ThaiClinic.Com (http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl)
ห้องถามตอบสุขภาพ >> ห้อง หู ตา คอ จมูก >> สอบถามคุณหมอเถื่อนครับ
(Message started by: Pokokun on 04/15/13 เวลา 22:25:09)

Title: สอบถามคุณหมอเถื่อนครับ
ส่งโดย Pokokun on 04/15/13 เวลา 22:25:09
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2008/12/X7285238/X7285238.html

ผมได้อ่านบทความ ของคุณหมอเถื่อนแล้ว เกิดสงสัยบางอย่างครับ

ผมเป็นโรคอินเทรนด์ในหมู่วัยรุ่นยุคใหม่ครับ คือคอมโบสายตาสั้นเกิน600+จอประสาทตาบาง+วุ้นเสื่อม คุณหมอสาวน่ารักที่ รพ.เพชรเวช ก็เรียกไปนัดเดทเรื่อยๆืทุก 2-3 เดือน เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยง กลัวจะเกิด Retinal Detachment ผมเองก็กังวลใจใช่ย่อยครับ คือยังหนุ่มเพิ่ง 30 ไม่กี่เดือน จะมาตาบอดตาพร่าตาเขเสียแต่ตอนนี้ก็คงไม่ไหว ชีวิตยังอีกไกล แถมเพิ่งเลิกกับแฟนไม่นาน ยังโสดไม่ได้แต่งเลย อู้ววว เกิดตาเป็นอะไรเราคงขายออกลำบาก

ก็เลยมีคำถามสงสัยอยากมาถามคุณหมอเถื่อนที่ค่อนข้างเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ครับ อยากทราบไว้เพื่อลดความกังวลใจ และเตรียมพร้อมรับมือในอนาคต


1. ในคห.ที่ 7 ของคุณหมอที่กล่าวไว้ว่า

"หลังจากนั้นหลายๆเดือน เมื่อการแยกชั้นสมบูรณ์ขึ้น  แสงแว่บก็จะน้อยลง และค่อยๆหายไป ตะกอนในวุ้นตาจะค่อยๆคงที่อยู่นานหลายเดือนหรือหลายปี ทำให้คนที่เป็นเห็นจุดๆเส้นๆพวกนี้อยู่พักหนึ่ง แล้วค่อยๆลดลง (ที่คนที่เป็นสังเกตเห็นเงาของมันลดลง เพราะวุ้นตาหดตัวมากขึ้น ตะกอนพวกนี้จะลอยมาอยู่ด้านหน้า ห่างจากจอประสาทตามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนไข้สังเกตเห็นเงาของมันน้อยลง (กฏง่ายๆ ที่ว่า วัตถุอยู่ใกล้ฉาก เห็นเงาได้ง่ายและชัดกว่าวัตถุอยู่ไกลฉาก)"

ผมจึงอยากถามว่า หากเป็นภาวะจอประสาทตาบางด้วย หากผ่านช่วงการแยกชั้นสมบูรณ์นี่ไปแล้ว ก็จะมีภาวะที่ปลอดภัยขึ้นกว่าเดิมจากการโดนวุ้นเสื่อมกระชากเรติน่าหรือเปล่าครับ?

หรือว่าหากนายประสาทตาบางแล้ว นายต้องอยู่ในวังวนหลอกหลอน ลุ้นระทึกกับวุ้นหนืดกระชากเรติน่าไปตลอดชีวิต ตลอดชีวิต ตลอดชีวิต วิต... วิต... วิต.... (แบบโดนผีช้อนไล่ทุบ)

----

2. สมมุติแบบผมโคตร sensitive เจอแสงแฟลชบ่อยก็รีบไปตรวจให้ยิงเลเชอร์อุดๆเรื่อยๆ มันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อ Retinal Detachment (ภาวะกระชากแบบขูดมะพร้าวเผา) ได้มากขนาดไหนครับ ?

หรือว่า แกจอประสาทตาบางงี้ ยิงไปก็งั้นๆฟะ บทมันจะกระชากหลุดตรงเลเชอร์ไปไม่ถึง เรติน่าแกก็ซวยโดนกระชากหลุดเป็นมะพร้าวเผาอยู่ดี เลเชอร์มันแค่สำหรับคนดวงดีที่มันเป็นแค่ข้างๆเบาๆ ดวงเว้ยดวง! ทำบุญเข้าไว้เว้ย! It depands on your Destiny, you know!?

