ThaiClinic.Com (http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl)
For MD. >> Doctor Room l ห้องพักแพทย์ >> Brachial Plexus Injury คัดลอกนำมาฝาก
(Message started by: หมอหมู on 08/13/20 เวลา 21:20:32)

Title: Brachial Plexus Injury คัดลอกนำมาฝาก
ส่งโดย หมอหมู on 08/13/20 เวลา 21:20:32
Brachial Plexus Injury

Brachial Plexus คืออะไร
ข่ายประสาท brachial เกิดจากการรวมกลุ่มของรากประสาทไขสันหลัง 5 เส้น คือ C 5,C 6,C 7, C 8 และ T1 เมื่อรวมตัวกันแล้วก็แบ่งออกเป็นเส้นประสาทต่างๆ ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและความรู้สึกตั้งแต่กล้ามเนื้อรอบหัวไหล่จนถึงปลายนิ้ว

อุบัติการณ์ และสาเหตุการเกิด Brachial Plexus Injury
ในปัจจุบันนี้ Brachial Plexus Injury เป็นการบาดเจ็บที่พบบ่อย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการบาดเจ็บจากรถมอเตอร์ไซด์คว่ำ สาเหตุอื่นๆ เช่น ของมีคมบาด จากกระสุนปืน จากการฉายรังสี และในเด็กแรกเกิดจากการคลอด เป็นต้น
การสูญเสียสมรรถภาพของมือและแขนของผู้ป่วยกลุ่มนี้ค่อนข้างสูงมาก บางรายทั้งแขนขยับไม่ได้เลย ไม่มีความรู้สึก และอาจมีอาการปวดมาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน จึงทำให้ประเทศชาติสูญเสียทรัพยากรทางบุคคลไปมาก

ประวัติและการตรวจร่างกาย
เนื่องจากความรุนแรงของการบาดเจ็บของเส้นประสาทมีหลายระดับ ถ้ามีความรุนแรงน้อยก็สามารถกลับคืนสภาพเองได้ แต่ถ้ารุนแรงมากจนถึงเส้นประสาทขาดต้องอาศัยการผ่าตัดต่อเส้นประสาท ดังนั้นการซักประวัติถึงสาเหตุและกลไกการบาดเจ็บจึงมีความสำคัญ นอกจากนั้นต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียด ดูว่ามีกล้ามเนื้อมัดใดที่อัมพาตไปแล้ว กล้ามเนื้อมัดใดยังทำงานได้ และตรวจความรู้สึกของมือ และแขน

การรักษา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่
1. Penetrating injury or with Vascular injury ( ชนิดมีบาดแผลหรือมีการฉีกขาดของหลอดเลือดใหญ่ร่วมด้วย )
2. Closed injury ( ชนิดไม่มีบาดแผลภายนอก )

การรักษา 1. Penetrating injury or with Vascular injury ( ชนิดมีบาดแผลหรือมีการฉีกขาดของหลอดเลือดใหญ่ร่วมด้วย )
ในกลุ่มนี้เกิดจากของมีคมบาด เช่นมีดฟัน และเกิดจากกระสุนปืน อาจมีการฉีกขาดของหลอดเลือดใหญ่ร่วมด้วย ที่สำคัญต้องทำการต่อหลอดเลือดก่อน การรักษาเรื่องเส้นประสาท มีการรักษา 2 วิธี
1. Primary repair ในบาดแผลที่สะอาด และเส้นประสาทถูกตัดด้วยของมีคม ควรต่อเส้นประสาททันทีหลังจากต่อหลอดเลือดเสร็จเรียบร้อย
2. Delayed primary repair ในรายที่ชอกช้ำมาก เช่น ถูก ปืนยิง ไม่สามารถบอกถึงความรุนแรงของการบาดเจ็บของเส้นประสาทได้ ก็ให้เย็บปลายเส้นประสาทที่ขาดติดกับเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียง เพื่อม่ให้หดหายไป หลังจากนั้น 10-14 วัน ทำการผ่าตัดใหม่ เพื่อต่อเส้นประสาทที่ขาด
   
การรักษา 2. Closed injury ( ชนิดไม่มีบาดแผลภายนอก )
ในกลุ่มนี้ต้องใช้เวลาติดตามดูอาการของผู้ป่วย มีการตรวจร่างกายเป็นระยะๆ ต้องมีการตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการ แล้วจึงจะพิจารณาการรักษาผ่าตัด
ในระยะแรกต้องใส่ splint ให้ไหล่ไม่ตก เช่น Sling แขนไว้ด้วยผ้าสามเหลี่ยม ทำกายภาพบำบัดให้ข้อต่างๆ มีการเคลื่อนไหว


การตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการ มีดังนี้
- Electro study มีการตรวจหลายอย่าง เช่น  EMG  NCV  SSEP
- Cervical Myelography การฉีดสีเข้าไขสันหลัง แล้วถ่ายภาพรังสีบริเวณคอ
- MRI ก็ได้ แต่ราคาแพงมาก การตรวจนี้จะทำหลังจากบาดเจ็บ 4 สัปดาห์
   
การตรวจ Electrodiagnosis  ( การตรวจไฟฟ้า )

- การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ( needle EMG ) ช่วยวินิจฉัย , วินิจฉัยแยกโรค , ติดตามการดำเนินโรคของระบบประสาทส่วนปลาย จำเป็นต้องอาศัยการวินิจฉัยโรคทางคลินิก การตรวจการชักนำประสาทที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย ควรตรวจกล้ามเนื้อเฉพาะมัดที่เกี่ยวข้อง ให้ประโยชน์ต่อการวินิจฉัย การแปลผลเกิดขึ้นในระหว่างการตรวจซึ่งต้องอาศัยข้อมูลทางคลินิกประกอบการรายงานผลควรระบุชื่อกล้ามเนื้อที่ทำการศึกษา การตรวจพบหรือไม่พบ spontaneous activity และลักษณะของ voluntary motor unit potential และสรุปผลการวินิจฉัยโรคขั้นสุดท้าย

- การตรวจการชักนำประสาท ( NCV : Nerveconductionstudy) เป็นการศึกษาการชักนำกระแสประสาทในเส้นประสาทส่วนปลาย ได้แก่ ความเร็วการชักนำประสาท ( Nerve conduction velocity ; NCV ) amplitude และรูปร่างของ sensory/ motor action potential ใช้ในการแยกภาวะ demyelination และ axonal degeneration ออกจากกันได้ การตรวจจำเป็นต้องอาศัยการวินิจฉัยโรคทางคลินิก ประวัติและการตรวจร่างกาย การรายงานผลควรระบุชื่อเส้นประสาท ระยะห่างและตำแหน่งที่ทำการกระตุ้น , บันทึกผล NCV , latency ( ภาวะซ่อนเร้น ) และ amplitude( ความกว้าง , ช่วง ) รวมทั้งอุณหภูมิของแขนหรือขาที่กำลังทำการศึกษาจำนวนเส้นประสาทที่ทำการศึกษา ขึ้นกับการวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยแต่ละราย ควรให้น้อยที่สุดเท่าที่สามารถให้ผลสรุปได้ และควรรวมการตรวจเส้นประสาทที่ปกติอย่างน้อย 1 เส้น

- การตรวจ somatosensory evoked potential เป็นการบันทึกศักย์ไฟฟ้าใน far field ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง แต่ก็ให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องดีกว่าวิธีอื่น เริ่มทำการตรวจได้หลังจากการบาดเจ็บ 3 สัปดาห์

ขั้นตอนการรักษา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ตรวจพบ เพื่อเป็นมาตรฐาน ขอแบ่งการรักษาเป็น 2 กลุ่มใหญ่
1. No spontaneous recovery within 3 months ( เส้นประสาทไม่กลับคืนสภาพภายใน 3 เดือน )
ทำผ่าตัด explore brachial plexus เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่แน่นอน อีกครั้ง ถึงความรุนแรงของการบาดเจ็บ แล้วนำสิ่งที่ตรวจพบมาพิจารณารักษาเส้นประสาท ซึ่งมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของการบาดเจ็บ ดังนี้
1.1 Neurolysis การเลาะเส้นประสาท
1.2 Nerve repair การเย็บซ่อมต่อปลายที่ขาดจากกัน
1.3 Nerve graft อาศัย nerve graft ช่วยในกรณีที่ต่อปลายทั้งสองด้านไม่ถึง มีช่องว่างระหว่างปลายที่ขาด
1.4 Neurotization คือการย้ายเส้นประสาทเส้นอื่นมาต่อกับปลาย เส้นประสาทที่เสีย มีเทคนิคการผ่าตัดหลายแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย และความชำนาญของแพทย์

2. Spontaneous recovery within 3 months ( เส้นประสาทกลับคืนสภาพภายใน 3 เดือน )
ถ้าเส้นประสาทบางส่วนเริ่มกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ภายใน 3 เดือน ก็ติดตามดูอาการต่อไป เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีโอกาสกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ดีโดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ถ้าการกลับสู่สภาพเดิมได้ช้ากว่าปกติ หรือหยุดการกลับคืน ก็ให้พิจารณาผ่าตัด

