หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: ประเทศไทย เสพยาเสพติดถูก กม แล้ว บัตรทองเตรียมรับมือกันยังคะ )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: jumpoo โพสเมื่อวันที่: 11/16/20 เวลา 12:33:58
เสพกระท่อมนำร่องไปแล้ว ดูแลตัวเองกันดีๆ โดยเฉพาะอุบัติทางท้องถนน
จากคุณ: jumpoo โพสเมื่อวันที่: 11/16/20 เวลา 12:34:52
ออก กม มา นี้ ..คือ ศึกษามาดีแล้วใช่ไหมค่ะ ไม่ใช่เพื่อหาเสียง
จากคุณ: Pandermonium โพสเมื่อวันที่: 11/16/20 เวลา 13:02:04
ไม่ต้องห่วง ยุบสภาก่อน ประกาศใช้ทั่วประเทศแน่ ๆ
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 11/16/20 เวลา 14:30:43
ถ้าสามารถ...เสพใบกัญชา/ ใบกระท่อม ได้อย่างถูกกฎหมาย
ชาว Lower Markets คงจะถูกใจสิ่งนี้ อิ อิ อิ
จากคุณ: blitzs โพสเมื่อวันที่: 11/16/20 เวลา 15:42:45
 เสพนานๆ ประสาทจะหลอนมะ  ถ้าไม่มี long term complication อะไร ก็ดีกว่าให้มันเสพยาบ้านะครับ  เพราะอย่างไรคนเสพมันก็จะเสพ เสพยาอื่นเสียดุลการค้า แถมสร้างกลุ่มอิทธิพล ยาก็ราคาแรงเฟร่อ กระตุ้นให้คนเข้าวงการ
   ส่วนอุบัติเหตุ มันก็กินเหล้า ตายกันทุกวัน คงไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่
   คือมันมี ทฤษฎี ว่าถ้ายาถูกกฏหมาย ราคาถูกมากๆ คนค้าไม่มีกำไร ก็ไม่ต้องพยายามทำตลาด  เพื่อหาผู้เสพรายใหม่เพิ่ม ระยะยาวคนจะเสพยาลดลง ทำนองนี้ครับ  บังเอิญยาบ้า เสพแล้วหลอน ก่อนมันจะตายไปกันหมด จะเอามีดไม้ไล่แทงคนปกติตายไปด้วยประมาณนั้น เลยทำไม่ได้
จากคุณ: jumpoo โพสเมื่อวันที่: 11/16/20 เวลา 16:17:57
on 11/16/20 เวลา 15:42:45, blitzs wrote:
 เสพนานๆ ประสาทจะหลอนมะ  ถ้าไม่มี long term complication อะไร ก็ดีกว่าให้มันเสพยาบ้านะครับ  เพราะอย่างไรคนเสพมันก็จะเสพ เสพยาอื่นเสียดุลการค้า แถมสร้างกลุ่มอิทธิพล ยาก็ราคาแรงเฟร่อ กระตุ้นให้คนเข้าวงการ
   ส่วนอุบัติเหตุ มันก็กินเหล้า ตายกันทุกวัน คงไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่
   คือมันมี ทฤษฎี ว่าถ้ายาถูกกฏหมาย ราคาถูกมากๆ คนค้าไม่มีกำไร ก็ไม่ต้องพยายามทำตลาด  เพื่อหาผู้เสพรายใหม่เพิ่ม ระยะยาวคนจะเสพยาลดลง ทำนองนี้ครับ  บังเอิญยาบ้า เสพแล้วหลอน ก่อนมันจะตายไปกันหมด จะเอามีดไม้ไล่แทงคนปกติตายไปด้วยประมาณนั้น เลยทำไม่ได้

