หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   ICU : Interesting Creative Usergroup
   Post reply ( Re: แพทย์ควรติดคุกหรือไม่...อ.ประเศ วะสี )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: 716:16 โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 01:40:50

แพทย์ควรติดคุกหรือไม่

โดย ประเวศ วะสี
 
สิ่งที่แน่นอนคือไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย  
 
ในที่นี้เราจะคุยกันในประเด็นเรื่องแพทย์ถูกตัดสินจำคุกในกรณีที่ทำเวชปฏิบั ติแล้วคนไข้ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือเสียชีวิต เมื่อเร็วๆ นี้ศาลจังหวัดทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช มีคำพิพากษาให้จำคุก แพทย์หญิงสุทธิพร ไกรมาก แพทย์ประจำโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นเวลา 3 ปี ในข้อหากระทำโดยประมาท เลินเล่อ เป็นเหตุให้คนไข้เสียชีวิต คนไข้ชื่อนางสมควร แก้วคงจันทร์ ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ ด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง อันเป็นเหตุให้คนไข้หยุดหายใจ สมองขาดออกซิเจนและเสียชีวิต ลูกสาวผู้ตายชื่อ น.ส.ศิริมาศ แก้วคงจันทร์ เป็นโจทก์ฟ้อง  
 
แน่นอนว่าการที่แพทย์ถูกตัดสินจำคุกจากการทำเวชปฏิบัติเป็นเรื่องที่สั่นสะเ ทือนวงการแพทย์ไทย ปฏิกริยาด้วยอารมณ์อาจนำไปสู่การบานปลายและผลเสียมากขึ้น ฉะนั้น ทุกฝ่ายพึงกุมสติ พิจารณาโดยรอบคอบ เพื่อให้เกิดผลดีทั้งในเรื่องเฉพาะหน้าและระยะยาว
 
เฉพาะหน้า พึงเห็นใจทุกฝ่าย ญาติคนไข้คงไม่มีใครอยากเอาหมอเข้าคุก แต่คงอยากให้ญาติของตนได้รับการรักษาที่ดีและหายจากโรคมากกว่า การที่โจทก์ฟ้องร้องโรงพยาบาลและแพทย์คงจะมีความบีบคั้นทางจิตใจขนาดหนัก ทางด้านแพทย์ ภาพของแพทย์ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญาและใส่กุญแจมือ หรือในกรณีนี้ถึงกับจะต้องถูกจำคุกก็เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจสุดๆ  
 
ฉะนั้นในเบื้องต้นทุกฝ่ายควรมีความเมตตาต่อกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ เอาใจนำเสียก่อนอย่าเพิ่งเอาเรื่องทางเทคนิคและกฎหมายนำ การเอาใจนำเสียก่อนแล้วทุกอย่างที่ตามมาจะดีขึ้น ตามธรรมเนียมโบราณถึงกับมีการทำบุญและอุทิศส่วนกุศลให้คู่กรณี จิตใจจะได้ดีขึ้นไม่ถูกครอบงำด้วยความเกลียดความโกรธ ซึ่งจะส่งผลให้เสียหายร้ายแรงเพิ่มขึ้น เมื่อมีความเมตตาต่อกันแล้วต้องนำไปสู่วจีสุจริต ไม่พูดจาให้ร้ายกัน ความเมตตาและวจีสุจริตจะทำให้ความร้ายแรงของปัญหาลดน้อยลงหรือถึงกับคลี่คลา ยได้
 
ส่วนกระบวนการทางศาลก็ต้องดำเนินการไปตามครรลอง อย่าให้มีการหมิ่นประมาทศาลเป็นอันขาด นั่นคือมีการอุทธรณ์ที่ทุกฝ่ายต้องทำด้วยความละเอียดรอบคอบถูกต้อง  
 
เมื่อทุกฝ่ายทำด้วยความละเอียดรอบคอบและถูกต้องแล้ว ความยุติธรรมหรือธรรมอันเป็นเครื่องยุติ ก็จะทำหน้าที่ยุติเรื่องนี้เอง
 
ระยะยาว ควรที่ทุกฝ่ายจะทำความเข้าใจ การที่มีการฟ้องร้องแพทย์มากขึ้นและหาทางป้องกันแก้ไข  
 
ขอเสนอหัวข้อเพื่อการพิจารณาดังต่อไปนี้
 
(1) อันตรายจากเวชปฏิบัติแผนปัจจุบัน การแพทย์แผนปัจจุบันมีทั้งที่ได้ผลชงัดและอันตรายในขณะเดียวกัน ต่างจากการแพทย์แผนโบราณที่มีการใช้สมุนไพรฤทธิ์ไม่รุนแรง การแพทย์แผนปัจจุบันใช้ยาสะกัดที่เป็นสารบริสุทธิ์มีฤทธิ์แรง การผ่าตัดและเทคโนโลยีที่เข้าไปทำการกับอวัยวะต่างๆ ด้านหนึ่งได้ผลชงัดที่การแพทย์แผนโบราณไม่สามารถทำได้ อีกด้านหนึ่งก็เกิดอันตรายได้รุนแรงจากการตรวจรักษาจนถึงเสียชีวิตก็มี ในสหรัฐอเมริกามีรายงานที่อาจจะสุดโต่งไปหน่อยว่าสาเหตุตายอันดับหนึ่งของคน อเมริกันเกิดจากการตรวจรักษา  
 
ฉะนั้น ในข้อนี้ทุกฝ่ายควรระลึกรู้ว่าการแพทย์แผนปัจจุบันอาจมีอันตรายได้ด้วยอะไรท ี่ควรหรือไม่ควรรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน และฝ่ายการฝึกอบรมบุคลากรและโรงพยาบาล จะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะเพิ่มความระวังระไวและสมรรถนะในการลดอันตรายข องการตรวจรักษาอันจะมีต่อผู้ป่วย ทุกโรงพยาบาลควรมีคณะกรรมการป้องกันอันตรายจากการตรวจรักษา กระตุ้นเตือนและติดตามเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
 
(2)ความทุกข์ของญาติผู้ป่วย ญาติที่พ่อแม่หรือลูกป่วยหนัก หรือป่วยปัจจุบันทันด่วน มีความวิตกกังวลและทุกข์ร้อนอย่างยิ่ง และตกอยู่ในความไม่รู้ การแพทย์แผนปัจจุบันเน้นที่เทคโนโลยี แต่ขาดความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดและปัญหาอื่นๆ อีกมาก ในโรงพยาบาลในต่างประเทศบางแห่ง เขามีคนมาดูแลพ่อแม่ที่ลูกเข้ารับการผ่าตัดด้วย ระบบบริการของเราคงต้องใส่ใจความทุกข์ของญาติผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
 
(3)ปฏิกิริยาของญาติเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต สมัยก่อนก็ไม่มีอะไร เพราะเชื่อว่าเป็นกรรมถึงเวลาสิ้นอายุ แต่ต่อมาความคาดหวังจากโรงพยาบาลมีมากขึ้น ญาติจะมีปฏิกริยาเมื่อมีผู้ป่วยเสียชีวิต เช่น นินทาว่าร้ายว่าโรงพยาบาลเป็นโรงฆ่าสัตว์บ้าง ที่ประท้วงขับไล่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลก็มี ร้องเรียนแพทยสภาก็มี และนำเรื่องขึ้นฟ้องร้องต่อศาลเรียกค่าเสียหายก็มีเพิ่มขึ้น  
 
แพทยสภาต้องตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนขึ้นหลายคณะก็ยังทำงานไม่ทัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องใช้แพทย์ไปในการเป็นกรรมการสืบสวนสอบสวนจำนวนมาก แทนที่จะได้ใช้ไปในการตรวจรักษาผู้ป่วย  
 
การฟ้องร้องแพทย์ที่มีมากขึ้นบางคนก็ว่าดี แพทย์จะได้ระมัดระวังตัวมากขึ้น บางคนก็ว่าไม่ดีเพราะจะทำให้สัมพันธภาพระหว่างแพทย์กับคนไข้และญาติเลวลง ทำให้ค่าบริการในอนาคตแพงขึ้น เพราะจะต้องใช้เงินไปในการประกันการถูกฟ้องดังที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา  
 
การพัฒนาคุณภาพของเวชปฏิบัติน่าจะช่วยลดลงการฟ้องร้องลง ความมีน้ำใจและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีน่าจะมีส่วนลดการฟ้องร้องลงได้มาก เพราะคนไข้และญาติก็มีหัวใจของความเป็นมนุษย์
 
(4)ระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ งานบริการสุขภาพในยุคที่ผ่านมาเน้นที่ความทันสมัย ซึ่งก็ต้องดำเนินต่อไป แต่ถึงเวลาของยุคระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์แล้ว ขณะนี้เป็นที่น่ายินดีว่ากำลังมีความสนใจเรื่องระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจข องความเป็นมนุษย์กันมากขึ้นเรื่อยๆ โรงเรียนแพทย์ก็กำลังสนใจพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรศึกษาที่มีหัวใจของความเป็น มนุษย์ เรื่องนี้มีความหมายต่อสังคมมาก และถ้าทำได้สำเร็จจริงการฟ้องร้องจะลดลงอย่างมากจนเกือบจะหมดไป
 
(5)ระบบบริการสุขภาพที่ดี ทุกวันนี้โรงพยาบาลต่างๆ คนไข้แน่นเกิน แพทย์และพยาบาลต้องทำงานหนักเกิน ดูคนไข้อย่างลวกๆ รีบๆ ทำให้คุณภาพการตรวจรักษาไม่ดี จำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องสนใจ "ระบบ" จะสนใจแต่ทางเทคนิคอย่างเดียวหาเพียงพอไม่ ควรจะทำความเข้าใจแนวคิด "สร้างพระเจดีย์จากฐาน"  
 