Rehabilitation ( กายภาพบำบัด ) ไม่ว่าจะรักษาโดยการผ่าตัด หรือไม่ก็ตาม ต้องทำกายภาพบำบัดบริหารกล้ามเนื้อที่ยังมีสภาพดีอยู่ให้มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อทุกข้อ เพื่อป้องกันข้อติดแข็ง มีการกระตุ้นกล้ามเนื้อ และมีการใส่ splint ของมือด้วย

ปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นตัวของเส้นประสาท พิจารณากว้างๆได้ 6 ประการคือ
1. General factors ได้แก่สุขภาพทั่วๆไปของผู้ป่วยและอายุ หากสุขภาพดี อายุน้อย ก็จะฟื้นตัวได้ดีกว่า
โรคบางอย่างมีผลเสียอย่างชัดเจน เช่น โรคเบาหวาน และผู้ป่วยติดสุรา
2. Type of lesions เป็นผลมาจากระดับความรุนแรง และสาเหตุของการบาดเจ็บ
3. Site of lesions การบาดเจ็บยิ่งใกล้กับอวัยวะส่วนปลาย (end organ) มากเท่าไหร่ การฟื้นการทำงานก็ยิ่งหวังผลได้มากขึ้น
4. Timing หากการบาดเจ็บถูกละเลยไว้นานเกินไป กล้ามเนื้อและเส้นประสาทจะเสื่อมสภาพ
เช่น หากเวลาหลังบาดเจ็บนานเกินกว่า 12 ถึง 18 เดือน การเย็บซ่อมเส้นประสาท จะให้ผลแย่มาก ควรหาวิธีการรักษาแบบอื่นเช่นการย้ายเส้นเอ็น การย้ายกล้ามเนื้อ หรือ
การเชื่อมข้อ
5. Coaptation technique การเย็บซ่อมเส้นประสาท การปลูกถ่ายเส้นประสาท ล้วนแต่ต้องใช้ความปราณีต ในปัจจุบันเทคนิคการผ่าตัดด้วยจุลศัลยกรรมโดยใช้กล้องขยายและใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบพิเศษเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การผ่าตัดประสบความสำเร็จ
6. Biomolecular factors ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อให้การซ่อมแซมเส้นประสาทได้ดีขึ้น รวมถึงการซ่อมเส้นประสาทโดยใช้ท่อนำประสาท (tubulization repair)


Secondary reconstruction ( ผ่าตัดแก้ไขระยะหลัง ) ภายในระยะเวลา 1 ปี ครึ่งหลังจากการบาดเจ็บ ไม่ว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยวิธีใดก็ตาม ..... เส้นประสาทมีโอกาสกลับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่หลังจากนี้การกลับคืนของเส้นประสาทค่อนข้างจะคงที่ ( ยกเว้นการผ่าตัดบางอย่าง เช่น การทำ neurotization อาจ ต้อง คอยนานกว่านี้ ) ดังนั้นในผู้ป่วยเหล่านี้ต้องมาตรวจร่างกายให้ละเอียดอีกครั้ง ดูว่าผู้ป่วยมีการสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนใดบ้าง มีกล้ามเนื้อมัดใดที่ปกติอยู่ แล้วพิจารณาทำการผ่าตัดอีกครั้งเพื่อแก้ไขให้ผู้ป่วยสามารถใช้แขนและมือข้างนั้นทำงานได้บ้างไม่มากก็น้อย

การผ่าตัดมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย ได้แก่

1. Tendon transfer, muscle transfer ( การย้ายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น )
เป็นการย้ายเส้นเอ็น หรือย้ายกล้ามเนื้อ เพื่อให้เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อนั้นทำงานแทนเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงผิดปกติ โดยการทำผ่าตัดชนิดนี้มีหลักที่สำคัญว่ากล้ามเนื้อที่ดึงเส้นเอ็น นั้น ๆ ต้องมีความแข็งแรงเป็นอย่างดี จึงจะย้ายไปช่วยกล้ามเนื้ออื่นได้ เนื่องจากการย้ายเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อไปทำงานแทนส่วนอื่นนั้น จะทำให้กล้ามเนื้อมัดที่ ย้ายไปมีกำลังน้อยลง 1 grade ตัวอย่างเช่น การย้ายเส้นเอ็น การย้ายเส้นเอ็น tibialis posterial ไปทำงานแทนเส้นเอ็น tibialis anterior ในผู้ป่วยที่มี foot drop เมื่อกล้ามเนื้อทำงานก็จะดึงให้เท้ากระดกขึ้น ให้ผู้ป่วยเดินได้โดยเท้าไม่ตกลง หลังจากการย้ายและยึดใหม่ของเส้นเอ็นจำเป็นต้องใส่เฝือกหรืออุปกรณ์พยุงอีกระยะหนึ่ง เพื่อให้เนื้อเยื่อหายดีก่อน

