หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   ICU : Interesting Creative Usergroup
   Post reply ( Re: ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษา  แพทย์ควรทำอย่างไร ??? )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 01:12:22
ผมได้ดูและฟัง VCD บันทึกการประชุมวิชาการเลย สรุปมาฝากกัน ..  Wink
 
Interdepartmental conference คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล   ๒๖ พย  ๒๕๔๗
 
ผลิตโดย หน่วยโทรทัศน์ศึกษา สถานเทคโนโลยีการศึกษาทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  
โทร. 02-419-7434
 
ทำไม ผู้ป่วยถึงปฏิเสธการรักษา  : รศ.นพ.พิพัฒน์ เชี่ยววิทย์  
 
๑ Doctor-patient relationship เกิดจากความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วยที่ไม่เหมาะสมกัน  ไม่ได้ใครผิด เพียงแต่ อาจไม่ถูกชะตากันก็ได้  ส่งผลได้ ๒ แบบ คือ แบบไม่สนใจฟังเลย ปฏิเสธทันที และแบบฟังแต่ไม่ปฏิบัติตาม
 
๒ Communication problem การสื่อสาร ผู้ป่วยฟังแล้วไม่เข้าใจ
 
๓ Side effects of treatment ผลข้างเคียงจากการรักษา เช่น การให้เคมีบำบัด
 
๔ Inadequate informationการให้ข้อมูลที่ไม่เพียงพอ เช่น ถ้ารักษา หรือ ไม่รักษา มีข้อดีข้อเสียอย่างไร  มีผลอย่างไร ความเสี่ยงของการรักษามีอะไรบ้าง
 
๕ Psychiatric problemsปัญหาทางจิตเวชเอง เช่น ภาวะซึมเศร้า  
 
๖ Denial ปฏิเสธจากจิตไต้สำนึกในระยะแรก แต่ต่อมาก็จะค่อย ๆ ยอมรับได้
 
๗ No insight ไม่ยอมรับความเจ็บป่วยของตนเอง ไม่อยู่ในสภาพความเป็นจริง
 
 
 
ไม่ว่าแพทย์ จะเก่งเพียงใด หรือ รพ.จะดีเพียงใดก็ตาม  
การรักษาจะไม่ประสบความสำเร็จ  
 
ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีจากผู้ป่วยและญาติ

 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 01:17:11

 
ความยินยอมในทางการแพทย์ Informed Consent : รศ.นพ. วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์
 
 
ความยินยอม Consent
 
      เป็นการทำนิติกรรม เป็นการดำเนินการทั้งสองฝ่าย
 ต้องเข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องการทำนิติกรรม คือ
  ต้องมีความสามารถในการทำนิติกรรม
  ต้องรู้และเข้าใจสิ่งที่กำลังทำอยู่
 
 
 
ในทางอาญา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2508
 
๑. ต้องเป็นความยินยอมที่บริสุทธิ์ คือได้มาโดยชอบ มิได้เป็น การถูกหลอกลวง กลฉ้อฉล ถูกข่มขู่ สำคัญผิด หรือ ด้วยวิธีการประการหนึ่งประการใดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
๒. ต้องเป็นความยินยอมที่ได้จากผู้ป่วย ซึ่งมีความสามารถในการให้ความยินยอม
 
๓. ต้องเป็นความยินยอม ที่มีอยู่ตลอดเวลา
 
๔. ต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงาม ของสังคม
 
 
ในทางแพ่ง  
 
๑.มีวัตถุประสงค์ที่ไม่เป็นข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
 
๒.ไม่เป็นการพ้นวิสัย
 
๓.ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสังคม
 
๔.ต้องเป็นการแสดงเจตนาอย่างแท้จริง มิได้เกิดจากการแสดงเจตนาล่อลวง สำคัญผิดในสาระสำคัญ ถูกกลฉ้อฉล ถูกข่มขู่
 
๕.ผู้ให้ความยินยอมต้องมีความสามารถตามกฎหมาย
 
๖.จะต้องกระทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด
 
๗.ต้องมีอยู่ตลอดเวลาที่ให้กระทำประการหนึ่งประการใด
 
 

การดำเนินการใด ๆ กับผู้ป่วยจะต้อง  
 
“ขอความยินยอม “  
 
จากผู้ป่วย หรือ ผู้มีอำนาจในการให้ความยินยอมทุกราย  
 
ถ้าไม่ได้รับความยินยอม ก็อาจมีความผิดได้ ทั้งทาง  
 
อาญา แพ่ง จริยธรรม และ วินัย

 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 01:18:21

 
ถ้าผู้ป่วยปฏิเสธการักษา แล้วเราทำตามนั้น ก็จะเกิดความเสี่ยงตามมา เช่น
 
๑. การไม่กระทำ ก็อาจมีความผิดฐาน “งดเว้นการที่จัดต้องกระทำ“ตามมาตรา 59 ปอ.ประกอบมาตรา 374
 
๒. การไม่กระทำใด ๆ เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย อาจเข้ากรณี เล็งเห็นผลที่เกิดขึ้น ถือเป็นการกระทำโดยเจตนาอย่างหนึ่งได้ เช่น ฆ่าคนตายโดยเจตนา
 
๓. การที่แพทย์มิได้กระทำ (งดเว้นการกระทำ) อาจถูกฟ้องร้องจากทายาทผู้ป่วยอื่น ๆ ที่มิใช่ผู้ได้รับมองอำนาจหรือผู้ที่อยู่ ณ สถานพยาบาลในขณะที่จำเป็นต้องมีการดำเนินการทางการแพทย์ได้  
 
๔. ความเสี่ยงในการฟ้องร้อง จึงมิใช่พิจารณาแต่เพียงการถูกฟ้องร้องจากผู้ป่วย ทายาท หรือ ผู้มีอำนาจที่อยู่ ณ สถานพยาบาลหรือใกล้เคียงกับตัวผู้ป่วยเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงทายาท อื่น ๆ ด้วย  รวมถึงความผิดทางอาญา
 
๕. กฎหมายไทย ยังไม่มีบทบัญญัติในเรื่อง การยอมให้แพทย์
 - ทำตามพินัยกรรมชีวิต ( Living will )
 - การยินยอมให้มีการปล่อยให้ผู้ป่วยที่อยู่ในวาระท้ายแห่งชีวิตถึงแก่ความตายอ ย่างสงบ
 
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 01:19:25

ปัญหาHuh

 
 

กระทำการ ทางการแพทย์โดย  
มิได้รับความยินยอม ก็อาจมีความผิด
 
 
ไม่กระทำการ ทางการแพทย์ เพราะ  
มิได้รับความยินยอม ก็อาจมีความผิด  
จากคุณ: => Mr. Sniper  <= โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 01:20:30
ขอบคุณคับ  Cheesy
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 01:23:09

ปัญหาดังกล่าวถูกคลี่คลาย โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา ( คณะที่ ๑๐ )  เรื่องเสร็จที่ 250/2546

 
 
สรุปหลักปฏิบัติสำหรับแพทย์
 
๑.   กรณีที่ผู้ป่วยเจ็บป่วยด้วยประการใด ๆ และ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการทางการแพทย์เป็นการเร่งด่วน เนื่องจากอันตรายยังไม่ถึงแก่ชีวิต นั้น เจตนาของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ แพทย์จึงไม่สมควรดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของผู้ป่วยในเรื่องการดำเนินการทางการแพทย์
 
๒. กรณีที่การป่วยเจ็บของผู้ป่วยอยู่ในขั้นที่จะก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตของผ ู้ป่วยดังกล่าว แม้ผู้ป่วยจะมีเจตนาอย่างใดในการรักษา ( no consent , document against to medical procedure ) แพทย์ก็จะต้องดำเนินการทางการแพทย์ โดยยึดมาตรฐานทางการแพทย์เป็นหลัก แม้ว่าจะเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของผู้ป่วยก็ตาม
 
