แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 9: เมื่อแพทย์รัฐปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในรพ.รัฐ  ต้องติดคุก..เกิดผลใดบ้าง??  (จำนวนคนอ่าน 7470 ครั้ง)
« เมื่อ: 12/19/07 เวลา 21:53:42 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

เมื่อแพทย์รัฐปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในสถานพยาบาลของรัฐ  ต้องติดคุก..เกิดผลกระทบใดบ้าง?

1. ถูกถอดใบประกอบโรคศิลป์หลังคดีสิ้นสุด สูญเสียวิชาชีพแพทย์ อาจตราบชั่วชีวิต
 
2. ครอบครัวแพทย์เสียหาย และผู้ที่ถูกดูแลต้องเสียหายล่มสลายไปด้วย จากการขาดเสาหลักครอบครัว
 
3. รัฐบาลขาดแรงงานที่ดูแลประชาชนในด้านสาธารณสุขทันที 1 คน และที่เหลือขวัญเสียอีกจำนวนมาก หากเป็นการจำคุกในคดีที่เกิดจากทำงานปกติในหน้าที่  
 
4. ประชาชนในชนบทเสียหาย เพราะเสียโอกาสอย่างมาก (หากแพทย์ท่านนั้นยังคงดูแลคนไข้อื่นๆได้เป็นอย่างดี ไม่มีพฤติกรรมใดๆที่จะเป็นอาชญากรไปทำร้ายผู้คนจนเด่นชัด และเป็นความพลาดจากการช่วยชีวิตในขอบเขตการบริการปกติท่ามกลางความขาดแคลนขอ งภาครัฐ )
 
• แพทย์ในภาครัฐ *ของ รพ.ชุมชน หากทำงานปกติ ตรวจคนไข้ 80-200 คนต่อวัน  
 
• (คิดที่ 50-100คน/วัน) จำนวน 250 วันทำการต่อปี  จะขาดผู้ทำงานให้กับรัฐ  
 
• โดยคนไข้ที่ได้รับการบริการหายไป 12,500-25,000 ราย ต่อปี  
 
• หากมีเวลาเหลือ ที่จะตรวจคนไข้อีก 10 ปี โดยแพทย์ทำงานบริการ ก่อนไปทำงานบริหาร จะเสียโอกาส ของคนไข้อีกได้ถึง 250.000 คน ** โดยต้องให้แพทย์ท่านอื่นรับภาระแทน*
 
• หากเป็นผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัด ที่ผ่าตัดวันละ1 รายปีละ 250 ราย  อีก10 ปี จะมีผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่าตัดช่วยชีวิตจากแพทย์ท่านนี้ 2,500 คน *ที่ต้องให้แพทย์ท่านอื่นทำแทนหรือส่งตัวไป โรงพยาบาล อื่นที่ไกลออกไป  
 
• หากแพทย์รัฐท่านนี้ทำงานมาแล้ว ในแต่ละ 1ปี ท่านจะช่วยชีวิตคนในชนบท (26 ล้านคน)จากการตรวจ ไม่น้อยกว่า 1-25,000 รายต่อปีไม่รวมที่ควรจะผ่าตัด อยู่เวร ทำคลอด อีกจำนวนมาก  **คนที่ได้รับการบริการเหล่านี้ในชุมชนนั้น**มีตัวตนจริงต้องเสียโอกาส
 
5. แพทย์ กว่า 2,700 คนในชนบท ที่ยังขาดแคลนแพทย์(ตามข้อมูลสาธารณสุข อีกกว่า 1,700 คน) ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด **เกิดการปรับตัว เพื่อป้องกันหายนะต่อชีวิต ครอบครัว และศักดิ์ศรี ยิ่งกว่าเหตุการณ์ใดๆ** เข้าสู่สภาวะที่ต้องการความปลอดภัยในชีวิต
 
•  ตามหลัก Maslow’s* ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) จะเกิดผลกระทบที่แพทยสภาไม่ต้องการให้เกิดเพราะประชาชนจะเสียหายได้แก่..
 
• แพทย์จำเป็นต้องพิจารณาความเสี่ยงในการทำงานทุกครั้ง เพราะ ความช่วยเหลือจากแหล่งต่างๆไม่ชัดเจน แม้เป็นบุคคลของรัฐทำผิดพลาดในหน้าที่ของรัฐ ในสถานที่ตามเวลาทำงาน (ตำรวจ-ทหารมีการคุ้มครอง) ย่อมเลือกสิ่งที่ “สังคม” คิดว่าดีที่สุดให้คนไข้ ไปรับการรักษาในที่เข้าใจว่า “ดีที่สุด” (ที่เป็นไปได้ยากจากหลายข้อจำกัด)  แต่สังคมเป็นผู้ตีกรอบให้ จะทำให้การตาย การสูญเสีย ต้นทุนการเดินทางเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และการตายมากขึ้นจากการรักษาได้ช้าลง เพราะรอผู้เชี่ยวชาญที่มีน้อยกว่ามาก*และไม่เป็นจริงในสภาวะสังคมไทย ที่เศรษฐกิจพอเพียง
 
• แพทย์จำต้องเลือกที่ตนเองปลอดภัยมากกว่า การตัดสินใจที่น่าเป็นห่วงคือการออกจากระบบรัฐ เนื่องจากรู้สึกว่า รัฐปกป้องการทำงานปกติของตนไม่ได้ ทั้งที่ทำงานหนัก อยู่เวรต่อเนื่องมิได้หยุดพัก 24+8 = 32 ชม.วันรุ่งขึ้นต้องทำงานต่อเนื่อง และไม่ได้วันชดเชย โดยค่าเวรน้อยมากเมื่อเทียบกับความรับผิดชอบ(ในอดีตไม่มีค่าเวร)  
 
• การรับรายได้ตอบแทน 9,300 บาทเมื่อจบแพทย์ หรือ 12,000 บาทเมื่อจบผู้เชี่ยวชาญ ไม่เพียงพอต่อการต่อสู้คดี หรือใกล้กับค่าตอบแทนเมื่อเกิดการเสียหาย แม้จะค่าเวร เงินเพิ่มต่างๆ ยังห่างจาก ภาคเอกชนเป็น10เท่า และภาระงานก็ต่างกันราวฟ้ากับดิน เราจะเสียแพทย์ออกนอกระบบ มากขึ้น ส่วนหนึ่งไปต่างประเทศ(ที่ไม่มีอาญา) ส่วนหนึ่งไปอยู่งานวิชาการ และบริหาร (เลิกรักษาผู้ป่วย) ส่วนหนึ่งไปประกอบอาชีพอื่นๆ และกลุ่มสุดท้ายย้ายไปทำงานในภาคเอกชนโดย แพทยสภาไม่ประสงค์เช่นนั้น ประชาชนในชนบทยังต้องการการรักษาพยาบาล เช่นเดียวกัน หากความกลัวขับไล่หมอออกไปจะไม่สามารถหาคนมาทดแทนได้โดยง่าย แพทย์ที่เหลือย่อมงานหนัก ความเสี่ยงสูง เพราะทำงานอยู่บนความเป็นความตายมนุษย์ หากแพทย์ไม่สามารถช่วยเหลือได้ ก็อาจกลายเป็นฆาตกร ที่ต้องถูกสวมกุญแจมือและจองจำ เดินทางเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี ได้โดยง่าย และอาจลาออกในที่สุด นำไปสู่การล่มสลายระบบการสาธารณสุขของรัฐ ทำให้ภาคเอกชนเติบโตในสัดส่วนที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น ..ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการรัฐสวัสดิการมากกว่า
 
