หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   ICU : Interesting Creative Usergroup
   Post reply ( Re: ::ขอความเห็น::อยากให้แพทยสภาดำเนินการอะไรบ้างในกรณีคดีอาญาที่เกิดข )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: 716:16 โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 15:08:17
ข้อความนี้พิมพ์แจกกรรมการแพทยสภา และ ท่านสสจ.รวมถึงท่านปลัด สธ. คณบดี ทุกคณะไปแล้วครับ 20แผ่นพอดี.14 ธค.2550.

 
ขอความเห็นเป็นทางการครับลงในกระทู้นี้
เพื่อรวบรวมเสนอกรรมการแพทยสภา 46 ท่าน*ในการประชุมวันที่ 13 ธค.2550นี้ ครับ
 
ขอแบบเป็นได้จริงและเหตุผลประกอบ ผู้สนับสนุนให้ลงชื่อด้านล่างต่อว่าสนับสนุนความเห็นใดครับ ปิดรับ 12 ธค.50เวลา 12.00 น.ครับเพื่อไปสรุปพิมพ์รายงาน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในกระทู้ดังนี้..
หัวข้อ 15446: ::อุทาหรณ์:: บทเรียนของวงการแพทย์ จากไส้ติ่งถึงห้องคุมขังนักโทษอาญา.  (จำนวนคนอ่าน 1162 ครั้ง)  
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1196962217
 
และ
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1197100173


*กรรมการแพทยสภา หมายถึง คณบดี16ท่าน เจ้ากรมแพทย์ทหาร ตำรวจ ปลัดกระทรวง และตัวแทนกระทรวงสาธารณสุข 7 ท่าน ผู้แทนจากการเลือกตั้ง 23 ท่าน

จากคุณ: jeaะ โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 15:26:14
อยากให้มีระบบที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือตั้งแต่แรกๆที่เกิดเรื่องราวขึ้น
ประสานงานดำเนินการเพื่อให้ความช่วยเหลือจากหลายๆฝ่ายมากขึ้น  
แจ้งความคืบหน้าของเรื่องราวเป็นระยะ เพื่อเป็นเรื่องราวที่ให้ได้ศึกษากัน
 
 ปล.เห็นด้วยกับแถลงการณ์ของแพทยสภาว่า ทำได้เหมาะสมกับสังคมและสถานการณ์แล้ว  
จากคุณ: 'HANNIBAL' is  Rising โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 15:27:30

 
1. ขอเรียกร้องกฏหมายคุ้มครองแพทย์ที่ประกอบอาชีพโดยสุจริตต่อคนไข้ค่ะ ไม่ครอบคลุมพวกดูดไขมัน  พวกเอายาแปลกๆมาเพิ่มตังค์ในกระเป๋า คุ้มครองเฉพาะแพทย์ที่ รักษาอาการเจ็บป่วยเท่านั้น
 
 
2. ขอเรียกร้องให้ปรับมาตรฐาน GIS ใหม่คะ เพราะ 1 : 10000 คนก็จริง แต่ปัจจุบัน จำนวนการมา OPD เพิ่มขึ้น โรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น   หากคนนึงต้องเป็นผู้อำนวยการ  แพทย์ อีกสองคนที่เหลือ ก็อ่วมกันหมดค่ะ
 
 
จากคุณ: anantom โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 15:34:42
ความเห็นที่ 2
หากคนนึงต้องเป็นผู้อำนวยการ  แพทย์ อีกสองคนที่เหลือ ก็อ่วมกันหมดค่ะ  
 
ถ้ามีผอก ที่เห็นแก่ตัว ก็ตัวใครตัวมันแล้วครับ
สมัยก่อน ผอก และแพทย์เท่ากันหมด ต้องอยู่เวรและช่วยกันตรวจผป คนหนึ่งตรวจ คนหนึ่งผ่า ผลัดกัน ความสามัคคีก็เกิด ปัจจุบันกินแรงน้อง อ้างทำบริหารอย่างเดียว น่าจ้าง mba มาเป็น ผอก ดีไหม ห้ามแพทย์เป็น ผอก เพราะมันเห็นแก่ตัว จะได้เอาผอก รอง ผอก มาเป็นหมอช่วยตรวจเพิ่มทันทีไม่น้อยกว่า 1000 คน Grin Grin Grin
จากคุณ: se7en โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 15:36:31
1.ความผิดพลาด ในขณะปฎิบัติหน้าที่รับผิดชอบ
ควรถือเป็นความผิดพลาด ขององค์กร หรือ ของทีมงาน
 
2.ควรต่อรองให้ ..
การพิจารณาคดี ใช้พื้นฐานต่างไปจากคดีอาญาทั่วไป
เพราะ environments ต่างกันมากมาย
 
 Grin
จากคุณ: se7en โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 15:45:33
ครู วิศวะ ตำรวจ ..  
มีวิชาชีพระดับอาชีวะ ระดับช่าง  ระดับชั้นประทวน รองรับ
 
แพทย์อาจจะต้องปรับเปลี่ยน โครงสร้างหลักสูตร
ให้แพทย์ที่จบ พบ.ได้ต่อบอร์ดทุกคน
.. ทำงานเหมือน ชั้นสัญญาบัตร
เพิ่ม ระดับแพทย์ชั้นประทวน ชั้นอาชีวะ
..  หลักสูตนสั้นๆ เน้นบริการพื้นๆ  ผลิตได้จำนวนมากๆ
กระจายได้ทั่วถึง งบค่าจ้างเงินเดือน ประหยัดๆ   Wink
จากคุณ: parinyaMD25 โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 16:13:01
1.สนับสนุนการผลิตพยาบาลเวชปฏิบัติ  
2.limit จำนวนผู้ป่วย ต่อแพทย์ ต่อวัน ...ถ้าตรวจไม่หมดให้หามาตรการอื่นมารองรับ เช่น นัดวันต่อไป /พยาบาลช่วยตรวจ  
3.ยกเลิกการอยู่เวรดึกแล้วต้องมาทำงานตอนเช้าต่อ  
4.ฟันธงไปเลยว่า ต่อไปจะให้ รพช.รักษาอะไรได้บ้าง ผ่าตัดอะไรได้บ้าง จะได้ไม่มีปัญหาว่า รพช.โบ้ยcaseไปให้ รพท.
5.กรณีหัตถการฉุกเฉิน แพทย์สามารถทำได้ทุกอย่างและถ้าoutcomeไม่ดี ไม่ถือว่าแพทย์มีความผิด เช่น ทำคลอดติดไหล่แล้วเด็กตาย..(เพราะในตำราก็บอกว่าไม่มีอะไรทำนายการเกิดshoul der dystociaได้อย่างแม่นยำ)
จากคุณ: mr.leo โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 16:19:28

    - กฎหมายควรเป็นกฎหมายไม่ใช่กฎหมู่พวกมากลากไป
    
    - ควรมีกฎหมายคุ้มครองแพทย์ดีๆต่อการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ( และเห็น
 
ด้วยกับ คห.2คือไม่นับรวมพวกหมอดูดไขมันเด๊กอายุ 17 หรือหมอที่นำเข้ายา
 
แปลกๆมาใช้กะคนไข้ตัวเองนะครับ )
 
 ไม่ใช่ให้หมอรุ่นน้องเด็กๆไปเผชิญชีวิตเอาเองเมื่อเกิดคดีความฟ้องร้องอะไร  
 
ผู้ใหญ่ในกระทรวงไม่เห็นมีปัญญาช่วยอะไรสักอย่าง นอกจากกล่าวคำว่าสงสาร  
 
เห็นใจ Sad
 
     - ควรมีศาลแพทย์แยกออกมาต่างหากจากศาลอาญา หรือจะเป็นแผนกของ
 
ศาลที่พิจารณาเรื่องความผิดพลาด หรือบกพร่องทางการแพทย์โดยเฉพาะ ( จะ
 
เรียกชื่อว่าอะไรก็แล้วแต่ครับ ) เหมือนที่มีศาลแรงงาน ศาลภาษี ศาลอาญา
 
แผนกคดีนักการเมืองเป็นต้น
 
     ปล..กรณีนี้ก็คล้ายๆกับแพทย์เฉพาะทางอ่ะครับ เพราะหมอคนนึงคงไม่
 
สามารถ cover ปัญหาทุกจุดของคนไข้ได้ เรามีศัลยแพทย์ซึ่งชำนาญทางการผ่า
 
ตัด มีอายุรแพทย์ที่ชำนาญทางการรักษาด้วยยา...
 
            ดังนั้นระบบศาลก็ควรมีความเฉพาะเจาะจง หรือมีความชำนาญเฉพาะ
 
ด้านด้วย ไม่ใช่ศาลคนนึงพิจารณาคดีร้อยแปดฟันเก้า คดีแต่ละอย่างก็มีความ
 
หลากหลาย ผมไม่เชือ่ว่าผู้พิพากษาที่นั่งอยู่บนบัลลังก์วันๆแทบจะไม่ได้เจอโลก
 
ภายนอก หรือคนสายอาชีพอื่นเลยอ่ะจะตรัสรู้เรื่องนั้นนี้ไปหมดหรอก ต้องยอมรับ
 
ความจริงว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกมันก็มีผลกะการตัดสินอ่ะ  
 
           แต่อย่าเข้าใจผิดนะครับ การเสนอจุดนี้ขึ้นมานั้นไม่ใช่การให้อภิสิทธิ์แก่
 
แพทย์แต่อย่างใด ทุกคนมีสิทธิ์เท่าๆกันตามรัฐธรรมนูญ...ถ้าคดีทางการแพทย์ที่
 
พบว่าแพทย์ทำผิดจริงก็ต้องลงวโทษอย่างจริงจัง ไม่มีการรอมชอม เพื่อไม่ให้ปลา
 
เน่าทำร้ายปลาดี
 
          แต่จุดประสงค์ที่เสนอตรงจุดนี้ก็เพื่อ ให้กระบวนการยุติธรรมซึ่งประกอบ
 
ไปด้วย ศาล อัยการ ทนาย ตำรวจนั้น ต้องมีความละเอียดอ่อนและต้องมีความรู้
 
มากๆหน่อย ในการพิจารณาคดีทางการแพทย์ เพราะทุกวันนี้บอกได้เลยคน
 
เหล่านี้ ความรู้เรื่องแพทย์ๆ ด้อยมาก ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อ
 
กระบวนการยุติธรรมและ กระบวนการทางสาธารณสุข และสุดท้ายผลกรรมก็ตก
 
ไปอยู่แก่ประชาชนความบกพร่อง  
        
      - สุดท้าย เห็นด้วยกับความเห็นอื่นๆในนี้ครับGrin Grin
จากคุณ: ++BoyPsy++ โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 16:26:34
1. ปรับGISใหม่ครับ ให้ใช้อัตราการเข้ารับบริการแทนจำนวนประชากรในพื้นที่ครับ เพราะบางจังหวัดมีขนาดเล็กมีคนในพื้นที่น้อง แต่บริการดี คนไข้พื้นที่อื่นก็แห่กันมา ทำให้แพทย์ดูแลไม่ไหว และก็ขอให้ไม่นำผู้บริหาร ได้แก่ผอ. หรือบุคคลากรที่ไม่ได้ทำงานด้านการตรวจรักษามารวมในจำนวนแพทย์ในรพ.นั้นๆ
 
2. กำหนดหัตถการและอุปกรณ์+บุคคลากรที่จำเป็นสำหรับทำหัตถการหรือการรักษาโรคนั ้นๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกรพ. เช่น ผ่าAppendectomy ต้องใช้หมอดมยา+พยาบาล+ศัลยแพทย์+ชุดอุปรณ์รวมถึงเวชภัณฑ์ที่ต้องมี จะได้ไม่มีความผิดโทษฐานอุปกรณ์ไม่พร้อมแล้วทำ หรือไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญแล้วทำอีก
 
3.กำหนดขอบเขตการทำงาน หน้าที่ หัตถการที่จำเป็นของGPใหม่ รวมทั้งกำหนดขอบเขตของการดูแลรักษาคนไข้ในรพช.ใหม่ ว่าโรคใดควรส่งต่อให้รพ.ระดับใหญ่กว่า โรคใดสามารถรักษาได้ในรพช. เพื่อที่จะไม่มีการเกี่ยงรับผู้ป่วยกันเกิดขึ้น
 
4.กำหนดชั่วโมงการทำงานของแพทย์ต่อเนื่องกันว่าควรมีกี่ชั่วโมง เพื่อลดHumen Error หากไม่ทำตามที่กำหนดหากผิดพลาดผู้บังคับบัญชาควรรับผิดชอบแทนเนื่องจากใช้งา นผู้ใต้บังคับบัญชาเกินขอบเขต แต่หากเกิดจากความโลภของแพทย์ผู้นั้นเองก็ลงโทษแพทย์ที่รับทำงานเกินขอบเขตผ ู้นั้น
 
ตอนนี้คิดออกแค่นี้อ่ะ Wink
จากคุณ: rama โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 16:26:55
ขอความเห็นศาลว่ามาตรฐานของวิชาชีพทนายความคืออะไร ทำไมขับรถชนคนตาย, เอาไม้ตีศรีษะภรรยาตายถึงตัดสินให้รอลงอาญา แต่คดีนี้กลับไม่รอลงอาญา มาตรฐานวิชาชีพอยู่ตรงใหน มีการตรวจสอบเป็นบรรทัดฐานเดียวกันหรือไม่
จากคุณ: Innominate โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 17:20:58
เกี่ยวกับเคสนี้
- วิเคราะห์ว่าทำไม แพทย์ซึ่งไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีวิธีพูดยังไงให้ศาลเห็นตรงข้ามกับวิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อีก 2 ท่าน
- สนับสนุนข้อมูลต่างๆ เช่นที่ พี่ 716:16 เอามาลงไว้ เพื่อการต่อสู้คดี  
 
สำหรับการป้องกันต่อไป  
- กำหนดมาตรฐาน หัตถการและโรคที่แพทย์ GP รักษาได้ใหม่ โดยกำหนดแบ่งลงไปด้วยว่า ต้องมีอุปกรณ์ใด หรือ เครื่องมือ lab อะไรบ้างในการตรวจรักษาโรค แล้วก่อนจบ ข้อสอบควรครอบคลุมสิ่งที่เป็นมาตรฐานของปีนั้นๆ เพราะจำได้ว่า หลังจบใหม่ๆ ใช้ความรู้ที่ได้มาช่วงสอบ comprehensive เยอะมาก  Smiley
จากคุณ: ^.^ Eagle คุง ^.^ โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 17:59:52
Angry เลิกเอาน้องใหม่ออกไปเสี่ยงครับ  Angry
 
เอาพวกมีประสบการณืในกระทรวงออกมาสักครึ่งนึง มาแบ่งเบาภาระน้องๆ  Cheesy
จากคุณ: katsung โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 18:20:41
กุญแจมันอยู่ที่ระบบ ถ้าหมอทำฟิดหมอก็รับไป แต่ถ้าระบบห่วยไม่ต้องมีคนรับผิดชอบเพราะคนที่เซตขึ้นมาเป็นระดับนักการเมือ ง ถ้าประกาศชัดเจนห้ามหมอขยันเกินทำงานเกินเวลา ถึงเวลาต้องออก แล้วผลัดคิวต่อไปเข้ามาแทน คนที่รออยู่ก็รอไปจะฟ้องหมอที่ไม่อยู่ไม่ได้เพราะหมดเวลาแล้วจะมีผลต่อการตั ดสินใจรักษา จะโทษผอ ไม่ได้พราะกำลังมีเท่านี้ จะโทษใครล่ะครับก็เป็นระบบที่มันไม่มีตัวตน
จากคุณ: Sama โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 19:13:17
ยิ่งอ่ายิ่งเศร้า
จากคุณ: R265 โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 19:17:56
เป็นไปได้ไหมที่จะจ้างบริษัทเอกชนมาทำประชาสัมพันธ์ให้วงการแพทย์  
 
ผมได้บอกให้โฆษณานะครับ
 
แค่บอกเล่าเก้าสิบให้ประชาชนคนทั่วไปเห็นบ้าง ว่าข้อเท็จจริงทางการแพทย์เป็นอย่างไร ในทุกด้าน ทำรายการทีวี เวปไซด์ หนังสือ ที่มันเข้าถึงประชาชนส่วนใหญ่ อย่าให้พวกไม่หวังดี ที่ไม่มีความรู้ เอาสื่อไปใช้โจมตีเราฝ่ายเดียวสิครับ
 
ปล. ไม่เอารายการวิชาการจ๋า... ที่ลุงป้าน้าอาเปิดเห็นแล้วเปลี่ยนช่องหนีนะครับ
จากคุณ: doctorNUKE โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 19:18:15
น้องหมอ คือแพะของระบบหรือเปล่าครับ
มุมมองของผมคืออย่างนี้จริงๆ
ต้องแก้ไขระบบ (ซึ่งกว้างมากตั้งแต่ สร้างหมอ กระจายหมอ เจตคติของหมอ เจตคติของคนไข้)
ตอนนี้ คลินิค แบบสาขาบางแห่งสามสี่ก้าวก็เจอ เปิดกันโครม โฆษณากันตรึม (ผมเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาชมรมวิทยุชุมชน) ชาวบ้านที่พูดคุย กันก็บอกว่า หมอเยอะนี่ หมอรวยนี่ เห็นคิดตังแพง ๆ มีเงินมีทองมากมาย สามสี่วันก็มีสาขาใหม่ ยิงสปอตทุกสถานีวิทยุ เห็นปาวๆ ทุ่มทุนหลายล้าน เครื่องมือสุดยอด เปิดตัวหรูหราในโรงแรม โอยฯลฯ (คลินิคที่ดี เปิดเพราะจำเป็นก็มีมากกว่ามากครับ ผมไม่ได้เหมารวม)
รพ.เอกชน โฆษณากันตรึม เปิดกันโครมๆ
เขาเห็นกันอย่างนั้นจริงๆครับผม ด้วยความเคารพ แล้วใครจะมาเห็นใจหมอ ที่ส่วนใหญ่ สภาพตรงข้ามกับแบบนั้นโดยสิ้นเชิง แต่ไม่มีปากมีเสียง (ขอโทษนะครับ ประชาสัมพันธ์ที่แบบว่า เข้าถึงจริงๆ น้อยกว่ามากๆเลย ผมยังไม่เคยเห็นสปอตของกระทรวง เอาง่ายๆ อยากได้มากเลย บทสัมภาษณ์ของแพทย์ผู้ใหญ่ อะไรประมาณนี้ เกี่ยวกับเรื่องราวหลายๆอย่าง สุขภาพ ความเข้าใจผิด ยา สเต็มเซลล์ คอลลาเจน รกแกะ ฯลฯ ทุกวันนี้ทำหน้าที่แก้ต่างให้โดยอ่านจากนสพ.รายวัน และความรู้จาก journalให้ครับ "ชาวบ้านเขาเห็นแต่เปลือกที่อวิชา" ถ้ามีของมีค่าส่งมาให้ผมเลยครับ) หมอส่วนใหญ่ที่ลำบากๆ ทรัพย์ไม่รับรับแต่กรรมอย่างเดียว เงียบ ไม่มีปากเสียง ผู้ใหญ่ก็ไม่มีปากส่งให้ ชาวบ้านไม่รู้ นึกว่า หมอเป็นแบบที่เขาเห็นไปหมด
ลงท้าย หมอที่เสี่ยงมากก็ลาออก ไปกองกันอยู่รพ.เอกชน ไปเปิดคลินิคความงามเอง กลายพันธ์ไปแบบที่คนไข้เห็นเอง (ช่วยไม่ได้ครับ คนเราต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดครับ)
เกิดเป็นวัฐจักร สร้างใหม่ เอาไปเป็นหนังหน้าไฟ ลาออก แล้วสร้างใหม่
 
