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลบางใหญ่ ด้วยอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะ ซึ่งแพทย์ได้ตรวจและสั่งเจาะเลือด และให้การวินิจฉัยในเวลาต่อมาว่านางสาวมานิตา แซ่จึง เป็นไข้หวัด แพทย์ผู้ตรวจได้รักษานางสาวมานิตา แซ่จึง โดยการให้ยากลับไปทานที่บ้าน ต่อมาวันรุ่งขึ้น นางสาวมานิตาไข้ยังไม่ลดและมีอาการอาเจียน จึงได้กลับไปตรวจที่โรงพยาบาลบางใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้แพทย์ได้รับตัวไว้ในโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษา โดยให้การวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัด และแพทย์ได้ให้น้ำเกลือ จำนวน ๑,๐๐๐ ซี.ซี.รวมทั้งสั่งให้ตรวจเลือดในวันรุ่งขึ้น คือวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ ซึ่งแพทย์ได้ดูผลเลือดและได้วินิจฉัยว่า นางสาวมานิตา แซ่จึง เป็นไข้เลือดออก (DENGUE HEMORRHAGIC FEVER หรือเรียกย่อว่า DHF) และได้ทำการรักษาแบบไข้เลือดออก โดยสั่งให้น้ำเกลือ ๒๐๐๐ ซี.ซี. ต่อมาในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ ได้มีการส่งรายงานว่านางสาวมานิตา แซ่จึง เป็นไข้เลือดออกให้แก่ฝ่ายเวชกรรมป้องกัน และสาธารณสุขจังหวัดซึ่งมีหน้าที่เฝ้าระวังโรคระบาดต่าง ๆ และแพทย์ได้สั่งให้น้ำเกลือนางสาวมานิตา แซ่จึง เป็นจำนวน ๓๐๐๐ ซี.ซี. ทั้ง ๆ ที่นางสาวมานิตา แซ่จึง สามารถดื่มน้ำและทานอาหารได้แล้ว ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งเป็นการให้น้ำเกลือที่มากเกินไปจน นางสาวมานิตา แซ่จึง เริ่มมีอาการแน่นท้อง พยาบาลต้องให้นางสาวมานิตา แซ่จึง นอนศีรษะสูงทำให้อาการทุเลาลง  
ในตอนเช้าของวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๙ ในขณะที่นางสาวมานิตา แซ่จึง ได้รับน้ำเกลือมากเกินความจำเป็นจนน้ำท่วมปอด และเริ่มเหนื่อย ชีพจรเต้นเร็ว แพทย์กลับสั่งการรักษาทางโทรศัพท์ โดยการให้เร่งน้ำเกลือเร็วๆ ๒๐๐ ซี.ซี. และให้น้ำเกลือเร็วขึ้นในอัตรา ๑๒๐ ซี.ซี. ต่อ นาที จากเดิมซึ่งให้มากจนเกินขนาดอยู่แล้วในอัตรา ๑๐๐ ซี.ซี. ต่อนาที นางสาวมานิตา แซ่จึง จึงเริ่มหอบเหนื่อยจากภาวะน้ำเริ่มทั่วปอด ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. เป็นต้นมา ซึ่งแพทย์ก็กลับรักษาโดยการเพิ่มน้ำเกลืออย่างเร็วเป็น ๑๕๐ ซี.ซี. ต่อนาที เป็น ๑๘๐ ซี.ซี. ต่อนาที ตลอดเวลาของวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๙ ซึ่งทำให้นางสาวมานิตามีอาการหอบเหนื่อยจากน้ำท่วมปอด มีน้ำในช่องท้อง ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. จนถึงเวลา ๒๒.๐๐ น.ซึ่งนางสาวมานิตา แซ่จึง หอบเหนื่อยหายใจถึง ๒๖ ครั้งต่อนาที (คนปกติหายใจ ๒๐ ครั้งต่อนาที) และหอบเหนื่อยมากขึ้น