6. ผลกระทบระยะยาวแพทย์จะไม่ได้รับการสนใจจากเด็กรุ่นใหม่ที่เก่งระดับต้นๆในกา รศึกษาต่อเช่นเดิม ทั้งที่เป็นวิชาชีพที่เข้ามาดูแลทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ จะต้องภาวะขาดแคลนมากขึ้นไปอีก เช่นในอังกฤษ อเมริกา ซึ่งต้องนำเข้าจากประเทศอื่นๆ  กระทรวงสาธารณสุขในอนาคต ต้องใช้งบประมาณการจ้างมากเท่าไรจึงเพียงพอ...และหากแพทย์ที่เป็นวิชาซับซ้อ น มีผู้เรียนที่มีความสามารถลดลง ย่อมมีโอกาสเกิด Human error ได้มากขึ้นอีก วัฐจักรนี้เมื่อเริ่มแล้ว..จะหยุดวงล้ออย่างไร..

ประเทศชาติ และประชาชนจะกลายเป็นผู้สูญเสีย ในท้ายที่สุด..
------------------------------------------------------------------------ --------------
 
*กรณีอยู่ในศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์และคดียังไม่สิ้นสุด ยังยึดใบประกอบโรคศิลป์ไม่ได้ *ตาม พรบ.วิชาชีพเวชกรรม 2525 ต้องคดีถึงที่สิ้นสุด
**แนวความคิดนี้เป็นของมาสโลว์ (Maslow) ที่ได้อธิบายถึงลำดับความต้องการของมนุษย์ โดยที่ความต้องการจะเป็น ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความต้องการ โดยแบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นเรียงตามลำดับ ดังนี้  
• ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) ความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต  
• ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs)  
• ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs)  
• ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs)  
• ขึ้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs)  
 มาสโลว์ได้กล่าวเน้นว่า ความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้ต้องเกิดเป็นลำดับขั้น และจะไม่มีการข้ามขั้น ถ้าขั้นที่ 1 ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในลำดับขั้นที่ 2-5 ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ การตอบสนองที่ได้รับในแต่ละขั้นไม่เป็นต้องได้รับทั้ง 100% แต่ต้องได้รับบ้างเพื่อจะได้เป็นบันไดนำไปสู่การพัฒนาความต้องการในระดับที่ สูงขึ้นในลำดับขั้นต่อไป  
-------------------------

-ในหลวงทรงพระราชทานพระราชดำรัส ขอให้แพทย์ ไทย
"อ่อนน้อม ถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าดูถูกใคร"..

จากพระราชดำรัสสู่หลักสูตร "ธรรมาภิบาลผู้บริหารทางการแพทย์" แพทยสภา-สถาบันพระปกเกล้า ปธพ.
ส่งโดย: 716:16 male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 3024  
   
58.8.112.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 12/19/07 เวลา 21:58:38 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Smiley ขอบคุณครับ  Smiley

อิติปิโสวิเสเสอิอิเสเสพุทธะนาเมอิอิเมนาพุทธะตังโสอิอิโสตังพุทธะปิติอิ
http://jarun.org/v6/th/home.html <---- ศรัทธาศีลห้า ใจกล้าศีลแปด อาจหาญศีลสิบ--
ส่งโดย: Eagle :  ม นุ ส ส ภู มิ ..zzZZ male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 21859  
   
124.121.25.*


« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: 12/19/07 เวลา 22:00:34 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ


 
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ( Maslow’s Hierarchical Theory of Motivation )  
 
Maslow เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคลใน การค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง เป็นความจริงที่จะกล่าวว่ากระบวนการของแรงจูงใจเป็นหัวใจของทฤษฎีบุคลิกภาพข อง Maslow โดยเขาเชื่อว่ามนุษย์เป็น “สัตว์ที่มีความต้องการ” (wanting animal)
 
 และเป็นการยากที่มนุษย์จะไปถึงขั้นของความพึงพอใจอย่างสมบูรณ์ ในทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจและเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในส ิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความต้องการจะได้รับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ
 
            Maslow กล่าวว่าความปรารถนาของมนุษย์นั้นติดตัวมาแต่กำเนิดและความปรารถนาเหล่านี้จ ะเรียงลำดับขั้นของความปรารถนา ตั้งแต่ขั้นแรกไปสู่ความปรารถนาขั้นสูงขึ้นไปเป็นลำดับ
 
            ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ( The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation ) Maslow เรียงลำดับความต้องการของมนุษย์จากขั้นต้นไปสู่ความต้องการขั้นต่อไปไว้เป็น ลำดับดังนี้
 
1.      ความต้องการทางด้านร่างกาย ( Physiological needs )
2.      ความต้องการความปลอดภัย ( Safety needs )
3.      ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ( Belongingness and love needs )  
4.      ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Esteem needs )
5.      ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self-actualization needs)
 
 
ลำดับขั้นความต้องการของมาสโล มีการเรียงลำดับขั้นความต้องการที่อยู่ในขั้นต่ำสุดจะต้องได้รับความพึงพอใจ เสียก่อนบุคคลจึงจะสามารถผ่านพ้นไปสู่ความต้องการที่อยู่ในขั้นสูงขึ้นตามลำ ดับดังจะอธิบายโดยละเอียดดังนี้
 
1.      ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs ) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน
 
ที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดที่สุด จากความต้องการทั้งหมดเป็นความต้องการที่ช่วยการดำรงชีวิต  ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำดื่ม ออกซิเจน การพักผ่อนนอนหลับ ความต้องการทางเพศ ความต้องการความอบอุ่น ตลอดจนความต้องการที่จะถูกกระตุ้นอวัยวะรับสัมผัส แรงขับของร่างกายเหล่านี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับความอยู่รอดของร่างกายและของ อินทรีย์  
 
ความพึงพอใจที่ได้รับ ในขั้นนี้จะกระตุ้นให้เกิดความต้องการในขั้นที่สูงกว่าและถ้าบุคคลใดประสบคว ามล้มเหลวที่จะสนองความต้องการพื้นฐานนี้ก็จะไม่ได้รับการกระตุ้น ให้เกิดความต้องการในระดับที่สูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ถ้าความต้องการอย่างหนึ่งยังไม่ได้รับความพึงพอใจ บุคคลก็จะอยู่ภายใต้ความต้องการนั้นตลอดไป ซึ่งทำให้ความต้องการอื่นๆ ไม่ปรากฏหรือกลายเป็นความต้องการระดับรองลงไป เช่น คนที่อดอยากหิวโหยเป็นเวลานานจะไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์ต่อโลก ได้
 
