ThaiClinic.Com (http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl)
For MD. >> Doctor Room l ห้องพักแพทย์ >> ต้องทำ DCF ด้วยหรือไม่ ?
(Message started by: <<GOOD LIFE>> on 05/27/23 เวลา 14:10:21)

Title: ต้องทำ DCF ด้วยหรือไม่ ?
ส่งโดย <<GOOD LIFE>> on 05/27/23 เวลา 14:10:21
การเป็นนักลงทุน VI สิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่งก็คือต้องสามารถประเมินมูลค่าหุ้นได้

ต้องทำ DCF ด้วยหรือไม่ ?
ฺBy Invisible Hand
-- -- -- -- -- -- -- -- -- --
หลายคนอาจจะสงสัยว่า VI จำเป็นต้องทำ model การหา valuation ด้วยวิธี DCF หรือไม่ หากถามผมๆ คิดว่าถ้าทำอาจจะทำให้สบายใจและมั่นใจขึ้นได้แต่คิดว่าไม่จำเป็น แต่ก่อนที่ผมจะสรุปว่าไม่จำเป็นผมจึงต้องอธิบายที่มาของการคิด DCF  คร่าวๆ ก่อนครับ
DCF = กระแสเงินสดในอนาคตเป็นมูลค่าปัจจุบัน (Present value) + เงินสด (หนี้สิน) สุทธิ
การทำมูลค่าในอนาคตให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน คือ การ discount ด้วยอัตราดอกเบี้ย discount rate
ถ้า discount rate เท่ากับ 10% เงิน 110 บาทใน 1 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่า 100 บาท ในปัจจุบัน เหตุผลที่เงิน 110 บาทใน 1 ปีข้างหน้ามีมูลค่า 100 บาทในปัจจุบันเนื่องจากหากนำเงิน 100 บาทไปลงทุนโดยได้ผลตอบแทนเท่ากับ 10% เงิน 100 บาทในปัจจุบันจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 110  บาทในอีก 1 ปีข้างหน้า
..
ดังนั้นหากมีใครมาถามเราว่าให้เลือกระหว่างได้เงิน 100 บาทในปีนี้ หรือจะเลือกเงิน 110 บาทในปีหน้า     ภายใต้สมมุติฐานว่าเราสามารถนำเงินลงทุนได้ผลตอบแทน 10% เราจะเลือกแบบไหน  คำตอบที่หลายคนจะตอบก็คือ เลือก 100 บาทวันนี้   เพราะถ้าเป็นปีหน้าเดี๋ยวคนให้เงินจะเปลี่ยนใจไม่ให้แล้ว แต่คำตอบในเชิงการเงินก็คือ เลือกแบบไหนก็ได้ ค่าเท่ากันครับ
..
ดังนั้นเงิน 100 บาทในปัจจุบัน จะมีมูลค่ามากกว่า 100 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้ามาก หรืออาจจะมีมูลค่ามากกว่าเงิน 200 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้าด้วยซ้ำไปครับหากอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากการลงทุนสูงมากพอ
..
หลังจากทำความเข้าใจเกี่ยวกับการหามูลค่าปัจจุบันหรือ present value แล้ว ตัว discount rate หรือที่ศัพท์ทางการเงินเรียกว่า WACC  โดยถ้าหุ้น 2 ตัวมีปัจจัยทุกอย่างเหมือนกันหมด  หุ้นตัวที่ใช้ discount rate สูงจะมีมูลค่าแบบ DCFต่ำกว่า
สำหรับ discount  rate นั้นขึ้นกับตัวแปรต่างๆ ดังนี้ครับ
- อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะใช้อัตราดอกเบี้ย ( yield ) ของพันธบัตรอายุ 10 ปีเป็นตัวอ้างอิง    ถ้าดอกเบี้ยสูง  discount rate ก็จะสูง
- Beta คือ ความผันผวนของราคาหุ้นตัวนั้นๆ เทียบกับความผันผวนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง beta ในทางทฤษฎีการเงินคือเป็นตัววัดความเสี่ยงของหุ้นตัวนั้น โดยตั้งอยู่ในสมมุติฐานว่าหุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงจะมี beta สูง คือจะมีความผันผวนของราคาสูง  ซึ่งทฤษฎีนี้ใกล้เคียงความจริงหรือไม่ผมคิดว่าก็มีความใกล้เคียงอยู่บ้าง เช่น หุ้นที่มี beta สูงในตลาดไทย เช่น หุ้นไฟแนนซ์  หุ้นรับเหมาก่อสร้าง หุ้นอสังหาฯ วัสดุก่อสร้าง ซึ่งล้วนแล้วมีความเสี่ยงทางธุรกิจสูง  ส่วนหุ้นที่มี beta ต่ำก็มักจะเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำกว่า หุ้นที่มี beta สูง discount rate ก็จะสูงตามไปด้วยครับ
ถึงตรงนี้เราได้ 2 ประเด็นแล้วครับว่า ถ้าช่วงไหนดอกเบี้ยในท้องตลาดสูงขึ้น discount rate ที่ใช้คำนวณ DCF ก็จะสูง  ทำให้ราคาหุ้นตามวิธี DCF ก็จะต่ำลง  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อดอกเบี้ยลดลงและมีแนวโน้มจะปรับตัวลดลงเมื่อมีข่าวว่าดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น  ดังนั้นในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น  หุ้นมักจะมี p/e ต่ำ แต่ในช่วงดอกเบี้ยขาลง หุ้นจะมี p/e สูง
ส่วนเรื่อง beta หรือความเสี่ยงนั้น ก็เช่นกันครับ หุ้นที่มีความเสี่ยงหรือ beta สูง ก็จะทำให้ discount rate สูง  ราคาหุ้นตามวิธี DCF ก็จะต่ำลง      ดังนั้นหุ้นที่มี beta หรือความเสี่ยงสูง  ก็ควรจะมี p/e ต่ำกว่าหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ

Title: Re: ต้องทำ DCF ด้วยหรือไม่ ?
ส่งโดย <<GOOD LIFE>> on 05/27/23 เวลา 14:10:43
การคิดกระแสเงินสดสุทธิ หรือ   Free cash flow มีสูตรดังนี้ครับ
Free cash flow = กำไรสุทธิ + ค่าเสื่อมราคา + การเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน + รายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์
เงินทุนหมุนเวียน คือ เงินสดที่ต้องใช้ในการซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการขายสินค้าและบริการ
รายการการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเป็น ลบ ก็ต่อเมื่อ
- มีการ  เพิ่มขึ้น ของสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ เพราะต้องใช้เงินในการซื้อวัตถุดิบ
- มีการ เพิ่มขึ้น ของลูกหนี้การค้า    แสดงว่ารายได้ 100 บาท เข้ามาเป็นเงินสดไม่ถึง 100 บาท
- มีการ ลดลง ของเจ้าหนี้การค้า   แสดงว่ารายจ่าย 100 บาท ยังไม่ต้องจ่ายทั้งหมด 100 บาทในทันที
การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเป็น บวก ก็ต่อเมื่อ
- มีการ ลดลง ของสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ แสดงว่าสินค้าที่ขายออกไปมีมากกว่าที่ซื้อวัตถุดิบเข้ามา
- มีการ ลดลง ของลูกหนี้การค้า  
- มีการ เพิ่มขึ้น ของเจ้าหนี้การค้า
..
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในธุรกิจทั่วๆไป   เมื่อมีการขยายกิจการ คือ มีการผลิตสินค้ามากขึ้น ก็ย่อมจะต้องมีการสั่งวัตถุดิบและมีจำนวนสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้นก็ย่อมทำให้ลูกหนี้การค้ามากขึ้น ดังนั้นธุรกิจทั่วๆ ไปเมื่อมีการขยายกิจการจะทำให้การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะติดลบ คือธุรกิจนั้นๆ  จะต้องใช้เงินสดในกิจการมากขึ้น     ดังนั้นธุรกิจส่วนใหญ่แม้ยอดขายเพิ่มขึ้นและกำไรเพิ่มขึ้น แต่เงินสดที่เข้ามาในบริษัทมักจะต่ำกว่ากำไร แต่ธุรกิจที่เมื่อขยายสาขาหรือมีรายได้เพิ่มขึ้นแต่กลับยิ่งมีเงินสดมากขึ้น   คือธุรกิจค้าปลีก เพราะมีการขายเป็นเงินสด แต่จ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ค่าสินค้าเป็นเงินเชื่อ ดังนั้นวันที่เปิดสาขาใหม่ ก็จะได้เงินสดมาทันทีแต่เงินสดนั้นจะถูกจ่ายให้กับเจ้าหนี้ในอีก 45-60 วัน  ดังนั้นหากมีการคิด DCF ธุรกิจค้าปลีกเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ถ้ากำไรสุทธิต่อปีเท่าๆ กัน    ธุรกิจค้าปลีกจะมีกระแสเงินสดสุทธิ หรือ Free cash flow สูงกว่าธุรกิจอื่นๆ  จึงเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมหุ้นค้าปลีกจึงมี p/e สูงกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ  ที่มีการเติบโตของกำไรเท่าๆ กัน