ถ้าไม่แก้ตรงนี้ เราก็จะมีแพะคนที่ 3 ,4,5 มาอีกแน่นอน
1. มาตรการจัดการเรื่อง ทัศนคติของคนไข้ และของแพทย์ เจียดงบมาวิจัยและแก้ไขเลยครับมี pitfall แน่ๆ (ที่นี่คือแหล่งรวม อาจารย์เก่งๆมากหลายคน ทำไมถึงมองทางแก้ไม่ออกว่า ปฏิสัมพันธ์ของหมอกับคนไข้เปลี่ยนไปในระดับที่แย่มากแล้ว ไม่แก้ไม่ได้แล้ว uremia แล้ว สงสัยไม่มี parameter ที่ตรวจวัดจากในเลือดมั้ง หรือไม่ก็คงไม่ได้มาคลุกกับสภาพแบบนี้ )
2. เลิกเอาน้องๆมาเป็นหนังหน้าไฟ ถามว่าทำได้ไหม คงต้องปรับเปลี่ยนวิธีใช้ทุนนิด เอาผู้มีประสบการณ์หน่อย มาอยู่ชุมชน
ผมเห็นแค่นี้ตามสภาพ และสมองน้อยๆจะคิดได้  กะจะบอกว่าให้ยุบรพ.ชุมชนที่ fascility ไม่ถึง  ก็คงจะเป็นการรุนแรงไปสำหรับคนไข้ตาดำๆ ที่ไม่ทราบเรื่องอะไรด้วย
จากคุณ: anantom โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 19:36:27
ถ้ายังเอาเปรียบแพทย์จบใหม่ให้ไปเพิ่มพูนทักษะใน รพช แทนที่จะทำใน รพท/รพศ
แพทย์ทุกคนก็จะเป็นเหยื่อของระบบความเสื่อมทางการแพทย์ เอาแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญไปรักษาผู้ป่วยตาม รพช  เอาชีวิตผู้ป่วยมาเสี่ยง ความผิดพลาดย่อมเกิดได้ตลอดเวลา
ขอเรียกร้องให้แพทย์จบใหม่เพิ่มพูนทักษะใน รพท/ รพศ เท่านั้น
ห้ามส่งแพทย์ที่มีประสพการทำงานน้อยกว่า 3 ปี ไปอยู่ รพช ครับ
 Grin Grin
จากคุณ: glacier โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 20:17:25
ขอเสนอสิ่งที่คิดว่าทำได้จริงและช่วยแก้ไข
ข้อ1 เสนอห้ามรับฟ้องคดีความผิดพลาดทางการรักษาเป็นคดีอาญา ถ้าจะรับฟ้องได้ต้องได้รับการสอบสวนจากแพทย์สภาก่อนว่าแพทย์เจตตนาฆ่าคนตาย ไม่ได้เป็นผลจากการรักษา
ข้อ2 เห็นด้วยกับข้างต้นที่ให้มีการตั้งศาลแพทย์ต่างหากเหมือนพวกศาลแรงงาน ศาลปกครอง
ข้อ3 ผู้พิพากษาที่จะพิจารณาคดีแพทย์ได้ น่าจะมีการสอบ หรือ ได้รับใบอนุญาติ หรือ อะไรสักอย่าง ที่ต้องได้รับการอบรมความรู้ต่างหากเกี่ยวกับ
          การแพทย์ เช่นทุกโรคไม่ได้รักษาได้หมด ผลแทรกซ้อนสามารถเกิดขึ้นได้แม้ว่ารักษาเต็มที่แล้ว และ ไม่ได้ประมาท
            การทำงานของแพทย์ ต้องทำงานกี่ชั่วโมงต่อเนื่องกันไม่ได้พัก อย่เวรกี่วันต่อเนื่องกัน  
            การกระจายแพทย์ ความขาดแคลนแพทย์ในรพ ต่างจัวหวัด ไม่ใช่มาตราฐานโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพ
             ฯลฯ
ข้อ4 เห็นด้วยกับข้างต้นเรื่องการประชาสัมพันธ์ ควรจัดให้มีช่องทางประชาสัมพันธ์ของแพทย์ ที่สามารถสนับสนุนด้ยทุนรัฐบาลได้ และ ประชาชนทั่วไปอย่างตาสีตาสาสามารถเข้าถึงได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ที่เป็นรายการประจำ
             ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค  
              ความสามารถในการรักษาโรคในปัจจุบัน
              ผลแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นแม้ว่าทำเต็มที่แล้ว
              ความขาดแคลนแพทย์  
              เวลาการทำงานของแพทย์  
              เวลามีกรณีมีปัญหาดังที่เคยเกิดขึ้นหลายครั้ง เรายังสามารถใช้ประกาศข้อเท็จจริง โดยไม่ต้องไปนั่งเป็นเบี้ยให้เค้าไล่ทั้งๆที่เราไม่ผิด และยังให้เค้าสร้างภาพดูเหมือนว่าเราผิดอีกต่างหาก
ข้อ5 ควรจัดตั้งหน่วยงานช่วยเหลือเรื่องเกี่ยวกับคดี หรือการฟ้องร้อง หรือ กรณีมีปัญหาภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาที่ไสมารถเจรจากันได้โดยหน่วยงานนั้นๆ เช่น รพช รพท รพศ ฯลฯ เป็นคล้ายๆกับhot lineสำหรับแพทย์ เมื่อได้แจ้งเรื่องแล้วก็มีการติดตามช่วยเหลือแก้ไขเป็นรายๆไปตามที่ได้รับแ จ้ง
  ทำงานเป็นสองอย่างน่ะค่ะ คือรับแจ้ง ไกล่เกลี่ย ช่วยเหลือ กรณีที่ยังไม่เป็นความตามอำนาจที่มี และ ทำหน้าช่วยเหลือเกี่ยวกับเอกสารหรือขบวนการทางคดี กรณีฟ้องร้องแล้ว หรือจะแยกเป็นสองหน่วยงาน หรือ เป็นหน่วยงานรับเรื่องต่อก็ได้ แต่จะทำให้ล่าช้าได้ค่ะ
เท่าที่คิดได้ตอนนี้มีเท่านี้ค่ะ ถ้าคิดออกเพิ่มจะมาโพสอีกค่ะ
จากคุณ: e1vtm1 โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 20:26:28
on 12/08/07 เวลา 16:19:28, mr.leo wrote:

    - กฎหมายควรเป็นกฎหมายไม่ใช่กฎหมู่พวกมากลากไป
    
    - ควรมีกฎหมายคุ้มครองแพทย์ดีๆต่อการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ( และเห็น
 
ด้วยกับ คห.2คือไม่นับรวมพวกหมอดูดไขมันเด๊กอายุ 17 หรือหมอที่นำเข้ายา
 
แปลกๆมาใช้กะคนไข้ตัวเองนะครับ )
 
 ไม่ใช่ให้หมอรุ่นน้องเด็กๆไปเผชิญชีวิตเอาเองเมื่อเกิดคดีความฟ้องร้องอะไร  
 
ผู้ใหญ่ในกระทรวงไม่เห็นมีปัญญาช่วยอะไรสักอย่าง นอกจากกล่าวคำว่าสงสาร  
 
เห็นใจ Sad
 
     - ควรมีศาลแพทย์แยกออกมาต่างหากจากศาลอาญา หรือจะเป็นแผนกของ
 
ศาลที่พิจารณาเรื่องความผิดพลาด หรือบกพร่องทางการแพทย์โดยเฉพาะ ( จะ
 
เรียกชื่อว่าอะไรก็แล้วแต่ครับ ) เหมือนที่มีศาลแรงงาน ศาลภาษี ศาลอาญา
 
แผนกคดีนักการเมืองเป็นต้น
 
     ปล..กรณีนี้ก็คล้ายๆกับแพทย์เฉพาะทางอ่ะครับ เพราะหมอคนนึงคงไม่
 
สามารถ cover ปัญหาทุกจุดของคนไข้ได้ เรามีศัลยแพทย์ซึ่งชำนาญทางการผ่า
 
ตัด มีอายุรแพทย์ที่ชำนาญทางการรักษาด้วยยา...
 
            ดังนั้นระบบศาลก็ควรมีความเฉพาะเจาะจง หรือมีความชำนาญเฉพาะ
 
ด้านด้วย ไม่ใช่ศาลคนนึงพิจารณาคดีร้อยแปดฟันเก้า คดีแต่ละอย่างก็มีความ
 
หลากหลาย ผมไม่เชือ่ว่าผู้พิพากษาที่นั่งอยู่บนบัลลังก์วันๆแทบจะไม่ได้เจอโลก
 
ภายนอก หรือคนสายอาชีพอื่นเลยอ่ะจะตรัสรู้เรื่องนั้นนี้ไปหมดหรอก ต้องยอมรับ
 
ความจริงว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกมันก็มีผลกะการตัดสินอ่ะ  
 
           แต่อย่าเข้าใจผิดนะครับ การเสนอจุดนี้ขึ้นมานั้นไม่ใช่การให้อภิสิทธิ์แก่
 
แพทย์แต่อย่างใด ทุกคนมีสิทธิ์เท่าๆกันตามรัฐธรรมนูญ...ถ้าคดีทางการแพทย์ที่
 
พบว่าแพทย์ทำผิดจริงก็ต้องลงวโทษอย่างจริงจัง ไม่มีการรอมชอม เพื่อไม่ให้ปลา
 
เน่าทำร้ายปลาดี
 
          แต่จุดประสงค์ที่เสนอตรงจุดนี้ก็เพื่อ ให้กระบวนการยุติธรรมซึ่งประกอบ
 
ไปด้วย ศาล อัยการ ทนาย ตำรวจนั้น ต้องมีความละเอียดอ่อนและต้องมีความรู้
 
มากๆหน่อย ในการพิจารณาคดีทางการแพทย์ เพราะทุกวันนี้บอกได้เลยคน
 
เหล่านี้ ความรู้เรื่องแพทย์ๆ ด้อยมาก ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อ
 
กระบวนการยุติธรรมและ กระบวนการทางสาธารณสุข และสุดท้ายผลกรรมก็ตก
 
ไปอยู่แก่ประชาชนความบกพร่อง  
        
      - สุดท้าย เห็นด้วยกับความเห็นอื่นๆในนี้ครับGrin Grin

 
 
เห็นด้วยกับความเห็นนี้ที่สุดครับ  
จากคุณ: Frankenstein โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 20:52:22
แยกศาลแพทย์ต่างหาก
 
ผู้พิพากษาศาลแพทย์ต้องเป็นผู้จบแพทยศาสตร์บัณฑิตด้วย
 
ส่วนเรื่องเอาหมอในกระทรวงมาตรวจคนไข้นั้น
 
เลิกคิด !!
 
พวกนั้นทำเป็นแค่  ลากคันไถ !!!!!
จากคุณ: jubjeab โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 21:21:41
ความเห็นผมเหมือน คห 6  ครับ
 
และขอให้มีศาลทางการแพทย์ต่างหาก  ให้มีที่มาเหมือนกรณี ศาลดาโต๊ะใน4จว. หรือศาลเยาวชน ศาลเฉพาะการอื่นๆ  มีผู้พิพากษาและอัยการหรือทนายที่เกี่ยวข้องมีความรู้ทางการแพทย์บ้าง
จากคุณ: vodka-tonic โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 22:36:18
    1. limitation ของการทำงานค่ะ เช่น การตรวจคนไข้ จำนวนคนไข้ ต่อวัน
     2. การอยู่เวรต่อเดือน การอยู่เวรดึก
     3. กำหนดชั่วโมงการทำงาน ไม่ให้เหนื่อยจนเกินไป ทำให้ผิดพลาดได้ง่ายขึ้น
     4.กำหนดสิทธิของวิชาชีพแพทย์ สิทธิของหมอ ปัจจุบันไม่มี  Tongue Tongue Tongue
     5. ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ไม่ใช่การทำงานเยี่ยง ทาส แบบปัจจุบัน  
 6.  การไปอยู่ รพช. ของ intern ที่จบใหม่ หรือ น้องที่อยู่ ต้องมีที่ปรึกษา หรือ back up นั่นแหละ ไม่ใช่ว่า ผอ. ห่วย แล้วก็ เคว้ง จนต้องมาบ่นใน เวป
 7. ศาล จะต้องให้เกียรติ แก่พยาน ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่ ทำแบบ ตบหน้า ประธานราชวิทยาลัยวิสัญญีแบบนี้ ยอมได้เหรอ
จากคุณ: thun โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 22:57:25
เห็นด้วยกะ คห 7และ 15 ค่ะ

    -  ศาลแพทย์ ไม่ต้องเป็น พบ. ก็ได้ค่ะ
 เดี๋ยวมีปัญหาอีก ว่าเข้าข้างหมอด้วยกัน
 เป็น นบ. ที่ต้องสอบวัดความรู้ทางการแพทย์ผ่านเอาแค่เฉพาะด้านความรู้ก็เอาแค่   สอบ comprehensive ข้อสอบเดียวกะ นศพ. ผ่านก็พอ และให้ไปศึกษาระบบบริหารจัดการรพ.ด้วย
------------------------------------------------------------------------ -----------------------------------------
ประเด็นเรื่องการประชาสัมพันธ์..เห็นด้วย ค่ะ  
     -  พูดก่อนที่จะเกิด ดีกว่ามาพูดตามหลังสื่อไร้จรรยาบรรณ เพราะ คนก็ไม่ได้เรียกว่า นั่นคือ อธิบาย...  แต่เรียกว่า แก้ตัว
     -  ทำยังไงก็ได้ ให้รู้ว่าจริงๆแล้ว หมอส่วนใหญ่ทำงานหนัก  คนค้นคนreality อะไรก็แล้วแต่ จับสื่อมาใช้ให้เป็นประโยชน์
 
     - อย่างไรก็ตาม  ในหลายๆเคส  พูดก่อน อธิบายดีแล้ว  สื่อสารดีมากๆแล้ว แต่จะฟ้อง
แสดงให้เห็นว่า ---ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อแพทย์เนี่ย ดิ่งเหวอย่างที่คห 15 ว่าไว้
 
ไม่รู้ว่าควรจะใช้วิธีไหน แต่ต้องมีการจัดการเรื่องนี้อย่างด่วน
 
 
------------------------------------------------------------------------ ---------------------------------------------
จากคุณ: DOMINO โพสเมื่อวันที่: 12/08/07 เวลา 23:59:58
1.ปัญหาอยู่ที่ระบบสาธารณสุขที่เป็นร่มใหญ่ครอบคลุมการบริการการแพทย์
ถ้าไม่แก้ระบบใหญ่ให้มีประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงให้กับผู้ให้บริการเป ็นภาพรวมของประเทศแล้ว การแก้ปัญหาจะไม่รู้จบ เพราะผู้รับบริการต้องการการบริการทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงน้อยทีสุด ในขณะที่แพทย์ยังให้บริการโดยใช้ปริมาณเป็นหลัก ดังนั้นการให้บริการควรจำกัดจำนวน(แพทยสภาควรกำกับให้แพทย์ทำตามมาตรฐานโดยเ ร็ว)
2.กระทรวงสาธารณสุขควรต้องคิดใหม่ ในการให้บริการการแพทย์ที่ไม่จำกัดปริมาณซึ่งสวนทางกับคุณภาพและเป็นเหตุให้ เกิดความเสี่ยงกับผู้ให้บริการโดยไม่สอดคล้องกับความคาดหวังของประชาชนทั่วไ ป เพราะปัจจุบันผู้ให้บริการเป็นผู้รับความเสี่ยงไว้เองโดยไม่สามารถควบคุมคุณ ภาพการให้บริการไว้ได้(ที่เป็นอยู่การเกิดความเสี่ยงที่มีขึ้นเป็นความสามาร ถของแพทย์ไทยที่รับภาระงานที่มีปริมาณเกินขีดจำกัดได้โดยเกิดความผิดพลาดเมื ่อเทียบกับปริมาณงานแล้วยังพบว่าน้อยและอาจยังไม่ถึงจุดวิกฤติ ซึ่งเมื่อถึงจุดวิกฤติแล้วจะกลายเป็นคดีความ)
3.แพทย์ที่ยังยึดติดกับความคิดเก่าๆว่าทำดีที่สุดแล้วและเจตนาดีจะคุม้ครอง ที่จริงต้องใช้เวลากับผู้ป่วยแต่ละรายให้มาก บันทึกข้อมูลทั้งหมดเท่าที่มี ส่งตรวจวินิจฉัยโรคตามข้อบ่งชี้ ใช้เวลาพูดอธิบายและส่งต่อผู้ป่วยไปยังรพ.ที่มีศักยภาพมากกว่า ดังนั้นแพทย์จะต้องดูแลผู้ป่วยในจำนวนที่จำกัดและเมื่อเกิดปัญหา แพทย์จึงจะอ้างข้อยกเว้นว่างานหนักไม่ได้พราะกฎมายไม่รับฟังข้ออ้างนี้
4.สปสช.ควรออกแบบระบบที่ดีกว่าปัจจุบันที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้ง่า ยโดยไม่คำนึงถึงทรัพยากรที่มีจำกัดและเพิ่มความเสี่ยงให้บุคลากรการแพทย์โดย สปสช.ลอกแบบต่างประเทศมาใช้โดยไม่คำนึงถึงประวัติศาสตร์การพัฒนาระบบสาธารณส ุข ทรัพยากรสาธารณสุข การเงินการคลัง ระบบภาษี พื้นฐานการศึกษา วัฒนธรรมสังคม ความรู้ ระเบียบวินัยสังคม ความเชื่อ ระบบกฎหมาย ซึ่งทุกอย่างเกี่ยวพันกันเป็นใยแมงมุม แต่สปสช.ตัดตอนมาใช้ไม่ทั้งระบบจึงสร้างปัญหาให้กับระบบสาธารณสุขของประเทศ
5.ในฐานะที่เป็นแพทย์ ศักยภาพของแพทย์ที่จะทำได้ทุกเรื่องเพื่อผู้ป่วยโดยคิดแทนผู้ป่วยและญาติ เกรงว่าพวกเขาจะลำบาก ต้องเสียเวลาและค่าใช่จ่าย ความไม่สะดวกต่างๆ ในอดีตนั้น ขอเรียนว่าความคิดเช่นนี้เป็นประวัติศาสตร์ที่ควรแก่การจดจำเท่านั้น แพทย์ยุคใหม่ต้องคิดในแง่ของมาตรฐานการรักษาที่ดีที่สุดไว้เสมอ หากเห็นว่าเป็นโรคที่ไม่แน่ใจหรือเกินกำลังความสามารถ ควรส่งต่อไปยัง รพ.ที่มีศักยภาพสูงกว่า
 
สำหรับผม เห็นใจแพทย์รุน่ใหม่ ท่านยังมีประสบการณ์น้อยในสภาพของระบบที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานในวิชา ชีพที่ต้องการมาตรฐานการรักษา แต่ไม่มีมาตรฐานในการทำงานในแง่ของปริมาณผู้ป่วยที่ต้องตรวจต่อชั่วโมง จำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ และมาตรฐานอื่นๆที่ต่างประเทศให้ความคุ้มครองการทำงานตามมาตรฐานวิชาชีพ  
 
แพทยสภาควรต้องหาทางป้องกันให้แพทย์ทำงานภายใต้มาตรฐานวิชาชีพที่เหมาะสม กำหนดโรคหรือหัตถการที่แพทย์ใช้ทุนสามารถทำได้ และทำไม่ได้ ให้ชัดเจน สำหรับแพทย์ที่จบเฉพาะสาขานั้น ท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าท่านไม่ควรรักษาโรคใดและควรส่งต่อให้แพทย์ที่เชี่ยวชาญ ด้านนั้นๆรักษาจะดีกว่า ซึ่งไม่น่าเป็นห่วงเท่าแพทย์ทุน
 
