ThaiClinic.Com (http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl)
For MD. >> Doctor Room l ห้องพักแพทย์ >> ลาออก เหตุผลลงสมัครเลือกตั้ง
(Message started by: afonzo on 12/07/20 เวลา 14:53:53)

Title: ลาออก เหตุผลลงสมัครเลือกตั้ง
ส่งโดย afonzo on 12/07/20 เวลา 14:53:53
จากที่อ่านมาหลายกระทู้ ผมสงสัยว่า ทำไมลาออกจากราชการ
พี่ๆ ถึงแนะนำให้ลงเหตุผลว่า ขอลงสมัครเลือกตั้ง ครับ
ขอบคุณครับ

Title: Re: ลาออก เหตุผลลงสมัครเลือกตั้ง
ส่งโดย 6699 on 12/07/20 เวลา 15:12:41
ถ้าไม่ได้เป็นสส. จะกลับรับเข้าราชการต่อได้ ถ้าตำแหน่งยังเหลืออยู่
ถ้าลาออกปกติ จะต้องใช้เวลาอนุมัติประมาณ หนึ่งเดือน แต่ลาออกด้วยเหตุผลจะไปเลือกตั้ง ผู้บังคับบัญชา จะต้องพิจารณาให้ออกอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกำหนดเลือกตั้ง

ถ้าใช้เหตุผลนี้ ไม่กระทบกระเทือนคนอื่น ดีกว่า ลาออกเพราะไม่พอใจระบบ
ราชการ แบบนี้กลับมาลำบาก

ถ้าใช้เหตุผลนี้ เวลาจัดงานศพ จะได้เขียนในหนังสืองานศพว่า ระหว่างรับราชการ มีความเลื่อมใสระบอบประชาธิปไตย ได้เคยลงสมัครเลือกตั้ง เป็นผู้แทนราษฏร อ่านแล้วเก๋ดี

ลาออกด้วยเหตุผลนี้ จะใช้ในกรณีจะย้ายจากที่เราไม่ชอบ ไปยังที่เราชอบได้ ย้ายได้ข้ามจังหวัด ข้ามภาคได้เลย ขอเพียงแต่มีตำแหน่งราชการอยู่ และที่นั่นยินดีรับเรา

ถ้ายังติดทุน หรือใช้ยังไม่หมด ก็สามารถพักทุนเอาไว้ก่อน ถ้าหากว่า ไม่ได้เป็นสส. จะได้กลับรับราชการมาใช้ทุนต่อไป แต่ถ้าได้เป็นสส. ก็จะทำหนังสือแจ้งว่า เมื่อพ้น  วาระสส.แล้วจะมาใช้ทุนต่อ ไม่หนี แต่ยังไม่ต้องจ่าย เพราะไม่มีระเบียบว่าต้องจ่ายเมื่อไหร่ เพราะเป็นการรับใช้ชาติอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนลาออก เพราะย้ายไปรพ.เอกชน

Title: Re: ลาออก เหตุผลลงสมัครเลือกตั้ง
ส่งโดย afonzo on 12/07/20 เวลา 15:34:13

on 12/07/20 เวลา 15:12:41, 6699 wrote:
ถ้าไม่ได้เป็นสส. จะกลับรับเข้าราชการต่อได้ ถ้าตำแหน่งยังเหลืออยู่
ถ้าลาออกปกติ จะต้องใช้เวลาอนุมัติประมาณ หนึ่งเดือน แต่ลาออกด้วยเหตุผลจะไปเลือกตั้ง ผู้บังคับบัญชา จะต้องพิจารณาให้ออกอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกำหนดเลือกตั้ง

ถ้าใช้เหตุผลนี้ ไม่กระทบกระเทือนคนอื่น ดีกว่า ลาออกเพราะไม่พอใจระบบ
ราชการ แบบนี้กลับมาลำบาก

ถ้าใช้เหตุผลนี้ เวลาจัดงานศพ จะได้เขียนในหนังสืองานศพว่า ระหว่างรับราชการ มีความเลื่อมใสระบอบประชาธิปไตย ได้เคยลงสมัครเลือกตั้ง เป็นผู้แทนราษฏร อ่านแล้วเก๋ดี