เราไม่สามารถสร้างพระเจดีย์จากยอดได้เพราะจะพังลงๆ ฐานที่แข็งแรงจะรองรับส่วนบนให้มั่นคง เราพัฒนาทุกชนิดไม่ว่าเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา เหมือนสร้างพระเจดีย์จากยอด ให้การสร้างยอดทำลายฐานจึงพังลงๆ ไม่สำเร็จสักเรื่อง ฐานของสังคมคือชุมชนท้องถิ่น ระบบสุขภาพชุมชน คือฐานของระบบสุขภาพทั้งหมด
 
ถ้าระบบสุขภาพชุมชนทำงานได้ดีและทั่วถึง จะทำให้เหลือคนไข้ที่จำเป็นต้องมาตรวจรักษาในโรงพยาบาลใหญ่น้อยมาก ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลไม่แน่นเปิดโอกาสให้บริการที่ละเอียดประณีตมากขึ้น และบริการในระบบสุขภาพชุมชนก็มีคุณภาพดีกว่าและราคาถูกกว่าบริการในโรงพยาบา ล  
 
ระบบสุขภาพชุมชนรวมถึงการดูแลตนเอง การดูแลในครอบครัว และการดูแลในชุมชน
 
ประกอบด้วยระบบสาธารณสุขชุมชนเข้มแข็งร่วมกับชุมชนเข้มแข็ง
 
สามารถทำสิ่งต่างๆ อย่างน้อย 7 ประการ คือ (1) ดูแลไม่ให้มีผู้ถูกทอดทิ้ง เช่น คนแก่ เด็ก คนจน คนพิการ  
 
(2) เศรษฐกิจพอเพียง (3) ดูแลปัญหาที่พบบ่อย เช่น เป็นหวัด เจ็บคอ ซึ่งเป็นปัญหาที่พาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลมากที่สุด  
 
(4) ดูแลคนเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอย่างดีทุกคน  
 
(5) บริการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง  
 
(6) ควบคุมโรค เช่นไข้เลือดออกซึ่งควบคุมไม่ได้โดยโรงพยาบาล แต่ชุมชนเข้มแข็งจะควบคุมการระบาดของไข้เลือดออกและอื่นๆ ได้  
 
(7) สร้างเสริมสุขภาพให้คนในชุมชนมีสุขภาพดีมากที่สุด ไม่เจ็บป่วยโดยไม่จำเป็น
 
ถ้าทำได้ตามเป้าหมายทั้ง 7 ประการข้างต้น ชุมชนจะมีความพอเพียงและศานติสุขประดุจสวรรค์บนดิน และทำได้ไม่ยาก เพราะเรามีโครงสร้างเต็มพื้นที่แล้ว กล่าวคือ เรามีหมู่บ้านประมาณ 76,000 ตำบล 7,600 อำเภอประมาณ 760 ทุกตำบลมีองค์การท้องถิ่น คือ อบต. ทุกตำบลมีสถานีอนามัย และทุกอำเภอมีโรงพยาบาลชุมชน ถ้าโครงสร้างเหล่านี้มีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกันที่จะบรรลุวัตถุประสงค์  7 ประการดังกล่าวข้างต้น และได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมจะสำเร็จประโยชน์ทุกประการดังกล่าวโดยไม่ย าก  
 
องค์กรอื่นๆ ทุกประเภทควรสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง เพื่อเป็นฐานของประเทศ  
 
โรงเรียนแพทย์ทุกแห่งควรสนับสนุนโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งควรได้รับความสนับสนุนจากโรงเรียนแพทย์ให้เก่งทุกทาง ทั้งการบริการ ทางการวิจัย และทางการสอน ในอนาคตโรงพยาบาลชุมชนจะเป็นฐานของการผลิตแพทย์ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ ด้วยจำนวนมาก
 
ทุกฝ่ายควรจะใช้กรณีแพทย์ถูกตัดสินจำคุกมาร่วมกันพัฒนาระบบบริการสุขภาพอย่า งจริงจัง ระบบบริการสุขภาพที่ดีจะเป็นกำลังใจอย่างแรงให้สังคมมีศรัทธาในความดี ร่วมกันเอาใจใส่เยียวยาความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ จะเป็นการเยียวยาตัวเราเอง เยียวยาสังคม และเยียวยาโลก (Heal the World)  
 
ขณะนี้โลกป่วยเหลือกำลัง เราต้องเยียวยาซึ่งกันและกัน และเยียวยาโลก
จากคุณ: Dr.Tum.....ณ. สยาม โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 07:00:11
Wink
จากคุณ: ส้มตำ โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 07:37:50
ขอทฤษฎีที่ติดดินหน่อยครับอาจารย์
จากคุณ: anantom โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 07:57:22
หากมีการกระทำที่ละเมิดโดยผิดกฎหมาย จะให้ผู้เสียหายได้รับการบรรเทาความเสียหายแบบใดครับ
หรือตามเวรกรรม ช่วยไม่ได้เพราะหมดอายุความ,ช่วยไม่ได้เพราะคุณไม่ตกลงเจรจา ฯ อาจารย์ไม่เคยทำงานอยู่ รพช ,ไม่เคยทำงานอยู่ รพท อาจารย์ให้แนวทางที่ปฎิบัติได้หน่อยซิครับ
ยังเคารพอาจารย์ อาจารย์สอน haemato เยี่ยมครับ แต่ปัญหาสาธารณสุขต้องเป็นทฤษฎีที่จับต้องได้ครับ
อาจารย์เคยช่วยลูกศิษย์ที่ปรึกษาอาจาย์ในปัญหาสาธารณสุขกี่คนครับ
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 08:17:46
เห็นควรให้วงการแพทย์ทั้งหลายไม่ว่า แพทยสภา กระทรวงสธ. สมาคมต่างๆ ราชวิทยาลัย ชมรมต่างๆ ยืนหยัดในการเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายว่า "การประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยสุจริต มีมาตรฐาน ตามสภาพชองโรงพยาบาล ไม่ควรต้องรับผิดทางอาญา"
 
 แพทยสภาเริ่มแล้ว องค์กรแพทย์อื่นๆ และสมาคม ชมรมต่างๆเริ่มหรือยัง จงมาร่วมมือกันผลักดันการแก้ไขกฎหมายให้สำเร็จ
จากคุณ: Mr.LOVE -DEFENSIVE MED. BOARD โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 08:22:43
ทฤษฏีสามเหลี่ยม ข้อสามกล่าวว่าต้องร่วมกับฝ่ายการเมือง  ข้อนี้แหละที่ยากที่สุด
จากคุณ: แฉล้มป์ โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 08:47:20
แพทย์ไม่ควรได้รับโทษจำคุก เพราะรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ ที่แพทยสภารับรองแล้ว แพทย์ไม่ควรมีความผิด หรือได้รับโทษ
 
กรณีที่รอ่นพิบุลย์ นั้น แพทย์ทำตามมาตรฐานวิชาชีพแล้ว แพทยสภาก็เห็นเช่นนั้น จึงไม่ควรได้รับโทษจำคุก
 
ส่วนกรณีที่เห็นว่าแพทย์ควรถูกจำคุกก็มี เช่น กรณีดูดไขมันที่คลีนิก อันนั้น ไม่ได้มาตรฐานวิชาชีพ และเป็นการกระทำหวังผลประโยชน์จากผู้ป่วย ก็ควรได้รับโทษจำคุก
 
จากคุณ: Young_J โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 10:56:03
Lips Sealed Lips Sealed
จากคุณ: ปลาทอง.. โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 11:07:10
เห็นด้วยกับพี่แฉล้มป์อย่างยิ่ง ผมคิดว่าแพทย์หญิงสุทธิพรคงไม่อยากทำหรอกครับแต่สถานการณ์บังคับ   Angry
จากคุณ: Dalzeno โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 11:13:33
ดัมเบอร์ดอร์ ไม่ได้เป็นรมวกระทรวงเวทย์ มนต์    เรื่องในวงารพ่อมดเลยแย่
 
อิอิ เหมือนกันแหละครับ  
 
ถ้าอาจารย์ประเวศ ได้เป็นรมว สธ (และมีโมษกส่วนตัวเก่งๆ Grin)  คงจะดีไม่น้อย
เพราะตอนนี้เรามีตอไม้เป็นรัฐมนตรี
 
แนวคิดดี แต่น่าแปลกที่ แพทยสภา รร แพทย์ มีแนวคิดไปไกล  
แต่กระทรวง ยังล้าหลังตลอด โล๊ะทิ้งทั้งกระทรวงเลยดีมะ
จากคุณ: Yoyo55 โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 12:04:18
on 12/20/07 เวลา 01:40:50, 716:16 wrote:

 
สิ่งที่แน่นอนคือไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย  
............
........
เฉพาะหน้า พึงเห็นใจทุกฝ่าย ญาติคนไข้คงไม่มีใครอยากเอาหมอเข้าคุก  
การที่โจทก์ฟ้องร้องโรงพยาบาลและแพทย์คงจะมีความบีบคั้นทางจิตใจขนาดหนัก  
 
 การเอาใจนำเสียก่อนแล้วทุกอย่างที่ตามมาจะดีขึ้น  
 
ทุกฝ่ายควรจะใช้กรณีแพทย์ถูกตัดสินจำคุกมาร่วมกันพัฒนาระบบบริการสุขภาพอย่า งจริงจัง

 
 
เป็นครั้งแรกที่อ่านข้อความของอาจารย์แล้ว ไม่รู้สึกคล้อยตามอย่างหมดใจ Undecided
 
ข้อความส่วนใหญ่ รู้สึกดีค่ะ  
แต่ข้อความที่เป็นใจความสำคัญในความรู้สึกของการเป็นหมอในรพช.
อ่านแล้วเสียใจค่ะ
 
1. ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย  แต่มีเงินเหนือกฎหมาย
คดีดาราขับรถ เมาง่วง ชนคนตาย คดีก็เงียบไป
คดีดร.นิด้า ตั้งใจตีเมียจนตาย----พ้นผิด
 
2. ไม่ได้อยากเอาหมอเข้าคุก  แต่อยากได้ตังค์หมอ  ฉะนั้นจึงต้องเอาหมอเข้าคุกก่อน จึงจะฟ้องเอาเงินได้มากๆ  ทำให้ระบบเศรษฐกิจของญาติและทนายดีขึ้น
การทีโจทก์ฟ้อง คงถูกบีบคั้นจาก $$ อย่างหนัก
เฮ้อ....
 
