หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   ICU : Interesting Creative Usergroup
   Post reply ( Re: สถิติคดีที่แพทยสภาดำเนินการ ตค.49 - กย.50 ล้อมวงมาฟังได้ครับ.. )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: 716:16 โพสเมื่อวันที่: 10/28/07 เวลา 00:04:48
สถิติ 50 แพทยสภา จาก ตค.2549-กย.2550
1.คดีใหม่  --เข้าสู่การพิจารณา ทั้งจากร้องเรียนตรง และ แพทยสภาเก็บจาก web และหนังสือพิมพ์ และ ไทยคลินิก  รวม 173 เรื่องผ่านอนุกรรมการบริหาร
 
2.กรรมการ จริยธรรม  16 ชุด ประชุม 154 ครั้ง ผ่านคดี 1182 คดี
ในรอบ 12 เดือน ใช้กรรมการ เข้าประชุม ชุดละ 6 คน รวม 924 คน*ครั้ง
เฉลี่ยประชุมครั้งละ 7.68 คดี เพื่อแยกมูลความผิดทางจริยธรรม 10 กว่าหัวข้อ
 
พิจารณาเสร็จ 163 คดี  
 
เหลือคดีในระหว่างกระบวนการ 561 คดี
(เป็นขั้นตอนรอข้อมูลจากราชวิทยาลัย จากคู่กรณี ที่นัดทั้ง 2ฝ่าย จากกองโรคศิลป์ จาก อย. และอื่นๆ
 
กรรมการ 16ชุด ประชุมโดยปกติ เดือนละ 1ครั้ง ต่อชุด
กรรมการเป็นอาจารย์  6*16= 96 ท่าน บางส่วนเป็นกรรมการแพทยสภา
ส่วนใหญ่เป็นกรรมการจากราชวิทยาลัยต่างๆ
(เพราะแพทยสภาไม่มีองค์ความรู้ด้านวิชาการเพียงพอการตัดสิน
ต้องใช้ข้อมูลจากราชวิทยาลัย ล่าสุดที่ทันสมัยถูกต้องอ้างอิงได้ครับ)
 
3.เรื่องเข้าอนุสอบสวนเพื่อลงโทษ ทั้ตั้งขึ้น 9 ชุดๆละ6คน เป็น 54 รายชื่อ
การประชุม 61 ครั้ง ผ่านตัดสินคดี 238 คดี เฉลี่ย 3.9 คดี ต่อครั้ง
ใช้อาจารย์เข้าประชุม 366 คน*ครั้ง เข้ามาที่แพทยสภา
 
คดีสำเร็จ 85 คดี  
เหลือคดีค้างในระบบ 36 คดี  
 
4.คณะกรรมการกลั่นกรองจริยธรรม ที่มี ทนาย ผู้พิพากษา อัยการ (คนนอก) ร่วมพิจารณา ผ่านคดี จาก 1 และ 2 จำนวน 246 คดี จากการประชุม 12 ครั้ง
ครั้งละ 20คน รวม กรรมการ 240คน*ครั้ง
 
5.เรื่องเข้ากรรมการใหญ่ทุกเดือน 12ครั้ง แต่ละครั้งใช้กรรมการ 46 ท่านตัดสิน รวมใช้หมอ 552 คน*ครั้ง  
 
ผ่านคดี 246 คดี  
(เทียบกับคดีเข้าใหม่ 173 คดี ขจัดคดีเก่าได้ 73 คดี และกำลังปรับระบบให้เร็วขึ้นอีก )
 
6.การลงโทษในรอบปี85ราย
ยกข้อกล่าวโทษ 32 ราย  
ตักเตือน (เป็นความผิดลงฐานข้อมูลชื่อ) 33 คน
ภาคทัณฑ์ 1 ราย  
พักใช้ใบประกอบ 2 ราย
เพิกถอนใบประกอบ 2 ราย
ส่งทบทวนโทษใหม่ 15 ราย
 
7.เห็นว่าการประชุม เยอะมากครับรวมทุกคณะ 239 ครั้ง (1ปีมี 365วัน)
ใช้อาจารย์ ร่วมประชุม 2082 คน ผ่านคดี รวม 2085 คดี  
คดีหนึ่งเฉลี่ยต้องผ่านกระบวนการพิจารณา อย่างน้อย 4 ครั้ง (ขั้นตอนตาม พรบ.)
และช้าขึ้นเนื่องจากมีศาลปกครองต้องแจ้งเจ้าตัว เจ้าทุกข์ ผู้ร้อง ผู้ถูกร้องรับทราบ ทั้งทางหลักฐาน ไปรษณีย์ (รอ ลงทะเบียนตอบกลับ)
แม้ว่าจะพัฒนาขั้นตอนประสานราชวิทยาลัย เร็วขึ้นก็ตาม ยังช้าไป  
นโยบายแพทยสภาต้องเร็วกว่านี้อีก และต้องยุติธรรมด้วย
 
8.ขั้นตอนช้ามักเป็นรายการที่กฏหมายระบุให้ขอความเห็นคนนอก และรายการที่เกิดคดีอาญาโรงพัก  
ศาลรับฟ้องยิ่งต้องชลอ รอผลศาลกำกับ ยิ่งช้าขึ้นไปอีก มิเช่นนั้นการสรุปอาจเกิดการขัดแย้ง
 