 บุคคลเช่นนี้จะหมกมุ่นอยู่กับการจัดหาบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้มีอาหารไว้รับ ประทาน Maslowอธิบายต่อไปว่าบุคคลเหล่านี้จะมีความรู้สึกเป็นสุขอย่างเต็มที่เมื่อม ีอาหารเพียงพอสำหรับเขาและจะไม่ต้องการสิ่งอื่นใดอีก ชีวิติของเขากล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของการรับประทาน สิ่งอื่นๆ นอกจากนี้จะไม่มีความสำคัญไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพ ความรัก ความรู้สึกต่อชุมชน การได้รับการยอมรับ และปรัชญาชีวิต บุคคลเช่นนี้มีชีวิตอยู่เพื่อที่จะรับประทานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่าง การขาดแคลนอาหารมีผลต่อพฤติกรรม ได้มีการทดลองและการศึกษาชีวประวัติเพื่อแสดงว่า
 
 ความต้องการทางด้านร่างกายเป็นเรื่องสำคัญที่จะเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ และได้พบผลว่าเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงของพฤติกรรมซึ่งมีสาเหตุจากการขาดอ าหารหรือน้ำติดต่อกันเป็นเวลานาน ตัวอย่างคือ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ในค่าย Nazi ซึ่งเป็นที่กักขังเชลย เชลยเหล่านั้นจะละทิ้งมาตรฐานทางศีลธรรมและค่านิยมต่างๆ ที่เขาเคยยึดถือภายใต้สภาพการณ์ปกติ เช่น ขโมยอาหารของคนอื่น หรือใช้วิธีการต่างๆ ที่จะได้รับอาหารเพิ่มขึ้น
 
 อีกตัวอย่างหนึ่งในปี ค.ศ. 1970  เครื่องบินของสายการบิน Peruvian ตกลงที่ฝั่งอ่าวอเมริกาใต้ผู้ที่รอดตายรวมทั้งพระนิกาย Catholic อาศัยการมีชีวิตอยู่รอดโดยการกินซากศพของผู้ที่ตายจากเครื่องบินตก จากปรากฏการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่าเมื่อมนุษย์เกิดความหิวขึ้น จะมีอิทธิพลเหนือระดับศีลธรรมจรรยา จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่ามนุษย์มีความต้องการทางด้านร่างกายเหนือความต้องการอื ่นๆ และแรงผลักดันของความต้องการนี้ได้เกิดขึ้นกับบุคคลก่อนความต้องการอื่นๆ

2.      ความต้องการความปลอดภัย(Safety needs)  เมื่อความต้องการทางด้านร่างกายได้รับความพึงพอใจแล้วบุคคลก็จะพัฒนาการไปส ู่ขั้นใหม่ต่อไป ซึ่งขั้นนี้เรียกว่าความต้องการความปลอดภัยหรือความรู้สึกมั่นคง (safety or security)  
 
Maslow กล่าวว่าความต้องการความปลอดภัยนี้จะสังเกตได้ง่ายในทารกและในเด็กเล็กๆ เนื่องจากทารกและเด็กเล็กๆ ต้องการความช่วยเหลือและต้องพึ่งพออาศัยผู้อื่น ตัวอย่าง    ทารกจะรู้สึกกลัวเมื่อถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังหรือเมื่อเขาได้ยินเสียงดังๆ หรือเห็นแสงสว่างมาก ๆ แต่ประสบการณ์และการเรียนรู้จะทำให้ความรู้สึกกลัวหมดไป
 
 ดังคำพูดที่ว่า “ฉันไม่กลัวเสียงฟ้าร้องและฟ้าแลบอีกต่อไปแล้ว เพราะฉันรู้ธรรมชาติในการเกิดของมัน” พลังความต้องการความปลอดภัยจะเห็นได้ชัดเจนเช่นกันเมื่อเด็กเกิดความเจ็บป่ว ย ตัวอย่างเด็กที่ประสบอุบัติเหตุขาหักก็ตะรู้สึกกลัวและอาจแสดงออกด้วยอาการฝ ันร้ายและความต้องการที่จะได้รับความปกป้องคุ้มครองและการให้กำลังใจ
 
Maslow กล่าวเพิ่มเติมว่าพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกอย่างไม่กวดขันและตามใจมากจนเกินไปจะ ไม่ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าได้รับความพึงพอใจจากความต้องการความปลอดภัยก ารให้นอนหรือให้กินไม่เป็นเวลาไม่เพียง แต่ทำให้เด็กสับสนเท่านั้นแต่ยังทำให้เด็กรู้สึกไม่มั่นคงในสิ่งแวดล้อมรอบๆ  ตัวเขา สัมพันธภาพของพ่อแม่ที่ไม่ดีต่อกัน เช่น ทะเลาะกันทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน พ่อแม่แยกกันอยู่ หย่า ตายจากไป สภาพการณ์เหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อความรู้ที่ดีของเด็ก ทำให้เด็กรู้ว่าสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่มั่นคง ไม่สามารถคาดการณ์ได้และนำไปสู่ความรู้สึกไม่ปลอดภัย
 
ความต้องการความปลอดภัยจะยังมีอิทธิพลต่อบุคคลแม้ว่าจะผ่านพ้นวัยเด็กไปแล้ว  แม้ในบุคคลที่ทำงานในฐานะเป็นผู้คุ้มครอง เช่น ผู้รักษาเงิน นักบัญชี หรือทำงานเกี่ยวกับการประกันต่างๆ และผู้ที่ทำหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้อื่น เช่น แพทย์ พยาบาล แม้กระทั่งคนชรา  
 
บุคคลทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะใฝ่หาความปลอดภัยของผู้อื่น เช่น แพทย์ พยาบาล แม้กระทั่งคนชรา บุคคลทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะใฝ่หาความปลอดภัยด้วยกันทั้งสิ้น ศาสนาและปรัชญาที่มนุษย์ยึดถือทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคง เพราะทำให้บุคคลได้จัดระบบของตัวเองให้มีเหตุผลและวิถีทางที่ทำให้บุคคลรู้ส ึก “ปลอดภัย” ความต้องการความปลอดภัยในเรื่องอื่นๆ จะเกี่ยวข้องกับการเผชิญกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ สงคราม อาชญากรรม น้ำท่วม แผ่นดินไหว การจลาจล ความสับสนไม่เป็นระเบียบของสังคม และเหตุการณ์อื่นๆ ที่คล้ายคลึงกับสภาพเหล่านี้

 
Maslow ได้ให้ความคิดต่อไปว่าอาการโรคประสาทในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะโรคประสาทชนิดย้ำคิด-ย้ำทำ (obsessive-compulsive neurotic) เป็นลักษณะเด่นชัดของการค้นหาความรู้สึกปลอดภัย ผู้ป่วยโรคประสาทจะแสดงพฤติกรรมว่าเขากำลังประสบเหตุการณ์ทที่ร้ายกาจและกำล ังมีอันตรายต่างๆ เขาจึงต้องการมีใครสักคนที่ปกป้องคุ้มครองเขาและเป็นบุคคลที่มีความเข้มแข็ง ซึ่งเขาสามารถจะพึ่งพาอาศัยได้
...
« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: 12/20/07 เวลา 00:02:40 by 716:16 »

-ในหลวงทรงพระราชทานพระราชดำรัส ขอให้แพทย์ ไทย
"อ่อนน้อม ถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าดูถูกใคร"..

