หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: ผลวิจัยล่าสุดเผยบุหรี่คร่าชีวิตผู้คนเกือบ 8 ล้านรายในปี 2019 )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: IQ โพสเมื่อวันที่: 06/01/21 เวลา 15:40:32
ผลวิจัยล่าสุดเผยบุหรี่คร่าชีวิตผู้คนเกือบ 8 ล้านรายในปี 2019 พบนักสูบหน้าใหม่ถึง 90% ติดบุหรี่เมื่ออายุไม่ถึง 25 ปี
 
จำนวนผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่เป็นจำนวนเกือบ 8 ล้านรายในปี 2019 หรือคิดเป็นหนึ่งในห้าของผู้ชายทุกคนที่เสียชีวิตนักสูบหน้าใหม่ถึง 90% ติดบุหรี่เมื่ออายุไม่ถึง 25 ปี การป้องกันไม่ให้คนวัยหนุ่มสาวเริ่มสูบบุหรี่จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการเปลี่ย นทิศทางของการลุกลามให้คนรุ่นหลังประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องทำตามพันธสัญญาเพื่อวางกรอบและบังคับใช้นโยบายควบคุมยาสูบ ซึ่งรวมถึงการเพิ่มภาษีผลิตภัณฑ์ยาสูบ โดยการห้ามโฆษณายาสูบ รวมถึงผ่านช่องทางสื่อโซเชียล และส่งเสริมสภาพแวดล้อมไร้บุหรี่นั้น อาจช่วยไม่ให้คนวัยหนุ่มสาวคิดอยากเริ่มสูบได้แม้อัตราความชุกของการสูบบุหร ี่เมื่อปรับมาตรฐานอายุทั่วโลกนั้นลดลงอย่างมากในช่วงปี 1990 และ 2019 แต่ไม่พบความคืบหน้าในทางเดียวกันนี้กับยาสูบแบบเคี้ยว โดยในเอเชียใต้นั้นมีอัตราการใช้ยาสูบแบบเคี้ยวเมื่อปรับตามอายุสูงถึง 25% ในกลุ่มผู้ชายอายุมากกว่า 15 ปี
 
ข้อมูลเจาะแนวโน้มการสูบบุหรี่ทั่วโลกที่ศึกษามาอย่างครอบคลุมที่สุดนั้น ได้ชูให้เห็นผลร้ายมหาศาลในเรื่องของสุขภาพ ปัจจุบัน จำนวนผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะหลัก 1.1 พันล้านรายในปี 2019 โดยมีผู้เสียชีวิตจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบมากถึง 7.7 ล้านคน หรือคิดเป็นหนึ่งในห้าของผู้ชายทุกคนที่เสียชีวิต
 
สิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งคืออัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มคนวัยหนุ่มสาวซึ่งยังค งอยู่ในระดับสูง ประเทศต่าง ๆ กว่าครึ่งหนึ่งทั่วโลกยังไม่มีความคืบหน้าในการลดการสูบบุหรี่ในกลุ่มคนอายุ  15-24 ปี โดยนักสูบหน้าใหม่ถึง 89% ติดบุหรี่เมื่ออายุไม่ถึง 25 ปี การป้องกันไม่ให้คนวัยหนุ่มสาวติดสารนิโคตินในช่วงเวลาสำคัญเช่นนี้ จะเป็นสิ่งสำคัญในการกำจัดการใช้ยาสูบในหมู่คนรุ่นหลัง
 
ผลการศึกษาใหม่ 3 ฉบับที่เผยแพร่ในวารสาร The Lancet และ The Lancet Public Health โดยองค์กร Global Burden of Disease ซึ่งนำโดยสถาบัน Institute for Health Metrics and Evaluation นั้น ใช้ข้อมูลจากการสำรวจที่เป็นตัวแทนระดับประเทศ 3,625 รายการ รายงานเหล่านี้ให้ตัวเลขประเมินอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ทั่วโลก ครอบคลุม 204 ประเทศในกลุ่มชายและหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งรวมถึงอายุที่เริ่มสูบ โรคที่เกี่ยวข้อง และความเสี่ยงทั้งกับผู้ที่ยังสูบอยู่และเลิกสูบไปแล้ว เช่นเดียวกับการวิเคราะห์แนวโน้มในการใช้ยาสูบแบบเคี้ยวทั่วโลกที่มีขึ้นเป็ นครั้งแรก
 