ขอบคุณที่อุตสาหอ่านจนจบ สวัสดี
จากคุณ: หมอแมว โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 00:05:05
สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นครั้งนี้Tertiary prevention
1 ต้องการให้ช่วยเหลือให้ความชัดเจนแก่แพทย์ที่ถูกตัดสินคดีแบบนี้ครับ ขอให้ยื่นความช่วยเหลือให้ทันทีโดยที่ยังไม่ต้องร้องขอ
2 สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในเรื่อง"ตายจากการบล๊อคหลัง"ว่าเป็นอย่างไร
การจัดความเข้าใจนี้ อยากให้เป็ฯไปในระดับที่ครอบคลุมทั้งประเทศและรู้เรื่องครับ
เดี๋ยวจะคุยเรื่องนี้ต่อ
 
 
สำหรับเรื่องที่เกิดขึ้นผมคิดว่าส่งผลกระทบต่อหลายฝ่าย
ทั้งประชาชน คะแนนความเชื่อถือของแพทย์ลดลงอีกหน่อย (แต่อย่าลืมว่าข่าวเดิม เรื่องเดิม แต่โดนพูดถึงบ่อย ทำให้คะแนนความน่าเชื่อถือลดได้เยอะ)
แพทย์เสียขวัญ เห็นได้ชัดถึงสภาวะตื่นตระหนกของแพทย์หลายคน(รวมถึงผมที่เผอิญตอนนี้เจอเรื่ องอื่นอยู่ด้วย) ซึ่งพอวันพุธก็จะหยุดตื่นตระหนก... แต่จะเหลือไว้ซึ่งความไม่แน่นอนไม่มั่นคงอยู่ลึกๆ
พวกหากินกับคดี ซึ่งเป็นโอกาสอันดีของคนกลุ่มนี้ที่จะเพิ่มมากขึ้น
 
การป้องกันต้องดำเนินการในระดับ primary and secondary prevention ด้วยครับ
 
การดำเนินการที่อยากให้แพทยสภาทำต่อไป
Secondary Prevention
เมื่อเกิดเหตุการบางอย่างขึ้นแล้ว
1. ให้เร่งทำการประชาสัมพันธ์ดักทาง
ผมเชื่อว่าปัญหาที่คนไม่เชื่อถือคือการที่ได้ยินเรื่องราวจากฝ่ายตรงข้ามหมอ  ก่อนหมอ ซึ่งหลังจากนั้นหมอพูดอะไรคนก็ไม่เชื่อ
จะเป็นไปได้ไหมครับ ในกรณีที่ได้ทราบเรื่องบางอย่างที่มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดคดีความ แพทยสภาก็ต้องชิงทำสื่อให้ความรู้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความรู้ทั่วไปของโร คนั้น และเหตุที่อาจจะเป็นเหตุสุดวิสัย , common complication  
เมื่อคนทั่วไปได้รับทราบข่าวในส่วนนี้ จะมีภูมิคุ้มกันทางความรู้ไว้ก่อน เมื่อได้ยินข่าวขึ้นมาเขายังจะเหลือมุมมองดีๆไว้มองแพทย์บ้างและไม่ด่วนตัดส ินใจไปก่อน
 
2. สร้างกลุ่มประชาสัมพันธ์ขึ้นมา
จุดบอดหนึ่งของกลุ่มแพทย์(ทั่วทั้งประเทศแหละครับ ไม่ได้รวมแค่แพทยสภา คือ การที่ไม่มีPRแพทย์ (ห้ามคิดลึก)
ที่ผ่านมา อาจารย์สมศักดิ์ทำหน้าที่ได้ค่อนข้างเข้มแข็ง  
แต่จุดบอดหนึ่งคือ ... บางครั้งด้วยข้อจำกัดหลายๆอย่าง เช่น การที่เป็นผู้ใหญ่ในแพทยสภา ... การที่เป็นspecialist ... การที่พูดหลายครั้งในสถานการณ์ที่เสียเปรียบ
หลายๆครั้ง ... ผมเองฟังคำอธิบายของอาจารย์แล้วงง ตามไม่ทันครับ
จุดบอดนี้เกิดกับแพทย์ที่ทำงานมานานแล้ว ... เพราะว่าตนเองจะมีพื้นและประสบการณ์สูง ทำให้อธิบายเรื่องที่ซับซ้อนได้ยาก
ดังนั้นผมอยากเสนอให้จัดตั้งกลุ่มPR ขึ้นมาโดยน่าจะเอาคนมาจาก
แพทย์ที่จบใหม่ๆ หรือExtern .... หรือคนในวิชาชีพทางสาธารณสุข : เพราะจะทำการย่อยความรู้ในระดับSpecialistให้คนทั่วไปเข้าใจได้ดีกว่า
ต้องมีวาทศิลป์ที่ดี : จากบทเรียนที่ผ่านมาหลายครั้ง ที่หมอที่ดีต้องเสียท่าลิ้นของคนบางคน
ต้องมีหลายคน : เอาแบบไม่ซ้ำหน้า คนจะได้ไม่มองว่า "หมอนี่อีกแล้ว"
 
3. อยากให้ทำแถลงการณ์ หรือคำอธิบายสั้นๆ เพื่อการเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ
อย่างกระทู้หนึ่งที่พี่716:16 กล่าวถึงความจริงของไส้ติ่ง .... เป็ฯตัวอย่างที่ดีครับ
หมอที่เล่นอินเตอร์เนทหลายคน เวลาเข้าไปอ่านกระทู้ที่คนมาด่าๆกัน ก็เอาลิงค์ไปลง หรือcopyไปให้อ่านได้เลย
ในแง่ของหมอเอง ได้ประโยชน์คือ
- ส่วนใหญ่เราอ่านกันอย่างเดียว ไม่มีเวลาไปเขียนออกความเห็น หรือบางทีจะเขียนแต่ไม่มีความรู้พอ... จะได้copy ไปลงได้เลย
- อ่านกระทู้เครียดมีแต่คนด่าหมอ : การที่หมอๆสามารถcopy ไปอธิบายได้ จะสร้างผลทางจิตใจ ทำให้รู้สึกว่าอย่างน้อยก็ได้ทำอะไรไปบ้างแล้ว
- แพทยสภาคงไม่สามารถเข้าไปได้ในทุกๆที่... แต่ถ้ามีต้นฉบับคำอธิบายความรู้เผยแพร่ไว้แล้ว ก็จะมีคนที่หวังดีต่อแพทย์ ช่วยกันเผยแพร่ต่อได้
 
นอกจากในinternetที่เป็นสื่อส่วนเล็กๆของสังคม ถ้าเป็นไปได้ยังมีช่องทางที่น่าสนใจอีก ... ซึ่งหากแพทยสภาทำส่วนเอกสารความรู้นี้ขึ้นมาแล้วขอความร่วมมืออย่างเป็นทางก ารในการเผยแพร่ไปยังส่วนต่างๆ
โรงพยาบาล สามารถprint เอาคำอธิบายต่างๆนี้แปะตามบอร์ดประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปได้อ่านได้ทันที
สถานที่ราชการ เช่นกัน อาจจะขอความร่วมมือเอาไปติด
สถานีวิทยุชุมชน ถ้ารูปแบบคำอธิบายนั้นสั้นๆ เข้าใจง่าย ... อาจจะให้ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพของรพช. ประสานนำไปให้สถานีวิทยุชุมชน ซึ่งเขาอาจจะเอามาอ่านคั่นชั่วโมงได้  
 
 
4. ลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางสาธารณสุขที่ใส่ไฟ
ควรจะขอความร่วมมือไปยังสภาวิชาชีพอื่นๆครับ
ผมเองทำงานในรพท. รพช. มาสักพักนึง พบว่าหลายกรณีทีเดียวที่เกิดจากการให้ข้อมูลที่บิดเบือนรู้ไม่จริง ให้แก่คนไข้หรือญาติคนไข้ รวมทั้งการปล่อยข่าวลือทั้งหลาย
ตามหลักแล้ว ผู้ประกอบวิชาชีพ ควรมีความระมัดระวังตัวในการวิพากษ์วิจารณ์ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพด้วยกัน หากไม่รู้จริงก็ไม่ควรเอาไปพูด ... ซึ่งเชื่อว่าส่วนนี้มีในเอกสารจรรยาวิชาชีพของทุกวิชาชีพในสาธารณสุขอยู่แล้ว
 
เกินครึ่งของที่ผมเคยเห็นเคยรู้มา เกิดจากคนในที่ไม่รู้จริงเอาไปวิจารณ์จนญาติเข้าใจผิดจนบานปลาย ... ซึ่งตอนหลังแก้ข่าวยังไงก็หาว่าปกป้องกันเอง
 
คาดว่าแพทยสภาคงจัดการได้แต่แพทย์ด้วยกัน ... ก็อยากให้ประสานเรื่องไปที่สภาวิชาชีพอื่นด้วยครับ
 
Primary Prevention
1. สร้างเครือข่ายแพทย์ ที่เข้าถึงแพทยสภา โดยใช้ลักษณะกลุ่มแพทย์ชนบทให้เป็นประโยชน์
ถ้ามองจากมุมมองของผม ... สสจ.ไม่สามารถทำงานที่เข้าถึงแพทยสภาได้ ด้วยทั้งหน้าที่สายงาน  ซึ่งการจะไปให้ติดต่อสื่อสารกันคงทำได้ยาก บางเรื่องอาจจะติดระเบียบทางราชการทำให้เรื่องไปไม่ได้
ปัจจุบันพอเกิดเรื่องขึ้น กว่าแพทยสภาจะรู้ก็มักขึ้นหน้าหนึ่งหรือเริ่มเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องไปแล้ ว ... การจะไปแก้ข่าวหรือการจะไปไกล่เกลี่ยก็ทำได้ยาก
ผมมองจากอีกแง่มุมนึงแบบที่กลุ่มแพทย์ชนบทเขาทำกัน...เรื่องผลักผอ.ขึ้นเป็น ซี9  
จะเป็นไปได้ไหมที่แพทยสภา จะขอความร่วมมือจากแพทย์ชนบทหรือไม่ก็จัดทำกลุ่มที่มาจากผู้อำนวยการโรงพยาบ าลทั่วประเทศ ให้ทำการส่งข่าวสารเรื่องที่มีโอกาสเกิดเป็นคดีได้สูงและมีแนวโน้มจะไก่เกลี ่ยไม่สำเร็จไปให้ทางแพทยสภา ... ซึ่งจะทำให้แพทยสภามีเวลาในการเตรียมตัวรับมือเพิ่มขึ้นมาอีกประมาณหนึ่งสัปดาห์ในการทำประชาสัมพันธ์และในการเตรียมพร้อม หากเกิดเรื่องขึ้น
 
2. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาต่างวิชาชีพและจัดระเบียบอาจารย์ให้ดี
ผมเชื่อว่าความขัดแย้งหลายอย่างเกิดมาตั้งแต่สมัยเรียน โดยเฉพาะเรื่องทัศนคติต่อวิชาชีพที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งส่งผลต่อการที่เมื่อออกไปทำงานแล้วจะมีมุมมองต่อเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดี
จริงๆแล้วเรื่องความขัดแย้งของเพื่อนร่วมวิชาชีพ ไม่ว่าจะระหว่างแพทย์ด้วยกัน ... หรือระหว่างวิชาชีพต่อวิชาชีพ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้
แต่ไม่ควรข้ามไปถึงการสั่งสอนลูกศิษย์ให้เกิดความรู้สึกในแง่ลบต่อวิชาชีพอื ่น ... ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ ผิดทั้งจรรยาวิชาชีพ ... และผิดต่อจรรยาของความเป็นครู
ผมอยากให้มีแนวทางจัดการเกิดขึ้นครับ
 
3. เรื่องแพทย์ที่ทำงานหนักเกินพิกัดแต่เหมือนไม่มีคนเหลียวแล ไปจนถึงกรอบการทำงานเชิงนโยบาย
ต้องการให้มีการสร้างกรอบการทำงานที่ชัดเจนกว่านี้ครับ
อย่างเช่นถ้าคนไข้มารพ.ล้นรพ.ควรจะทำยังไง  คนไข้ต้องrefer แต่ทำไม่ได้จะเอายังไง และปัญหาโลกแตกหลายๆอย่าง .... อยากให้มีการกำหนดนโยบายที่เป็นเอกภาพครับ จะได้เหมือนๆกันทั่วประเทศ
หลายครั้งมีคนบอกว่าอาจารย์ หรือแพทยสภา อยู่บนหอคอยงาช้าง ... ไม่เข้าใจแพทย์ผู้น้อย
บางทีผมก็นึกน้อยใจบ้างในบางนโยบาย บางการตัดสินใจของแพทยสภา ... แต่มาคิดอีกที แพทยสภาและอาจารย์อยู่บนที่สูง ย่อมเห็นภาพรวมทั้งระบบมากกว่าพวกผม.... ดังนั้นในส่วนนึงผมเคารพการตัดสินใจของแพทยสภา
ดังนั้นจึงอยากให้แพทยสภามีการชี้แจงด้วยครับเวลาตัดสินใจเรื่องบางเรื่องไป  ...
ในinternetก็มีอาจารย์บางท่านเข้ามาอธิบาย
นอกinternet อยากให้มีเป็ฯเอกสารครับ
 
4. Guideline แบบใหม่ที่อาจจะไม่เคยมีที่ไหนในโลก
ฟังดูน่าเกลียดหน่อยนะครับ ... แต่อันนี้ก็มาจากสิ่งที่เป็นไปแล้วในสังคม
หัตถการขั้นต่ำที่แพทย์ควรทำเรามีแล้ว
เกณฑ์ในการรีเฟอร์ ก็พอจะมีแล้ว
แต่ที่ยังขาดก็มี
- เกณฑ์การบอกว่า ลักษณะโรคใด ที่แม้แพทย์ทำได้ก็ไม่ควรเอาไว้ หรือตรวจได้ก็ควรส่ง
- เกณฑ์ที่บอกว่า อะไรที่ไม่ควรส่ง ... ถ้ามั่นใจว่าทำได้ให้ทำไปเลยโดยที่มีการรองรับเป็นเกณฑ์ว่าทำได้
อย่างพวก Head injury น่าจะทำGuideline ที่ชัดเจนไปเลยว่าถ้าระยะทางห่างจากรพท.เท่าใด ... เครื่องมือมีแค่ไหน ... ให้ส่งรีเฟอร์หรือไม่
 
ในทางนึง เวลารพช. ไปตกลงกับรพท. ก็จะมีเกณฑ์ที่ชัดเจนขึ้นในการทำข้อตกลงร่วม ... และในทางกลับกันสามารถเอาไว้เป็นข้อบ่งชี้ในการส่งตัวได้  
 
5. ผลักดันการเพิ่มจำนวนคนในระบบสาธารณสุข
 
6. ทำการให้ความรู้ทางสื่อต่างๆ  
(รายละเอียดคล้ายๆในsecondary prevention)
แต่เมื่อทำแล้วก็อาจจะมีจุดที่อ้างอิงเป็นเอกสารได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรบางอย่างขึ้นมา เราสามารถนำเรื่องที่เคยพูดไปนั้นไปอธิบายใหม่ได้ว่า "สำหรับกรณีนั้นที่ว่าผลแทรกซ้อนปกติที่เกิดจากโรค ไม่ใช่จากแพทย์ประมาท เราเคยลงในหนังสือพิมพ์ xxxx เมื่อวันที่xx เดือนxx ผมจะยกมาคุยให้ฟังนะครับ"
มันก็จะดูน่าเชื่อถือขึ้น
 
7. ผลักดันกระบวนการยุติธรรมให้เข้าที่เข้าทางมากกว่านี้
เริ่มตั้งแต่ก่อนขึ้นศาล : นิติกร และเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินเรื่องทั้งในมาตรา41 หรือคดีของทางสาธารณสุขที่ผ่านทางสสจ. จักต้องเป็นบุคคลที่ไม่เพียงมีความรู้ทางกฎหมาย ไม่เป็นแค่บุคคลที่มีจิตใจดีงามเข้าใจจิตใจผู้เสียหายแต่จะต้องเป็นบุคคลที่เข้าใจในศิลปะวิชาการรักษา และความคาดเดาไม่ได้ของโรคด้วย
ที่บอกอย่างนี้เพราะเห็นตัวอย่างมาหลายแห่ง(ทั้งจากคำบอกเล่าและที่ประสบเอง ) ... บางครั้งนิติกรฟังความข้างเดียวจากผู้เสียหาย แล้วหนำซ้ำทำเรื่องให้แย่ไปกว่าเดิม
อาจจะต้องจัดการอบรมเจ้าหน้าที่"ทุกฝ่าย" ในเรื่องความผิดทางการแพทย์ให้เข้าใจ  
 
ในระดับศาล  
ผมคิดว่ายากมากที่จะไปผลักดันให้เกิดศาลแพทย์ และอาจจะใช้เวลานานเกินไปที่จะทำให้เป็นจริง (ลูกผมอาจจะไม่ทันได้เห็น)
สิ่งที่ผมคิดว่าทางแพทยสภาน่าจะทำได้คือ ขอความร่วมมือจากราชวิทยาลัยต่างๆ ให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ที่พร้อมจะไปขึ้นศาลเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญกลางในกรณีที่เห็นว่ามีปัญหา แม้ว่าทางศาลจะไม่ได้ร้องขอ
ประโยชน์คือ จะได้ให้ความกระจ่างแก่ศาลได้เพราะถ้าเป็นผู้ที่ไปบ่อยๆ ก็จะพอรู้ว่าความเห็ฯที่ศาลต้องการนั้นเป็นในรูปแบบใด - สามารถเอาไว้ยันกับพยานอีกฝ่ายได้ในทางการแพทย์
ซึ่งจะนำมาสู่ประเด็นต่อมาคือ
 
8. ควบคุมและป้องกันการเป็นพยานผุ้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่ไม่เหมาะสม
อย่างในประเด็นนี้ และประเด็นบางประเด็น การเป็นพยานผุ้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ที่ให้ความเห็นที่ดูเหมือนจะไม่เป็นEvidence Based Medicine ... จะได้หมดไป
ไม่เพียงเท่านั้น
ในกรณีความเห็นทางการแพทย์ทั่วๆไป ที่บางครั้งเกิดปัญหาอย่างเช่นคดีข่มขืน คดีทำร้ายร่างกาย ที่แพทย์ไปเป็ฯพยานศาล ... ศาลจะได้มีความรู้สึกว่าถ้าไม่มั่นใจในส่วนนี้ ก็รู้ว่าจะประสานขอให้ใครมาเป็นพยานความเห็นแพทย์ที่สองได้ทันที
 
(ข้อ7-8 ผมไม่รู้ว่ามีแล้วหรือยังนะครับ จริงๆแพทยสภาอาจจะมีอยู่แล้วก็ได้)
จากคุณ: newny_law3107 โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 01:47:40
ควรให้มีองค์คณะในการตัดสินคดีแพทย์  ซึ่งในองค์คณะต้องมีแพทย์ จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา และฯลฯ ตามความเหมาะสมเพื่อให้คำพิพากษาออกมาจากเสียงส่วนใหญ่ขององค์คณะและมีความย ุติธรรม  (ยุติคดี+เป็นธรรม win-win)   และแพทยสภาควรมีแพทย์ที่จบ นบ.คอยเข้ามาให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่แพทย์ที่ถูกฟ้องหรืออาจถูกฟ้ องอย่างทันท่วงที
จากคุณ: 9152 โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 04:31:23
1.  ทบทวนเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม + ข้อกำหนดขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลแต่ละระดับ ว่า จะสามารถดูแลผู้ป่วยได้ถึงแค่ไหน
 
2.  สร้าง safe & healthy working environment ให้แก่แพทย์ที่ทำงานภายใต้ข้อจำกัดของ facility ในสถานพยาบาล
 
3.  ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงข้อจำกัดของการรักษาพยาบาลในประเทศไทย ว่าขาดแคลนอุปกรณ์ เครื่องมือ และแพทย์ขนาดไหน
 
