หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: เรื่อง “แพทย์เราจะอยู่และทำหน้าที่แพทย์ได้ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีในยุ )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 15:37:50
เรื่องขององค์กรแพทย์เรา-เวลานี้แพทย์ควรใส่ใจ-มีกรณีต้องทำให้ผ่านอีกมาก
 
         ผู้ตั้งกระทู้นี้คือตัวฉัน ชื่อแพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล เป็นผู้ติดตามกระทู้สาธารณสุขในห้องแพทย์นี้หลายปี สนใจประเด็นที่แพทย์โพสต์ประเด็น ให้ข้อมูล ประสบการณ์ ความรู้ และความเห็น  และในช่วงที่รับราชการที่กรมการแพทย์ ในฐานะผู้อำนวยการสำนักกฎหมายการแพทย์นั้น  ได้รับข้อมูลและแรงบันดาลใจในการทำงานจากห้องแพทย์ของ thaiclinic.com นี้ไปประกอบการค้นคว้าและทำงาน  
           จึงขอขอบคุณ thaiclinic.com ไว้ ณ.ที่นี้
 Undecided
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 15:39:53
หัวข้อ “แพทย์เราจะอยู่และทำหน้าที่แพทย์ได้ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีในยุคที่การฟ้องแพ ทย์ชุกชุม”  
 ที่จะเขียนในกระทู้นี้ ผู้เขียนใช้พื้นฐานจากการศึกษา วิจัยและทำงาน อันเกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้มากว่า 20 ปี หลังจบแพทย์ที่รามาธิบดี  อินเทิร์นที่โรงพยาบาลตำรวจ  เลือกไปทำงานในชนบท เป็นแพทย์ปฏิบัติการ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน จากนั้นสอบเข้าเรียนต่อระบาดวิทยา (epidemiology) สอบสวนและควบคุมการระบาดของโรค เช่นเดียวกับกรณี pandemic ของ Covid-19 ในเวลานี้  ขณะนั้นเน้นหนักการควบคุมการระบาดของโรค Occ Med ศึกษาต่อ Occ Med จบที่วิสคอนซิน  และทำงานที่โรงพยาบาลราชวิถีในฐานะแพทย์ตรวจรักษาผู้ป่วยโรคจากสารพิษ และโรคจากการทำงาน  เป็นหัวหน้าสำนักงานอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เมื่อปี ๒๕๓๓   จัดทำและอบรมแพทย์ในหลักสูตรอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการตรวจรักษาผู้ป่วย ต้องเป็นพยานแพทย์ในศาลที่เกี่ยวกับคดีของผู้ป่วยที่ให้การรักษาโดยเฉพาะคนไ ข้จากสารพิษ ในปี 2536 เป็นกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมให้กับสภาทนายความและพัฒนาหลักสูตรทนายความสิ่งแ วดล้อมให้สภาทนายความ และกระทรวงยุติธรรมได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลในทางแพทย์เวชศา สตร์สิ่งแวดล้อม (พ.ศ.2539-254Cool
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 15:41:00
ด้วยการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ในขณะนั้น ยังเป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทย   และการวินิจฉัยโรคและรักษาโรคในกลุ่มดังกล่าว  ทำให้ได้รับผลกระทบถูกนายจ้างของคนไข้ฟ้องว่าการวินิจฉัยและรักษาโรคกลุ่มดั งกล่าวนั้นไม่ถูกต้อง  และมีคดี ทั้งอาญา วินัย จริยธรรม ฯ จำนวนมาก ราว 50 คดี ในช่วงเวลาหลายปี  ทำให้มีชีวิตที่ไม่ปกติสุข  เช้าดูคนไข้-บ่ายไปศาล เป็นประจำๆ   ต้องหยุดการทำงานอาสาช่วยสภาทนายความ และต้องทำคดีด้วยตนเอง  ทำคำให้การช่วยตนเอง และว่าความเอง ท้ายสุด  
 