จากพระราชดำรัสสู่หลักสูตร "ธรรมาภิบาลผู้บริหารทางการแพทย์" แพทยสภา-สถาบันพระปกเกล้า ปธพ.
ส่งโดย: 716:16 male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 3024  
   
58.8.112.*


« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: 12/19/07 เวลา 22:00:49 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ


3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and Love needs) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของเป็นความต้องการขั้นที่ 3 ความต้องการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางด้านร่างกาย และความต้องการความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลต้องการได้รับความรักและความเป็นเจ้าของโดยการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ อื่น เช่น ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวหรือกับผู้อื่น สมาชิกภายในกลุ่มจะเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับบุคคล กล่าวคือ บุคคลจะรู้สึกเจ็บปวดมากเมื่อถูกทอดทิ้งไม่มีใครยอมรับ หรือถูกตัดออกจากสังคม ไม่มีเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจำนวนเพื่อนๆ ญาติพี่น้อง สามีหรือภรรยาหรือลูกๆ ได้ลดน้อยลงไป นักเรียนที่เข้าโรงเรียนที่ห่างไกลบ้านจะเกิดความต้องการเป็นเจ้าของอย่างยิ ่ง และจะแสวงหาอย่างมากที่จะได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
 
Maslow คัดค้านกลุ่ม Freud ที่ว่าความรักเป็นผลมาจากการทดเทิดสัญชาตญาณทางเพศ (sublimation) สำหรับ Maslow ความรักไม่ใช่สัญลักษณ์ของเรื่องเพศ (sex) เขาอธิบายว่า ความรักที่แท้จริงจะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่ดี ความสัมพันธ์ของความรักระหว่างคน 2 คน จะรวมถึงความรู้สึกนับถือซึ่งกันและกัน การยกย่องและความไว้วางใจแก่กัน นอกจากนี้ Maslow ยังย้ำว่าความต้องการความรักของคนจะเป็นความรักที่เป็นไปในลักษณะทั้งการรู้ จักให้ความรักต่อผู้อื่นและรู้จักที่จะรับความรักจากผู้อื่น การได้รับความรักและได้รับการยอมรับจากผู้อื่นเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลเกิดควา มรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า  บุคคลที่ขาดความรักก็จะรู้สึกว่าชีวิตไร้ค่ามีความรู้สึกอ้างว้างและเคียดแค ้น กล่าวโดยสรุป Maslow มีความเห็นว่าบุคคลต้องการความรักและความรู้สึกเป็นเจ้าของ และการขาดสิ่งนี้มักจะเป็นสาเหตุให้เกิดความข้องคับใจและทำให้เกิดปัญหาการป รับตัวไม่ได้ และความยินดีในพฤติกรรมหรือความเจ็บป่วยทางด้านจิตใจในลักษณะต่างๆ  
 
สิ่งที่ควรสังเกตประการหนึ่ง ก็คือมีบุคคลจำนวนมากที่มีความลำบากใจที่จะเปิดเผยตัวเองเมื่อมีความสัมพันธ ์ใกล้ชิดสนิทสนมกับเพศตรงข้ามเนื่องจากกลัวว่าจะถูกปฏิเสธความรู้สึกเช่นนี้  Maslow กล่าวว่าสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก การได้รับความรักหรือการขาดความรักในวัยเด็ก ย่อมมีผลกับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะและการมีทัศนคติในเรื่องของคว ามรัก Maslow เปรียบเทียบว่าความต้องการความรักก็เป็นเช่นเดียวกับรถยนต์ที่สร้างขึ้นมาโด ยต้องการก๊าซหรือน้ำมันนั่นเอง (Maslow 1970 p. 170)
 
4.   ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Self-Esteem needs)  เมื่อความต้องการได้รับความรักและการให้ความรักแก่ผู้อื่นเป็นไปอย่างมีเหตุ ผลและทำให้บุคคล เกิดความพึงพอใจแล้ว พลังผลักดันในขั้นที่ 3 ก็จะลดลงและมีความต้องการในขั้นต่อไปมาแทนที่ กล่าวคือมนุษย์ต้องการที่จะได้รับความนับถือยกย่องออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นความต้องการนับถือตนเอง (self-respect) ส่วนลักษณะที่ 2 เป็นความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (esteem from others)
 
4.1 ความต้องการนับถือตนเอง (self-respect) คือ ความต้องการมีอำนาจ มีความเชื่อ
มั่นในตนเอง มีความแข็งแรง มีความสามารถในตนเอง มีผลสัมฤทธิ์ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น และมีความเป็นอิสระ ทุกคนต้องการที่จะรู้สึกว่าเขามีคุณค่าและมีความสามารถที่จะประสบความสำเร็จ ในงานภาระกิจต่างๆ และมีชีวิตที่เด่นดัง
 
4.2    ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (esteem from others) คือ ความต้องการมีเกียรติยศ การได้รับยกย่อง ได้รับการยอมรับ ได้รับความสนใจ มีสถานภาพ มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขาน และเป็นที่ชื่นชมยินดี มีความต้องการที่จะได้รับความยกย่องชมเชยในสิ่งที่เขากระทำซึ่งทำให้รู้สึกว ่าตนเองมีคุณค่าว่าความสามารถของเขาได้รับการยอมรับจากผู้อื่น
ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมชาติของลำดับชั้นในเรื่องความต้องการด้านแรงจูงใจตาม ทัศนะของ Maslow ในเรื่องอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายในจิตนั่นคือ บุคคลจะแสวงหาความต้องการได้รับการยกย่องก็เมื่อภายหลังจาก ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของได้รับการตอบสนองความพึงพอใจของเขาแล้ ว และ Maslow กล่าวว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ที่บุคคลจะย้อนกลับจากระดับขั้นความต้องการ ในขั้นที่ 4 กลับไปสู่ระดับขั้นที่  3    อีกถ้าความต้องการระดับขั้นที่ 3 ซึ่งบุคคลได้รับไว้แล้วนั้นถูกกระทบกระเทือนหรือสูญสลายไปทันทีทันใด ดังตัวอย่างที่ Maslow  นำมาอ้างคือหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเธอคิดว่าการตอบสนองความต้องการความรักของเธอ ได้ดำเนินไปด้วยดี แล้วเธอจึงทุ่มเทและเอาใจใส่ในธุรกิจของเธอ และได้ประสบความสำเร็จเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงและอย่างไม่คาดฝันสามีได้ ผละจากเธอไป ในเหตุการณ์เช่นนี้ปรากฏว่าเธอวางมือจากธุรกิจต่างๆ ในการที่จะส่งเสริมให้เธอได้รับความยกย่องนับถือ และหันมาใช้ความพยายามที่จะเรียกร้องสามีให้กลับคืนมา ซึ่งการกระทำเช่นนี้ของเธอเป็นตัวอย่างของความต้องการความรักซึ่งครั้งหนึ่ง เธอได้รับแล้ว และถ้าเธอได้รับความพึงพอในความรักโดยสามีหวนกลับคืนมาเธอก็จะกลับไปเกี่ยวข ้องในโลกธุรกิจอีกครั้งหนึ่ง
ความพึงพอใจของความต้องการได้รับการยกย่องโดยทั่วๆ ไป เป็นความรู้สึกและทัศนคติของความเชื่อมั่นในตนเอง ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า การมีพละกำลัง การมีความสามารถ และความรู้สึกว่ามีชีวิตอยู่อย่างมีประโยชน์และเป็นบุคคลที่มีความจำเป็นต่อ โลก ในทางตรงกันข้ามการขาดความรู้สึกต่างๆ ดังกล่าวนี้ย่อมนำไปสู่ความรู้สึกและทัศนคติของปมด้อยและความรู้สึกไม่พอเพี ยง เกิดความรู้สึกอ่อนแอและช่วยเหลือตนเองไม่ได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นการรับรู้ตนเองในทางนิเสธ (negative) ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกขลาดกลัวและรู้สึกว่าตนเองไม่มีประโยชน์และสิ้น หวังในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของชีวิต และประเมินตนเองต่ำกว่าชีวิตความเป็นอยู่กับการได้รับการยกย่อง และยอมรับจากผู้อื่นอย่างจริงใจมากกว่าการมีชื่อเสียงจากสถานภาพหรือการได้ร ับการประจบประแจง การได้รับความนับถือยกย่องเป็นผลมาจากความเพียรพยายามของบุคคล และความต้องการนี้อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ถ้าบุคคลนั้นต้องการคำชมเชยจากผู้อื ่นมากกว่าการยอมรับความจริงและเป็นที่ยอมรับกันว่าการได้รับความนับถือยกย่อ ง มีพื้นฐานจากการกระทำของบุคคลมากกว่าการควบคุมจากภายนอก
 
5. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization needs) ถึงลำดับขั้นสุดท้าย ถ้าความต้องการลำดับขั้นก่อนๆ ได้ทำให้เกิดความพึงพอใจอย่างมีประสิทธิภาพ ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงก็จะเกิดขึ้น Maslow อธิบายความต้องการเข้าใจตนองอย่างแท้จริง ว่าเป็นความปรารถนาในทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งบุคคลสามารถจะได้รับอย่างเหมาะสมบุ คคลที่ประสบผลสำเร็จในขั้นสูงสุดนี้จะใช้พลังอย่างเต็มที่ในสิ่งที่ท้าทายคว ามสามารถและศักยภาพของเขาและมีความปรารถนาที่จะปรับปรุงตนเอง พลังแรงขับของเขาจะกระทำพฤติกรรมตรงกับความสามารถของตน กล่าวโดยสรุปการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงเป็นความต้องการอย่างหนึ่งของบุคคลท ี่จะบรรลุถึงวจุดสูงสุดของศักยภาพ เช่น “นักดนตรีก็ต้องใช้ความสามารถทางด้านดนตรี ศิลปินก็จะต้องวาดรูป กวีจะต้องเขียนโคลงกลอน ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้บรรลุถึงเป้าหมายที่ตนตั้งไว้ก็เชื่อได้ว่าเขาเหล่านั้น เป็นคนที่รู้จักตนเองอย่างแท้จริง”  Maslow ( 1970 : 46)
 
ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะดำเนินไปอย่างง่ายหรือเป็นไปโดยอ ัตโนมัติ โดยความเป็นจริงแล้ว Maslow เชื่อว่าคนเรามักจะกลัวตัวเองในสิ่งเหล่านี้ “ด้านที่ดีที่สุดของเรา ความสามารถพิเศษของเรา สิ่งที่ดีงามที่สุดของเรา พลังความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์” Maslow (1962 : 5Cool
ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงมิได้มีแต่เฉพาะในศิลปินเท่านั้น คนทั่วๆ ไป เช่น นักกีฬา นักเรียน หรือแม้แต่กรรมกรก็สามารถจะมีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงได้ถ้าทุกคนสามารถ ทำในสิ่งที่ตนต้องการให้ดีที่สุด รูปแบบเฉพาะของการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะมีความแตกต่างอย่างกว้างขวางจาก คนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง กล่าวได้ว่ามันคือระดับความต้องการที่แสดงความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างยิ่ง ใหญ่ที่สุด
 
Maslow ได้ยกตัวอย่างของความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ในกรณีของนักศึกษาชื่อ Mark ซึ่งเขาได้ศึกษาวิชาบุคลิกภาพเป็นระยะเวลายาวนานเพื่อเตรียมตัวเป็นนักจิตวิ ทยาคลีนิค นักทฤษฎีคนอื่นๆ อาจจะอธิบายว่าทำไมเขาจึงเลือกอาชีพนี้ ตัวอย่าง เช่น Freud อาจกล่าวว่ามันสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับสิ่งที่เขาเก็บกด ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ขณะที่ Adler อาจมองว่ามันเป็นความพยายามเพื่อชดเชยความรู้สึกด้อยบางอย่างในวัยเด็ก Skinner อาจมองว่าเป็นผลจากการถูกวางเงื่อนไขของชีวิตในอดีต ขณะที่ Bandura สัมพันธ์เรื่องนี้กับตัวแปรต่างๆ ทางการเรียนรู้ทางสังคม และ Kelly อาจพิจารณาว่า Mark กำลังจะพุ่งตรงไปเพื่อที่จะเป็นบุคคลที่เขาต้องการจะเป็นตัวอย่างที่แสดงถึง  การมุ่งตรงไปสู่เป้าประสงค์ในอาชีพโดยความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จ ริงและถ้าจะพิจารณากรณีของ Mark ให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น ถ้า Mark ได้ผ่านกาเรียนวิชาจิตวิทยาจนครบหลักสูตรและได้เขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญา เอกและในที่สุดก็ได้รับปริญญาเอกทางจิตวิทยาคลีนิค สิ่งที่จะต้องวิเคราะห์ Mark ต่อไปก็คือ เมื่อเขาสำเร็จการศึกษาดังกล่าวแล้วถ้ามีบุคคลหนึ่งได้เสนองานให้เขาในตำแหน ่งตำรวจสืบสวน ซึ่งงานในหน้าที่นีจะได้รับค่าตอบแทนอย่างสูงและได้รับผลประโยชน์พิเศษหลายๆ  อย่างตลอดจนรับประกันการว่าจ้างและความมั่นคงสำหรับชีวิต เมื่อประสบเหตุการณ์เช่นนี้ Mark จะทำอย่างไร ถ้าคำตอบของเขาคือ “ตกลง” เขาก็จะย้อนกลับมาสู่ความต้องการระดับที่ 2 คือความต้องการความปลอดภัย สำหรับการวิเคราะห์ความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง Maslow กล่าวว่า “อะไรที่มนุษย์สามารถจะเป็นได้เขาจะต้องเป็นในสิ่งนั้น” เรื่องของ Mark เป็นตัวอย่างง่ายๆ ว่า ถ้าเขาตกลงเป็นตำรวจสืบสวน เขาก็จะไม่มีโอกาสที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
 
