หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   ICU : Interesting Creative Usergroup
   Post reply ( Re: :>>คุณสมบัติของศัลยแพทย์ที่ดี...สิระ บุณยะรัตเวช )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: 7 1 6 ' 1 6 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 08:39:38
**ขอนำเรื่องดีๆน่าอ่านมาฝากในวันหยุดนะครับ..ยาวหน่อยแต่บริโภคแล้วสมองซีกขวาจะได้ออกกำลังกายครับ...716**
 
-----------------><--------------------
 
คุณสมบัติของศัลยแพทย์ที่ดี
ปาฐกถา เปรม บุรี ครั้งที่ ๒, พ.ศ. ๒๕๔๘

สิระ บุณยะรัตเวช

 


                     ท่านศาสตราจารย์เปรม บุรี, ท่านหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ – ศาสตราจารย์กฤษฎา รัตนโอฬาร, เพื่อนศัลยแพทย์ร่วมอาชีพทุกท่านและท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ผมขอขอบคุณที่ได้เชิญให้มาบรรยายในปาฐกถา เปรม บุรี ครั้งที่สองในวันนี้ ผมถือว่าเป็นเกียรติอย่างสูงและมีความเต็มใจที่รับมาบรรยายโดยเหตุผลสองประก าร ประการที่หนึ่ง ผมมีความรักเคารพอาจารย์หมอเปรมมาตั้งแต่ได้เป็นลูกศิษย์เมื่อสมัยผมเป็นนัก เรียนแพทย์จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ และประการที่สอง ผมมีความรักในวิชาชีพของผม ดังนั้นถ้ามีโอกาสใดที่ผมอาจจะเป็นประโยชน์กับวิชาชีพนี้ ผมฉวยโอกาสนั้นทำให้ทันทีโดยไม่ลังเลใจเลย
 
ผมได้มีโอกาสร่วมทำงานกับอาจารย์หมอเปรมมาหลายครั้งหลายคราวนับตั้งแต่ได้จบ เป็นแพทย์มา อาจารย์หมอเปรมและผมได้ประดิษฐ์เครื่อง heart - lung machine ที่คงจะเป็นเครื่องแรกในประเทศไทยโดยได้ประดิษฐ์เมื่อประมาณพศ. ๒๔๙๙ - ๒๕๐๐  เราประดิษฐ์และทำเครื่องมือเองทั้งหมดอย่างครบถ้วนโดยใช้ motor ขับให้ pump ซึ่งขอให้ช่างกลโรงพยาบาลศิริราชช่วยกลึงเหล็กให้เป็นไปตามที่เราควบคุมอยู่ ตลอดเวลา และใช้ ท่อ plastic ที่ผมไปเดินหาซื้อจากเวิ้งนครเขษม แล้วเคลือบด้วย silicone solution  ที่อาจารย์หมอเปรมหามาจากเมืองนอก  เราออกแบบลอกเลียน heart-lung machine จากรูปในวารสารการแพทย์และเมื่อสำเร็จลงแล้วก็ได้ทดลองกับสุนัขหลายตัว และผมจำได้ว่าสุนัขตัวสุดท้ายได้รอดชีวิตเป็นปรกติดีหลังจากได้ใช้ heart-lung machine ที่เราประดิษฐ์เองนี้  
 run เป็นเวลาหลายชั่วโมง  และนอกจากนี้เรายังได้ทดสอบการทำ hypothermia ในสุนัข โดยใช้ pump ของเรานี้เอาเลือดจากสุนัขมาทำให้เย็นหลายครั้งด้วยกันจนกระทั่งมีความมั่นใ จว่าสามารถทำได้และให้ความปลอดภัยอย่างเต็มที่จึงได้ทำการผ่าตัดโดยใช้ hypothermia เป็นครั้งแรกในประเทศไทยกับคนไข้ที่เป็น aneurysm ของ abdominal aorta เมื่อ  พ.ศ. ๒๕๐๑    เราได้รายงานในที่ประชุมวิชาการของโรงพยาบาลศิริราชเมื่อปลายปี ๒๕๐๑ ก่อนที่ผมจะเดินทางไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ
 
วันหนึ่ง สองสามปีก่อนที่โรงพยาบาลรามาธิบดีจะเปิด ผมยังจำได้อย่างชัดเจนถึงคำพูดของอาจารย์หมอเปรมที่ได้กล่าวว่า “เมื่อคืนหมออารีเขามาขอร้องให้ผมเป็นหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ของโรงเรียนแ พทย์ใหม่ ผมอยากให้หมอไปทำงานด้วยกันกับผม” คำพูดของท่านนั้นทำให้ผมมีความภูมิใจมากและได้ตอบรับคำกับท่านทันที   โรงเรียนแพทย์ใหม่ที่อาจารย์หมอเปรมพูดถึงได้แก่คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีนี้เ อง
ผมเป็นคนที่โชคดีที่ได้มีโอกาสทำงานในวิชาชีพนี้อย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน และได้มีโอกาสพบและทำงานใกล้ชิดกับศัลยแพทย์ที่มีชื่อเสียงทั้งในเมืองไทยแล ะต่างประเทศหลายท่าน ในวันนี้ผมอยากจะนำคุณสมบัติที่ดีของท่านเหล่านั้นมาบรรยายให้ทุกคนได้พิจาร ณา  เพื่อที่จะได้จดจำคุณสมบัติที่ดีไว้ปฏิบัติเป็นตัวอย่างต่อไป  ศัลยแพทย์ที่ผมจะได้เอ่ยนามในการบรรยายนี้ได้เป็น hero และ role model ของผมมาตลอดจนกระทั่งถึงทุกวันนี้และผมอยากจะให้ท่านทั้งหลายได้ทราบคุณสมบั ติที่ดีเหล่านี้และนำไปพิจารณาเป็นประโยชน์ต่อไป
ก่อนอื่นผมจะต้องขอกล่าวถึงลักษณะจำเพาะของศัลยแพทย์เสียก่อน  


 
จากคุณ: 7 1 6 ' 1 6 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 08:42:08

 

 
•      ศัลยแพทย์เป็นอาชีพที่มีเกียรติ และเป็นผู้ที่สังคมยอมรับนับถือ แต่ในขณะเดียวกันความเรียกร้องและคาดหวังของสังคมที่มีต่อศัลยแพทย์ก็สูงด้ว ยเช่นกัน ทุกคนหวังว่าจะต้องได้สิ่งที่ดีที่สุดจากศัลยแพทย์เท่านั้น อะไรที่น้อยไปกว่านั้นเขาจะไม่ยอมรับ  
•      ความรับผิดชอบของศัลยแพทย์เป็นความรับผิดชอบที่สูง เนื่องจากเราต้องรับผิดชอบทั้งชีวิตและคุณภาพของชีวิต ดังนั้นลักษณะของงานที่ศัลยแพทย์ต้องเผชิญหน้าอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเป็นงานท ี่เรียกได้ว่าเป็นงานที่ stressful ที่สุด เพราะนอกจากมีความรับผิดชอบที่สูงแล้ว ศัลยแพทย์ยังต้องมีการตัดสินใจด่วนแข่งกับเวลา การเคลื่อนไหวของร่างกายจะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี เพราะจะต้องนำมาใช้ให้ถูกต้องในเวลาที่จำกัด
•      ศัลยแพทย์ต้องเผชิญหน้ากับความจริงอยู่ตลอดเวลา ลองคิดถึง case scenario ว่าขณะที่ศัลยแพทย์กำลังทำงานอยู่ในห้องผ่าตัดอย่างหนักและเต็มที่นั้น เขารู้อยู่ตลอดเวลาว่านอกห้องผ่าตัดจะมีญาติหลายคนที่กำลังรอฟังคำอธิบายจาก ศัลยแพทย์ว่าผลของการผ่าตัดจะเป็นอย่างไร นับว่าเป็นความเครียดที่เพิ่มขึ้นให้กับศัลยแพทย์อีกไม่ใช่น้อย  
•      อาชีพของศัลยแพทย์เป็นอาชีพที่ควบคุมด้วย professional ethics ดังนั้นสิ่งแรกที่ศัลยแพทย์ที่จะต้องคำนึงถึงอยู่ก่อนอื่นคือ Primum non nocere ซึ่งแปลว่า First, do no harm ซึ่งถ้าจะคิดให้ลึกแล้วอาชีพนี้คงจะล่อแหลมที่สุดต่อ medical ethics ในข้อนี้      
•      ศัลยแพทย์เป็นผู้นำโดยปริยาย การจะทำการรักษาด้วยการผ่าตัดนั้นจะต้องทำเป็นทีม และผู้นำของทีมก็คือศัลยแพทย์อย่างแน่นอน การเป็นผู้นำนั้นเป็นสิ่งที่จะต้องเรียนและฝึกหัด เพื่อจะเป็นผู้นำของทีมที่ชนะอยู่เสมอ  
•      การสร้างศัลยแพทย์คนหนึ่งนั้นจะต้องใช้เวลาที่นานและมีราคาแพง อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการลงทุนที่สูงที่สุดของรัฐในกระบวนอาชีพด้วยกัน  กว่าจะเป็นศัลยแพทย์ได้ก็ตกอายุประมาณ ๓๐ ปีขึ้นไป จึงทำให้เหลือระยะเวลาที่จะปฏิบัติงานจริงตลอดชีวิตของการทำงานน้อยกว่าอาชี พอื่น  เวลาที่จะต้องใช้ไปกับการรักษาที่เป็นการผ่าตัดต่อคนไข้แต่ละคนก็เป็นเวลาท ี่ต้องใช้มากกว่าเวลาที่ใช้ในการรักษาด้วยวิธีอื่น  ดังนั้นถ้าจะคิดถึงผลที่ได้กับการลงทุนแล้วศัลยแพทย์ก็คงเป็นอาชีพที่มีค่า ตัวสูงสุด  ถ้าเราจะทำงานให้คุ้มกับการลงทุนของรัฐ เราจะต้องพยายามยืดการทำงานของเราเองให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทุกครั้งที่ผมได้ทราบว่าศัลยแพทย์ผู้ใดได้เปลี่ยนอาชีพไปทำหน้าที่อื่น ผมรู้สึกเสียใจที่ประเทศเราได้เสียบุคลากรที่มีค่าและมีจำนวนน้อย ไปทำหน้าที่อื่นที่มีคนเป็นจำนวนมากสามารถจะทำได้  
•      ศัลยแพทย์จะต้องเป็นผู้ที่ต้องกระทำทุกอย่างด้วยมือของตนเอง ตั้งแต่ต้นจนจบ ดังนั้นความสามารถของศัลยแพทย์จะต้องมีอย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น knowledge, skill หรือ attitude  
•      ศัลยแพทย์จะต้องเป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพสูงอยู่ตลอดเวลา และระหว่างการผ่าตัดศัลยแพทย์จะต้อง alert และ focus, มีสมาธิสูง พร้อมด้วยความสามารถและประสบการณ์ที่ทำให้ตัดสินใจได้ถูกและรวดเร็วแข่งกับเ วลาและไม่ทำให้เกิดเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย  การตัดสินใจและการกระทำเหล่านี้จะต้องทำโดยมี body, mind, heart and soul เป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน การทำงานจึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด
 
ในการบรรยายนี้ผมจะพยายามบรรยายถึงว่ามีคุณสมบัติของศัลยแพทย์ที่ดีอะไรบ้าง ที่ผมได้พบเห็น อ่านมา และที่ผมได้พบเห็นด้วยตนเอง และผมจะยกตัวอย่างของศัลยแพทย์ที่มีชื่อเสียงตามคุณสมบัติที่จะบรรยาย
จากคุณ: 7 1 6 ' 1 6 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 08:43:46

ศัลยแพทย์และประสิทธิภาพ
      คงไม่มีใครโต้เถียงว่าศัลยแพทย์ต้องเป็นคนที่มีประสิทธิภาพ แต่ประสิทธิภาพเป็นคำที่กว้าง ดังนั้นเราควรที่จะมาแยกแยะออกอย่างละเอียดว่าคำที่ว่ามีประสิทธิภาพนั้นเป็ นอย่างไร  หนังสือ “The seven habits of highly effective people” เป็นหนังสือที่ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อสิบห้าปีมาแล้ว1 และเมื่อหนังสือเล่มนี้ออกมาใหม่ๆ ผมได้ไปประเทศอเมริกาและซื้อหนังสือมาอ่าน เมื่อได้อ่านแล้ววางไม่ลงต้องอ่านจนจบ และอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายสิบเที่ยว เวลาผมสอนนักศึกษาแพทย์ หรือศัลยแพทย์รุ่นน้อง ผมได้ใช้บางส่วนของหนังสือเล่มนี้มาสอนเป็นการปลูกฝังให้เขาเป็นศัลยแพทย์ที ่มีประสิทธิภาพให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป
        Dr. Stephen R. Covey ได้กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า การที่จะเป็นคนที่มีประสิทธิภาพสูงนั้นจะต้องมาจากนิสัยที่ปลูกลึกมาจากภายใ นไม่ใช่เป็นสิ่งที่สามารถมีขึ้นได้อย่างทันทีทันใด  ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับ iceberg ที่ลอยมาในทะเล  ส่วนของน้ำแข็งที่เรามองเห็นอยู่นิดเดียวนั้นจะต้องมีส่วนที่ใหญ่กว่าคอยพย ุงอยู่  คนที่เป็นคนมีประสิทธิภาพจะต้องเกิดมาจากนิสัยที่อยู่ภายในเหมือนน้ำแข็งใต ้น้ำที่คอยพยุงอยู่  นิสัยเป็นสิ่งที่เราจะต้องใช้เวลาปลูกฝังให้เกิดขึ้น และไม่ใช่ว่าจะสามารถจะให้เกิดได้ขึ้นทันทีทันใด
      นิสัยคืออะไร?  เมื่อเรามีหลักการเราจะต้องเรียนหลักการนั้นจนเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้ง แล้วจะต้องจำให้มั่นไม่ให้ลืม หลักการนั้นก็จะกลายเป็นความรู้ (knowledge – what?, why?), สามารถนำไปใช้ให้คล่องแคล่วจนเกิดเป็นความเชี่ยวชาญ (skill - how?) และต่อมาก็ทำให้เกิดเป็นความต้องการที่จะอยากทำ (attitude – desire, want to) และเมื่อทั้งสามเข้ามาซ้อนกัน นั่นแหละคือนิสัยที่มีรากฐานอยู่อย่างหนาแน่น