ลาออกด้วยเหตุผลนี้ จะใช้ในกรณีจะย้ายจากที่เราไม่ชอบ ไปยังที่เราชอบได้ ย้ายได้ข้ามจังหวัด ข้ามภาคได้เลย ขอเพียงแต่มีตำแหน่งราชการอยู่ และที่นั่นยินดีรับเรา

ถ้ายังติดทุน หรือใช้ยังไม่หมด ก็สามารถพักทุนเอาไว้ก่อน ถ้าหากว่า ไม่ได้เป็นสส. จะได้กลับรับราชการมาใช้ทุนต่อไป แต่ถ้าได้เป็นสส. ก็จะทำหนังสือแจ้งว่า เมื่อพ้น  วาระสส.แล้วจะมาใช้ทุนต่อ ไม่หนี แต่ยังไม่ต้องจ่าย เพราะไม่มีระเบียบว่าต้องจ่ายเมื่อไหร่ เพราะเป็นการรับใช้ชาติอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนลาออก เพราะย้ายไปรพ.เอกชน








ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะเลยครับ
ว่าแต่เหตุผลนี้ ใช้ได้ กับ สส. อย่างเดียวไหมครับ
สมัคร อบจ. อบต. เทศบาล ได้ไหมครับ

Title: Re: ลาออก เหตุผลลงสมัครเลือกตั้ง
ส่งโดย Hippo on 12/08/20 เวลา 18:13:38
โห ทำไมเราไม่รู้มาก่อนเลยเนี่ย :'(

Title: Re: ลาออก เหตุผลลงสมัครเลือกตั้ง
ส่งโดย หมอเมืองสยาม on 12/19/20 เวลา 17:16:34
                ลาออก...ปั้นเหตุผลเลือกตั้ง (ดีมั้ย)? - ไม่ดี ครับ...

Title: Re: ลาออก เหตุผลลงสมัครเลือกตั้ง
ส่งโดย หมอเมืองสยาม on 12/20/20 เวลา 21:09:56
                 ปั้นเหตุผลปลอมๆใช้อ้างลาออก  ดีมั้ย? - " พวกตัวแสบ"

Title: Re: ลาออก เหตุผลลงสมัครเลือกตั้ง
ส่งโดย หมอหมู on 12/29/20 เวลา 14:02:45

on 12/07/20 เวลา 15:34:13, afonzo wrote:
ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะเลยครับ
ว่าแต่เหตุผลนี้ ใช้ได้ กับ สส. อย่างเดียวไหมครับ
สมัคร อบจ. อบต. เทศบาล ได้ไหมครับ



ใช้ได้ครับ

แต่ ต้องสมัครจริง ๆ มีหลักฐานในการสมัครเก็บไว้ ด้วยนะครับ ไม่งั้นอาจมีปัญหาตามมา ถ้าต้องการกลับเข้ามารับราชการ แล้วเขาต้องการเอกสารยืนยัน

ปล.  สมัคร สมาชิกสภาท้องถิ่น ( สท. หรือ ส.อบจ)  จะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า สมัคร ผู้บริหารท้องถิ่น (นายกฯ)

แถม ..

พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535
มาตรา 113 ...... วรรคท้าย

ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรง ตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้น ขอลาออก



Title: Re: ลาออก เหตุผลลงสมัครเลือกตั้ง
ส่งโดย หมอหมู on 12/29/20 เวลา 14:05:01
ข้อแนะนำ ถ้าต้องลาออกจากราชการ ( Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2551 )