๓.การที่แพทย์ยังคงยึดถือเอาเจตนารมณ์หรือความยินยอม ( informed consent ) ของผู้ป่วยเป็นที่ตั้ง โดยไม่ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ในมาตรฐานทางการแพทย์ เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย และต่อมาผู้ป่วยถึงแก่ความตาย เช่นนี้ ย่อมมีความผิดทางอาญาและจะต้องตามมาด้วยความผิดในทางแพ่งและจริยธรรมร่วมด้ว ย  
 
 
 
ประเด็นสำคัญ  ก็คือ  
 
๑. อันตรายถึงชีวิตหรือไม่  
๒. มาตรฐานการรักษาทางการแพทย์
 
 
 
อ่านไว้เพื่อรู้ ...  Wink
จากคุณ: littlerock โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 03:06:28
ขอบคุณครับ
 
เคยเจอคนไข้เป็น meningioma ที่กด optic  nerve  มาด้วยตามัว อธิบายว่าต้องผ่าตัด ไม่งั้นตาจะบอด คนไข้บอกว่า "ตาบอดข้างเดียว ไม่เป็นไร  ช่างมัน" :p  เกลี้ยกล่อมอยู่นาน ในที่สุดก็ไม่ยอมผ่า ยอมตาบอด..  Tongue Tongue
จากคุณ: แฉล้มป์ โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 08:12:34
ผมเห็นว่า ในหลายๆกรณี การพิจารณาว่าเป็นอันตรายแก่ชีวิตหรือไม่ก็ทำได้ยากยิ่งนัก นักกฎหมายเขาคงมองข้ามตรงนี้ เพราะในขณะตรวจคนไข้นั้นยังไม่ทราบเรื่องที่จะเกิดตามมา แต่การพิจารณาคดีความนั้น เรื่องทั้งหลายมันจบลงแล้ว ก็จะเป็นการพิจารณาย้อนหลัง เช่น
 
หากแพทย์พิจารณาแล้วว่า อาการเจ็บหน้าอก ไม่เป็นอันตรายแก่ชีวิต ผู้ป่วยปฎิเสธการจตวรจ EKG แพทย์จึงให้ผู้ป่วยกลับ หลังจากนั้นเพียงไม่ถึงชั่วโมง ผู้ป่วยเสียชีวิต พิสูจน์ศพ พบว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน นักกฎหมายมาดูภายหลัง ย่อมเห็นว่า ดุลพินิจของแพทย์ที่ว่า ไม่เป็นอันตรายแก่ชีวิต นั้นผิด แพทย์ก็ย่อมมีความผิด
 
ตรงกันข้าม หากแพทย์ เห็นว่า เป็นอันตรายแก่ชีวิต ผ่าฝืนความประสงค์ของคนไข้ แต่ปรากฎภายหลังว่า ไม่ได้เป็นอันตรายใดๆ แพทย์ก็จะมีความผิดอีกเช่นกัน
 
อันว่า เป็นอันตรายแก่ชีวิตหรือไม่ นั้น เป็นเรื่องยากที่จะตัดสินได้ เราทราบเพียงแค่ว่า อาจจะเป็นอันตรายแก่ชีวิต หรือ น่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิต หรือ น่าจะไม่อันตราย
 
ยิ่งไปกว่านั้น กรณี ผูป่วยมีความประสงค์ NO CPR นั้นยิ่งยุ่ง เพราะเป็นการประสงค์ไม่ให้ช่วยเหลือแม้ว่าจะมีอันตรายแก่ชีวิตที่ชัดแจ้ง หากยึดตาม คณะกรรมการกฤษฎีกา ( คณะที่ ๑๐ )  เรื่องเสร็จที่ 250/2546 แพทย์ย่อมทำตามประสงค์ของผู้ป่วยเช่นนั้นไม่ได้
จากคุณ: Dr.999 โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 08:15:52
ใส่ทิ้ว ต่อท่อเข้าเครื่องช่วยหายใจแล้วค่อยคุยกับญาติให้ครบใช้เวลาสักหลายๆชั่วโมง หรือหลายๆวันจนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ทำให้ทุกคนพอใจ
ถ้าผู้ป่วยยังสติดีแล้วปฎิเสธการรักษา หมอเราก็กลับบ้านนอนเอาแรงไว้รักษาคนไข้คนต่อไป
ถ้าเอากฎหมายมาเป็นเกณฑ์หมอก็ไม่ควรเป็นหมอไปขายเต้าฮวยดีกว่าเพราะทุกการๆก ารกระทำเพื่อคนไข้ล้วนแต่เป็นการประมาททั้งสิ้นตามภาษากฎหมาย
ฮ่วย
จากคุณ: mr.love โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 08:35:50
อัดวีดีโอ  ถ่ายคลิป..........เป็นคำตอบสุดท้าย
จากคุณ: เรื่องธรรมดา โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 08:56:50
Smiley
จากคุณ: D_HRT โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 09:32:41
Dilemma
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 12:42:42

Quote:
ผมเห็นว่า ในหลายๆกรณี การพิจารณาว่าเป็นอันตรายแก่ชีวิตหรือไม่ก็ทำได้ยากยิ่งนัก นักกฎหมายเขาคงมองข้ามตรงนี้ เพราะในขณะตรวจคนไข้นั้นยังไม่ทราบเรื่องที่จะเกิดตามมา แต่การพิจารณาคดีความนั้น เรื่องทั้งหลายมันจบลงแล้ว ก็จะเป็นการพิจารณาย้อนหลัง

 
เห็นด้วยกับคุณ แฉล้มป์ อย่างยิ่งเลยครับ ...  
 
 
Quote:
ถ้าเอากฎหมายมาเป็นเกณฑ์หมอก็ไม่ควรเป็นหมอไปขายเต้าฮวยดีกว่าเพราะทุกการๆก ารกระทำเพื่อคนไข้ล้วนแต่เป็นการประมาททั้งสิ้นตามภาษากฎหมาย  

 
แต่หมอเราก็ต้องเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ไว้ .. ไม่เช่นนั้น ความหวังดีที่เราทำไป อาจกลายมาเป็นหอกทิ่มแทงเราภายหลัง ... เพียงเพราะเราไม่รู้กฏหมาย ..  Cry
 
ไม่ต้องกังวลมากไปหรอกครับ ... ถ้าไม่หนักหนาสาหัสจริงๆ  ไม่ผิดจัง ๆ ผมเชื่อว่า ศาล ท่านก็คงเมตตากับ หมอ ๆ อยู่บ้าง  ...   Roll Eyes
จากคุณ: arm โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 13:32:25
ก็คงต้องยอมรับชะตากรรมค่ะ
 
เมื่อทำในสิ่งที่คิดว่าดีที่สุดแล้ว
จากคุณ: prang21 โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 15:31:32
เห็นใจคุณหมอทั้งหลายจังเลย   ในที่นี้คงหมายถึงผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาอย่างยิ่ง   ถ้าไม่รักษาจะอันตรายมาก ๆ  Shocked  Shocked  Shocked    
 
แต่บางคนเค้าอาจอยากปล่อยตามยถากรรม  ก็ต้องปล่อยเค้าไปค่ะ   แต่ห้ามมาโทษหมอ  
 
........
ของมดก็เป็น   แต่ไม่ถึงกับปฎิเสธการรักษา   เป็นโรคเล็ก ๆ น้อย ๆ  แต่ต้องพบหมอ 3-6 เดือนครั้ง  กินยาด้วย   ก็เลยไม่ไปหาหมอมาได้เกือบปีแล้ว   เพราะขี้เกียจไป
 
คิดว่าอะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด     ไปอย่างเดียวคือหมอฟันค่ะ    Grin  Grin  
 
จากคุณ: ส้มตำ โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 15:50:48
วัดดวงเอา
 
ทั้งกับคนไข้ ตอนนีพิจารณาแล้วไม่ฉุกเฉิน แต่ medicine รู้อยู่แล้วว่าอาจจะพลิกล๊อค
 
ทั้งกับศาล ผู้พิพากษา สุดแท้แต่ท่านจะจินตนาการไปแค่ไหน อย่าลืมว่าท่านมิได้เป็นแพทย์ มาตรฐานทางการแพทย์ท่านก็มิทราบ ท่านใช้สามัญสำนึกพิจารณาว่าแพทย์ในมิติของท่านควรเป็นอย่างไร แพทย์ที่เป็นจำเลยทำตามที่ท่านตั้งธงไว้ไหม ถ้าไม่ตรงกัน ความซวยก็จะมาถึงตัว
 
