ThaiClinic.Com (http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl)
For MD. >> Doctor Room l ห้องพักแพทย์ >> "แบ็กซ์เตอร์" ส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาอย่างเสมอภาคในวันไตโลก
(Message started by: IQ on 03/12/21 เวลา 07:12:48)

Title: "แบ็กซ์เตอร์" ส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาอย่างเสมอภาคในวันไตโลก
ส่งโดย IQ on 03/12/21 เวลา 07:12:48
แบ็กซ์เตอร์ (Baxter) ผู้นำระดับโลกด้านการฟอกไต มีความภูมิใจที่ได้สนับสนุนวันไตโลกในปีนี้ ภายใต้คำขวัญ "ไตวายไม่ตายไว แค่ปรับใจและปรับตัว" (Living Well with Kidney Disease)

โรคไตส่งผลกระทบต่อประชากรโลกราว 10% ส่วนในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันมีประชากร 11.6 ล้านคน (17.5%) ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ขณะที่ 5.7 ล้านคน (8.6%) เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (ESRD, ระยะที่ 3 ถึง 5) และกว่า 100,000 คนจำเป็นต้องฟอกไต(1) โดยจำนวนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่จำเป็นต้องฟอกไตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีประชากรสูงวัยมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มสูงขึ้นของโรคไม่ติดต่อ ซึ่งสาเหตุหลักของโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายคือ โรคไตจากเบาหวาน (39%) ตามด้วยโรคความดันโลหิตสูง (31%) การอุดกั้นในระบบทางเดินปัสสาวะ (4%) และภาวะไตอักเสบ (2%) ทั้งนี้ รายงานจากระบบข้อมูลโรคไตแห่งสหรัฐอเมริกาประจำปี 2561 ระบุว่า ประเทศไทยอยู่ใน 5 อันดับแรกของโลกในการจัดอันดับประเทศที่มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษามากที่สุด(2)

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายส่วนใหญ่ต้องรับการรักษาด้วยการฟอกไตตลอดชีวิต ไม่ว่าจะด้วยการฟอกไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis - PD) ซึ่งเป็นการรักษาที่ทำได้ที่บ้านของผู้ป่วย หรือการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis - HD) ซึ่งต้องทำที่คลินิกหลายครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ ความตั้งใจของแบ็กซ์เตอร์คือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการรักษาโรคไตให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง โดยเราสนับสนุนการฟอกไตทางช่องท้อง (PD) และการฟอกไตทางช่องท้องแบบอัตโนมัติ (APD) ซึ่งทำได้ที่บ้าน นอกจากนี้ แบ็กซ์เตอร์ยังดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกฟอกไตทั่วประเทศ

วิกฤตโรคระบาดได้ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาจากที่บ้าน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถรักษาระยะห่างทางสังคมระหว่างเกิดวิกฤตด้านสุขภาพระดับโลก โดยโรคโควิด-19 ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ป่วยฟอกไตที่มีความเปราะบางอยู่แล้ว เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีโรคร่วมและภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับภาวะไตล้มเหลว ดังนั้น แบ็กซ์เตอร์เชื่อว่ารูปแบบการรักษาที่ยืดหยุ่นจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาตัวเองได้โดยเกิดผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเพียงเล็กน้อย อีกทั้งยังช่วยลดภาระของระบบสาธารณสุขในประเทศไทยด้วย

ดร. นรา เดชะรินทร์ ผู้จัดการบริษัท แบ็กซ์เตอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า "เราภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับวันไตโลกในการสนับสนุนผู้ป่วยโรคไตและครอบครัว รวมถึงผู้ให้บริการด้านการรักษาพยาบาล วันไตโลกคือช่วงเวลาที่ทั่วโลกจะได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการอาการของโรคไตและการสนับสนุนผู้ป่วยฟอกไตหลายล้านคนทั่วประเทศ

เราเชื่อว่าการรักษาโรคไตควรเริ่มต้นด้วยการจัดการกับอาการของโรค (การจัดการโรคไตเรื้อรัง) ก่อนที่จะต้องรับการรักษาด้วยการฟอกไต หากเมื่อมีความจำเป็นต้องฟอกไต ผู้ป่วยที่เข้าข่ายควรเข้าถึงการรักษาจากบ้านได้ ซึ่งจะเป็นการดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรักษาระยะห่างทางสังคมระหว่างช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 เพราะนอกจากผู้ป่วยฟอกไตจะมีความเสี่ยงสูงกว่าในการติดเชื้อไวรัสต่างๆ แล้ว งานวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับผู้ป่วยฟอกไตที่ติดเชื้อโควิด-19 ยังบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยฟอกไตที่ติดเชื้อโควิด-19 มีอัตราการเสียชีวิตเกือบ 25%(3) ซึ่งสูงกว่าผู้ป่วยฟอกไตที่ไม่ติดเชื้อ ด้วยเหตุนี้ เราจึงร่วมมือกับวันไตโลกเพื่อเชิญชวนให้ทุกคนช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้ เข้าถึงเทคโนโลยีและกระบวนการที่จะช่วยให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดี"

เกี่ยวกับแบ็กซ์เตอร์

ในแต่ละวัน ผู้ป่วยและผู้ดูแลหลายล้านคนใช้ผลิตภัณฑ์ระดับแนวหน้าของแบ็กซ์เตอร์ ทั้งผลิตภัณฑ์เวชบำบัดวิกฤต โภชนาการ โรคไต ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในโรงพยาบาล และผลิตภัณฑ์สำหรับการผ่าตัด โดยตลอดระยะเวลากว่า 85 ปีที่ผ่านมา เราได้เชื่อมโยงนวัตกรรมที่ช่วยรักษาชีวิตผู้คนกับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสามารถในการรักษาชีวิตผู้คน ทั้งนี้ ด้วยผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีและวิธีการรักษาที่พร้อมให้บริการในกว่า 100 ประเทศ พนักงานของแบ็กซ์เตอร์ทั่วโลกได้สานต่อความสำเร็จทางการแพทย์เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ในการรักษาพยาบาลที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อไป

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.baxter.com และติดตามเราได้ทาง Twitter, LinkedIn และ Facebook

อ้างอิง

1. Krittayaphong R, Rangsin R, Thinkhamrop B, Hurst C, Rattanamongkolgul S, Sripaiboonkij N, Wangworatrakul W:Prevalence of chronic kidney disease associated with cardiac and vascular complications in hypertensive patients. A multicenter, nationwide study in Thailand.BMC Nephrol 18: 115, 2017
2. United States Renal Data System: 2018 USRDS annual data report: Chapter II - International comparisons
3. Chuasuwan A, Praditpornsilpa K: Thailand renal replacement therapy - Year 2015



ThaiClinic.Com . All Rights Reserved.