4. มี guideline หรือ hotline สำหรับแพทย์ที่เจอภาวะคับขันเวลา deal กับผู้ป่วยและญาติ
จากคุณ: barbara โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 04:50:13
เราควรมีเครือข่ายของเราครับ แต่แพทยสภาคงทำไม่ได้ , ไม่งั้น มันก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ รวมตัวกันตั้งคล้ายๆบริษัท ระดมทุนกันเป็นเรื่องเป็นราวจ้างทนายประจำ ไม่งั้นเครือข่ายเค้าก็เก่งขึ้นทุกวัน เราก็ได้แต่มาเสียใจ เรื่องแบบนี้แพทยสภาไม่เหมาะทำเองครับ
จากคุณ: cmu06 โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 07:24:28
ถึงเวลาหรือยังที่พวกแพทย์จะสามัคคีกันเพื่อร่วมมือกันตีเหล็กในขณะร้อนๆ
 
เพื่อแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดการฟ้องร้องคดีอาญา ที่เกิดจากการประกอบวิชาชีพแพทย์ต่อไปในอนาคต ขอให้คดีอาญาของน้องเป็นกรณีสุดท้ายที่จะเกิดในประเทศไทย
แพทยสภาควรเรียกประชุมแพทย์โดยด่วน เพื่อเสวนาเรื่องนี้ และทำความเข้าใจกับสาธารณชนว่า
 
 การเป็นแพทย์นั้น นอกจากจะต้องเรียนจบหลัดสูตรที่อาจารย์สอนแล้ว ก็ยังต้อง "หัด" ทำด้วย จึงจะสามารถทำได้ และมีความชำนาญเพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งหมอแต่ละคนก็ต้อง "หัด" ทำภายใต้ความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จนกว่าเขาจะมั่นใจ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย แต่ระบบหมอในประเทศไทยมันแย่มากๆ ตรงที่ปล่อยหมอที่ "หัดยังไม่ชำนาญ" ออกไป ทำงานเอง โดยขาดผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแล แต่น้องๆหมอเราก็ได้พยายามทำงานกันจนสุดความสามารถตามภาวะวิสัยแล้ว
 แต่หมอผู้ใหญ่ในกระทรวงที่ส่งหมอด่านหน้าไปทำงานเสี่ยงตายอยู่นี้ ได้แสดงความรับผิดชอบและจะแก้ปัญหานี้หรือไม่
 
แพทยสภาและสมาคมแพทย์ทั้งหลายก็ต้องพยายามดำเนินการต่อไป ในการให้สาธารณชนทราบว่า การแพทย์ไทยในปัจจุบันนี้ ไม่ได้มาตรฐาน(สากล)ในการรักษาโดยเฉพาะในชนบท (ได้มาตรฐานตามภาวะวิสัยเนื่องจากความขาดแคลนทั้งคน  
ความเชี่ยวชาญของคน วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ไม่เหมือนกันในแต่ละแห่ง แต่ทั้งหมอและพยาบาลต่างเสียสละทำงานกันมากๆทั้งเวลาที่ทำงานและจำนวนผู้ป่ว ย) เนื่องจากขาดบุคลากรทั้งแพทย์ พยาบาล ที่เป็นบุคลากรที่สำคัญที่สุดในการดูแลรักษาผู้ป่วย  
ทุกวันนี้ หมอและพยาบาลทำงานหนักมาก
 
 
ถ้าเปรียบหมอและพยาบาลเป็นรถบรรทุก ก้ต้องบรรทุกหนักเกินอัตรา และยังต้องวิ่งรถตลอด 24 ชั่วโมง มันเสี่ยงต่อมาตรฐานการทำงานมากๆ เสี่ยงต่อชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนและเสี่ยงต่อคุณภาพชีวิตหมอพอๆกับคุ ณภาพชีวิตผู้ป่วย และยังเสี่ยงต่อคุกตาราง สำหรับหมออีกด้วย
 ต่อไปหมอก็จะเลิกอาชีพหมอมากขึ้น เยาวชนก็จะเลิกเรียนเป็นหมอ อนาคตคุณภาพมาตรฐานการแพทย์ไทยคงถดถอย แล้วผลกระทบสุดท้ายจะตกที่ใคร
 ขอให้ช่วยกันคิดด้วย
 
 
จากคุณ: ส้มตำ โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 08:03:27
ในเมื่อการตายจากการรักษาเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นเหตุให้เกิดการเอาหมอติดคุก แน่นอนเคสนี้เป็นบทเรียนที่เจ็บปวดสำหรับคนที่อยู่ในวิชชาชีพแพทย์ แต่มันก็เป็นตัวอย่างอีกด้านสำหรับคนไข้ที่ต้องการเอาเรื่องกัหมอ
แนวทางที่เสนอ
1. มาตรฐานทางการแพทย์ที่ศาลรับรู้ http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1197076244
2. expert witness เพิ่งเห็น เพิ่งได้ยิน ว่าศาลไทยเชื่อหมอที่เอาตำรามาอ่านแต่ไม่ได้ทำ มากกว่าอาจารย์หมอที่ปฎิบัติงานอยู่จริง ซึ่งตรงข้ามกับในต่างประเทศที่ไปทำงานมา การเป็น expert witness ต้องปฏิบัติงานอยู่ในสาขาที่เกี่ยวข้อง เกษียณแล้วไม่ทำงานยังเป็นไม่ได้ หรือเป็นได้แต่น้ำหนักน้อยกว่ามาก
2 ข้อนี้ จะเน้นว่าจุดอ่อนที่ต้องรีบจัดการ คือ ผู้พิพากษา ตราบใดที่ผู่พิพากษาไทย ยังมองว่าหมอไทยคือเทวดา จบ พบ มา ต้องทำได้ทุกอย่าง ดีทุกอย่าง ป่วยไม่ได้ ผิดไม่ได้ (ไม่ต่างจากคนไข้ ชาวบ้านธรรมดา มีคนไข้มาขอให้ผมรักษาข้ามสาขาเยอะเลย เห็นหมอผ่าท้องได้ ฝากญาติมาผ่าโรคสมองได้ไหม)
3. ผนึกกำลังกับตัวแทนแพทย์อื่นๆ เช่น ราชวิทยาลัย กระทรวงสาธารณสุข สมาคมที่ตั้งอยู่บนหอคอยงาช้าง (แพทยสมาคม) จะประกาศ ประท้วง หาแนวทางอย่างไร ข้างบนก็มีความเห็นดีๆเยอะ ก็ทำซะ ตีเหล็กกำลังร้อน บทบาทคงต้องเป็นผู้ประสานงาน การมีหลายองค์กรเสียงจะดัง
จากคุณ: ส้มตำ โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 08:20:36
สำหรับงูเห่า หมอเสริมสวยแต่ไปให้การเรื่องบล๊อคหลัง เรื่อง Steven Johnson จัดการมันได้ไหม เอานักกฏหมายมาตีความ หาช่องทางกำจัดเสี้ยนทิ้งซะ
 
ถ้าจัดการไม่ได้ ก็ต้องป้องกัน ทนายหมอ (คดีที่หมอแพ้ ที่ผมได้มีโอกาสอ่านคำตัดสิน ผมว่าทนายฝั่งเรามือไม่ถึง) ต้องเอามาติว เพื่อหักล้างความเห็นหมองูเห่านั้น การทำลายความน่าเชื่อถือ ด้วยวิธีการ expert witness ไปฉีกหน้ามันในศาลว่าไม่ได้ทำ แค่กางตำราอ่าน ถ้ามันกางตำราอ่าน เราก็ต้องเอาหลักฐานอื่นที่ทันสมัยกว่า เป็นมาตรฐานกว่าไปหักล้าง แต่ต้องย่อยให้ดี พูดให้เป็น ไม่งั้นศาลงง
จากคุณ: pumpa โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 11:27:48
ลองคิดดูว่าถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร  
ตอนเด็ก ๆ ใคร ๆ ก็บอกว่าเป็นหมอนะดีได้ช่วยเหลือคน
โตขึ้นมาครูก็ถาม  โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไรจ๊ะ
เรียนดี ตั้งใจ พ่อแม่ภูมิใจ ได้เกรด 4 ตลอด
สอบเข้าแพทย์ได้ ฉลองกันยกใหญ่
เรียนแพทยฺ์ด้วยความยากลำบาก อดหลับ อดนอน อยู่เวร  กินข้าวเย็น 4 ทุ่ม
เรียนจบต่อเฉพาะทาง อีกหลายปี จบมาด้วยความมานะบากบั่น
ทำงานในระบบราชการ เงินเดือนไม่พอผ่อนบ้านผ่อนรถเลี้ยงครอบครัว ต้องอยู่เวร ทั้งเวรนอก เวรใน หรือรับจ๊อบเพิ่ม  บ้างก็เปิดคลินิก
รักษาคนไข้อย่างเต็มความสามารถ  แต่เมือเกิด complication กลับถูกฟ้อง
ร้ายแรงถึงขั้นเข้าคุก   พ่อจ๋า แม่จ๋า เป็นหมอดีจริงหรือ
แล้วจะกล้าสอนลูกให้เป็นหมอเหมือนเราหรือ
   เหนื่อยใจค่ะ
จากคุณ: aekung โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 11:54:47
จะไปประท้วงวันไหนบอกมา ไปด้วยครับ งานนี้ต้องเอาให้มันถึงที่สุด ยอมไม่ได้
กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดด ฆ่ามัน
จากคุณ: parinyaMD25 โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 12:37:56
มาให้ความเห็นเพิ่ม
กรณีการรักษาที่controversy แพทย์สามารถเลือกที่จะรักษา/ไม่รักษา โดยไม่ถือว่ารักษาต่ำกว่ามาตรฐาน ทั้งนี้การรักษานั้นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยแล้ว
เช่น SJS แพทย์จะให้steroidหรือไม่ให้ก็ได้  
   septic shock จะให้steroidหรือไม่ให้ก็ได้
....ขนาดหมอด้วยกันเองยังcontroversy แล้วคนภายนอกที่ไม่ได้รักษาคนไข้ เอาความรู้อะไรมาฟันธงให้ว่า ต้องให้รักษาแบบนั้นแบบนี้...evidenve baseอยู่ตรงไหน
จากคุณ: Tu โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 12:57:09
ถ้าจะฟ้องเเพทย์โรงพ่ยาบาลรัฐ  ควรจะฟ้องรั่ฐบาล
รั่ฐบาลควรจะรัยผิดชอบ
กระทั้งในอเมริกาหมอรพรัฐไม้ต้องมีประกัน
คนไข้ไม่ sue รพรัฐ  แต่ขอ่ค่าเสี่ยหาย - tort claim( ชนะยาก ใช้เวลามาก ทนายไม่กล้า )
ทำงานรัฐเป็นการเสียสละ
กฏหมายไร้สาระ do not recognize dedication by MDs for the needies
 
จากคุณ: Couching Potato โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 16:10:39
-จำกัดปริมาณการตรวจผู้ป่วยต่อวันค่ะ
-อยู่เวร เวรดึกแล้วต้องมาทำงานต่อ... อันนีเห็นด้วยว่าไม่ควรค่ะ ..ประสิทธิภาพร่างกายและอารมณ์ต่ำมากๆค่ะ
 
on 12/09/07 เวลา 12:37:56, parinyaMD25 wrote:
มาให้ความเห็นเพิ่ม
กรณีการรักษาที่controversy แพทย์สามารถเลือกที่จะรักษา/ไม่รักษา โดยไม่ถือว่ารักษาต่ำกว่ามาตรฐาน ทั้งนี้การรักษานั้นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยแล้ว
เช่น SJS แพทย์จะให้steroidหรือไม่ให้ก็ได้  
        septic shock จะให้steroidหรือไม่ให้ก็ได้
....ขนาดหมอด้วยกันเองยังcontroversy แล้วคนภายนอกที่ไม่ได้รักษาคนไข้ เอาความรู้อะไรมาฟันธงให้ว่า ต้องให้รักษาแบบนั้นแบบนี้...evidenve baseอยู่ตรงไหน

 
เห็นด้วยมากๆค่ะ...
เคยเจอแบบ  ตอนแรกพอเราบอกว่ามันมีสองวิธีนะ จะเอายังไง.. ญาติก็บอก แล้วแต่หมอ เอาหมอว่าละกัน..
พออาการยังไม่ดี รึอาการมันทรุดลง... เค้ากลับโทษเราว่ารักษาเค้าไม่ดีง่ะ
จากคุณ: think_pos โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 16:40:20
กรรมการแพทยสภาทุกคนควรคิดให้พ้นกรอบของงานประจำที่ตนทำอยู่  ตอนนั่งประชุมทุกคนต้องมองเรื่องเดียวกันคือเป็นสภาของแพทย์นำพาองค์กรไปข้ างหน้าสมานฉันท์กับทุกหมู่เหล่า ภายใต้บริบทของวงการสาธารณสุขไหย  ขยันที่จะชี้แจง]ข้อเท็จจริงโดยคนที่พร้อมจะเสียสละเป็น role model(เหมือนที่พรรคประชาธิปัตย์ชูชวนประจำทั้งที่ในพรรคก็มีนายทุนอยู่มาก)   
แพทยสภาต้องสนับสนุนให้รพ.รัฐและเอกชนถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งกันและกันเพื่อให ้รพ.รัฐเข้มแข็งขึ้นด้านการบริหารโดยการถ่ายทอดเทคนิคการบริหารงานและค่าตอบ แทนที่ยืดหยุ่นแบบเอกชน(อย่ากลัวว่ารัฐจะเป็นคู่แข่งเพราะคนไข้ไม่ได้เลือกแ ค่การบริการราคาถูกแต่เลือกจากหลายๆสิ่ง)และให้รพ.เอกชนเข้มแข็งขึ้นด้านการ ส่งเสริมสุขภาพ
ทีมไกล่เกลี่ยของเอกชนทำได้อย่างไร  ภาครัฐก็ควรจะทำได้ใกล้เคียงกัน(ไม่ได้หมายความว่าต้องจ่ายเงินเท่ากันแต่ห มายความว่าไกล่เกลียได้ผล)
การออกมาตรการใดๆที่เอื้อต่อแพทย์ฝ่ายเดียว เช่นจำกัดชั่วโมงทำงาน  อาจเกิดผลกระทบวงกว้างอาจให้แต่ละรพ.ปรับเปลี่ยนบริหารกันเอง  โดยแพทย์สภาควรจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนใ นกรณีที่ได้รับการปฏิบัติจากหัวหน้างานที่ไม่เป็นธรรม
 
อยากเน้นคำเหล่านี้ครับ[b][/b]พ้นกรอบ  สมานฉันท์  ขยันที่จะชี้แจงโดยrole model   รพ.รัฐและเอกชนถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน  ไกล่เกลียได้ผล)  ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนในกรณีที่ได้รับการปฏิบั ติจากหัวหน้างานที่ไม่เป็นธรรม
จากคุณ: RETINA โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 16:52:15

 
 
1. ควบคุม และ คุ้มครอง สิทธิ และ หน้าที่ ของหมอ กำหนดออกมาให้ชัดเจน
 
ส่วนรายละเอียดคงเหมือนกับทุกๆท่าน คือกำหนด ชั่วโมงการทำงานให้เหมาะสมไม่ใช่ เหมือนเครื่องจักร  
 
2. กำหนดหน้าที่ของประชาชนในด้านสุขภาพให้ชัดเจน  
 
เช่น ต้องจ่ายเงินเมื่อมารักษาจากผลพวงของการทำลายสุขภาพตนเอง
 
ยกตัวอย่าง  กินอาหารสุกๆดิบๆ อาหารรสจัด น้ำชา กาแฟ บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ของหมักดอง แล้วปวดท้องมาให้จ่ายเงินเอง
 
ขับรถชนโดยประมาท เมาสุรา ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัด ฝ่าไฟแดง แต่งรถผิดกฎหมาย ให้จ่ายเงินเอง
 
ให้ยาไปแล้วไม่กิน เอาไปทิ้ง เอาไปให้คนอื่น ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางราชการ จับปรับหรือจำคุก
 
ดูแลบ้านหรือที่ทำงานไม่ดี ทำให้เสี่ยงอุบัติเหตุ สุขอนามัยไม่ดี ให้มีโทษปรับหรือจำคุก
 
 
3. โทษอันเกิดจากการปฏิบัติงาน ซึ่งยังไม่ได้พิสูจน์ว่า เกิดจากเจตนาชั่วร้าย ให้แยกศาลออกมาพิจารณาเองต่างหาก
 
อื่นๆ ยังนึกไม่ออกค่ะ
จากคุณ: หมอตัวกลม โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 18:30:20
1. ประกาศต่อสาธารณชนถึงปัญหา work load และ ชั่วโมงการทำงาน จากนั้นกำหนดมาตรการระยะสั้นออกมา ว่าควรตรวจกี่คนต่อชั่วโมง และไม่ควรทำงานต่อเนื่องกันนานกี่ชั่วโมง ไม่ต้องสุดขั้วขนาด 6 คนต่อชั่วโมงก็ได้ (ทำประกาศแจ้งใช้ชัด ไม่ต้องตีความ และชี้แจงสาธารณชนถึงความจำเป็น) และเมื่ออกมาตรการมาแล้วก็ต้องหนุนให้ปฏิบัติได้จริง ไม่ใช่หยวนๆไปเหมือนปัจจุบัน
 
ทุกวันนี้ผมว่าแพทย์เรายังขาดการประชาสัมพันธ์ที่มีคุณภาพมากพอ ตัวจักรที่ต้องทำงานหนักคือแพทยสภานะผมคิดว่า
 
2. ทุกวันนี้ผมไม่รู้ว่ามีทีมช่วยเหลือระดับไหนนะครับ คิดว่าคงมีอยู่แล้ว อาจต้องเข้มข้นขึ้น และกระจายข่าวให้แพทย์ท่านอื่นทราบความคืบหน้าเป็นระยะ...ไม่รู้ติดปัญหาห้า มให้ข้อมูลระหว่างพิจารณาคดีหรือเปล่า ทำอะไรอาจต้องให้ข่าวสู่สาธารณชนด้วย ทุกวันนี้ข่าวออกน้อยมาก จนทุกคนคิดว่าเราเข้าข้างกันเองเยอะมาก...ตรงนี้สำคัญ ถ้าดึงมวลชนเข้าใจ และเห็นใจเรา ทุกอย่างจะง่าย แต่ทุกวันนี้คนมองว่าแพทยสภาเป็นองค์กรเข้าข้างแพทย์อย่างเดียว
 
3. เมื่อมีการตัดสินคดี หรือออกแนวทางปฏิบัติใดที่กระทบการรักษา อยากให้ประจายข่าวให้เยอะกว่านี้ พิมพ์แจกน้องๆจบใหม่เป็นตั้งๆเลย หรือ write CD แจกก็ได้ คิดว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มมาก น้องที่จบใหม่ประสพการณ์น้อย อย่างน้อยก็มีสิ่งให้อ้างอิง จะบอกว่ามีใน web นู้นนี้ก็ต้องเข้าใจว่าทุกคนไม่ได้เข้า internet
 