แปลกใจไหมครับที่หมอแพ้เกือบทุกคดี
จากคุณ: Baimai1 โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 18:00:33
พี่ว่าสิทธิ์ของคนไข้ที่ปฏิเสธการรักษา  สิทธิ์ที่ตายอย่างทุกข์ทรมานด้วยโรคอย่างเดียว  ไม่อยากทุกข์ทรมานเพราะเครื่องมือหรือความผิดพลาดใดๆ ทั้งสิ้นถ้าเราพิจารณาว่าไม่เกิดประโยชน์อะไร  คนในวงการสาธารณสุขเราก็มักจะถามกันเสมอ  ว่าสมมติเราเป็นอะไรสักอย่างที่รู้จะจะยืดเวลาอีกไม่เท่าไหร่  หรือเสียเวลาและทรัพย์หากจะต้องใส่ tube เราก็คิดว่าเราขอเขียน consent form ไว้ตั้งแต่ต้น  แต่ทั้งนี้ก็อาจจะต้องเรียกญาติสำคัญมาตัดสินในหากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือ ไม่อาจอยู่ในภาวะที่ตัดสินใจได้ (ซึ่งบางทีก็ไม่ตรงกับความตั้งใจของคนไข้)  แล้วหมออย่าโกรธกับการตัดสินใจของคนไข้นะคะ  เพราะมันก็เป็นสักครั้งหนึ่งในหลายๆ ครั้งที่ยอมให้หมอรักษามาตลอด  แต่ครั้งสุดท้ายคนไข้ขอตัดสินใจด้วยตัวเอง  มันทรมาน มันเหนื่อยแล้วค่ะ Cry
จากคุณ: Ryoku_Ocha-ken วันนี้วันสุข โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 18:42:32

 
เจตนารมณ์ของคนไข้เป็นเรื่องใหญ่ครับ...
 
ถ้าเขาไม่ต้องการ การรักษา A ( และญาติ ๆ ก็เห็นด้วยอีกต่างหาก )
 
ทั้ง ๆ ที่บอกกับแพทย์แล้ว บันทึกความยินยอมไว้แล้ว แต่แพทย์ก็ยังทำตามไม่สนใจอะไร ทำเพราะต้องทำตามหลักการไว้ก่อน
 
อันนี้ไม่ดีแน่ครับ...
 
 
 
ถ้าเป็นตัวเราเองก็คงเหมือนกันใช่มั้ยครับ ?
 
ถ้าเราเป็น CVA แล้วถ้าต้องรู้สึกตัวขึ้นมาในสภาพ bed ridden  
 
ต้องนอนเป็นผัก ให้ลูก ๆ พลิกตัวทำแผล feed ทาง NG สวน foley ใช้นิ้วล้วงแคะแก้ท้องผูกเป็นครั้งๆไป.....สมมุติว่านานอีก 10 ปีกว่าจะตาย
 
เราก็ suffer ลูกก็ suffer  ทั้ง ๆ ที่เราก็เคยบอกหมอแล้วว่าไม่ให้ช่วย
 
แต่หมอก็ยังช่วย
 
ช่วย..เพราะกลัวว่าถ้าไม่ช่วยแล้วเขาจะผิด...
 
อย่างนี้มันน่าโมโหมั้ยครับ ?
 
 Cry   Cry  
จากคุณ: ดญ.ดอกแห้ว โพสเมื่อวันที่: 06/18/07 เวลา 22:15:31
ว่าตามพี่หมอหมู  Grin Grin
 
จากคุณ: springday โพสเมื่อวันที่: 06/19/07 เวลา 10:33:55
ถ้าญาติที่อยู่ที่รพ. OK ว่า no CPR
เราจะทราบได้อย่างไร ว่าญาติทุกคนเห็นพ้องต้องกัน
คือฟังดูเหมือนว่าถ้ามีญาติแม้เพียงคนเดียวไม่เห็นด้วยก้อฟ้องเราได้
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 06/19/07 เวลา 13:00:30
Quote:
ถ้าญาติที่อยู่ที่รพ. OK ว่า no CPR  
เราจะทราบได้อย่างไร ว่าญาติทุกคนเห็นพ้องต้องกัน  
คือฟังดูเหมือนว่าถ้ามีญาติแม้เพียงคนเดียวไม่เห็นด้วยก้อฟ้องเราได้

 
ใช่แล้วครับ เมื่อสัก ๘ ปีที่แล้ว ผมก็เคยโดน ลงหนังสือพิมพ์ อยู่ครั้งหนึ่ง ... ผู้ป่วยเสียชีวิต หลังอยู่ ICU ประมาณ ๑ อาทิตย์ ผมไปดูเช้าเย็นทุกวัน อธิบายพูดคุย กับคนที่มาเฝ้ามาเยี่ยมทุกวัน ...  
 
เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต ทั้งภรรยา(หลวง) และ บุตร รวมถึง ญาติพี่น้อง ก็เข้าใจดี ....  
 
แต่ เผอิญ ภรรยา อีกคน มาจาก กทม.  ไม่เคยมาเจอกับผมเลย  ... ไปร้องเรียนหนังสือพิมพ์ และจะแจ้งความ .. โชคดี ที่ภรรยา(หลวง) และ บุตร ไม่เล่นด้วย ไม่งั้นผมก็คงเละเหมือนกัน   Lips Sealed
 
 
 
ปัญหา ของปัจจุบันนี้ ก็คือ  .... ขาดความไว้วางใจ
ซึ่งกันและกัน

 
หมอ ก็ไม่แน่ใจว่า ผุ้ป่วย (ญาติ )  จะเอาอย่างไง Huh
 
ผู้ป่วย ( ญาติ ) ก็ไม่แน่ใจว่า หมอ รักษาดีที่สุดหรือยัง Huh
 
 
ถ้าพูดแบบตรง ๆ ก็คือ  คงต้อง เสี่ยงดวง
   Undecided
 
 
เอาเป็นว่า เราก็ทำหน้าที่ของหมอให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )  ดูแล รักษา ผู้ป่วยให้ดี  อธิบาย ตอบคำถาม ต่อผู้ป่วยและญาติ  ฯลฯ ...   ผมเชื่อว่า พวกเรารู้กันอยู่แล้วว่า ควรจะทำอย่างไร ... ส่วนจะทำได้แค่ไหน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง  Lips Sealed
จากคุณ: แฉล้มป์ โพสเมื่อวันที่: 06/19/07 เวลา 13:05:08
ผมหากระทู้นี้ข้างล่างเสียนาน (สองวันได้มั้ง) ไม่เจอ
 
คิดว่าตัวเองฝันไปว่ามีกระทู้นี้แล้ว  
 
ที่จริงย้ายอยู่ข้างบนนี่เอง
 
 Wink
 
ผมว่าเรื่องนี้ สรุปยาก แต่โดยมากแล้ว ผมจะมีแนวโน้มจะทำตามประสงค์ของญาติเป็นส่วนมาก
 
หากมีญาติบางคนไม่เห้นด้วย ผมคงต้องยอมถูกฟ้อง
 
แม้ญาติเห็นด้วยทุกคน ยังอาจจะมี กิ๊ก เพื่อนสนิท เพื่อนผู้หวังดี ฟ้องได้อีก เหมือนเดิม  Grin
จากคุณ: okee โพสเมื่อวันที่: 06/19/07 เวลา 14:02:30
ผมว่าการรักษามาตรฐานนั้นดี แต่ไม่ใช่จะดีที่สุด เหมือนกฏหมายนั้นดีแต่ที่บังคับใช้ไม่ได้ก็มาก
 
