แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 320: กระดูกเบ้าตาเเตกค่ะ  (จำนวนคนอ่าน 11171 ครั้ง)
« เมื่อ: 12/13/13 เวลา 19:28:08 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

อุบัติเหตุ กระดูกโหนกเเก้มเเละเบ้าตาแตก ได้รับการผ่าตัดเพื่อดามเเล้ว ผ่านมาเกือบ 4 เดือน มีลักษณะเบ้าตาลึก หางตาตก เเต่ไม่เห็นภาพซ้อน จากที่พยายามหาข้อมูลด้วยตัวเอง พบว่า รักษาได้ด้วยการผ่าตัดหนุนเบ้าตา อยากจะรบกวนสอบถามคุณหมอว่า
 
1. การผ่าตัดเเบบนี้โดยทั่วไปสามารถทำให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้มากน้อยเเค่ไห นคะ
2. เเผลในการผ่าตัดจากการรักษาเดิมอยู่ที่บริเวณคิ้ว อยากจะทราบว่า ถ้าจะผ่าหนุนเบ้าตาอีก เเผลน่าจะอยู่บริเวณไหน
3. มีโอกาสที่จะไปกระทบกระเทือนดวงตาเเละการมองเห็นหรือไม่คะ
4. การผ่าตัดชนิดนี้ต้องใช้วัสดุอะไรเข้าไปหนุนเบ้าตาเหมือนการใช้เเผ่นเหล็กดา มกระดูกโหนกเเก้มรึเปล่าคะ
 
ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ
ส่งโดย: tom1331
สถานะ: Newbie *
จำนวนความเห็น: 9  
   
101.51.17.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 12/16/13 เวลา 14:38:49 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

1. การผ่าตัดเเบบนี้โดยทั่วไปสามารถทำให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้มากน้อยเเค่ไห  นคะ
--- ขึ้นกับสภาพโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ หลังอุบัติเหตุครับ
 
2. เเผลในการผ่าตัดจากการรักษาเดิมอยู่ที่บริเวณคิ้ว อยากจะทราบว่า ถ้าจะผ่าหนุนเบ้าตาอีก เเผลน่าจะอยู่บริเวณไหน
---- ตรวจก่อน แล้วค่อยว่ากันครับ
 
3. มีโอกาสที่จะไปกระทบกระเทือนดวงตาเเละการมองเห็นหรือไม่คะ
---- มีครบั แต่โอกาสน้อย
 
4. การผ่าตัดชนิดนี้ต้องใช้วัสดุอะไรเข้าไปหนุนเบ้าตาเหมือนการใช้เเผ่นเหล็กดา  มกระดูกโหนกเเก้มรึเปล่าคะ  
----- มักเป็นแผ่นซิลิโคน หรือแผ่นโลหะ เช่นไททาเนียม ครับ

no fate but what we make
ส่งโดย: หมอเถื่อน male
สถานะ: ThaiClinic Staff *****
จำนวนความเห็น: 3420 10150055 10150055   Email
   
61.19.199.*


« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: 12/17/13 เวลา 00:36:35 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ


 
 
 
 
คุณหมอเถื่อน ตอบไปหมดแล้ว
 
ขอเสริมเฉพาะข้อ 2 กับ 4 แล้วกัน
 
 
 
2.  
 
ปกติแล้วกระดูกเบ้าตาแตกร่วมกับกระดูกโหนกแก้มหัก
 
มักเป็นที่ "พื้นเบ้าตา" (orbital floor)
 
 
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด เช่น
 
- มีอาการชา ที่แก้ม / โหนกแก้ม
 
- เห็นภาพซ้อน (diplopia) หรือมีปัญหาในการมองเห็น
 
- ระดับลูกตา 2 ข้างไม่เท่ากัน คือ ข้างที่มีกระดูกหักต่ำกว่า ข้างปกติ (orbital dystopia)
 
- มีปัญหาในการกลอกตาไป-มา
 
- ตาหวำลึก (enphthalmos)
 
- จากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) เห็น เนื้อเยื่อลูกตาตกไปในไซนัส หรือถูกหนีบรัด (orbital soft tissue entrapment)
 
 
ซึ่งการผ่าตัด ที่ดี ควรทำใน 2 สัปดาห์
 
เพราะหลังไปจากนี้ มักมีแผลเป็น หรือพังผืดที่เนื้อเยื่อลูกตา (orbital scar/fibrosis)  
 
ทำให้ผ่าตัดยากขึ้น และอาจทำให้ลูกตาหวำลึก (ในระยะยาว)
 
 
การเปิดผ่าตัด สามารถเปิดได้ 3-4 วิธีใหญ่ๆ  
 
แต่นิยมทำกันมากที่สุด คือ  
 
- เปิดขนานขอบเปลือกตาล่าง (subciliary approach)  
 
หรือ A ในรูป
 
 
 

 
 
 
 

 
 
 
 
- เปิดภายในเปลือกตา (transconjunctival approach)
 
หรือ A ในรูป
 
 
 

 
 
 
 
วิธีล่าง (transconjunctival approach) มีข้อดี
 
คือ ไม่มีแผลเป็นที่ผิวหนัง และไม่ต้องเย็บแผล
 
แต่ข้อเสีย คือ มองเห็นการผ่าตัดยาก อาจต้องขยายออกไปด้านข้าง (ต่อไปเป็น B กับ C)
 
 
 
 
4.  
 
