หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: ผลสำรวจเผยหญิงสาวชาวไทย 61.6% ไม่ตรวจแปปเสมียร์เพราะอายหมอ )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: IQ โพสเมื่อวันที่: 07/31/23 เวลา 14:04:34
ผลสำรวจของบีจีไอ จีโนมิกส์ เผยหญิงสาวชาวไทย 61.6% ไม่ตรวจแปปเสมียร์เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพราะอายหมอ
 
-61.6% ของหญิงไทยอายุ 21-25 ปี ไม่ได้เข้ารับการตรวจแปปสเมียร์เพราะอายหมอ สูงกว่าค่าเฉลี่ยในการสำรวจครั้งนี้ซึ่งอยู่ที่ 43.5%
 
ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลเผยให้เห็นว่า มีผู้หญิงไทยเพียง 28.5% ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1 ซึ่งเป็นระยะที่มีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด ดังนั้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการต่อสู้กับมะเร็งปากมดลูก บริษัท บีจีไอ จีโนมิกส์ (BGI Genomics) ได้เผยแพร่รายงานความตระหนักรู้มะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย (State of Cervical Cancer Awareness Report in Thailand) รายงานฉบับนี้ได้ประเมินระดับความรู้ ทัศนคติ และแนวปฏิบัติในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการฉีดวัคซีน HPV เพื่อแสดงให้เห็นถึงอุปสรรคและโอกาสที่เกี่ยวข้อง โดยทำการสำรวจผู้หญิง 1,878 คน จาก 6 ประเทศและภูมิภาค ได้แก่ บราซิล จีนแผ่นดินใหญ่ ซาอุดีอาระเบีย เซอร์เบีย ไทย และอุรุกวัย
 
ผลสำรวจพบว่า มีหญิงไทยเพียง 18.8% ที่ไม่เคยผ่านการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมาก่อน นับว่าดีที่สุดใน 6 ประเทศที่มีการสำรวจ และดีกว่าค่าเฉลี่ยในการสำรวจครั้งนี้ซึ่งอยู่ที่ 31.2% อย่างมาก อย่างไรก็ตาม 61.6% ของหญิงไทยอายุ 21-25 ปี กลับไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพราะไม่อยากให้แพทย์ผู้ชายทำการตรวจแปปสเมียร์ ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับสองในการสำรวจครั้งนี้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องนำเสนอทางเลือกอื่นนอกเหนือจา กการตรวจแปปสเมียร์ให้กับผู้หญิง โดยเฉพาะหญิงสาว นั่นคือ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA
 
ข้อมูลสำคัญอื่น ๆ จากรายงานมีดังนี้
 
ความตระหนักรู้เกี่ยวกับเชื้อ HPV ส่งผลต่ออัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก: ในกลุ่มผู้หญิงที่ไม่ทราบว่ามะเร็งปากมดลูกมักเกิดจากเชื้อ HPV นั้น พบว่า 39.1% ไม่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 31.2%
 
การฉีดวัคซีนและการตรวจคัดกรองส่งเสริมซึ่งกันและกัน: ในกลุ่มผู้หญิงที่ได้รับวัคซีน HPV นั้น 82.1% เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเช่นกัน ส่วนในกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนนั้น มีเพียง 60.6% ที่เข้ารับการตรวจคัดกรอง ขณะเดียวกัน ในกลุ่มผู้หญิงที่ผ่านการตรวจคัดกรองนั้น 45.8% ได้รับวัคซีน HPV ด้วยเช่นกัน ส่วนในกลุ่มที่ไม่ได้ตรวจคัดกรองนั้น มีเพียง 22.1% ที่ได้รับวัคซีน ดังนั้น การแจ้งให้ผู้หญิงทราบถึงสถานที่และเวลาที่สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนและตรว จคัดกรองได้นั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
 
"การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่เนิ่น ๆ มีความสำคัญต่อการช่วยชีวิตและกำจัดโรคที่น่ากลัวนี้ให้หมดไปในที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับโลกขององค์การอนามัยโลก" คุณจาง หลิน (Zhang Lin) ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท บีจีไอ จีโนมิกส์ กล่าว "การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเพิ่มความตระหนักรู้ของผู้หญิงอาจเป็นจุดเชื่อมโยงที่ขาดหายไปในการเพิ่ม อัตราการฉีดวัคซีนและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก"
 
หากท่านต้องการอ่านข้อมูลและดูการเปรียบเทียบระดับประเทศหรือภูมิภาค โปรดกดลิงก์เพื่ออ่านรายงานความตระหนักรู้มะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2566 ของบีจีไอ จีโนมิกส์ ฉบับสมบูรณ์: https://www.bgi.com/global/news/bgi-genomics-global-2023-state-of-cervic al-cancer-awareness-report
 
เกี่ยวกับบีจีไอ จีโนมิกส์
 
บีจีไอ จีโนมิกส์ (BGI Genomics) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในนครเซินเจิ้น ประเทศจีน เป็นผู้ให้บริการโซลูชันการแพทย์แม่นยำแบบบูรณาการชั้นนำระดับโลก โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 บีจีไอ จีโนมิกส์ (300676.SZ) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ บีจีไอ กรุ๊ป (BGI Group) ได้จดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้นอย่างเป็นทางการ
 
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก SENTIS(TM) HPV ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน CE นั้น ใช้เทคโนโลยีการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเองและการทดสอบจีโนไทป์เพื่อตรวจหาเชื ้อ HPV รวม 14 ชนิดที่มี "ความเสี่ยงสูง" ได้แก่ HPV ชนิด 16, 18, 31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 66, 68 รวมถึงชนิดที่มี "ความเสี่ยงต่ำ" อีก 2 ชนิด ได้แก่ HPV ชนิด 6 และ 11 ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้การตรวจ DNA เป็นวิธีการตรวจคัดกรองทางเลือกแรกสำหรับการป้องกันมะเร็งปากมดลูก
 
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2163756/image_1.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2163757/image_2.jpg
จากคุณ: watbote โพสเมื่อวันที่: 08/02/23 เวลา 21:32:45
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 08/07/23 เวลา 09:26:43
แต่ รพ.+ คลินิกหลายๆที่ เดี๋ยวนี้ใช้พยาบาล(หญิง) เป็นผุ้ตรวจ PAP Smear นะครับ
แต่ก็ยังได้รับความร่วมมือต่ำอยู่ เช่น อ้างว่า รีบไปธุระ/ มีประจำเดือน/ ไม่สะดวก/ ไม่อยากจะตรวจ(ต่อให้เป็นแพทย์- พยาบาลผู้หญิง เป็นคนตรวจก็เถอะ)/ ตรวจจากที่อื่นมาแล้วเมื่อไม่กี่เดือน/ มีนัดจะไปตรวจกับอีกที่นึงเร็วๆนี้(ซื้อแพ็คเกจไว้แล้ว) ฯลฯ
นะครับ อิ อิ อิ
จากคุณ: Dr.OU โพสเมื่อวันที่: 08/10/23 เวลา 00:21:21
Huh Huh Huh Huh


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by