ทำไมทุกๆ คนจึงไม่สัมฤทธิผลในการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Why Can’t All People Achieve Self-Actualization) ตามความคิดของ Maslow ส่วนมากมนุษย์แม้จะไม่ใช่ทั้งหมดที่ต้องการแสวงหาเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ภา ยในตน จากงานวิจัยของเขาทำให้ Maslow สรุปว่าการรู้ถึงศักยภาพของตนนั้นมาจากพลังตามธรรมชาติและจากความจำเป็นบังค ับ ส่วนบุคคลที่มีพรสวรรค์มีจำนวนน้อยมากเพียง 1% ของประชากรที่ Maslow ประมาณ Maslow เชื่อว่าการนำศักยภาพของตนออกมาใช้เป็นสิ่งที่ยากมาก บุคคลมักไม่รู้ว่า ตนเองมีความสามารถและไม่ทราบว่าศักยภาพนั้นจะได้รับการส่งเสริมได้อย่างไร มนุษย์ส่วนใหญ่ยังคงไม่มั่นใจในตัวเองหรือไม่มั่นใจในความสามารถของตนจึงทำใ ห้หมดโอกาสเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง และยังมีสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มาบดบังพัฒนาการทางด้านความต้องการของบุคคลอีกมากมาย...

-ในหลวงทรงพระราชทานพระราชดำรัส ขอให้แพทย์ ไทย
"อ่อนน้อม ถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าดูถูกใคร"..

จากพระราชดำรัสสู่หลักสูตร "ธรรมาภิบาลผู้บริหารทางการแพทย์" แพทยสภา-สถาบันพระปกเกล้า ปธพ.
ส่งโดย: 716:16 male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 3024  
   
58.8.112.*


« ความเห็นที่ #4 เมื่อ: 12/19/07 เวลา 22:05:20 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ในเมื่อแพทยสภาตัดสินว่าหมอไม่ผิดหรือเป็นเหตุสุดวิสัย ถึงแม้ศาลตัดสินว่าผิดก็ไม่สมควรยึดใบประกอบ จริงมั้ยครับ  แต่ถ้าเป็นคดีที่ผิดโดยเจตนาอันนี้ควรยึดดดดดดดดด

ทำมากผิดพลาดมาก(อดีต) จะไม่ผิดถ้าไม่ทำอะไรเลย(ปัจจุบัน) เฮ้อ !!!
ส่งโดย: nong-pang male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1539   WWW
   
125.27.235.*


« ความเห็นที่ #5 เมื่อ: 12/19/07 เวลา 22:12:19 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

เขาจะเข้าใจ เหมือนเราเข้าใจไหมอ่ะ อาจารย์
 Tongue

เพ้อได้อีก
ส่งโดย: แงซาย male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 2785  
   
125.26.122.*


« ความเห็นที่ #6 เมื่อ: 12/19/07 เวลา 22:14:05 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ ลบข้อความนี้

Cheesy Cheesy Cheesy
ส่งโดย: Dr.Tum.....ณ. สยาม Email     124.121.213.*


« ความเห็นที่ #7 เมื่อ: 12/19/07 เวลา 22:17:10 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Quote:
เขาจะเข้าใจ เหมือนเราเข้าใจไหมอ่ะ อาจารย์

 
 Embarassed อันนี้น่าคิด ถ้าอีกหลายปีผ่านไปสังคมยังเหมือนเดิม คงมีคนเริ่มถอยอีกมากโข  Embarassed Embarassed

อิติปิโสวิเสเสอิอิเสเสพุทธะนาเมอิอิเมนาพุทธะตังโสอิอิโสตังพุทธะปิติอิ
http://jarun.org/v6/th/home.html <---- ศรัทธาศีลห้า ใจกล้าศีลแปด อาจหาญศีลสิบ--
ส่งโดย: Eagle :  ม นุ ส ส ภู มิ ..zzZZ male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 21859  
   
124.121.25.*


« ความเห็นที่ #8 เมื่อ: 12/19/07 เวลา 22:35:55 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Cool Cool Cool

"A Gift Of Sight Lights Up A Life"
ส่งโดย: eyemania male
สถานะ: Senior Member ****
จำนวนความเห็น: 388  
   
222.123.48.*


« ความเห็นที่ #9 เมื่อ: 12/19/07 เวลา 23:23:52 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ ลบข้อความนี้

Cheesy Cheesy Cheesy
ส่งโดย: Ingram_to_cute Email     202.91.19.*


« ความเห็นที่ #10 เมื่อ: 12/20/07 เวลา 05:21:10 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Angry Angry Angry

Good surgeons know how to operate.
Better ones know when to operate.
Best ones know when not to operate
ส่งโดย: anantom
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 10525   WWW
   
125.27.191.*


« ความเห็นที่ #11 เมื่อ: 12/20/07 เวลา 06:18:43 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ


 
 
1. เก่งจังพี่ นึกถึงทฤษฎี Need ของ Maslow ได้  Cheesy
 
 
2. มีคนทำ OR วันละ 1 case ด้วยเหรอพี่  Roll Eyes
 
น่าจะมากกว่านั้นนะ  Wink
 
 
3. เอาคำว่า "รัฐ" มาอ้าง บางทีฟังไม่ขึ้นหรอกพี่  Roll Eyes
 
ตราบใด ที่ยังเป็น "รัฐบาลประชานิยม"  Cool
 
 
จะอ้าง รธน. (เก่า) ทำให้เป็น  
 
หรือว่า รัฐบาล (เก่า) ช่วยให้ประชาชนยากไร้ ตจว. มี access to healthcare ดีขึ้น
 
 
แต่คงต้องมองย้อนไปหาความหมายของสำนวน
 
"เตี้ย อุ้ม ค้อม"  Cool  น่าจะใช้ได้ในเหตุการณ์ช่วงนี้  Cool
 
 
4. เขียนได้ดีมากพี่ แต่ !!! กลุ่มเป้าหมายคือใครอะพี่ ที่จะอ่าน  
 
บางที ถ้าเป็นประชาชนทั่วไป อาจต้องปรับให้เข้าใจง่ายอีกนิด  Roll Eyes
 
 
เกรงว่า "อคติ" และ/หรือ "ความไม่รู้" จะทำให้คนอ่านเข้าไม่ถึง
 
จุดมุ่งหมายของงานเขียนนิพี่  Embarassed
 
 
ส่งโดย: ...  a.m. en allemagne  ...
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 9641   WWW
   
86.71.245.*


« ความเห็นที่ #12 เมื่อ: 12/20/07 เวลา 08:09:35 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

มาให้กำลังใจ 716 จ้า  you're trying to do the best you can! Please keep trying! Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Wink Cheesy Grin
« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: 12/20/07 เวลา 08:10:55 by cmu06 »
ส่งโดย: cmu06
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 2807  
   
58.8.134.*


« ความเห็นที่ #13 เมื่อ: 12/20/07 เวลา 11:41:04 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Grin
ส่งโดย: -- คนใจดี --
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 813  
   
222.123.202.*


« ความเห็นที่ #14 เมื่อ: 12/20/07 เวลา 13:48:47 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

เอาไปลงหนังสือพิมพ์ คนอ่านจะแยะกว่านี้

ไงหมอ....กี่คดีแล้ว

ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา

รู้อะไร ไม่สู้ รู้จักพอ


ส่งโดย: Dr.R male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 7296  
   
125.26.81.*


« ความเห็นที่ #15 เมื่อ: 12/20/07 เวลา 14:32:31 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

เวรกำครับ
เพิ่งรู้นะครับเนี่ย
 
เมื่อแพทย์รัฐปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในสถานพยาบาลของรัฐ  ต้องติดคุก..เกิดผลกระทบใดบ้าง?  
 