ที่ผมเรียบเรียงเรื่องนี้ ไม่ได้เป็นการสนับสนุนให้พวกเราลาออกจากราชการ นะครับ เพียงแต่อยากให้เป็นข้อคิด แนวทางในการตัดสินใจ ว่าจะทำอย่างไรดี ...... เรียบเรียงจากประสบการณ์ตรง ซึ่งอาจต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกหน่อยนะครับ
การตัดสินใจที่จะทำอะไรสักอย่าง ผมเชื่อว่า ต้องมีเหตุผลเบื้องหลังพอสมควร ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ อาจไม่เหมือนกัน แต่ไม่ได้บอกว่า เหตุผลนั้นดีหรือไม่ดี  ถ้าเราคิดว่า สิ่งที่เราตัดสินใจนั้นเราได้คิดอย่างรอบคอบ คิดอย่างดีแล้ว คนอื่น ๆ จะว่าอย่างไร ก็อย่าไปคิดให้รกสมองเลยครับ เพราะเวลามีปัญหาอะไรขึ้นมา คนอื่นเขาไม่ได้มาพบเจอกับเราด้วย เราเองเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดชอบผลที่เกิดจากการตัดสินใจนั้น ๆ แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ไม่ว่า ผลจะดีหรือร้าย ก็คงต้องรับไปเต็ม ๆ ดังนั้น ก่อนที่จะคิดลาออก ก็ต้องคิดให้รอบคอบไว้ด้วย

คิดก่อน
1.      เขียนข้อดีข้อเสีย ของการอยู่ หรือ ออกจากราชการ  ปัญหามันคืออะไร มีทางแก้ไขได้หรือไม่ อย่างไร ค่อย ๆ เขียนไปเรื่อย ๆ คิดได้ ก็เติมไป สัก 2 อาทิตย์ แล้วค่อยกลับมาอ่านทบทวน
2.      คุยปรึกษาเพื่อน ๆ พี่ๆ คุยกับพ่อแม่พี่น้อง เป็นการหาข้อมูล ความคิดเห็น แล้วก็ถือว่า เป็นการเกริ่นไว้คร่าว ๆ ก่อน จะได้มีเวลาเตรียมใจ เผื่อเราออกจริง ๆ
3.      วางแผนว่า ถ้าออกแล้วจะไปทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แล้วก็ลองหาข้อมูล ติดต่อไว้ก่อน เผื่อถ้ามีปัญหาติดขัดอะไร ก็จะได้แก้ไขก่อน เตรียมตัวให้พร้อมไว้ดีกว่า
     แล้วอย่าลืมว่าแผนด้านการเงินด้วยว่า ระหว่างที่ออกไป จะเอาเงินที่ไหนใช้จ่าย เงินที่เก็บไว้มีเพียงพอหรือเปล่า
4.      ติดต่อที่ ธุรการ รพ. หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (งานบุคลากร) ว่าถ้าจะลาออกจะต้องดำเนินการอย่างไร มีเอกสารอะไรบ้าง
     แล้วให้เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบเรื่องวันลาว่ายังมีสิทธ์ลาพักร้อน ลากิจ เหลืออีก กี่วัน จะได้วางแผนเรื่องเวลาได้ถูก รวมถึง ตรวจสอบสิทธิบำเหน็จ บำนาญ เงินตกเบิก เงินที่ต้องใช้คืนในกรณีติดทุน
5.      ถ้าลาออก พ่อแม่ ครอบครัว จะใช้สิทธิการรักษาอะไร ต้องใช้สิทธิบัตรสุขภาพ (บัตรทอง) หรือไม่ จะได้เตรียมเอกสารและสถานที่ติดต่อให้พร้อม ซึ่งเท่าที่สอบถาม นำเอกสาร(หนังสือให้ออกจากราชการ +สำเนาทะเบียนบ้าน +สำเนาบัตรประชาชน) ไปติดต่อได้ที่ สถานีอนามัย หรือ รพ.ในภูมิลำเนาที่อยู่ หลังจากที่ได้รับหนังสือให้ออกจากราชการแล้ว