รายงานวิจัยดังกล่าวได้เผยแพร่ก่อนที่จะถึงวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคมนี้ โดยผู้เขียนรายงานได้เรียกร้องให้ทุกประเทศ เร่งวางกรอบและบังคับใช้นโยบายที่มีหลักฐานรองรับอย่างครอบคลุม เพื่อลดความชุกของการใช้ยาสูบและป้องกันไม่ให้มีคนคิดอยากเริ่มสูบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนวัยหนุ่มสาวและวัยรุ่น
 
ศาสตราจารย์ Emmanuela Gakidou ผู้นิพนธ์หลักประจำสถาบัน Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME) ในสังกัดมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวว่า [1] "การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่คุกคามสุขภาพของผู้คนทั่วโลก ทว่าหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกยังไม่มีการควบคุมยาสูบอย่างเพียงพอ การที่หลาย ๆ ประเทศมีความชุกในการสูบบุหรี่ค่อนข้างสูงในกลุ่มวัยรุ่น ขณะที่ยังคงมีผลิตภัณฑ์ยาสูบและนิโคตินใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องนั้น แสดงให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการยกระดับการควบคุมยาสูบอีกเท่าตัว หากคน ๆ หนึ่งไม่ติดการสูบบุหรี่เป็นประจำภายในอายุ 25 ปีนั้น คนเหล่านั้นก็ไม่น่าจะกลายเป็นผู้สูบบุหรี่ สิ่งนี้แสดงให้เห็นโอกาสสำคัญในการเข้าแทรกแซง เพื่อป้องกันไม่ให้วัยรุ่นคิดเริ่มสูบบุหรี่และช่วยให้พวกเขามีสุขภาพดีขึ้น ตลอดทั้งชีวิตที่เหลือ"
 
จำนวนผู้สูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นการต่อสู้อันสูงชันในการควบคุมยาส ูบทั่วโลก
 
นับตั้งแต่ปี 1990 ความชุกในการสูบบุหรี่ของผู้ชายทั่วโลกปรับตัวลดลง 27.5% และสำหรับผู้หญิงก็ปรับตัวลดลงถึง 37.7% อย่างไรก็ดี ความชุกในการสูบบุหรี่ของผู้ชายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญใน 20 ประเทศ ขณะที่มี 12 ประเทศที่พบความชุกในการสูบบุหรี่ของผู้หญิงเพิ่มขึ้น
 
ในประเทศต่าง ๆ กว่าครึ่งหนึ่ง การปรับตัวลดลงของความชุกนั้นตามการเติบโตของประชากรไม่ทัน และจำนวนผู้สูบบุหรี่ยังคงเพิ่มขึ้น โดย 10 ประเทศที่มีผู้บริโภคยาสูบมากที่สุดในปี 2019 นั้น คิดเป็นสัดส่วนรวมกันเกือบสองในสามของผู้ใช้ยาสูบทั่วโลก ประเทศเหล่านี้ได้แก่จีน อินเดีย อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย บังกลาเทศ ญี่ปุ่น ตุรกี เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งผู้ใช้ยาสูบถึงหนึ่งในสาม (341 ล้านคน) นั้นมาจากจีน
 
ในปี 2019 การสูบบุหรี่มีความเชื่อมโยงกับการเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดราว 1.7 ล้านคน, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 1.6 ล้านคน, มะเร็งปอดและหลอดลม 1.3 ล้านคน และโรคหลอดเลือดสมองเกือบ 1 ล้านคน ผลการศึกษาที่ผ่านมานั้นแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่สูบบุหรี่มานานกว่าหนึ่งในสองจะเสียชีวิตโดยมีสาเหตุที่เชื่อมโยงกับก ารสูบบุหรี่โดยตรง และผู้สูบบุหรี่จะมีอายุขัยน้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยสูบเลยเฉลี่ยถึง 10 ปี
 