จากคุณ: bigbird โพสเมื่อวันที่: 02/05/08 เวลา 21:55:52
จากการเร่งให้น้ำเกลือ จนถึงขนาดหายใจ ๒๘ ครั้งต่อนาทีตอนเวลา ๒๔.๐๐ น.และหายใจหอบ ๓๖ ครั้งต่อนาที เมื่อเวลา ๐๑.๐๐ น. ของวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๙ จึงได้มีแพทย์มาดูผู้ป่วยด้วยตนเอง และพิจารณาให้ย้ายโรงพยาบาล ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า เพราะนางสาวมานิตา แซ่จึง มีอาการหนักมากแล้ว โดยขณะที่จะย้ายนั้น เป็นเวลา ๐๒.๐๐ น. ของวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๙ ซึ่งนางสาวมานิตา แซ่จึง มีอาการน้ำท่วมปอด มีน้ำเต็มช่องท้อง จากการให้น้ำเกลือเกินขนาดจนหายใจหอบ ๓๖ ครั้งต่อนาที ชีพจรเต้น ๑๔๐ ครั้งต่อนาที (ปกติชีพจรเต้น ๗๒ ครั้งต่อนาที) ซึ่งแพทย์ที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า วินิจฉัยว่านางสาวมานิตา แซ่จึง เป็นโรคไข้เลือดออก มีภาวะได้รับน้ำเกลือเกินขนาด มีน้ำท่วมในช่องปอด และในช่องท้อง มีภาวะเลือดเป็นกรด และ ต้องพักรักษาตัวในห้อง ไอซียู แต่ห้องไอซียู ไม่ว่าง โจทก์จึงขอย้ายไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลนนทเวช ซึ่งนางสาวมานิตา แซ่จึง ทนสภาพผลแทรกซ้อนจากการรักษาที่ผิดพลาดไม่ไหวจึงได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ เวลา ๑๑.๐๐ น. ซึ่งแพทย์ได้ลงความเห็นว่า เสียชีวิตจากภาวะน้ำท่วมปอด และไข้เลือดออก (ปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๒,๓) ข้อ ๔. การกระทำดังกล่าวในฟ้องข้อ ๓ ของบรรดาเจ้าหน้าที่แพทย์ และพยาบาลของโรงพยาบาลบางใหญ่ในสังกัดของจำเลย เป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ของผู้ที่เป็นแพทย์ และพยาบาลในการดูแลคนไข้ที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก และเจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาลในสังกัดของจำเลย อาจใช้ความระมัดระวังดังว่านั้นได้ แต่เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังดังว่าหรือหาได้ใช้ให้เพียงพ อไม่ จนเป็นเหตุให้ นางสาวมานิตา แซ่จ   ึง บุตรของโจทก์ถึงแก่เสียชีวิตดังรายละเอียดต่อไปนี้ คือ เมื่อเจ้าหน้าที่แพทย์ของจำเลยให้การวินิจฉัยว่า