ตอนนี้นึกออกแค่นี้ครับ Grin
จากคุณ: The_must โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 19:03:49
1.ในระยะสั้น  
1.1 หาทางช่วยเหลือแพทย์หญิงไม่ว่าจะทางกฏหมายหรือทางการจิตใจทางกฎหมายควรจัดหา ทนายฝีมือดีช่วยยื่นอุทรย์คำตัดสิน
1.2 เป็นแกนนำในการเรียกร้องให้สังคม ศาล ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองได้รับรู้ถึงความอยากลำบาก การทำงานที่อยู่บนความเสี่ยงของแพทย์ เพื่อให้สังคมได้รับรู้สภาพความเป็นจริงของการทำงานของแพทย์
1.3 เป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวคัดค้านคำตัดสินของสาลในครั้งนี้ไม่ว่าจะใช้หลัก อหิงสา หรือตาต่อตาฟันต่อฟัน
2.ระยะยาว
2.1เป็นแกนนำรวบรวมรายชื่อแพทย์ทั่วประเทศเสนอ หรือเรียกร้องกฏหมายที่คุ้มครองการทำงานของแพทย์โดยเฉพาะ เช่น การมีกฏหมายแรงงานที่คุ้มครองแรงงาน
2.2ควรเสนอให้มีการจัดตั้งศาลพิจารณาคดีของแพทย์โดยเฉพาะ เช่น ศาลแรงงาน ศาลคดีเด็ก ศาลทหาร ศาลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
2.3 เสนอให้มีการยกเลิกกฏหมายอาญาเอาผิดกับแพทย์เนื่องจากแพทย์ไม่มีเจตนาที่จะฆ ่าคนไข้อยู่แล้ว
จากคุณ: moryai โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 20:18:55
เห็นด้วยกับทุกความเห็นข้างบนครับ
   แต่ที่อยากให้ปฎิบัติเลย คือนัดรวมตัวกันเพื่อแสดงพลังบริสุทธิ์ สักครั้งครับ เพื่อเป็นกำลังใจ ต่อคุณหมอสุทธิพร ที่เป็นรูปธรรม และอาจจะเป็นผลดีต่อการพิจารณา ของศาลในชั้นต่อไป ครับ(ไม่ได้กดดันศาลนะ)
    จะนัดเมื่อไรก็แจ้งมาเลยครับ น้องๆรอมาร่วมอยู่มากมายครับ
จากคุณ: ^.^ Eagle คุง ^.^ โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 22:13:21
Quote:
ถ้าจะฟ้องเเพทย์โรงพ่ยาบาลรัฐ  ควรจะฟ้องรั่ฐบาล
รั่ฐบาลควรจะรัยผิดชอบ
กระทั้งในอเมริกาหมอรพรัฐไม้ต้องมีประกัน
คนไข้ไม่ sue รพรัฐ  แต่ขอ่ค่าเสี่ยหาย - tort claim( ชนะยาก ใช้เวลามาก ทนายไม่กล้า )
ทำงานรัฐเป็นการเสียสละ
กฏหมายไร้สาระ do not recognize dedication by MDs for the needies

 
 Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley
จากคุณ: FORD FOCUS โพสเมื่อวันที่: 12/09/07 เวลา 23:27:54
on 12/08/07 เวลา 22:36:18, vodka-tonic wrote:
    1. limitation ของการทำงานค่ะ เช่น การตรวจคนไข้ จำนวนคนไข้ ต่อวัน
     2. การอยู่เวรต่อเดือน การอยู่เวรดึก
     3. กำหนดชั่วโมงการทำงาน ไม่ให้เหนื่อยจนเกินไป ทำให้ผิดพลาดได้ง่ายขึ้น
     4.กำหนดสิทธิของวิชาชีพแพทย์ สิทธิของหมอ ปัจจุบันไม่มี  Tongue Tongue Tongue
     5. ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ไม่ใช่การทำงานเยี่ยง ทาส แบบปัจจุบัน  
      6.  การไปอยู่ รพช. ของ intern ที่จบใหม่ หรือ น้องที่อยู่ ต้องมีที่ปรึกษา หรือ back up นั่นแหละ ไม่ใช่ว่า ผอ. ห่วย แล้วก็ เคว้ง จนต้องมาบ่นใน เวป
      7. ศาล จะต้องให้เกียรติ แก่พยาน ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่ ทำแบบ ตบหน้า ประธานราชวิทยาลัยวิสัญญีแบบนี้ ยอมได้เหรอ

เห็นด้วยโคตรๆ
จากคุณ: Tu โพสเมื่อวันที่: 12/10/07 เวลา 00:01:39
รพร้ฐและบุคคลากรเป็น safety valve ของ society เหมือนกองทัพ  หมอทำตามหน้าที่  
damaged safety valve จะเป็นผลเสียต่อทุกตน
ควรจะปกป้องจากการฟ้อง
จากคุณ: hill โพสเมื่อวันที่: 12/10/07 เวลา 10:29:58
ขอเสนอความเห็นในเชิงป้องกันค่ะ เนื่องจากคิดว่าปัญหาการฟ้องร้องที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเกิดจากสังคมเสื่อมคว ามศรัทธาในวงการแพทย์   สังเกตจากเวลาเกิดปัญหาฟ้องร้องหมอขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นในรายการทีวี หรือ website ทั่วไปประชาชนจะตัดสินจากอารมณ์ มากกว่าเหตุผลทางด้านวิชาการ หรือถ้าผู้ให้ข่าวมีลีลาดี พูดจาน่าเชื่อถือ ประชาชนทั่วไปฟังเข้าใจง่าย ฝ่ายนั้นก็จะ "ได้ใจ"  ประชาชนไป และเกิดกระแสในสังคมตามมา จึงขอเสนอให้มีตำแหน่ง "โฆษกแพทยสภา" เพื่อทำหน้าที่นี้ค่ะ ฟังดูเหมือนเป็นเทคนิคการตลาดหรือโฆษณาชวนเชื่อ แต่ส่วนตัวคิดว่าจำเป็นค่ะ เพราะคนไทยส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะเชื่อตามกระแสสังคม ขณะนี้สังคมมีแนวโน้มจะเสื่อมความเชื่อถือในวงการแพทย์ จึงนำมาซึ่งการจับผิด และหวาดระแวงในทุกขั้นตอนของการรักษา ดังนั้นการเรียก"ศรัทธา" คืนมา จะนำมาซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ที่ดีขึ้น จึงควรจะมีผู้ที่เป็นเสมือนกระบอกเสียงชี้แจงความจริงแทนแพทย์ แต่ขณะเดียวกันก็ "เข้าถึง" และ "ได้ใจ" ประชาชนค่ะ
จากคุณ: degmoo โพสเมื่อวันที่: 12/10/07 เวลา 13:17:04
เห็นด้วยครับถ้าจะรวมตัวเพื่อเรียกร้องอะไรซักอย่าง เอาด้วยครับ
...
เรื่องป้องกันก็จำเป็น แต่เรื่องที่เกิดไปแล้วนี้ก็ควรจะต้องทำอะไรด้วยนะครับ
จากคุณ: Zombie_T โพสเมื่อวันที่: 12/10/07 เวลา 15:00:07
ถ้าจะผลักดันอะไร สุดท้ายต้องให้ออกมาเป็นรูปกฎหมายให้ได้จึงจะดีที่สุดครับ  เพราะถ้าเป็นแค่นโยบายของแพทย์สภาประชาชนคนทั่วๆไปไม่จำเป็นที่จะต้องขวนขวา ยรับรู้และทำตาม
 
สิ่งที่ผมอยากจะเสนอก็คือกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิแพทย์ครับ
 
1.สิทธิในการปฏิเสธการรักษา ในกรณีที่แพทย์ไม่มั่นใจในความปลอดภัยในการตรวจรักษาเนื่องจากตนเองไม่มีควา มเชี่ยวชาญเพียงพอถึงแม้จะจบบอร์ดก็ตามเพราะไม่มีอะไร100%ในทางการแพทย์อยู่ แล้ว
2.สิทธิในการปฏิเสธการรักษา ในกรณีที่ผู้ป่วยหรือญาติไม่ยอมเซ็นใบยินยอม
รับการรักษาหรือการผ่าตัดโดยเราอาจมีการทำใบยินยอมในลักษณะที่มีการระบุความ เสี่ยงให้ผู้ป่วยและญาติรับทราบอย่างชัดเจน เช่น  การผ่าตัดมีความ
เสี่ยงที่จะเสียชีวิตแม้ว่าจะกระทำการอย่างระมัดระวังและรอบคอบถึงที่สุดด้ว ยเหตุอันเนื่องมาจากแพทย์แต่ละคนมีความชำนาญและเชี่ยวชาญไม่เท่ากันซึ่งอาจก ่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในการรักษา  ในส่วนที่ให้ผู้ป่วยเซ็นจะต้องมีการระบุว่า ข้าพเจ้าได้อ่านข้อความข้างต้นโดยละเอียดรอบคอบและเต็มใจที่จะเข้ารับการรัก ษา/ผ่าตัดอันอาจมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตอันอาจเกิดเนื่องมาจากการความไม่แ น่นอนในเหตุอันเกี่ยวเนื่องกับการรักษาทุกๆประการ หากเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นข้าพเจ้าจะไม่ติดใจเอาความผิดกับผู้ทำการรักษา
หากมีการระบุไว้เช่นนี้จะเข้าได้กับข้อกฎหมายที่ผู้ตัดสินใจกระทำการ(ผู้ป่ว ย)เต็มใจเข้าเสี่ยงภัยเองและจะใช้เป็นข้อต่อสู้ในทางการกฎหมายหากมีการฟ้องร ้องกันตามมาได้ครับ
3.สิทธิในการปฏิเสธการรักษากรณีผู้ป่วยหรือญาติใช้กริยา มารยาท
ที่ไม่เหมาะสมแก่แพทย์
4.สิทธิในการเรียกเก็บค่ารักษาบริการได้สูงที่สุดตามคดีที่แพทย์เคยถูกฟ้องเ รียกค่าเสียหายและต้องจ่ายจริงในโรคนั้นๆ
5.สิทธิในการปฏิเสธการรักษาพยาบาลในกรณีที่ญาติและผู้ป่วยปฏิเสธที่จะชำระค่ าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลดังข้อ4.
6.สิทธิที่จะเรียกเก็บค่าประกันความเสี่ยงในการฟ้องร้องแพทย์จากผู้ป่วยทุกๆ คนที่เข้ารับบริการเข้ากองทุนประกันความเสื่ยงแม้จะเป็นผู้ป่วยใจโครงการประ กันสุขภาพถ้วนหน้า
จากคุณ: Zombie_T โพสเมื่อวันที่: 12/10/07 เวลา 15:24:40
มารวมพลัง10,000 คนเสนอออกกฎหมายสิทธิแพทย์
 
ผมจำไม่ได้ว่าตอนนี้รัฐธรรมนูญใหม่ระบุไว้ให้ประชาชน
10,000 คนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้หรือเปล่าครับ?
ยังไงผมมั่นใจว่าถึงจำนวนจะไม่ใช่10,000
แต่ก็ไม่เกิน30,000แน่นอนครับและแพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพอยู่ตอนนี้หากรวม ตัวรวมใจสามัคคีกันจริงๆเสนอออกกฎหมายได้แน่นอนครับ
ไม่ว่าจะอยากได้ศาลของแพทย์ สิทธิแพทย์ ฯลฯ
ก็มีสิทธิเป็นไปได้ครับ
จากคุณ: Zombie_T โพสเมื่อวันที่: 12/10/07 เวลา 16:40:42
นอกจากสิทธิแพทย์ ศาลแพทย์ผมขอเสนอให้เรารวมตัวออกกฎหมาย  
ให้แพทย์ พยาบาล บุคคลากรสาธารณสุขอื่นๆมีสิทธิในการเลือกตั้งแพทย์และบุคคลากรด้านอื่นๆเข้า  กระทรวงไปเป็นตัวแทนของเราได้ครับ  
ต่อไปจะได้ไม่มีพวกเห็นแก่เก้าอี้หรือพวกที่ชอบเอาใจนักการเมืองเข้าไปนั่งส  บายๆอยู่ในกระทรวงอีกครับ และมีกฎหมายให้เราสามารถถอดถอนคนที่เราเลือกเข้าไปออกจากตำแหน่งได้ถ้าทำตัว  ไม่เหมาะสมครับ  
 
 
 
จากคุณ: cosderm โพสเมื่อวันที่: 12/10/07 เวลา 18:52:36
นัดรวมตัวกัน  !   นัดรวมตัวกัน!
จากคุณ: e1vtm1 โพสเมื่อวันที่: 12/10/07 เวลา 20:23:39
Sad Angry อยากให้มีศาลคดีทางการแพทย์ครับ ขอมากกว่านี้กลัวไม่ได้ครับ แค่นี้ก็บุญแล้ว(ถ้าได้)
จากคุณ: PomP  I love  รักแห่งสยาม โพสเมื่อวันที่: 12/10/07 เวลา 21:43:14

เห็นด้วยกะหลายๆความเห็นครับ
 
ยาวจังว่ะ
จากคุณ: amiri_aa โพสเมื่อวันที่: 12/10/07 เวลา 22:14:51
http://www.thaijustice.com/webboard.asp?sub=0&id=604983
จากคุณ: bigbird โพสเมื่อวันที่: 12/11/07 เวลา 17:10:49
Lips Sealed Lips Sealed ...นพ.พีระกล่าวว่า หลังจากศาลมีคำตัดสิน ยังไม่เคยได้พบโจทก์ แม้โจทก์จะพักอยู่ในบ้านพักพยาบาลในโรงพยาบาล จนถึงวันนี้ยังคงอยู่บ้านพักกับเพื่อน บิดาและญาติพี่น้องยังมารักษาตัวตามปกติ วันที่ศาลตัดสินก็นำญาติมารับการรักษา เรื่องที่เกิดขึ้นลำพังโจทก์ ไม่มีปัญหาอะไร .... Lips Sealed Lips Sealed Lips Sealed Lips Sealed  
 
โค้ดมาจากข่าวอีกที อยากให้แพทยสภาแถลงความจริงตรงไปตรงมาอย่าเฉโกเลย  ไม่น่าสงสัยหรือว่าทำไมโจทก์ถึงยังกินนอนเข้านอกออกในโรงพยาบาลร่อนฯได้  ทำไมพยาบาลฯที่นั่นถึงรักใคร่คนฟ้องหมอ  ทำมัยพยาบาลเขาไม่เชียร์หมอละ มันแปลกๆ ว่าป่ะ  
  
  Undecided เนิสโน้ต เนิสออบเซอร์เวชั่น คือความจริงทางการแพทย์ที่ไม่มีบิดเบือน
 
 Tongue ตอบตามกระทู้ ..อยากให้แพทยสภาควรจะขออนุญาตศาลนำคำพิพากษาทั้งหมดที่ไม่มีการตัดทอนมาแผย แพร่ให้สมาชิกได้รับข้อมูลจริงโดยหยุดการปลุกปั่นด้วยข้อสรุปที่ปราศจากความ ครบถ้วนทุกกระบวนความ ผู้ที่ปฏิบัติงานด้วยยึดมาตรฐานวิชาชีพอย่างแท้จริงย่อมสำเหนียกได้ว่าความผ ิดความถูกต้องคืออะไร จะเป็นประโยชน์อันหาที่เปรียบมิได้ต่อผู้ป่วยและบุคคลากรสาธารณสุข  
 
   Undecided อยากให้แพทยสภาใช้คำที่ถูกต้องตรงประเด็นคือเคสร่อนพิบูลย์ ควรจะเรียกว่าบล็อกหลังไม่มีการเตรียมตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน แล้วตายมากกว่า ไม่ควรบอกว่าผ่าไส้ติ่งแล้วตายมันจะทำให้คนเข้าใจผิดกัน ทุกวันนี้ผู้คนในบ้านเมืองกลัวผ่าไส้ติ่งจนขึ้นสมอง หารู้ไม่ว่าผ่าเข่าที่โรงบาลตำรวจก็ตายแบบเดียวกัน มันคนละเรื่อง น้าสมควรแกหัวใจหยุดตั้งแต่ยังไม่ได้เปิดช่องท้องเลย 
จากคุณ: Yoyo55 โพสเมื่อวันที่: 12/11/07 เวลา 18:44:05
ทุกความเห็นดีมาก ขอสนับสนุน
 
ขอเสนอ...เรื่องHealth promotion และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในชาวบ้าน และเด็กนักเรียน
คิดว่า น่าจะช่วยลดworkload ของคนสาธารณสุขได้
 
ป้องกันดีกว่าแก้ค่ะ
จากคุณ: tle2 โพสเมื่อวันที่: 12/11/07 เวลา 20:12:21
- กฎหมายควรเป็นกฎหมายไม่ใช่กฎหมู่พวกมากลากไป  
      
    - ควรมีกฎหมายคุ้มครองแพทย์ดีๆต่อการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ( และเห็น  
 
ด้วยกับ คห.2คือไม่นับรวมพวกหมอดูดไขมันเด๊กอายุ 17 หรือหมอที่นำเข้ายา  
 
แปลกๆมาใช้กะคนไข้ตัวเองนะครับ )  
 
 ไม่ใช่ให้หมอรุ่นน้องเด็กๆไปเผชิญชีวิตเอาเองเมื่อเกิดคดีความฟ้องร้องอะไร  
 
ผู้ใหญ่ในกระทรวงไม่เห็นมีปัญญาช่วยอะไรสักอย่าง นอกจากกล่าวคำว่าสงสาร  
 
เห็นใจ  
 
     - ควรมีศาลแพทย์แยกออกมาต่างหากจากศาลอาญา หรือจะเป็นแผนกของ  
 
ศาลที่พิจารณาเรื่องความผิดพลาด หรือบกพร่องทางการแพทย์โดยเฉพาะ ( จะ  
 
เรียกชื่อว่าอะไรก็แล้วแต่ครับ ) เหมือนที่มีศาลแรงงาน ศาลภาษี ศาลอาญา  
 
แผนกคดีนักการเมืองเป็นต้น  
 
     ปล..กรณีนี้ก็คล้ายๆกับแพทย์เฉพาะทางอ่ะครับ เพราะหมอคนนึงคงไม่  
 
สามารถ cover ปัญหาทุกจุดของคนไข้ได้ เรามีศัลยแพทย์ซึ่งชำนาญทางการผ่า  
 
ตัด มีอายุรแพทย์ที่ชำนาญทางการรักษาด้วยยา...  
 
            ดังนั้นระบบศาลก็ควรมีความเฉพาะเจาะจง หรือมีความชำนาญเฉพาะ  
 
ด้านด้วย ไม่ใช่ศาลคนนึงพิจารณาคดีร้อยแปดฟันเก้า คดีแต่ละอย่างก็มีความ  
 
หลากหลาย ผมไม่เชือ่ว่าผู้พิพากษาที่นั่งอยู่บนบัลลังก์วันๆแทบจะไม่ได้เจอโลก  
 
ภายนอก หรือคนสายอาชีพอื่นเลยอ่ะจะตรัสรู้เรื่องนั้นนี้ไปหมดหรอก ต้องยอมรับ  
 
ความจริงว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกมันก็มีผลกะการตัดสินอ่ะ  
 
           แต่อย่าเข้าใจผิดนะครับ การเสนอจุดนี้ขึ้นมานั้นไม่ใช่การให้อภิสิทธิ์แก่  
 
แพทย์แต่อย่างใด ทุกคนมีสิทธิ์เท่าๆกันตามรัฐธรรมนูญ...ถ้าคดีทางการแพทย์ที่  
 
พบว่าแพทย์ทำผิดจริงก็ต้องลงวโทษอย่างจริงจัง ไม่มีการรอมชอม เพื่อไม่ให้ปลา  
 
เน่าทำร้ายปลาดี  
 
          แต่จุดประสงค์ที่เสนอตรงจุดนี้ก็เพื่อ ให้กระบวนการยุติธรรมซึ่งประกอบ  
 
ไปด้วย ศาล อัยการ ทนาย ตำรวจนั้น ต้องมีความละเอียดอ่อนและต้องมีความรู้  
 
มากๆหน่อย ในการพิจารณาคดีทางการแพทย์ เพราะทุกวันนี้บอกได้เลยคน  
 
เหล่านี้ ความรู้เรื่องแพทย์ๆ ด้อยมาก ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อ  
 
กระบวนการยุติธรรมและ กระบวนการทางสาธารณสุข และสุดท้ายผลกรรมก็ตก  
 
ไปอยู่แก่ประชาชนความบกพร่อง  
        
ความเห็นนี้ดีสุดครับ เห็นด้วยครับ
จากคุณ: 716:16 โพสเมื่อวันที่: 12/11/07 เวลา 21:21:25
โครงการประชุมสัมมนา  
เรื่อง เมื่อแพทย์ติดคุก ประชาชนต้องเสี่ยงต่อความตาย จะร่วมกันแก้ปัญหาอย่างไร ?

