ThaiClinic.Com (http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl)
For MD. >> Doctor Room l ห้องพักแพทย์ >> ผลการศึกษา LMTX(R) เฟส 3 ครั้งที่สอง ในวารสาร Journal
(Message started by: IQ on 11/28/17 เวลา 07:44:49)

Title: ผลการศึกษา LMTX(R) เฟส 3 ครั้งที่สอง ในวารสาร Journal
ส่งโดย IQ on 11/28/17 เวลา 07:44:49
ผลการศึกษา LMTX(R) เฟส 3 ครั้งที่สอง ในวารสาร Journal of Alzheimer's Disease
         TauRx Therapeutics Ltd รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์จากการวิจัยเฟส 3 ครั้งที่สองของยา LMTX(R) ซึ่งเป็นสารยับยั้งการจับกลุ่มของโปรตีนเทาตัวแรกที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ โดยรายงานดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Journal of Alzheimer's Disease ฉบับออนไลน์

         http://mma.prnewswire.com/media/609663/TauRx_Therapeutics_Logo.jpg

         ผลจากการวิจัยครั้งนี้ (TRx-237-005) สอดคล้องกับผลที่ได้จากการวิจัยเฟส 3 ครั้งแรกที่เพิ่งได้รับการเผยแพร่ทางวารสาร The Lancet [(TRx-237-015) Gauthier et al. 2016(1)] สำหรับการรักษาโรคอัลไซเมอร์เล็กน้อยถึงปานกลาง ซึ่งสนับสนุนสมมุตฐานที่ว่า การให้ยา LMTX(R) เพียงอย่างเดียวสามารถรักษาโรคได้ผล โดยอาจให้ยาเพียง 4 mg วันละ 2 ครั้ง
         การวิจัยล่าสุด (TRx-237-005) ได้ศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา LMTX(R) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เล็กน้อยจำนวน 800 คน โดยให้ผู้ป่วยได้รับยาปริมาณ 100 mg หรือ 4 mg (ปริมาณยาควบคุม) วันละ 2 ครั้ง ตลอดระยะเวลาการรักษา 18 เดือน
         ผลการวิจัยครั้งแรกแสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญในการให้ยา LMTX(R) ปริมาณมากกว่า (75 mg และ 125 mg วันละ 2 ครั้ง) ในลักษณะการให้ยาตัวเดียว เมื่อเทียบกับการให้ยา 4 mg ในลักษณะการให้ยาตัวเดียวหรือใช้เป็นยาเสริมควบคู่กับเทคนิคการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่ได้รับการรับรองอยู่เดิม ในการวิเคราะห์แบบ post hoc อย่างจำเพาะมาก่อน และเมื่อทำการวิเคราะห์เพิ่มเติมก็พบหลักฐานที่สนับสนุนว่าการให้ยาตัวเดียวให้ผลลัพธ์ดีกว่าเมื่อเทียบกับการใช้เป็นยาเสริม ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา 4 mg วันละ 2 ครั้ง
         ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่จะล็อกฐานข้อมูลและเปิดเผยข้อมูลการรักษา จึงได้มีการปรับการวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิของ TRx-237-005 เพื่อประเมินผลการให้ยา LMTX(R) ปริมาณ 100 mg วันละ 2 ครั้งในลักษณะการให้ยาตัวเดียว เปรียบเทียบกับปริมาณยาควบคุม รวมถึงประเมินผลการให้ยาปริมาณ 4 mg วันละ 2 ครั้งในลักษณะการให้ยาตัวเดียว เทียบกับการให้ยาปริมาณเดียวกันในฐานะยาเสริมจากการวิเคราะห์ตามรุ่น (cohort analyses) แบบไม่สุ่ม โดยมีเป้าหมายเพื่อทดสอบว่า ผลการค้นพบจากการวิจัยครั้งแรกนั้นจะยืนยันให้เป็นผลลัพธ์หลักในโครงการวิจัยอิสระครั้งที่สองได้หรือไม่ โดยมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนเชิงสถิติ
         ผลการวิจัยครั้งที่สองก็แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่เหนือกว่าซึ่งสนับสนุนการให้ยา LMTX(R) ตัวเดียว โดยกำหนดค่าเริ่มเปลี่ยนทางสถิติ (statistical threshold) ไว้ที่ p < 0.025 ในการทดสอบเปรียบเทียบผลของประสิทธิภาพยาขั้นปฐมภูมิ โดยวัดจากเกณฑ์ ADAS-cog และ ADCS-ADL
         ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เล็กน้อยที่ได้รับยา LMTX(R) ตัวเดียวหรือใช้เป็นยาเสริม ต่างมีภาวะสมองฝ่อทั้งสมอง (วัดจากการทำ MRI scan) ลุกลามในระยะแรกตามที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี หลังได้รับการรักษาเป็นเวลา 9 เดือน อัตราการเกิดภาวะสมองฝ่อทั้งสมองในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาตัวเดียวได้ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และพบในกลุ่มเปรียบเทียบที่ประกอบด้วยผู้สูงอายุที่ไม่ได้เป็นโรคอัลไซเมอร์ด้วยเช่นกัน ส่วนในกลุ่มที่ใช้เป็นยาเสริมนั้นปรากฎการลุกลามในกลุ่มผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เล็กน้อย
         ขณะเดียวกัน ผลการค้นพบเพิ่มเติมจากการทำ FDG-PET scan ในการวิจัย TRx-237-005 บ่งชี้ว่า กลุ่มผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการใช้ยา LMTX(R) ตัวเดียวนั้น มีอัตราการดูดซึมกลูโคสเข้าสมองกลีบขมับลดลงในระดับที่น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เล็กน้อยทั่วไป
         ศ.คล้อด วิสชิค จากมหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน และประธานบริหารของ TauRx Therapeutics Ltd กล่าวว่า "แม้กลุ่มย่อยที่รักษาด้วยยาตัวเดียวในการวิจัย LMTX(R) เฟส 3 ครั้งแรกและครั้งที่สองจะค่อนข้างเล็ก โดยอยู่ที่ 15% และ 20% ตามลำดับ แต่การที่โครงการวิจัยอิสระครั้งที่สองได้ยืนยันผลลัพธ์ที่มีรูปแบบเดียวกันนั้นบ่งชี้ว่า สิ่งนี้ไม่น่าจะเป็นการค้นพบโดยบังเอิญ"
         "อัตราการคงอยู่ของการบำบัดรักษา (retention rate) โดยรวมในโครงการวิจัยครั้งที่สองนั้น อยู่ในระดับเท่าๆกันทั้งในกลุ่มที่รักษาด้วยการใช้ยาตัวเดียวกับที่ใช้เป็นยาเสริม ด้วยเหตุนี้ อัตราการหยุดยาที่แตกต่างกันจึงใช้เป็นข้ออธิบายไม่ได้ นอกจากนี้ การที่ได้เห็นผลลัพธ์เดียวกันในโครงการวิจัยครั้งที่สองซึ่งจัดขึ้นแค่ในอเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก และออสเตรเลีย หมายความว่า โครงการวิจัยครั้งแรกไม่ได้มีความผิดปกติจากการที่มีประเทศที่ไม่ได้เป็นชาติตะวันตกเข้าร่วมด้วย ขณะเดียวกัน การค้นพบผลลัพธ์ในรูปแบบเดียวกันเมื่อดูจากผลลัพธ์ทางคลินิกและภาพวินิจฉัยก็หมายความว่า ผลลัพธ์ดังกล่าวไม่ได้เป็นผลจากยาหลอกในกลุ่มผู้ป่วยที่ร่วมโครงการรักษาเป็นครั้งแรก"
         ศ.วิสชิค ให้ความคิดเห็นอีกว่า "แม้ผลลัพธ์เหล่านี้มาจากการวิเคราะห์ตามรุ่นแบบไม่สุ่ม แต่ผลลัพธ์หลายๆอย่างก็ได้ชี้ให้เห็นถึงการรักษาที่ได้ผลจริง ไม่ใช่เพียงข้อแตกต่างระหว่างผู้ป่วยคนที่รับหรือไม่รับการรักษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิเคราะห์ที่แสดงให้เห็นการชะลอตัวลงของอัตราการเกิดภาวะสมองฝ่อนั้น เป็นการวิเคราะห์แบบก่อนและหลังการรักษา ซึ่งผู้ป่วยที่รักษาด้วยการใช้ยาตัวเดียวนั้นเปรียบเทียบผลลัพธ์กับตัวผู้ป่วยเอง ไม่ขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้เป็นยาเสริม นอกจากนี้ เรายังเริ่มมีความเข้าใจพื้นฐานทางเภสัชวิทยาเกี่ยวกับปฏิกิริยาเชิงลบระหว่างตัวยา LMTX(R) กับเทคนิคการรักษาขั้นพื้นฐาน เพราะเราได้เห็นสิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นในสัตว์ทดลองขณะศึกษาเรื่องการจับกลุ่มของโปรตีนเทา"
       



ThaiClinic.Com . All Rights Reserved.