 มีrecommendไหนทางการแพทย์ที่แนะนำคนปกติไปเสพกระท่อมบ้างค่ะ ในการรักษาแผนปัจจุบัน หรือ การprevention เผื่อ เปลี่ยนมุมมอง ถ้าไม่เห็นแก่เรื่องเงินอย่างเดียว  
   ในการทางการแพทย์ย่อมเห็นสุขภาพคนเป็นสำคัญค่ะ หรือ การบำบัดยาเสพติดแนะนำคนติดยาบ้าให้ติดกัญชาแทน  อันนี้จอเป็นความรู้
จากคุณ: doreus โพสเมื่อวันที่: 11/16/20 เวลา 16:47:45
https://www.oncb.go.th/ncsmi/cottage8/ใบกระท่อม%20สรรพคุณทางยา%20ประโยชน ์และโทษ.pdf
ใบกระท่อม สรรพคุณทางยา ประโยชน์และโทษ
ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กระท่อม ในประเทศไทยมีการนามาใช้เป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และปวดมวนท้อง และบางพื้นที่ กล่าวกันต่อมาว่าสามารถบรรเทาโรคเบาหวานได้ ชาวนานิยมบริโภคโดยการเคี้ยวใบสด หรือเอาใบ
มาย่างให้เกรียมและตาผสมกับน้าพริกรับประทานเป็นอาหาร เพื่อให้มีแรงทางานและสามารถทน ตากแดดอยู่กลางแจ้งได้เป็นเวลานานโดยไม่รู้สึกเหนื่อย ชาวมลายูใช้ใบกระท่อมตาพอกแผล และใช้ ทั้งใบเผาให้ร้อนวางบนท้องรักษาโรคม้ามโต ตลอดจนใช้กระท่อมเพื่อทดแทนฝิ่นในท้องที่ซึ่งหาฝิ่น ไม่ได้ และบ่อยครั้งมีการใช้ใบกระท่อมเพื่อควบคุมการติดฝิ่น โดยเฉพาะในประเทศนิวซีแลนด์ใน ปัจจุบัน
กระท่อมเป็นไม้ยืนต้นที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า มิตราไจนา สเปซิโอซา คอร์ท (Mitragyna Speciosa Korth) จัดอยู่ในตระกูล รูเบียซีอี (Rubiaceae) มีถิ่นกาเนิดในเขตร้อนชื้นแถบเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย มาลายู จนถึงเกาะนิวกินีด้วย ที่พบในประเทศไทยมีอยู่ ๓ พันธุ์ คือ แตงกวา (ก้านเขียว) ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่) และก้านแดง มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละที่ เช่น ในประเทศไทย ภาคเหนือเรียกอีด่าง อีแดง กระอ่วม ภาคใต้ เรียกท่อม หรือท่ม ในมลายูเรียกคูทุม (Kutum) หรือ คีทุมเบีย (Ketum Bia) หรือ เบียก (Biak) ลาวเรียก ไนทุม (Neithum) อินโดจีน เรียก โคดาม (Kodam)
กระท่อมจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ชนิดเดียวกับกัญชา ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้ โทษ ปี 2522 มาตรา 7
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mitragyna speciosa Korth. วงศ์ Rubiaceae ชื่ออื่นๆ ท่อม อีถ่าง
 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระท่อมเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง มีแก่นเป็นไม้เนื้อแข็ง สูง10 -15 เมตร อยู่ในตระกูล Mitragyna speciosa ใบคล้ายใบกระดังงา มีชนิดก้านใบแดงและใบเขียว ดอกกลมโตขนาดเท่า ผลพุทรา ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม แผ่นใบขนาดกว้างประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 8-14 ซม. ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 ซม.
แหล่งที่พบ ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูลพัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และตอนบนของ ประเทศมาเลเซีย
 สารสาคัญที่พบในใบกระท่อม
ใบกระท่อมประกอบด้วยแอลคะลอยด์ทั้งหมดประมาณร้อยละ ๐.๕ ในจานวนนี้เป็นมิตราไจนีน (Mitragynine) ร้อยละ ๐.๒๕ ที่เหลือเป็น สเปโอไจนีน (Speciogynine) ไพแนนทีน (Paynanthine) สเปซิโอซีเลียทีน (Speciociliatine) ตามลาดับ ซึ่งชนิดและปริมาณแอลคะลอยด์ที่พบแตกต่างกัน ตามสถานที่ และเวลาที่เก็บเกี่ยว ซึ่งแบ่งตามสูตรโครงสร้างได้สารประกอบ ๔ ประเภท คือ
 1. อินโดลแอลคะลอยด์ (Indole Alkaloids)
2. ออกอินโดลแอลคะลอยด์ (Oxindole Alkaloids)
3. ฟลาวานอยด์ (Elavanoids)
4. กลุ่มอื่น ๆ เช่น ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol), แทนนิน (Tannins)
 อาการของผู้ติดใบกระท่อม
มีลักษณะคล้ายกับแอมเฟตามีน คือ เบื่ออาหาร ทางานได้มากเกินปกติ ตื่นเต้น เพราะประสาทถูก กระตุ้น แต่ยังไม่เคยมีรายงานผู้เสพติด ใบกระท่อมก่อปัญหาอาชญากรรมหรืออุบัติเหตุ เหมือนที่ ได้รับรายงานกรณีผู้เสพติดแอมเฟตามีน
 
