หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: ทันตแพทย์จ่ายยาปฏิชีวนะให้คนไข้เพิ่มขึ้นอย่างมาก )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: IQ โพสเมื่อวันที่: 11/17/20 เวลา 10:26:43
สมาพันธ์ทันตแพทย์โลกเผยทันตแพทย์จ่ายยาปฏิชีวนะให้คนไข้เพิ่มขึ้นอย่างมากใ นช่วงที่อังกฤษล็อกดาวน์รอบแรก
 
สมาพันธ์ทันตแพทย์โลก (FDI World Dental Federation: FDI) เผยแพร่รายงานสมุดปกขาวว่าด้วยการดื้อยาปฏิชีวนะ เนื่องในสัปดาห์รณรงค์สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ (World Antimicrobial Awareness Week)
 
ผลการศึกษาล่าสุดที่เผยแพร่ทางวารสาร British Dental Journal (BDJ) ในวันนี้ ระบุว่า การล็อกดาวน์ทั่วประเทศอังกฤษรอบแรกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ก่อให้เกิดผลพวงที่ไม่ได้ตั้งใจ นั่นคือ ทันตแพทย์จ่ายยาปฏิชีวนะให้คนไข้เพิ่มขึ้นถึง 25%
 
การดื้อยาปฏิชีวนะเป็นปัญหาระดับโลกที่คุกคามสุขภาพและการเงิน เนื่องจากทำให้หายป่วยช้า ต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น และมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ตอกย้ำความเร่งด่วนในการจัดการกับปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ ด้วยการผนวกประเด็นนี้ไว้ใน 5 แนวทางที่จะนำไปสู่สุขภาพและสุขภาวะที่ดีทั่วโลก การดื้อยาปฏิชีวนะเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อทุกคนและต้องจัดการอย่างเร่งด่วน หากการดื้อยาปฏิชีวนะยังคงเพิ่มขึ้น คาดว่าเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะจะเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตทั่วโลกภา ยใน 30 ปีข้างหน้า
 
ทั้งนี้ WHO เตรียมจัดงานสัปดาห์รณรงค์สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ระหว่างวันที่ 18-24 พฤศจิกายนนี้
 
ยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาอาการปวดฟัน โรคติดเชื้อของฟันส่วนใหญ่ตอบสนองต่อการรักษาทางทันตกรรมด้วยการกำจัดต้นตอท ี่ทำให้เกิดการติดเชื้อโดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ในกรณีปกติทั่วไป การใช้ยาปฏิชีวนะเพียงอย่างเดียวในการรักษาไม่ใช่วิธีที่เหมาะสม และการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นจะทำให้เชื้อดื้อยามากขึ้น
 
"ยาปฏิชีวนะเป็นยาช่วยชีวิต ดังนั้น ยาปฏิชีวนะต้องได้ผลเมื่อคนไข้จำเป็นต้องใช้จริง ๆ" Dr. Wendy Thompson นักวิชาการด้านทันตกรรมขั้นพื้นฐานจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ซึ่งเป็นสมาชิกของ FDI ABR Working Group และผู้เขียนรายงานผลการศึกษานี้ กล่าว
 
"เชื้อที่ดื้อยาปฏิชีวนะก่อให้เกิดความเสี่ยงอันใหญ่หลวงต่อความปลอดภัยของค นไข้ ด้วยเหตุนี้ การที่ทันตแพทย์จ่ายยาปฏิชีวนะให้คนไข้เพิ่มขึ้นอย่างมาก (เพิ่มขึ้นกว่า 25% ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน) จึงเป็นสิ่งที่น่าวิตกกังวลอย่างยิ่ง อันที่จริงการจ่ายยาปฏิชีวนะลดลงอย่างต่อเนื่องมานานหลายปีแล้ว แต่การจำกัดการรักษาทางทันตกรรมช่วงโควิด-19 ส่งผลให้การจ่ายยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเราต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกหลังจากที่อังกฤษประกาศล็อกดาวน์ทั่วประ เทศรอบสอง"
 
"เราอยู่ในช่วงเวลาที่ท้าทายอย่างยิ่ง คนไข้ที่รอรับการรักษามักได้รับยาปฏิชีวนะมากกว่าคนไข้ที่ได้รับการรักษาอย่ างเหมาะสมทันที เมื่อการรักษาทางทันตกรรมเข้าสู่ "วิถีใหม่" ในยุคโควิด-19 เราจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นว่าผู้ป่วยจะเข้าถึงการรักษาทางทันตกรรมที่ มีคุณภาพสูงอย่างรวดเร็ว และใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม"
 
โรคระบาดที่ค่อย ๆ คืบคลาน
 
ด้วยเล็งเห็นถึงความเร่งด่วนของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สมาพันธ์ทันตแพทย์โลกจึงเผยแพร่รายงานสมุดปกขาวในหัวข้อ "บทบาทสำคัญของทันตแพทย์ในการลดการดื้อยาปฏิชีวนะ" ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยข้อมูลมากมายจากห้องสมุดออนไลน์ และมาพร้อมหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ที่รองรับผู้เรียนจำนวนมาก (MOOC) โดยรายงานสมุดปกขาวนี้เป็นก้าวสำคัญที่ตอกย้ำว่าทันตแพทย์ทั่วโลกต้องตระหนั กถึงบทบาทของตนเองในการป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อของฟัน และจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม
 
"เรากำลังมองดูโรคระบาดที่ค่อย ๆ คืบคลาน และเราจำเป็นต้องช่วยกันอย่างเร่งด่วนเพื่อชะลอความเคลื่อนไหวนี้" Dr. Gerhard K. Seeberger ประธานของ FDI กล่าว
 
"ในอนาคต บรรดาทันตแพทย์มีความรับผิดชอบอย่างชัดเจนในการมีส่วนร่วม ตั้งปณิธาน และลงมือสนับสนุนความพยายามทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก เพื่อจัดการกับปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ"
 
- สามารถดูรูปภาพได้ที่ AP Images (http://www.apimages.com) -
 
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Michael Kessler
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ FDI
มือถือ: + 34 655 792 699  
อีเมล: michael.kessler@intoon-media.com
 
เกี่ยวกับสมาพันธ์ทันตแพทย์โลก
สมาพันธ์ทันตแพทย์โลก เป็นตัวแทนของทันตแพทย์กว่า 1 ล้านคนทั่วโลก พันธกิจขององค์กรคือการเป็นผู้นำในการทำให้ประชากรโลกมีสุขภาพช่องปากที่ดี สมาชิกขององค์กรประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและสมาคมทันตกรรมระดับชาติกว่า 200 แห่ง ในกว่า 130 ประเทศ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที www.fdiworlddental.org
จากคุณ: DrWinny โพสเมื่อวันที่: 12/02/20 เวลา 00:55:33
รายงานมีวิธีการวิจัยอย่างไรบ้างครับจริงๆ เอาที่จริงๆ
จากคุณ: TMA โพสเมื่อวันที่: 12/03/20 เวลา 12:38:08
แม่ผมอายุ 82 ปี ปวดฟันเหงือกบวมแดง หมอฟันให้ amoxicillin มากิน  
ผ่านไป 5 วัน ไม่ดีขึ้น
ผมเปลี่ยนเป็น Azithromycin 3 วันหายปวดบวม
กลับไปทำหัตถการได้
 
 Grin Grin Grin


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by