ยิ่งธุรกิจใดให้เครดิตลูกหนี้การค้ายิ่งนาน  บริษัทนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียนติดลบมากกว่าบริษัทที่ให้เครดิตลูกหนี้สั้นกว่า     และบริษัทใดที่ขายสินค้าเป็นเงินสด   ก็จะทำให้ใช้เงินทุนหมุนเวียนน้อยกว่ามาก
บริษัทใดที่มีการขายสินค้าโดยใช้เวลานาน ก็จะใช้เงินทุนหมุนเวียนมากกว่าบริษัทที่ขายสินค้าในเวลาอันสั้นกว่า และอย่างที่ผมพูดไปในหน้าก่อนๆ คือ ยิ่งขายได้เร็วก็ทำให้ผลตอบแทนต่อเงินลงทุนสูง  ดังนั้นสิ่งที่เถ้าแก่คนจีนนิยมทำนานมาแล้วคือ   เน้นการขายเร็วๆ มากๆ เอา volume   ก็เป็นความคิดที่ถูกต้องตามทฤษฎีการเงิน แม้ว่าอาเฮียเหล่านั้นจะไม่ได้เรียน MBA มาก็ตาม
รายจ่ายในการลงทุนในสินทรัพย์     เป็นรายการ ลบ ในการหา Free cash flow  ยิ่งมีการลงทุนมากๆ   Free cash flow ก็ยิ่งมีโอกาสติดลบมากขึ้น ดังนั้นหุ้นที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการขยายกิจการ ก็จะทำให้  Free cash flow ติดลบมากกว่าหุ้นที่สามารถขยายกิจการโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก     โดยทั่วไปหุ้นในภาคการผลิต  อุตสาหกรรม มักจะต้องใช้เงินลงทุนในการขยายกิจการมากกว่าหุ้นประเภทธุรกิจบริการ เมื่อใช้เงินทุนน้อย  กระแสเงินสดก็จะเป็นบวกได้มากกว่า หุ้นภาคบริการมักจะมีมูลค่าแบบ DCF สูงกว่าหุ้นในภาคการผลิตแม้ว่าจะมีกำไรสุทธิในแต่ละปีหรือปัจจัยอื่นๆใกล้กัน  ดังนั้นหุ้นที่ทำธุรกิจบริการมักจะมี p/e สูงกว่าหุ้นในภาคอุตสาหกรรม
หุ้นที่ต้องใช้เงินลงทุนหมุนเวียน  (เงินสด) จำนวนมากในการเพิ่มยอดขาย มักจะต้องมีการกู้เงินระยะสั้น หรือ Bank O/D จากธนาคารเพื่อมาเป็นเงินทุนหมุนเวียน  และยังอยู่ในธุรกิจที่ต้องลงทุนจำนวนมากเพื่อขยายกำลังการผลิต และยิ่งหุ้นดังกล่าวมีหนี้ในสัดส่วนที่สูงด้วยนั้น   หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะมีโอกาสสูงที่จะต้องหาแหล่งเงินทุนอื่นๆ ที่ไม่ใช่การกู้เงินเพื่อชดเชยกระแสเงินสดที่ติดลบในอนาคต  ดังนั้นหุ้นที่มีลักษณะเหล่านี้ร่วมกันจึงมีความเสี่ยงในการเพิ่มทุนสูง เมื่อหุ้นมีการเพิ่มทุนก็ย่อมทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง ดังนั้นหุ้นที่มีความเสี่ยงในการเพิ่มทุนมักจะมี p/e ที่ต่ำกว่าหุ้นที่สามารถเติบโตได้โดยไม่ต้องเพิ่มทุน