9.ศาลอื่นๆ เช่น ศาลขั้นต้น อุทรณ์ ฎีกามาดูงานแล้วบอกว่าของเราละเอียดเช่นเดียวกับศาล
แต่ เร็วกว่ากระบวนการของศาลยุติธรรมมาก  
ท่านที่เคยมีคดีจะทราบดี นัดกันครึ่งปี กว่าจะได้เริ่มไต่สวน กว่าจะจบหลายปี  
เช่นคุณนพดล คดีห้างทองเป็นต้น ของเราเร็วกว่า แต่ไม่ทันใจ เพราะต้องชี้มูลทั้ง 2 ฝ่ายจะให้สั่งผิดถูกเลยแบบทันใจผู้ชม  ก็โดนฟ้องศาลปกครองได้  
มีอยู่หลายคดี ขนาดรอบคอบโดยอาจารย์ชั้นครู (จากราชวิทยาลัย)
ยังต้องแก้ที่ศาลปกครองอยู่ แม้ว่าจะถูกตอนท้าย แต่กลับเสียเวลาหนักขึ้นไปอีกครับ  
 
10 คดี ไม่มีมูลนั้นมิได้แปลว่าผู้ร้องไม่เสียหาย  
ความเป็นจริงอาจเสียหายไปมากถึงแก่ชีวิตก็มี  
หากแต่เป็นจากตัวโรค หรือโดยข้อมูลปกติของโรค เช่นเป็นมะเร็ง ก็อาจต้องตาย เป็นโรคหัวใจท้ายสุด แม้ว่าหมอจะยื้อยุดได้ ก็ต้องตาย  
หากแต่ตอนหลังมาผิดน้ำใจกันด้วยคำพูดจึงมาฟ้องร้องกันด้วยเหตุ ไม่รู้ข้อเท็จจริงทางการแพทย์  
พอทราบ และเข้าใจ โดยอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ใหญ่ หรือคนไข้ที่คล้ายๆตนเอง ก็จะเข้าใจภายหลังว่าไม่มีมูล ทางจริยธรรมที่ผิด 1ใน 10ข้อ การแพทย์  
แต่แพทย์ต้องรักษาคำพูดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย หลายรายมาด้วยความมั่นใจว่าตนเองไม่ผิด ทำตามตำรา
แพทย์รู้ แต่คนไข้เขาไม่เข้าใจหรอกครับ ต้องคุยให้เข้าใจมิฉะนั้นก็เป็นคดีมาทุกครัง กว่าจะเข้าใจกันได้ เสียเวลาทั้ 2 ฝ่าย แม้แพทย์รักษาแพทย์ด้วยกัน ก็ยังต้องเสียชีวิตเป็นธรรมดาโลกครับ
 
จุดอ่อนทางแพทยสภาคือทำงานแล้วไม่ประชาสัมพันธ์ให้แพทย์ทราบ ต่อไปคงต้องแก้ไขครับ
 
ส่วนใครโดนพักโดนยึดใบต่างๆ ไม่อาจประจานชื่อได้เป็นการละเมิดสิทธิ์ครับ
หากไม่มีข้อจำกัด คงจะลงweb ให้แล้ว
 
เช่นหมอเกิ้นถูกพักใช้ใบอนุญาต เป็นเวลา 6 เดือน ฐานผิดจริยธรรมข้อ หักอกพยาบาล...อันนี้ล้อเล่นครับ..ขืนประกาศแย่เลยครับ
 
หมอที่มีคนถามถึงนั้น สรุปว่าผิดครับ พักใช้ใบประกอบ
 
เอ แต่หมอบางคนพักใช้ทำไม คลินิกบางคนยังเปิดได้ ..อ้าว อันนี้เรื่องกองโรคศิลป์ครับ พอเราพักใช้ปุ๊บ แจ้งโรคศิลป์ ถอนใบอนุญาตปั๊บ  
เขาก็ไปหาหมอใหม่มาลงแทน เป็นผู้ดำเนินการคลินิก แบบว่า ตนเองไม่เป็นต่อ แต่ใช้ชื่อเดิม คนก็งง ว่าทำไมไม่ปิด ร้านไปเลย..
 
ผมว่าจะลองถามผอ.กอง โรคศิลป์ครับ ว่าแบบนี้ควรเปลี่ยนชื่อร้านเลยไหม  
เปิดชื่อเดิมคนก็มาด่าแพทย์สภาว่าไม่ทำอะไร ที่ไหนได้เปลี่ยนชื่อไปแล้วครับ..
 
อันนี้ต้องเช็คข้อเท็จจริงก่อนครับ หากไม่ขออนุญาต ก็ต้องแจ้งกระทรวงสาธารณสุขจับเลยครับ..
 
..จบ part1.

จากคุณ: palm โพสเมื่อวันที่: 10/28/07 เวลา 07:21:28
ขอบคุณครับ...
 