      คราวนี้เราลองมาดูว่านิสัยทั้งเจ็ดอย่างที่ Dr. Stephen R. Covey ได้เขียนไว้มีอะไรบ้าง
 
1.      Be proactive คำภาษาอังกฤษที่ว่า proactivity นั้นอาจจะไม่อยู่ในพจนานุกรมเพราะเป็นคำที่ค่อนข้างใหม่ หรือถ้าจะปรากฏอยู่ในพจนานุกรม ก็เป็นการอธิบายอย่างสั้นๆ ว่าเป็นการ active ล่วงหน้า แต่ proactivity นั้นมีความหมายลึกซึ้งกว่านั้นและต้องการคำอธิบายและตัวอย่าง ดังจะบรรยายให้ละเอียดต่อไป  
2.      Begin with the end in mind เป็นนิสัยที่สำคัญของผู้นำ ว่าจะต้องมั่นใจในหนทางที่จะไปสู่เป้าหมายอยู่เสมอ เพราะบางครั้งเราอาจจะหลงทางไปในความยุ่งเหยิงของการงานจนลืมเป้าหมายกันจนห มด
3.      Put first things first เป็นนิสัยที่สำคัญของผู้บริหารที่จะต้องทำตามทางเดิน ที่ได้กำหนดไว้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในเวลาที่น้อยที่สุด นิสัยนี้เป็นนิสัยของผู้บริหารที่จะต้องทำงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้เกิดป ระสิทธิภาพสูงสุด
4.      Think win/win เป็นนิสัยที่ผู้มีประสิทธิภาพควรจะนำไปใช้ในทุกโอกาสเมื่อเกิดมีการขัดแย้งก ัน  เราต้องเข้าใจด้วยว่า win/win ไม่ใช่การประนีประนอม ซึ่งในกรณีนั้นจะเป็นมี win/loose หรือ loose/win และเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความไม่พอใจในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถ้าหากได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วหาวิธี win/win ไม่ได้ ควรจะตกลงโดย “no deal” จะเป็นทางออกมากกว่าประนีประนอม
5.      Seek first to understand, then to be understood เป็นคุณสมบัติที่ศัลยแพทย์ควรมีอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการที่จะอธิบายกับคนไข้ คำพูดที่เราได้ยินอยู่เสมอก็คือ “ผมไม่เข้าใจลูกชายของผมเลย เขาไม่ยอมฟังผมพูด” เป็นตัวอย่างของคนทั่วไป คือจะให้เขาฟังเราอย่างเดียว แล้วเราจะเข้าใจเขาได้อย่างไร การที่เราเข้าใจผู้อื่นเสียก่อนจะเป็นคุณสมบัติที่อาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งไ ด้ว่า empathic mindset ซึ่งจะได้อธิบายและยกตัวอย่างให้เห็นในการบรรยายนี้ด้วย
6.      Synergize เป็นการกระทำอีกอย่างหนึ่งที่ศัลยแพทย์ควรจะต้องนำมาใช้ เพราะศัลยแพทย์จะต้องเป็นผู้นำอยู่แล้วโดยลักษณะของอาชีพ การที่เรา synergize นั้นหมายถึงว่าเราทำให้หนึ่งบวกหนึ่งได้ผลบวกมากกว่าสอง หรือสองบวกสองได้ผลบวกมากกว่าสี่หลายเท่า ผมจะไม่บรรยายมากในเรื่องนี้เพราะศัลยแพทย์ทุกท่านคงจะทราบกันอยู่ดีแล้ว แต่จะขอกระซิบถามสักนิดเดียวว่า ครั้งสุดท้าย หลังจากที่ท่านได้ผ่าตัดเสร็จแล้ว และท่านได้ขอบคุณผู้ร่วมงานของท่าน ได้แก่วิสัญญีแพทย์ พยาบาลส่งเครื่องมือ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทั้งหลายในห้องผ่าตัดนั้น เป็นเวลานานเท่าไรมาแล้ว
7.      Sharpen the saw เป็นคุณสมบัติส่วนตัวที่จะขาดไม่ได้สำหรับศัลยแพทยัที่จะต้องทำให้เขา up-to-date ต่อวิชาการ และสามารถจะทำให้การรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงไปเพื่อจะได้ผลดีที่สุด
 
จากคุณ: 7 1 6 ' 1 6 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 08:44:25
เราจะเห็นได้ว่านิสัยทั้งเจ็ดอย่างนี้สามอย่างแรกคือ character ethics, สามอย่างต่อมาคือ personality ethics, และอันสุดท้ายได้แก่วินัยที่เราฝึกให้กับตัวเองให้เป็นคนที่รักจะเรียนอยู่ต ลอดเวลา  ในความเห็นของผมนั้นนิสัยอย่างแรกเป็นนิสัยที่สำคัญที่สุดเพราะถ้าเป็นคนที ่ proactive แล้วนิสัยที่เหลือก็จะตามมาเองดังนั้นผมจะบรรยาย proactivity ให้ละเอียดกว่าอย่างอื่นและจะยกตัวอย่างของศัลยแพทย์ที่เป็นคน proactive ให้เป็นตัวอย่าง ต่อจากนั้นก็จะนำนิสัยบางอย่างในเจ็ดอย่างนี่มาอภิปราย โดยเฉพาะในส่วนที่ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ดีต่อศัลยแพทย์ทั่วไป
 
      ก่อนที่จะอธิบายคำว่า proactivity ซึ่งเป็นคำที่อธิบายยากนั้นเราจะต้องมาพูดถึงคำว่า paradigm เสียก่อน  คำนี้มาจากภาษากรีก para – digma ซึ่งแปลว่า model หรือตัวอย่าง  แต่ความหมายของคำนี้นั้นได้ใช้กว้างไปกว่านั้นคือใช้หมายถึงว่าเป็น the way we look at the world  แต่ละคนก็มีการมองโลกที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคน  การเปลี่ยน paradigm นั้นเราเรียกว่า paradigm shift ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะก้าวหน้าต่อไป
 
      เมื่อเราเกิดมาเราจะต้องอาศัยแม่เป็นผู้เลี้ยงดูเป็นผู้ให้นมและอื่นๆ เราต้อง dependent กับคนที่เลี้ยงดูตลอดเวลา และไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถ้าไม่มีคนเลี้ยงดู แต่พอเจริญเติบโตเป็น teenager ก็จะเริ่มเปลี่ยน paradigm หรือมี paradigm shift เป็น independent และบางทีอาจจะโกรธไม่ยอมถ้าหากมีคนไม่ยอมปล่อยให้เราเป็นอิสระ สังเกตว่าเมื่อยัง dependent นั้นอะไรทุกอย่างเป็น you หมด  แต่พอเป็น independent ก็กลายเป็น I หมด  ต่อมาพอพ้น teenage แล้วคนปรกติก็จะเปลี่ยนเป็น interdependent โดยที่จะกลายเป็น we แทน  การมี paradigm shift นี้ไม่ได้เกิดกับทุกคนไปเพราะบางคนเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ยังใช้คำว่า I หรือ you อยู่ ยังไม่เข้าใจการเป็น interdependent อย่างที่แท้จริง  คนที่ proactive จะเป็นคนที่เข้าใจอย่างแท้จริงว่าเราจะต้องอยู่ด้วยกันและพึ่งพาอาศัยกันโดย จะอยู่แต่คนเดียวไม่ได้
 
      ประการต่อไปคนที่ proactive เป็นคนที่เข้าใจดีว่าสมบัติที่ประเสริฐสุดของมนุษย์นั้นได้แก่สิทธิที่จะเลื อก  ผมอยากจะอธิบายถึงอีกสักหน่อยว่าระหว่างการกระตุ้นและการโต้ตอบนั้นจะมีช่อ งว่างอยู่ และช่องว่างนี้ค่อนข้างจะแคบหรือเกือบไม่มีเลยในสัตว์ทั้งหลาย  ถ้าเราเตะสุนัข มันจะร้องทันทีและอาจจะกัดตอบหรือไม่ก็วิ่งหนี แทบจะไม่มีช่องว่างระหว่างการกระตุ้นและการโต้ตอบ  แต่สำหรับมนุษย์นั้น ตรงกันข้าม จะมีช่องว่างระหว่างการกระตุ้นและการโต้ตอบเสมอ และในช่องว่างนี้เป็นที่อยู่ของ อิสรภาพที่จะเลือก ที่เราจะใช้หรือไม่ใช้อย่างใดก็ได้  คนที่ proactive จะถือว่าอิสรภาพที่จะเลือกนั้นคือพรสวรรค์ที่ธรรมชาติให้กับเราและเขาจะเลือ กทุกครั้งเมื่อมีโอกาสโดยไม่ต้องให้ใครมาสั่ง  เขาจะเลือกที่จะ take initiative, เลือกที่จะ care และ concern, เลือกที่จะทำชนิดที่กระโดดเข้าเต็มตัว, เลือกที่จะทำให้ตัวดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ และเลือกที่จะรับผิดชอบ  ดูแต่คำว่า responsibility ซึ่งถ้าจะแยกคำออกเป็นสองคำ มันจะกลายเป็น response และ ability ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะเลือกการโต้ตอบได้ นอกจากจะแปลว่าความรับผิดชอบตามที่เข้าใจกันแล้ว  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ Viktor E. Frankl ซึ่งเป็นจิตแพทย์และเป็นคนยิวที่ถูกจองจำใน concentration camp ที่ในประเทศโปแลนด์โดยพวกนาซีในสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่เขาอยู่ใน concentration camp นั้น เขาได้ถูกทรมาน ได้รับความทารุณจากพวกนาซีอย่างมากมายร่วมกับคนยิวอื่นๆ และในขณะเดียวกัน พวกนาซีก็ได้ส่งคนยิวเป็นจำนวนหลายล้านคนไปสังหารด้วยวิธีรมแก๊สพิษเป็นหมู่  แต่เขาโชคดีได้รอดตายมาได้ ถึงแม้ว่าจะได้รับทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจอย่างสาหัสแต่เขาก็ได้รอดพ้ นมาโดยไม่มีความผิดปรกติ ของจิตใจแต่อย่างใดเลย ทั้งนี้ก็เพราะระหว่างที่เขาได้รับการทรมานอยู่ใน concentration camp นั้น เขาได้คิดว่าไม่มีใครจะมาดูหมิ่นเราได้ถ้าเราไม่ยอม ดังนั้นเขาจึงเลือก ที่จะไม่ยอมให้ใครมาดูหมิ่นหรือมาทำร้ายจิตใจเขาเป็นอันขาด จะทำกับร่างกายของเขาอย่างไรก็ทำไป จนในที่สุดผู้คุมขังได้เกิดความเคารพในตัวเขา และนั่นก็อาจจะเป็นเหตุผลอันหนึ่งที่ทำให้เขารอดพ้นจากการถูกสังหารก็ได้ หลังจากที่ได้รอดพ้นจาก concentration camp มาแล้วเขาได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งมีชื่อว่า Man’s Search for Meaning บรรยายถึงเหตุการณ์ต่างๆและวิธีที่เขาเลือกทำใจอย่างที่กล่าวมา หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ขายดีมากขายได้หลายล้านเล่ม และเป็นต้นตอของการใช้ Logo-therapy คือให้ใช้วิธีแสวงหาความหมายของชีวิตเพื่อที่จะใช้ความคิดให้ถูกต้อง และช่วยบรรเทารักษาภาวะที่ผิดปรกติของจิตใจบางอย่าง2  
 
     คนที่ตรงกันข้ามกับ proactive คือคน reactive และถ้าเราจะเปรียบเทียบภาษาของคนสองชนิดเราจะมองเห็นข้อแตกต่างของคนทั้งสอง ประเภทอย่างเด่นชัด
จากคุณ: 7 1 6 ' 1 6 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 08:45:31


      ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ ว่าคนที่ proactive นั้นเป็นอย่างไร  โดยยกตัวอย่างศัลยแพทย์ผู้หนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นผู้ที่ proactive ที่สุด ท่านผู้นี้คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์เปรม บุรี  โดยจะเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ท่านทั้งหลายฟังดังต่อไปนี้ เมื่อต้นปีพ.ศ. ๒๕๐๘  ประเทศไทยกำลังเข้าภาวะวิกฤติ เนื่องจากบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่เทือกเขาภูพานที่ทอดยาวจา กทางเหนือของประเทศไทยและประเทศข้างเคียง ได้เป็นสถานที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เข้ามาแทรกแซงเป็นจำนวนมากและได้หว่ านล้อมให้ประชาชนบริเวณนั้นเป็นปรปักษ์กับรัฐบาล โดยใช้ลัทธิที่ได้มาจากจีนแดงและรัสเซียมาเผยแพร่ และได้มีเหตุการณ์นองเลือดระหว่างผู้ก่อการร้ายเหล่านี้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ ้านเมือง  อาจารย์หมอเปรมได้ไปคุยกับฝ่ายบ้านเมืองที่กำลังเร่งพัฒนาบริเวณอีสานอย่าง รีบด่วน เพื่อให้ประชาชนกลับใจมาเป็นฝ่ายไทย  อาจารย์หมอเปรมได้เห็นว่าถ้าจะนำการแพทย์ไปเป็นด่านหน้า ก็จะเป็นการดีที่จะให้ประชาชนเห็นใจว่าเราไม่ได้ทอดทิ้งเขาเลย ในสมัยนั้นการแพทย์สมัยใหม่ยังไม่ได้เข้าไปทั่วถึงบริเวณนั้นเพราะเราขาดแพท ย์และบุคลากรทางการแพทย์  
 