Title: Re: ต้องทำ DCF ด้วยหรือไม่ ?
ส่งโดย <<GOOD LIFE>> on 05/27/23 เวลา 14:11:00
การเติบโตทางธุรกิจ
เนื่องจากการทำ DCF คือการประมาณกระแสเงินสดในอนาคต ดังนั้นหุ้นที่มีการเติบโตในอนาคตสูง ก็จะมีกระแสเงินสดในอนาคตที่เพิ่มขึ้นกว่าปัจจุบันมาก ดังนั้นหุ้นที่มีการเติบโตสูงจึงจะมี DCF สูงกว่าหุ้นที่มีการเติบโตต่ำ
..    
ปัจจัยสุดท้ายที่มีผลต่อการคำนวณ DCF ก็คือ มูลค่าเงินสด หรือหนี้สินสุทธิ   ซึ่งก็คือ
เงินสดสุทธิ = เงินสดในบริษัท - หนี้สินระยะยาว - หนี้สินระยะสั้นที่มีดอกเบี้ย
ดังนั้น  ถ้าปัจจัยทุกอย่างเหมือนกันหมด  หุ้นที่มีเงินสดสุทธิเป็นบวกก็จะมี DCF สูงกว่าหุ้นที่มีหนี้สิน
สรุป  
มูลค่าหุ้นตามแบบ DCF  จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญดังนี้ครับ
- อัตราดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยต่ำลง   มูลค่า DCFจะสูงขึ้น
- ความเสี่ยงของธุรกิจ  ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูง DCF ก็จะต่ำ
- การให้เครดิตลูกค้ายาวๆ  DCF จะต่ำ
- การได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้ายาวๆ DCF จะสูง
- ขายสินค้าได้เร็ว  มีการเก็บสินค้าคงคลังต่ำ DCF จะสูง
- ต้องมีการลงทุนจำนวนมากๆ  ในการขยายกิจการ เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดในแต่ละปี DCF จะต่ำ
- มีการเติบโตสูง DCF จะสูง
- มีหนี้มากๆ  DCF จะต่ำ
สำหรับ DCF กับ p/e จะมีความสัมพันธ์กัน  หากหุ้น 2 ตัวที่ปัจจุบันมีกำไรสุทธิเท่ากัน  หุ้นตัวที่มีราคาเป้าหมายโดยวิธี DCF สูงกว่า จะมี p/e  ที่เหมาะสมสูงกว่าหุ้นที่มีราคาเป้าหมายโดยวิธี DCF ต่ำกว่า  ดังนั้น   ด้วยย่อหน้าข้างบน  เราสามารถเปลี่ยนคำว่า DCF เป็น p/e ได้เป็น
- อัตราดอกเบี้ย  ถ้าดอกเบี้ยต่ำลง   p/e ของหุ้นจะสูงขึ้น
ื - ความเสี่ยงของธุรกิจ  ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูง p/e ก็จะต่ำ
- การให้เครดิตลูกค้ายาวๆ p/e จะต่ำ
- การได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้ายาวๆ p/e จะสูง
- ขายสินค้าได้เร็ว  มีการเก็บสินค้าคงคลังต่ำ p/e จะสูง
- ต้องมีการลงทุนจำนวนมากๆ  ในการขยายกิจการ เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดในแต่ละปี p/e จะต่ำ
- มีการเติบโตสูง p/e จะสูง
- มีหนี้มากๆ p/e จะต่ำ
เมื่อเราเข้าใจหลักของ DCF แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องทำ model DCF ก็ได้ เพียงแต่เราต้องเข้าใจว่าธุรกิจที่เราต้องการวิเคราะห์นั้นเป็นอย่างไร มีการเติบโตสูงหรือต่ำ มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงหรือไม่ เมื่อต้องการขยายธุรกิจต้องใช้เงินทุนจำนวนมากหรือไม่ มีหนี้มากหรือน้อยเพียงใด