*****************************************

 
ปัจจุบันในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยได้เป ลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้วไม่เป็นไปตามที่คาดหวังหรือได้รับควา มเสียหายก็จะกระทำการฟ้องร้องดำเนินคดีกับแพทย์ทั้ง ๆ ที่แพทย์ได้มีเจตนาดีที่จะให้การรักษาพยาบาลให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บป่วยป ระกอบกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมีมากขึ้น
 
 ซึ่งที่ผ่านมามีแพทย์หลายท่านที่ถูกศาลพิพากษาจำคุก มีทั้งรอลงอาญาและไม่รอลงอาญา อันส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของแพทย์ผู้นั้น รวมทั้งแพทย์อื่น ๆ ที่มีความมุ่งมั่นต่อวิชาชีพและเกิดความท้อแท้ มีความไม่ปลอดภัยในวิชาชีพเวชกรรม  
 
แพทยสภาจึงเห็นสมควรให้จัดประชุมสัมมนาเรื่อง


 “เมื่อแพทย์ติดคุก ประชาชนต้องเสี่ยงต่อความตาย จะร่วมกันแก้ปัญหาอย่างไร”

 

จึงขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมประชุมสัมมนาในวันพุธที่ 19 ธันวาคม 2550 เวลา 9.00 – 15.30 น. ณ ห้องประชุมนายแพทย์ไพจิตร ปวะบุตร อาคาร 7 ชั้น 9 อาคารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ     ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข โดยไม่เสียค่าลง โดยแจ้งใบตอบรับไปยังสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา อาคาร 6 ชั้น 7 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
 
 หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-590-1886, 1887 กด 2 มือถือ. 081-925-7880 โทรสาร. 02-591-8614 ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2550
จากคุณ: 716:16 โพสเมื่อวันที่: 12/11/07 เวลา 21:21:46
กำหนดการประชุมสัมมนาเรื่อง
“เมื่อแพทย์ติดคุก ประชาชนต้องเสี่ยงต่อความตาย, จะร่วมกันแก้ปัญหาอย่างไร”
วันพุธที่ 19 ธันวาคม 2550
ณ ห้องประชุมนายแพทย์ไพจิตร ปวะบุตร อาคาร 7 ชั้น 9
อาคารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
…………………………………………….

8.30 – 9.00 น.  ลงทะเบียน
9.05 – 9.15 น.  พิธีเปิดการประชุมสัมมนาฯ
 
-กล่าวรายงาน  
โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์อำนาจ กุสลานันท์  เลขาธิการแพทยสภา  
-กล่าวเปิดประชุมสัมมนา  
โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา  

9.15 – 10.00 น.     นำเสนอตัวอย่างคดี
 
- คดีแพทย์ชายถูกจำคุก 4 ปี 2 คน และพยาบาลวิชาชีพถูกจำคุก 1 ปี 1 คน
โดย นายแพทย์สัมพันธ์ คมฤทธิ์ รองเลขาธิการแพทยสภา
 
- คดีแพทย์หญิงถูกจำคุก 3 ปี  
โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา


10.00 – 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง


10.15 – 12.00 น. นำเสนอภาพรวมความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาล
โดย นาวาอากาศเอก(พิเศษ)นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา


นำเสนอแนวทางการแก้ไขในเชิงระบบ
โดย นายแพทย์ปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์   ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ศาสตราจารย์จรัญ ภักดีธนากุล   ปลัดกระทรวงยุติธรรม  
ผู้ดำเนินรายการ : นายแพทย์ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา

12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 - 15.30 น.     ประชุมระดมสมองจากผู้เข้าร่วมสัมมนา
 
1. ระดมปัญหาที่พบจากการรักษาพยาบาลจากผู้เข้าร่วมสัมมนา
2. ระดมสมองเพื่อนำสู่แนวทางแก้ไขปัญหาจากผู้เข้าร่วมสัมมนา
    - ระยะสั้น, ระยะกลาง, ระยะยาว
3. สรุปแนวทางเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเพื่อประชาชน
ผู้ดำเนินรายการ : ศาสตราจารย์นายแพทย์วิรัติ พาณิชย์พงษ์ กรรมการแพทยสภา
 
15.30 น. ปิดประชุม

………………………………………………………..

 
ความเห็นในกระทู้ .15570 .จะถูกนำไปรวมในการสัมนา ..
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1197101298
จากคุณ: Tornus โพสเมื่อวันที่: 12/11/07 เวลา 22:33:14
ควรประสานนโยบายกับกระทรวงสาธารณสุขให้อยู่ในโลกของความจริง ประเทศไทยกำลังซึมซับกับการรักษาแบบ Special List แม้แต่พวกเราเจ็บป่วยก็อยากเดินทางไปหา Special List คดีนี้ศาลก็ตัดสินด้วยมาตรฐานของการรักษาแบบ Special List เช่นกัน
กระทรวงสาธารณสุขกลับเดินไปในทางตรงกันข้าม พยายามส่งเสริมให้เป็น GP เป็น Family Medicine แน่นอนก็มีข้อดี แต่เราเป็นงานบริการประชาชน ประชาชนไม่ชอบแบบ GP ทำแล้วปัญหาก็ยิ่งบานปลายมากขึ้น
การมีโรงพยาบาลทุกอำเภอทุกตำบลหมู่บ้าน  คนที่ได้ผลงานคือผูใหญ่ในกระทรวง แต่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ทำงาน ควรคิดใหม่ได้แล้ว
 
โอกาสนี้คือโอกาสที่ควรจะประกาศให้สาธารณชนรับทราบ ว่าปัญหาแท้จริงคืออะไร ในหลาย Website เช่นของ Thai Justice ไม่มีใครนึกภาพออกว่าประเทศจะเดือดร้อนอย่างไรกับการที่หมอลาออกไปบ้างติดคุ กบ้าง เพราะการรับคนไข้ไม่มี Limit การมีโรงพยาบาลทุกอำเภอทำให้คนไทยคิดว่ามีหมอล้นเหลือ
เมื่อศาลและประชาชนต้องการการรักษาแบบเน้นคุณภาพ ก็ควรเลิกส่งหมอใหม่ออกไปโรงพยาบาลอำเภอ ที่ไม่มีหมอก็ยุบไป เน้นสร้างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จำกัดปริมาณการรักษา แน่นอนว่าการทำแบบนี้ ผู้ใหญ่ในกระทรวงคงจะยอมไม่ได้ เพราะจะไม่มีผลงาน แต่จะปลอดภัยกับแพทย์ผู้รักษามากขึ้น คนไข้ที่ได้รักษาจะมีคุณภาพมากขึ้นแบบที่ศาลและประชาชนต้องการ และประชาชนก็จะตระหนักถึงความเป็นจริงมากขึ้นว่าแพทย์ขาดแคลนเพียงใด ที่เร่งด่วนคือควรประกาศทางหน้าหนังสือพิมพ์ให้ทราบโดยทั่วกันว่า จากนี้ไปโรงพยาบาลที่ไม่มีวิสัญญีแพทย์ ซึ่งก็เป็นโรงพยาบาลชุมชนเกือบทั่วประเทศจะงดการผ่าตัดและทำคลอดทั้งหมด เพราะมีความเสี่ยงสูง พร้อมกับจำกัดปริมาณคนไข้ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่เพื่อรักษาคุณภาพของงาน
 
การสร้างโรงพยาบาลขนาดใหญ่แพทย์อยู่รวมกันเป็นกลุ่มโอกาสที่แพทย์จะลาออกก็น ้อยลงด้วยเช่นกัน
ไม่ใช่ปล่อยไปอย่างนี้ให้นักกฏหมายมานั่งหัวเราะเยาะว่าไม่เห็นว่าประชาชนจะ เดือดร้อนได้อย่างไรกับแค่เอาหมอเข้าคุกคนเดียว กลับบอกว่าดีจะได้เป็นบทเรียนเสียบ้างว่าทุกอาชีพสำคัญเหมือนกัน ไม่มีใครรับรู้ว่าทำงานกันแบบเกินกำลัง หาว่าพูดเกินจริงเรียกร้องความสำคัญ
จากคุณ: cha_wat โพสเมื่อวันที่: 12/11/07 เวลา 22:58:50
อยากให้มีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองการให้บริการสาธารณสุขตามรัฐธรรมนูญมาตร า80(2)ที่ว่าผู้ให้บริการสาธารณสุขซึ่งได้ปฏิบัตฺหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพแ ละจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนด  
ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพมั่นใจว่าจะได้รับการคุ้มครอง และทำให้บรรยากาศการรักษาพยาบาลซึ่งมุ่งเน้นประโยชน์ของผู้ป่วยกลับคืนมา
จากคุณ: Tornus โพสเมื่อวันที่: 12/12/07 เวลา 08:48:09
ผมเคยได้ข่าวว่าเหตุการณ์คล้ายๆกันนี้เคยเกิดที่ USA ในรัฐหนึ่ง มีการฟ้องร้องกันมาก คนไข้ไปถึงรพ.มีทนายไปคอยหน้ารพ.เลยขอให้เซ็นมอบอำนาจการฟ้องร้องล่วงหน้า พบทนายก่อนพบหมอ โดยเฉพาะหมอสูติ
สุดท้ายหมอสูติรัฐนั้นทั้งรัฐประกาศงดทำคลอด อนาถมากคนไข้ต้องขับรถไปคลอดรัฐอื่น รัฐนึงก็กว้างประมาณประเทศไทย ตายระหว่างทางก็มาก สุดท้ายถึงจะเกิดกฏหมายห้ามฟ้องแพทย์ทางอาญา และจำกัดวงเงินทางแพ่ง
ถ้านักกฏหมายเมืองไทยคิดว่าถึงเวลาของกฏหมายแบบ USA เราก็ควรเริ่มบ้างเหมือนกัน คืองดผ่าตัดทำคลอด หรือหัตถการทุกชนิด ในโรงพยาบาลที่ไม่มีวิสัญญีแพทย์ตามที่ศาลต้องการ ก็ไม่มากไม่ใช่หรือครับแค่ประมาณ 700 กว่าโรงพยาบาลเอง  
เพราะเป็นบันทัดฐานในการตัดสินแล้ว แล้วโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศก็เครื่องมิอไม่พร้อมเหมือนๆกัน ขืนทำต่อไปก็โดนแบบเดียวกันทั้งประเทศน่ะครับ สังคมคงลืมไปว่าที่นี่ประเทศไทยไม่ได้รวยแบบ USA
 
รอให้สังคมรับรู้ว่าเดือดร้อนอย่างไรแบบในอเมริกา แล้วค่อยว่ากันอีกที ปีหน้าเลิกส่งแพทย์จบใหม่ไปใช้ทุนในโรงพยาบาลชุมชนสักที เพราะเป็นอันตรายต่อแพทย์จบใหม่มากๆ
 Cry
จากคุณ: zczc โพสเมื่อวันที่: 12/12/07 เวลา 09:19:01
สำหรับโรงพยาบาลรัฐบาล
1. ขอให้หมอที่ทำงานเช้า ไม่ตวรอยูเวรบ่ายดึก  เพราะจะทำให้ขาดประสิทธิภาพในการดูแลรักษาคนไข้  เป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย
 
2.หมอที่ทำงานเวรบ่ายหรือดึก ห้ามทำงานต่อเนื่องในเวรเช้าเพราะจะเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วยเนื่องจาก สติ สมาธิและการตัดสินใจจะหย่อนยาน (อันตรายยิ่งกว่าเมาแล้วขับเครื่องบินเสียอีก)
 
3.ควรมีกฎหมายคุ้มครองแรงงานแพทย์ ไม่สมควรทำงานต่อเนื่องเกิน 8 ชม. ถ้าจะอ้างว่าขาดแคลนแพทย์แล้วใช้ระบบบังคับให้อยู่เวรนั้นไม่สมควรกระทำอีกแ ล้ว เนื่องจากสภาพปัจจุบัน กฎหมายและสังคมไม่ได้เอื้ออาทรและเห็นใจ และให้อภัยแพทย์ ถ้าการรักษามีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นแล้วคอยอ้างว่าแพทย์ยังขาดแคลน แพทย์ทำงานหนัก ไม่ได้พักผ่อนจนทำให้ดูแลคนไข้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ขอให้แพทยสภาพิจารณาการใช้แรงงานแพทย์อย่างไม่มีขีดจำกัดให้รอบคอบ ไม่เห็นด้วยกับการอัดฉีดเงินค่าเวร ค่าตอบแทน (ที่เล็กน้อยเมื่เทียบกับความรับผิดชอบ) แล้วหลอกให้แพทย์ภูมิใจในเกียรติแห่งวิชาชีพที่ต้องเสียสละตนเอง เพื่อประโยชน์สุขของคนไข้
 
4.แสดงป้ายเป็ยลายลักษณ์อักษร ประกาศใหคนไข้รับทราบมาตรฐานที่กำหนดจำนวนผู้ป่วยที่เหมาะสมต่อแพทย์ 1 คน ต่อวัน ทั้งผู้ป่วยในและนอก เพื่อให้แพทย์ทุกคน ได้ทำงานอย่างเหมาะสม เสมอภาคและเป็นที่ยอมรับทั่วไปของผู้ป่วย เพ่อลดแรงกดดันจากสังคม เพราะบาง รพท  แพทย์ 1 คน ตรวจคนไข้ OPD 200 คน
 
 
หมอ รพท. ภาคใต้
จากคุณ: anantom โพสเมื่อวันที่: 12/12/07 เวลา 09:26:06
แพทย์ไม่ควรตรวจคนไข้ เกินวันละ 8 ชั่วโมง
ขอเรียกให้คนที่เป็นแพทย์ทุกคน ต่อสู้ให้แพทย์เราทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน หากอยู่เวรด้วยห้ามทำงานติดต่อกัน> 16 ชั่วโมงครับ ขนาดกรรมกรกฎหมายยังห้ามนายจ้างสั่งให้ทำงานเกิน 16 ชั่วโมงติดกัน
และให้แพทย์ตรวจผู้ป่วย ชั่วโมงละไม่เกิน 6 คน (คนละ 10 นาที) วันละ 48 คน/8ชม
ตามมาตราฐานการตรวจรักษาผู้ป่วยที่เป็นสากลครับ
ผู้ป่วยที่ตรวจไม่ทันเวลาราชการก็ตรวจต่อโดยแพทย์เวรครับ หากแพทย์เวรตรวจไม่หมดก็ตรวจต่อเช้าวันรุ่งขึ้นครับ
แพทย์ไม่ควรรีบตรวจครับ เพราะจะผิดพลาดได้ง่ายและเวลาผิดพลาดไม่มีพวกในกระทรวงช่วยครับ
 Grin Grin
จากคุณ: PCC-9 โพสเมื่อวันที่: 12/12/07 เวลา 13:05:31
อยากขอเสนอความเห็นค่ะ
เห็นกท.ต้นๆ มีข้อเสนอให้เพิ่มพยาบาลเวชปฏิบัติ  หรืออบรมตำแหน่งอื่นๆมาช่วยแพทย์  ตามประสพการณ์ ที่เจอมาคือ
1.คนเหล่านั้นความรู้ไม่แน่นพอ หรือบางครั้งมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน  clinical ไม่แม่นพอ  โอกาศเกิดข้อผิดพลาดย่อมน่าจะมากกว่าแพทย์  แม้แต่เราซึ่งเป็นแพทย์เองหากอยู่นอก field ก็อาจพลาด หรือ ตามความรู้ที่เปลี่ยนไปไม่ทัน
 
2. จากที่ความรู้ไม่แม่น อาจไปพูดอะไรผิดๆ ทำให้ผป. หรือญาติฝังใจว่า จนท.รพ. เคยบอกอย่างนี้  แล้วเมื่อมีปัญหา หากแพทย์บอกแตกต่งไป  ญาติจะรู้สึกว่าเราแก้ตัว  การเปลี่ยนความเห็นคนที่เชื่ออะไรสักอย่าง จะยากกว่าการที่เขาไม่เคยปักใจเชื่อมาก่อนให้เชื่อ
  เคยเจอหลายๆ case (แต่เป็นรายที่ไม่มีการฟ้องร้อง / ไม่มีปัญหา) พยาบาลจะเขียน nurse note  ซึ่งเราที่เป็นแพทย์จะทักว่าทำไมเขียนเมือนกันหมด "  ญาติมีความวิตกกังวล........."    และมีเนื้อความบางครั้งไม่ตรงกับอาการที่ผป.เป็นจริง ( พยาบาลมักจะปักใจที่ first diagnosis เมื่อadmit แม้เมื่อเวลาผ่านไปก็จะไม่ค่อยเปลี่ยนตามที่เป็นจริง ตรงนี้เป็นสิ่งที่จะบอกว่าความรู้เขาจำกัด )    แต่พยาบาลที่เขียนจะบอกว่า "ต้องเขียนของผป.ทุกคน 20-30 คน ก็ต้องเขียนอย่างนี้ล่ะ แล้วทุกคนที่ป่วยก็ต้องกังวลอยู่แล้ว ..... "
 
แพทย์ที่ทำงานจริงๆ จะไม่ค่อยมีการบันทึกอย่าง nurse note  (ซึ่งก็มักไม่ตรงตามจริง และไม่ค่อยมีประโยชน์ ) เพราะไม่มีเวลาพอ  เราที่ยังทำงานจริงๆ จะรู้ว่า ไม่ค่อยสนใจใน nurse note รวมทั้งประวัติจากพยาบาลเท่าไหร่ (เขาจะขอลอกจากประวัติเราบ่อยๆ โดยไม่ได้ซักเอง)
 
ผู้ใหญ่ไม่ค่อยได้เห็นสภาพที่อยู่จริงๆ การแก้ปัญหาอาจไม่ถูกจุด
 
3.ดังนั้นการแก้ปัญหาไม่ควรก่อให้เกิดปัญหาตามมา (จริงๆการผลิตตำแหน่งอื่น
มาทำหน้าที่แทนแพทย์ผู้บริหารน่าจะชอบ เพราะยังไงก็ควบคุมง่ายกว่าแพทย์)
 
4. พอดีเห็นกท.คุณ bigbird ก่อนที่จะ post กท.นี้ พูดเหมือนกับว่า nurse note  ไม่ตรงกับคำให้การของแพทย์  และศาลคิดว่าแพทย์ให้การเท็จ  **ตรงนี้อยากให้ความสนใจมากๆ  เหตุผลเหมือนในข้อ1.  
 