ขอเป็นกำลังใจให้ กรรมการ แพทยสภาทุกท่านด้วยครับ
 
จากคุณ: anantom โพสเมื่อวันที่: 10/28/07 เวลา 09:07:27
ขอบคุณครับ Grin Grin Grin
จากคุณ: Doctor Zhivago โพสเมื่อวันที่: 10/28/07 เวลา 10:28:44
on 10/28/07 เวลา 00:04:48, 716:16 wrote:
สถิติ 50 แพทยสภา
6.การลงโทษในรอบปี85ราย
ยกข้อกล่าวโทษ 32 ราย  
ตักเตือน (เป็นความผิดลงฐานข้อมูลชื่อ) 33 คน
ภาคทัณฑ์1ราย  
พักใช้ใบประกอบ 2 ราย
เพิกถอนใบประกอบ 2 ราย


 
พอจะแจงรายละเอียดได้บ้างไหมครับพี่ อยากให้น้อง ๆ ทราบไว้เป็นวิทยาทานว่าอะไรที่ทำได้ ทำไม่ได้ครับ  
 
ขอบคุณครับ
จากคุณ: bigbird โพสเมื่อวันที่: 10/28/07 เวลา 11:29:06
Huh ราย อ.แพทย์รามาเขียนรายงานโรคเป็นเท็จ  โกหกนับครั้งไม่ถ้วน ผู้ร้องมีทั้งบันทึกแพทย์ บันทึกพยาบาล บันทึกเสียงตะลบตะแลงในห้องตรวจประกอบข้อกล่าวหา ทุกช็อต  ส่งให้แพทยสภาผู้ทรงเกียรติ ทำไมถึงยกข้อกล่าวหาละ ท่าน เหอเหอ
จากคุณ: หมอ shit โพสเมื่อวันที่: 10/28/07 เวลา 11:58:34
หน้าที่หลักก็มากแล้ว ยังต้องมาพิจารณาคดีที่ต้องหาเรื่องเครียดๆใส่ตัวอีก ไม่ว่ายังไงต้องมีฝ่ายนึงเสียหายอยู่แล้ว เห็นใจและเอาใจช่วยครับ
จากคุณ: MK Resident devil 2(@_@') โพสเมื่อวันที่: 10/28/07 เวลา 12:35:37
ล้อมวงมาฟังครับ และขอขอบคุณที่ทำงานเพื่อพวกเราและชี้แจงความกระจ่างแก่สังคมครับ
จากคุณ: โจรน้อย Eagle คุง ^.^ โพสเมื่อวันที่: 10/28/07 เวลา 12:40:23
Quote:
เช่นหมอเกิ้นถูกพักใช้ใบอนุญาต เป็นเวลา 6 เดือน ฐานผิดจริยธรรมข้อ หักอกพยาบาล...อันนี้ล้อเล่นครับ..ขืนประกาศแย่เลยครับ

 
 Shockedขอบคุณที่นึกถึงครับ พี่  Shocked
 
 
 Grin Grin Grin Grin Grin
จากคุณ: 716:16 โพสเมื่อวันที่: 10/28/07 เวลา 12:42:42
on 10/28/07 เวลา 11:29:06, bigbird wrote:
Huh ราย อ.แพทย์รามาเขียนรายงานโรคเป็นเท็จ  โกหกนับครั้งไม่ถ้วน ผู้ร้องมีทั้งบันทึกแพทย์ บันทึกพยาบาล บันทึกเสียงตะลบตะแลงในห้องตรวจประกอบข้อกล่าวหา ทุกช็อต  ส่งให้แพทยสภาผู้ทรงเกียรติ ทำไมถึงยกข้อกล่าวหาละ ท่าน เหอเหอ

 
น่าสนใจครับ รบกวนขอรายละเอียดไหมครับ pm มาก็ได้ครับถ้าเป็นจริงไม่น่ารอดตามข้อกล่าวหา ต้องดูว่าเกิดจากอะไร??ขอบคุณครับ
จากคุณ: hill โพสเมื่อวันที่: 10/28/07 เวลา 13:20:57
เป็นกำลังใจให้แพทยสภาค่ะ
จากคุณ: เกียดเป๋ง โพสเมื่อวันที่: 10/28/07 เวลา 17:17:11
ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ครับ Smiley
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 10/28/07 เวลา 18:19:25

อืม .. งานหนัก จริงๆ  เลยนะครับ ...   Shocked
 
 
เป็นกำลังใจ ให้ละกันนะครับ พี่ ... ฝากของคุณอาจารย์ทุกท่านด้วยนะครับ ..   Smiley
 
 
ผมก็จะปฏิบัติหน้าที่ดี ๆ ระมัดระวัง จะได้ไม่เพิ่มภาระให้อาจารย์นะครับ   Roll Eyes
จากคุณ: gerrusy โพสเมื่อวันที่: 10/28/07 เวลา 21:17:19
เหนื่อยแฮะเน๊อะ  Angry
จากคุณ: pom_Sx โพสเมื่อวันที่: 10/29/07 เวลา 13:38:29
แต่รายชื่อที่ถูกถอดถอนใบประกอบโรคศิลป์ น่าจะประกาศได้นี่นา
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 10/29/07 เวลา 16:28:30
คนนอกที่ไม่ได้เป็นแพทย์เขามองว่า แพทยสภาไม่ลงโทษแพทย์ จึงอยากเข้ามาเป็นกรรมการแพทยสภาเพื่อจะได้มา "ตัดสิน" ลงโทษแพทย์
 แต่เราได้บอกว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การจะแก้ปัญหาไม่ให้มีการฟ้องร้องมากๆนั้น ต้องแก้โดยการ "ป้องกัน" ไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการรักษา โดยต้องบริหารจัดการให้แพทย์และพยาบาลมีผู้ป่วยที่ต้องดูแลไม่มากจนเกิน กำลังที่จะดูแลได้ เช่นหมอไม่ควรตรวจคนไข้เกินชั่วโมงละ10 คน พยาบาลไม่ควรมีภาระดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยเกิน 10 เตียงต่อพยาบาล 1 คน ซึ่งสามารถทำได้โดยการ "ปฏิรูประบบบริการทางการแพทย์ใหม่"
 