Title: Re: ต้องทำ DCF ด้วยหรือไม่ ?
ส่งโดย 6699 on 05/27/23 เวลา 18:50:23
#การประเมินมูลค่า
 -ถ้าต้องการลงทุนอะไรสักอย่าง เช่นหุ้น หรือที่ดิน หรือบ้าน เราต้องประเมินว่า มูลค่ามันมีค่าเท่าไหร่ ถูกหรือแพง การประเมิน ประกอบด้วยตัวแปรสองตัว คือ ผลตอบแทนประจำปี และอัตราเติบโตของผลกำไร สองอย่างนี้ ต้องเอามาคิดคำนวณดูว่า เป็นอย่างไรกัน แต่อัตราการเติบโตของผลกำไร จะเป็นตัวสำคัญที่สุด สำคัญมากกว่า ผลตอบแทน
สมการในการคำนวณคือ

 -มูลค่า = ผลตอบแทน X ( 8.5 + 2xอัตราการเติบโตของผลกำไร)

 -ถ้าหากว่า ต้องการซื้อบ้านให้เขาเช่า ซื้อมา 100 บาท ให้เขาเช่า ได้ปีละ 4 บาท ดังนั้น บ้านหลังนี้ จะมีมูลค่าประมาณ = 4 x (8.5+ 2x0) = 4x8.5 =34 บาท ไม่ใช่จำนวน 100 บาท ซื้อเมื่อไหร่ ก็ขาดทุนเมื่อนั้น เงินหายไปประมาณ 66 บาททันที

  -ดังนั้น ถ้าใครมีความคิดว่าจะซื้อคอนโดราคา 4 ล้านบาท แล้วปล่อยเช่าเดือนละ 14000 บาท หรือผลตอบแทนประมาณ 4% แต่ผ่อนธนาคารดอกเบี้ย 3.5% เท่ากับเอาดอกเบี้ยมาจ่ายค่าเช่า ในเวลา 15-20 ปี ก็จะได้คอนโดฟรีๆ ตามหนังสือคนที่มีพ่อสองคนสอน ใครคิดแบบนี้ ตอนตายมีโอกาสได้ขึ้นสวรรค์ เพราะแต่ละวัน ต้องสวดมนตร์อ้อนวอนพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ ให้ช่วยเหลือ

 -แต่ถ้าหากว่า เราสามารถขึ้นค่าเช่าได้ปีละ 3% สมการนี้จะเปลี่ยนไปทันทีนิดหน่อย
  มูลค่าจะประมาณ = 4x(8.5 + 2x3) = 4x14.5 = 58% ดังนั้น บ้านหลังนี้ มูลค่าประมาณ 58 บาท ถ้าหากว่า จ่ายเงินซื้อไป เมื่อไหร่จะขาดทุนทันที 42 บาท