         ความเห็นและข้อเสนอของอาจารย์หมอเปรมได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากทางฝ่ายบ้า นเมืองและจากท่านคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช  ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์อุดม โปษะกฤษณะ ผู้เป็นตัวอย่างศัลยแพทย์ที่ proactive อีกท่านหนึ่ง จนกระทั่งในที่สุดได้เกิดเป็นโครงการแพทย์พัฒนาชนบทศิริราช/อุดรขึ้น โดยฝ่ายบ้านเมืองเป็นผู้สนับสนุนการเงินและ ร.พ.ศิริราช เป็นผู้ให้บุคลากรแพทย์ เภสัชกรและพยาบาล และจะไปจัดเป็นทีมที่มีประมาณ ๒๐ ท่านที่สมัครไปอยู่อุดรธานี เป็นเวลาครั้งละหนึ่งเดือน  การออกไปทำงานจะแบ่งเป็นทีม ทีมละห้าท่าน ทีมแรกอยู่โรงพยาบาลอุดรฯ และอีก ๔ ทีมแยกย้ายไปอีกสี่ทิศ ทิศละอำเภอ ได้แก่อำเภอหนองบัวลำภู หนองหาร ผือ และเพ็ญ    อาจารย์หมอเปรมในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการได้แต่งตั้งให้ผมเป็นผู้เตรียมการ ผมจึงจำเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดีจนถึงทุกวันนี้  เราได้ไปทำประโยชน์อย่างมากมายในด้านการแพทย์ โดยตั้งเป็นหน่วยกลางที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดอุดรธานี และได้เปิดให้ ward หนึ่งเป็น ICU เพื่อรับคนไข้หนักที่ refer มาจากสถานีอนามัยทั้งสี่แห่ง ได้มีการผ่าตัดและดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคทางสมอง หัวใจ ปอด และอื่นๆจนครบการรักษาด้วยการแพทย์สมัยใหม่  ส่วนตามสถานีอนามัยก็เช่นเดียวกัน เราได้ปรับปรุงให้เป็นสถานีอนามัยที่อาจจะเป็นโรงพยาบาลเล็กๆได้แห่งหนึ่ง และอะไรที่เหลือบ่ากว่าแรงก็ส่งไปทำต่อที่ส่วนกลาง  ส่วนแต่ละหน่วยก็ทำหน้าที่ออกไปตรวจรักษาและให้คำแนะนำกับชาวบ้าน  บางทีผู้ป่วยมีอาการท้องเดินมา มีอาการหนักมาก นอนมาในเกวียน และเดินทางมาไกลมาก เราต้องปีนขึ้นไปให้น้ำเกลือบนเกวียนก็มี  มีอยู่ครั้งหนึ่งที่หนองบัวลำภูได้เกิดการสู้รบกันจริงๆ กลางดึกและมีตำรวจถูกยิงหลายคน ทีมแพทย์ที่อยู่หนองบัวลำภูที่อยู่ห่างสถานีตำรวจเพียงไม่กี่เมตรและต้องไปร ับผู้ป่วยที่ถูกยิงมารักษา  ทุกคนเสียขวัญมากเพราะไม่รู้ว่าจะถูกโจมตีอีกหรือไม่ ทางราชการได้สั่งปิดทางไปมาจากหนองบัวลำภูจนหมด ไม่มีทางจะลำเลียงรับคนเจ็บและหน่วยแพทย์กลับ  
 
          ขณะนั้นผมอยู่ที่อุดรฯ และเป็นหัวหน้าคุมทั้งหมดจำต้องตัดสินใจบากหน้าไปขอ helicopter เพื่อที่จะไปรับพวกเรากลับมาส่วนกลาง และได้ helicopter เครื่องใหญ่พอที่จะนำแพทย์และผู้ป่วยที่เป็นตำรวจที่ถูกยิงกลับไปรักษาต่อที ่โรงพยาบาลอุดรฯ  แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา ก็คือหาที่ลงลำบากและผมรู้สึกหวาดเสียวว่าเครื่อง helicopter จะไปเกี่ยวกับสายไฟที่ระโยงระยาง และต้นไม้ที่อยู่รอบข้าง โชคดีที่ไม่เกิดอุบัติเหตุ เครื่อง helicopter ได้ขึ้นลงโดยไม่มีปัญหาและได้รับพวกเราและคนไข้กลับไปอุดรฯ ได้โดยสวัสดิภาพ มีหลายครั้งที่พวกเราได้เสี่ยงชีวิตกับการบินขึ้นลงของ helicopter ต่างชนิดที่เสี่ยงลงตามที่ต่างๆ เพื่อไปออกตรวจผู้ป่วยในสถานที่ที่ยังมีการลอบยิงกันอยู่เป็นประจำ  อย่างไรก็ตาม ภายใต้การนำของอาจารย์หมอเปรม พวกเราได้ทำประโยชน์ อย่างมากมายให้กับชาวอุดร ได้ช่วยชีวิตคนนับจำนวนไม่ถ้วน และได้ประสบการณ์กับการแพทย์ การอนามัย ในท้องที่กันดาร และผมเชื่อว่าประสบการณ์ ที่ได้นั้น มีผลส่งต่อมาหลายอย่างที่ทำให้พวกเราหลายคนในโรงเรียนแพทย์มีสายตาที่กว้างข ึ้นและเริ่มมองเห็นความสำคัญของการแพทย์ต่อการพัฒนาชุมชน ได้มีโครงการที่มีประโยขน์ที่ได้เกิดขึ้นมาเพราะประสบการณ์ที่ได้จากโครงการ ศิริราช/อุดรนี้หลายโครงการดังจะได้บรรยายต่อไป
จากคุณ: 7 1 6 ' 1 6 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 08:46:27
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อไปในศิริราชก็คือหลังจากที่โครงการได้ดำเนินไปได้พักหนึ่งก็ได้เกิดการอภิปรายขึ้นครั้งใหญ่โดยที่ผู้วิจารณ์ที่มีวาทศิลป์ดีหลายท่านได้อภิปราย ซึ่งเป็นสำนวนของคนที่ reactive เช่น – ทำไมเราไปทำหน้าที่ของคนอื่นเช่นกระทรวงสาธารณสุข ของฝ่ายบ้านเมือง – เราเป็นโรงเรียนแพทย์เราทำหน้าที่ของเราดีอยู่แล้วหรือ – แต่ความจริงที่ทุกคนทราบแต่ไม่กล้าพูดออกไปชัดๆ ก็คือ มีหมอที่ทำคลินิกนอกเวลาไม่ใช่น้อยที่ไม่อยากทิ้งรายได้จากคลินิกไปอุดรฯ เป็นเวลาครั้งละหนึ่งเดือน  ไม่มีใครตอบคำวิจารณ์ต่างๆนี้เลย แต่ทุกคนรู้อยู่ในใจขณะนั้นว่า “If not us, who?  If not now, when?”  
 
                    ถ้าหากไฟจะไหม้บ้านเราจะไม่ช่วยดับไฟแต่มัวเอาแต่จะกวาดบ้านอยู่ได้อย่างไร   เนื่องจากอาจารย์หมอเปรมนิ่งอยู่ไม่ยอมตอบ ทุกคนจึงนิ่งตามและปล่อยให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านลบไปหมด  แต่ผมเองอดนิยมและชมเชยอาจารย์หมอเปรมอย่างมากที่ท่านมีความอดกลั้นและไม่ย อมตอบโต้ด้วยวาทศิลป์  เพราะปัญหาของบ้านเมืองในขณะนั้นไม่สามารถจะโต้แก้ด้วยวาทศิลป์ หากแต่จะต้องแก้ด้วยการกระทำเท่านั้น  แต่ในที่สุดทุกคนก็เห็นในเวลาต่อมาว่าสิ่งที่ท่านได้ทำนั้นถูกต้องอย่างไม่ มีข้อสงสัย
 
                 ทำไมผมจึงยกย่องให้อาจารย์หมอเปรมเป็นศัลยแพทย์ตัวอย่างที่ proactivity สูงสุด  ผมยกย่องท่านก็เพราะว่าในเวลานั้นบ้านเมืองกำลังระส่ำระสาย และโดยที่ไม่มีใครให้คำสั่ง อาจารย์หมอเปรมได้เลือกหาวิธีที่จะช่วยประเทศชาติ และได้ลงมือทำงานที่มีประโยชน์ รับเป็นผู้อำนวยการโครงการศิริราช/อุดร ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลาสมควร ทั้งๆที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ก็ไม่ยอมถอย  ผมมีความเห็นว่าถ้าประเทศเราที่อยู่รอดได้นั้นก็เพราะมีคนอย่างอาจารย์หมอเ ปรมที่เป็นคน proactive เลือกที่จะ care, เลือกที่จะทำ และเลือกที่จะรับผิดชอบโดยที่ไม่ต้องให้ใครมาสั่ง  และนอกจากนั้นโครงการศิริราช/อุดร ยังเป็นโครงการที่ให้ประสบการณ์กับผู้ที่ได้ร่วมปฏิบัติการในเรื่องการแพทย์ และการพัฒนาชนบทในท้องถิ่นที่ยากไร้  และในส่วนตัวของผมเองได้เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้ทำงานในลักษณะเดียวกันในระย ะเวลาต่อมาอีกหลายโครงการ  รวมถึงการสอนให้นักศึกษาแพทย์มีความสนใจใน community medicine  ผมจึงได้นำทีมแพทย์อาสาสมัครจากโรงพยาบาลรามาธิบดี  ภายใต้การสนับสนุนของ Rotary ดุสิต  นำเอาทีมแพทย์ ทันตแพทย์ นักศึกษาแพทย์ และพยาบาลไปตั้งหน่วยตรวจรักษาคนไข้ โดยมีอาจารย์ทันตแพทย์พิทักษ์ ไชยเจริญ เป็นผู้ช่วยที่เข้มแข็งร่วมกับเภสัชกรของโรงพยาบาล คุณมยุรี เสรีโรดม เป็นกำลังสำคัญอีกคนหนึ่ง  และมีเจ้าหน้าที่ภาควิชาศัลยศาสตร์คือคุณลดาวัลย์ นาคคล้าย (มีศีล) เป็นผู้จัดการติดต่อและได้ไปปฏิบัติการต่อเนื่องเดือนละครั้งทุกเดือนเป็นเว ลาหนึ่งปีเต็ม  
 
                   นอกจากนี้แล้วเมื่อผมได้เป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้ริเริ่มทำโค รงการส่งเสริมการศึกษาสำหรับชาวชนบทของมหาวิทยาลัยมหิดล  โดยมีคุณพรรณี ตันสกุล3 หัวหน้ากองกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ช่วยที่เข้มแข็ง  โครงการนี้เป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่รับนักศึกษามาจากสถานที่ที่เขาจะไป อยู่จริงๆโดยที่ไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือก  โครงการแพทย์นี้ได้ดำเนินอยู่สิบปีเต็มและได้ผลิตแพทย์ออกไปมากกว่าห้าร้อย คน  ในระยะต่อมาก็มีมหาวิทยาลัยอื่นได้ใช้วิธีเดียวกันนี้ผลิตแพทย์ในลักษณะคล้ ายกัน  ความดีที่ได้จากโครงการนี้ในฐานะที่ผมได้เป็นผู้อำนวยการ โครงการมาโดยตลอด ผมขอกราบมอบให้กับอาจารย์หมอเปรมที่ได้ให้ผมมีโอกาสสัมผัสกับชนบทในโครงการศ ิริราช/อุดร และได้ปลูกฝังความรักชนบท และการทำ community development ให้กับผม
จากคุณ: 7 1 6 ' 1 6 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 08:47:11


 
ศัลยแพทย์กับการบริหารเวลา
      นิสัยที่สามของ Dr. Covey ในเรื่อง time management นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมอยากจะพูดถึง ถ้าเราเขียนตารางเป็น 4 quadrants โดยที่ quadrant แรกเป็นเรื่องที่สำคัญ (ซึ่งหมายถึงว่ามันตรงกับประเด็นที่เรากำลังทำอยู่) และด่วน, quadrant ที่สองเป็นเรื่องที่สำคัญแต่ไม่ด่วน quadrant ที่สามเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญแต่ด่วน และ quadrant ที่สี่เป็นเรื่องที่ไม่สำคัญและไม่ด่วน
 
        ถ้าท่านจะหลับตาและเลือกเรื่องใดก็ได้ที่ท่านได้ทำไปแล้วและท่านพอใจและชื่ นชมกับผลงานนั้น ผมกล้ารับรองได้ว่า เป็นงานที่ท่านทำใน quadrant ที่สองทั้งนั้น  และถ้าท่านมัวทำกับ quadrant ที่หนึ่งอย่างเดียวละก็ ท่านเป็นผู้ที่ทำ management by crisis เท่านั้น และจะมีโอกาสที่จะทำงานใน quadrant ที่สองได้น้อยหรือเกือบไม่มีเลย  แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าท่านทำการบ้านมากๆ คือทำงานใน quadrant ที่สองมากเท่าไร สิ่งที่จะต้องทำใน quadrant ที่หนึ่งก็จะน้อยลงไปทุกที จนอาจจะไม่เหลือให้เราต้องใช้ management by crisis ก็เป็นได้
ส่วน quadrant ที่สามนั้นเป็นเรื่องของการเสียเวลาโดยใช่เหตุ แต่เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นโทรศัพท์ หรือมีคนมาหาโดยไม่ได้นัดหมายมาก่อนเป็นต้น  การที่จะจัดการกับเรื่องนี้เป็นเรื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและความเหมาะ สมที่ทุกคนจะต้องพิจารณาเอง
 
สำหรับศัลยแพทย์นั้น ผมมีความเห็นว่า quadrant ที่สี่ที่ดูเหมือนว่ามันจะมีความสำคัญน้อยที่สุด แต่ที่แท้จริงแล้วกลับมีความสำคัญมากกับศัลยแพทย์ เพราะเป็นเวลาที่เราจะได้พัก และมี diversion ออกไปจากงานที่เราจำเจอยู่อย่างหนัก และเป็นการทำให้สุขภาพดี หมดความเครียด เป็นเวลาที่เราจะได้เล่นกีฬา ออกกำลัง ซึ่งในเวลานี้เราพบว่าจะทำให้มี endorphin ออกมามากในสมอง พร้อมกันกับมี Brain Derived Neurotrophic Factor (BDNF) ที่จะทำให้เกิด neurogenesis ใน hippocampus และทำให้ความจำดีขึ้นอีกด้วย  ศัลยแพทย์ควรจะต้องมี physical fitness อันจะทำให้การทำงานเป็น whole person ถ้ามิฉะนั้นแล้วผลของการผ่าตัด การรักษาต่างๆอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร  อาชีพบางอย่าง อย่างทหารบกเป็นต้น เขามีวันให้หยุดได้เล่นกีฬา อาชีพของศัลยแพทย์ก็ควรจะให้ความสำคํญต่อการพักผ่อนและออกกำลังด้วยเหมือนกั น