3. เพราะตอนนี้ เอาใจนำมา..เลยเสียใจแทนคุณหมอคนนั้นอย่างมาก
และก็แค้นใจด้วย Angry
 
4.ทุกฝ่ายควรจะใช้กรณีแพทย์ถูกตัดสินจำคุกมาร่วมกันพัฒนาระบบบริการสุขภาพอย ่างจริงจัง ---ส่วนตอนนี้ก็ปบล่อยหมอติดคุกไปก่อน----ดูแล้วก็ปลง
เท่านั้นเหรอคะ------เราควรใช้อุเบกขาอย่างพอเพียงนะคะ
 
 
จากคุณ: jangdonkan โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 14:47:09
ผมเบื่อ "  ทฤษฎี  "  ครับ
 
อาจารย์ไม่ได้ตรวจ คนไข้ นาน เท่าไหร่  แล้วครับ ผม   Sad
จากคุณ: วันนี้วันสุข รักฮานะเสมอจ๊ะ.. โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 17:13:13

ถูกครับ...
 
มี รพช. บางแห่ง
ทำได้จริงครับ
เขาเน้นงาน preventive และลงอนามัย ลง PCU
เสริมความแข็งแกร่งให้ชุมชน...
แรก ๆ ก็คงน่าจะเหนื่อยมาก
แต่ในระยะยาว
เมื่อชุมชนแข็งแกร่ง PCU แข็งแกร่ง
ก็จะลดงานตรวจรายวันลงได้มาก
 
( เช่นเดียวกับเมื่อ คนไข้ที่คุม DM ได้ดีมาตลอด มาแต่ละครั้งก็ดี พฤติกรรมดี ก็นัดห่าง ๆ ได้ บางคนแทบไม่ต้องใช้ยาด้วยซ้ำ...  
ส่วนคนที่ self care ไม่ดีหรือ poor control ก็จำเป็นต้องนัดถี่ๆ และ/หรือ สุดท้ายก็ลงเอยด้วย ภาวะแทรกซ้อน ต้องมานั่งปั๊มหัวใจ ล้างไต ใส่ท่อ ถูกญาติโทษ กันไม่ไหว )
 
ชุมชนที่อนามัย และ education ดี PCU ดี ประชาชนมี self care ดี
พฤติกรรมเสี่ยง ๆ น้อย
ก็จะช่วยลดงานส่วนกลางได้มาก
ประชาชนก็ได้ประโยชน์ด้วย
 
 
อาจารย์ผมท่านนึงบอกว่า
ที่ต้องเริ่มทำคือต้องสู้กับความเหนื่อยช่วงแรก
รพช. ต้องสร้างนโยบาย preventive เอง ต้องสู้เอง ต้องลงพื้นที่เอง
แม้ทุกวันนี้จะเหนื่อยเพราะตรวจกันไม่ไหวแล้วก็ตาม
แต่ก็ต้องแบ่งเวลา เพราะไม่งั้นก็ต้องเหนื่อยต่อไป...
 
 
 
จากคุณ: newny_law3107 โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 23:20:28
Sad Sad Sad
จากคุณ: morsoo โพสเมื่อวันที่: 12/21/07 เวลา 09:07:34
ขออย่าจาบจ้วงอาจารย์เลยครับ ถ้าเป็นหมอจริง ไม่ใช่พวกแอบอ้าง ผมว่าอาจารย์พูดหลักคิดนะครับ ต้องตั้งหลักให้ได้ก่อน ส่วนที่ถามถึงการปฏิบัตินั้น ก็เป็นขึ้นต่อไปครับ อย่าทำอะไรมั่วๆ คิดอะไรมั่วๆ หยุดทีนะครับ แล้วใช้อารมณ์จาบจ้วงอาจารย์ขนาดนี้ มันเกินไปครับ พวกหมอก็เป็นแบบนี้ คิดว่าตัวเก่งก็ด่าคนมีความรู้ ทั้งที่ตัวเองคือปัญหา
จากคุณ: misa@deathnote โพสเมื่อวันที่: 12/21/07 เวลา 15:04:23
on 12/21/07 เวลา 09:07:34, morsoo wrote:
ขออย่าจาบจ้วงอาจารย์เลยครับ ถ้าเป็นหมอจริง ไม่ใช่พวกแอบอ้าง ผมว่าอาจารย์พูดหลักคิดนะครับ ต้องตั้งหลักให้ได้ก่อน ส่วนที่ถามถึงการปฏิบัตินั้น ก็เป็นขึ้นต่อไปครับ อย่าทำอะไรมั่วๆ คิดอะไรมั่วๆ หยุดทีนะครับ แล้วใช้อารมณ์จาบจ้วงอาจารย์ขนาดนี้ มันเกินไปครับ พวกหมอก็เป็นแบบนี้ คิดว่าตัวเก่งก็ด่าคนมีความรู้ ทั้งที่ตัวเองคือปัญหา

ไม่ได้ลบหลู่จาบจ้วงหรอก
อ่านดีๆนะคะ
เปนเพียงความเห็นแตกต่าง
เพราะทุกอย่างไม่ได้เป้นตามทฤษฎี
พูดให้เข้าใจง่ายว่าถ้ามีแต่หมอที่ต้องปรับตัว โดยฝ่ายคนไข้และญาติยังมุ่งแต่จะเอา มันก็ไม่สำเร็จตามทฤษฎีหรอก จิงมั้ยคะ
จากคุณ: pumpu โพสเมื่อวันที่: 12/21/07 เวลา 18:39:45
ความเห็นที่แตกต่างทำให้คิดได้กว้างขึ้นรอบคอบขึ้น
การแสดงความเห็นก็ต้องมีคนวิจารณ์เป็นธรรมดา
จนการความเห็นนั้นถูกต้องถูกใจคนส่วนใหญ่
 
การประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยสุจริต มีมาตรฐาน  
ตามสภาพของโรงพยาบาล ที่มีกระทรวงสาธารณะสุขรับรอง  
ไม่ควรต้องรับผิดทางอาญา
 
คุณออก นโยบาย บริการ24ชั่วโมง เตียงไม่มีวันเต็ม  รักษาทุกโรค
มีการรับรองมาตรฐาน แต่ไม่บอกข้อจำกัดว่าทำได้แค่ไหน  
เมื่อไหร่ต้องส่งต่อ มันจะรักษาได้ทุกโรคได้อย่างไร
บางโรคมันรักษาไม่ได้
ให้เงินเล็กน้อย ห้ามขออะไรเพิ่ม
ให้หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ให้ขาด
ให้ยา เวชภัทย์ ไม่พอทั้งชนิดและปริมาณ
ให้ผู้บริการ  เอาตัวรอดเอาเอง  ห้ามบอกว่าทำไม่ไหว
 
พอมีปัญหา หายไปไหนหมด ให้หมอเด็กๆรับเคราะห์
ความเป็นลูกผู้ชายหายไปไหนหมด  
หรือมีหน้าที่สนองนักการเมือง  
พอเป็นรัฐมนตรี  อธิบดี ผู้บริหาร มัวยุ่งกับงานโกงกิน มองไม่เห็นปัญหา
 
เขาเสียสละเวลา ความสุขส่วนตัว ให้คุณนั่งในหอคอยงาช้าง
เงินเดือนมากมาย มียศถาบรรดาศักดิ์
คนเสียสละก็เป็นหมอเด็กๆ ให้ชาวบ้านกระเซ้าว่าเก่งหรือเปล่า
 
ขอเป็นกำลังใจให้ลูกผู้หญิงที่มีความเป็นชายกว่า
ผู้ใหญ่หน้าตัวเมียที่มีอำนาจแต่ไม่รับผิดชอบ
 
ขอโทษครับเขียนไม่ดีเลย  ไม่ไพเราะ
 Lips Sealed Embarassed
จากคุณ: zinc โพสเมื่อวันที่: 12/21/07 เวลา 20:29:11
  มีข้อเท็จจริงว่าแพทย์มีทั้งคนดีและไม่ดี และแพทย์ทุกคนไม่มีคนไหนไม่เคยพลาด ไม่มีใครรู้ดีเท่าแพทย์ด้วยกัยเอง อย่าโทษหรือตำหนิศาลเพราะศาลก็ใช้ความรู้สึกในระดับวิญญูชนพิจารณา ย่อมไม่รู้ในรายละเอียดทางเทคนิค ไอ้ที่สำคัญคือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ข้นเบิกความเป็นพยานศาลดันเอาอาจารย์ที่ ไม่เคยผ่านงานในพื้นที่เลยมาให้ความรู้ศาล หลายครั้งอาจารย์จะอ้างสิ่งที่ดีที่สุดที่เคยสอนตามทฤษฎีมาเป็นหลัก ผมไม่ทราบว่าถ้าไม่อยากให้แพทย์ทั่วไปblock หลังแล้วสอนให้ทำทำไม จากประสบการณ์เมื่อก่อนการblock หลังแล้วตายเป็นเรื่องที่พบกันปีละหลายรายแต่ไม่เคยมีการฟ้องร้องจึงทำให้แพ ทย์เรามองว่าเป็นเรื่องธรรมดา รายล่าสุดผมฉีดยาชาเข้าใต้ผิวหนังในรายทำหมันหลังคลอดเกิดแพ้แบบsevere anaphylatic shock โชคดีที่รอดปลอดภัย ทุกวันนี้ก็ได้แต่เตือนน้องๆอย่าเสี่ยงในเรื่องที่ไม่ควรเสี่ยงแต่ก็อย่างว่ าคนเพิ่งจบกับคนที่ทำงานมา20ปีบางทีเตือนก็ไม่เชื่อกัน สงสัยเส้นทางนี้จะโรยด้วยเลือดและซากศพกว่าจะเป็ฯแพทย์เต็มตัวจริงๆไม่ใช่แค ่ปริญญาที่ไม่ช่วยอะไรได้เลย แพทย์เราต้องช่างสังเกตุและคาดการณ์รอบคอบมากขึ้นอย่างที่อาจารย์ว่า หมดสมัยแห่งยุคยาขอหมอวานแล้วครับจะบอกให้ ไม่มีของดีราคาถูกในโลกนี้ทุกอย่างมีต้นทุนครับ
จากคุณ: shinbun โพสเมื่อวันที่: 12/21/07 เวลา 21:10:00
เห็นด้วย  กับ  คห 16
 