 -แต่ถ้าหากว่า มูลค่าบ้านเพิ่มปีละ 7% เช่น บ้านหลังหนึ่ง ราคาตอนนี้ ราคา 100 บาท แต่อีกสิบปีข้างหน้า จะราคา 200 บาท หรือเพิ่มเท่าตัว การเพิ่มเท่าตัวในสิบปี จะมีการเติบโตประมาณ 7.2% ดังนั้น อัตราการเติบโต รวมจะมีค่าประมาณ 7.2+3=10.2 เมื่อเอามาเข้าสมการจะได้มูลค่าที่แท้จริงคือ

  มูลค่า = 4x(8.5+ 2x 10.2) = 4x (8.5 + 20.4) = 4x28.9 = 115.6

  -การซื้อบ้านแบบนี้ เป็นการลงทุน ที่มีส่วนลด เป็นเสื้อเกราะของเราประมาณ 15.6% และมีผลตอบแทนรวม คือ 4+10.2= 14.2%

  -อย่าดูถูกผลตอบแทน 14.2% ผลตอบแทนแบบนี้ ห้าปี มันจะโตขึ้นเท่าตัวหนึ่ง

 -เรื่องแบบนี้ มีข้อควรระวัง คือถ้าเป็นบริษัท ที่อัตราโต 14.2% ต่อปี บริษัทนี้จะมีขนาดเป็นสองเท่าทุกห้าปี หมายความว่า ครึ่งหนึ่งของพนักงาน จะมีอายุงานไม่ถึง 5 ปี และฐานลูกค้าก็ค่อนข้างใหม่ การจัดสรรภายในก็ยุ่งยาก วุ่นวาย บริษัทต้องขยายสำนักงาน หรือโครงการทุก 5 ปี และยิ่งกว่านั้น บริษัทแบบนี้ ก็จะดึงดูดให้คู่แข่งขันตัวเจ๋งๆเข้ามาร่วมด้วย ต้องระวังข้อเท้าอคิรีสเอาไว้ แต่ถ้าทำการลงทุนเงียบๆ เป็นความลับ เหมือนสูตรลับของโคคาโคล่า ก็ยังสามารถทำเงินได้เรื่อยๆ

 -หน้าที่ของเรา  คือการมองหาการลงทุนที่มีมูลค่าสูงกว่าราคาที่จ่ายไป ถ้าเราคำนวณมูลค่าไม่ได้ เรายินดีที่จะอยู่นิ่งๆ  เราสามารถอยู่นิ่งๆได้นานมากกว่า 10ปี โดยไม่ทำอะไรเลย การอยู่นิ่งๆ ไม่มีผลตอบแทนอะไรเลย ในเรื่องของการลงทุน เราเรียกว่า "ทศวรรษที่หายไป" ผลลัพท์ก็คือ ผลตอบแทนโดยรวมจะลดไปประมาณ 2% ของที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้เท่านั้นเอง

 -และด้วยวิธีการนี้ ถึงแม้เราจะขาดทุนไป 50% ผลตอบแทนระยะยาว ของเราจะลดไปแค่ 2% เช่นเดียวกัน จากเป้าหมาย 10% ต่อปี จะเหลือ 8% ต่อปี

 -วิธีนี้ สามารถใช้คำนวณเรื่องพันธบัตร เงินฝากในธนาคาร หรือสหกรณ์ การซื้อหุ้นกู้ในตลาดหลักทรัพย์ การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งในประเทศ และนอกประเทศได้

 -ด้วยการคิดแบบนี้ ปีที่แล้ว มีบางคนทำกำไรได้ 200 ล้านภายในปีเดียว โดยอาศัยเงินเฟ้อเป็นตัวทำกำไร

 -บางที การเรียนในมหาวิทยาลัย อาจจะต้องสอนเรื่องการลงทุน การเก็งกำไร การหนีจากลงทุนที่แย่ๆ ไม่ได้เรื่อง ว่างเปล่า เป็นวิชาเลือกของนักศึกษา โลกเราในปัจจุบัน ขับเคลื่อนด้วยเงิน ถ้าไม่มีเงิน ก็ไม่มีชีวิต