ศัลยแพทย์กับ Empathic Mind-set
      การที่มี empathy นั้นหมายถึงการที่เรามองโลกด้วยสายตาของคนอื่น และตรงกับนิสัยที่สี่ของ Dr. Covey ที่ว่า seek first to understand, then be understood.  การที่จะรักษาคนไข้โดยไม่เข้าใจว่าเขาคิดอย่างไรอาจจะทำให้เกิดการไม่เข้าใ จกัน แต่ถ้าเราลองตั้งใจฟังคนไข้ให้ละเอียดว่าเขาต้องการอะไร หวังอะไรบ้าง จากการที่เขามาหาเรา บางทีจะทำให้เราเข้าใจความทุกข์ของคนไข้มากขึ้น  อย่าลืมว่าถ้าหากเรามองความทุกข์ของคนไข้ด้วยสายตาของเขาเองนั้นจะทำให้เรา เข้าใจปัญหาและหาวิธีแก้ไขได้ดีขึ้น  
 
      ผมจะเล่าเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นกับผมจริงๆที่เราอาจจะลองใช้เป็น study case ดูก็ได้  คืนวันหนึ่งผมถูกปลุกกลางดึกโดยโทรศัพท์มาจากแพทย์ รุ่นน้องที่เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง  ขอร้องให้ผมมาช่วยพูดกับญาติผู้ป่วยที่ต้องการจะเอาเรื่องกับโรงพยาบาลว่าไ ม่รักษาคนไข้ให้ทันเวลาจนกระทั่งสายไป  ทางโรงพยาบาลได้พยายามอธิบายทุกอย่างให้ญาติฟังแต่ญาติไม่ยอมเข้าใจ  เมื่อผมได้ไปถึงโรงพยาบาลนั้น  พบว่ามีญาติอยู่เต็มประมาณยี่สิบกว่าคนและกำลังฟังแพทย์หลายท่านอธิบายถึงว ิธีการรักษาของคนไข้คนนี้ว่าเป็นคนไข้ที่เป็นโรค AIDS ระยะสุดท้ายที่โรงพยาบาลได้พยายามให้การรักษาอย่างดีที่สุดอยู่แล้ว บังเอิญในตอนที่ญาติขอร้องให้ทำ brain scan เกิดไปพบ brain abscess ก้อนใหญ่เข้าก้อนหนึ่ง แต่เนื่องจากคนไข้มี brain death ทางโรงพยาบาลจึงเห็นว่าการผ่าตัดให้การรักษาต่อไปไม่เป็นประโยชน์  ฝ่ายทางญาติก็โทษว่าทางโรงพยาบาลได้พลาดและให้การพิเคราะห์โรคช้าไปไม่รีบท ำ brain scan เสียแต่เนิ่น ทำให้คนไข้หมดโอกาสที่จะรักษา  ผมไม่ได้พูดอะไรเลยในตอนต้นแต่ฟังอยู่นานตลอดการโต้เถียงระหว่างทั้งสองฝ่า ย พอจับใจความได้ว่าครอบครัวนี้เป็นครอบครัวระดับปานกลาง แต่มีลูกชายซึ่งได้ใช้ชีวิตที่เหลวแหลกเพราะไม่มีใครห้ามได้  
 
       มีพี่สาวคนหนึ่งของคนไข้เป็นคนดีแต่ไปทำงานต่างประเทศและตั้งตัวได้  มีความรู้สึกว่าตัวเองผิดที่ละทิ้งน้องไปไม่ช่วยดูแลน้องชายที่อยู่ในประเท ศไทยให้เป็นคนดี ดังนั้นการกลับมาครั้งนี้ก็เพื่อจะนำเงินมาช่วยรักษาน้องชาย เป็นการช่วยบรรเทา guilty conscience ที่ได้ละทิ้งน้องชายไป และเมื่อรู้ว่าทุกอย่างสายไปเสียแล้วจึงยกความผิดให้กับโรงพยาบาลก็เพื่อให้ มีการแบ่งรับความผิดไปว่าถ้าหากโรงพยาบาลได้ให้การพิเคราะห์โรคได้เร็ว เขาอาจจะกลับมาให้เงินที่เขามีอยู่ช่วยรักษาให้น้องชายเขาได้มีชีวิตอยู่ต่อ ไป และจะได้แสดงให้น้องชายเห็นว่าเขาก็รักและช่วยน้องชายคนนี้ด้วยเหมือนกัน  หลังจากผมได้ฟังการโต้เถียงเป็นเวลานานแล้ว ผมจึงเข้าใจความรู้สึกของพี่สาวผู้เป็นเสียงสำคัญที่โทษโรงพยาบาลว่าให้การร ักษาช้าเกินไป  
 
                   ในที่สุดผมจึงขอพูดเป็นคนสุดท้ายว่า ที่ผมออกจากบ้านมากลางดึกนี้ผมทำด้วยมนุษยธรรมและความยุติธรรม และผมไม่ต้องการที่จะคิดค่าปรึกษาคนไข้คนนี้เลย ผมได้พูดอย่างตรงจุดเลยว่าผมเข้าใจความรู้สึกของญาติว่าอยากจะให้คนไข้กลับฟ ื้นคืนสติเพื่อที่จะได้ให้เขารู้ว่ายังมีคนที่ยังรักเขาและจะทำทุกอย่างที่จ ะให้เขาดีขึ้น  
 
                  แต่อยากจะชี้ให้เห็นว่าวิถีทางชีวิตของคนไข้นั้นได้ถูกกำหนดเมื่อหลายเดือน ที่แล้ว  เมื่อคนไข้ได้เป็น AIDS ในระยะสุดท้ายก่อนที่คนไข้จะเข้าโรงพยาบาลเสียอีก และไม่มีการรักษาใดที่จะช่วยเปลี่ยนวิถีชีวิตคนไข้ได้เลยไม่ว่าจะใช้เงินสัก เท่าใดก็ตาม ทั้งนี้เพราะเหตุว่าการดำเนินของโรคได้มาถึงขั้นสุดท้ายแล้ว และการทำอะไรให้ผู้ป่วยเพื่อจะประทังชีวิตไว้ก็จะเป็นการทำที่ไร้ประโยชน์เพ ราะเขาไม่สามารถจะกลับมารู้ตัวอีกได้และเป็นการรักษาที่ไร้ความหมายทั้งสิ้น  ซึ่งในที่สุดญาติก็ยอมรับความเห็นนี้และเลิกที่จะเอาความผิดกับโรงพยาบาลต่อ ไป  เรื่องทั้งหมดนำมาเล่าเพื่อจะแสดงให้เห็นว่าถ้าเราหยุดฟังเสียก่อน ก่อนที่จะพยายามอธิบายให้เขาฟังจะเป็นการช่วยสถานการณ์อย่างมาก  
จากคุณ: 7 1 6 ' 1 6 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 08:47:49

ศัลยแพทย์กับ Critical Mindset            
 
เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาที่เกสปุตตะ แคว้นกาลามะ ชาวนิคมได้นิมนต์ท่านมาเทศน์ให้ฟัง  ท่านได้ให้คำสอนที่ศัลยแพทย์ควรที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะจะทำให้งานของเราถูกต้องและได้ผลดี  ท่านได้สอนว่า “มิให้เชื่อ ๑.โดยฟังตามกันมา  ๒.โดยนำสืบกันมา  ๓.โดยเชื่อข่าวลือ  ๔.โดยอ้างตำรา  ๕.โดยนึกเดาเอา  ๖.โดยคาดคะเน  ๗.โดยตรึกตามอาการ  ๘.โดยพอใจว่าชอบแก่ความเห็นของตน  ๙.โดยเห็นว่าพอเชื่อได้  ๑๐.โดยเห็นว่าสมณะผู้นี้เป็นครูของเราแต่ให้สอบสวนจนรู้ได้ด้วยตัวเอง”4  สิ่งที่ท่านทิ้งไว้ให้เราเข้าใจก็คือ ให้เราตริตรองด้วยปัญญาแล้วเกิดความเชื่อหรือไม่เชื่อด้วยตัวเอง  คำสอนนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อศัลยแพทย์  จากประสบการณ์ของผมเองในการที่ได้เป็นประธานในการประชุม morbidity และ mortality conference นับครั้งไม่ถ้วนและได้พบว่าความผิดที่เกิดขึ้นเพราะเชื่อกันต่อๆมาโดยไม่เฉล ียวใจนั้น ได้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า  หลายครั้งที่ความผิดเกิดขึ้นเพราะได้รายงาน pathological section ที่ผิดมาตั้งแต่โรงพยาบาลแรกที่ส่งคนไข้มาหรือเชื่อตามที่จดหมายที่ส่งตัวคน ไข้มา ที่ร้ายที่สุดก็คือความผิดจะตกมาเป็นของศัลยแพทย์คนสุดท้ายทั้งๆที่ไม่ได้ทำ อะไรผิดนอกจากเชื่อตามกันมา เราจะต้องใช้ critical mindset และตั้งข้อสงสัยและตรวจสอบใหม่อยู่เสมอ อย่าประมาท จงทบทวนข้อมูลทุกอย่างอย่างถี่ถ้วนอยู่เสมอ  ถ้าท่านเห็นว่าข้อเตือนธรรมดาที่ผู้ใหญ่สั่งสอนเด็กละก็ ขอให้สำเหนียกไว้ว่าเดิมพันที่เกิดขึ้นจากความผิดชนิดนี้ อาจจะหมายถึงชีวิตของคนไข้ก็ได้             การอ่านหนังสือแล้วมาอ้างว่าคนนั้นว่าอย่างนั้น คนนี้ทำอย่างนี้แต่อย่างเดียวโดยไม่ตริตรองดูเหตุและผล และทำไมเขาจึงว่าอย่างนั้น หรือทำไมเขาทำอย่างนี้ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะทำเพราะจะทำให้คนอื่นมองเห็นว่าเรานั้นยังขาดด้วยปัญญ า  
 
            ความผิดอีกชนิดที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นเลยก็คือ ความผิดที่เป็น  lack of concentration ชั่วระยะสั้นๆเช่น ทำผ่าตัดผิดข้าง โดยไปตัดไตข้างที่ดีออก หรือทำผ่าตัดผิดระดับเพราะให้ผู้ช่วยเปิดและผู้ช่วยบอกว่าถูกแล้วแน่ๆ  ความรับผิดชอบในที่สุดเกิดขึ้นกับใคร คงไม่พ้นตัวศัลยแพทย์เองนั้นแหละ  มีสุภาษิตภาษาลาตินที่ผมชอบมากและนำมาใช้สอนอยู่เสมอคือ “Errare humanum, perseverare diabolicum est”  ซึ่งแปลว่าการทำความผิดเป็นธรรมดาของมนุษย์ แต่การทำความผิดที่ทำซ้ำๆ กันนั้นเป็นการกระทำของปีศาจ  ดังนั้นเราจะต้องพยายามอย่าทำผิดซ้ำกันเป็นอันขาด ถ้ากลัวจะลืมเพราะเป็นเป็นเรื่องเล็กน้อยให้นึกว่าความผิดนั้นหมายถึงชีวิตข องคนๆหนึ่ง จะทำให้มี impact ต่อความจำมากๆจะได้จำไม่มีวันลืม


ศัลยแพทย์กับ Inventive mindset            
 
ศัลยแพทย์ที่ดีจะมองหาว่าอะไรจะทำให้งานของตนเองก้าวหน้าและได้ผลดีอยู่เสมอ  วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้เราเกิดมี inventive mindset ก็คือฝึกหัดให้เป็นคนอยากรู้อยากเห็น และพยายามเรียนทุกอย่างที่เราจะทำให้ การ learn for the sake of learning ไม่จำเป็นจะต้องใช้ “begin with the end in mind” เพราะบางอย่างที่เราเรียนนั้นบางทียังมองไม่เห็นจุดหมายปลายทาง  ยกตัวอย่างให้เห็นชัดก็คือ หลานของผมหลายคนได้เล่นเกมคอมพิวเตอร์ชนิดที่ติดต่อกันทาง internet และติดการเล่นเกมกันอย่างงอมแงม บางทีไม่ทำการบ้านและเป็นที่ห่วงใยของพ่อแม่ของเขา ผมได้ลองไปดูเขาเล่นเกมทางคอมพิวเตอร์กันแล้วกลับมองเห็นประโยชน์หลายอย่างท ี่อาจจะเกิดขึ้นกับการเล่นนี้ที่จะนำไปใช้ได้ในอนาคต แต่ยังไม่สามารถจะบอกได้ว่าเป็นอะไรในขณะนั้น ผมก็ได้แต่ปลอบใจพ่อแม่คือลูกของผมเองว่าไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการเล่นเกมหร อก ขออย่างเดียวคือฝึกให้เด็กเป็นคนที่มีความรับผิดชอบและทำการบ้านเสียก่อนที่ จะไปเล่นเกมทางคอมพิวเตอร์  อีกหลายปีต่อมาเมื่อหลานคนหนึ่งของผมเข้ามหาวิทยาลัยเขาได้เลือกวิชาที่เขา รักที่จะเรียนด้วยตนเอง คือ computer graphic art  หลานคนนี้ได้กระโดดเข้าเรียนด้วยความเต็มใจ และประโยชน์ที่ได้จากการเล่นเกมที่เขามาเล่าให้ผมฟังนั้นมีอยู่หลายประการกล ่าวคือ เขาคล่องกับการใช้ computer มากกว่าทุกคนในชั้น การที่เขาได้ chat ทาง internet กับคนที่เขาเล่นเกมส์ด้วยกันทำให้เขาสามารถพิมพ์สัมผัสโดยไม่ต้องมอง keyboard ได้อย่างรวดเร็วทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และท้ายที่สุดข้อที่พ่อแม่เขาเป็นห่วงมากก็คือการที่เด็กนั่งเล่นเกมส์อยู่ห น้าจอ computer คนเดียวนานๆ จะขาดการสังสรรค์กับผู้อื่น ทำให้เป็นคน shut in ก็ไม่เป็นไปอย่างนั้น  เพราะเขาได้เรียนจากประสบการณ์การ chat ทาง internet ระหว่างการเล่นเกมส์และทำให้เกิดศิลปะในการใช้วาทศิลป์ ในการซื้อขาย ต่อรองและอื่นๆ อีกสารพัด นี่คือตัวอย่างของการ learn for the sake of learning และอาจจะนำไปใช้ประยุกต์ต่อไปในภายหน้าได้ ถึงแม้ว่าเรามองไม่เห็นประโยชน์ในขณะนั้น
จากคุณ: 7 1 6 ' 1 6 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 08:51:16
      ตัวอย่างของศัลยแพทย์ที่มี inventive mindset มากที่สุดที่ผมเคยเห็นมาได้แก่บิดาแห่งวิชาชีพของผมคือ Professor Norman M. Dott  ท่านเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงดังไปทั่วโลกทั้งเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่และต่อเ นื่องมาจนทุกวันนี้  ท่านเป็นคนแรกในโลกที่ได้ทำผ่าตัดคนไข้ที่มี ru.ptured intracranial aneurysm โดยการห่อ aneurysm ด้วย muslin gauze และคนไข้ได้รอดชีวิตและไม่มี neurological deficit  ตัวอย่างของการที่มี inventive mindset ได้เป็นผลดีต่อๆกันมาได้แก่เรื่องการผ่าตัด pituitary gland โดยทาง transphenoid  ผมจะขอบรรยายเรื่องของท่านที่มีบันทึกไว้อย่างชัดเจนดังต่อไปนี้5
 