วัสดุบูรณะกระดูกเบ้าตา มีหลากหลายมาก  
 
แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่
 
 
1) วัสดุจากเนื้อเยื่อของคนไข้เอง (autogenous materials) เช่น  
 
- กระดูกอ่อนจากซี่โครง หู หรือผนังกั้นจมูก (nasal septum)
 
- กระดูกกะโหลก สะโพก ซี่โครง หรือปลายคาง
 
กลุ่มนี้ ข้อดี คือ  
 
โอกาสวัสดุติดเชื้อ และถูกร่างกายปฏิเสธ (rejection) มีน้อย  
 
เพราะเป็นเนื้อเยื่อของคนไข้เอง
 
 
แต่ข้อเสีย คือ เสียเวลาผ่าตัดเพิ่ม
 
และคนไข้เจ็บตัว 2 ที่  
 
 
2) เนื้อเยื่อจากคนไข้รายอื่น (allogenic materials)
 
ซึ่งบริษัทวัสดุการแพทย์เค้าทำสำเร็จมาแล้ว เช่น  
 
- เยื่อหุ้มสมองหรือกระดูกอ่อน (lyophilized dura/cartilage)
 
- พังผืดจากขา (fascia lata)
 
 
ปัจจุบันไม่นิยมใช้ เพราะกลัวการติดเชื้อข้ามบุคคล
 
 
3) วัสดุสังเคราะห์ (alloplastic materials)
 
ซึ่งแบ่งออกได้อีกเป็น 2 กลุ่มย่อย
 
3.1 ) วัสดุสังเคราะห์แบบไม่สลายตัว (non-resorbable materials) เช่น
 
- เหล็กดามกระดูกไททาเนียม
 
- โพลิเมอร์ชนิด polyethylene
 
- กระดูกเทียม (hydroxyapatite)
 
 
3.2) วัสดุสังเคราะห์แบบสลายตัวได้ (resorbable materials) เช่น
 
- โพลิเมอร์ชนิด Polydioxanone (PDS)
 
- โพลิเมอร์ชนิด Polyglactin (Vicryl)
 
- Lactasorb = โพลิเมอร์ชนิด Polylactic + Polyglycolic
 
 
 
4) วัสดุจากสัตว์ (xenograft) เช่น คอลลาเจน
 
ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เพราะกลัวการติดเชื้อจากสัตว์  
 
และปฏิกิริยาของร่างกายมนุษย์ ต่อต้านเนื้อเยื่อจากสัตว์
 
 
 
 
ปกติแล้ว การเลือกใช้วัสดุแบบไหน  
 
จะขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น
 
- ขนาดของรอยกระดูกหัก
 
ถ้าเล็ก เช่น < 5 mm อาจใช้วัสดุอ่อน เช่น PDS
 
ถ้าใหญ่ขึ้นมาหน่อย อาจใช้ Lactosorb
 
 
ถ้าใหญ่มาก +/- ลูกตาหวำลึก ก็ต้องการวัสดุที่แข็งแรง  
 
เช่น แผ่นไททาเนียม หรือกะดูกกะโหลก/สะโพก
 
 
- ความต้องการของคนไข้ เช่น ต้องการเอาเนื้อเยื่อของตนเองหรือไม่
 
 
- ความถนัด (ในการผ่าตัด) และความเคยชิน (ในการเลือกใช้วัสดุ) ของหมอผ่าตัด
 
 
เป็นต้น
 
 
 
 
ส่งโดย: ...  a.m. en allemagne  ...
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 9641   WWW
   
87.146.82.*


« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: 08/20/14 เวลา 10:53:56 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

เป็นแบบนี้เหมือนกันค่ะ คือ กระดูกโหนกแก้มและเบ้าตาแตก และได้ดามด้วยไทเทเนียมได้ประมาณ 3 ปีแล้วค่ะ
และอยากทราบว่า 1.เราสามารถเอาเหล็กไทเทเนียมที่ดามกระดูกออกได้ไหมค่ะ
    2.มันจะมีผลกระทบต่อตาหรือร่างกายในระยะยางหรือเปล่า
ส่งโดย: benjawan_kaewkhiaw
สถานะ: Newbie *
จำนวนความเห็น: 2  
   
49.230.100.*


Page(s) : 1 


แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print



Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by