ความคิด ของอาจารย์  ไม่ได้หมายความว่า จะดีกว่า ของลูกศิษย์
 
การปฎิบัติจริง  ลูกศิษย์ก็สามารถ  ดีกว่าอาจารย์ได้
 
โลกจะก้าวหน้า  ต้องมีความคิดเห็นโต้แย้งกัน  ถึงจะเป็นบ่อเกิดของปัญญา
 
 
คนเก่งจะได้รับการยอมรับ  นับถือทั้งกาย  ใจ  จากผู้อื่น
 
จะต้อง  1.  เก่ง  ทั้งความคิด
 
       2.  เก่งทั้งเป็นผู้นำการปฏิบัติ
 
และที่สำคัญ  3. ต้องมีความกล้า  ที่ จะรับผิด  ไม่ใช่รับแต่ชอบ
 
   ปล่อยลูกน้อง ตาย  หรือได้รับโทษ ติดคุกไป
 
  "  สิ่งที่แน่นอน  คือ ไม่เคยมีผู้บริหาร คนใด  ยอมรับผิด ติดคุก  ยอมตายแทนลูกน้อง  "
 
  "  เวลาทำงานอย่า เชื่อใจ ฝ่ายบริหาร  "
 
  "  รู้รักษา ตัวรอด ก่อน  ก่อนที่จะไปช่วยคนอื่น
 
จากคุณ: FAT_DOCTOR โพสเมื่อวันที่: 12/22/07 เวลา 07:36:58
ต้องปรับตามสถานการณ์ครับ ไม่มีอะไรคงที่  ข้อสำคัญต้องมีจริยรรม Huh
จากคุณ: Miss___Mur Mur โพสเมื่อวันที่: 12/22/07 เวลา 12:07:35
on 12/20/07 เวลา 17:13:13, วันนี้วันสุข รักฮานะเสมอจ๊ะ.. wrote:

ถูกครับ...
 
มี รพช. บางแห่ง
ทำได้จริงครับ
เขาเน้นงาน preventive และลงอนามัย ลง PCU
เสริมความแข็งแกร่งให้ชุมชน...
แรก ๆ ก็คงน่าจะเหนื่อยมาก
แต่ในระยะยาว
เมื่อชุมชนแข็งแกร่ง PCU แข็งแกร่ง
ก็จะลดงานตรวจรายวันลงได้มาก
 
( เช่นเดียวกับเมื่อ คนไข้ที่คุม DM ได้ดีมาตลอด มาแต่ละครั้งก็ดี พฤติกรรมดี ก็นัดห่าง ๆ ได้ บางคนแทบไม่ต้องใช้ยาด้วยซ้ำ...  
ส่วนคนที่ self care ไม่ดีหรือ poor control ก็จำเป็นต้องนัดถี่ๆ และ/หรือ สุดท้ายก็ลงเอยด้วย ภาวะแทรกซ้อน ต้องมานั่งปั๊มหัวใจ ล้างไต ใส่ท่อ ถูกญาติโทษ กันไม่ไหว )
 
ชุมชนที่อนามัย และ education ดี PCU ดี ประชาชนมี self care ดี
พฤติกรรมเสี่ยง ๆ น้อย
ก็จะช่วยลดงานส่วนกลางได้มาก
ประชาชนก็ได้ประโยชน์ด้วย
 
 
อาจารย์ผมท่านนึงบอกว่า
ที่ต้องเริ่มทำคือต้องสู้กับความเหนื่อยช่วงแรก
รพช. ต้องสร้างนโยบาย preventive เอง ต้องสู้เอง ต้องลงพื้นที่เอง
แม้ทุกวันนี้จะเหนื่อยเพราะตรวจกันไม่ไหวแล้วก็ตาม
แต่ก็ต้องแบ่งเวลา เพราะไม่งั้นก็ต้องเหนื่อยต่อไป...
 
 
 

 
 
เห็นด้วยมากๆ จังเลยค่ะ Smiley   Smiley   Smiley
 
 
 
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 12/23/07 เวลา 07:34:40
การแก้ที่กระบวนการยุติธรรมก็คงต้องเริ่มจาการให้ความรู้แก่ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา ว่าในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น การเกิดผลร้าย ไม่ได้เกิดจาก "ความพลั้งพลาด" หรือ "ความผิดพลาด" เสมอไป แต่อาจเกิดจาก "โรคแทรกซ้อน" หรือ "อาการอันไม่พึงประสงค์" หรือ "เหตุสุดวิสัย" ตามข้อจำกัดของเทคโนโลยี หรือ "องคาพยพ" ของผู้ป่วยแต่ละคนว่ามี  
"underlying  diseases" อยู่กี่โรค มีอวัยวะภายในกี่อันที่ไม่สามารถ "ทำงานได้ตามปกติ" บ้าง
 
 ซึ่งแพทยสภาได้ทำความเข้าใจกับตำรวจแล้วว่า ก่อนจะไปจับหมอในคดีอาญา ขอให้ปรึกษาความเห็นทางวิชาการก่อน  ส่วนด้านอัยการและผู้พิพากษาอาจจะเข้าใจบ้างแล้ว
 
 แต่พวกแพทย์ด้วยกันเองนี่แหละที่ "ฆ่าเพื่อนแพทย์ด้วยกัน" ในการให้การเป็นพยานโจทก์
 
ไม่ทราบว่าแพทยสภาจะสอบสวนแพทย์เหล่านี้หรือไม่ ในข้อหา "ให้ร้ายหรือกลั่นแกล้ง" เพื่อนร่วมวิชาชีพ ผิดตามหมวด4 ข้อ2 ของพ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525
 
 วันนั้นที่ไปฟังท่านจรัญ(ปลัดกระทรวงยุติธรรม) พูดที่ราชวิถ๊ ท่านเองยังพูดแต่ว่าแพทย์ทำความ "ผิดพลาด หรือพลั้งพลาด" เท่านั้น ซึ่งสมควรให้อภัย คือรอลงอาญาได้ เหมือนศรราม แต่ในกรณีนี้ คุณหมอไม่เคยยอมรับว่าทำผิด ศาลจึงถือว่ายัง "ไม่สำนึกในความผิด" ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลว่า  "ไม่สามารถรอลงอาญาได้" เพราะจำเลยยัง "ไม่สำนึกในความผิดที่ตนได้กระทำ"
 
 ซึ่งจำเลยในที่นี้ที่ไม่สามารถยอมรับผิดได้ เพราะไม่ได้ "กระทำความผิด" แต่ทนายและพยานผู้เชี่ยวชาญ ยังไม่สามารถพิสูจน์ให้ผู้พิพากษายอมเชื่อว่า "จำเลยไม่ได้ทำผิด" และไม่สามารถให้การ "หักล้างคำให้การของพยานโจทก์" (ตือหมอและตำราวิสัญญี)ที่เอาไปอ้างอิงในศาล จนผู้พิพากษาคล้อยตาม
 
 ทั้งหมดนี้ จึงเกิดการพิพากษาที่เป็น "โศกนาฏกรรม" ของวงการแพทย์ ซึ่งจะเป็น "โศกนาฏกรรม" ของประชาชนไทยต่อไป
 
 อีกไม่นานเกินรอ Embarassed Embarassed Embarassed Lips Sealed Cry
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 12/23/07 เวลา 07:36:56
ขอเชิญร่วมการสัมมนาการบรรยายเรื่องคดีฟ้องร้องที่เกี่ยวกับการแพทย์
 
สมนึก ศรีวิศาล พบ., FRCR, FRCPC
 
St.Louis, MO USA 63131-3119
01/05/2007
Revision History
Revision 1.0.3  29/6/2007
ติดต่อ พ มนู ทองวรินทร์ มาพูดเรื่องที่เกี่ยวกับ- OBGYN
Revision 1.0.2  06/05/2007
ติดต่อ พ มนูญ โคราช เรื่องไปติดต่อทางพวกศาล ให้มาร่วมรายการ รับว่าจะส่งเรื่องให้ทางข้างบนไปติดต่อ
Revision 1.0.1  03/05/2007
ติดต่อ พญ เชิดชู ตอบรับจะมาร่วมบรรยาย เรื่องที่ไปเจอมา
Revision 1.0.0  01/05/2007
First draft
 
Table of Contents
 
ผู้ร่วมรายการ
รูปแบบการเสนอรายการ
Introduction ( 10 min )
คดีในสหรัฐอเมริกา จากประสพการณ์ของแพทย์ 3 ท่าน ( 60 min )
คดีในประเทศไทย ( 30 min )
สรุป คำถาม คำตอบ ( 20 min )
 
จะเป็นการบรรยายให้แก่แพทย์ที่ รพ มหาราชและแพทย์จากบริเวณรอบๆโคราชและแถวอิสานใต้ จากประสพการณ์ ( ที่ไม่อยากมี ) ของแพทย์ไทย ในสหรัฐอเมริกา นพ สมนึกจะเป็นผู้ดำเนินรายการ ( moderator )
ผู้ร่วมรายการ
 
    *
 
 นพ ประสพ รัตนานนท์, FACS
 
 Diplomate American Board of Surgery
 
 Fellow of the American College of Surgeon
 
 Private practice : General Surgery, Moline, IL USA
    *
 
 นพ มนู ทองวรินทร์, FACOG
 
 Diplomate American Board of Obstetrics and Gynecology
 
 Fellow of the American College of OB-GYN
 
 Private practice : OB-GYN, Du Quoin, IL USA
    *
 
 พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
 
 อดีต กุมารแพทย์โรงพยาบาลเด็ก
 
 กรรมการแพทยสภาวาระ พศ.2546-2548 และ 2548-2550
 
 ประธานกรรมการบริหารการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ แพทยสภา วาระ 2549-2550
 
 ปัจจุบัน ที่ปรึกษาสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
 
 ประธานอนุกรรมการจริยธรรมชุดที่ 15 แพทยสภา
 
 ประธานอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนค่าตอบแทนแพทย์ แพทยสภา
 
 อนุกรรมการพัฒนากฏหมายแพทยสภา แพทยสภา
 
 อนุกรรมการกำหนดมาตรฐานการทำงานของแพทย์ แพทยสภา
    *
 
 ผู้เข้าร่วมอภิปรายจากฝ่ายศาลตุลาการ
 
 อันได้แก่ ผู้พิพากษาและอัยการ ฯ
 
 รายชื่อและรายละเอียดจะประกาศภายหลัง
 
 5/5/2007 ทาง รพ มหาราชกำลังไปติดต่อทางฝ่ายวงการกฎหมายอยู่
    *
 
 นพ สมนึก ศรีวิศาล ผู้ดำเนินรายการ
 
 Diplomate American Board of Radiology
 
 Fellow of The Royal College of Physicians and Surgeons of Canada
 
 Fellow of The Royal College of Radioligists ( UK)
 
รูปแบบการเสนอรายการ
 
   1.
 