•      ค.ศ.1923-1924 ท่านได้ไปศึกษา neurosurgery กับ Harvey Cushing ที่โรงพยาบาล Peter Bent Brigham Hospital, Boston, USA
•      ค.ศ.1924 Cushingได้เลิกทำผ่าตัดโดยวิธีนี้ อาจจะเป็นเพราะปัญหาของการติดเชื้อ
•      ค.ศ.1929 Norman Dott ได้กลับมาจาก Bostonได้ประดิษฐ์ head lamp และเครื่องมือที่ช่วยการผ่าตัดให้ได้ดีขึ้นได้แก่ transphenoidal speculum ทั้งชนิดที่มีหลอดไฟฟ้าติดตรงปลาย speculum และชนิดที่ไม่มีไฟ รวมทั้งเครื่องมือที่เลาะ mucoperiosteum ออกจาก nasal septum  ในขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้ penicillin ที่ค้นพบโดย Alexander Flemming อีกด้วย จำนวนคนไข้ที่ได้ทำผ่าตัดไปมีมากกว่า 80 รายโดยไม่มี mortality และ morbidity เลย
•      ค.ศ.1956 Gerald Guiot จาก Paris ได้มาดูการผ่าตัดและเรียนวิธีทำผ่าตัดนี้กับ Norman Dott และนำไปใช้ผ่าตัดคนไข้ของเขา ในระยะนี้ได้มีการผลิต image intensifier หรือที่เรารู้จักกันในขณะนี้ว่า C-arm mobile x-ray ซึ่งยิ่งเพิ่มความปลอดภัยให้กับการผ่าตัดมากขึ้น
•      ค.ศ.1962 Jules Hardy ได้ไปเห็นการทำผ่าตัดของ Guiot แล้วชอบใจจึงได้เรียนวิธีทำผ่าตัดนี้จาก Guiot และนำไปใช้กับคนไข้ของเขาที่ Montreal และในระยะนี้เริ่มมีการทำ operating microscope ออกมา Hardy จึงนำมาใช้ในการผ่าตัดนี้ทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้นและได้กลายเป็นการผ่าตัดมาตรฐ านในปัจจุบันนี้และแพร่หลายไปทั่วโลก
          จะเห็นได้จากเรื่องที่ผมได้บรรยายมานี้ว่าการที่มี inventive mindset นั้นเป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง ท่านต่างๆที่ได้กล่าวนามมานั้น ได้พยายามหาประสบการณ์ใหม่และทำให้ความรู้ได้เดินทางข้ามมหาสมุทร Atlantic ถึงสองครั้งก่อนที่จะกลายเป็นเทคนิคของการผ่าตัดที่ยอมรับกันและแพร่หลายไปท ั่วโลก
           Professor Dott เป็นศัลยแพทย์ที่รอบรู้สารพัดอย่างท่านสนใจกับความรู้รอบตัวและอ่านหนังสือม าก การที่ท่านประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในอาชีพของท่านก็เพราะท่านรอบรู้และน ำเอาความรู้ต่างๆมาประยุกต์ทำให้เกิดเป็นเทคนิคใหม่ที่เป็นประโยชน์  
 

       
ศัลยแพทย์กับ Emotional Intelligence (EQ)      
 
            EQ หมายถึง emotional intelligence และได้รับการย่อเป็น EQ เพื่อให้คล้องจองกับ IQ (Intelligence Quotient) ซึ่งหมายถึง intelligence ที่เราวัดได้ คำว่า EQ นี้ได้ใช้กันเป็นที่แพร่หลายและทั่วไป อารมณ์เป็นส่วนของร่างกายในส่วนที่เรารู้จักกันทั่วๆ ไปว่า “heart” และเป็นองค์ประกอบของชีวิตที่สำคัญมากอย่างหนึ่งที่ศัลยแพทย์จะต้องคอยทนุบำ รุงให้ emotion ของตัวเองอยู่ในคุณภาพที่ดีอยู่ตลอดเวลาเพื่อการงานจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิท ธิภาพ
 
            ผมได้สังเกตเห็นว่า ศัลยแพทย์บางท่านเมื่อกำลังผ่าตัดตอนสำคัญกลับกลัวความผิดเสียจนลนลานไปหมด ทำอะไรไม่ถูก  ไม่กล้าตัดสินใจ  ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือชื่อ The Power of Resilience ที่แต่งโดย psychiatrists สองท่าน คือ Robert Brooks และ Sam Goldstein6   หนังสือเล่มนี้ได้บอกถึงวิธีที่จะทำให้จิตเกิดเป็น resilient mindset โดยใช้ “Attribution Theory” ที่ผมอยากจะนำมาเสนอให้ท่านพิจารณา เพื่อจะได้ใช้เป็นประโยชน์   แต่ก่อนที่ผมจะเสนอเรื่องนี้ให้ท่านพิจารณานั้น ผมอยากจะยกตัวอย่างให้ชัด ๆ มาบรรยายเสียก่อนว่าถ้าเราไม่รู้จักใช้ attribution theory แล้วจะทำให้เกิดข้อเสียอะไร
 
            เรื่องนี้เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่นอกจากค่าแรงซ่อมแซมบ้านมีราคาแพงมากแล้วยังหาคนมารับซ่อม แซมตามบ้านได้ยากอีกด้วย  วันหนึ่งกุญแจประตูบ้านของชายผู้หนี่งเกิดเสียขึ้นมาและหาคนแก้ไม่ได้ เขาจึงบอกกับภรรยาของเขาว่าเขาจะลองแก้ไขดูเอง แต่ขอออกตัวเสียก่อนด้วยว่าเขาไม่เก่งเลยเรื่องการซ่อมแซมอย่างนี้  เขาได้ไปหาซื้อกุญแจบ้านที่ดีที่สุดมาอันหนึ่งและศึกษาอ่านดูคู่มือวิธีการ ติดตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งคิดว่าตัวเองสามารถจะทำได้ดี และก็ได้พยายามทำจนกระทั่งเสร็จลงอย่างเรียบร้อยสมกับที่เขาต้องการทุกอย่าง  แต่ปรากฏว่ากุญแจที่เขาติดตั้งนั้นใช้ไม่ได้  สิ่งแรกที่เขาทำคือโทษตัวเองและบอกกับภรรยาเขาว่า เห็นไหมบอกแล้วไม่เชื่อว่าเขาเป็นคนที่ไม่มีความสามารถทางการช่างนี้เลยไม่ค วรปล่อยให้เขาทำงานนี้  หลังจากนั้นอีกนานเขาจึงได้หาช่างกุญแจได้ และเมื่อช่างกุญแจมาตรวจดูได้พบว่าการติดตั้งกุญแจนั้นถูกต้องดีทุกอย่าง แต่การที่กุญแจไม่ทำงานนั้นเป็นเพราะว่ากุญแจนั้นมีข้อบกพร่องมาตั้งแต่แรก  โดยแท้จริงแล้วชายผู้นั้นโทษตัวเองไม่ถูกต้อง และทำให้ตัวเองหมดความมั่นใจจากเรื่องที่เขาไม่ได้ก่อขึ้น
 
             จากตัวอย่างข้างบนทำให้เราพอจะเข้าใจในทำนองเดียวกัน เราอาจจะโทษตัวเองโดยเหตุผลที่ผิด ทำให้ขาดความมั่นใจโดยไม่จำเป็น และมีเหตุการณ์ที่เกิดในทำนองนี้อย่างมากมายในชีวิตจริง  การที่จะแก้ไขไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นก็คือเราต้องใช้ Attribution theory เข้าพิจารณาโดยที่เราจะต้องพิจารณาว่าอะไรคือต้นเหตุของความผิด และเราจะทำอย่างไรบ้างที่จะไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก  
 
                 การโทษตัวเองโดยไม่พิจารณาให้ละเอียดว่าความผิดเกิดได้อย่างไรแล้วมัวแต่โทษ ตัวเองอาจจะทำให้หมดความมั่นใจลงเรื่อยๆ และไม่สามารถจะประกอบกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การใช้ Attribution theory เข้ามาบริหารจิตใจจะทำให้เราเป็นคนที่มี resilient mindset สามารถจะยืดหยุ่นจิตใจไม่ให้เกิด “negative script” ที่จะทำให้หมดความเชื่อมั่นในตัวเองและจะไม่สามารถทำหน้าที่ของศัลยแพทย์ได้ อย่างเหมาะสม
จากคุณ: 7 1 6 ' 1 6 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 08:53:45
    ในด้านตรงกันข้าม ศัลยแพทย์บางท่านมีแต่ความถ่อมตัว และบางทีก็มากเกินไปจนกระทั่งเกิดเป็นคนที่เราเรียกว่า success phobia ซึ่งมักจะพบกับคนที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง และคิดถึงตลอดเวลาว่า success ที่เคยมีนั้นเป็นเพราะตัวเองโชคดี และกลัวว่าจะไม่สามารถที่จะทำให้เกิดความสำเร็จได้ซ้ำอีก เวลาคนเขามาสรรเสริญในความสามารถที่ควรจะยอมรับไว้ด้วยดี กลับกลัวว่าไม่ควรจะได้รับการสรรเสริญนั้นๆ เพราะความสำเร็จนั้นเกิดจากความโชคดี และไม่รู้ว่าจะทำให้เกิดใหม่ได้อีก กลัวว่าวันใดวันหนึ่งคนจะค้นพบว่าตัวเองไม่เก่งจริง  
 
                 ความรู้สึกอย่างนี้มักจะเกิดกับคนที่มี low estimation กับงานและผลงานของตัวเอง  วิธีที่จะใช้บริหาร negative script นี้ก็คือให้ใช้ Attribution theory โดยแยกแยะว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเหตุใดที่ทำให้เราเกิดความสำเร็ จ อาจจะเป็นเพราะความสามารถที่ใช้ operating microscope ได้ดี อาจจะเพราะการพิเคราะห์โรคได้ดีและสามารถพบโรคในระยะที่สามารถผ่าตัดได้ผลดี  และสิ่งอื่นที่เป็นข้อดี แล้วเกิดผลบวกเหล่านี้ไว้ให้เป็น “Island of competence” ที่เราสามารถจะเรียกมาใช้ได้อีกเมื่อมีเหตุการณ์อย่างเดียวเกิดขึ้นในภายหน้ า  การกระทำอย่างนี้ ไม่ใช่เป็นการโอ้อวด  การโอ้อวดเป็นสิ่งที่ไม่ดี และการโอ้อวดนั้นมักจะเป็นสิ่งที่บอกให้คนอื่นที่ช่างสังเกตว่าเราเป็นคนที่ ไม่มีความมั่นใจและใช้ความโอ้อวดกลบเกลื่อนความไม่มั่นใจในตัวเอง  แต่การใช้ island of competence นี้เป็นการกระทำที่เราเท่านั้นรู้ว่าเป็นของของเราเองและจะนำมาใช้อีกเมื่อไ รก็ได้
 
                        ผมแนะนำให้ศัลยแพทย์ทุกท่านบันทึกความผิดและความถูกต้องที่ท่านได้ทำไว้ โดยใช้ Attribution theory และแยกแยะว่าอะไรคือสิ่งที่จะต้องแก้ไข และอะไรควรเป็น islands of competence ของเรา   การผ่าตัดที่ยากและนานๆจะได้ทำสักที  ถ้าเราจดรายละเอียดไว้ และเมื่อมีคนไข้ที่เป็นอย่างเดียวกันที่ต้องรับการผ่าตัด เราควรจะอ่านบันทึกที่เราทำไว้ ท่านจะพบว่าเป็นการช่วยการผ่าตัดของท่านได้มาก และจะเพิ่มอัตราของความสำเร็จให้มากขึ้น

 

พลังแห่งเมตตา
 
      เมื่อปี ค.ศ. 1950 Alice A. Bays และ Elizabeth Jones Oakbery ได้เขียนถึงเรื่องที่น่าทึ่งเรื่องหนึ่งในหนังสือ The Power of Kindness (American Religious House, 1950)7 และผมขอนำมาบรรยายให้พวกเราตระหนักในพลังของเมตตาดังต่อไปนี้
 
           มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งกำลังทำงานอยู่ในฟาร์มแห่งหนึ่งในประเทศสกอตแลนด์ ได้ยินเสียงร้องขอให้ช่วยจากทะเลสาบที่อยู่ไม่ไกลจากที่เขาอยู่  เขารีบวิ่งไปที่ริมทะเลสาปแห่งนั้นและพบว่ามีชายหนุ่มผู้หนึ่งกำลังจะจมน้ำ อยู่ เขาจึงกระโดดลงไปในน้ำและช่วยชีวิตชายคนนั้นไว้  อีกประมาณสองปีต่อมาเขาได้รับโทรศัพท์จากชายหนุ่มผู้นั้นว่า บิดาของชายหนุ่มนั้นเป็นขุนนางอังกฤษที่มีตำแหน่งสูงในรัฐบาลและอยากจะตอบแท นให้เด็กหนุ่มที่ได้ช่วยชีวิตลูกชายของเขาไว้โดยจะให้ทุนการศึกษาให้เรียนต่ อในมหาวิทยาลัย  เด็กหนุ่มชาวนานั้นจึงเลือกเรียนแพทย์ และได้เรียนแพทย์ที่โรงพยาบาล Saint Mary Hospital ที่เมืองลอนดอน และต่อมาได้เรียนจนจบและได้ปริญญาแพทย์เกียรตินิยม เขาขอเรียนต่อทาง biology และในที่สุดด้วยอาชีพนี้เขาได้ค้นพบ penicillin   ชื่อของท่านผู้นี้คือ Alexander Fleming และได้รับรางวัล Nobel prize และมียศเป็น Sir Alexander Fleming และคนที่เขาได้ช่วยชีวิตไว้มีชื่อว่า Winston Churchill ซึ่งต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีประเทศอังกฤษและได้เป็น Sir Winston Churchill
 
     ต่อมาเมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง Winston Churchill ในขณะที่เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ และกำลังเป็นผู้นำของฝ่ายสัมพันธมิตรที่สำคัญ ที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะคือประเทศเยอรมันนี และอิตาลี เมื่อเขาได้เดินทางไปทางเหนือของทวีปอาฟริกาได้เป็นโรคปอดอักเสบอย่างรุนแรง  มีไข้สูงและมีอาการที่ทรุดลงอย่างรวดเร็ว เป็นที่น่าหนักใจต่อฝ่ายสัมพันธมิตร  และก็อีกครั้งหนึ่งที่ Alexander Flemings  ได้ช่วยชีวิต Winston Churchill โดยเขาได้บินเอา penicillin ที่เขาค้นพบไปรักษา Churchill จนหายสนิท
 
                 ผมได้ติดตามอยากทราบรายละเอียดต่อไป และได้เข้าไปค้นหาที่ Official web site ของ Winston Churchill ก็ได้ทราบว่ามีผู้สนใจอยากจะทราบว่าเรื่องต่อไปด้วยเหมือนกันว่าเป็นความจริ งหรือไม่  และได้เขียนไปถาม ที่ web site นี้หลายสิบราย  ผู้ที่ดูแลประวัติของ Sir Winston Churchill ได้ตอบว่าไม่มีรายละเอียดของเรื่องนี้บันทึกไว้และเขาไม่สามารถจะปฏิเสธหรือ ยืนยันให้ได้ แต่อย่างไรก็ตามมันเป็นเรี่องที่น่าทึ่งและได้แสดงถึงว่าความเมตตานั้นกลับไ ปกลับมาอย่างทวีคูณเสมอและไม่มีวันสูญหาย  ทั้งผู้ให้และผู้รับ
 
               ศัลยแพทย์ที่ผมเห็นว่าควรจะเป็นตัวอย่างของผู้ที่มีเมตตาธรรมสูงมากที่ผมเคย เห็น คงจะไม่มีใครเกินศาสตราจารย์นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์  ผมได้เคยใกล้ชิดกับท่านในฐานะลูกศิษย์  ในฐานะที่เคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านเมื่อท่านเป็นอธิการบดีมหาวิทยาล ัยมหิดล  ในฐานะที่ท่านเคยส่งคนไข้มาให้ผมรักษา และในฐานะที่ได้เคยร่วมทำงานกับท่านเมื่อท่านเป็นคณบดีคณะสังคมศึกษา และผมเป็นรองอธิการบดีอยู่ขณะนั้น ความเมตตาที่ท่านมีนั้นให้ทุกคนหมดไม่ว่าจะเป็นคนจน คนมั่งมี คนธรรมดาหรือคนมีตำแหน่งสูง ที่ประทับใจเป็นพิเศษก็คือการช่วยเหลือของท่านบางทีกระทำอยู่เบื้องหลังโดยไ ม่มีใครรู้ และบางทีผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือเองก็ไม่ทราบเพราะท่านไม่พูด และไม่เคยทวงบุญคุณเพียงแต่คนที่ใกล้ชิดและทำงานกับท่านเท่านั้นที่จะทราบ  
 
                    ผมมีความรู้สึกทึ่งต่อคุณลักษณะพิเศษของท่านและได้พยายามนำมาฝึกหัดให้มีเม ตตาธรรมตามอย่างท่าน โดยเฉพาะในเรื่องการให้เมตตาต่อคนไข้  นอกจากนี้เมื่อท่านเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย ท่านได้ช่วยผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านทุกคนที่ท่านจะช่วยได้ ให้การส่งเสริมและสนับสนุนทุกอย่างต่อผู้น้อย และยังว่ากล่าวคนที่ทำงานแบบราชการที่ทำให้ทุกอย่างล่าช้าจนงานที่ควรจะสำเร ็จเสร็จสิ้นไปแล้วก็กลับต้องรอหรือกลายเป็นไม่สำเร็จ   ท่านเป็นบุคคลพิเศษที่ได้ให้ความเมตตาต่อทุกคนเท่ากันหมดจริงๆ  และความเมตตาที่ให้นั้นดูเหมือนเกิดขึ้นอย่างธรรมดาของท่านเองโดยไม่หวังผล ตอบแทนอะไรเลย นับว่าท่านเป็นศัลยแพทย์ที่มีเมตตาธรรมที่สูงจริงๆ
จากคุณ: 7 1 6 ' 1 6 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 08:56:37
เมตตาธรรมเป็นสิ่งที่แปลกตรงที่ว่ายิ่งให้แทนที่จะหมดกลับตรงกันข้าม ยิ่งมีมากขึ้นอีก เมตตาธรรมทำให้เกิดความสุขใจของผู้ให้โดยไม่รู้ตัวและจะสะท้อนออกมาในสีหน้า ท่าทางของผู้นั้น ใครเห็นก็เกิดความเลื่อมใสและอยากเข้าใกล้ อยากจะมารู้จัก นับว่าเป็นรัศมีที่เกิดขึ้นรอบตัว เป็นเกราะป้องกันตัวต่ออันตรายที่อาจจะมีต่อตัวเราได้ตลอดเวลา  ในการที่เราเป็นแพทย์ เราจะขาดคุณธรรมนี้ไม่ได้ และควรจะฝึกให้เกิดขึ้นเป็นนิสัยอย่างหนึ่งที่เราปฏิบัติด้วยความเคยชินออกม าเองโดยไม่ต้องบังคับ



 
ศัลยแพทย์กับ Spiritual Intelligence (SQ)
 
              Spiritual intelligence เป็นส่วนสุดท้ายที่จะพูดถึง ความจริง SQ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของชีวิต  Richard Wolman ได้เขียนไว้ในหนังสือ “Thinking with your soul”   เมื่อ ค.ศ. 2001 ว่า “By spiritual I mean the ancient and abiding human quest for connectedness with something larger, with the worlds of history and nature, with the indivisible winds of the spirit, with the mystery of being alive.”8   สำหรับผมเองพบว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะอธิบายว่าอะไรคือสปิริต  
                   ความจริงในหมู่พุทธศาสนิกชนด้วยกันแล้ว ทุกคนทราบดีว่าสปิริตหรือ soul นั้นได้แก่คุณธรรมทั้งหลายที่ทุกคนทราบและมีอยู่แล้ว คงต้องการการทำนุบำรุงให้กล้าแข็งมากขึ้นเท่านั้น  ผมคงไม่มีความสามารถที่จะเทศน์หรือบรรยายในสิ่งเหล่านี้ แต่จะขอจำกัดการบรรยายลงไปในสิ่งที่ผมถือว่าเป็น spiritual intelligence ที่สำคัญที่ศัลยแพทย์ทุกคนควรมีและรู้จักวิธีที่จะทำให้มีเพิ่มขึ้น  สิ่งนี้ก็คือ กำลังใจในการทำงานของศัลยแพทย์ - ทำอย่างไรเราจะไม่เบื่อในการงานและหน้าที่ความรับผิดชอบของเรา และกลับทำให้เกิดมี enjoyment กับงานของเรา
 
                 เมื่อไม่นานมานี้ผมได้อ่านวารสารรายเดือนชื่อ Golf digest  และเขาได้กล่าวถึงภาวะอย่างหนึ่งของนักกอล์ฟที่กำลังเล่นดีมากๆอย่างเช่น Tiger Woods ที่ได้รับรางวัล  major tournament หลายครั้ง  เป็นที่ทราบกันอยู่ดีว่าการแข่งใน major tournament นั้นเต็มไปด้วยความกดดันในทุกๆด้าน นักกอล์ฟเหล่านี้ได้บรรยายถึงภาวะที่เขากำลังอยู่ในขณะนั้นว่า เขาไม่ได้ยินเสียงคนโห่ร้องอย่างดังสนั่นรอบข้าง  เขารับรู้แต่อย่างเดียวคือสิ่งที่เขากำลังทำอยู่และจะทำด้วยความสามารถที่เ ขาได้ฝึกมาเป็นเวลานาน และเป็นอย่างดีเท่านั้น ความคิดที่ว่าจะพลาดไม่มีอยู่ในหัวเขาเลยแม้แต่เพียงนิดเดียว และการกระทำนั้นจะเกิดขึ้นในลักษณะที่ถูกต้องอย่างพร้อมมูล    
 
                     วารสารกอล์ฟนั้นได้อ้างถึงหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Flow – the Psychology of Optimal Experience9 ซึ่งแต่งโดยศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาและ human resource ของ University of Chicago ผมจึงได้ไปซื้อมาอ่านและพบว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจมาก    หนังสือเล่มนี้ได้ตีพิมพ์มาประมาณสิบกว่าปีมาแล้ว  Prof. Mihaly Csikszentmihalyi ได้เขียนถึงการสัมภาษณ์คนในหลายอาชีพรวมทั้งในวงการกีฬาต่างๆเป็นจำนวนมากหล ายพันคนที่ได้เกิดมีภาวะที่เขาเรียกว่า “Flow” โดยให้แต่ละคนบรรยายประสบการณ์ของเขาขณะที่เขาอยู่ในภาวะดังกล่าว  และนำประสบการณ์ของแต่ละคนมาประมวลเปรียบเทียบกัน เขาพบว่าแต่ละคนได้บรรยายความรู้สึกที่คล้ายคลึงกัน  โดยแต่ละคนก็จะพูดถึง awareness ชนิดหนึ่งที่บางคนจะรู้สึกว่าเวลาหยุดนิ่ง เวลาหลายชั่วโมงจะรู้สึกเหมือนประเดี๋ยวเดียว หรือในทางตรงกันข้ามนักแสดงบางคนเช่นนักเสก็ตน้ำแข็งที่ทำการกระโดดและหมุนต ัวสองสามรอบ หรือนักบัลเล่ย์ที่หมุนตัวรอบตัวเองหลายรอบ  ซึ่งการแสดงอย่างนี้เป็นของที่ยากและต้องการการฝึกมาเป็นอย่างดี และจะต้องใช้ concentration ที่สูงสุดจึงจะทำได้  นักแสดงเหล่านี้ จะรู้สึกตรงกันข้ามคือเวลาจะขยายออก เพียงระยะเวลาไม่กี่วินาทีจะรู้สึกว่านานมาก ทุกคนจะไม่กลัวกับความผิดหรือผลของการกระทำแต่จะใจจดจ่อต่อการกระทำในขณะนั้ นแต่อย่างเดียว และไม่มี awareness ต่อสิ่งรอบข้าง นักไต่หน้าผาก็จะนึกถึงการเคลื่อนไหวของลำตัวแขนขาเป็นไปตามที่ได้ฝึกมาเป็น อย่างดีเป็นเวลานาน ไม่กลัวว่าจะตกลงมา และไม่มีเวลาจะนึกถึงความกลัวใด ๆ ทั้งสิ้น  
 
                        ศัลยแพทย์ก็เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการสัมภาษณ์ด้วยเหมือนกันและได้ให้ข้ อมูลว่าในระหว่างการผ่าตัดที่ critical และละเอียดอ่อนนั้นทุกคนได้มีประสบการณ์อย่างเดียวกัน  ผมเองเมื่อมานึกย้อนหลังได้รู้ตัวว่าได้อยู่ในภาวะอย่างนั้นไม่รู้กี่ครั้ง กี่หน ในขณะที่ใจจดจ่อกับการผ่าตัดที่ยากและสำคัญ โดยเฉพาะเวลาใช้กล้อง operating microscope  ถ้าเราอยู่ในภาวะ flow นี้มือจะนิ่งไม่สั่น หมดความกลัวว่าจะทำอะไรผิดพลาด และรู้สึกทั้งหมดขึ้นกับการผ่าตัดอย่างเดียว  
 
