ThaiClinic.Com (http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl)
For MD. >> Doctor Room l ห้องพักแพทย์ >> มว.ยกระดับคุณภาพการผลิตสมุนไพรไทย ขานรับดีมานด์พุ่งหลังกระแสรักสุขภาพ
(Message started by: IQ on 11/12/20 เวลา 14:06:43)

Title: มว.ยกระดับคุณภาพการผลิตสมุนไพรไทย ขานรับดีมานด์พุ่งหลังกระแสรักสุขภาพ
ส่งโดย IQ on 11/12/20 เวลา 14:06:43
ผลักดันให้เกษตรกรปลูกสมุนไพรเพื่อเป็นวัตถุดิบตามระบบคุณภาพเกษตรอินทรีย์ หรือ GAP (Good Agricultural Practice)   พัฒนาโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) ให้ได้มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) สนับสนุนและพัฒนาวัสดุอ้างอิง/สารมาตรฐาน สำหรับการวัดรายการที่จำเป็นในสมุนไพร เพื่อให้ผลการวัดเป็นที่ยอมรับ และยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่การยอมรับในระดับสากล
เดินหน้าระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI : National Quality Infrastructure ) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ การกำหนดมาตรฐาน ( S : Standard)  มาตรวิทยา (M : Metrology)  การรับรองระบบงาน (A : Accreditation) การตรวจสอบและรับรอง (C : Conformity Assessment) การกำกับดูแลตลาด (M : Market Surveillance) ซึ่งการมีระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพที่ดีจะเป็นแรงผลักดันที่ช่วยให้กิจกรรมการพัฒนาระบบคุณภาพของประเทศสอดคล้องไปกับทุกๆ ย่างก้าวของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
สร้างองค์ความรู้ที่ส่งผลต่อการพัฒนาห่วงโซ่ความสามารถสอบกลับได้ทางมาตรวิทยา หรือ Traceability Chain ซึ่งเป็นการทำงานภายใต้ระบบ NQI ทีก่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านการพัฒนาศักยภาพห่วงโซ่การผลิตสมุนไพรที่มีคุณภาพ เพื่อให้ได้มาตรฐานและอัตลักษณ์ของสินค้าที่ทำให้นานาประเทศจดจำ



สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  รุกวางแนวทางพัฒนาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยให้มีคุณภาพ เชื่อถือได้ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยขับเคลื่อนระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI : National Quality Infrastructure ) ที่ใช้ในการสนับสนุนภาคการผลิต ตลอดจนสร้างองค์ความรู้และพัฒนาห่วงโซ่การผลิตสมุนไพรไทยให้ได้คุณภาพครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ  
มว. ได้หารือกับหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาร่วมกันรวมทั้งการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรไทย ภายใต้โครงการ “NQI เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรไทย”  ระหว่างสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี โดย นางอัฉรา เจริญสุข ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และนายแพทย์สุรินทร์  สืบซึ้ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานีลงนามร่วมกันในครั้งนี้  ณ   สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563
     ทั้ง 2 หน่วยงานได้ร่วมกันกำหนดแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพรไทยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนแม่บทแห่งชาติฯ ตลอดจนบริหารจัดการและสนับสนุนบุคลากรเพื่อการดำเนินงานในโครงการฯ พร้อมทั้งสนับสนุนการใช้สมุนไพรจากเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และร่วมผลักดันให้เกษตรกรปลูกสมุนไพรเพื่อเป็นวัตถุดิบตามระบบคุณภาพเกษตรอินทรีย์ หรือ GAP (Good Agricultural Practice)  
สร้างโรงงานต้นแบบที่หนองเสือให้ได้มาตรฐาน GMP
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ร่วมกันพัฒนาโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) ในสถานที่ของโรงพยาบาลหนองเสือ ให้ได้มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรไปสู่การยอมรับในระดับสากล  เป็นการสนับสนุน และนำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยไปสู่การใช้ประโยชน์ในระดับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในจังหวัดปทุมธานี ตลอดจนสร้างความรู้ ความเข้าใจในระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพให้แก่บุคคลากรที่เกี่ยวข้องในโครงการฯ
ประเทศไทยมีความต้องการใช้สมุนไพรเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากตลาดหันมาให้ความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่สร้างความมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค อีกทั้งคนไทยส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยกับการใช้สมุนไพรเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักยภาพของสมุนไพรไทยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้แบบครบวงจร  อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาการบริหารจัดการสมุนไพรที่ไม่เป็นระบบ ทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบหลายชนิด คุณภาพวัตถุดิบไม่ผ่านมาตรฐาน และปัญหาด้านการกำหนดมาตรฐานคุณภาพวัตถุดิบ และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก มีความสามารถในการแข่งขันน้อย ทำให้สัดส่วนสถานประกอบการด้านการผลิตสมุนไพรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตมีน้อย จึงจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมและช่วยเหลือด้านเงินทุนเพื่อให้เกิดศักยภาพตามกำหนด
อีกปัญหาหนึ่งคือ ปัญหาความท้าทายจากข้อตกลงทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิต และจำหน่ายสินค้า รวมถึงการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรที่ค่อนข้างกระจัดกระจาย และไม่เพียงต่อการรองรับการพัฒนาสมุนไพรของประเทศ จากความต้องการและปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมการปลูกให้ได้คุณภาพ สม่ำเสมอ ปลอดสารพิษ และมีกระบวนการผลิตเป็นที่ยอมรับ
ส่องระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศและบทบาทเชิงรุกของมว.
การทำงานของระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI : National Quality Infrastructure ) ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ การกำหนดมาตรฐาน ( S : Standard)  มาตรวิทยา (M : Metrology)  การรับรองระบบงาน (A : Accreditation) การตรวจสอบและรับรอง (C : Conformity Assessment) การกำกับดูแลตลาด (M : Market Surveillance) ซึ่งการมีระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพที่ดีนั้นจะเป็นแรงผลักดันที่ช่วยให้กิจกรรมการพัฒนาระบบคุณภาพของประเทศสอดคล้องไปกับทุกๆ ย่างก้าวของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบทางด้านมาตรวิทยา (M : Metrology) ได้เข้าไปมีส่วนในการพัฒนาองค์ความรู้ ความเข้าใจระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพให้แก่บุคคลากรที่เกี่ยวข้องในโครงการฯ รับผิดชอบการวิเคราะห์ตัวอย่างที่จำเป็นตามข้อกำหนดทางคุณภาพ เพื่อให้เกิดระบบโครงสร้างพื้นฐานครอบคลุมสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ   จัดอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องในระบบคุณภาพที่เกี่ยวข้อง    ตลอดจนสนับสนุนและพัฒนาวัสดุอ้างอิง/สารมาตรฐาน สำหรับการวัดรายการที่จำเป็นในสมุนไพร เพื่อให้ผลการวัดเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นองค์ความรู้ที่ส่งผลต่อการพัฒนาห่วงโซ่ความสามารถสอบกลับได้ทางมาตรวิทยา หรือ Traceability Chain ซึ่งเป็นการทำงานภายใต้ระบบ NQI ที่สร้างผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพให้แก่ห่วงโซ่การผลิตสมุนไพรที่มีคุณภาพเพื่อให้ได้มาตรฐานและเป็นการสร้างอัตลักษณ์ให้สินค้าไทยเป็นที่ยอมรับระดับโลก



ThaiClinic.Com . All Rights Reserved.