บริบทนั้น ๆ สำคัญมาก
ถ้าคนไข้รู้สึกตัวดี มีอำนาจตามกฏหมายในขณะนั้น ๆ การตัดสินใจของเขาน่าจะต้องยึดเป็นหลัก
แต่ถ้าบริบทเปลี่ยนไป ไม่มีอำนาจแล้ว ไม่มีสติแล้ว การตัดสินใจของญาติน่าจะสำคัญที่สุด(หมายถึงญาติที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยทั้งทา งสายเลือดและพฤตินัย)
 
ในสถานะการณ์ tube + CPR ตัวผมเองจะช่วยไปก่อนและคุยกับญาติระหว่างการทำหัตถการไปด้วยเป็นระยะ ๆ ไม่ค่อยได้ดูเรื่อง consent form เป็นหลัก
 
แต่ถ้าการรักษาที่ไม่เร่งด่วนจนเป็นอันตรายถึงชีวิต (บางครั้งวัดดวงอย่างหมอหมูว่า) ต้องยึด consent form เป็นหลัก
 
 Sad
จากคุณ: miko โพสเมื่อวันที่: 06/20/07 เวลา 13:43:46
ขอแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ
 
ส่วนตัวเจอคนไข้แบบนี้บ่อย
 
เพราะคนไข้ที่เจอ 50 กว่าเปอร์เซนต์ไม่คิดว่าตัวเองป่วย
 
จึงไม่ยอมรับการรักษา
 
และ ปัจจุบันกฏหมายก็ยัง  บังคับคนไข้ไม่ได้ ต้องรอศาลสั่งเท่านั้น
 
แต่ที่พอปฏิบัติกันได้ เนื่องจาก คนไข้ถูกสังคม และ สิ่งแวดล้อมบังคับให้มารักษา  
 
เนื่องจากถ้าปล่อยไปจะเกิดความอันตราย ต่อ ตนเอง และ สังคม
 
แต่ถึงอย่างไรหมอก็บังคับคนไข้ไม่ได้
 
ดังนั้นวิธีที่แนะนำ คือ  
 
1-พยายามคุยกับผู้ป่วยด้วยความเมตตา ไม่ใช่การท้าทาย เช่น แน่จริงไปเลย หรือ ไม่มีที่ไหนดีกว่าที่นี่หรอก อะไรแบบนี้
 
2-ถามเหตุผล หรือปัญหาในใจผู้ป่วยเป็นหลัก และ หาทางออกร่วมกัน บอกว่าอะไรที่เราพอช่วยได้จะช่วย
 
3-หาญาติ มาเป็นพันธมิตรให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะคนที่เป็นญาติสายตรง และ มีอิทธิพลกับคนไข้  
 
4-ถ้าสุดท้ายแล้วเขาเลือกทางไม่รักษา โดยมีสติสัปชัญญะสมบูรณ์พร้อม และ ญาติก็เห็นด้วย ก็คงต้องวางอุเบกขา
 
5-สุดท้ายอย่าลืมชื่นชมกับสิ่งที่เราทำด้วย ไม่ใช่ทำมาเยอะแยะ แต่สุดท้ายพอผลไม่เป็นดั่งใจก็หงุดหงิด แล้วใจเป็นทุกข์ อย่าลืมมุฑิตา (Appreciate) ให้ตนเองด้วยนะครับ
 
ขอให้มีความสุขกับความดีที่ได้ทำนะครับ  Smiley
 
อารามDog
จากคุณ: cumulonimbus โพสเมื่อวันที่: 06/20/07 เวลา 13:54:50
Grin  Grin  Grin
จากคุณ: Doc.DIP โพสเมื่อวันที่: 06/21/07 เวลา 13:47:09
ปัจจุบันนี้มีแพทย์ทางเลือก....
ให้คนไข้ได้..เลือก................
หาย....ไม่หาย   ก็ไม่ต้องโทษกัน  เพราะเลือกเอง
................ Grin      Cool    Shocked
จากคุณ: Dormicum โพสเมื่อวันที่: 06/22/07 เวลา 18:52:34
ตอนนี้ทนทำงานกับความเสี่ยงไปก่อน
 
แต่คงไม่ทำตลอดไปแน่  Tongue
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 06/22/07 เวลา 19:23:25
Quote:
ดังนั้นวิธีที่แนะนำ คือ  
 
1-พยายามคุยกับผู้ป่วยด้วยความเมตตา ไม่ใช่การท้าทาย เช่น แน่จริงไปเลย หรือ ไม่มีที่ไหนดีกว่าที่นี่หรอก อะไรแบบนี้  
 
2-ถามเหตุผล หรือปัญหาในใจผู้ป่วยเป็นหลัก และ หาทางออกร่วมกัน บอกว่าอะไรที่เราพอช่วยได้จะช่วย  
 
3-หาญาติ มาเป็นพันธมิตรให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะคนที่เป็นญาติสายตรง และ มีอิทธิพลกับคนไข้  
 
4-ถ้าสุดท้ายแล้วเขาเลือกทางไม่รักษา โดยมีสติสัปชัญญะสมบูรณ์พร้อม และ ญาติก็เห็นด้วย ก็คงต้องวางอุเบกขา  
 
5-สุดท้ายอย่าลืมชื่นชมกับสิ่งที่เราทำด้วย ไม่ใช่ทำมาเยอะแยะ แต่สุดท้ายพอผลไม่เป็นดั่งใจก็หงุดหงิด แล้วใจเป็นทุกข์ อย่าลืมมุฑิตา (Appreciate) ให้ตนเองด้วยนะครับ  

 
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ .. Shocked
 
ตอนนี้ หมอเราต้อง พยายาม ให้เวลา กับผู้ป่วยและญาติ มากขึ้น  พยายามพูดคุยมากขึ้น ...  Cool
 
บางครั้งอาจมีข้อจำกัด  แต่ก็คงจำเป็น ...  โดยเฉพาะในกรณีที่เราเห็นว่า ผู้ป่วย (ญาติ) อาจมีปัญหา  Roll Eyes
จากคุณ: mhor_ba โพสเมื่อวันที่: 06/23/07 เวลา 22:45:54
เหมือนเอาขาแหย่ไปในลูกกรงข้างนึงแล้ว
จากคุณ: nubelbo โพสเมื่อวันที่: 06/25/07 เวลา 10:56:14
เห็นด้วยกับ คห.23ครับ Roll Eyes Roll Eyes Roll Eyes
จากคุณ: MadDoc. โพสเมื่อวันที่: 06/25/07 เวลา 22:30:45
ดีมั๊กๆ ขอบคุณอับ Roll Eyes
จากคุณ: 37.0_celsius โพสเมื่อวันที่: 06/26/07 เวลา 19:35:02
วันนี้มีเด็กเหลือง  พ่อแม่จะเอาไปเป่า   ยังไงก็จะเอาไปให้ได้    
 
 
เลยให้กลับไป 2-3 ชั่วโมงแล้วรีบกลับมาส่องไฟต่อ
จากคุณ: ชอลิ้วเฮียง โพสเมื่อวันที่: 06/28/07 เวลา 13:50:49
Smiley
จากคุณ: md 008 โพสเมื่อวันที่: 06/29/07 เวลา 19:33:09
รบกวนถามผู้รู้
ถ้าคนไข้ทำพินัยกรรม NR ตัวเอง ว่าไม่ต้อง CPR ถ้าarrest จะใช้ได้หรือไม่ ในเมื่อเป็นเจตนารมย์คนไข้
แล้วถ้าจะมีคนทำเหมือนเมืองนอก ว่าถ้าตัวเอง coma ขอให้คนนี้เป็นคนตัดสินใจว่าจะ NR หรือไม่ ทำได้ในกม.ไทยหรือเปล่าครับ
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 06/30/07 เวลา 19:54:08
Quote:
ถ้าคนไข้ทำพินัยกรรม NR ตัวเอง ว่าไม่ต้อง CPR ถ้าarrest จะใช้ได้หรือไม่ ในเมื่อเป็นเจตนารมย์คนไข้  
แล้วถ้าจะมีคนทำเหมือนเมืองนอก ว่าถ้าตัวเอง coma ขอให้คนนี้เป็นคนตัดสินใจว่าจะ NR หรือไม่ ทำได้ในกม.ไทยหรือเปล่าครับ