 Introduction
   2.
 
 คดีจากสหรัฐ
   3.
 
 คดีในเมืองไทย
   4.
 
 คำถามคำตอบ
 
Introduction ( 10 min )
 
แนะนำตัวผู้ร่วมรายการ
 
format ในการบรรยาย เพื่อไม่ให้ประเด็นออกนอกกระทู้แต่ละคดี จะมีลำดับขั้นตอนดังนี้
 
   1.
 
 เล่าแแต่ละคดี
   2.
 
 แต่ละคดี จะมีการวิจารณ์ ออกความเห็นจากผู้บรรยาย
   3.
 
 หากเวลาของผู้บรรยายแต่ละคนเหลือ จะให้ถาม ที่เหลือคำถามให้ไปรวมถามตอนท้ายรายการ
 
ผู้ร่วมรายการแต่ละท่านจะมาเล่าประสพการณ์จริงจากต่างประเทศ 3ท่าน และจะมีคดีจากเมืองไทยด้วย เพื่อให้เห็นข้อเปรียบเทียบ ให้เห็นความแตกต่าง
 
ในแต่ละคดี จะมีการแทรกเสริมจุดสำคัญให้ความเห็น และความเห็นจากทางฝ่ายตุลาการในด้านที่เกี่ยวกับกฎหมาย
 
ความเห็นเรื่องระบบการฟ้องร้องของสหรัฐ
คดีในสหรัฐอเมริกา จากประสพการณ์ของแพทย์ 3 ท่าน ( 30 x 3 mins )
 
แต่ละท่านจะมีเวลา ๓๐นาที ที่จะมาเล่าให้เราฟัง แต่ละคดี และจะเล่าประสพการณ์ รายละเอียดของคดี ที่ตนเองไปขึ้นศาล ตามด้วยการแทรก ความเห็น ข้อสังเกตุ ข้อแนะนำ ระหว่างทีไปขึ้นศาล ความเห็นต่างๆ ตาม format ข้างบน
คดีในประเทศไทย ( 30 min )
 
พญ เชิดชู จะมาเล่า สรุปจากคดีต่างๆ ถึงข้อเท็จจริงของแต่ละคดีในประเทศไทย ปัญหา การแก้ไข การปรับปรุง การช่วยเหลือ
 
บทบาทของแพทย์สภา การแพทย์ในเมืองไทยที่เกี่ยวกับเรื่องของคดีฟ้องร้องแพทย์
สรุป คำถาม คำตอบ ( 20 min )
 
สรุปจากผู้บรรยาย ถามตอบ ความเห็น จากผู้เข้าฟังคำบรรยาย
 
ความคืบหน้าในขณะนี้
 
 ได้เรียนเชิญท่านจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรมร่วมอภิปรายด้วยแล้ว และท่านรับว่ายินดีจะไปร่วม แต่ต้องขอ check เวลาว่าท่าน available หรือไม่ และขอให้ท่านเชิญผู้พิพากษาไปร่วมฟังและแสดงความคิดเห็นด้วย
 
http://www.tpaa.us/sombut/legalX.html
จากคุณ: onethaidoctor โพสเมื่อวันที่: 12/23/07 เวลา 12:13:53
ผมยืนยันนะครับ ต้องตอบโต้รุนแรงกว่านี้  เท่าที่ทำมาทั้งหมดเอาไว้ใช้กับกรณีหน้า  สำหรับครั้งนี้ติดคุกไปแล้วต้องได้รับการชดใช้ โดยเฉพาะถ้าสุดท้ายถูกตัดสินว่าไม่ผิด
ถ้าตัดสินว่าผิด แพทย์ทั้งประเทศควรร่วมมือตอบโต้ครับ
จากคุณ: bingobingo โพสเมื่อวันที่: 12/23/07 เวลา 21:14:22
    ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง Angry ที่แพทย์ต้องโทษจำคุก
 แต่เห็นด้วยทุกประการที่อาจารย์กล่าวถึงในการพัฒนาจากรากฐานโดยเฉพาะการดูแล ผู้ป่วยเบาหวาน  ความดันโลหิต ในชุมชน ขอย้ำโดยเฉพาะเบาหวาน เพราะผู้ปjวยในตึกอายุรกรรมโดยมากเป็นเบาหวาน-โรคแทรกซ้อนต่างๆๆ   และอยากให้จัดการเรื่องเหล้ากับบุหรี่ให้ได้  เพราะเป็นปัญหามาก ทำให้เกิดโรคตามมามากมาย โดยเฉพาะ copd ซึ่งเข้าๆๆ ออกๆๆ บ่อยมา,ca lung??  ตับแข็ง  ไม่รวมถึงปัญหาอุบัติเหตุซึ่งนำมาซึ่ง ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ-จิตใจ ร่างกาย  ซึ่งประมาณไม่ได้
   ส่วนเรื่องการฟ้องร้อง คือ อะไร ส่วนตัวคิดว่ามาจากความไม่รู้จักการให้อภัย กฏแห่งกรรม การที่เราห่างวัดกัน  และที่สำคัญ คือ ความอยาก  อยากได้
อยากเอา เป็นเรื่องวัตถุเป็นหลัก   เชื่อว่า case sle ที่ศิริราช ได้รับการดูแลที่ดี
มี doctor- pateint relationship ที่ดี แต่เกิดจากอะไร?
และอีกอย่างที่ไม่ควรมองข้าม คือ การดูแล ระยะยาว ที่ทำให้ครอบครัวรู้สึกเป็นภาระ เจ็บปวดกับเรื่องเหล่านี้ ญาติต้องออกจากงานมาดูแล ครอบครัวแตกสลายเป็นต้น การชดเชยการดูแล ไม่ควรเน้นการจ่ายเงิน ควรให้สวัสดิการอื่น เช่น
ส่งเข้าโรงเรียนแพทย์เพื่อแก้ไขความผิดปกติ  ผึกหัดอาชีพ   มีศูนย์ดูแลผู้ผู้ป่วยที่ทุพลภาพ  bed ridden เป็นต้น ควรให้มีองค์กรณ์ดูแลเค้าไปตลอด  มากกว่าให้ญาติเอาแต่เงินและเงิน
 
จากคุณ: Doc.DIP โพสเมื่อวันที่: 12/24/07 เวลา 10:53:46
Huh Cry
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 12/24/07 เวลา 12:29:20
ในสหรัฐอเมริกาที่มีการฟ้องแพทย์มากๆ จนแพทย์ต้องทำการประกันในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น ก็ไม่มีการฟ้องเป็นคดีอาญาเพื่อเอาหมอเข้าคุก เพียงแต่ว่าเมื่อหมอถูกตัดสินว่าทำผิดนั้น หมออาจต้องชดใช้ค่าเสียหายมากๆจนบริษัทประกันไม่ยอมรับประกันให้อีกต่อไป  
 