อจ.อัมมาร์ สยามวาลา จึงถามว่า หมอที่ถูกฟ้องนั้นมีสัดส่วนระหว่างแพทย์เอกชนและหมอในโครงการ 30 บาทเท่าไร ซึ่งแพทยสภายังไม่มีตัวเลขตรงนี้ แต่ได้ตอบไปว่า มีจำนวนแพทย์ราชการถูกฟ้องร้องหรือร้องเรียนมากกว่า 80%
 
 อจ. 716' ควรให้เจ้าหน้าที่แพทยสภาหาตัวเลขมายืนยันเรื่องนี้ด้วย
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 10/30/07 เวลา 08:20:37
การประกาศรายชื่อผู้ถูกลงโทษเป็นทางการนั้น น่าจะเข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน เปรียบเทียบกับการที่ศาลตัดสินลงโทษประหารชีวิตนายก. ศาลก็ไม่ได้ประกาศให้สาธารณชนทั่วไปทราบ ว่าได้ตัดสินประหารชีวิตนายก.แล้ว อาจจะมีออกมาเป็นข่าวทางสื่อสารมวลชน(เช่นหนังสือพิมพ์ วิทยูฯ) เท่านั้น
 ฉะนั้นถ้าแพทยสภาตัดสินลงโทษแพทย์คนใด ก็ไม่ใช่หน้าที่ที่แพทยสภาจะเอามาประกาศให้สาธารณชนทราบ แต่ไม่ได้ถือเป็นความลับ ใครอยากทราบก็สามารถสอบถามได้
 
  เมื่อก่อนนั้น เมื่อแพทยสภาตัดสินลงโทษแพทย์แล้ว ก็จะนำลงตีพิมพ์ในแพทยสภาสาร ต่อมาได้มีการทักท้วงว่าเป็นการไม่เหมาะสมและ/หรือละเมิดสิทธิ์และ/หรือประจ านผู้ถูกลงโทษ จึงได้ยุติการนำไปประกาศในหนังสือ แต่ผู้ร้องเรียนหรือคู่กรณี และตัวแพทย์เองจะได้รับทราบการตัดสินนี้
จากคุณ: littlerock โพสเมื่อวันที่: 10/30/07 เวลา 11:18:04
ขอบคุณ และให้กำลังใจครับ..
จากคุณ: 716:16 โพสเมื่อวันที่: 10/30/07 เวลา 11:34:21

ข่าวจากแพทยสภา 30 ตค. 2550
 
        ศ.(คลินิก) น.พ.อำนาจ   กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา แถลงว่า เมื่อวันที่ 26 ต.ค.50   ผู้แทนแพทยสภา ซึ่งประกอบด้วย นายกแพทยสภา อุปนายกแพทยสภา   เลขาธิการแพทยสภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ทุกคณะ เจ้ากรมแพทย์ทหารบก เรือ อากาศ นายแพทย์ใหญ่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตัวแทนสภาวิชาชีพ ทางสาธารณสุขและภาคีสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ   รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย  จำนวน 48 ท่าน เข้าพบท่านประธาน และคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สนช.  เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง  
 
 สืบเนื่องจากได้มีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เสนอร่างพระราชบัญญัติวิช าชีพ เวชกรรม(ฉบับที่....)พ.ศ. ...เข้าสู่สภาฯเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2550 โดยผู้เสนอร่างได้ถอนร่างนั้นออกไปจากวาระหลังจากได้รับฟังข้อเท็จจริงว่าร่ างดังกล่าวมีเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญต่อองค์กรหลักของแพทย์ สูงสุด แต่ยังมิได้มีการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการแพทย์และสาธารณสุขมาก่อน  รวมถึงอาจมี ปัญหาและผลกระทบของวงการแพทย์และประชาชนอย่างมาก ท่านจึงขอถอนร่างนี้ออกจากวาระ  แต่ยังเป็นที่ไม่เข้าใจของสมาชิกจำนวนหนึ่ง และอาจมีการเสนอเข้าพิจารณาใหม่นั้น
 
 ทางคณะผู้แทนแพทย์ทั่วประเทศจึงได้ขอเข้าชี้แจงชี้แจงข้อเท็จจริงและผลกระทบ ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับที่ดังกล่าว ในแง่มุมสำคัญ พิเศษ เฉพาะตัวของสภาวิชาชีพแพทย์ที่ ทำหน้าที่ทั้งสภาการศึกษา พัฒนาวงการแพทย์ และ สร้างบุคลากรทั้งผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ดูแลรักษา ส่งปฏิบัติงาน  และร่วมจัดการกระจายการใช้งานแพทย์ ในภาครัฐ และเอกชน ต่อประชาชน การติดตามมาตรฐาน ทั้งในและต่างประเทศ ผ่านราชวิทยาลัย 13 แห่ง และกระทรวงสาธารณสุข จนถึงกลไกการควบคุมจริยธรรม  และได้เสนอ แผนงาน ปัญหา  แนวทางการแก้ไขผลกระทบต่างๆ ของสังคม รวมถึงด้านความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้รับบริการ   ซึ่งเป็นประเด็นในปัจจุบัน  
 