 
ตอนนี้บ้านเรา ยังไม่มีกฏหมายรับรองครับ ...  Lips Sealed
 
รออีกหน่อย ไม่แน่ อาจได้ใช้แบบเมืองนอก  Roll Eyes
จากคุณ: นรกขุมสุดท้าย โพสเมื่อวันที่: 07/01/07 เวลา 16:23:15
น่ากลัวนะครับถ้าจะตายก็ตายไม่ได้ต้องนอนรอยืดความตายด้วยความทรมานไปเรื่อย ๆ
safe life แต่ no quality of life  Wink
จากคุณ: Dr.Joe โพสเมื่อวันที่: 07/02/07 เวลา 21:52:52
๕. กฎหมายไทย ยังไม่มีบทบัญญัติในเรื่อง การยอมให้แพทย์  
 - ทำตามพินัยกรรมชีวิต ( Living will )  
 - การยินยอมให้มีการปล่อยให้ผู้ป่วยที่อยู่ในวาระท้ายแห่งชีวิตถึงแก่ความตายอ         ใน  พรบ.สุขภาพแห่งชาติที่เพิ่งผ่านไปนั้นได้ข่าวว่ายอมรับแล้วในเรื่องนี้  เพียงแต่ยังไม่มีกฎกระทรวงที่จะกำหนดแนวทางปฏิบัติ
จากคุณ: UNKI โพสเมื่อวันที่: 07/06/07 เวลา 15:24:09
Undecided
จากคุณ: Firehead โพสเมื่อวันที่: 07/07/07 เวลา 22:20:12
on 06/18/07 เวลา 01:23:09, หมอหมู wrote:

ปัญหาดังกล่าวถูกคลี่คลาย โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา ( คณะที่ ๑๐ )  เรื่องเสร็จที่ 250/2546

 
 
สรุปหลักปฏิบัติสำหรับแพทย์
 
๑.   กรณีที่ผู้ป่วยเจ็บป่วยด้วยประการใด ๆ และ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการทางการแพทย์เป็นการเร่งด่วน เนื่องจากอันตรายยังไม่ถึงแก่ชีวิต นั้น เจตนาของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ แพทย์จึงไม่สมควรดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของผู้ป่วยในเรื่องการดำเนินการทางการแพทย์
 
 
๒. กรณีที่การป่วยเจ็บของผู้ป่วยอยู่ในขั้นที่จะก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตของผ ู้ป่วยดังกล่าว แม้ผู้ป่วยจะมีเจตนาอย่างใดในการรักษา ( no consent , document against to medical procedure ) แพทย์ก็จะต้องดำเนินการทางการแพทย์ โดยยึดมาตรฐานทางการแพทย์เป็นหลัก แม้ว่าจะเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของผู้ป่วยก็ตาม
 
๓.การที่แพทย์ยังคงยึดถือเอาเจตนารมณ์หรือความยินยอม ( informed consent ) ของผู้ป่วยเป็นที่ตั้ง โดยไม่ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ในมาตรฐานทางการแพทย์ เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย และต่อมาผู้ป่วยถึงแก่ความตาย เช่นนี้ ย่อมมีความผิดทางอาญาและจะต้องตามมาด้วยความผิดในทางแพ่งและจริยธรรมร่วมด้ว ย  
 
 
 
ประเด็นสำคัญ  ก็คือ  
 
๑. อันตรายถึงชีวิตหรือไม่  
๒. มาตรฐานการรักษาทางการแพทย์
 
 
 
อ่านไว้เพื่อรู้ ...  Wink

 
แล้วอย่างนี้ ที่ญาติผู้ป่วย arrest ซ้ำแล้วซ้ำอีก แล้วไป advice NR แล้ว accept แล้วตอนที่ arrest ไม่ได้ NR แล้วเสียไป ก็ถือว่าเป็นความผิดงั้นหรือครับ แล้วจะมี NR ไว้ทำไมครับเนี่ย
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 07/08/07 เวลา 10:11:19
Quote:
 
แล้วอย่างนี้ ที่ญาติผู้ป่วย arrest ซ้ำแล้วซ้ำอีก แล้วไป advice NR แล้ว accept แล้วตอนที่ arrest ไม่ได้ NR แล้วเสียไป ก็ถือว่าเป็นความผิดงั้นหรือครับ แล้วจะมี NR ไว้ทำไมครับเนี่ย

 
ถ้าถามว่า เป็น ความผิด หรือไม่ Huh
 
ก็คงไม่หรอกครับ ถ้าเรามีข้อมูลหลักฐานว่า เราได้อธิบายทางเลือกต่างๆ แล้วญาติ ยอมรับ และ เลือกทางเลือกนั้น ...  Wink
 
ปัญหาก็คือ เรามีอะไรเป็นหลักฐานไว้บ้างหรือเปล่าว่า ได้แนะนำแล้ว ... Shocked
 
ไม่ได้อยากให้กังวลมากนัก แต่ก็ไม่อยากให้ปล่อยปะละเลย  ... ไม่เช่นนั้นอาจเจอญาติ บางคนที่ไม่เข้าใจ ก็จะเกิดปัญหาตามมา แค่มีเรื่องร้องเรียน หรือ แค่มีข่าวว่าจะฟ้อง หมอเราก็แย่แล้วครับ ...  Cry
 
ถ้าเราไม่มีหลักฐานไว้บ้าง ถ้าถึงต้องขึ้นศาล ก็คงยื้อเยื้อยาวนานหลายปีกว่าเรื่องจะจบ ถึงแม้ว่า จะจบด้วยคำตัดสินที่ว่า " หมอไม่ผิด " ก็ตามเถอะ ... ลองคิดสภาพของเราที่ต้องวุ่นวายอยู่กับคดีความ และข่าวลือต่าง ๆ เป็น ปี ๆ   Lips Sealed
 
ผมเคยเจอ ร้องเรียน  แล้ว ก็ลงหน้าสุดท้ายของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ๑ ครั้ง  เพราะมีคนไข้เสียชีวิต ผมก็รู้สึกแย่มาก ๆ อยู่แล้ว มาเจอลงข่าว อีก .. ช่วงนั้น ยังไม่เปิดคลินิก ก็ทำ รพ. แต่หยุดผ่าไปเกือบเดือน เลยนะครับ .. โชคดีที่พี่ ๆ และ ผู้บริหารเข้าใจ ไม่งั้นก็คงลาออกไปตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว ... Roll Eyes
 
 
กฏหมาย รู้ไว้ ไม่เสียหลายหรอกครับ ...  Wink
จากคุณ: aekung โพสเมื่อวันที่: 07/12/07 เวลา 11:44:11
ก็ดีดิ งานจะได้น้อยลง
จากคุณ: zola โพสเมื่อวันที่: 07/13/07 เวลา 21:29:55
ทำอย่างไรเมื่อผู้ป่วยปฏิเสธการรักษา
 
เชิญท่านผู้ป่วยหาsecond opinion จากแพทย์เทวดาที่ท่านไว้วางใจได้ตามสะดวกครับ ส่วนผมขอฉลองให้กับตัวเองเงียบๆที่ไม่ต้องลำบากในการรักษาเพิ่มอีก 1 ราย
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 07/14/07 เวลา 18:46:24
Quote:
ทำอย่างไรเมื่อผู้ป่วยปฏิเสธการรักษา  
 
เชิญท่านผู้ป่วยหา second opinion จากแพทย์เทวดา ที่ท่านไว้วางใจได้ตามสะดวกครับ ส่วนผมขอฉลองให้กับตัวเองเงียบๆที่ไม่ต้องลำบากในการรักษาเพิ่มอีก 1 ราย

 
แหะ ๆ   ก็ไม่ถึงขนาดน้านหรอกครับ ...  Shocked
 
อ้อ .. แล้วอย่าลืมบันทึก ไว้ด้วยนะครับ ว่า เราได้แนะนำ ข้อดีข้อเสีย แนวทางการรักษาให้ผู้ป่วยและญาติฟังแล้ว ผู้ป่วยและญาติ ยืนยันว่าจะไม่รักษา  ไม่ต้องไปดุ ไม่ต้องไปว่า เขานะครับ อธิบายธรรมดา ๆ นี่แหละ ไม่ต้องใส่อารมณ์  Cool
 
 
ผมใช้วิธี อธิบายก่อน แล้วก็บอกเขาอีกครั้งว่า ถ้าไม่รักษา หมอก็ไม่ว่าอะไร แต่หมอจะเขียนบันทึกรายละเอียดว่า หมอ ได้อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติอย่างไรบ้าง แล้ว ผู้ป่วยและญาติ เซนต์ชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐานหน่อย ...
 