 ยกเว้นแพทย์ที่ทำงานให้รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินประกันเอง เมื่อเกิดการฟ้องร้องและต้องจ่ายค่าเสียหายนั้น รัฐบาลจะต้องรับภาระจ่ายเงินแทน
จากคุณ: เด็กดื้อ โพสเมื่อวันที่: 12/24/07 เวลา 14:45:59
แต่ยังไงก็น่าเห็นใจหมอที่ต้องเผชิญกับโชคร้ายรายนี้มาก เพราะเจตนาเค้าคือต้องการรักษาคนไข้ไม่ได้เจตนาที่จะทำร้ายซะหน่อย แต่ว่าภาวะแทรกซ้อนมันก็สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีใครคาดคิดอยู่แล้ว ก็ไม่น่าลงโทษแบบรุนแรงเลย
จากคุณ: softmail โพสเมื่อวันที่: 12/26/07 เวลา 12:09:59
เชือกขาด
เหตุการณ์นี้ มันก็เหมือนกับ การที่คน คนหนึ่งหรือคุณเดินไปพบคนตกบ่อน้ำ เห็นเชือกอยู่ข้างบ่อจับโยนลงไปช่วยผู้ที่ตกอยู่ข้างล่างช่วยดึงให้ขึ้นมา(เ คยช่วยแบบนี้มาหลายครั้งแล้ว) ในขณะที่กำลังช่วยอยู่นั้นเชือกเจ้ากรรมดันขาดขึ้นมา ทำให้คนผู้นั้นตกลงไปในบ่อน้ำนั้นเสียชีวิต มีคนมาพบแล้วมองไปว่าคุณจับเชือกดึงไม่ดี(หรือหาเชือกมาไม่ดี)ทำให้คนตาย คุณต้องยอมรับผิด และ ต้องรับผิดชอบ  
คนคนนั้น หรือ คุณจะคิดอย่างไร ในเมื่อคุณต้องรับผิดชอบด้วยอิสรภาพของตัวคุณเอง
เรื่องนี้เป็นเรื่องของความเป็นจริง เป็นเรื่องของความรู้สึก และความรู้สึกเป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้ ถึงจะพยายามห้ามก็ยากจะทำได้  
แพทย์ก็เป็นปุถุชนคนธรรมดาคนหนึ่ง  
จากคุณ: Rursegy โพสเมื่อวันที่: 12/28/07 เวลา 12:27:32
แล้วโลกจะเยียวยาเรามั๊ย เมื่อเราเหนื่อย ท้อใจ  Cry
จากคุณ: nat-nat โพสเมื่อวันที่: 12/30/07 เวลา 18:41:05
ศาลกำลังสร้างมาตราฐานใหม่ให้กับวงการแพทย์แน่นอน
ทุกคนต้องดูแลตัวเองให้ดีก่อนดูแลผู้ป่วย
ดูแลตัวเองให้ดีอย่างไร ไม่ต้องสอน รู้อยู่แล้ว
เป็นหมอเล็ก หรือหมอใหญ่ก็มีสิทธิ์ติดคุกได้ทั้งนั้น
ดูแลลวกๆหรือดูแลอย่างใกล้ชิด เลือกเอา
ต้องใช้เวลากับผู้ป่วยให้มากขึ้น ทำงานตามเวลา ไม่ใช่ตรวจผู้ป่วยให้มันหมดๆไป??
จากคุณ: noisy โพสเมื่อวันที่: 12/31/07 เวลา 00:27:06
กรณีแพทย์หญิงสุทธิพรผมว่าเธอไม่ได้รับความเป็นธรรมเป็นอย่างยิ่ง
ความผิดอาญาคืออะไรคงต้องถามนักฏหมายแต่ที่ผมพอทราบมาบ้าง
คือคนที่จะถูกตัดสินว่าผิดอาญาคือบุคคลผู้นั่นต้องมีการกระทำที่
ผลของการกระทำเป็นอันตรายต่อส่วนรวมจึงต้องนำไปจำคุกเพื่อ
ไม่ให้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวมจากการกระทำนั้นอีก
ยกตัวอย่างเช่นการคอรัปชั่นก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม
อาชญากรที่ฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนามักจะถูกตัดสินให้จำคุกเพราะ
เป็นอันตรายต่อส่วนรวมแต่คนที่ขับรถชนคนตายโดยประมาทมัก
ถูกตัดสินให้รอลงอาญาเพราะไม่ได้เป็นอันตรายต่อส่วนรวม และความผิด
อาญาถือเป็นอาญาแผ่นดินคำว่าแผ่นดินในความเข้าใจของผมคือรัฐ
ประเทศไทยก็คือรัฐคือรัฐไทย ในกรณีแพทย์หญิงสุทธิพรเธอทำงาน
ในโรงพยาบาลรัฐดูแลผู้ป่วยเพื่อความสุขของสาธารณชน
และศักยภาพของโรงพยาบาลที่เธอทำงานก็เป็นระบบราชการที่จัด
หามาให้เรียกได้ว่าความพร้อมตรงนั้นเป็นสิ่งที่แผ่นดินหรือรัฐ
เป็นผู้จัดหามาให้และรัฐก็ไม่เคยห้ามผ่าตัดไส้ติ่งในโรงพยาบาลที่มี
ศักยภาพแค่นี้เพราะฉะนั้นการกระทำของเธอจึงเป็นการทำตามหน้าที่
ในหน่วยงานของรัฐแต่เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนจนผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตรัฐ
กลับมาตัดสินว่าเป็นความผิดอาญาจะจำคุกเธอคาดโทษเธอว่ากระทำผิด
อาญาแผ่นดิน การกระทำของเธอไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ
ส่วนรวมหรือต่อรัฐ ตรงกันข้ามเจตนาของเธอต้องการทำงานให้
รัฐเพื่อความสุขของสาธารณะชนอันนำมาเพื่อความสงบสุขของส่วน
รวมรัฐกลับจะจองจำเธอ อันนี้เป็นเจตนาของกฏหมายไทยหรือยังไง
กันการตัดสินตรงนี้คิดว่าจะเกิดความสงบสุขตามเจตนารมณ์
ของกฏหมายอาญาหรือไม่เป็นสิ่งที่ชวนให้คิด เพราะตอนนี้ผมเองแทบ
ไม่กล้าผ่าตัดเพราะที่โรงพยาบาลไม่มีหมอดมยาแต่ผ่าตัดไทรอยด์
ไว้ก่อนที่จะมีคำตัดสินคดีนี้ปราฏกว่าเป็นมะเร็งจำเป็นต้องผ่าใหม่
บิดาของผู้ป่วยก็ไม่ยอมผ่าครั้งที่ 2 ที่โรงพยาบาลศูนย์เพราะไว้ใจ
ผมตอนแรกทำใจดำยืนกระต่ายขาเดียวคือให้ไปที่ที่พร้อมกว่าแต่
บิดาผู้ป่วยก็อ้อนวอนจนยกมือไหว้ขอให้ผ่าตัดให้ตอนนี้ใจอ่อนแต่
ตัดสินใจยากจริง ๆ
 
จากคุณ: MadHippo โพสเมื่อวันที่: 12/31/07 เวลา 12:06:27
Angry Angry Angry
จากคุณ: RETINA โพสเมื่อวันที่: 01/03/08 เวลา 15:35:26
ผมคิดว่าหมอเป็นคนที่น่าเห็นใจมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆสำหรับคนไข้ที่ส ะกดคำว่าบุญคุณไม่เป็น Angry
จากคุณ: banana_number9 โพสเมื่อวันที่: 01/06/08 เวลา 14:23:54
Embarassed
จากคุณ: noisy โพสเมื่อวันที่: 01/08/08 เวลา 20:59:57
ถ้าพญ.สุทธิพรติดคุกฟ้องศาลปกครองน่าจะได้นะครับเพราะรัฐบาล
ไม่จัดโรงพยาบาลที่มีความพร้อมให้ทำงานจนต้องทำงานบนความเสี่ยง
จนนำมาซึ่งการถูกฟ้องร้องทำให้เสียชื่อเสียงและโดนจำคุก และเรียก
ค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยซึ่งจำเลยอาจเป็นกระทรวงต้นสังกัดหรือ
รัฐบาล
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 01/13/08 เวลา 11:15:51

 
 
มีบทความ ของ นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ในวารสาร medical pregress  ฉบับที่ ๑ เดือน มค. เรื่อง  
 
จุดบอด ของการต่อสู้ คดีอาญา ของแพทย์
 
อยากให้พวกเราลองไปหาอ่านกัน มีอะไรน่าสนใจเยอะเลยครับ โดยเฉพาะ เกี่ยวกับ ประเด็นร้อน คดีหมอสุทธิพร จะได้พอรู้ว่า ทำไม ถึงแพ้คดี ในศาลชั้นต้น  ...  
 
แล้วก็เผื่อจำเป็น ต้องใช้ ถ้าถูกฟ้อง ( อ่านไว้ให้รู้ แต่หวังว่า คงไม่ต้องใช้ ) ...  
 
 
 
ปล.  
 
อยากให้แพทย์ทุกคนได้อ่าน  
 
"  กฏหมายกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรม "  
 
 
 ของ คุณหมอ เมธี ด้วยนะครับ .. จริงๆ แล้ว น่าจะถือว่าเป็น หนังสือ ที่ต้องอ่าน สำหรับ แพทย์ที่ยังประกอบวิชาชีพอยู่ ทุกคนเลย ก็ว่าได้
จากคุณ: bigbird โพสเมื่อวันที่: 01/17/08 เวลา 08:34:39
on 12/23/07 เวลา 07:34:40, cmu06 wrote:
การแก้ที่กระบวนการยุติธรรมก็คงต้องเริ่มจาการให้ความรู้แก่ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา ว่าในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น การเกิดผลร้าย ไม่ได้เกิดจาก "ความพลั้งพลาด" หรือ "ความผิดพลาด" เสมอไป แต่อาจเกิดจาก "โรคแทรกซ้อน" หรือ "อาการอันไม่พึงประสงค์" หรือ "เหตุสุดวิสัย" ตามข้อจำกัดของเทคโนโลยี หรือ "องคาพยพ" ของผู้ป่วยแต่ละคนว่ามี  
"underlying  diseases" อยู่กี่โรค มีอวัยวะภายในกี่อันที่ไม่สามารถ "ทำงานได้ตามปกติ" บ้าง
 
 ซึ่งแพทยสภาได้ทำความเข้าใจกับตำรวจแล้วว่า ก่อนจะไปจับหมอในคดีอาญา ขอให้ปรึกษาความเห็นทางวิชาการก่อน  ส่วนด้านอัยการและผู้พิพากษาอาจจะเข้าใจบ้างแล้ว
 
 แต่พวกแพทย์ด้วยกันเองนี่แหละที่ "ฆ่าเพื่อนแพทย์ด้วยกัน" ในการให้การเป็นพยานโจทก์
 
ไม่ทราบว่าแพทยสภาจะสอบสวนแพทย์เหล่านี้หรือไม่ ในข้อหา "ให้ร้ายหรือกลั่นแกล้ง" เพื่อนร่วมวิชาชีพ ผิดตามหมวด4 ข้อ2 ของพ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525
 
 วันนั้นที่ไปฟังท่านจรัญ(ปลัดกระทรวงยุติธรรม) พูดที่ราชวิถ๊ ท่านเองยังพูดแต่ว่าแพทย์ทำความ "ผิดพลาด หรือพลั้งพลาด" เท่านั้น ซึ่งสมควรให้อภัย คือรอลงอาญาได้ เหมือนศรราม แต่ในกรณีนี้ คุณหมอไม่เคยยอมรับว่าทำผิด ศาลจึงถือว่ายัง "ไม่สำนึกในความผิด" ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลว่า  "ไม่สามารถรอลงอาญาได้" เพราะจำเลยยัง "ไม่สำนึกในความผิดที่ตนได้กระทำ"
 