การเสียชีวิตที่มาจากการบริโภคยาสูบนั้นประมาณ 87% เกิดขึ้นกับผู้ที่ยังคงสูบอยู่ โดยมีเพียง 6% ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เลิกสูบไปแล้วก่อนหน้านั้นอย่างน้อย 15 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์สำคัญทางสุขภาพจากการเลิกสูบ
 
ปี 2019 มีการบริโภคยาสูบคิดเป็นบุหรี่ได้ราว 7.4 ล้านล้านมวน (นับรวมผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดมีควัน ทั้งบุหรี่โรงงาน บุหรี่มวนเอง ซิการ์ ซิการิโล ไปป์ ชิชา รวมถึงผลิตภัณฑ์ในภูมิภาคอย่างบิดีและบุหรี่กานพลู) หรือคิดเป็นวันละ 2.03 หมื่นล้านมวนทั่วโลก ประเทศที่มีการบริโภคต่อหัวมากที่สุดส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป และสำหรับทั่วโลกนั้น ผู้ชายที่สูบบุหรี่เป็นสัดส่วนหนึ่งในสาม และผู้หญิงที่สูบบุหรี่หนึ่งในห้า บริโภคยาสูบคิดเป็นบุหรี่ได้วันละกว่า 20 มวน
 
15-24 ปี ช่วงเวลาสำคัญในการเปลี่ยนทิศทางการลุกลามของยาสูบ
 
Marissa Reitsma ผู้นิพนธ์หลักในการวิจัยการสูบบุหรี่ประจำสถาบัน IHME [1] กล่าวว่า "การศึกษาทางพฤติกรรมและชีววิทยาบ่งชี้ว่า วัยรุ่นมีความเสี่ยงที่จะติดบุหรี่ค่อนข้างมาก โดยการที่อัตราเลิกบุหรี่จะอยู่ในระดับสูงได้นั้นยังคงเป็นเรื่องยากทั่วโลก  ยาสูบก็ยังจะคงลุกลามต่อไปอีกหลายปี จนกว่าประเทศต่าง ๆ จะลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ลงได้อย่างมากในแต่ละปี และเมื่อประเมินจากการที่นักสูบ 9 ใน 10 รายเริ่มติดบุหรี่ก่อนอายุ 25 แล้ว การทำให้วัยรุ่นไม่แตะบุหรี่ไปจนถึงช่วงวัย 20 กลาง ๆ นั้น จะทำให้อัตราการสูบบุหรี่ลดลงอย่างมากสำหรับคนรุ่นต่อไป"
 
ในปี 2019 คาดว่าผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 24 ปีนั้นมีจำนวนประมาณ 155 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 20.1% สำหรับวัยรุ่นชาย และ 5.0% สำหรับวัยรุ่นหญิงทั่วโลก
 
ผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่ราวสองในสาม (65.5%) เริ่มสูบบุหรี่ก่อนอายุ 20 ปี และ 89% เริ่มสูบก่อนอายุ 25 ปี สิ่งนี้แสดงให้เห็นช่วงอายุสำคัญซึ่งเผยให้เห็นถึงพฤติกรรมการติดสารนิโคติน  จนกลายเป็นผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
 
เมื่อปี 2019 นั้น พบวัยรุ่นกว่าหนึ่งในสามกลายเป็นผู้สูบบุหรี่เป็นประจำใน 12 ประเทศและดินแดน ได้แก่ บัลแกเรีย โครเอเชีย ลัตเวีย ฝรั่งเศส ชิลี ตุรกี และกรีนแลนด์ เช่นเดียวกับ 5 หมู่เกาะแปซิฟิก
 
 
 
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1156878/IHME_Logo.jpg


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by