5. ข้อเสนอในการแก้ปัญหา :  
 
 -  คิดว่าน่าจะใช้ระบบเดียวกับประเทศที่ใช้รัฐสวัสดิการ  คือต้องมีการเข้าคิว  ไม่ใช่การบังคับตรวจ หรือต้องทำทุกอย่างให้เสร็จในวันที่ผป.มา  ยกเนในกรณีฉุกเฉิน  และต้องมีการ เขียนออกมาให้ชัดเจนกรณีใดเป็นเรื่องฉุกเฉิน  ฉุกเฉินของผป.กับทางวิชาการอาจไม่ตรงกัน ต้องมีการdefine term ให้เข้าใจตรงกัน
 
  - ที่ไม่เข้ากรณีให้ลงในสมุดนัดตามลำดับ
 
 - ผู้ใหญ่ต้องการชน นักการเมืองที่นโยบาลต้องเอาใจฐานเสียง  บอก๔งความสามารถในการที่เราจะทำได้
จากคุณ: PCC-9 โพสเมื่อวันที่: 12/12/07 เวลา 13:29:54
กท.คุณ bigbird   คือ กท.ที่ 53
จากคุณ: manowka โพสเมื่อวันที่: 12/12/07 เวลา 17:02:55
on 12/08/07 เวลา 19:36:27, anantom wrote:
ถ้ายังเอาเปรียบแพทย์จบใหม่ให้ไปเพิ่มพูนทักษะใน รพช แทนที่จะทำใน รพท/รพศ
แพทย์ทุกคนก็จะเป็นเหยื่อของระบบความเสื่อมทางการแพทย์ เอาแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญไปรักษาผู้ป่วยตาม รพช  เอาชีวิตผู้ป่วยมาเสี่ยง ความผิดพลาดย่อมเกิดได้ตลอดเวลา
ขอเรียกร้องให้แพทย์จบใหม่เพิ่มพูนทักษะใน รพท/ รพศ เท่านั้น
ห้ามส่งแพทย์ที่มีประสพการทำงานน้อยกว่า 3 ปี ไปอยู่ รพช ครับ
 Grin Grin

 
 
 
เป็นไปไม่ได้หรอกค่ะ
จากคุณ: manowka โพสเมื่อวันที่: 12/12/07 เวลา 17:04:56
on 12/08/07 เวลา 19:36:27, anantom wrote:
ถ้ายังเอาเปรียบแพทย์จบใหม่ให้ไปเพิ่มพูนทักษะใน รพช แทนที่จะทำใน รพท/รพศ
แพทย์ทุกคนก็จะเป็นเหยื่อของระบบความเสื่อมทางการแพทย์ เอาแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญไปรักษาผู้ป่วยตาม รพช  เอาชีวิตผู้ป่วยมาเสี่ยง ความผิดพลาดย่อมเกิดได้ตลอดเวลา
ขอเรียกร้องให้แพทย์จบใหม่เพิ่มพูนทักษะใน รพท/ รพศ เท่านั้น
ห้ามส่งแพทย์ที่มีประสพการทำงานน้อยกว่า 3 ปี ไปอยู่ รพช ครับ
 Grin Grin

 
 
เป็นไปไม่ได้หรอกค่ะ  งานรพช. ให้แพทย์เฉพาะทางดูก็ไม่เหมาะหรอก  อายุและความอึดก็เป็นเรื่องสำคัญ
จากคุณ: Xeron โพสเมื่อวันที่: 12/12/07 เวลา 17:57:45
อืม อยากรู้แฮะว่าถ้าตองปิด OR จิงๆจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
จิงๆผมว่าถึงเวลาแล้วนะที่เต้องุกมาแสดงสิทธิของตัวเองบ้าง ความเห็นใจกะคุณธรรมน่ะ มันไม่ค่อยช่วยในสมัยนี้หรอกครับ เราไม่มีอะไรเลยที่จะสู้ในขณะที่อีกฝั่งมีทั้งสื่อ ทั้งบุคคลสนับสนุนอีกหลายคน
จากคุณ: bigbird โพสเมื่อวันที่: 12/12/07 เวลา 21:25:36
on 12/12/07 เวลา 13:05:31, PCC-9 wrote:

 
 
แพทย์ที่ทำงานจริงๆ จะไม่ค่อยมีการบันทึกอย่าง nurse note  (ซึ่งก็มักไม่ตรงตามจริง และไม่ค่อยมีประโยชน์ ) เพราะไม่มีเวลาพอ  เราที่ยังทำงานจริงๆ จะรู้ว่า ไม่ค่อยสนใจใน nurse note รวมทั้งประวัติจากพยาบาลเท่าไหร่ (เขาจะขอลอกจากประวัติเราบ่อยๆ โดยไม่ได้ซักเอง)
 
ผู้ใหญ่ไม่ค่อยได้เห็นสภาพที่อยู่จริงๆ การแก้ปัญหาอาจไม่ถูกจุด
 
3.ดังนั้นการแก้ปัญหาไม่ควรก่อให้เกิดปัญหาตามมา (จริงๆการผลิตตำแหน่งอื่น
มาทำหน้าที่แทนแพทย์ผู้บริหารน่าจะชอบ เพราะยังไงก็ควบคุมง่ายกว่าแพทย์)
 
4. พอดีเห็นกท.คุณ bigbird ก่อนที่จะ post กท.นี้ พูดเหมือนกับว่า nurse note  ไม่ตรงกับคำให้การของแพทย์  และศาลคิดว่าแพทย์ให้การเท็จ  **ตรงนี้อยากให้ความสนใจมากๆ  เหตุผลเหมือนในข้อ1.  
 
5. ข้อเสนอในการแก้ปัญหา :  
 
 -  คิดว่าน่าจะใช้ระบบเดียวกับประเทศที่ใช้รัฐสวัสดิการ  คือต้องมีการเข้าคิว  ไม่ใช่การบังคับตรวจ หรือต้องทำทุกอย่างให้เสร็จในวันที่ผป.มา  ยกเนในกรณีฉุกเฉิน  และต้องมีการ เขียนออกมาให้ชัดเจนกรณีใดเป็นเรื่องฉุกเฉิน  ฉุกเฉินของผป.กับทางวิชาการอาจไม่ตรงกัน ต้องมีการdefine term ให้เข้าใจตรงกัน
 
  - ที่ไม่เข้ากรณีให้ลงในสมุดนัดตามลำดับ
 
 - ผู้ใหญ่ต้องการชน นักการเมืองที่นโยบาลต้องเอาใจฐานเสียง  บอก๔งความสามารถในการที่เราจะทำได้

 
 ขอบคุณครับ ที่มองเห็นจุดนี้ จากประวัติที่แพทย์แพ้คดีเพราะหลักฐานที่มีในเรื่องอาการคนป่วย รายงานปรอทฯลฯ เขาอ้างอิงได้จากตรงนี้ รายงานของแพทย์ไม่ค่อยมีข้อมูลดิบ มีแต่ข้อมูลที่ผ่านการคัดกรองแล้วเป็นส่วนมาก (และส่วนใหญ่จัดทำขึ้นหลังจากเป็นคดีความแล้ว)  
ท่านผู้บริหารแพทยสภาควรจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มาก ดีกว่าจะไปโทษฝ่ายผู้เสียหาย  ลองเอาสำเนาคำพิพากษาฉบับเต็มคดี แพทย์ พยาบาลถูกจำคุก 4 ปีที่สมุยอินเตอร์มาดูกันสิครับ   Undecided
จากคุณ: naruse โพสเมื่อวันที่: 12/13/07 เวลา 01:19:10
ปิดลงความเห็นไปแล้วหรอครับ
อยากให้ช่วยประเมินรพ.ที่ส่งแพทย์ไปใช้ทุน ปฏิบัติกับ intern อย่างผุ้เพิ่มพูนทักษะ หรือผู้ทำงานใช้ทุน เพราะบางรพ.บังคับให้ intern อยู่เวรดูคนไข้ทุกวอร์ด (สูติ ศัลย์ เมด เด็ก icumed icusurgery subicu (ยกเว้นแค่ icu เด็กกับห้องคลอด)และอยู่ ER บ่ายและดึก รวมคนละ 8 เวร (ไม่นับรวม ER เช้า ที่เป็น intern อยู่เวรร่วมกับพี่ emergency med) ทั้งๆที่มี intern ในรพ. แค่ 5 คน แล้วจะแบ่งกันอยู่เวรอย่างไร
จากคุณ: 716:16 โพสเมื่อวันที่: 12/13/07 เวลา 02:26:29
ปิดลงความเห็นเฉพาะ ส่วนที่นำไปเสนอเบื้องต้นครับ
ขอบคุณ ทุกท่านครับ
แต่ยังสามารถออกความเห็นต่อได้จนถึงวันสัมนา 19 ธค.ครับ
จากคุณ: hughgrant โพสเมื่อวันที่: 12/13/07 เวลา 09:09:01
หลายความเห็นด้านบนมีประโยชน์มากครับ เช่น ศาลทางการแพทย์ การจำกัดชั่วโมงการทำงานของแพทย์ แต่บางอย่างอาจเป็นไปไม่ได้ เช่นการงดส่งหมอจบใหม่ไปรพช.
ผมขอลอกสิ่งที่ผมเสนอจากกระทู้เดิมๆมาในที่นี้นะครับ
1. Medical Education: อาจารย์แพทย์ทุกท่านในทุกสถาบัน ควรจัดหลักสูตรบังคับให้มีการเรียนระดับเข้มข้น ในเรืองของ Moral dilemma, การสื่อสารทางการแพทย์, การบันทึกเวชระเบียนในระดับมาตรฐานสากล, และกฏหมายทางการแพทย์ โดยไม่ได้ใช้วิทยากรที่เป็นอาจารย์แพทย์ในปัจจุบันที่มีอยู่เท่านั้น แต่ต้องมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาสอนด้วย นอกจากนี้ต้องมีการสอบและประเมินประเด็นต่างๆอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นปีแร  กจนถึงระดับอินเทิร์นหลังจบปี6ไปแล้วอีกด้วย เรืองประเด็นจริยธรรมในการดำรงชีพและดำรงวิชาชีพต้องถือเป็นอันดับแรกของการ  ประเมิน มิใช่ว่านักศึกษาแพทย์ทำการปลอมลายเซ็นอาจารย์ในสมุดหัตถการแล้วยังปล่อยให้  ผ่านไปได้โดยไม่ได้ลงโทษให้ซ้ำวิชานั้นอย่างที่เราเห็นบ่อยๆในโรงเรียนแพทย์    
2. Health System Re-reform: ระบบสาสุขบ้านเราต้องยอมรับว่าได้รับผลกระทบอย่างใหญ่หลวงจากเจตนาดีของคุณห  มอหงวน และเราต้องยอมรับว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าวได้อีกแล้วครับ เท่าที่เห็นมีอยู่ทางเดียวคือ ผู้บริหารและ economist ในสปสช ในIHPP ในสวรส จะต้องทำการคาดประมาณค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากระบบ Defensive Medicine ที่ควรจะได้รับคำแนะนำจากทุกๆราชวิทยาลัยในการสร้างระบบนี้ขึ้นโดยมีจุดประส  งค์เดียวที่สำคัญที่สุด คือการปกป้องสมาชิกแพทย์ในประเทศไทยที่จะได้รับผลกระทบทางอาญาและแพ่งจากควา  มผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการทำการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัตถการหรือ Invasive Procedures ใดๆก็ตาม โดยต้องออกมาในรูปแบบของ Standard Operating Procedure มิใช่ Clinical Practice Guidline ดังเช่นที่เห็นในปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงและช่วยให้ศาลมีบรรทัดฐา  นในการพิจารณาคดีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตครับ  
3. การสนับสนุนและทำความเข้าใจกับแพทย์ พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขให้รับทราบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และดำเนินการตามมาตรฐานที่ระบุไว้อย่างเคร่งครัด และ promote การดูแลรักษาแบบ Defensive Medicine ให้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยมีการประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการวางแผนงบประมาณอย่างสม่ำ  เสมอ  
4. การสร้างระบบประกันสุขภาพแบบร่วมจ่าย และการประกันสุขภาพแบบจ่ายเองในประเทศไทย และควรยอมรับได้แล้วว่า ระบบสุขภาพแบบไม่จ่ายเลยนั้นเป็นไปไม่ได้หากจะหวังให้ได้ความเป็นเลิศทางการ  ดูแลรักษาอย่างที่บางคนหรือหลายคนคิด  
ผมยังยืนยันว่าสี่ข้อดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งครับ และได้ส่งให้อาจารย์สมศักดิ์ นายกแพทยสภาเรียบร้อยแล้ว
จากคุณ: RETINA โพสเมื่อวันที่: 12/13/07 เวลา 11:43:36

 
 
หัตถการหลายอย่างที่ GP สามารถทำได้  
 
คงจะไม่ทำกันแล้วล่ะค่ะ
 
 Smiley
จากคุณ: morsoo โพสเมื่อวันที่: 12/13/07 เวลา 13:53:22
ผมสนใจร่วมประชุมแต่ติดภารกิจ จึงขอเสนอมุมมองหลังจากได้เรียนด้าน บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หรือMBA ทำให้มีความรู้เพิ่มเติม มีมุมมองกว้างขึ้นกว่าเดิมอาจเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ของเรา จึงใคร่ขออนุญาตเสนอความเห็นจากมุมมองทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์ต่อกรรม การแพทยสภา ดังนี้ครับ
      สถานการณ์ปัจจุบัน สังคมไม่ไว้วางใจแพทย์ เมื่อมีปัญหาในการรักษา แพทย์ไม่อาจอธิบายต่อสังคมเนื่องจากสังคมตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่าแพทย์แก้ตั ว วิธีการสร้างความเข้าใจกับสังคมของแพทยสภาและแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ยังมีทิศทางที่ไม่แน่นอน ทำตามความรู้สึก แม้จะเป็นความจริง และมีเจตนาที่ดี แต่อาจไม่ถูกหลักการทางวิชาการทางด้านการประชาสัมพันธ์ ในสถานการณ์เช่นนี้ ไม่อาจสร้างการยอมรับได้เลยด้วยการอธิบายความจริง หรือถกเถียงอย่างตาต่อตาฟันต่อฟัน ทำมาหลายปีน่าจะสรุปได้แล้วว่าไม่ได้ผล แม้ว่าหมอจะพูดความจริงก็ตาม
   ทางออกที่ถูกต้องคือการนำทฤษฏีการตลาดและการประชาสัมพันธ์มาใช้ สร้างเป็นแผนกลยุทธ์ในด้านการประชาสัมพันธ์ขององค์กรของแพทย์ แพทยสภาอาจเป็นต้นเรื่องก็น่าจะดีครับ หากจะให้ผมช่วยด้านนี้ก็ยินดี (โทร 081 6758222) หรือจะใช้นักการตลาดที่มีชื่อเสียงก็ได้ แต่แผนกลยุทธ์นี้ก็ควรเป็นแผนภายในองค์กรไม่ต้องไปป่าวประกาศนะครับแต่เพื่อ นร่วมวิชาชีพแพทย์ทุกคนควรรู้ เข้าใจ ตระหนักในปัญหานี้เสียก่อน และช่วยกันทำ เพื่อทำให้ภาพลักษณ์แพทย์ในสายตาประชาชนเริ่มดีขึ้น ผมแน่ใจว่าได้ผล แต่อาจต้องรอผลนานเท่าใดยังสรุปไม่ได้ อาจ2-3ปี หรือ5ปี ก็ยังคุ้มค่า เพื่อให้แพทย์เป็นที่ไว้วางใจของสังคมมากกว่านี้  
ส่วนรายละเอียดนั้นมีมากคงต้องอธิบายกันพอสมควรครับ เมื่อได้กลยุทธ์แล้วก็สร้างกิจกรรมหรือแผนการปฏิบัติให้ตรงกับวัตถุประสงค์
 
ผมจะลองอธิบายให้เห็นภาพพอสังเขป ดังนี้นะครับ
เมื่อองค์กร หรือกลุ่มบุคคลใด ไม่ได้รับความไว้วางใจในเรื่องใดการพยายามอธิบายด้วยเหตุผล จากคนกลุ่มนั้นไม่สามารถทำให้อีกฝ่ายยอมรับฟังได้  เช่น มีกรณีผู้ป่ายเสียชีวิต แล้วแพทย์ถูกมองว่าปกป้องกันเอง แพทย์ไม่ยอมรับว่าทำการรักษาผิดพลาด รวมทั้งความเห็นที่ว่า แพทย์เป็นกลุ่มคนที่เห็นแก่เงิน ไม่เห็นแก่ผู้ป่วย หรือแพทย์เป็นอาชีพที่ทำงานสบาย รายได้สูงมาก มีชีวิตสุขสบายกว่าคนอื่น หรือกรณีที่สังคมไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าแพทย์ทำงานกันอย่างไร เสียสละกันอย่างไร การเสียสละโดยสังคมไม่รับรู้เลย จึงไม่มีผลในการช่วยให้ผู้สูญเสีย มองแพทย์ในแง่ดี  เหตุการณ์เช่นนี้ แพทย์ หรือองค์กรแพทย์ใด จะพยายามอธิบาย ด้วยความจริง ด้วยเจตนาให้สังคมเข้าใจเท่าใด ก็ย่อมไม่น่ารับฟัง หรือไม่น่าคล้อยตาม  
1. ทางหนึ่ง การอธิบาย หรือทำความเข้าใจเป็นกรณีๆไป ดังที่ทำกันอยู่ก็ยังคงต้องทำกันไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้า แต่ไม่สามารถหวังให้เกิดผลดีต่อวงการแพทย์โดยรวมหรือสร้างความเข้าใจให้สังค ม เพราะสังคมไม่พร้อมจะยอมรับฟัง  หรือการที่จะมีความเห็นรุนแรง ชนิดตาต่อตาฟันต่อฟัน เมื่อไม่ยอมไว้ใจแพทย์ แพทย์ก็ไม่ยอมไว้ใจผู้ป่วย หรือไม่ยอมรักษาผู้ป่วย คิดในแง่ความอัดอั้นตันใจของแพทย์แล้วก็น่าเห็นใจ แต่หากคิดในแง่วิชาการทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์แล้ว ประโยชน์ไม่มีเลย สังคมไม่มีทางเข้าใจ ไม่ว่าจะมองประโยชน์ต่อกรณีปัญหาที่กำลังมีอยู่ หรือประโยชน์กับวงการแพทย์ในระยะยาวก็ตาม แม้การพยายามอธิบายตามความจริง อย่างที่ท่านนายกแพทยสภาที่ผมเคารพรักท่านอย่างยิ่ง ได้พยายามอธิบายให้สังคมทราบข้อเท็จจริงมาหลายครั้งแล้วก็ตาม ในแง่มุมมองทางการตลาดแล้ว การทำดังกล่าวแม้จำเป็นต้องทำ แต่ก็ไม่ตรงหลักการในการแก้ปัญหาเท่าใดนัก
2. อีกทางหนึ่ง เป็นสิ่งที่แพทย์มักไม่เห็นความสำคัญ เพราะคิดว่างานมากแล้ว ไม่ใช่หน้าที่ เป็นต้น แต่ในหลักการทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์แล้วสำคัญมากๆ ตรงข้ามกับความเห็นข้างต้นเลยทีเดียว สำคัญกว่าแนวทางแรกและมีประโยชน์กว่าอีกด้วย คือแพทย์ต้องประชาสัมพันธ์หรือ public relation ให้สังคมเห็นว่าแพทย์ไม่ได้เป็นอย่างที่สังคมเข้าใจ แพทย์ต้องสร้างความเลื่อมใสต่อสังคม กรณีนี้ไม่ได้ทำเพื่อเชื่อมโยงใดๆ กับกรณีปัญหาที่กำลังขัดแย้ง หรือกำลังเป็นข่าวใดๆ  เราต้องร่วมกันสร้างมุมมองที่ดีต่อแพทย์แก่สังคม เป็นวาระร่วมกันของแพทย์ทุกคน อาจไม่เคยทำมาก่อน และแพทย์ไม่เคยคิดว่าต้องทำเลย นั่นก็คือแพทย์ทุกองค์กร ทุกจังหวัด ควรมีกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่การรักษาโรคในสำนักงานของตนเองเท่านั้น กิจกรรมที่ว่า ต้องมีผลให้ประชาชนในจังหวัดได้เห็น ได้ชื่นชม ไม่ใช่การทำตามหน้าที่ แต่เป็นการทำเพื่อสังคมโดยไม่หวังเงินตอบแทน เช่น การที่แพทย์จังหวัดหนึ่งรวมตัวกัน ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องไข้เลือดออกกันทั้งจังหวัด จัดทำเวทีนอกสถานที่ ประชาสัมพันธ์ให้มาก ให้ทั่วถึง อาจร่วมกันไปตรวจผู้ยากไร้ เดือนละครั้ง โดยไม่เกี่ยวกับโรงพยาบาลไม่เกี่ยวกับราชการโดยตรง เป็นการรวมกันทำด้วยใจ  โดยทำต้องหวังผลประชาสัมพันธ์ความเป็นแพทย์  ให้สังคมเห็นมุมมองที่แพทย์ไม่ได้เห็นแก่เงิน หรือมาเพราะมีหน้าที่ต้องทำ แต่เป็นการให้แก่สังคม
3. หากเป็นไปได้ ในด้านส่วนตัวแพทย์เอง (บางท่าน) ต้องหยุดฝึกให้ตนเองเกิดความคิดไม่ตรงไปตรงมากับผู้ป่วย (Malpractice) เช่น การบอกว่าเป็นโรคหัวใจอ่อน ต้องทานยาหัวใจไปตลอด (นี่เป็นเพียงตัวอย่าง ยังมีอีกหลายๆกรณี ที่ทำกันจนไม่เกิดความละอายแล้ว) ต่างอะไรกับพ่อค้าหลอกขายสินค้า เพื่อหวังเงินมากๆ ซึ่งนี่จะทำให้จิตใจตนเอง รู้ว่าตนเองไม่ได้เป็นแพทย์ที่ดีอะไร ก็แค่หลอกสังคมว่าตนเป็นคนดี บริสุทธิ์ แต่ในใจตนเองก็รู้ว่าตนเองไม่ใช่ เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสร้างบุคลากรแพทย์ด้วยตัวแพทย์เอง ให้มีจิตใจที่มั่นคง เป็นผู้นำทางความคิด เป็นกลุ่มคนที่มุ่งมั่นใจความดี เป็นผู้มีปัญญามาก ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า แพทย์ส่วนใหญ่ หรือจำนวนหนึ่ง ทั้งที่เป็นผู้ปริหารระดับสูง ระดับกลาง หรือระดับล่าง หรือแม้แต่แพทย์ทั่วไป ก็หลงไปสู่สังคมวัตถุนิยมอย่างโงหัวไม่ขึ้นเช่นกัน ดังนั้นแพทย์ต้องกลับมาทบทวนตัวเอง ทบทวนวัฒนธรรมองค์กร ของสังคมแพทย์เองด้วย นี่จึงไม่แปลกว่าแพทย์ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เพื่อส่วนรวมขององค์กรตัวเอง หรือประเทศชาติได้ไม่ดีนัก  
หากจะให้ผมช่วยด้านนี้ก็ยินดี (โทร. 081 6758222) หรือจะใช้นักการตลาดที่มีชื่อเสียงก็ได้  
จากคุณ: season โพสเมื่อวันที่: 12/14/07 เวลา 22:29:16
เห็นด้วยเรื่องการประชาสัมพันธ์ครับ
ต้องทำแบบให้เกิดผลด้วยครับ
ถ้าจะออกทีวี ต้องออกแบบที่สื่อให้คนทั่วไปเข้าใจได้
ต้องทำการบ้านมากๆ  
สื่อมีอิทธิพลมากนะครับ
ต้องใช้ให้เป็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ไม่ใช่สร้างศัตรู
นี่ก็คือศาสตร์และศิลป์เหมือนกันนะครับต้องศึกษาให้ดี และเอามาใช้
เราเห็นคนเลวๆใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อทำให้ความเลวเป็นความดีมาแล้ว
เราเองจะทำเรื่องที่คนเข้าใจผิดให้เข้าใจถูกบ้างไม่ได้เชียวหรือ
ยากเกินสมองของผู้บริหารของพวกเราหรือ Huh
จากคุณ: Tu โพสเมื่อวันที่: 12/15/07 เวลา 07:01:22
This problem is  for politicians and Ministry of Public Health
It should not be any of our responsibilities
I have to stress that I have been working for US Federal Government for almost 20 yrs.  I used to work in rural hospitals back in Thailand too.
 