นางสาวมานิตา แซ่จึง บุตรสาวโจทก์ป่วยเป็นไข้เลือดออกแล้ว เจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาลของจำเลยมีหน้าที่ที่จะต้องรักษาไข้เลือดออกของบุ ตรสาวโจทก์ตามมาตรฐานการรักษาโรคไข้เลือดออก และตามแนวทางการรักษาโรคไข้เลือดออกของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคระบาดที่สำคัญ และพบได้บ่อยจนจำเลยต้องรณรงค์ให้ความรู้ชาวบ้านตามสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวางรวมทั้งทางสื่อโทรทัศน์ โดยแพทย์ผู้ให้การรักษาต้องติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และให้น้ำเกลือหรือสารน้ำด้วยความระมัดระวัง โดยต้องปรับปริมาณสารน้ำที่ให้ผู้ป่วยในระยะแรก และระยะซึ่งมีการรั่วของของเหลวในเลือดออกนอกเส้นเลือดอย่างระมัดระวังและให ้ในปริมาณน้อยที่สุดซึ่งเพียงพอสำหรับการรักษาระดับการไหลเวียนเลือดของร่าง กาย เพราะการให้สารน้ำในระยะแรกที่มีปริมาณมากเกินไป จะทำให้มีภาวะน้ำท่วมปอด น้ำท่วมช่องท้อง ซึ่งเป็นภาวะ แทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ แต่เจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาลของจำเลยก็มิได้รักษาโรคตามมาตรฐานวิชาชีพในกา รรักษาโรคไข้เลือดออก และไม่ได้ยึดถือแนวทางปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุขในการรักษาโรคไข้เลือดออกอ ย่างเคร่งครัด กลับรีบให้สารน้ำในระยะแรกในขณะที่ผู้ป่วยนางสาวมานิตา แซ่จึง สามารถทานอาหารได้เองแล้ว เป็นจำนวนมากถึง ๓๐๐๐ ซี.ซี. ในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ ซึ่งไม่จำเป็นต้องให้เลยเนื่องจากผู้ป่วยทานอาหารเองได้แล้ว หรือถ้าจะให้สารน้ำก็ไม่ควรจะเกิน จำนวน ๒๑๐๐ ซี.ซี. ซึ่งเป็นขนาดที่ให้ในผู้ป่วยนางสาวมานิตา แซ่จึง ซึ่งมีน้ำหนักตัวประมาณ ๕๐ กิโลกรัม จนกระทั่งนางสาวมานิตา แซ่จึง ได้รับสารน้ำเกินความจำเป็นจนเริ่มมีน้ำท่วมปอด และมีน้ำในช่องท้อง มีอาการหอบเหนื่อยต้องนอนหัวสูงแล้ว แพทย์ของจำเลยก็ยังมิได้มาติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด กลับสั่งการรักษาทางโทรศัพท์ให้เร่งน้ำเกลือ จนกระทั่งนางสาวมานิตา แซ่จึง ผู้ป่วยมีภาวะร่างกายได้รับสารน้ำเกิน ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาผิดวิธีที่พบบ่อยที่สุดของการรักษาโรคไข้เล ือดออก และยังมีการสั่งการให้สารน้ำทางโทรศัพท์อย่างต่อเนื่องทั้งๆ ที่นางสาวมานิตา แซ่จึง มีอาการหอบเหนื่อย และชีพจรเต้นเร็วจากภาวะน้ำท่วมปอด  
 
