หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: Venus Medtech แต่งตั้งผู้วิจัยหลักในการศึกษาระบบ RDN ของบริษัท )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: IQ โพสเมื่อวันที่: 07/29/21 เวลา 15:02:08
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา Venus Medtech (Hangzhou) Inc. ("Venus Medtech") (รหัสหุ้น: 2500.HK) บริษัทชั้นนำผู้ให้บริการโซลูชันเปลี่ยนลิ้นหัวใจในจีน และบริษัทย่อยที่มีอำนาจควบคุมอย่าง Renaly Ltd. ประกาศว่า ศาสตราจารย์ นายแพทย์ Martin B. Leon ผู้บุกเบิกในแวดวงอุปกรณ์รักษาหัวใจร่วมหลอดเลือด ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้วิจัยหลัก (PI) ในการศึกษาระบบจี้เส้นประสาทบริเวณหลอดเลือดแดงไต (RDN) รุ่นใหม่ที่บริษัทได้พัฒนาขึ้น
 
ปัจจุบัน ดร. Leon ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาแพทยศาสตร์ที่ศูนย์การแพทย์ Columbia University Irving Medical Center (CUIMC) ในนิวยอร์ก ทั้งยังเป็นผู้อำนวยการศูนย์ Center for Interventional Vascular Therapy (CIVT) ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการ Cardiac Catheterization Laboratories และผู้อำนวยการคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาล New York-Presbyterian University Hospital ในสังกัดศูนย์ Columbia and Cornell Heart & Valve Center นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ก่อตั้งและประธานการประชุม Transcatheter Cardiovascular Therapeutics (TCT) ซึ่งจัดขึ้นทุกปี ดร. Leon เป็นผู้นำในแวดวงการรักษาหัวใจร่วมหลอดเลือด โดยได้ร่วมการทดลองทางคลินิกมาแล้วกว่า 50 โครงการในฐานะผู้วิจัยหลัก และได้ผ่าตัดมาแล้วกว่า 10,000 ครั้ง
 
ในส่วนของระบบจี้เส้นประสาทบริเวณหลอดเลือดแดงไตนั้น ดร. Leon และทีมงานได้รับหน้าที่เป็นผู้วิจัยหลักในการทดลองทางคลินิกให้กับระบบสุดล้ ำมาแล้วหลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Symplicity Spyral(TM) Renal Denervation System ของ Medtronic และระบบ Paradise(TM) Ultrasonic Denervation System ของ ReCor Medical ซึ่งทั้งสองระบบที่ว่านี้ได้รับสถานะ Breakthrough Device Designation จากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) แล้วในปี 2563
 
ระบบ RDN แบบใหม่นี้พัฒนาขึ้นโดย Renaly ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่มีอำนาจควบคุมของ Venus Medtech ระบบดังกล่าวมาพร้อมกับแพลตฟอร์ม Dual-Mode Ultrasound Technology (DMUT) ที่ไม่เหมือนใคร โดยใช้การสร้างภาพอัลตราซาวด์แบบเรียลไทม์เพื่อจี้ทำลายอย่างต่อเนื่องแบบไม ่สัมผัส เพื่อลดโอกาสในการเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การจี้เส้นประสาทไม่มากพอหรือหลอดเลือดเสียหายเพราะโดนจี้อย่างไม่มีการควบค ุม การเปิดโอกาสให้จี้ทำลายได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพนั้น ทำให้ผลลัพธ์ในการรักษานั้นคาดการณ์ได้มากขึ้น ทั้งยังลดความยุ่งยากของการทำงาน ท้ายที่สุดก็จะยกระดับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของกระบวนการนี้
 
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยมีผู้ใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูงราว 1 ใน 3 ของทั้งโลก[1] ซึ่งจีนนั้นมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงเกินหลัก 330 ล้านคน ส่งผลให้จีนเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยโรคนี้มากที่สุดในโลก ข้อมูลจากการสำรวจ China Hypertension Survey แสดงให้เห็นว่า อัตราความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปีอยู่ที่ 27.9% ณ เวลาสำรวจ (2555-255Cool และนับตั้งแต่นั้นมาตัวเลขดังกล่าวก็ยังคงปรับตัวขึ้นเรื่อย ๆ โดยเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยจากโรคหัวใจและหลอดเลือดคิดเป็นสัดส่วน 50% ของทั้งหมดในจีน ทั้งยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดคิดเป็นสัดส่วน 20% ในจีนด้วยเช่นกัน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะต่าง ๆ ในหัวใจร่วมหลอดเลือด อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย ไตวาย ด้วยเหตุนี้ การควบคุมและรักษาโรคความดันโลหิตสูงจึงมีประโยชน์ เพราะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจหลอดเลือด[2]
 