----

3. ถามตรงๆเลยดีกว่าครับ เอาประสบการณ์ตรงของคุณหมอเถื่อนเลย คนไข้อินเทรนด์แบบผมที่หมอนัดเดทเรื่อยๆเนี้ย มันจะมีชะตากรรมโดนขูดมะพร้าวเผาเฉลี่ยเยอะขนาดไหน แบบหนุ่มสาวแว่นหนาไปหาหมอยิงเลเชอร์อุด 10 คน อีกไม่กี่เดือน หรือไม่กี่ปี มันจะโดนขูดมะพร้าวกันกี่คนครับ

หรือว่า 10 รายโดนอาการขูดมะพร้าวเผาหมดไม่รอดสักตัว แบบประมาณนายๆเธอว์ๆเหล่าคนไข้แว่นหนาทั้งหลาย ไม่เกิน 10 ปี โดนขูดมะพร้าวแน่ๆนะจ๊ะ สายตาพวกนายพวกหล่อนสั้นขึ้นอีก จอบางลงอีกแน่นอน แล้วเจอกันห้องผ่าตัดจ๊ะ จรุ๊บๆ ?

----

4. ถามตรงๆอีกอย่างครับ คือค่าผ่าตัดขูดมะพร้าวมันราคาโหดสัสมากใช่ไหมครับ ไปเจอใน Blog มา ที่รัตนิน แหม่ม 90000 ไม่รวมค่าห้อง ตีราคา รพ. รามารัฐบาลคงราวๆ 70000 ไม่รวมค่าห้อง... แล้วงี้ไอ้หนุ่มที่มีประกันสังคมค้ำชีวิตอย่างผมเจอขูดมะพร้าวไปที ก็ต้องส่งตรงเลยสินะครับ เกิดรอส่งจากประกันสังคมจาก รพ. นึง ไป รพ.รามา ไหนจะ หมอตรวจ หมอสั่งผ่า ไหนจะรอคิวผ่าอีก เซลล์เรติน่าคงตายในที่เกิดเหตุหมด จนเน่า จนแห้ง จนลงนรกชดใช้กรรม จนไปเกิดใหม่แล้วสินะครับ ก็คือบอดแน่ๆ ถ้าไปรอมัน  

ดังนั้นขอถามว่า ความจริงในโลกที่โหดร้ายก็คือ  No Money ในภาวะเกิด Retinal Detachment in Thailand = You will be a Blind Ha Ha Hah 8) สินะครับ ก็คือชาวหนุ่มแว่นหนาที่หมอนัดเดทบ่อยๆ ต้องมีเงินสำรองเอาไว้จ่ายในกรณีนี้โดยเฉพาะเลยจะดีกว่าและปลอดภัยกว่าสินะครับ

และถามต่อว่าในภาวะคับขันจนตรอกหมดหนทางเช่นนี้ จะมีเคสกรณีคนจนที่ไม่ Blind บ้างไหมครับ ? หรือว่า โลกเราก็โหดร้ายแบบนี้แหละน้า ไทยมันไม่ใช่อเมริกาหรือประเทศที่เจริญแล้ว นายต้องทำใจแว้ ?

----

5. สมมุติว่าโดนกระชากขูดมะพร้าวไปแล้ว ต้องผ่าตัด ในการผ่าตัดแพทย์ก็จะดูดวุ้นเสื่อมออกไปสินะครับ ก็คือมันจะมีไม่มีภาวะเสี่ยงโดนวุ้นหนืดกระชากเรติน่าอีกต่อไป แต่แลกกับภาวะไร้วุ้น ที่จะทำให้เป็นต้อกระจกได้ไวขึ้นแทน ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ?