    ร่าง พรบ...นี้หากเร่งรีบ และมิได้ศึกษารายละเอียดให้ลึกซึ้งในเนื้อหาภารกิจที่หลากหลายครอบคลุม แตกต่างจากวิชาชีพอื่น และสภาแพทย์ในบางประเทศที่คุมจริยธรรมอย่างเดียว  เพราะเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้งาน และยังเป็นผู้ดูแลสุขภาพโดยรวมของประเทศ มิใช่เพียงดูแลเฉพาะด้านกรณีคดีจริยธรรม เท่านั้น การแก้ปัญหาโดยปรับองค์กรเกินกว่าส่วนที่จำเป็น โดยเฉพาะโครงสร้างหลักขององค์กรหลักในการดูแลแพทย์ทั้งประเทศ โดยไม่ผ่านการศึกษาปัญหาผลกระทบจากผู้ปฏิบัติก่อน (เนื่องจาก สนช.ที่ขอแก้ไข พรบ.นี้ 27 ท่าน ไม่มีท่านใดเป็นแพทย์เลย ) ย่อมก่อให้เกิด ปัญหาและผลกระทบในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมต่อทั้งประชาชนและแพทย์ทั่วประเทศ เป็นอย่างมากได้  
 
    เมื่อพิจารณาถึงผลการดำเนินงานของแพทยสภาในรอบ 1ปี( 1ต.ค 49 -30 กย .50)ที่ผ่าน พบว่า แพทย์ที่ดูแลปฏิบัติงานจริง ประมาณ 31,000 จาก 36,000 คน(อายุ>65ปี 3500คน  อยู่ต่างประเทศ 400 คนและเสียชีวิต 1,200 คน)  เป็นแพทย์ที่ทำงานในภาครัฐ 21,500 คน(2/3) และเอกชน(ทั้งที่เป็นแพทย์ และประกอบอาชีพอื่นรวมกัน)  9,500 คน(1/3) โดยในภาครัฐ 2/3นี้ อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข 11,500คน โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย 4,000 คน แพทย์ทหารและตำรวจ 2,000 คน และอยู่ระหว่างเรียนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยของรัฐ 3,830 คน ในหลักสูตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง 71 สาขา (2550) ภายใต้การกำกับดูแลของแพทยสภา  ทั้งนี้มีนักเรียนแพทย์ที่อยู่ระหว่างการผลิต (ปี1-ปี6) อีก 7,863 คน จาก 16 คณะแพทยศาสตร์  ที่จะออกมารับใช้ประชาช นในด้านสุขภาพองค์รวมของประเทศ
 
  ด้านการให้บริการทางการแพทย์ ขณะนี้มีการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกกว่า 180 ล้านครั้งต่อปี สำหรับประชาชน60ล้านคน ผ่านระบบ สปสช.หรือ 30บาททุกโรค เดิม 120 ล้านครั้ง ที่เหลือเป็นระบบราชการ ประกันสังคม และเอกชน เฉลี่ยวันละ กว่า 5แสนครั้งทั่วประเทศ ย่อมเป็นภาระงานที่สูงมากต่อแพทย์ และเกิดความเสี่ยงมากขึ้น ในการรับผิดชอบชีวิตประชากรอย่างเต็มความรู้ความสามารถ ทั้งนี้แพทย์ส่วนใหญ่ยังดำรงจริยธรรม รักษาพยาบาลผู้ป่วย ด้วยศรัทธาธรรมที่ดี โดยเฉพาะในต่างจังหวัด และโรงพยาบาลชุมชนที่ต้องรับผิดชอบผู้ป่วยวันละ 60-200 คนต่อแพทย์ 1คน โดยต้องทำงานเฉลี่ยถึง 94 ชม.ต่อสัปดาห์ (งานปกติ 40ชม.ต่อสัปดาห์) ด้วยผลตอบแทนระบบราชการ หมื่นกว่าบาทต่อเดือน แพทยสภาพยายามดูแลแพทย์กลุ่มรัฐ นี้ให้ดีที่สุดเพื่อให้เป็นรากฐานในบริการต่อประชาชน และพยายามขจัดแพทย์ที่ทุรเวช หรือผิดจริยธรรมให้เร็วที่สุดตามกระบวนกฎหมายที่ให้ขอบเจตอำนาจในปัจจุบัน
 
  งานด้านจริยธรรม เพื่อคุ้มครองวิชาชีพ และประชาชนในรอบ ตค.49-กย.50 มีการประชุม อนุกรรมการจริยธรรม 154 ครั้ง  อนุกรรมการสอบสวน 61 ครั้ง    มีการประชุมกลั่นกรองและประชุมใหญ่ 24 ครั้ง   รวมทั้งสิ้น 239 ครั้ง  มีเรื่องที่พิจารณาเสร็จแล้ว 246 เรื่อง แบ่งเป็น จริยธรรม 163  เรื่อง และสอบสวนแล้วเสร็จ 85 รายสรุปผล มีการลงโทษจำนวน 38 ราย  การเพิกถอนใบอนุญาตฯ  2 ราย พักใช้ใบอนุญาตฯจำนวน 2 ราย ภาคทัณฑ์จำนวน 1 ราย ว่ากล่าวตักเตือนจำนวน 33 ราย ยกข้อกล่าวโทษ จำนวน 32 ราย และส่งกลับทบทวน 15 ราย  มีเรื่องร้องเรียนรับใหม่ทั้งจากมีผู้ร้อง และจากแพทย์สภาตรวจสอบเอาผิดแพทย์เอง จำนวน 173 ราย (ลดลงกว่าปี2549 มี249 คดีก่อน) เมื่อเทียบสัดส่วนกับจำนวนให้บริการประชาชนต่อปี คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.000096 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับเหนือกว่ามาตรฐาน  
 