แล้วผมก็จะอธิบาย(อีกรอบ) พร้อม ๆ กับเขียนไปด้วยเลย ไม่เสียเวลาเท่าไหร่ .. เสร็จแล้วก็ให้ ผู้ป่วยและญาติ เซนต์ชื่อรับทราบ  แค่นี้เองครับ ... ป้องกันตัวเองไว้ก่อน
 Wink
 
 
 
ผมเคยเจอ ญาติมาโวยวายว่า ผมไม่รักษา  โดยครั้งนั้นเขาไม่ได้มาด้วย แต่ผู้ป่วยบอกเขาว่า มาตรวจแล้วหมอไม่ทำอะไรให้ เลยไปรักษาน้ำมัน...   Lips Sealed
 
ผมก็นำ opd card มาให้ดู พอเขาเห็นว่า ญาติเขา (ผู้ป่วยและญาติคนอื่น) เซนต์รับทราบว่า ผมได้แนะนำไปแล้ว และ ปฏิเสธการรักษา  เขาก็เงียบไปแล้วก็ขอโทษผม ... Roll Eyes
 
ถ้าไม่ได้บันทึกไว้ ผมก็อาจโดนฟ้อง  หรือ ไม่อย่างน้อย ก็ต้องมาเสียอารมณ์ ต้องมาเสียเวลา กับ ญาติ ที่มาโวยวาย คนนี้ อีกนาน   Tongue
 
 
เป็นหมอ เดี๋ยวนี้ ลำบากจริงๆ  เลยเนอะ   Wink
จากคุณ: aquamarine โพสเมื่อวันที่: 07/15/07 เวลา 16:05:53
ปฎิเสธการรักษาก็ดีสิครับ ไม่ต้องเหนื่อย ชอบชอบ Grin Grin Cheesy Wink Smiley Smiley Wink Grin Cheesy
จากคุณ: virus50 โพสเมื่อวันที่: 07/18/07 เวลา 19:25:56
อืม  Angry คราวหน้าจะเอาไปใช้มั่ง
จากคุณ: GC_man โพสเมื่อวันที่: 07/24/07 เวลา 13:36:53
เจอผู้ป่วยที่คลินิก UC ปฏิการรักษาแบบว่าไม่ให้หมอเปลี่ยนยาใดเคยกินแบบไหนต้องกินแบบเดิมเท่านั้นแ ถมมาหาว่าเราเรื่องมากที่ถามเรื่องแพ้ยา  แกบอกว่าความดันแกต้องกินตัวนี้เท่านั้นห้ามเปลี่ยนเพราะบอกว่าตัวอื่นแพ้  แต่ตอบไม่ได้ว่าแพ้ยาตัวไหน   แก่แล้วจำไม่ได้ หมอมีสิทธิ์อะไรจะมาเปลี่ยนยา  แถมว่าเราว่าถามเรื่องมากไม่เคยมีหมอคนไหนมาถามเรื่องแพ้ยา  ให้ย้ายคลินิกตรวจก็ไม่ยอมย้าย  เคยได้ยา เปลี่ยนยี่ห้อแต่generic name เดียวกันก็มาว่าว่าหมอเป็นแพทย์พานิชย์ที่คนินิกยังไงต้องเอายาตัวเดิมยี่ห้ อเดิมมาให้แก  แต่พอดียาลอตใหม่ที่เจ้าของคลินิกสั่งมาเป็ยยี่ห้อเดิมแกเลยไม่โวยวายแล้วคน ไข้แบบนี้หมอมีสิทธิ์ปฏิเสธการรักษาได้หรือเปล่าล่ะ  เจอแบบนี้ก็ไม่พร้อมที่จะตรวจบ้างเหมือนกันนะ
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 07/25/07 เวลา 12:38:39
Quote:
คน ไข้แบบนี้หมอมีสิทธิ์ปฏิเสธการรักษาได้หรือเปล่าล่ะ  เจอแบบนี้ก็ไม่พร้อมที่จะตรวจบ้างเหมือนกันนะ

 
ได้ครับ ... เพียงแต่ ก็คงต้องหาวิธีที่ดูดีหน่อย  Grin
 
ถ้าตามระเบียบ กฏหมาย ก็มีแต่เฉพาะเวลาป่วยหนัก ฉุกเฉิน ต้องช่วยเหลือ ต้องรักษา  เท่านั้นครับ  Wink
จากคุณ: pkkfirst โพสเมื่อวันที่: 08/03/07 เวลา 00:02:14
บางทีก็ท้อใจค่ะ  ทำดีเท่าตัว  ทำชั่วถูกด่า
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 08/03/07 เวลา 15:23:09
Quote:
บางทีก็ท้อใจค่ะ  ทำดีเท่าตัว  ทำชั่วถูกด่า

 
อย่าไปคิดมากเลยครับ เราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ก็พอแล้ว ..  
 
มีความสุข ที่ได้ทำหน้าที่ อย่าไปคิดว่า ทำแล้วคนโน้น คนนี้ ต้องยอมรับ สรรเสริญเรา  ...
 
 
Quote:
ทำชั่วถูกด่า

 
ทำชั่ว ก็ต้อง ถูก ด่า  อยู่แล้วครับ .. ตรงไปตรงมา และก็สมควรแล้ว  Roll Eyes
 
แต่ถ้า ทำดี แล้วถูกด่า นี่สิครับ ต้องสู้กันหน่อย ...  Wink
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 09/05/07 เวลา 18:36:24

มีความเห็นเพิ่มเติม จาก medlawstory  แวะไปอ่านกันนะครับ .. Wink
 
 
หัวข้อ 9788: เมื่อผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาภาค2  (จำนวนคนอ่าน 75 ครั้ง)
 
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1188974375;start=0
จากคุณ: knimol โพสเมื่อวันที่: 09/08/07 เวลา 21:10:58
แล้วในกรณีที่ผู้ป่วยมีอันตราย ถึงแก่ชีวิต และไม่มีสติ เมื่อแพทย์จะทำการรักษา แล้วญาติของผู้ป่วยไม่ยินยอม ขอเอากลับ จะถือว่าญาติผิดหรือเปล่าคับ Huh
จากคุณ: retina โพสเมื่อวันที่: 09/15/07 เวลา 22:45:36
อย่างใบ NR เนี่ยเดี๋ยวนี้เขาห้ามเซ็นกันแล้วหรือคะ ได้ยินว่ามันผิดกฏหมาย หรือบางทีตัวญสติก็ไม่ยอมเซ็นเพรระรู้สึกว่าตัวเองเป็นต้นเหตให้ ผป เสียชีวิต แล้วอย่างนี้จะมีหลักฐานการยินยอมได้อย่างไรคะ
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 09/16/07 เวลา 09:50:17
ก่อนอื่น ก็คงต้อง ตอบไว้ก่อนว่า ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายโดยตรง ถือว่าเป็นแค่ความเห็น  ละกันนะครับ ...
 