แต่อ่านๆในเน็ตมา บางคนผ่าตัดแล้วก็ยัง Again เจอขูดมะพร้าวได้อีกรอบ มันเกิดจากอะไรหรือครับ? (หรือว่าผมเข้าใจผิดไปเองแต่แรก)

----

ก็ 5 ข้อครับ หากไม่เป็นการรบกวนมาก ขอบคุณมากครับ  :-[

Title: Re: สอบถามคุณหมอเถื่อนครับ
ส่งโดย หมอเถื่อน on 04/18/13 เวลา 19:31:01
1. ในคห.ที่ 7 ของคุณหมอที่กล่าวไว้ว่า  

"หลังจากนั้นหลายๆเดือน เมื่อการแยกชั้นสมบูรณ์ขึ้น  แสงแว่บก็จะน้อยลง และค่อยๆหายไป ตะกอนในวุ้นตาจะค่อยๆคงที่อยู่นานหลายเดือนหรือหลายปี ทำให้คนที่เป็นเห็นจุดๆเส้นๆพวกนี้อยู่พักหนึ่ง แล้วค่อยๆลดลง (ที่คนที่เป็นสังเกตเห็นเงาของมันลดลง เพราะวุ้นตาหดตัวมากขึ้น ตะกอนพวกนี้จะลอยมาอยู่ด้านหน้า ห่างจากจอประสาทตามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนไข้สังเกตเห็นเงาของมันน้อยลง (กฏง่ายๆ ที่ว่า วัตถุอยู่ใกล้ฉาก เห็นเงาได้ง่ายและชัดกว่าวัตถุอยู่ไกลฉาก)"

ผมจึงอยากถามว่า หากเป็นภาวะจอประสาทตาบางด้วย หากผ่านช่วงการแยกชั้นสมบูรณ์นี่ไปแล้ว ก็จะมีภาวะที่ปลอดภัยขึ้นกว่าเดิมจากการโดนวุ้นเสื่อมกระชากเรติน่าหรือเปล่ าครับ?  

หรือว่าหากนายประสาทตาบางแล้ว นายต้องอยู่ในวังวนหลอกหลอน ลุ้นระทึกกับวุ้นหนืดกระชากเรติน่าไปตลอดชีวิต ตลอดชีวิต ตลอดชีวิต วิต... วิต... วิต.... (แบบโดนผีช้อนไล่ทุบ)  


ตอบ - เป็นแบบหลังครับ ไม่มีอะไรสมบูรณ์ในโลกนี้ สมบูรณ์ขึ้น แปลว่า ใกล้เคียงกับความสมบูรณ์ แต่ไม่สมบูรณ์
คุณมีความเสี่ยงตลอดชีวิตครับ แต่เสี่ยงมากในช่วงปีแรกๆที่วุ้นตาเริ่มเสื่อม และน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่เสี่ยงมากกว่าชาวบ้านตลอดชีวิต
----------------------------------------------------------------------------------------

2. สมมุติแบบผมโคตร sensitive เจอแสงแฟลชบ่อยก็รีบไปตรวจให้ยิงเลเชอร์อุดๆเรื่อยๆ มันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อ Retinal Detachment (ภาวะกระชากแบบขูดมะพร้าวเผา) ได้มากขนาดไหนครับ ?  

หรือว่า แกจอประสาทตาบางงี้ ยิงไปก็งั้นๆฟะ บทมันจะกระชากหลุดตรงเลเชอร์ไปไม่ถึง เรติน่าแกก็ซวยโดนกระชากหลุดเป็นมะพร้าวเผาอยู่ดี เลเชอร์มันแค่สำหรับคนดวงดีที่มันเป็นแค่ข้างๆเบาๆ ดวงเว้ยดวง! ทำบุญเข้าไว้เว้ย! It depands on your Destiny, you know!?
ตอบ - เลเซอร์ ลดความเสี่ยงได้มากๆๆๆๆ เกือบ 0 แต่ไม่เหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ครับ
--------------------------------------------------------------------------

3. ถามตรงๆเลยดีกว่าครับ เอาประสบการณ์ตรงของคุณหมอเถื่อนเลย คนไข้อินเทรนด์แบบผมที่หมอนัดเดทเรื่อยๆเนี้ย มันจะมีชะตากรรมโดนขูดมะพร้าวเผาเฉลี่ยเยอะขนาดไหน แบบหนุ่มสาวแว่นหนาไปหาหมอยิงเลเชอร์อุด 10 คน อีกไม่กี่เดือน หรือไม่กี่ปี มันจะโดนขูดมะพร้าวกันกี่คนครับ  