จากคุณ: bigbird โพสเมื่อวันที่: 02/05/08 เวลา 21:57:34
น้ำท่วมช่องท้อง จนถึงเวลา ๒๒.๐๐ น. ของวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๙ ซึ่งในขณะนั้นนางสาวมานิตา แซ่จึง มีอาการของน้ำท่วมปอด น้ำท่วมช่องท้องมากจนหายใจหอบเหนื่อย ๒๖ ครั้งต่อนาที ชีพจรเต้น ๑๒๘ ครั้งต่อนาที ก็ยังมีการสั่งเร่งให้น้ำเกลืออย่างมิได้หยุด จนถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. ก็ยังมีการสั่งการรักษาทางโทรศัพท์ทั้ง ๆ ที่นางสาวมานิตาหายใจหอบขึ้นเป็น ๒๘ ครั้งต่อนาที จนกระทั่งเวลา ๐๓.๐๐ น. ของวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๙ ซึ่งตอนนั้นนางสาวมานิตา แซ่จึง มีอาการหนักสุดเกินเยียวยา หายใจหอบ ๓๖ ครั้งต่อนาที ชีพจรเต้น ๑๔๐ ครั้งต่อนาที มือเท้าบวม หน้าบวมจากภาวะน้ำเกินจึงได้มีแพทย์มาดูนางสาวมานิตา แซ่จึง แทนการสั่งการรักษาทางโทรศัพท์ และย้ายนางสาวมานิตา แซ่จึง ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ซึ่งต้องส่งตัวไปรักษาต่อที่ โรงพยาบาลนนทเวชเนื่องจากห้องไอซียู เต็ม และนางสาวมานิตา แซ่จึง ได้เสียชีวิตจากไข้เลือดออก และน้ำท่วมปอดอันเป็นผลแทรกซ้อนจากการรักษาที่ผิดหลักวิชา ผิดมาตรฐานในการรักษาโรคไข้เลือดออกและผิดจากแนวทางการรักษาโรคไข้เลือดออกข องกระทรวงสาธารณสุข อันเป็นการไม่ให้ความสำคัญต่อนโยบายการรักษาและควบคุมการระบาดของไข้เลือดออ ก และไม่ใส่ใจในชีวิตของผู้ป่วย ไม่ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด สั่งการรักษาผู้ป่วยในภาวะวิกฤตทางโทรศัพท์ สร้างความสูญเสียต่อชีวิตของเยาวชนและเศรษฐกิจของชาติ ดังจะเห็นข่าวการเสียชีวิตจากไข้เลือดออกที่มีอยู่บ่อยๆ และชาวบ้านร้องเรียนว่าผู้ให้การดูแลรักษาพยาบาลไม่เอาใจใส่ดูแลผู้ป่วย (หลักฐานเอกสารต่าง ๆ โจทก์จะนำเสนอต่อศาลในชั้นพิจารณาคดีต่อไป) ข้อ ๕. การกระทำในฟ้องข้อ ๓ และ ข้อ ๔ ของบรรดาแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลบางใหญ่ในสังกัดของจำเลย เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้นางสาวมานิตา แซ่จึง เสียชีวิตด้วยสภาพที่ทุกข์ทรมาน แน่นท้องหายใจไม่ออก จึงเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อโจทก์ผู้เป็นมารดา ซึ่งจำเลยต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมต่อโจทก์ ดังต่อไปนี้ ๑. ค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่น ๆ ในการทำศพตามประเพณี และตามฐานานุรูปของผู้ตาย จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท เศษ ๒. ค่าที่ทำให้โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะเลี้ยงดู และค่าเสียหายตามกฎหมาย จำนวน ๘,๘๖๘,๐๐๐ บาท ๓. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เดือนละ ๒,๐๐๐ บาท ซึ่งขณะที่บุตรสาวของโจทก์เสียชีวิตมีอายุเพียง ๑๗ ปี โจทก์ของคิดเป็นระยะเวลาเพียง ๔๓ ปี เป็นเงินจำนวน ๑,๐๓๒,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินที่จำเลยจะต้องรับต่อโจทก์เป็นเงินทั้ง จำนวน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สิบล้านบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้น ซึ่งโจทก์ขอถือเอาเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องคดีนี้ โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับจำเลยได้จึงต้องนำคดีมาฟ้องเพื่อขอบาร มีศาลเป็นที่พึ่ง ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด  
จากคุณ: bigbird โพสเมื่อวันที่: 02/05/08 เวลา 22:01:39
จากกรณีที่นางไพรวัน ทากางิ ฟ้องกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะต้นสังกัดของโรงพยาบาลบางใหญ่ ในข้อหาละเมิดทำให้ลูกสาว คือน้องแพรว อายุ 15 ปี เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก โดยเรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท นั้น
 