 ขณะนี้มีเรื่องระหว่างดำเนินการในระบบชั้นจริยธรรม 561 ราย อยู่ในชั้นสอบสวน 36  ราย  แต่ละรายต้องประชุมตามขั้นตอนกฎหมาย อย่างน้อย 4 ครั้ง ใช้คณะกรรมการผู้ทรางคุณวุฒิ ร่วมตัดสิน ทุกชุดขั้นต่ำรวม 78 ท่าน(4ครั้ง) ร่วมออกความเห็น  ส่วนองค์ความรู้แต่ละคดีนั้น แพทยสภาต้องอาศัย ราชวิทยาลัยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 13 แห่ง โดยส่งคดีขอความเห็น ให้ราชวิทยาลัยจัดประชุมกรณีนั้นๆ ทุกราย ในแต่ละเดือน และในบางรายต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 1 สาขา เพื่อพิสูจน์ถูกผิด ดังนั้น กระบวนการพิจารณาคดี ของแพทยสภาที่เป็นองค์กรกลางต้องอาศัยความรู้จากราชวิทยาลัย เป็นหลัก ในด้านวิทยาการใหม่ๆที่มีมาอย่างรวดเร็ว  รวมทั้งการมีกฎหมายปกครองใหม่ที่บังคับ ให้ กระบวนต่างๆต้องมีการสอบทานยืนยันทั้งผู้ร้องและผู้ถูกร้องทุกขั้นตอน ทำให้ระบบต้องล่าช้าเพิ่มขึ้นอีก  ซึ่งหากแพทยสภาด่วนตัดสินไม่ปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ที่คุ้มครองประชาชนข้อนี้ ย่อมเป็นเหตุให้ถูกฟ้องร้องไม่เป็นธรรมต่อศาลปกครองได้  
 
     ปัจจุบันมาตรฐานทุกคดีที่ร้องเรียนมายังแพทยสภา จะต้องผ่านการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิที่มิใช่แพทย์ใน คณะกรรมการกลั่นกรอง 3 ท่าน ประกอบด้วยอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา  อัยการระดับสูงและเลขาธิการสภาทนายความ ในขั้นตอนกลั่นกรองจริยธรรม และขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอกรรมการเพิ่มเติมในกระบวนการยุติธรรมได้แก่ ผู้แทนจากกระทรวงยุติธรรม   สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ส.ค.บ.)  และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อสร้างความเป็นธรรมและโปร่งใสยิ่งขึ้น ให้กับ ทุกฝ่ายทั้งผู้ร้องและผู้ถูกร้อง  
 
     เรื่องความล่าช้าและการปรับปรุงลดระยะเวลาในการพิจารณาคดีนั้น ขณะนี้ได้มีการปรับวิธีดำเนินการเพื่อให้ รวดเร็วขึ้น โดยการร่วมมือจากราชวิทยาลัยแพทย์ รวมถึงและนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเช่นเดียวกับการดำเนินงานของศาลยุติธรรม เข้ามาใช้แทนระบบเอกสารของเดิม  
รวมถึงปรับปรุงระบบสื่อสารของผู้ร้องเรียน ผู้ถูกร้องเรียน และการประสานงานต่อเนื่องเป็นระยะให้ทราบถึงขั้นตอนคดีต่างๆ จะเห็นได้ว่าคดีร้องเรียนใหม่ๆในปัจจุบันมักไม่เกิดปัญหาในสื่อมวลชน หากแต่ที่กล่าวถึงมักเป็นคดีเดิมๆในอดีตที่ผ่านมาหลายปี และมีหมวดเกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน หลายผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงอยู่บนศาลยุติธรรมทำให้การดำเนินงานแบบปกติไม่สามารถทำได้โดยเร็ว ต้องรอขั้นตอนศาล และอื่นๆ เป็นหลัก ทั้งนี้แพทยสภา ในวาระปัจจุบัน ก็ยังคงเห็นเป็นความสำคัญระดับต้นๆ ที่จะต้องพัฒนาให้เร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรมยิ่งขึ้นไปอีก โดยอยู่ระหว่างดำเนินการหลายโครงงานพร้อมกัน
 
 เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ในปี2551 ที่จะถึงนี้ แพทยสภาได้กำหนดให้เป็น "ปีแห่งจริยธรรมเทิดไท้องค์ราชันย์"   เพื่อต่อยอดในระบบคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ แล้วในหลายมหาวิทยาลัย เพื่อก่อให้เกิดวาระจริยธรรมในทุกระดับชั้นของการให้บริการทาง การแพทย์ของประเทศโดยรายละเอียดจะเสนอให้ทราบในวาระต่อไป  
 