 
Quote:
แล้วในกรณีที่ผู้ป่วยมีอันตราย ถึงแก่ชีวิต และไม่มีสติ เมื่อแพทย์จะทำการรักษา แล้วญาติของผู้ป่วยไม่ยินยอม ขอเอากลับ จะถือว่าญาติผิดหรือเปล่าคับ    
 
  
ส่งโดย: knimol  
 
 

 
อาจแบ่งได้เป็น ๒ กรณี
 
๑. ญาติ นำออกไปเอง ( หนี ออกจาก รพ. ) ..  
              แบบนี้ ไม่มีปัญหาครับ มีอะไรญาติรับผิดชอบเต็ม ๆ
๒. ญาติ (สายตรง เช่น พ่อแม่ ลูก) เซนต์ไม่สมัครรับการรักษา ...
              แบบนี้ ก็เช่นกัน ญาติรับไปเต็ม ๆ แต่ แพทย์ ก็ต้อง อธิบายให้ญาติได้รับทราบข้อมูลก่อนทีจะให้เขาเซนต์ ไม่ยินยอม (หรือยินยอม) ให้แพทย์รักษา  
              ถ้าแพทย์ไม่ได้อธิบาย ญาติ ก็อาจอ้างได้ว่า ไม่ทราบข้อมูล  Huh ซึ่งแพทย์ ก็อาจถูกดึงเข้าไปร่วมรับผิดชอบด้วย  ถึงแม้ว่า ท้ายสุดอาจไม่ต้องรับผิดทางกฏหมาย แต่ก็คงมีปัญหายุ่งยาก พอสมควร ..
 
 
 
Quote:
อย่างใบ NR เนี่ยเดี๋ยวนี้เขาห้ามเซ็นกันแล้วหรือคะ ได้ยินว่ามันผิดกฏหมาย หรือบางทีตัวญสติก็ไม่ยอมเซ็นเพรระรู้สึกว่าตัวเองเป็นต้นเหตให้ ผป เสียชีวิต แล้วอย่างนี้จะมีหลักฐานการยินยอมได้อย่างไรคะ  
 
 ส่งโดย: retina  

 
    ถ้าถามว่า  " ห้าม " หรือไม่ ... ก็ไม่ห้ามครับ แต่ถ้าถามว่า จะนำมาใช้ เป็นหลักฐานทางกฏหมายได้หรือเปล่า นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ...
 
    ถ้าญาติ ไม่ยอมเซนต์ ก็ไม่มีหลักฐาน การยินยอม นะสิครับ ... แบบนี้ ก็ต้องช่วยเหลือไป ตามสมควร ...  
 
    ถ้าหมอสั่งว่า NR คุณหมอคนสั่ง ก็ต้องรับผิดชอบ ชี้แจงเหตุผลว่า ทำไม ถึง สั่ง แบบนั้น .. ซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วครับ เหมือนกับเราสั่งยา สั่งการรักษา ซึ่งเราก็ต้องรับผิดชอบคำสั่ง นั้น  ๆ อยู่แล้ว  
 
    เรื่องของการเซนต์ใบยินยอม ลองแวะไปอ่านในเวบ [url]www.medlawstory.com    [/url] ด้วยละกัน มีเรื่องกฏหมาย ที่น่ารู้เยอะแยะเลยครับ  Wink
จากคุณ: praspowt โพสเมื่อวันที่: 09/17/07 เวลา 00:01:05
มันไม่ยอมเซ็นต์อะไรเลย ยาจะให้มันก็ไม่ให้แล้วจะไปแทงเส้นยังงัยล่ะครับ
จากคุณ: praspowt โพสเมื่อวันที่: 09/17/07 เวลา 00:03:13
เมียมันก็นอนแอ้งแม้ง รู้ตัวนะ แต่ ผัวก็จะเอากลับให้ได้ ผมทำงัยได้ แล้วจะเข้าข่าย ไม่รักษาตามมาตรฐานมั้ยอ๊ะ  
แล้วถ้าไปบังคับว่าต้องให้ยาเดี๋ยวนี้ คือ Sepsis อยู่ แต่ยังไม่ช็อค มันก็หาว่าเราไปทำร้ายร่างกายมันดิ
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 09/18/07 เวลา 12:28:26

Quote:
มันไม่ยอมเซ็นต์อะไรเลย ยาจะให้มันก็ไม่ให้แล้วจะไปแทงเส้นยังงัยล่ะครับ  
 
เมียมันก็นอนแอ้งแม้ง รู้ตัวนะ แต่ ผัวก็จะเอากลับให้ได้ ผมทำงัยได้ แล้วจะเข้าข่าย ไม่รักษาตามมาตรฐานมั้ยอ๊ะ  
 
แล้วถ้าไปบังคับว่าต้องให้ยาเดี๋ยวนี้ คือ Sepsis อยู่ แต่ยังไม่ช็อค มันก็หาว่าเราไปทำร้ายร่างกายมันดิ  

 
เข้าใจว่า คงอัดอั้นตันใจ มาจากกระทู้นี้ ..
 
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1189946540
 
 
ในความคิดของผม ถ้าเป็นแบบนี้ ดูแล้ว ยังไม่ถึงกับเสียชีวิตทันทั (จำเป็นเร่งด่วน อันตรายต่อชีวิต ) ถ้าเราอธิบายแล้ว เขายืนยันว่าจะนำกลับ แต่ไม่ยอมเซนต์ไม่สมัครรักษา ก็ไม่เป็นไรครับ .. ต้องเข้าใจไว้ว่า หมอ ไม่ได้เป็นเจ้าชีวิตของผู้ป่วย นะครับ เราเป็นผู้ที่ช่วยเหลือเขาเท่านั้น ...
 
เราก็บันทึกไว้ใน opd card แล้วก็อาจให้เจ้าหน้าที่ พยาบาล เซนต์ชื่อเป็นพยานไว้ด้วย .. ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้มีผลทางกฏหมายในรูปแบบของสัญญา หรือ นิติกรรมทางกฏหมาย แต่ก็เป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า เราได้อธิบาย ได้ชี้แจงแล้ว .. เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง นะครับ  Lips Sealed
 
 
แต่ถ้าเป็นกรณี ที่ถ้าไม่ช่วยตอนนี้ ตายแน่ ๆ .. ต่อหน้า ต่อตา ..พิจารณาแล้ว ถ้าช่วยก็จะรอด  ผมก็จะช่วยครับ เรื่องอื่นไว้ว่ากันอีกที  Shocked
จากคุณ: windsman โพสเมื่อวันที่: 09/19/07 เวลา 22:58:46
ใช่ๆ แค่บันทึกลงไปโดยละเอียดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วลงชื่อ อาจจะให้พยาบาลที่อยู่ในเหตุการณ์บันทึกร่วมกันได้
จากคุณ: newny_law3107 โพสเมื่อวันที่: 09/20/07 เวลา 22:38:38
คงต้องทำญาติกามติ    ฝ่ายไหนชนะเราก็ทำตามฝ่ายนั้นก็แล้วกัน    Grin Grin Grin  5 5 5
จากคุณ: pinkyevil โพสเมื่อวันที่: 09/22/07 เวลา 17:10:53
ขอบคุณค่า
จากคุณ: glacier โพสเมื่อวันที่: 10/19/07 เวลา 01:03:31
บางทีวันนี้ยังไม่เร่งด่วน แต่ถ้าไม่รักษาสักวันสองวัน อีตายแน่ อย่างนี้ต้องรอใกล้ตายมารักษาก็ไม่ทันแล้วสิค่ะ
จากคุณ: Mirizzi โพสเมื่อวันที่: 11/11/07 เวลา 13:04:11
ขอบคุณสำหรับข้อความดีๆครับ Cheesy
จากคุณ: " ตุ๊กแก้ม" ติดอยู่ที่ผนัง โพสเมื่อวันที่: 12/07/07 เวลา 11:01:23
ขอบคุณค่ะ Cheesy
จากคุณ: Dr.STM โพสเมื่อวันที่: 12/16/07 เวลา 11:06:41
Cheesy
จากคุณ: pumpu โพสเมื่อวันที่: 12/19/07 เวลา 17:46:32
การรักษาจะไม่ประสบความสำเร็จ    
ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีจากผู้ป่วยและญาติ
 
ความเห็น23
 1-พยายามคุยกับผู้ป่วยด้วยความเมตตา ไม่ใช่การท้าทาย เช่น แน่จริงไปเลย หรือ ไม่มีที่ไหนดีกว่าที่นี่หรอก อะไรแบบนี้
 