1. ถูกถอดใบประกอบโรคศิลป์หลังคดีสิ้นสุด สูญเสียวิชาชีพแพทย์ อาจตราบชั่วชีวิต  
 
 
 
ผมมีหนี้
1กู้ยืม สามแสน
2ค่าผ่อนรถให้พ่อ แปดแสน
3ค่าผ่อนเมีย หนึ่งล้านสองแสน
4ค่าผ่อนรถตนเองสี่แสน
 
รวม สองล้านเจ็ดแสน เกิดต้องออกจากราชการผมก็ซวยสิ  
 
พูดจากใจจริงครับ ต่อไปผม refer หมดดีกว่า ไม่ไหว ถ้าผมไม่มีทางหากิน พ่อคงลำบากแน่
ส่งโดย: นาย จ๋อง  รีเทิร์น male
สถานะ: Full Member ***
จำนวนความเห็น: 151  
   
125.26.238.*


« ความเห็นที่ #16 เมื่อ: 12/20/07 เวลา 15:13:50 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Grin ใครเค้าจะมาเข้าใจเรา

ส่งโดย: กระบี่ไม่มีคม female
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 575   Email
   
202.139.223.*


« ความเห็นที่ #17 เมื่อ: 12/20/07 เวลา 16:12:22 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Air Water Food Shelter Sleep Sex
 
ที่ทำงานอยู่ Physiologic need ยังไม่ fulfil เลยครับ ได้กินอาหารเช้าประมาณ 2 วัน/ สัปดาห์ อาหารเที่ยง บ่ายโมง+ อาหารเย็น 1-4 ทุ่ม บางวัน น้ำหยดแรกเข้าปากตอนบ่าย  
 
นอนก็อย่างที่ทราบกัน น้อยจนเริ่มชิน
ส่งโดย: Innominate male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1943  
   
61.19.65.*


« ความเห็นที่ #18 เมื่อ: 12/20/07 เวลา 23:28:41 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ต่อไปคงไม่มีใครอยากทำ รพช คงทำแต่เอกชนหรือไม่ก็เปิดคลินิกรักษา  โรคพื้นๆมีรายรับแบบพอเพียงแต่สุขใจ    Smiley Wink Cheesy
ส่งโดย: newny_law3107
สถานะ: Senior Member ****
จำนวนความเห็น: 300  
   
125.27.64.*


« ความเห็นที่ #19 เมื่อ: 12/21/07 เวลา 16:35:52 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ทำยังไงจะนำสิ่งเหล่านี้ไปเผยแพร่ให้สังคมรับรู้บ้าง ตอนนี้ก็รู้กันแต่ในแวดวงแพทย์เท่านั้น
ส่งโดย: pumpa female
สถานะ: Full Member ***
จำนวนความเห็น: 146  
   
125.26.239.182 fwd for 192.168.2.*


« ความเห็นที่ #20 เมื่อ: 12/22/07 เวลา 18:06:35 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ


ผมนำไปลงในพันทิบ ให้แล้วนะครับ ..  
 
แต่ก็อย่างหวังผลอะไรมากนัก .. Roll Eyes

ยืนยันว่าจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )
DO NO HARM [ PATIENT AND MYSELF ]
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหมอที่ดี ได้เสมอ
www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807
ส่งโดย: หมอหมู male
สถานะ: ThaiClinic Staff *****
จำนวนความเห็น: 35073 63156014 63156014   หมอหมู หมอหมู WWW Email
   
125.24.249.*


« ความเห็นที่ #21 เมื่อ: 12/24/07 เวลา 14:50:39 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

คนปฏิบัติงานส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยได้พูดหรอก  ส่วนผู้ใหญ่เบื้องบนก็ไม่เข้าใจความลำบากของผู้น้อยหรอก ก็คงต้องทนกันต่อไป

เด็กดีไม่ดื้อ เด็กดื้อไม่ดี เด็กดื้อต้องตี ตีให้หายดื้อ
ส่งโดย: เด็กดื้อ
สถานะ: Full Member ***
จำนวนความเห็น: 173  
   
202.69.141.*


« ความเห็นที่ #22 เมื่อ: 12/24/07 เวลา 23:54:10 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Shocked เป็นเรื่องจริงที่น่าประหลาดใจครับ ขอบคุณที่ยกตัวอย่างแบบเป็นรูปธรรมให้เห็น
แต่อย่างที่กังวลคือ ความรู้สึกที่เป็นนามธรรม ที่ไม่อาจวัดได้ ที่ตอนนี้เกิดขึ้น เกาะกินจิตใจเพื่อนแพทย์ทุกคนแล้ว นี่ครับที่เหมือนภูเขาน้ำแข็งใต้ทะเล  
น่าเป็นห่วงจริง ๆ ครับ

ปลอบใจเข้าไว้ให้อดทน เหตุการณ์ที่สับสนโหดร้ายที่เข้ามา ไม่ช้าจะผ่านพ้นไปด้วยดี
ส่งโดย: dr.darkchoc male
สถานะ: Junior Member **
จำนวนความเห็น: 95  
   
125.25.55.*


« ความเห็นที่ #23 เมื่อ: 12/26/07 เวลา 23:20:25 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ


   ขอบคุณครับพี่ เป็นบทความที่ดี ควรกระจายไปลงในหลายๆที่นะครับ Wink Wink

SOMETIMES THE DESTINY TRICKS US IN THE WAY WE MAY NEVER EXPECT
ส่งโดย: mr.leo male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1081  
   
61.90.160.*


« ความเห็นที่ #24 เมื่อ: 12/27/07 เวลา 13:12:34 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

พอดีมีสมาชิก สอบถามเรื่องกระทู้ ก็เลยนำที่เคยเอาไปลงไว้มาฝากในกระทู้นี้ด้วยเลย ..
 