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้รับการร้องเรียนเมื่อเดือนมกราคม 2550 และตั้งคณะกรรมการสอบสวนเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2550
 
โดย น้องแพรว เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบางใหญ่ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 โดยโรงพยาบาลบางใหญ่ได้ให้การรักษาโรคไข้เลือดออกตามแนวทางการวินิจฉัยและรั กษาโรคไข้เลือดออกเฉลิมพระเกียรติ ปี 2548 ของโรงพยาบาลชุมชน ในวันที่ 29 ตุลาคม 2549 ประมาณเวลา 01.00 น.อาการน้องแพรวอยู่ในภาวะช็อกระดับที่ 2 แต่ยังรู้สึกตัวดีอยู่
 
จึงได้ส่งตัวผู้ป่วยไปโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าซึ่งเป็นโรงพยาบาลจังหวัด เพื่อให้ได้รับการดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง เมื่อไปถึงได้รับการดูแลโดยมีการให้ยาเดกซ์แตรน (Dextran) ซึ่งเป็นคอลลอยด์ (colloid) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้เป็นยารักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำเหลืองเข้าไปในช่องปอดและช่องท้อง
 
แต่เนื่องจากห้องผู้ป่วยหนักที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเต็ม ทางโรงพยาบาลจึงรับตัวผู้ป่วยไว้ที่ ตึกอายุรกรรมโดยได้ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และเวลาประมาณ 05.00 น.มารดาผู้ป่วยได้นำตัวผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลนนทเวช จังหวัดนนทบุรี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2549 เวลาประมาณ 09.30 น.ซึ่งขอยืนยันว่าทางทีมแพทย์ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่งได้ดูแลผู้ป่วยอย่างดีที่สุด
 
ในเบื้องต้นทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ได้พิจารณาชดเชยค่าเสียหายตามมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นเงิน 120,000 บาท แต่ทางมารดาผู้เสียชีวิตต้องการ 200,000 บาท ซึ่งเกินอำนาจการจัดการของจังหวัดจึงต้องส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานหลักประก ันสุขภาพแห่งชาติ
 
นพ.สุพรรณ กล่าวต่อว่า ล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ยกคำฟ้องเนื่องจากโรงพยาบาลบางใหญ่ได้ท ำการรักษาน้องแพรวตามแนวทางการรักษาโรคไข้เลือดออกเฉลิมพระเกียรติ ปี 2548 แล้ว
 
ด้านศาสตราจารย์คลินิก (พิเศษ) พญ.ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ หัวหน้าศูนย์โรคไข้เลือดออกสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี กล่าวว่า ยาคอลลอยด์ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกนั้น เป็นยาที่มีความเข้มข้นกว่าน้ำเลือด จะให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการสูญเสียน้ำเหลืองมาก ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกมีความจำเป็นใช้ยาชนิดนี้เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น อีกร้อยละ 80 สามารถให้การรักษาตามอาการเพื่อป้องกันภาวะช็อค โดยยาคอลลอยด์ขณะนี้มีใช้ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง ส่วนโรงพยาบาลชุมชนนั้นมีใช้เป็นบางแห่ง แต่ไม่ใช่ปัญหาในการรักษาแต่อย่างใด เพราะกระทรวงสาธารณสุขมีระบบการส่งต่อผู้ป่วย และทำงานอย่างเป็นเครือข่าย เพื่อดูแลประชาชนอย่างดีที่สุดอยู่แล้ว
จากคุณ: Rursegy โพสเมื่อวันที่: 02/18/08 เวลา 19:51:02
Sad Sad Sad  Smiley Smiley Smiley
จากคุณ: E-guana โพสเมื่อวันที่: 03/13/08 เวลา 13:16:14
TEXT
ไม่อ่าน ไม่สนใจ ลาออกแล้ว สบายๆ Roll Eyes Roll Eyes
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 03/16/08 เวลา 19:16:54
Quote:
ไม่อ่าน ไม่สนใจ ลาออกแล้ว สบายๆ

 
ถ้ายังเป็นหมออยู่ ก็ต้องติดตาม ต้องอ่าน ..  
 
แต่ถ้าไม่ได้เป็นหมอแล้ว ก็ไม่เป็นไร  Wink
จากคุณ: Doc.DIP โพสเมื่อวันที่: 03/24/08 เวลา 15:51:49
Shocked.....โห  น่ากัว.....จิงๆ ๆๆ  Shocked   Shocked    Huh
จากคุณ: Doc.DIP โพสเมื่อวันที่: 03/24/08 เวลา 21:38:00
    Shocked Shocked  Cry Huh
จากคุณ: bubi โพสเมื่อวันที่: 04/10/08 เวลา 11:11:11
ยุคนี้เป็นยุคทุนนิยม  มักจะตีค่าทุกสิ่งเป็นเงินเป็นทอง เราทำงานด้วยจิตใจ แต่ผู้ป่วยไม่เข้าใจ ก้อต้องทำใจ
แต่ถ้าพวกหมอไม่เห็นใจกันเอง ไม่สามัคคีกัน ก้อคงจะอยู่กันอย่างแย่ๆแบบนี้ไปเรื่อย
จากคุณ: bubi โพสเมื่อวันที่: 04/10/08 เวลา 11:14:46
แต่ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆหมอทุกคน ให้เข้มแข็งต่อไปค่ะ  Smiley Smiley
จากคุณ: luzeus โพสเมื่อวันที่: 04/16/09 เวลา 21:02:49

10 ล้านเหรอค่ะ  
 
 Lips Sealed


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by