 ซึ่งจำเลยในที่นี้ที่ไม่สามารถยอมรับผิดได้ เพราะไม่ได้ "กระทำความผิด" แต่ทนายและพยานผู้เชี่ยวชาญ ยังไม่สามารถพิสูจน์ให้ผู้พิพากษายอมเชื่อว่า "จำเลยไม่ได้ทำผิด" และไม่สามารถให้การ "หักล้างคำให้การของพยานโจทก์" (ตือหมอและตำราวิสัญญี)ที่เอาไปอ้างอิงในศาล จนผู้พิพากษาคล้อยตาม
 
 ทั้งหมดนี้ จึงเกิดการพิพากษาที่เป็น "โศกนาฏกรรม" ของวงการแพทย์ ซึ่งจะเป็น "โศกนาฏกรรม" ของประชาชนไทยต่อไป
 
 อีกไม่นานเกินรอ Embarassed Embarassed Embarassed Lips Sealed Cry

  วิธีสู้คดีกันในศาล จะมีกรรมวิธีบังคับเหมือนกับวิธีจะผ่าตัด และกรรมวิธีนี้จะเขียนไว้เป็นกฎหมายบังคับให้ทำตาม เรียกว่ากฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง// วิธีพิจารณาคดีปกครอง //วิธีพิจารณาคดีล้มละลาย ฯลฯ
การผ่าตัดทุกชนิดก็ต้องเริ่มตั้งแต่ตรวจคนไข้ เตรียมคนไข้ งดน้ำงดอาหาร ทำความสะอาดผิวหนัง เอามีดผ่าบริเวณที่ถูกตำแหน่ง เย็บแผล ตัดไหม  
ไม่ว่าผ่าตัดอะไรก็จะใช้กรรมวิธีแบบนี้
ในการต่อสู้คดีในศาลก็จะมีวิธี คือ ยื่นฟ้อง อีกฝ่ายก็ยื่นหนังสือเถียงว่าที่ฟ้องมาไม่จริง(ถ้าสารภาพก็ยื่นว่าจริงครับ และขอลดโทษครึ่งหนึ่ง)
ถ้ายื่นฟ้องและอีกฝ่ายเถียงแล้วก็ต้องไปศาล ฝ่ายไหนอ้างว่าอีกฝ่ายผิดตรงไหนก็ต้องเอาเอกสาร(เช่นสัญญากู้ หรือเวชระเบียน)หรือของ(เช่นปืน, มีดที่แทงคน,หรือตะไกรที่ลืมไว้ในท้อง)หรือคนไปยืนยันว่าที่ฟ้องนั้นจริง อีกฝ่ายที่เถียงก็ต้องเอาเอกสาร ของ หรือคนไปยืนยันว่า ไม่จริง ศาลเชื่อฝ่ายไหนก็ให้ฝ่ายนั้นชนะไป
ทุกคดีจะเป็นลักษณะนี้ ไม่ว่าคดีขโมย คดีข่มขืน คดีฆ่าคน หรือคดีแพทย์
ทีนี้คนที่จะไปยืนยันนั้น ถ้าเรื่องนั้นๆเป็นเรื่องที่ชาวบ้านรู้เรื่องก็ใช้ชาวบ้านไปยืนยันได้ เช่นนายดำ ยืนยันต่อศาลเห็นว่านาย ก.ขับรถฝ่าไฟแดง ชาวบ้านทุกคนรู้ (แต่ถ้านายดำตาบอดก็คงใช้ไม่ได้)
ส่วนคนที่จะไปยืนยันว่า แพทย์ทำผิดพลาดก็ต้องเป็นแพทย์ แพทย์สาขาไหนก็ได้ ไม่ต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้วุฒิบัตร แต่ศาลจะเชื่อมากเชื่อน้อยก็แล้วแต่ศาล
เพราะกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 98 บัญญัติเพียงว่า คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะอ้างบุคคลใดเป็นพยานของตนก็ได้ เมื่อบุคคลนั้น เป็นผุ้มีความรู้เชี่ยวชาญในศิลปวิทยาศาสตร์ การฝีมือ การค้า หรือการงานที่ทำหรือในกฎหมายต่างประเทศ และซึ่งความเห็นของพยานอาจเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อความในประเด็น  ทั้งนี้ ไม่ว่าพยานจะเป็นผู้มีอาชีพในการนั้นหรือไม่
ส่วนคดีอาญานั้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 243 บัญญ้ติไว้ว่า ผู้ใดโดยอาชีพหรือมิใช่ก็ตาม มีความชำนาญพิเศษในการใดๆเช่นในทางวิทยาศาสตร์ ศิลป ฝีมือ พาณิชยการ การแพทย์ หรือกฎหมายต่างประเทศ และซึ่งความเห็นของเขานั้นอาจมีประโยชน์ในการวินิจฉัยคดี ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา อาจเป็นพยานในเรื่องต่างๆเป็นต้นว่าตรวจร่างกายหรือจิตของผู้เสียหาย ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตรวจลายมือ ทำการทดลองหรือกิจการอื่นๆ
ศาลจะให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องให้มาเบิกความประกอบหนังสือนั้น ให้ส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวแล้วแก่คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวันก่อ นวันเบิกความ
ในสหรัฐอเมริการ เขาว่าเพื่อป้องกันแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแผนกต่างๆสุมหัวกันช่วยแพทย์ หรือสุมหัวกันไม่เบิกความเป็นพยาน ก็ให้เอาแพทย์ธรรมดาก็ได้ ถ้าแพทย์ธรรมดาไม่มีก็เอาตำราก็ได้  
แต่ทั้งหมด ดุลย์พินิจศาลสำคัญที่สุด เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจะรับฟังอะไรก็ได้ตามสมควร
ในบางกรณี ถ้ามันชัดเจนมาก คนฟ้องไม่ต้องอ้างก็ได้ แต่คนถูกฟ้องต้องดิ้นรนให้ตัวเองหลุด เช่น การลืมผ้าก็อส ลืมตะไกรไว้ในท้อง การตัดขาผิดข้าง การผ่าตัดผิดคน หลักการนี้เขามีภาษละตินใช้พูดกัน RES IPSA LOQUITUR  
ผมเคยเจอคดีที่ต่อสู้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรงเรียนแพทย์ระดับศาสตราจารย์ที่ มาเบิกความว่าแผลผ่าตัดเต้านมนั้นดีแล้วสวยแล้วผ่าตัดได้มาตรฐานแล้ว แต่ศาลท่านเขียนคำพิพากษาว่า ความเสียหายเป็นชัดเป็นที่ประจักษ์ แสดงให้เห็นว่าความเสียหายนั้นไม่ต้องใช้แพทย์อธิบาย ศาลท่านเองในฐานะประชาชนธรรมดาท่านก็เห็นชัดเป็นที่ประจักษ์ ส่วนความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอีกสองท่าน นั้น ศาลท่านไม่รับฟัง  
การอ้างผู้เชี่ยวชาญนั้น ใครอยากได้ก็อ้างเอา หาเอามาศาล แต่ถ้าหาไม่ได้จะขอศาลให้หาให้จากรายชื่อที่ขึ้นทะเบียนไว้ที่ศาลก็ได้  
โดย: jjxyz พอรู้บ้าง  
จากคุณ: palwin โพสเมื่อวันที่: 01/18/08 เวลา 22:41:57
เป็นหมอนี่ลำบากจัง
เวลาเจ็บเจ็บคนเดียว
เมื่อไหร่ไม่รู้หวยจะออกที่เรา
จากคุณ: BOZZ_GUZA โพสเมื่อวันที่: 01/20/08 เวลา 10:57:15
อ.ประเวศ ครับ
 
มรรคมีองค์ 8 คือวิถีพ้นทุกข์ ทางสู่นิพพาน อันเป็นสิ่งสูงสุดที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติฉันใด
 
สิ่งดีเลิศที่ท่านนำเสนอมา ก็ฉันนั้น
 
2551 ปีผ่านมา มีอริยะบุคคลสำเร็จสู่นิพพานเท่าไหร่กัน
 
ของดีๆ สังคมยุคนี้เขาเอาขึ้นหิ้งไว้ขอหวยกันครับ อย่าหวังจะเอาไปปฏิบัติ
 
จะหวังอะไรกับชาวบ้าน
 
แม้แต่รัฐ ยังปล่อยให้มีการขายเหล้า ขายบุหรี่
 
ยังมีกองยาสูบ มีกรมสรรพสามิตร
 
จะเอาเรื่องเบาหวาน ไข้เลือดออก ไปคุยกับชาวบ้านเหรอ เขาไม่ฟังหรอก
 
มันต้องคอนเสิร์ทศิลปินหน้าตาดี
 
ละครทีวี เกมส์โชว์ลุ้นเงินรางวัล
 
นี่สิ  สิ่งที่สังคมนี้ส่งเสริม และต้องการ
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 01/26/08 เวลา 19:39:51

อย่างที่เคยบอก ....  
 
 
ตอนนี้ เกมเปลี่ยน กติกา ก็เปลี่ยนไปแล้ว  แต่หมอ เรา ยังเล่นเกม ยึดกติกา เก่า อยู่อีก ... เล่นยังไง ก็แพ้ ...  
 
ดังนั้น หมอ ถ้าไม่อยากแพ้ ก็ต้องเปลี่ยนวิธีเล่น  ให้ตรงกับ กติกาใหม่ ...

 
 
ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงแล้วครับ ...  Lips Sealed
 
จากคุณ: noisy โพสเมื่อวันที่: 01/26/08 เวลา 22:12:22
on 01/26/08 เวลา 19:39:51, หมอหมู wrote:

อย่างที่เคยบอก ....  
 
 
ตอนนี้ เกมเปลี่ยน กติกา ก็เปลี่ยนไปแล้ว  แต่หมอ เรา ยังเล่นเกม ยึดกติกา เก่า อยู่อีก ... เล่นยังไง ก็แพ้ ...  
 