                     การเคลื่อนไหวกับความคิดเป็นไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหมด ต้องการจะทำอะไรก็ทำได้เสมอ เหมือนกับใช้ “บินด้วย autopilot” พอเสร็จเงยหน้าออกมาจากกล้องก็พบว่าเวลาล่วงไปหลายชั่วโมง โดยไม่รู้สึกเหนื่อยหรือหิวอาหารทั้งที่ได้ผ่านเวลาอาหารมาหลายชั่วโมงแล้วก ็ตาม
จากคุณ: 7 1 6 ' 1 6 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 08:57:11
การสรุปของ Prof. Csikszentmihalyi ก็คือคนที่จะมี flow ได้นั้นจะต้องมีบุคลิกที่เขาเรียกว่า “complex personality” และงานที่ทำจะต้องเป็น autotelex ซึ่งหมายความว่าเป็นงานที่มีจุดมุ่งหมายเด่นชัดด้วยตัวของมันเอง  การที่จะมี complex personality ได้นั้นจะต้องมี 5 Cs กล่าวคือจะต้องมี clarity ของสิ่งที่จะทำ โดยไม่ขัดกับความรู้สึกของตัวเอง และจะต้องสามารถวัดผลความสำเร็จได้ทันที และไม่คลุมเครือ, ต้องมีความสามารถที่จะ Center ให้งานนั้นเป็นจุดศูนย์กลางในตัวเราโดยไม่ต้องคิดถึงอย่างอื่นในขณะที่กำลัง ทำงานนั้น งานนั้นจะต้องเป็นงานที่เป็น Choice ของตัวเอง ไม่ใช่ถูกบังคับให้ทำโดยที่ตัวเองไม่ชอบ, ต้องมี Commitment กับงานนั้นอย่างแท้จริง และท้ายที่สุดงานนั้นจะต้องเป็น Challenge คือต้องมีความท้าทายที่ตัวเองต้องการเอาชนะ
 
                Prof. Csikszentmihalyi  ได้อธิบายคำสองคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน ได้แก่คำว่า pleasure และ enjoyment  มนุษย์เรานั้นมี pleasure ที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องเรียน เช่นเวลาหิว เมื่อได้กินอาหารก็จะเกิดมี pleasure โดยไม่ต้องมีการเรียน การฝึกมาก่อน  แต่ข้อเสียก็คือถ้ามี pleasure มากไปจะเป็นอันตราย เช่นกินอาหารมากจนอ้วนเกินไปเป็นต้น  ส่วน enjoyment นั้นเป็นคนละอย่างกันกับ pleasure ตรงที่ว่า enjoyment นั้นจะต้องมีความท้าทายที่เราจะต้องเอาชนะมันให้ได้โดยการเรียน การฝึก การทดลองหาประสบการณ์ ความเพียร และอื่นๆ และเมื่อเราชนะมันก็จะเกิดเป็น enjoyment ขึ้นมา  ถ้าเราหาความท้าทายให้สูงขึ้นไปอีกและเราจะเอาชนะมันได้ ก็จะเพิ่ม enjoyment มากขึ้นอีก และถ้าทำติดต่อกันอาจจะเกิดเป็นภาวะ “Flow” ขึ้นได้
 
                    การหาความท้าทายก็มีความสำคัญ ถ้าหากเราหาความท้าทายที่สูงเกินไป จะทำให้เราท้อใจเสียแต่แรก และถ้าจำเป็นต้องทำงานทั้งๆที่ท้อใจอย่างนั้นจะทำให้เราหมดกำลังใจ  ในทางตรงกันข้ามถ้าความท้าทายนั้นต่ำเกินไปก็จะทำให้เราเบื่อและหมดสนุก  วิธีที่ผมใช้อยู่เสมอเมื่อรู้สึกว่าเมื่อการทำผ่าตัดจะต้องละเอียดอ่อน จะต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง ผมจะทอนการผ่าตัดให้เป็นขั้นตอน โดยพยายามให้แต่ละขั้นตอนสูงกว่าความสามารถเล็กน้อยและเมื่อเราทำเสร็จขั้นต อนแรกโดยเรียบร้อยดีก็จะเริ่มเกิด enjoyment ขึ้น ต่อมาเรากำหนดขั้นต่อไปให้มีความท้าทายสูงขึ้นอีกแต่ไม่มากจนเกินไป พอเราเอาชนะมันได้อีกก็จะเพิ่ม enjoyment ขึ้นอีกจนกระทั่งเกิดเป็นความสุขที่ได้ทำงานเป็นผลดี อันอาจจะทำให้เกิด flow ขึ้นและเราจะเริ่ม “บินด้วย autopilot” และเมื่องานสำเร็จลงแล้วบางทีไม่ทราบว่าเวลาได้ผ่านไปหลายชั่วโมงแล้ว
 
                ความลับของชีวิตคืออะไร ทำไมเราจะมีกำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้โดยมี enjoyment ต่อการมีชีวิตอยู่ต่อไป ความลับนี้คงจะต้องช่วยกันหาต่อไปว่าเป็นอะไรแน่ในที่สุด  แต่ในขณะนี้อาจจะเป็นได้ว่าความลับนี้คือความท้าทายนี่เอง  ความท้าทายที่เราจะต้องเพาะให้งอกงามไม่มีวันหยุด และเราชนะมันแล้ว ก็จะต้องแสวงหาความท้าทายต่อไปอีก และในอาชีพของเรานั้น การชนะได้หมายถึงการได้ช่วยชีวิตมนุษย์ หรือทำให้ชีวิตมนุษย์มีคุณภาพดีขึ้น นอกจากจะเกิดมี enjoyment  จากการชนะความท้าทายแล้ว ความสุขใจก็จะยิ่งเพิ่มมีความหมายเพิ่มขึ้นอย่างมากมายหาอะไรมาเปรียบได้ยาก  
 
              โดยสรุป ในการที่ศัลยแพทย์จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องเป็นคนที่ effective และทำงานด้วย whole person พร้อมมูล กล่าวคือจะต้องมี body, mind, heart และ soul หรือ spirit ที่ร่วมทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และจะต้องหาปัญญาเพิ่มเติมอยู่เสมอในทุกด้านได้แก่ PQ, IQ, EQ และ SQ


The Eighth Habit
 
                เมื่อปีที่แล้วผมได้เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่งและได้พบว่า Stephen Covey เขียนหนังสือออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อ The Eighth Habit10 และหนังสือเล่มนี้ได้สอนถึงวิธีที่จะ Find your own voice and inspire others to find theirs ผมคิดว่าผมได้พบเสียงของผมเองแล้วและวันนี้ผมหวังว่าผมคงได้มีส่วนดลใจให้ทุ กท่านในที่นี้ โดยเฉพาะเพื่อนศัลยแพทย์ ให้พยายาม find your own voice เพื่อที่จะได้รู้จักการดำรงชีวิตที่มีความหมาย และมี enjoyment (Learn to live), เพื่อที่จะได้เรียนรู้ต่อไปอย่างไม่มีวันหยุด (Live to learn) เพื่อที่จะแผ่เมตตาให้กับมนุษยชาติ (Learn to love), และเพื่อที่จะทำให้โลกนี้ดีขึ้นเพื่อคนใน generation ต่อไป ซึ่งเป็นขบวนการที่ท่านจะเริ่มได้ตั้งแต่บัดนี้จนตลอดชีวิตของท่าน (Leave this world a better place for the next generation) – ขอบคุณครับ                                                  
 

            
หมายเหตุ:ขอขอบคุณอาจารย์วรวุฒิ จรรยาวนิชย์ และคุณวนิดา เมฆสถิตย์ แห่งโรงพยาบาลศิริราช ที่ได้กรุณาหารูปภาพประกอบเรื่องที่บรรยายนี้ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกันโครงการศิริราช/อุดร ขอขอบคุณ อ. สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ ที่ส่งต้นฉบับมาให้ ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ...716
จากคุณ: 7 1 6 ' 1 6 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 08:57:40
References
1. Covey RC. The 7 Habits of Highly Effective People, Free Press, Simon and Schuster Inc, 1990.
2. Frankl VE. Man’s Search for Meaning. An Introduction to Logotherapy. Boston: Beacon Press, New York, 1963.
3. พรรณี ตันสกุล, โครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบทของมหาวิทยาลัยมหิดลและกระทรวงสา ธารณสุข, โรงพิมพ์ ร.ส.พ. กรุงเทพ, พ.ศ. ๒๕๒๕.
4. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม, มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์  พิมพ์ครั้งที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๕๓๙.
5. Lanzino G, Laws ER. Key personalities in the development and popularization of the transphenoidal approach to pituitary tumours: an historical overview.  Neurosurg Clin N Am 14, 2003, 1-10.
6. Brooks R, Goldstein S. The Power of Resilience, McGraw-Hill, New York 2003.
7. Bays AA, Oakbery EJ.  Worship Programs for Juniors in a chapter entitled "The Power of Kindness.", American Religious House, 1950.
8. Wolman R. “Thinking with your soul”, New York: Harmony Books, 2001, p. 26.
9. Csikszentmihalyi M, Flow: The Phsychology of Optimal Experience, Harper Perennial, Harper Collins Publishers, 1991.
10. Covey RC. The 8th Habit, Free Press, Simon and Schuster Inc, 2004.
 
 
จากคุณ: Frankenstein โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 09:01:56
ขอบพระคุณครับ  อาจารย์สิระ
จากคุณ: Desperate Husband โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 09:39:01
เป็นแนวคิดที่ดีสำหรับการใช้ชีวิต    
ขอบคุณครับ
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 09:48:34

ขอบคุณครับ อาจารย์  และ พี่ 716'16 ..
 
ขอแฮบ ไว้หน่อยนะครับ ... เอาไว้เตือนใจตนเอง  Wink
จากคุณ: en Bloc โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 09:49:26
ขอบคุณครับ เซฟเก็บไว้ละครับ  Kiss
จากคุณ: 7 1 6 ' 1 6 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 09:59:44
ท่านใดสนใจที่อยากได้เป็น file microsoft word  : มี 12 หน้า  
----------------->
เพื่อความสะดวก ท่านสามารถ download file นี้ ได้จาก URL นี้ครับ..
http://upload.siamza.com/download.php?id=46173  
<--------------------  

 
 
จากคุณ: 2-U โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 10:00:57
ขอบคุณครับอาจารย์ แม้ว่าผมไม่ใช่ศัลยแพทย์ ก็จะเก็บเอาไปเป็นข้อคิดครับ
จากคุณ: guru โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 10:01:42
เมื่อต้นปีพ.ศ. ๒๕๐๘  ประเทศไทยกำลังเข้าภาวะวิกฤติ เนื่องจากบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่เทือกเขาภูพานที่ทอดยาวจา  กทางเหนือของประเทศไทยและประเทศข้างเคียง ได้เป็นสถานที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เข้ามาแทรกแซงเป็นจำนวนมากและได้หว่  านล้อมให้ประชาชนบริเวณนั้นเป็นปรปักษ์กับรัฐบาล โดยใช้ลัทธิที่ได้มาจากจีนแดงและรัสเซียมาเผยแพร่ และได้มีเหตุการณ์นองเลือดระหว่างผู้ก่อการร้ายเหล่านี้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ  ้านเมือง  อาจารย์หมอเปรมได้ไปคุยกับฝ่ายบ้านเมืองที่กำลังเร่งพัฒนาบริเวณอีสานอย่าง รีบด่วน เพื่อให้ประชาชนกลับใจมาเป็นฝ่ายไทย  อาจารย์หมอเปรมได้เห็นว่าถ้าจะนำการแพทย์ไปเป็นด่านหน้า ก็จะเป็นการดีที่จะให้ประชาชนเห็นใจว่าเราไม่ได้ทอดทิ้งเขาเลย ในสมัยนั้นการแพทย์สมัยใหม่ยังไม่ได้เข้าไปทั่วถึงบริเวณนั้นเพราะเราขาดแพท  ย์และบุคลากรทางการแพทย์    
 
     
เห็นด้วย กับพี่ ทั้งหมดเลยครับ
และ ตรงที่โคดย่อหน้านี้มา ก็เพราะ ผม คิดว่า สถาณการณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ก็คล้ายๆ กับอีสาน สมัย 2508 มาก ครับ
และ ชอบประโยคนี้ จริงๆ ครับ  
"  ถ้าจะนำการแพทย์ไปเป็นด่านหน้า ก็จะเป็นการดีที่จะให้ประชาชนเห็นใจว่าเราไม่ได้ทอดทิ้งเขาเลย "
จากคุณ: parinyaMD25 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 10:19:14
เจ๋ง... Smiley
จากคุณ: littlerock โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 10:42:49
ผมก็เป็นลูกศิษย์อ.สิระคนหนึ่ง อ.เป็นศัลยแพทย์ที่เป็น role model ของผมเลยทีเดียว คือ ใจดี ใจเย็น มีความเมตตาอยู่เสมอ ทำให้คนรอบข้างรู้สึกสบายใจที่อยู่ด้วย การตัดสินใจและฝีมือการผ่าตัดก็ยอดเยี่ยม แม้จะอายุมากแล้ว แต่มือก็ไม่สั่นเลย ยังมาสอนการผ่าตัดให้เด็ก ๆ เสมอ ถึงแม้จะอายุกว่า 70 ปีแล้ว วันที่อ.บรรยายวันนั้นผมไปฟังด้วยครับ กลับมาอ่านอีกทีรู้สึกเข้าใจมากขึ้น แต่เรื่องอย่างนี้ต้องนำไปปฏิบัติด้วยตัวเองถึงจะเข้าถึงจริง ๆ กำลังพยายามอยู่ครับ
 
ขอบคุณพี่ 716 มากที่นำเรื่องดี ๆ มาให้อ่านกันครับ
จากคุณ: Dr.Tum โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 11:13:48
Wink -ขอบคุณมากครับ
จากคุณ: NiKolSky โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 12:26:06
มันน่าเอาไปให้staffศัลย์ที่ผมราวนด์อยู่ด้วยตอนนี้อ่านจริงๆ
 
เผื่อจะทำงานกันมากขึ้น
 
ทุกวันนี้ราวนด์ก็ไม่ค่อยมา
 
ผ่าก็ไม่ค่อยผ่า ถ้าไม่ใช่เคสเป็คตัวเอง
 
โทรconsultก็ปิดมือถือหนี...
 