 วิธีเสพ
เคี้ยวใบสดหรือบดใบแห้งให้เป็นผง ละลายน้าดื่ม บางรายเติมเกลือด้วยเล็กน้อยเพื่อป้องกันท้องผูก ส่วนมากจะเคี้ยวเพียง 2-3 ใบ และดื่มน้าอุ่น หรือกาแฟร้อนตาม ใช้วันละ 3-10 ครั้งต่อวันตามอาการ เหนื่อย เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ปริมาณการใช้จะเพิ่มขึ้น (ประมาณร้อยละ 37 ใช้วันละ 21-30 ใบ)
 ผลจากการเสพ พบว่าหลังเคี้ยวใบกระท่อมไปประมาณ 5-10 นาที จะมีอาการเป็นสุข กระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร) กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทางาน ทาให้สามารถทางาน ได้นาน และทนแดดมากขึ้น แต่จะเกิดอาการกลัวหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน ผู้เสพจะมี ผิวหนังแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น อาการข้างเคียง ได้แก่ ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย เบื่อ
 อาหาร ท้องผูก อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ นอนไม่หลับ ถ้าเสพใบกระท่อมในปริมาณมากๆ จะทาให้ มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน (เมากระท่อม) แต่ในบางรายเสพเพียง 3 ใบ ก็ทาให้เมาได้ ในรายที่เสพใบ กระท่อมมากๆ หรือเป็นระยะเวลานาน มักจะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทาให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้าและเข้มขึ้น และยังพบอีกว่าเสพกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจาก ตัวใบก่อน อาจจะทาให้เกิดอาการที่เรียกว่า “ถุงท่อม” ในลาไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของ กระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลาไส้ ทาให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืด ขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทาให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลาไส้ บางรายจะมีอาการ โรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทาร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง
อาการขาดยา
ที่พบ คือ จะไม่มีแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก แขนขากระตุก รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สามารถ ทางานได้ อารมณ์ซึมเศร้า จมูกแฉะ น้าตาไหล บางรายจะมีท่าทางก้าวร้าว แต่เป็นมิตร (Hostility) นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ซึ่งตรงกับข้ามกับอาการขาดยาแอมเฟตามีนที่จะทาให้รู้สึกง่วงนอนมาก หิวจัดและมือสั่น
สรุปได้ว่า พืชกระท่อมมีสารแอลคะลอยด์ Mitragynine อยู่ในใบ มีฤทธิ์ระงับอาการปวด เช่นเดียวกับมอร์ฟีน โดยมีความแรงต่ากว่ามอร์ฟีนประมาณ ๑๐ เท่า และมีข้อดีกว่ามอร์ฟีนอยู่หลาย
 ประการ ดังนี้
 &#61623; กระท่อมไม่กดระบบทางเดินหายใจ
&#61623; ไม่ทาให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
&#61623; พัฒนาการในการติดยาเกิดช้ากว่ามอร์ฟีนหลายปี
&#61623; ไม่มีปัญหาเรื่องอาการอยากได้ยา (Craving) จึงไม่มีกรณีผู้ติดกระท่อม ก่อเหตุร้ายหรือพัวพันกับ
อาชญากรรมใดเลย
 