ดังนั้น หมอ ถ้าไม่อยากแพ้ ก็ต้องเปลี่ยนวิธีเล่น  ให้ตรงกับ กติกาใหม่ ...

 
อะไรคือเกมส์อะไรคือกติกาหรือครับแล้วเราจะเปลี่ยนวิธีเล่น
ยังไงครับช่วยขยายความให้เข้าใจหน่อยครับ
ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงแล้วครับ ...  Lips Sealed
 

จากคุณ: Sareochrist โพสเมื่อวันที่: 02/03/08 เวลา 03:12:55
    นับว่าวงการแพทย์วิกฤตเพราะ ผู้มีอำนาจขาดคุณธรรมอย่างยิ่ง  
   
  สิ่งที่ขาด คือ หลักพรหมวิหาร 4 อันเป็นคุณธรรมของผู้ใหญ่ที่ปกครอง  
  -เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาดีต่อลูกน้องที่ตั้งใจทำงาน ความปราถนาให้ลูกน้องมีความสุข ให้สภาพความเป็นอยู่ดีกว่าเดิม  
  -กรุณา มีความเอ็นดู สงสาร เห็นใจ พยายามเข้าใจและใส่ใจที่จะช่วยลูกน้องที่ขยันทำงาน แก้ปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเป็นงานในหน้าที่หรือเรื่องส่วนตัว ไม่ยอมให้เดือดร้อนมากกว่านี้  
  -มุทิตา ความยินดีเมื่อลูกน้องประสบความสุข ความสำเร็จ ไม่คิดอิจฉาริษยา ยิ่งกว่านั้นยังพยายามส่งเสริมลูกน้องให้ประสบความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป อีก ยกย่องลูกน้องเมื่อทำความดี  
  -อุเบกขา ให้ความเป็นธรรมแก่ลูกน้องทุกคน โดยปราศจากอคติใดๆทั้งสิ้น อันได้แก่ ความลำเอียงเพราะ รัก เคือง โง่ กลัว  
 
 องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดหน้าที่ให้เป็นอริยวินัยของผู้ที่เป็ นหัวหน้าที่พึงปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา 5 ประการ ตามหลักทิศ 6  
 
หน้าที่รับผิดชอบ ของ นายจ้าง หัวหน้า ผู้ใหญ่ในกระทรวง คือ
1) สามารถจัดการงานให้สมควรแก่กำลัง หมายความว่ามอบหมายงานให้แก่ลูกน้อง ลูกจ้าง ให้เหมาะสมกับกำลังตามวัยและเพศ ตลอดจนความถนัด ความรู้ ความสามารถ ปริมาณงานที่เหมาะสม ไม่หนักหรือเบาเกินไป
2) ให้อาหารและรางวัล หมายความว่านายจ้างหรือเจ้านายต้องมีความเมตตา กรุณาต่อลูกจ้างเสมือนหนึ่งลูกของตน โดยให้ค่าจ้างแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีการขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัสตามความเหมาะสม  
3) ดูแลรักษายามเจ็บป่วย หมายถึงอนุญาตให้ลาพักงานโดยไม่หักค่าจ้างแรงงาน ให้ความสนใจ ไถ่ถามข่าวความเจ็บไข้ได้ป่วย รวมถึงการเยี่ยมเยียนลูกน้องที่ทำงานในที่กันดาร ห่างไกลความเจริญด้วยความเมตตากรุณา
4) แจกของแปลกๆพิเศษให้กิน ในที่นี้หมายถึงจัดให้มีงานเลี้ยงฉลองในวาระโอกาสพิเศษแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกจ้าง ด้วยอาหารรสเลิศพิเศษ เพื่อแสดงความมีน้ำใจและเมตตาของผู้บังคับบัญชา
5) ให้หยุดตามโอกาส หมายถึงให้หยุดงานตามวันหยุดประจำและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตลอดจนวันสำคัญของชาติและศาสนา หากมีงานในวันหยุดดังกล่าวก็ควรเพิ่มค่าแรงค่าจ้างให้เป็นกรณีพิเศษ
          ที่มา สิงคาลกสูตร อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต มก.
 
   ผู้บริหารแทบจะทุกระดับ ไร้คุณธรรม เหล่านี้มากๆ แค่หน้าที่ข้อแรกพวกในกระทรวงก็สอบตกกันหมดแล้วเพราะปล่อยให้ลูกน้องทำงานหน ักเป็นวัวเป็นควาย ตัวเองก็ไปรับหน้ากับประชาชน เมื่อมีเรื่องเดือดร้อน ก็ปัดความรับผิด รับแต่ชอบ กล่าวโทษผู้ปฏิบัติ ไม่เคยแม้แต่จะถามไถ่สารทุกข์สุกดิบลูกน้อง เอาหน้ากับนักการเมืองและประชาชน ขาดเมตตากรุณาต่อลูกน้อง  
   สังเวยความผิดของลูกน้องเพื่อ ลาภ ยศ สรรเสริญ ของตัวเอง  
   ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทุกระดับ ทำงานเหน็ดเหนื่อยมาก เพื่อสังเวยโครงการเอาหน้าประชาชน เคยยกย่อง ชื่นชม ให้ขวัญกำลังใจ พวกเขากันบ้างรึไม่ ขาดมุทิตาจิต  
  พอมีเรื่องขัดผลประโยชน์แทนที่จะวางอุเบกขากลับล้วงลูก จนวงการวุ่นวาย เป็นที่อับอายขายหน้าภาคประชาชนเป็นอย่างยิ่ง การไม่กล้าเปลี่ยนแปลงโครงการสุขภาพที่มีอยู่เพราะกลัวสูญเสียอำนาจของตนก็เ ป็นการลำเอียงเพราะกลัว (ภยาคติ) เหมือนกัน
  ไม่รู้จิตใจทำด้วยอะไร ใจดำอำมหิตมาก
จากคุณ: pumpu โพสเมื่อวันที่: 02/03/08 เวลา 11:28:24
เป็นหมอรักษาคนไข้ มีโอกาสติดคุก
 
เป็นหมอไม่รักษาคนไข้ ไม่ ติดคุก  
 
น่าจะจับให้โดนลงโทษซะบ้างพวกที่เป็นหมอแล้วไม่รักษาคนไข้
 
แล้วยังจะให้คนอื่น ทำอย่างนี้อย่างนู้นอีก
 Grin Grin Grin
จากคุณ: doctoryoke โพสเมื่อวันที่: 02/06/08 เวลา 11:31:58
เข้าความคิดของอาจารย์คับ แต่ยุคสมัยมันเปลี่ยนจากสิ่งที่อาจารย์เคยทำงาน คือหมอทุกคนทำงานดูแลคนไข้เหมือนเดิม แต่ผู้ป่วยไม่เหมือนเดิม ไม่รู้เรื่องการแพทย์แต่อวดเหมือนรู้ คิดว่าตัวเองต้องได้ตามต้องการเสมอคับ
จากคุณ: pongthwo โพสเมื่อวันที่: 02/08/08 เวลา 21:20:45
ผมคิดว่าอาจารย์ประเวศ ท่านเขียนเป็นกลางๆนะครับ เพราะเขียนให้คนทุกคนในสังคมอ่าน ไม่ได้เขียนให้แพทย์อ่าน ดังนั้นจึงไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าแพทย์ควรทำอย่างไร  เราไปเอาบทความของท่านมาแปะไว้จึงไม่ควรจะไปจาบจ้วงท่าน ไม่เห็นด้วย ไม่เป็นไรครับ ขอให้มองโลกอย่างเป็นกลาง แบบที่โลกเป็น
จากคุณ: KILLLER โพสเมื่อวันที่: 02/25/08 เวลา 23:33:57
นี่ไปฟังไอ้เบื้อกนี่ได้ไงเนี่ย ..Huh งงมากเลย Huh
 
หมอนี่มันไม่ได้ผ่านการเรียนการสอน การฝึก ระบบเดียวกับหมอยุคปัจจุบันด้วยซ้ำ
 
มันหมอตกรุ่น แล้วยังเสนอหน้ามาให้ความเห็นอะไรอีก
 
หมอการเมือง ได้ชื่อว่าเป็นหมอ ก็เอามาเป็นเครดิตสร้างปัญหาให้กับชาติบ้านเมือง
 
วุ่นวายกันไปหมดเพราะหมอนี่แหละ
 
เลิกนับถือมันกันได้แล้ว ทุเรศ
จากคุณ: แม่น้ำยมโลก โพสเมื่อวันที่: 02/26/08 เวลา 12:11:03
ทางที่จะพอบรรเทาวิกฤตินี้อีกทางคือการเจรจาไกล่เกลี่ยก่อนเกิดการฟ้องร้องข ึ้นซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขตั้งศูนย์สันติวิธีสาธารณสุขเพื่อเจรจาไกล่ เกลี่ยปัญหาทางสาธารณสุขและมีการอบรมผู้เจรจาไกล่เกลี่ยหลายรุ่นแล้วครับ หากมีการตั้งศูนย์ในทุกโรงพยาบาลก็อาจช่วยลดปัญหาที่จะบานปลายได้เยอะ เพราะทุกวันนี้จริงๆมีอีกหลายคดีที่พวกเราไม่ทราบเพราะจบลงที่ขั้นตอนเจรจาไ กล่เกลี่ยก่อนที่จะเกิดเป็นเรื่องขึ้นครับสนใจลองไปดูที่นี่ได้ครับ http://www.moph.go.th/ops/cphc/
จากคุณ: nyx โพสเมื่อวันที่: 02/29/08 เวลา 20:02:34
ผู้ป่วยเปลี่ยนไปแล้วจริงๆ
จากคุณ: SuGaRbAbY โพสเมื่อวันที่: 08/20/08 เวลา 00:08:35
คนอื่นให้ความเห็นที่เป็นกลางแต่ความเห็นที่46นี่จาบจ้วงมากจริงๆ


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by