หรือว่า 10 รายโดนอาการขูดมะพร้าวเผาหมดไม่รอดสักตัว แบบประมาณนายๆเธอว์ๆเหล่าคนไข้แว่นหนาทั้งหลาย ไม่เกิน 10 ปี โดนขูดมะพร้าวแน่ๆนะจ๊ะ สายตาพวกนายพวกหล่อนสั้นขึ้นอีก จอบางลงอีกแน่นอน แล้วเจอกันห้องผ่าตัดจ๊ะ จรุ๊บๆ ?  
ตอบ - ความเสี่ยงของการเกิดจอประสาทตาหลุดลอก คือ 1 ในหมื่นรายของประชากรต่อ 1 ปีครับ
ความเสี่ยงสูงขึ้น 4 เท่า ในคนที่สายตาสั้นเกิน 800 ครับ
น้อยรายที่เคยเลเซอร์ และติดตามกันดูตามนัดเรื่อยๆ แล้วยังหลุดครับ
----------------------------------------------------------------------

4. ถามตรงๆอีกอย่างครับ คือค่าผ่าตัดขูดมะพร้าวมันราคาโหดสัสมากใช่ไหมครับ ไปเจอใน Blog มา ที่รัตนิน แหม่ม 90000 ไม่รวมค่าห้อง ตีราคา รพ. รามารัฐบาลคงราวๆ 70000 ไม่รวมค่าห้อง... แล้วงี้ไอ้หนุ่มที่มีประกันสังคมค้ำชีวิตอย่างผมเจอขูดมะพร้าวไปที ก็ต้องส่งตรงเลยสินะครับ เกิดรอส่งจากประกันสังคมจาก รพ. นึง ไป รพ.รามา ไหนจะ หมอตรวจ หมอสั่งผ่า ไหนจะรอคิวผ่าอีก เซลล์เรติน่าคงตายในที่เกิดเหตุหมด จนเน่า จนแห้ง จนลงนรกชดใช้กรรม จนไปเกิดใหม่แล้วสินะครับ ก็คือบอดแน่ๆ ถ้าไปรอมัน  

ดังนั้นขอถามว่า ความจริงในโลกที่โหดร้ายก็คือ  No Money ในภาวะเกิด Retinal Detachment in Thailand = You will be a Blind Ha Ha Hah Cool สินะครับ ก็คือชาวหนุ่มแว่นหนาที่หมอนัดเดทบ่อยๆ ต้องมีเงินสำรองเอาไว้จ่ายในกรณีนี้โดยเฉพาะเลยจะดีกว่าและปลอดภัยกว่าสินะค รับ  

และถามต่อว่าในภาวะคับขันจนตรอกหมดหนทางเช่นนี้ จะมีเคสกรณีคนจนที่ไม่ Blind บ้างไหมครับ ? หรือว่า โลกเราก็โหดร้ายแบบนี้แหละน้า ไทยมันไม่ใช่อเมริกาหรือประเทศที่เจริญแล้ว นายต้องทำใจแว้ ?
ตอบ - ถ้าคุณอยู่ในภาวะฉุกเฉิน (emergency) หรือกึ่งฉุกเฉิน (urgency) จะได้แทรกคิว แม้ในรพ.รัฐครับ, ถ้ากรณีไม่ฉุกเฉิน ก็ตามคิวครับ
----------------------------------------------------------------

5. สมมุติว่าโดนกระชากขูดมะพร้าวไปแล้ว ต้องผ่าตัด ในการผ่าตัดแพทย์ก็จะดูดวุ้นเสื่อมออกไปสินะครับ ก็คือมันจะมีไม่มีภาวะเสี่ยงโดนวุ้นหนืดกระชากเรติน่าอีกต่อไป แต่แลกกับภาวะไร้วุ้น ที่จะทำให้เป็นต้อกระจกได้ไวขึ้นแทน ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ?  

แต่อ่านๆในเน็ตมา บางคนผ่าตัดแล้วก็ยัง Again เจอขูดมะพร้าวได้อีกรอบ มันเกิดจากอะไรหรือครับ? (หรือว่าผมเข้าใจผิดไปเองแต่แรก)  
ตอบ - เราไม่มีทางเอาวุ้นตาออกได้หมดครับ :)




Title: Re: สอบถามคุณหมอเถื่อนครับ
ส่งโดย saby6005 on 04/30/16 เวลา 00:54:42
;D   ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ


holiday palace (http://www.gamble-vip88.com/holiday-palace.html)



ThaiClinic.Com . All Rights Reserved.