 &#61623; อาการขาดยาไม่ทรมานเท่ามอร์ฟีน และสามารถบาบัดได้ง่ายกว่ายากล่อมประสาท ระยะ ๒ – ๓ สัปดาห์ ขณะที่ผู้ติดมอร์ฟีนอาจต้องพึ่ง Mitragynine ซึ่งเป็นสารเสพติดเช่นเดียวกัน เป็น เวลานาน ๓ เดือนขึ้นไป
&#61623; การควบคุมทางกฎหมาย ไม่มีสนธิสัญญาที่เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศห้ามการปลูกเหมือนฝิ่น
&#61623; ใช้บาบัดอาการติดฝิ่นหรือมอร์ฟีนได้
 สรรพคุณทางยา
สมัยโบราณ กระท่อมเป็นพืชที่ใช้เข้าเป็นตัวยาในตารับพวกประเภทยาแก้ท้องเสีย ปวดเบ่ง ปวดเมื่อย
 ตามร่างกาย ท้องเสีย ท้องเฟ้อ ท้องร่วง ทาให้นอนหลับ และระงับประสาท ในมุมมองของแพทย์แผน ไทยส่วนใหญ่ จะนาพืชใบกระท่อมมาใช้เป็นยารักษาแก้ท้องร่วง ในสูตรยาของหมอพื้นบ้านหรือหมอ แผนโบราณ เช่น ตารับยาประสะกระท่อม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีความจาเป็นต้องใช้ยาขนาดนี้ แล้ว เพราะมียาแผนปัจจุบันและแผนโบราณให้ผลเท่าเทียมหรือดีกว่าอีกทั้ง แม้ใบกระท่อมให้ผลการ ออกฤทธิ์ที่อาจมีประโยชน์ทางยาได้ แต่ทาให้เสพติดและมีผลเสียต่อสุขภาพ หากใช้ติดต่อกันนานๆ การนาใปใช้ในทางที่ผิด ปัจจุบันใบกระท่อมมีปัญหาการแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นและนักเรียน อาจ เนื่องมาจากมีราคาถูกและทาให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มได้เช่นเดียวกับสารเสพติด อื่น โดยมักนิยมนาน้า กระท่อมต้ม ผสมกับโค้ก ยากันยุง และยาแก้ไอ (4&#215;100)
  การควบคมุตามกฎหมาย
ปี พ.ศ. 2486 ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ประกาศควบคุมการใช้พืชกระท่อม โดยตรา พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2486 ระบุห้ามปลูกและครอบครองรวมทั้งห้ามจาหน่ายและเสพ ใบกระท่อม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 กระท่อมเป็นพืชเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยา เสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 “ผู้ใดผลิต จาหน่าย นาเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่ 2 – 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 150,000 บาท ครอบครองโดย มิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ”
 การควบคุมในต่างประเทศ สหประชาชาติ(UN) จะยังมิได้มีการประกาศควบคุมพืชกระท่อมในบัญชี รายชื่อยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ แต่จาก World drug report 2013 ของสานักงานควบคุมยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ได้มีการ ขอความร่วมมือให้ประเทศสมาชิกเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของสารออกฤทธิ์ตัว ใหม่ๆ ซึ่งมี พืชกระท่อมรวมอยู่ด้วย ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลพบว่าประเทศในยุโรป เช่น เดนมาร์ก ลัตเวีย ลิทัวเนีย โปแลนด์ โรมาเนีย สวีเดน มีการควบคุมพืชกระท่อม สาร mitragynine และ 7-hydroxymitragynine สาหรับออสเตรเลีย พม่า รวมถึงไทย มีการควบคุมพืชกระท่อมภายใต้
 