2-ถามเหตุผล หรือปัญหาในใจผู้ป่วยเป็นหลัก และ หาทางออกร่วมกัน บอกว่าอะไรที่เราพอช่วยได้จะช่วย
 
3-หาญาติ มาเป็นพันธมิตรให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะคนที่เป็นญาติสายตรง และ มีอิทธิพลกับคนไข้  
 
4-ถ้าสุดท้ายแล้วเขาเลือกทางไม่รักษา โดยมีสติสัปชัญญะสมบูรณ์พร้อม และ ญาติก็เห็นด้วย ก็คงต้องวางอุเบกขา
 
5-สุดท้ายอย่าลืมชื่นชมกับสิ่งที่เราทำด้วย ไม่ใช่ทำมาเยอะแยะ แต่สุดท้ายพอผลไม่เป็นดั่งใจก็หงุดหงิด แล้วใจเป็นทุกข์ อย่าลืมมุฑิตา (Appreciate) ให้ตนเองด้วยนะครับ
 
ขอชื่นชมการข้อคิดเห็นที่มีประโยชน์มาก
บางคนลืมไปแล้วว่าเป็นปัญหาเพราะเจอทุกวัน
บางคนยังเห็นว่าเป็นปัญหา เพราะความตั้งใจดี
 
แต่ท่านใดเห็นเป็นปัญหาเพราะเรื่องผลปรโยชน์ (เงิน งานวิจัย ชื่อเสียง กลัวเสียเกียรติ)  
ลองเปลี่ยนแปลงสักนิดหน่อยนะ  ขอให้โชคดี
จากคุณ: banana_number9 โพสเมื่อวันที่: 01/06/08 เวลา 14:29:10
Smiley
จากคุณ: palwin โพสเมื่อวันที่: 01/19/08 เวลา 00:05:40
เด็กมีไข้ Dx URI ธรรมดา กลางคืนไข้ไม่ลง ให้ยาแล้ว คุยแล้ว เข้าใจแล้ว ถ้าไม่สบายใจเดี๋ยวให้เซ็นต์ไม่สมัครใจรักษาต่อ เดี๋ยวหมอเขียนใบส่งตัวให้ ก็ไม่เซ็นต์อีก จะให้มานั่งเฝ้าทั้งคืน กรรมตรูจริง
 
แต่ก็ D/C Dx เดิม ผ่านไปได้ด้วยดี แต่น่ารำคาญ เห็นหน้าเราเด็กรึไงฟะ พูดก็ไม่ค่อยฟัง จะให้ทำอะไรก็ไม่ให้ทำ จะแทง IV ให้ก็ไม่เอา เอ้อ แล้วจะมารพ.ทำไมวะ
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 01/19/08 เวลา 11:47:27

Quote:
เห็นหน้าเราเด็กรึไงฟะ พูดก็ไม่ค่อยฟัง จะให้ทำอะไรก็ไม่ให้ทำ จะแทง IV ให้ก็ไม่เอา เอ้อ แล้วจะมารพ.ทำไมวะ

 
ก็คงอยากมาเห็นหน้าหมอ ไง  Roll Eyes
 
อย่าไปคิดมากเลยครับ .. เขาคงไม่มั่นใจว่าจะดูแลลูกที่บ้านได้ดี เลยมาให้หมอ(พยาบาล) ดูที่ รพ. ...
 
พี่คิดว่า เขาคง มีอะไรสักอย่างในใจ ที่ไม่ได้บอก .. ถ้าให้เดา อาจได้ยินข่าวไข้เลือดออก ก็ได้ กลัวว่าลูกจะเป็นแบบนั้น กลัวลูกเสียชีวิต เลยขอให้อยู่ใกล้ๆ  หมอ จะได้อุ่นใจ ...
 
 
วันหลังอารมณ์เย็นหน่อย หรือ ให้ เจ้าหน้าที่ (ที่ช่างคุยหน่อย ) ก็ได้ ก็ลองแวะถามเขา ว่า ทำไมอยากให้ลูกนอนรพ. Huh  
 
อาจได้รับคำตอบที่คาดไม่ถึง ซึ่งไม่เกี่ยวกับ เรื่องการแพทย์  Wink
จากคุณ: kasei โพสเมื่อวันที่: 01/22/08 เวลา 11:58:00
Roll Eyes Roll Eyes Roll Eyes
 
เมื่อก่อนก็พยายามอธิบายให้รักษาเต็มที่ เดี๋ยวนี้ .... ตามใจคนไข้ละกัน
จากคุณ: pammalitta โพสเมื่อวันที่: 06/27/08 เวลา 22:05:09
นั่นสิ     เราก็เจอเคสแบบนี้บ่อยๆ
 
ทาน lannate มา    ใส่ NG  ให้ charcoal  ให้ NPO  ให้ iv     พออีกวัน    คนไข้อาการดีขึ้น     ดึง NG ทิ้ง  ขอไม่สมัครใจกลับบ้าน
 
อีกคน  ถูกงูกัดมา    ตอนแรกไม่ยอมนอนโรงพยาบาล    เป็นครูด้วยนะ     แล้วพอดึกๆ  ตี 1-2    มาขอนอนโรงพยาบาล   แล้วก็ขอห้องพิเศษเดี่ยวด้วย
พอตี  3   กว่าๆ   ชีก็ล็อคห้อง แล้วก็บอกว่าไม่อยากให้วัด vital signs   ชีจะนอน  แล้วพอตอนเช้า   ก็ขอไม่สมัครใจอยู่อีก     เซ็งค๊อต  
 
อีกเคส   เหนื่อยหอบ     ดูโหงวเฮ้งแล้ว ...    precaution แหงๆ   ยิ่งพอ CXR แล้ว   PCP แหงๆว่ะ   ก็เลยให้พี่พยาบาล precounselling ไป     แล้วเราก็ไปตรวจ OPD     จากนั้นพี่ก็โทรมาบอกว่าคนไข้ไม่ยอมเจาะ เราก็ฉุนกึก  เดินไปว๊ากเองเลย  มีเหตุผลอารายที่จะไม่เจาะเหรอ    ไม่งั้นจะรักษาถูกได้ไง  ถ้าไม่อยากรู้ผลก็ไม่เป็นไร   จะไม่บอกแต่จะเจาะอยู่ดี   สรุปก็คือ  คนไข้น่ะรู้อยู่แล้วล่ะ    แต่ไม่ยอมรักษาเอง แต่เค้าก็เซ็นยินยอมให้เจาะนะ     แต่เหมือนเราบังคับอ่ะ    แบบนี้จะผิดไหม
 
มีคนไข้อีกคน นี่ก็เคส precaution   เป็นทั้ง pcp   tb   meningitis  sepsis  bla bla bla ก็เคยคุยๆไว้แล้วว่าถ้าเหนื่อยมากๆ จะใส่ ET-Tube ไหม   ถ้าหัวใจหยุดเต้นจะปั๊มไหม    พี่แกบอกเต็มที่    - -" คราวนี้พอถึงเวลา    แกก็เริ่ม confuse  แล้วก็ unconscious ก็เลยถามแม่คนไข้อีกที  แม่บอก  อย่าเลย    อยู่ไป  แม่คนไข้ก็ลำบาก    นี่ก็ไม่ได้ไปทำงาน     มาอยู่โรงพยาบาล  เงินเก็บก็ร่อยหรอลงไปทุกวันๆ     ถึงช่วย   โรคนี้มานก็ไม่หาย   แกอยากกลับบ้าน    เราก็เลยปล่อย NR ไป   อย่างนี้ผิดป่าวอ่ะ  
 
เฮ้อ  เหนื่อย    
 
จากคุณ: mountain_sea โพสเมื่อวันที่: 05/03/09 เวลา 19:08:58
on 06/18/07 เวลา 09:32:41, D_HRT wrote:
Dilemma

ท่านบ่าว ท่านใส่รูปใหญ่มากๆๆๆ ว่างๆแวะมาเที่ยวเมืองเลยมั่งเด้อ


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by