เซ็งๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
จากคุณ: prateep48 โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 14:44:38
มองจากแพทย์สาขาอื่นเป็นห่วงศัลยแพทย์ในขณะนี้ ขอให้ต่อสู้เป็นสาขาส่งเสริมด้วยเหอะจะไม่มีคนเรียนศัลยกรรมอยู่แล้ว  โตรงสร้างแพทย์ชายต่หญิงเปลี่ยนไป ต่อไปผมกลัวเวลาผมมีอุบัติเหต์จะไม่มีคนรักษาให้ผม
จากคุณ: หนูแดง โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 15:16:24
ดีมากๆเลยค่ะ Smiley Smiley
จากคุณ: GP in Germany โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 15:22:11
ดีมากเลยครับ ขอบคุณมากครับ ไม่ได้เป็น surgeon โดยตรงแต่อยู่นี่ก็ต้องผ่าตัดเหมือนกัน และจริงๆ ก็ใช้ได้กับแพทย์ทั่วไป  
ขอ file word ด้วยนะครับ
drthepmongkol@hotmail.com
จากคุณ: kaimuk โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 15:38:06
Shocked good
จากคุณ: kkcontrol โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 17:08:53
Smiley
ขอบคุณคับ
จากคุณ: เกียดเป๋ง โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 18:53:25
ดีมากครับ แนวคิดแบบนี้ก็ใช้ได้กับแพทย์สาขาอื่นๆเช่นกันนะ ขอบคุณอาจารย์ครับ Smiley
จากคุณ: anantom โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 19:38:46
ดีใจที่ได้อ่านครับ ขอบคุณอาจารย์ครับ เสียดายที่ไม่ได้เรียนกับอาจารย์เพราะผมเลือกข้ามฟากไปศิริราชแทนข้ามรั้วรา มาครับ Grin Grin Grin
จากคุณ: straw โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 21:32:16
ยอดเยี่ยมครับ Shocked  ผมทำได้แค่เศษเสี้ยวครับ Tongue
จากคุณ: (^.^)    Eagle   (^.^) โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 21:45:25
Smiley เยี่ยมยอดเลยฮับ ขอบคุณมากครับพี่  Wink
จากคุณ: jangdonkan โพสเมื่อวันที่: 05/13/07 เวลา 22:26:51
รัก และ เคารพ อาจารย์  มากครับ
 
จาก ลูกศิษย์  คนหนึ่ง
จากคุณ: Dr._Bird โพสเมื่อวันที่: 05/14/07 เวลา 04:18:17
Gorgeous
จากคุณ: neurone โพสเมื่อวันที่: 05/16/07 เวลา 00:15:30
ยังคิดถึงอาจารย์เสมอครับ     ขอบคุณมากครับ
จากคุณ: gerrusy โพสเมื่อวันที่: 05/18/07 เวลา 00:52:58
มีประโยชน์สุดๆ... Angry
จากคุณ: integra โพสเมื่อวันที่: 05/18/07 เวลา 14:37:33
ดูละครแล้วย้อนดูตัวเองด้วยนะครับ
 
ปกติแค่เข้ามาอ่านไม่ค่อยได้แสดงความเห็น(เพราะขี้เกียจ log in )
 
 
แต่เห็นเจ้าของกระทู้บอกอยากได้ comment เลยขอแจมนิดนึง
 
 
เพราะไม่ค่อยมี comment (เห็นแต่บอกว่าดีกันทั้งนั้น)
 
 
 
....
 
อ่านแล้วรู้สึกดีเหมือนกันกับทุกๆท่านครับ
 
แต่พอมองย้อนดูตัวเอง อยากทำให้ได้อย่างนั้นแต่ยังทำได้ไม่ดีอย่างที่อยากทำ
 
ไม่ได้เป็นศัลยแพทย์ แต่แพทย์ไม่ว่าสาขาใด ก็คงต้องทำให้ได้อย่างนี้
 
DO NO HARM เป็นสิ่งแรกที่ต้องอยู่ในใจเสมอ(ศัลยแพทย์คงต้องมากกว่าใครเพราะมีมีดอยู่ใน มือเป็นอาวุธหลัก)  
 
นอกจากไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อคนไข้แล้ว การไม่ทำอะไรเลย แล้วทำให้คนไข้แย่ลง ทั้งๆที่น่าจะช่วยเค้าได้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติเช่นกัน
 
ความเห็น 26 บอกอะไรได้หลายๆอย่าง และคงไม่ได้มีแค่ที่น้องเจอที่เดียว
 
วงการแพทย์ปัจจุบันอาจไม่ตกต่ำขนาดนี้ ถ้าทุกคนยึดแบบอย่างที่อาจารย์สิระสอนไว้ข้างต้น  
 
ถ้าเห็นว่าดีแล้ว อย่าแค่คิดเฉยๆนะครับ ลงมือปฏิบัติด้วย
 
คงทำไม่ได้ง่ายนัก แต่ถ้าฝึกทำให้เป็นนิสัย ก็คงสำเร็จแน่
 
ผมเองก็พยายามฝึกอยู่เช่นกัน
 
 
 
ดูละครแล้วย้อนดูตัวครับ.....
 
 
 
 Smiley
จากคุณ: google โพสเมื่อวันที่: 05/18/07 เวลา 20:35:55
DO NO HARM      
 
 
เห็นด้วยครับ
จากคุณ: Dr.Suntiparb_Chaiw โพสเมื่อวันที่: 05/19/07 เวลา 17:27:48
ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ
จากคุณ: sabre โพสเมื่อวันที่: 05/20/07 เวลา 10:35:15
ผมเคยอ่านหนังสือ ประวัติ ของ นายแพทย์ benjamin carson  
Neurosurgeonผู้ผ่าตัดแฝดเยอรมันที่ กระโหลก+ สมอง ติดกัน  
 
น่าจะเป็นตัวอย่างศัลยแพทย์ที่ดีได้บ้าง ครับ
จากคุณ: 716:16 โพสเมื่อวันที่: 05/26/07 เวลา 00:09:32
ผมได้ทำlink หน้านี้ และ email ให้อาจารย์สิระ เพื่อให้ท่านเข้ามาที่ หน้านี้
และดูกระทู้ด้วยตนเองแล้วครับ
ท่านใดอยากจะฝากข้อความถึงอาจารย์ note ไว้ในนี้ได้เลยครับ

 Smiley
จากคุณ: 37.0_celsius โพสเมื่อวันที่: 05/26/07 เวลา 23:25:24
ขอบคุณครับ
จากคุณ: 716:16 โพสเมื่อวันที่: 05/28/07 เวลา 01:30:38
จดหมายตอบจากอาจารย์สิระครับ
 
จาก  Sira Bunyaratavej <sirab@truemail.co.th>      27 พ.ค. (16 ชั่วโมงที่แล้ว)  
 ถึง    TCC    
 วันที่  พ.ค. 27, 2007 8:55 ก่อนเที่ยง    
 หัวเรื่อง  RE: สวัสดีครับอาจารย์  
 
 
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจกับบทความของผม หวังว่าคงจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อวงการแพทย์ได้บ้าง  ผมยินดีจะตอบคำถามต่างๆที่เกิ่ยวกับบทความนี้ที่ sirab@truemail.co.th  
 
สิระ
 

จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 06/03/07 เวลา 19:59:39

ผมขออนุญาต เอาไปแปะ ในเวบบอร์ด ราชวิทยาลัย ออร์โธ ด้วยนะครับ ...
จากคุณ: bigbird โพสเมื่อวันที่: 06/04/07 เวลา 11:41:48
Smiley คุณพ่อสิระยังน่ารักเหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลงนะครับ
....จากลูกคนหนึ่งของพ่อ
จากคุณ: TREO 650 โพสเมื่อวันที่: 06/05/07 เวลา 21:11:39
ขอบคุณอาจารย์
จากคุณ: หมอดอย โพสเมื่อวันที่: 06/09/07 เวลา 22:18:47
ผมอ่านแล้ว ได้ประโยชน์มากเลย ขนาดผมเป็นแค่หมอ GP นะ
จากคุณ: MadDoc. โพสเมื่อวันที่: 06/10/07 เวลา 10:59:34
ขอบคุณครับเซพไว้แล้วครับ Smiley
จากคุณ: ppom โพสเมื่อวันที่: 06/22/07 เวลา 10:21:09
เพิ่งได้อ่านอย่างตั้งใจ เพราะไม่ใช่ศัลยแพทย์ ก็เลยช้าหน่อย
 
แต่พออ่านไปเรื่อย จึงได้รู้ว่าบทความนี้เหมาะสำหรับแพทย์ทุกคน ไม่เฉพาะศัลยแพทย์  
 
ถึงไม่ได้เป็นลูกศิษย์ แต่ขอบกราบคารวะ ขอบคุณอาจารย์ ณ ที่นี้ค่ะ
จากคุณ: |3a|3yMoon โพสเมื่อวันที่: 06/26/07 เวลา 22:51:45
ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ Smiley Smiley
จากคุณ: ชอลิ้วเฮียง โพสเมื่อวันที่: 06/28/07 เวลา 13:54:17
Smiley
จากคุณ: BirdSwine โพสเมื่อวันที่: 06/30/07 เวลา 10:01:55
ขอบคุณนะคับ สำหรับบทความนี้  
 Smiley
จากคุณ: Dr.Suntiparb_Chaiw โพสเมื่อวันที่: 07/05/07 เวลา 16:48:34
ขอบคุณครับ
จากคุณ: aekung โพสเมื่อวันที่: 07/16/07 เวลา 15:04:04
Shocked Grin
จากคุณ: DeAldYe โพสเมื่อวันที่: 07/16/07 เวลา 21:07:21
Smiley Smiley Smiley
จากคุณ: jubjeab โพสเมื่อวันที่: 07/22/07 เวลา 18:05:35
ว่างๆคงจะมาอ่านให้จบครับ
จากคุณ: tbone โพสเมื่อวันที่: 07/23/07 เวลา 18:50:07
เรียนอาจารย์สิระ ที่เคารพรัก
 
ณ....ตอนนี้.... การต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ สำหรับแพทย์ที่อยู่ในระบบข้าราชการ ก็คือ
 
ทำอย่างไร.... ให้การรักษาพยาบาล "มีคุณภาพ"  โดยไม่ถูกลดคุณภาพ จากกรมบัญชีกลางครับ
 
ต่อไป แพทย์ที่อยู่ในระบบราชการ จะกลายเป็นแพทย์ที่ต้องจ่ายยา และ รักษา "ตามมีตามเกิด" เพราะ กระทรวงการคลัง จะเข้าควบคุมการรักษาพยาบาลทุกจุด แม้แต่การจ่ายยาเล็กๆน้อยๆ หรือ การผ่าตัด ก็ต้องเป็นวิธีที่ลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด (แน่นอน...ย่อมไม่เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้แน่ๆ)
 
ที่อาจารย์เล่ามานั้น เป็นนโยบายที่ดีครับ โดยเฉพาะสำหรับสถานที่ที่แพทย์ มีอิสระ ทางความคิด และ การทำงาน เหมือนเมื่อวันวาน....
 
แต่ปัจจุบันนี้..ไม่ใช่เสียแล้วครับ...
 
ช่วยเหลือลูกๆด้วยครับอาจารย์...
จากคุณ: MANTA_RAY โพสเมื่อวันที่: 09/23/07 เวลา 19:18:25
เผอิญเพิ่งมีเวลาว่างมานั่งอ่านย้อนไปทั้งหมด
เป็นบทความที่ดีมากๆครับ
กลั่นกรองออกมาได้ดีทีเดียว
มีแง่คิดทุกประโยค
 
เอามาให้อ่านบ่อยๆน่ะครับพี่
ขอบคุณค๊าบบบ
จากคุณ: PEACE โพสเมื่อวันที่: 09/24/07 เวลา 11:21:32
ขอบคุณครับ Smiley
 
พอดีเพิ่งได้ดุ series Grey's anatomy  
 
ก็มีเรื่องชีวิต intern ศัลย์
 
ขอแนะนำให้ดูครับ Wink
 
จากคุณ: avf โพสเมื่อวันที่: 10/25/07 เวลา 17:12:29
ขอบคุณสำหรับกระทู้ดีๆนะครับผม Grin
จากคุณ: Dr_A โพสเมื่อวันที่: 12/03/07 เวลา 10:51:11
ขอบพระคุณครับอาจารย์ ขอบคุณพี่ที่เอามาโพสด้วยครับ ไม่รู้จักอาจารย์เป็นการส่วนตัวครับ เพราะเรียนอยู่เชียงใหม่ แต่อ่านแล้วชอบมาก จะเอาไปฝึกปฏิบัติครับในส่วนที่ยังบกพร่องครับ
จากคุณ: glacier โพสเมื่อวันที่: 12/18/07 เวลา 21:26:28
เพิ่งมีเวลาได้อ่าน จริงๆแล้วเพิ่งตัดสินใจนั่งลงอ่านมากกว่าค่ะ
รู้สึกมองย้อนไปที่อาจารย์พูดว่าเราแบ่งเป็น4quadrants แล้ว
เลยรู้สึกว่าตัวเองจัดการแบ่งเรื่องต่างๆได้แย่มาก เรื่งนี้ควรจะได้อ่านตั้งแต่ตอนที่เซพเก็บไว้แล้ว
 
เป็นเรื่องที่ดีมากๆเลยค่ะ  
ขอบพระคุณอาจารย์มากๆค่ะ ที่นำเรื่องดีๆมาสอนพวกเราค่ะ
 
จะพยามเจริญรอยตามที่อาจารย์สอนค่ะ
จากคุณ: banana_number9 โพสเมื่อวันที่: 01/07/08 เวลา 21:11:21
Smiley Smiley Smiley
จากคุณ: kaipok โพสเมื่อวันที่: 04/25/08 เวลา 16:49:34
เพิ่งได้มีโอกาสฟังอาจารย์สิระ มาบรรยายในงาน Good Surgical Practice ที่จัดสำหรับแพทย์ประจำบ้านศัลยกรรม ที่รพ.ราชวิถีครับ
 
นับว่าโชคดีอย่างยิ่งที่ได้ฟังครับ ^^
จากคุณ: erny โพสเมื่อวันที่: 12/25/08 เวลา 15:48:14
ขอบคุณครับ
จากคุณ: Rursegy โพสเมื่อวันที่: 01/04/09 เวลา 03:18:19
อยากทำได้บ้าง  Angry
จากคุณ: YimJung โพสเมื่อวันที่: 10/07/11 เวลา 12:57:58
ถ้าดียิ่งขึ้นไปอิก ก็ไม่ควรconsultมั่วซั่วด้วยนะคะ Grin


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by