2. Arthrodesis ( การทำข้อต่อแข็ง )
คือการทำผ่าตัดเพื่อทำให้ผิวข้อเข้ามาชิดกัน และให้เกิดการเชื่อมติดกันของกระดูก ทำให้ข้อติดและกระดูกข้อทั้งหมดกลายเป็นกระดูกชิ้นเดียวกัน เป็นวิธีการผ่าตัดวิธีหนึ่งในการแก้ปัญหาการปวดเรื้อรังจากโรคข้อ ซึ่งแพทย์เลือกทำในผู้ป่วยที่อายุน้อย กระดูกยังแข็งแรง และมีกิจวัตรประจำวันที่มาก เมื่อบริเวณข้อที่เจ็บปวดถูกเปลี่ยนเป็นกระดูกชิ้นเดียวกันแล้ว ก็จะไม่ทำให้เกิดการปวดอีก มีข้อดีคือข้อมีความมั่นคงอย่างถาวร เนื่องจากไม่มีการเคลื่อนไหว แต่มีข้อเสีย คือ สูญเสียการเคลื่อนไหวของข้อ ดังนั้น หากข้อที่ทำผ่าตัด เป็นข้อใหญ่ที่สำคัญ เช่น ข้อเข่า หรือข้อตะโพก ผู้ป่วยอาจสูญเสียกิจวัตรประจำวันหลาย ๆ อย่างได้ ผู้ป่วยจึงต้องมีข้อสำคัญที่เหลือในข้างเดียวกัน หรือด้านตรงข้ามปกติ

3. Free muscle transplant neurotization ( การย้ายกล้ามเนื้อทั้งมัดจากที่อื่นแล้วไปต่อที่แขนโดยวิธีจุลศัลยกรรม ร่วมกับการย้ายเส้นประสาทจากที่อื่นไปต่อกับกล้ามเนื้อใหม่

********************************************************

Brachial Plexus Injury คัดลอกนำมาฝาก      https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-08-2020&group=32&gblog=23

Brachial Plexus Injury Dr.Terdsak Rojsurakitti,
https://www.slideshare.net/drterd/brachial-plexus-injury

การบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลาย (peripheral nerve injury) รศ.นพ. คณิตศ์ สนั่นพานิช
https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=&cad=rja&uact=8&ved=2ahUKEwj9muiHqJjrAhX48HMBHf8KA0kQFjAHegQIBhAB&url=https%3A%2F%2Fw1.med.cmu.ac.th%2Fortho%2Fimages%2FNews59%2FAj_Kanit%2FPeripheral%2520nerve%2520injury.pdf&usg=AOvVaw1iB3M7XVsNXUoaIHEWUc4I




Title: Re: Brachial Plexus Injury คัดลอกนำมาฝาก
ส่งโดย หมอหมู on 08/13/20 เวลา 21:20:51
การบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลาย (peripheral nerve injury) รศ.นพ. คณิตศ์ สนั่นพานิช
https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=&cad=rja&uact=8&ved=2ahUKEwj9muiHqJjrAhX48HMBHf8KA0kQFjAHegQIBhAB&url=https%3A%2F%2Fw1.med.cmu.ac.th%2Fortho%2Fimages%2FNews59%2FAj_Kanit%2FPeripheral%2520nerve%2520injury.pdf&usg=AOvVaw1iB3M7XVsNXUoaIHEWUc4I

Title: Re: Brachial Plexus Injury คัดลอกนำมาฝาก
ส่งโดย หมอหมู on 08/13/20 เวลา 21:21:03
การบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลาย (peripheral nerve injury) รศ.นพ. คณิตศ์ สนั่นพานิช
https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=&cad=rja&uact=8&ved=2ahUKEwj9muiHqJjrAhX48HMBHf8KA0kQFjAHegQIBhAB&url=https%3A%2F%2Fw1.med.cmu.ac.th%2Fortho%2Fimages%2FNews59%2FAj_Kanit%2FPeripheral%2520nerve%2520injury.pdf&usg=AOvVaw1iB3M7XVsNXUoaIHEWUc4I

Title: Re: Brachial Plexus Injury คัดลอกนำมาฝาก
ส่งโดย ...  a.m. en allemagne  ... on 08/21/20 เวลา 04:31:59



ขอบคุณคร่าาา  :-* :-* :-*






ThaiClinic.Com . All Rights Reserved.