ตัดสินใจแน่นอน
1.      ติดต่อที่ ธุรการ รพ. หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (งานบุคลากร) ขอหนังสือลาออกจากราชการ ( เป็นใบคำร้อง ขอลาออกจากราชการ ) แล้วก็กรอกรายละเอียดต่าง  ๆ ให้ครบ โดยเฉพาะ เหตุผลที่ขอลาออก ซึ่งอยากจะเน้นว่า อย่าให้เป็นเหตุผลที่อาจกระทบต่อคนอื่น ๆ มากนัก ไหน ๆ จะออกแล้วก็อย่าให้มีเรื่อง ด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องดีกว่า
2.      เสนอ ผู้อำนวยการ ซึ่งผู้อำนวยการอาจอนุมัติเลย หรือ อาจยับยั้งไว้ก็ได้ แต่ตามระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 113 ถ้าผู้อำนวยการแจ้งเหตุผลให้ทราบก็ยับยั้งได้ 90 วัน
     ส่วนกรณีที่อาจเป็นปัญหา ก็คือตามระเบียบ ถ้า ผู้อำนวยการ เฉย ๆ ไม่แจ้งยับยั้ง แต่ก็ไม่เซนต์อนุมัติ ให้ถือว่า ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ยื่น ซึ่งข้อนี้ ค่อนข้างเสี่ยงเพราะไม่ได้ระบุว่า ต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ถ้าเกิดเราไม่มาทำงาน แล้วเกิดการเล่นแง่ว่า เราขาดราชการโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ แบบนี้ก็อาจมีปัญหาได้ ซึ่งอาจไม่มาทำงาน โดยใช้วันลากิจ แต่ต้องทำเป็นหนังสือลาให้ถูกต้องด้วยนะครับ
     ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ก็น่าจะขอให้เป็นหนังสือราชการว่า ให้ออกตามคำขอ หรือ ยับยั้ง ดีกว่า
3.      ใบลาจะมีผลบังคับเมื่อได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น ถ้ายังไม่มีหนังสือแล้วหยุดเอง โดยที่ไม่ได้ทำตามระเบียนวันลาราชการ จะถือว่า ขาดราชการ ซึ่งอาจกลายเป็นถูกสั่งให้ออกจากราชการ (ปลดออก ไล่ออก) ทำให้ไม่ได้ สิทธิบำเหน็จบำนาญราชการ รวมถึงการขอเข้ารับราชการใหม่ด้วย
4.      ควรทำให้ถูกต้องตามระเบียบ อาจช้าหน่อย แต่ก็ต้องเผื่อไว้ด้วยว่า เราอาจจะกลับเข้ารับราชการใหม่ เพราะถ้าเป็นการออกจากราชการด้วยเหตุผลว่า “ ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก “ อยากจะเข้ามารับราชการใหม่ ไม่ว่าที่ไหน ตำแหน่งอะไร ก็มีปัญหาแน่นอน อ้อ รวมถึงตำแหน่งทางการเมืองด้วยนะครับ

ข้อแนะนำ ถ้าต้อง ลาออกจากราชการ มีขั้นตอนอย่างไร? ...      
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-02-2008&group=27&gblog=19

Title: Re: ลาออก เหตุผลลงสมัครเลือกตั้ง
ส่งโดย DrWinny on 01/10/21 เวลา 15:17:40
ขอแทรกนิด...ด่วนนะ...่ช่วยแจ้งแพทยอื่นด้วย

--
แต่ที่แน่ๆๆ

หากแพทย์ไม่แก้ไข ด้วยที่แพทย์ส่วนใหญ่ ควรทำการลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา ก็อาจมีคะแนนผีอ้างเลขประกอบวิชาชีพของท่านไปใช้ได้

และมีเวลาเหลือน้อยมาก คือ  

เพียงอีก ๔ วันนี้เท่านั้น ที่พอทำได้คือการเลือก (ปิดรับลงคะแนน ๑๔ มค ๖๔ เวลา ๑๖.๓๐ น.)  

และเวลานี้ ทำได้เฉพาะผู้ที่ลงทะเบียน e vote แล้วเท่านั้น
หากเป็นผู้มีบัตรเลือกตั้งทางไปรษณีีย์  ต้องส่งทาง ปณ.เท่านั้น (ห้ามไปส่งที่สำนักงานแพทสภา แบบปีก่อนๆ )  ซึ่งอาจไปถึงเกินเวลาปิดรับ ก็จะกลายเป็นบัตรเสีย

ดังนั้นหากจะต้องส่งทาง ปณ.ให้ทันในเวลานี้  ควรส่งที่เคาเตอร์ ปณ.นนทบุรี อันเป็นที่ตั้งของ แพทยสภา ก็อาจจะพอทันนะ



ThaiClinic.Com . All Rights Reserved.