เผื่อใครจะตามไปอ่าน ความเห็น แต่ว่า อยากให้ทำใจ ไว้หน่อยนะครับ ถือว่า เป็นการเรียนรู้ว่า บางคน เขาคิดอย่างไร ?  ผมคิดว่า เป็น ส่วนน้อยมาก ๆ  Lips Sealed
 
 
กระทู้ จากพันทิบ
 
ทำคนไข้ผ่าตัดไส้ติ่งตาย จำคุกพญ.3ปี ฉีดยาชาประมาทเลินเล่อ  
http://www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L6103211/L6103211.html
 
จากคดีคนไข้ผ่าตัดไส้ติ่งตาย ถ้าไม่มีหมอดมยาคุณจะยอมผ่าตัดหรือไม่  
http://www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L6105574/L6105574.html
 
ความจริงทางการแพทย์ที่สังคมอาจยังไม่รับรู้
http://www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L6112659/L6112659.html
 
"จากหมอถูกตบหน้าจนถึงหมอถูกจำคุก"
http://www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L6146616/L6146616.html
 
เมื่อแพทย์รัฐปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในสถานพยาบาลของรัฐ ต้องติดคุก..เกิดผลกระทบใดบ้าง?  
http://www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L6158093/L6158093.html#10
 
บทบรรณาธิการ เกี่ยวกับ แพทย์ถูกฟ้อง และตัดสิน จำคุก  
http://www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L6151615/L6151615.html
 
แพทย์ควรติดคุกหรือไม่ โดย ประเวศ วะสี  
http://www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L6143463/L6143463.html
 
 

ยืนยันว่าจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )
DO NO HARM [ PATIENT AND MYSELF ]
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหมอที่ดี ได้เสมอ
www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807
ส่งโดย: หมอหมู male
สถานะ: ThaiClinic Staff *****
จำนวนความเห็น: 35073 63156014 63156014   หมอหมู หมอหมู WWW Email
   
125.24.248.*


« ความเห็นที่ #25 เมื่อ: 12/27/07 เวลา 18:26:53 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ออก.... อย่างนี้ต้องลาออก...
 
บิลลี่...เข้ม...(ไม่ไหว)

ส่งโดย: praspowt
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 809  
   
203.155.165.16 fwd for 10.11.12.*


« ความเห็นที่ #26 เมื่อ: 12/28/07 เวลา 12:26:19 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Undecided Embarassed Cry Lips Sealed
ส่งโดย: SeReE
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1404  
   
125.24.212.198 fwd for 192.168.0.*


« ความเห็นที่ #27 เมื่อ: 12/31/07 เวลา 12:28:01 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Angry Angry Angry
 Cry Cry Cry
 Sad Sad Sad
ส่งโดย: MadHippo
สถานะ: Newbie *
จำนวนความเห็น: 27  
   
202.91.18.*


« ความเห็นที่ #28 เมื่อ: 12/31/07 เวลา 23:32:31 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ไม่เคยเชื่อเลยว่ากองทุนดังกล่าว จะลดปัญหาการฟ้องแพทย์ได้
เพราะการใช้scheme no fault compensation ต้องมีกฎหมายรองรับ
และ scheme no fault compensation ก็ใช้ได้เฉพาะบ้างประเทศที่มีรัฐสวัสดิการที่ดี
เช่น sweden และมีความเท่าเทียมกันในเชิงบริการสาธ่ารณะสุข
ในuk แม้เขาจะพิจารณาเรื่องนี้ แต่ก็ไม่ผ่าน เพราะอาจขัดต่อ
หลักสิทธิมนุษยชนของeu  
แปลว่า แม้ไม่พอใจคำพิพากษา ของศาล uk ตาม กฎหมายuk  
เขาก็ ฟ้องว่า กฎหมายขัดต่อ eu human rights convention ต่อศาล eu ได้
 
ปัญหาของ no fault compensation law ของไทยจะออกได้หรือไม่  
ท่ามกลางสภาวะที่เงินในคลังมีอยู่ไม่มากนัก  
และหากออกกฎหมายมาแล้ว จะขัดกับ หลักสิทธิและเสรีภาพในการใช้สิทธิทางศาลของคนไทยหรือไม
ลอง จินตนาการถึงคนที่มีความทุกข ต้องการความยุติธรรม
แต่มีกฎหมาย ห้ามคุณฟ้องร้อง คุณคิดว่าประเทศนี้จะน่าอยู่หรือไม่
 
เมื่อคนไข้ฟ้องร้องคุณได้ คุณก็ฟ้องร้องคนที่ทำให้คุณไม่พอใจได้  
อันนี้แหละครับที่เรียกว่า สิทธิ ขั้นพื้นฐานในการใช้สิทธิทางศาล
ส่งโดย: penfold_bin407
สถานะ: Senior Member ****
จำนวนความเห็น: 323  
   
124.120.83.*


« ความเห็นที่ #29 เมื่อ: 01/06/08 เวลา 14:24:09 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Embarassed


ส่งโดย: *-*_banana_*-* female
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1944  
   
125.24.245.*


« ความเห็นที่ #30 เมื่อ: 01/25/08 เวลา 20:04:19 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Cheesy
ส่งโดย: Binder
สถานะ: Newbie *
จำนวนความเห็น: 1  
   
117.47.0.*


« ความเห็นที่ #31 เมื่อ: 01/26/08 เวลา 10:44:31 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

สปสช= สะเปะสะปะ ชุ่ย
  สปสช= สิ่งสกปรกสะสมความชั่วร้าย
 
  นับว่าวงการแพทย์วิกฤตเพราะ ผู้มีอำนาจขาดคุณธรรมอย่างยิ่ง  
  สิ่งที่ขาด คือ หลักพรหมวิหาร 4 อันเป็นคุณธรรมของผู้ใหญ่ที่ปกครอง
  -เมตตา ความปราถนาให้ผู้อื่นมีความสุข ให้สุขยิ่งๆขึ้นไป
  -กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ไม่ยอมให้เดือดร้อนมากกว่านี้
  -มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ยกย่องเมื่อทำความดี
  -อุเบกขา การวางเฉยเมื่อผู้อื่นเดือดร้อน แม้ตนได้ช่วยเหลืออย่างเต็มที่
 
   ผู้บริหารแทบจะทุกระดับ ไร้คุณธรรม ข้อนี้มากๆ ปล่อยให้ลูกน้องทำงานหนักเป็นวัวเป็นควาย ตัวเองก็ไปรับหน้ากับประชาชน เมื่อมีเรื่องเดือดร้อน ก็ปัดความรับผิด รับแต่ชอบ กล่าวโทษผู้ปฏิบัติ ไม่เคยแม้แต่จะถามไถ่สารทุกข์สุกดิบลูกน้อง เอาหน้ากับนักการเมือง ขาดเมตตากรุณาต่อลูกน้อง
   สังเวยความผิดของลูกน้องเพื่อ ลาถ ยศ สรรเสริญ ของตัวเอง
   Undecided  ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทุกระดับ ทำงานเหน็ดเหนื่อยมาก เพื่อสังเวยโครงการเอาหน้าประชาชน เคยยกย่อง ชื่นชม ให้ขวัญกำลังใจ พวกเขากันบ้างรึไม่ ขาดมุทิตาจิต
  พอมีเรื่องขัดผลประโยชน์แทนที่จะวางอุเบกขากลับล้วงลูก จนวงการวุ่นวาย เป็นที่อับอายขายหน้าภาคประชาชนเป็นอย่างยิ่ง
  ไม่รู้จิตใจทำด้วยอะไร ใจดำอำมหิตมาก

Absence of evidence is not evidence of absence.

มองไม่เห็น ไม่ได้หมายความว่าไม่มี

(Altman & Bland, 1995)
ส่งโดย: Doctors never smile male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1182  
   
124.120.251.*


« ความเห็นที่ #32 เมื่อ: 06/12/10 เวลา 17:43:18 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Cry Cry Cry Cry
ส่งโดย: jupeter male
สถานะ: Full Member ***
จำนวนความเห็น: 244  
   
202.12.74.*


Page(s) : 1 


แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print



Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by