 กฎหมายที่เกี่ยวกับยาเสพติด ส่วนนิวซีแลนด์ ควบคุมพืชกระท่อม และสาร mitragynine ภายใต้ กฎหมาย Medicines Amendment Regulations จาก World drug report 2013 ของสานักงาน ควบคุมยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ให้ข้อมูลการแพร่ระบาดของ พืชกระท่อมว่า พืชกระท่อมมีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมี การรายงานการใช้ในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งในปี ค.ศ. 2011 ยุโรปเริ่มการมีขายพืชกระท่อมทาง อินเตอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย
 คนไทยจะนิยมบริโภคใบกระท่อมกันเมื่อใดไม่อาจทราบได้แน่นอน เมื่อย้อนไปตรวจดูประวัติศาสตร์ กฎหมายถึง พ.ศ. ๑๙๐๓ ในสมัยพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาใน
 กฎหมายตราสามดวง ว่าด้วยลักษณะโจร ก็ไม่ได้บัญญัติให้กระท่อมเป็นสิ่งผิดกฎหมาย คงมีแต่เฉพาะ ฝิ่นเท่านั้นที่ห้ามการบริโภค ครอบครองหรือจาหน่าย การที่แพทย์พื้นบ้านได้ใช้กระท่อมเป็นตัวยา สมุนไพรไทย แสดงให้เห็นว่า คนไทยได้ใช้กระท่อมกันมาเป็นเวลานานและใช้กันอย่างแพร่หลาย นั่นเอง
จากการศึกษาและสอบถามจากประเทศเพื่อนบ้านกับประเทศไทย คือ ลาว เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซีย พบว่า พืชกระท่อมที่อยู่ในรูปของ ต้น ใบ ราก ไม่เป็นสิ่งผิดกฎหมายของประเทศเหล่านี้ และประชาชนบางกลุ่มที่นิยมบริโภคในรูปของใบสดเพื่อกระตุ้นในการทางาน อีกทั้งในข้อตกลงของ สหประชาชาติก็ไม่ได้กาหนดให้กระท่อมเป็นสิ่งเสพติดหรือผิดกฎหมาย คงมีประเทศไทยประเทศ เดียวเท่านั้นท่ีกาหนดให้กระท่อมเป็นพืชที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้กาหนดให้ต้นกระท่อมเป็นพืชหวงห้าม จะตัดฟัน ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ทาให้เกิดปัญหาว่าหากประชาชนมีต้นกระท่อมอยู่ในสวนหรือที่ดิน ก็จะไปตัดโดยพลการไม่ได้ แต่ขณะเดียวกันการครอบครองกระท่อมก็ผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ยาเสพ ติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
กระท่อมเพิ่งปรากฏเป็นยาเสพติดต้องห้ามตามกฎหมายเป็นครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็ จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) ซึ่งเหตุผลที่แท้จริงของการออก พ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ. ๒๔๘๖ เนื่องจากฝิ่นที่รัฐเป็นผู้ผูกขาดผลิตฝิ่นสุก ฝิ่นดิบ มีราคาแพง ทาให้คนหันมาสูบกระท่อมแทนฝิ่น
 ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าแท้ที่จริงการตรา พ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ. ๒๔๘๖ และใช้สืบเนื่องมาจนทุกวันนี้มี เหตุผลและหลักการทางการค้าทางภาษีของรัฐ หาใช่เพราะเหตุที่พืชกระท่อมเป็นพืชเสพติดเองไม่ ซึ่ง หลักเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกาหนดเป็นแนวทางในการพิจารณาเพื่อจัดให้เป็นยา เสพติดที่จะต้อง ควบคุมนั้นมีดังนี้
 1. เมื่อไม่ได้เสพแล้วก่อให้เกิดอาการขาดยา 2. มีประโยชน์ทางการแพทย์น้อยหรือไม่มีเลย 3. ก่อให้เกิดปัญหาทางสาธารณสุข
 
4. ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม
ที่มา กระท่อม ยาระงับปวดหรือยาเสพติดเรียบเรียงโดย ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ ภาควิชาเภสัชเวท และเภสัชพฤษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จากคุณ: doreus โพสเมื่อวันที่: 11/16/20 เวลา 17:38:14
ตามที่ครม.มีมติเมื่อ 10 มี.ค.2563 โดยเห็นว่า หากรัฐบาลมีนโยบายที่จะยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ควรให้มีกฎหมายควบคุมพืชดังกล่าวเป็นการเฉพาะด้วย
 
ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมา “พืชกระท่อม” ถูกกำหนดกรอบวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของทางการแพทย์ การรักษาผู้ป่วย หรือการศึกษาวิจัยและพัฒนา ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสังคมไทย ที่มีการใช้พืชกระท่อมในรูปแบบวิถีชาวบ้าน เช่น การเคี้ยวใบกระท่อมสด หรือการนำมาชงชาหรือต้มน้ำดื่มสำหรับตนเองในกลุ่มชาวไร่ ชาวสวน กลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้
 
กระทรวงยุติธรรม จึงร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ส. สำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการสูงสุด กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม จัดทำร่างพ.ร.บ.พืชกระท่อม ขึ้น
 
โดยจะเป็นการกำหนดมาตรการควบคุมพืชกระท่อม การป้องกันมิให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงพืชกระท่อม และการป้องกันมิให้มีการนำพืชกระท่อมไปใช้ในทางที่ผิด ตลอดจนเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมในเชิงพาณิชยกรร ม อุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
 
ซึ่งเรื่องดังกล่าว กระทรวงยุติธรรมได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องทางเว็บ ไซต์ของสำนักงาน ป.ป.ส. แล้ว
 
ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดให้เสพพืชกระท่อม เพื่อการรักษาโรคและเพื่อการศึกษาวิจัย โดยห้ามผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป เสพพืชกระท่อมในลักษณะ 4x100 (ผสมกับ ยา ยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์) และห้ามไม่ให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ เสพพืชกระท่อม
 
รวมทั้ง ห้ามไม่ให้ผู้ใดยุยงส่งเสริมให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือสตรีมีครรภ์เสพพืช กระท่อม ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
 
ขณะเดียวกัน ยังกำหนดห้ามไม่ให้ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกพืชกระท่อม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ ป.ป.ส. ห้ามขายพืชกระท่อมให้กับผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และสตรีมีครรภ์ รวมถึงห้ามใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ขายพืชกระท่อม ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีและปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
 
“นอกจากนี้ ยังห้ามมิให้ขายพืชกระท่อมในสถานที่บางแห่ง เช่น โรงเรียน หอพัก สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนสนุก หรือขายผ่านอินเทอร์เน็ต หรือเร่ขาย ห้ามโฆษณาหรือทำการสื่อสารการตลาดพืชกระท่อม ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืน มีโทษปรับไม่เกิน 4 หมี่นบาท”
ที่สำคัญ ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยังห้ามไม่ให้ผู้ใดโฆษณาหรือทำสื่อสารการตลาดพืชกระท่อมโดยมีวัตถุประสงค์เพ ื่อจูงใจสาธารณชนให้เสพพืชกระท่อมซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
ทั้งนี้ ยังกำหนดให้กฎหมายฉบับนี้ไม่ใช้บังคับกับ (1) ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีส่วนประกอบของพืชกระท่อม ตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร (2) ยาที่มีส่วนประกอบของพืชกระท่อม ตามกฎหมายว่าด้วยยา (3) อาหารที่มีส่วนประกอบของพืชกระท่อม ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร และ (4) เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของพืชกระท่อม ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง
 