Title: Re: ต้องทำ DCF ด้วยหรือไม่ ?
ส่งโดย <<GOOD LIFE>> on 05/30/23 เวลา 15:15:57

on 05/27/23 เวลา 18:50:23, 6699 wrote:
#การประเมินมูลค่า
 -ถ้าต้องการลงทุนอะไรสักอย่าง เช่นหุ้น หรือที่ดิน หรือบ้าน เราต้องประเมินว่า มูลค่ามันมีค่าเท่าไหร่ ถูกหรือแพง การประเมิน ประกอบด้วยตัวแปรสองตัว คือ ผลตอบแทนประจำปี และอัตราเติบโตของผลกำไร สองอย่างนี้ ต้องเอามาคิดคำนวณดูว่า เป็นอย่างไรกัน แต่อัตราการเติบโตของผลกำไร จะเป็นตัวสำคัญที่สุด สำคัญมากกว่า ผลตอบแทน
สมการในการคำนวณคือ

 -มูลค่า = ผลตอบแทน X ( 8.5 + 2xอัตราการเติบโตของผลกำไร)

 -ถ้าหากว่า ต้องการซื้อบ้านให้เขาเช่า ซื้อมา 100 บาท ให้เขาเช่า ได้ปีละ 4 บาท ดังนั้น บ้านหลังนี้ จะมีมูลค่าประมาณ = 4 x (8.5+ 2x0) = 4x8.5 =34 บาท ไม่ใช่จำนวน 100 บาท ซื้อเมื่อไหร่ ก็ขาดทุนเมื่อนั้น เงินหายไปประมาณ 66 บาททันที

  -ดังนั้น ถ้าใครมีความคิดว่าจะซื้อคอนโดราคา 4 ล้านบาท แล้วปล่อยเช่าเดือนละ 14000 บาท หรือผลตอบแทนประมาณ 4% แต่ผ่อนธนาคารดอกเบี้ย 3.5% เท่ากับเอาดอกเบี้ยมาจ่ายค่าเช่า ในเวลา 15-20 ปี ก็จะได้คอนโดฟรีๆ ตามหนังสือคนที่มีพ่อสองคนสอน ใครคิดแบบนี้ ตอนตายมีโอกาสได้ขึ้นสวรรค์ เพราะแต่ละวัน ต้องสวดมนตร์อ้อนวอนพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ ให้ช่วยเหลือ

 -แต่ถ้าหากว่า เราสามารถขึ้นค่าเช่าได้ปีละ 3% สมการนี้จะเปลี่ยนไปทันทีนิดหน่อย
  มูลค่าจะประมาณ = 4x(8.5 + 2x3) = 4x14.5 = 58% ดังนั้น บ้านหลังนี้ มูลค่าประมาณ 58 บาท ถ้าหากว่า จ่ายเงินซื้อไป เมื่อไหร่จะขาดทุนทันที 42 บาท

 -แต่ถ้าหากว่า มูลค่าบ้านเพิ่มปีละ 7% เช่น บ้านหลังหนึ่ง ราคาตอนนี้ ราคา 100 บาท แต่อีกสิบปีข้างหน้า จะราคา 200 บาท หรือเพิ่มเท่าตัว การเพิ่มเท่าตัวในสิบปี จะมีการเติบโตประมาณ 7.2% ดังนั้น อัตราการเติบโต รวมจะมีค่าประมาณ 7.2+3=10.2 เมื่อเอามาเข้าสมการจะได้มูลค่าที่แท้จริงคือ

  มูลค่า = 4x(8.5+ 2x 10.2) = 4x (8.5 + 20.4) = 4x28.9 = 115.6

  -การซื้อบ้านแบบนี้ เป็นการลงทุน ที่มีส่วนลด เป็นเสื้อเกราะของเราประมาณ 15.6% และมีผลตอบแทนรวม คือ 4+10.2= 14.2%