It is a misunderstading that an individual government doctor in the US or in the West can be sued.  
I have to see any patient that shows up like us back home.  They are patients without insurance.  I got fixed income and incentive for working more.  Patients can not be referred easily for having no private insurance or monies.  I work under government rule and regulation that require me to take care of the patients until he or she can be referred which might never happen.
 
GOVERNEMENT MD IN THE US CAN NOT BE SUED FOR WORKING ON THE BEHALF OF THE GOVERNMENT UNLESS HE OR SHE INTENTIONALLY HARMED THE PATIENTS SUCH AS KICKING HIM OR HITTING HIM WITH A STICK !!!.   Patients can request for compensation from the goverment but then it has to be from the government not FROM MDs.    
 
If we do not do it right, it is the fault of Ministry of Public Health for not providiing enough support or PUTTING US TO WORK.  If the doctor is not good enough then she should not be in the hospital.  
 
It is for the welfare of the society.  What is happenning is absurd and beyond apprehension.  The law needs to be changed and Ministry of Publinc Health is the responsible party not the doctors.
จากคุณ: natty_return โพสเมื่อวันที่: 12/16/07 เวลา 02:22:55
สิ่งที่ควรทำหลังจากเกิดคดีนี้นะคะ
 
1.เปลี่ยนกรอบแนวความคิดเดิมของกระทรวงที่ออกมาว่าแพทย์ที่จะไปใช้ทุนเป็นแพ ทย์ที่เพิ่งจบ ที่ควรทำคือหลังจากจบพบ แล้วควรให้แพทย์ทุกคนเรียนต่อเฉพาะทางทันที หลังจบเฉพาะทางแล้วค่อยให้ไปใช้ทุนหลังจากนั้น เพื่อเป็นการยีนยันว่าแพทย์ต้องไปใช้ทุนจริง อาจพิจารณาเพิ่มจำนวนเงินที่แพทย์ต้องใช้คืนถ้าไม่ไปใช้ทุน จากเดิม 4 แสน อาจเพิ่มเป็น ตัวเลขหลักล้าน
 
2 .แก้ตัวบทกฎหมายที่รัฐบาลชุดที่แล้วทำไว้เกี่ยวกับข้อลงโทษทางการแพทย์ ไม่ทราบว่ากฎหมายชุดทีแล้วที่ออกมาที่ทำให้แพทย์ต้องรับโทษทางอาญาได้ผ่านขบ วนการขั้นตอนที่ 3หรือไม่ (ขั้นตอนที่ 3 การรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้อยู่ใต้บังคับกฎหมายFocus group) ) นั่นก็คือรับฟังความคิดเห็นของแพทย์สภาก่อนผ่านกฎหมายดังกล่าว หรือว่าตอนนั้นแพทย์สภาก็เห็นด้วยกับรัฐบาลของนายกทักษิณ
 
กรณีกฎหมายที่ต้องผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีได้แก่ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการไว้ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ให้ทำการตรวจสอบ ศึกษา และวิเคราะห์กฎหมายเป็นรายฉบับ
ขั้นตอนที่ 2 ยกร่างกฎหมายแต่ละฉบับเสร็จ
ขั้นตอนที่ 3 การรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้อยู่ใต้บังคับกฎหมาย
(Focus group)
ขั้นตอนที่ 4 การพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนากฎหมายของกระทรวง
และหรือคณะกรรมการร่างกฎหมายของกระทรวง
ขั้นตอนที่ 5 เสนอร่างกฎหมายมาที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ขั้นตอนที่ 6 คณะรัฐมนตรีพิจารณา
ขั้นตอนที่ 7 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
ขั้นตอนที่ 8 เสนอสภาผู้แทนราษฎร
 
3.ถ้าแพทย์โดนฟ้องร้อง ถ้าแพทย์คนนั้นรับราชการ กระทรวงสาธารณสุขควรเป็นคนออกค่าใช้จ่ายให้แพทย์ในการถูกฟ้องร้องนั้น หรืออย่างน้อยทางโรงพยาบาลที่แพทย์ท่านนั้นทำงานอยู่ควรมี การทำประกันให้แพทย์ทุกคนเพื่อกรณีถูกฟ้องร้อง ทางประกันจะได้เป็นคนจ่ายค่าเสียหายให้
 
4.ถ้าจะให้แพทย์ขึ้นศาล และมีการเบิกพยานซึ่งเป็นแพทย์เฉพาะทาง ถ้าศาลไม่เชื่อความน่าเชื่อถือของแพทย์เฉพาะทางคนนั้น ควรจะเรียกแพทย์เฉพาะทางสาขาเดียวกันคนอื่นมาให้ความคิดเห็น ไม่ใช่ไปสรุปเอาเอง แล้วเชื่อแพทย์ที่ไม่ใช่เฉพาะทางด้านนั้น ความรู้ทางการแพทย์ ไม่เหมือนความรู้ทางกฎหมายที่ตายตัวตามมาตรานั้นๆ ความรู้ทางการแพทย์ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นอยู่กับการวิจัยใหม่ๆ มาหักล้างทฤกษีเก่าๆ นั้น กว่าตำราแต่ละเล่มจะออกมา ความรู้ที่อยู่ในตำราก็ล้าหลังกว่า ข้อมูลใน journal ดังนั้นการกล่าวอ้างตามตำราจึงไม่ควรเชื่อถือ 100%
 
ถ้าทำได้ดังกล่างวงการฟ้องร้องของประเทศไทยจะได้เหมือนอเมริกาเสียที ที่ไม่ใช่แต่รับเรื่องฟ้องแพทย์อย่างเดียว โดยไม่มีการปกป้องแพทย์เลย  
อย่างน้อยถ้าแพทย์มีความผิดจริง แต่ก็เป็นการกระทำด้วยเจตนาบริสุทธ์ เป็นการรักษา ซี่งการรักษาทุกอย่างมีความเสี่ยง  
 โทษที่ควรจะได้รับไม่ควรจะมากกว่าดาราขับรถชนคนตาย
จากคุณ: talerngkiat โพสเมื่อวันที่: 12/20/07 เวลา 00:32:40
ผมจบโท ด้านวิศวะ ครับ  
   
  ดูข่าวสารแล้ว เห็นใจทั้งแพทย์ และคนไข้ และ ผมก็เข้าใจว่า บ้านเมืองเราทุกวันนี้ ความคิด จิตใจ ของคนในสังคมเปลี่ยนไปในทางที่ต่ำลง เสื่อมทรามลงไป  
   
เป็นสังคมที่มีแต่รูป ไร้ นาม คือ มีแต่ตัวรูปร่าง ขาดจิตวิญญาณ  
เสพสุข กับอำนาจของกิเลส คือ โลภ โกรธ และ หลงไหลในสิ่งที่ชอบ  
มีความลำเอียง (อคติ) เพราะ รัก เพราะ ไม่รู้ เพราะ กลัว และ เพราะ โกรธ  
   
ตนไข้เมื่อไม่ได้ดั่งใจ ก็ ฟ้อง เกิดความขัดแย้งขึ้น ทำให้ ทัศนคติ เพี้ยนไป    
ทั้ง ผู้ให้บริการ (หมอ) และ ผู้รับบริการ (คนไข้)    
   
เมื่อผู้รับบริการ มีเครือข่าย เอ็นจีโอ เครือข่าย ที่ปกป้อง  
   
ทำไม หมอ ไม่มีเครือข่ายปกป้องบ้างครับ    
   
ผมขอเป็นผู้เริ่มนะครับ  
   
ตั้งชื่อว่า "เครือข่ายปกป้องแพทย์"  
   
โดย บริจาค คนละนิดละหน่อย เอาไว้สร้างทีมทนาย ที่มีความรู้ด้านแพทย์  
และ หรือ ส่งแพทย์ ไปเรียนกฎหมาย เพื่อ ปกป้องตนเอง  
   
ทำระบบสาระสนเทศ แบบง่ายๆให้กับหมอ เช่น  
   
ก่อนแอดมิด มีการบันทึกวีดีโอ และ มีพยาน ทุกครั้ง    
   
ยกตัวอย่าง...เช่นกรณีนี้ ถึงที่สุดแล้ว ถ้าหมอไม่ผิด  
ก็ต้องอาศัย "เครือข่ายปกป้องแพทย์" ฟ้องต่อศาลปกครอง  
   
กับเครือข่ายอื่นๆ ที่ทำให้เกิด ทัศนะคติ เชิงลบ กับนักเรียนแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์  ต่อสังคมโดยรวม เกิดการ ส่งผ่าน คนไข้ ที่มีอัตราการ ตายมาก กว่า 5 เปอร์เซ็นต์  เพราะ ไม่มีหมอกล้าผ่า โยนไปที่อื่นอย่างเดียว  
   
อย่างนี้เครือข่าย อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรณี นี้ ต้องรับด้วย โดยยื่นที่ศาลปกครอง  
   
ผมจะช่วย บริจาค ให้กับ "เครือข่ายปกป้องแพทย์"  
เป็นคนแรกครับ  
   
คุณหมอ หรือ ท่านใด จะเข้าร่วม กับเครือข่าย  
ขอความเห็นจากคุณหมอทั่วประเทศ และจาก ผู้มีคุณธรรม  
แนะนำแสดงความเห็น ในการที่ จะริเริ่มก่อตั้งเครืองข่าย ปกป้องแพทย์ มาที่  
   
   
doctor_protection@windowslive.com  
   
นะครับ  
จากคุณ: ZtahC โพสเมื่อวันที่: 12/22/07 เวลา 11:19:08
ผมว่าควรต้องรื้อวิธีพิจารณาคดีอาญาทางการแพทย์ใหม่
 ในกรณีนี้  ต้องออกกฎหมายเอาโทษแพทย์ที่ประกอบอาชีพโดยสุจริต
 ด้วยวิธีการจำคุก แต่ไม่ใช่บุคคล เป็นการจำคุกใบอนุญาต
 เอาหมอเข้าคุกทางวิชาชีพ  เพราะเอาเข้าคุกจริงก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร
 เสียคนคนหนึ่งไปเปล่า ๆ ไปประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้ โดยไม่สามารถทำร้ายผู้อื่นด้วยการแพทย์ได้
 ซึ่งแพทยสภาต้องเสียสละอำนาจส่วนนี้ไปให้ศาลแพทย์แทน
 ยกเว้นกรณีที่ประกอบอาชีพไม่สุจริต ประมาทในทางที่ไม่ใช่การแพทย์ เช่น หนีเที่ยวไม่มาอยู่เวร ก็ต้องโทษตามคดีอาญาเดิม
 
โดยแพทยสภามีหน้าที่ตรวจสอบแพทย์เช่นเดิม และยื่นเรื่องให้ศาลแพทย์ตัดสิน  
     
 ถ้ากลัวหมอขาดแคลน ก็มีกฎหมายเฉพาะลงไปอีก
 
 กรณีแพทย์ทำหัตถการแล้วมีภาวะปัญหาเกิดขึ้นด้วยปัญหาทางบุคคล ศาลแพทย์สามารถมีคำสั่งให้ยุติการทำหัตถการนั้น
เช่น หมอกระดูก ผ่าตัด spine มีปัญหา ก็ให้งด
หมอศัลยกรรมตกแต่ง ผ่าตัดเสริมนู่น เสริมนี้ มีปัญหา ก็ให้งด
 
 กรณีปัญหาอยู่ที่ระบบ โรงพยาบาลไม่พร้อม ก็สามารถมีคำสั่งให้ปรับปรุงแก้ไข
 หากไม่สามารถแก้ไขก็ปิดโรงพยาบาลนั้นชั่วคราวจนกว่าจะปรับปรุง
จากคุณ: onethaidoctor โพสเมื่อวันที่: 12/23/07 เวลา 11:37:37
เท่าที่ผมดู ๆ มามีแต่คนแนะนำการแก้ปัญหา คนแสดงความเห็นใจ ทำไมไม่มีแพทย์ท่านใดคิดว่ากรณีนี้จำเป็นต้องตอบโต้บ้าง  เราปล่อยให้ประเทศไทยไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด หรือไม่พยายามเข้าใจการทำงาน และจรรยาบรรณที่พวกเรามีมานานเกินไปแล้ว  คำแนะนำเท่าที่ผมเห็นมันเอาไว้ใช้ในกรณีหน้าครับ ผู้ที่เดือดร้อนขณะนี้จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน  เท่าที่ดูวิธีการของเรานิ่มนวลเหลือเกิน ไม่รู้จะได้ผลหรือเปล่า ถึงได้ผลก็ไม่รู้ติดคุกไปกี่วันแล้ว  ผมเชื่อว่ากรณีนี้ต้องตอบโต้ แต่คิดไม่ออกเหมือนกันว่าทำอย่างไรดีที่จะไม่ให้รุนแรงจนเกินไป
จากคุณ: เด็กดื้อ โพสเมื่อวันที่: 12/31/07 เวลา 17:28:05
เห็นด้วยกับคห. 16  เพราะว่าบางทีเอาน้องๆหมอไปอยู่รพช.ตั้งแต่จบปีแรกๆประสบการณ์น้อย ก็ย่อมเกิดความผิดพลาดได้ ยิ่งปัจจุบันระบบการรีเฟอร์คนไข้ก็ยาก(ในบางที่) ยิ่งทำให้การทำงานยากมากขึ้น  น่าเห็นใจ....
จากคุณ: penfold_bin407 โพสเมื่อวันที่: 01/01/08 เวลา 08:59:19
แพทย์ต้องการศาลแพทย์
อีกหน่อยก็ต้องมี ศาลบัญชี ศาลวิศวกรรม ศาลทันตแพทย์ ศาลสัตวแพทย์
ศาล........ และก็ต้อง มีผู้พิพากษา เป็นนักบัญชี วิศวกร .....เพราะคนอื่นไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ
 
ปัญหาจึงอยู่ที่ทำอย่างไรให้ คนอื่นเข้าใจ
จากคุณ: banana_number9 โพสเมื่อวันที่: 01/06/08 เวลา 14:27:00
Lips Sealed
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 01/13/08 เวลา 11:15:21
ผมคิดว่า ตอนนี้ ในทางแพทยสภา คงทำอะไรนอกจากนี้ไม่ได้มากนัก ... แต่ก็อยากจะฝากเรื่องของ ตัวอย่างคดีที่แพทยสภาตัดสินไปแล้ว รวมถึง คำวินิจฉัยของศาลที่ตัดสินไปแล้ว ...
 
อยากให้นำมาเผยแพร่ให้ได้รู้กัน อาจลงในเวบหรือทำเป็นหนังสือ ก็ได้ครับ ..  
 
แล้วถ้าเป็นไปได้ ก็อยากให้มีชั่วโมงเรียนสำหรับน้องปี ๕ ปี ๖ จะได้ระมัดระวังตัว ไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก ..
 
 
 
 
 
มีบทความ ของ นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ในวารสาร medical pregress  ฉบับที่ ๑ เดือน มค. เรื่อง  
 
จุดบอด ของการต่อสู้ คดีอาญา ของแพทย์
 
อยากให้พวกเราลองไปหาอ่านกัน มีอะไรน่าสนใจเยอะเลยครับ โดยเฉพาะ เกี่ยวกับ ประเด็นร้อน คดีหมอสุทธิพร จะได้พอรู้ว่า ทำไม ถึงแพ้คดี ในศาลชั้นต้น  ...  
 
แล้วก็เผื่อจำเป็น ต้องใช้ ถ้าถูกฟ้อง ( อ่านไว้ให้รู้ แต่หวังว่า คงไม่ต้องใช้ ) ...  
 
 
 
ปล.  
 
อยากให้แพทย์ทุกคนได้อ่าน  
 
"  กฏหมายกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรม "  
 
 
 ของ คุณหมอ เมธี ด้วยนะครับ .. จริงๆ แล้ว น่าจะถือว่าเป็น หนังสือ ที่ต้องอ่าน สำหรับ แพทย์ที่ยังประกอบวิชาชีพอยู่ ทุกคนเลย ก็ว่าได้
จากคุณ: walkin โพสเมื่อวันที่: 01/18/08 เวลา 17:51:47
^^^ Roll Eyes
จากคุณ: nong-pang โพสเมื่อวันที่: 01/25/08 เวลา 20:44:10
Cry


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by