ดร. Leon กล่าวว่า "ผมมีความยินดีที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้วิจัยหลักเพื่อศึกษาระบบ RDN แบบใหม่ของ Renaly โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญอย่างหนึ่งของโรคหัวใจและหลอดเลือด  การพัฒนาเทคนิคการรักษาด้วย RDN แสดงให้เห็นตัวเลือกการรักษาแบบใหม่ที่มีศักยภาพดี สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษาและไม่ค่อยมีวินัยในการก ินยา ระบบจี้เส้นประสาทบริเวณหลอดเลือดแดงไตแบบใช้อัลตราซาวด์ของ Renaly ช่วยรับมือกับปัญหาจากการจี้ทำลายไม่มากพอหรือมากเกินไปซึ่งพบได้จากการใช้ร ะบบรุ่นแรก โดยระบบรุ่นใหม่ดังกล่าวคาดว่าจะยกระดับความปลอดภัยและความสามารถในการควบคุ มได้อย่างมีนัยสำคัญ ด้วยการทำให้จี้ทำลายได้อย่างสม่ำเสมอและควบคุมได้ขณะที่ใช้การสร้างภาพอัลต ราซาวด์แบบเรียลไทม์ เราหวังที่จะเริ่มการทดลองทางคลินิกให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้"
 
คุณ Eric Zi ผู้ก่อตั้ง ผู้อำนวยการบริหาร และกรรมการผู้จัดการของ Venus Medtech กล่าวว่า "เราจะมุ่งพัฒนาอุปกรณ์และกระบวนการใหม่ ๆ รวมถึงเทคโนโลยีชีวจักรกล เทคโนโลยี Image Fusion และการตรวจจับทางดิจิทัลต่อไป ในแง่ของกลุ่มเทคโนโลยีทางการแพทย์ของเราในอนาคต ซึ่งเรามีแผนผนวกรวมทั้งหมดนี้เข้ากับผลิตภัณฑ์รักษาโรคของเราอย่างล้ำลึก การทำเช่นนี้เปิดโอกาสให้เรานำเสนอโซลูชันครอบคลุมกระบวนการรักษาโรคทั้งหมด ได้อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นตัวกระบวนการเองไปจนถึงขั้นตอนก่อนและหลังผ่าตัดรักษา Renaly เปรียบได้กับแม่แบบในการบูรณาการกระบวนการใหม่ ๆ กับการสร้างภาพ โดยผสานระบบนำทางผ่านการรู้จำภาพเข้ากับอัลตราซาวด์ จนได้มาเป็นเทคโนโลยีรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิต เรามีความยินดีในการต้อนรับดร. Leon เป็นผู้วิจัยหลักของเรา ซึ่งไม่ได้เป็นความร่วมมือครั้งแรกระหว่างเรา เพราะดร. Leon เป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับโลกของเราอยู่แล้ว และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและผลักดันผลิตภัณฑ์ในระด ับสากล เราเชื่อว่า ประสบการณ์ที่ดร. Leon สั่งสมมาอย่างยาวนานในสาขานี้ จะทำให้ระบบ RDN อันล้ำสมัยนี้เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในการทดลองทางคลินิก และมอบคุณประโยชน์ให้ผู้ป่วยทั่วโลก"
 
อ้างอิง
[1]. World Health Organization Report: A global brief on hypertension - silent killer, global public health crisis.
[2]. Chinese Circulation Journal, September, 2020, Vol. 35 No.9 (Serial No.267)
 
 
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1582911/image_1.jpg
 
คำบรรยายภาพ - บริษัท Venus Medtech (Hangzhou) Inc.
 
https://mma.prnewswire.com/media/1582911/image_1.jpg


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by