  -อย่าดูถูกผลตอบแทน 14.2% ผลตอบแทนแบบนี้ ห้าปี มันจะโตขึ้นเท่าตัวหนึ่ง

 -เรื่องแบบนี้ มีข้อควรระวัง คือถ้าเป็นบริษัท ที่อัตราโต 14.2% ต่อปี บริษัทนี้จะมีขนาดเป็นสองเท่าทุกห้าปี หมายความว่า ครึ่งหนึ่งของพนักงาน จะมีอายุงานไม่ถึง 5 ปี และฐานลูกค้าก็ค่อนข้างใหม่ การจัดสรรภายในก็ยุ่งยาก วุ่นวาย บริษัทต้องขยายสำนักงาน หรือโครงการทุก 5 ปี และยิ่งกว่านั้น บริษัทแบบนี้ ก็จะดึงดูดให้คู่แข่งขันตัวเจ๋งๆเข้ามาร่วมด้วย ต้องระวังข้อเท้าอคิรีสเอาไว้ แต่ถ้าทำการลงทุนเงียบๆ เป็นความลับ เหมือนสูตรลับของโคคาโคล่า ก็ยังสามารถทำเงินได้เรื่อยๆ

 -หน้าที่ของเรา  คือการมองหาการลงทุนที่มีมูลค่าสูงกว่าราคาที่จ่ายไป ถ้าเราคำนวณมูลค่าไม่ได้ เรายินดีที่จะอยู่นิ่งๆ  เราสามารถอยู่นิ่งๆได้นานมากกว่า 10ปี โดยไม่ทำอะไรเลย การอยู่นิ่งๆ ไม่มีผลตอบแทนอะไรเลย ในเรื่องของการลงทุน เราเรียกว่า "ทศวรรษที่หายไป" ผลลัพท์ก็คือ ผลตอบแทนโดยรวมจะลดไปประมาณ 2% ของที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้เท่านั้นเอง

 -และด้วยวิธีการนี้ ถึงแม้เราจะขาดทุนไป 50% ผลตอบแทนระยะยาว ของเราจะลดไปแค่ 2% เช่นเดียวกัน จากเป้าหมาย 10% ต่อปี จะเหลือ 8% ต่อปี

 -วิธีนี้ สามารถใช้คำนวณเรื่องพันธบัตร เงินฝากในธนาคาร หรือสหกรณ์ การซื้อหุ้นกู้ในตลาดหลักทรัพย์ การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งในประเทศ และนอกประเทศได้

 -ด้วยการคิดแบบนี้ ปีที่แล้ว มีบางคนทำกำไรได้ 200 ล้านภายในปีเดียว โดยอาศัยเงินเฟ้อเป็นตัวทำกำไร

 -บางที การเรียนในมหาวิทยาลัย อาจจะต้องสอนเรื่องการลงทุน การเก็งกำไร การหนีจากลงทุนที่แย่ๆ ไม่ได้เรื่อง ว่างเปล่า เป็นวิชาเลือกของนักศึกษา โลกเราในปัจจุบัน ขับเคลื่อนด้วยเงิน ถ้าไม่มีเงิน ก็ไม่มีชีวิต


จากสมการ ถ้าย้ายผลตอบแทนมาหารราคาจะได้ PE
ราคา/ผลตอบแทน=8.5 +(2*อัตราการเติบโตของผลกำไร)

หากไม่มีการเติบโตเลยจะได้ PE=8.5

ในสมการนี้ให้เติบโตของกำไรในระยะยาวได้สูงสุดที่ 7% เท่ากับว่าPEสูงสุดที่สามารถยอมรับได้คือ 22.5 เท่า

การประเมินมูลค่าหุ้น ให้ PE มากสุดไม่ควรเกินนี้
(อ้างอิงตาม Benjamin Graham)






ThaiClinic.Com . All Rights Reserved.