จากคุณ: jumpoo โพสเมื่อวันที่: 11/16/20 เวลา 19:23:28
จะมีภาพ เด็กอระถม ม ต้น ม ปลาย เคี้ยวกรัท้อมไปเรียนไปไหม   5555  
เด็กใช้ก็ยังปลดภัย ไอคิวพัฒนา
จากคุณ: SantaNiCo โพสเมื่อวันที่: 11/16/20 เวลา 21:08:21
on 11/16/20 เวลา 14:30:43, Dr._Panya wrote:
ถ้าสามารถ...เสพใบกัญชา/ ใบกระท่อม ได้อย่างถูกกฎหมาย
ชาว Lower Markets คงจะถูกใจสิ่งนี้ อิ อิ อิ

อย่าว่าซั่น คุณพี่ลองแล้วจะติดใจนะ
จากคุณ: SantaNiCo โพสเมื่อวันที่: 11/16/20 เวลา 21:11:30
on 11/16/20 เวลา 15:42:45, blitzs wrote:
 เสพนานๆ ประสาทจะหลอนมะ  ถ้าไม่มี long term complication อะไร ก็ดีกว่าให้มันเสพยาบ้านะครับ  เพราะอย่างไรคนเสพมันก็จะเสพ เสพยาอื่นเสียดุลการค้า แถมสร้างกลุ่มอิทธิพล ยาก็ราคาแรงเฟร่อ กระตุ้นให้คนเข้าวงการ
   ส่วนอุบัติเหตุ มันก็กินเหล้า ตายกันทุกวัน คงไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่
   คือมันมี ทฤษฎี ว่าถ้ายาถูกกฏหมาย ราคาถูกมากๆ คนค้าไม่มีกำไร ก็ไม่ต้องพยายามทำตลาด  เพื่อหาผู้เสพรายใหม่เพิ่ม ระยะยาวคนจะเสพยาลดลง ทำนองนี้ครับ  บังเอิญยาบ้า เสพแล้วหลอน ก่อนมันจะตายไปกันหมด จะเอามีดไม้ไล่แทงคนปกติตายไปด้วยประมาณนั้น เลยทำไม่ได้

 
เดี๋ยวนี้ยาบ้าราคาไม่แรงแล้วค่ะ  ออกข่าวกันโครม นายกคนนี้ทำยาราคาถูกไปเลย  ขี้ยาชอบ
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 11/17/20 เวลา 10:23:05
ขึ้นชื่อว่าเป็นยาเสพติดชนิดใดๆ หรือ กลุ่มใดๆ มันมีทั้ง Physical and Mental Addict ไม่มากก็น้อย ทั้งนั้นแหละครับ
การเสพ "สารเสพติด" (ผมไม่ชอบเรียกว่า ยาเสพติด เพราะมันไม่ใช่ยา) นั้นส่งผลต่อ "ร่างกาย+ จิตใจ+ เศรษฐกิจ+ สังคม" ไม่มากก็น้อย
ลองให้บรรดา เจ้าสัว/ นายตำรวจ/ นายทหาร/ แพทย์/ ครู/ นักเรียน/ นักศึกษา ฯลฯ เสพทุกวันสัก 3 เดือนสิครับ  
ประเทศไทยล่มจมแน่นอน
 อิ อิ อิ
จากคุณ: positive โพสเมื่อวันที่: 11/17/20 เวลา 11:21:52
มีอาจารย์ท่านใด มีลิงค์บทความ แนวการรักษาผลข้างเคียงจากใบกระท่อม/กัญชา บ้างครับ เช่น ตรวจร่างกาย อย่างไร รักษาอาการ Overdose อย่างไร
จากคุณ: doreus โพสเมื่อวันที่: 11/17/20 เวลา 15:27:32
https://drugabuse.com/kratom/overdose/
จากคุณ: positive โพสเมื่อวันที่: 11/18/20 เวลา 15:18:53
on 11/17/20 เวลา 15:27:32, doreus wrote:
https://drugabuse.com/kratom/overdose/

 
ขอบคุณครับ  Smiley


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by