 ทั้งนี้จะเห็นได้ว่านอกจากภารกิจดูแลแพทย์ และสร้างแพทย์เพื่อประชาชน แล้ว แพทยสภายังมีภาระงานรอบด้านท่ามกลางวิกฤติการหลายอย่างในปัจจุบัน เพื่อธำรงแพทย์ ที่ดีโดยเฉพาะ 21,500 คนในระบบรัฐให้มีขวัญ กำลังใจในการปฏิบัติงาน และพร้อมขจัดแพทย์ที่ไร้จริยธรรมออกจากระบบ และมองหาปัญหาเชิงรุกเพื่อแก้ไขให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม ต่อประชาชน และ ในช่วง 7 เดือนที่แพทยสภาชุดนี้ที่ดำเนินงาน ได้ลงสู่รายละเอียด ปัญหา จุดอ่อนของระบบ มองมิติที่เข้าใจประชาชน และพยายามตอบสนองระบบให้เกิดความสมดุล กับทั้งแพทย์ และประชาชน บนบรรทัดฐานของการให้บริการสาธารณสุขถ้วนหน้า  ตามความต้องการของประเทศ เพื่อรับใช้ประชาชนอย่างเต็มความสามารถด้วยคุณธรรมและจริยธรรม โดยต้องรักษาสัมพันธภาพอันงดงามระหว่างแพทย์ และผู้ป่วยไว้ให้ยั่งยืนสืบไป  
จากคุณ: Dr.Tum โพสเมื่อวันที่: 10/30/07 เวลา 15:18:37
Winkเอาใจช่วยครับ Wink
จากคุณ: parinyaMD25 โพสเมื่อวันที่: 10/30/07 เวลา 16:00:33
ดีครับ
ประชาสัมพันธ์บ่อยๆ เขาจะได้รู้ว่าแพทยสภากำลังทำอะไรอยู่
จากคุณ: newny_law3107 โพสเมื่อวันที่: 10/30/07 เวลา 23:27:24
ส่งกำลังใจมาให้เจ๊า    Wink Wink Wink
จากคุณ: kimhwaung โพสเมื่อวันที่: 11/02/07 เวลา 13:09:44
Smiley Smiley ขอบคุณครับ...เป็นกำลังใจห้ครับ
จากคุณ: BenCasey โพสเมื่อวันที่: 11/07/07 เวลา 14:59:09
ขอบคุณครับ
 
 
 Grin Grin Grin
 
 
 
อิอิอิ  เผื่อคนอื่นจะได้คิดว่าเราเป็นกรรมการ  แฮะๆ ๆ  
 
 แค่ช่วยคลายเครียดนะครับ
 
ขอเป็นกำลังใจครับ
จากคุณ: Echo โพสเมื่อวันที่: 11/08/07 เวลา 09:18:18
Cheesy
จากคุณ: 777ER โพสเมื่อวันที่: 11/09/07 เวลา 14:22:31
well done
จากคุณ: exthailand โพสเมื่อวันที่: 11/10/07 เวลา 11:49:20
on 10/29/07 เวลา 16:28:30, cmu06 wrote:
คนนอกที่ไม่ได้เป็นแพทย์เขามองว่า แพทยสภาไม่ลงโทษแพทย์ จึงอยากเข้ามาเป็นกรรมการแพทยสภาเพื่อจะได้มา "ตัดสิน" ลงโทษแพทย์
 แต่เราได้บอกว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การจะแก้ปัญหาไม่ให้มีการฟ้องร้องมากๆนั้น ต้องแก้โดยการ "ป้องกัน" ไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการรักษา โดยต้องบริหารจัดการให้แพทย์และพยาบาลมีผู้ป่วยที่ต้องดูแลไม่มากจนเกิน กำลังที่จะดูแลได้ เช่นหมอไม่ควรตรวจคนไข้เกินชั่วโมงละ10 คน พยาบาลไม่ควรมีภาระดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยเกิน 10 เตียงต่อพยาบาล 1 คน ซึ่งสามารถทำได้โดยการ "ปฏิรูประบบบริการทางการแพทย์ใหม่"
 
อจ.อัมมาร์ สยามวาลา จึงถามว่า หมอที่ถูกฟ้องนั้นมีสัดส่วนระหว่างแพทย์เอกชนและหมอในโครงการ 30 บาทเท่าไร ซึ่งแพทยสภายังไม่มีตัวเลขตรงนี้ แต่ได้ตอบไปว่า มีจำนวนแพทย์ราชการถูกฟ้องร้องหรือร้องเรียนมากกว่า 80%
 
 อจ. 716' ควรให้เจ้าหน้าที่แพทยสภาหาตัวเลขมายืนยันเรื่องนี้ด้วย

 
อยากถามเป็นความรู้ว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างในยุโรป ภาระงานของแพทย์ เป็นอย่างไร ตรวจคนไข้ชั่วโมงละกี่คน
 
มีใครพอจะรู้มั้ยครับ..ถามเป็นความรู้
จากคุณ: cumulonimbus โพสเมื่อวันที่: 11/21/07 เวลา 18:21:12
Grin  Grin  Grin
จากคุณ: KeiL โพสเมื่อวันที่: 12/01/07 เวลา 12:59:19
ขอชม และเป็นกำลังใจให้ครับ
จากคุณ: punch โพสเมื่อวันที่: 12/06/07 เวลา 14:28:20
ทำงานหนักจริงๆนะคะ ให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่ายด้วยนะคะ จะเป็นกำลังใจให้ค่ะ
จากคุณ: ไข่เขียว โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 21:27:07
คนไข้ ผมตกใจมากที่มารพ แล้วได้ทำ EKG ทันที
 
เค้าบอกว่าที่ อังกฤษ  การรอทำ  investigation ต่างๆ  รอนานมาก
 
บางคนรอเป็นเดือนๆ บางอย่างเป็นปีๆ
 
ผมไม่ได้ถามแค่คนสองคนนะ   ถามทุกคนบอกตรงกันหมด
 
ปล   ประมาณ 80% คนไข้ ผมเป็นคนต่างชาติครับ
จากคุณ: pumpu โพสเมื่อวันที่: 12/17/07 เวลา 10:46:38
จุดอ่อนทางแพทยสภาคือทำงานแล้วไม่ประชาสัมพันธ์ให้แพทย์ทราบ  
 
ถ้ามีคำตัดสินแล้วไม่ประกาศ จะดีหรือ ประชาชนก็ไม่รู้  
คนเรามีดีเลว การศึกษาอาจช่วยได้บ้าง
แต่พวกเราเป็นหมอ คนที่ประชาชนเขาไว้ใจฝากชีวิตกับท่าน
เขาจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณดีพอที่เขาจะไว้ใจได้ หรือเคยทิ้งคนไข้ไปประชุม
เห็นใครทำอะไรไม่ดี ไม่ได้มาตรฐาน มีการรักษาที่มีปัญหาบ่อย ทำผิดศีลธรรม  
ไม่ดำรงค์ไว้ซึ่งเกียรติของความเป็น อย่างนิ่งเฉย  
เราต้องช่วยกัน เอาคนไม่ดีออกไป
 
ประชาชนจะได้ไม่รู้สึกว่าเราปกป้องกันเอง ประชาชนจะได้รู้ว่าคนที่รักษาเขาเป็นอย่างไร
ถ้าญาติคุณไปรับการรักษากับหมอที่ไม่ดีมา
แล้วเกิดปัญหาเช่นเดียวกับกรณีความผิดเดิม
 คุณจะรู้สึกอย่างไร  คุณตัดสินใจเอง
 
คนที่ได้รับความวางใจจากแพทย์และประชาชน จะห่วงกลัวว่าคนทำผิดจะมาฟ้องร้องได้อย่างไร
ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้หมอขาด เพราะลดคนเลว
ส่งเสริมให้คนดีทำงาน เอาเงินเดือนของพวกไม่ทำงาน
มาให้คนทำงานจริงจังดีก่า หมอจะได้ไม่ลาออก
 Roll Eyes
จากคุณ: talerngkiat โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 00:33:23
ผมจบโท ด้านวิศวะ ครับ  
   
  ดูข่าวสารแล้ว เห็นใจทั้งแพทย์ และคนไข้ และ ผมก็เข้าใจว่า บ้านเมืองเราทุกวันนี้ ความคิด จิตใจ ของคนในสังคมเปลี่ยนไปในทางที่ต่ำลง เสื่อมทรามลงไป  
   
เป็นสังคมที่มีแต่รูป ไร้ นาม คือ มีแต่ตัวรูปร่าง ขาดจิตวิญญาณ  
เสพสุข กับอำนาจของกิเลส คือ โลภ โกรธ และ หลงไหลในสิ่งที่ชอบ  
มีความลำเอียง (อคติ) เพราะ รัก เพราะ ไม่รู้ เพราะ กลัว และ เพราะ โกรธ  
   
ตนไข้เมื่อไม่ได้ดั่งใจ ก็ ฟ้อง เกิดความขัดแย้งขึ้น ทำให้ ทัศนคติ เพี้ยนไป    
ทั้ง ผู้ให้บริการ (หมอ) และ ผู้รับบริการ (คนไข้)    
   
เมื่อผู้รับบริการ มีเครือข่าย เอ็นจีโอ เครือข่าย ที่ปกป้อง  
   
ทำไม หมอ ไม่มีเครือข่ายปกป้องบ้างครับ    
   
ผมขอเป็นผู้เริ่มนะครับ  
   
ตั้งชื่อว่า "เครือข่ายปกป้องแพทย์"  
   
โดย บริจาค คนละนิดละหน่อย เอาไว้สร้างทีมทนาย ที่มีความรู้ด้านแพทย์  
และ หรือ ส่งแพทย์ ไปเรียนกฎหมาย เพื่อ ปกป้องตนเอง  
   
ทำระบบสาระสนเทศ แบบง่ายๆให้กับหมอ เช่น  
   
ก่อนแอดมิด มีการบันทึกวีดีโอ และ มีพยาน ทุกครั้ง    
   
ยกตัวอย่าง...เช่นกรณีนี้ ถึงที่สุดแล้ว ถ้าหมอไม่ผิด  
ก็ต้องอาศัย "เครือข่ายปกป้องแพทย์" ฟ้องต่อศาลปกครอง  
   
กับเครือข่ายอื่นๆ ที่ทำให้เกิด ทัศนะคติ เชิงลบ กับนักเรียนแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์  ต่อสังคมโดยรวม เกิดการ ส่งผ่าน คนไข้ ที่มีอัตราการ ตายมาก กว่า 5 เปอร์เซ็นต์  เพราะ ไม่มีหมอกล้าผ่า โยนไปที่อื่นอย่างเดียว  
   
อย่างนี้เครือข่าย อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรณี นี้ ต้องรับด้วย โดยยื่นที่ศาลปกครอง  
   
ผมจะช่วย บริจาค ให้กับ "เครือข่ายปกป้องแพทย์"  
เป็นคนแรกครับ  
   
คุณหมอ หรือ ท่านใด จะเข้าร่วม กับเครือข่าย  
ขอความเห็นจากคุณหมอทั่วประเทศ และจาก ผู้มีคุณธรรม  
แนะนำแสดงความเห็น ในการที่ จะริเริ่มก่อตั้งเครืองข่าย ปกป้องแพทย์ มาที่  
   
   
doctor_protection@windowslive.com  
   
นะครับ  
จากคุณ: banana_number9 โพสเมื่อวันที่: 01/06/08 เวลา 14:27:56
Smiley
เอาใจช่วยนะคะ


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by