 หมดคดีได้ประมาณ ปี 2551
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 15:44:28
    เมื่อ หมดคดีได้ประมาณ ปี 2551  ก็พบว่าเพื่อนแพทย์รุ่นพี่รุ่นน้อง เริ่มมีคดีถูกคนไข้ฟ้อง จึงทำโครงการจัดตั้งสำนักกฎหมายการแพทย์ขึ้นในกรมการแพทย์ และรับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักกฎหมายการแพทย์เป็นได้คนแรกเมื่อ ปี ๒๕๕๗ ได้วางระบบช่วยแพทย์ทางวิชาการด้านกฎหมายการแพทย์ จัดและพัฒนาหลักสูตรข้อเท็จจริงทางคดีการแพทย์ หลักสูตรกฎหมายการแพทย์  จัดประชุมวิชาการคดีการแพทย์ที่เป็นปัญหา ให้องค์กรที่เกี่ยวข้องได้รับรู้และแก้ไขปัญหา
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 15:45:30
ในขณะนั้นมีกลุ่ม NGO ที่เรียกตนเองว่าเครือข่ายผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ ทำการรวมกันฟ้องแพทย์ และสร้างกระแสต่อเนื่อง โดยเฉพาะคดีผู้ป่วยวัณโรคเด็กของโรงพยาบาลเลย ซึ่งขณะนั้นศาลอุทธรณ์ให้ฝ่ายรักษาแพ้คดี และ NGO ได้ใช้สื่อให้ร้ายแพทย์รุนแรง และโฆษกศาลได้ออกมากล่าวในลักษณะว่าแพทย์ผู้ใหญ่ขององค์กรแพทย์ระดับประเทศข องเรา ที่พูดถึงเรื่องนี้อาจเข้าข่ายหมิ่นอำนาจศาล   สำนักงานกฎหมายการแพทย์จึงได้ทำการศึกษาวิจัยทางคดีดังกล่าวอย่างเร่งด่วน  และ จัดประชุมวิชาการเพื่อเสนอความจริงทางคดี  มีนักกฎหมายและผู้พิพากษาอาวุโส กับแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่เป็นปัญหาในดคี  พบว่าในทางวิชาการ  คดีมีข้อบกพร่อง เราบันทึกเทปส่งให้หน่วยงานของศาลระดับบนและเผยแพร่สู่สาธารณะ  ทำให้ยุติการเคลื่อนไหวของ NGOเกี่ยวกับคดีการแพทย์ไปได้มาก  ต่อเนื่องมาทุกวันนี้
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 15:46:36
     เมื่อได้เกษียณอายุราชการใน ปี ๒๕๕๙ ได้ทำงานที่ชอบคือการวิจัยทางการแพทย์ biobased medicine แต่ก็มีเพื่อนรุ่นพี่ รุ่นน้องที่เดือดร้อนถูกคนไข้ฟ้อง ปรึกษาคดีเข้ามามาก จึงรวมกับแพทย์ลูกศิษย์กฎหมายการแพทย์และนักกฎหมาย  ให้การช่วยเหลือทางเทคนิคในด้านข้อเท็จจริงของคดีทางการแพทย์ รวมถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ก็ได้พบว่าแม้ NGOจะเงียบการเคลื่อนไหวไป  แต่ด้วยการฟ้องแพทย์ที่รักษาผู้ป่วย มีผู้เชี่ยวชาญการฟ้องและกฎหมายให้ทำได้ง่าย  แม้กรณีแพทย์ทำถูกต้องก็ต้องถูกฟ้องไว้ก่อน   พบว่าคดีแพทย์ถูกคนไข้และญาติฟ้องมีเข้ามาขอให้ช่วยจำนวนมาก และทีมงานอาสามีงานคดีช่วยแพทย์ล้นมือ  จึงจัดโครงการบรรยายทางวิชาการเรื่องกฎหมายที่แพทย์ต้องรู้ และข้อควรรู้เพื่อป้องกันแก้ไขคดีสำหรับแพทย์  เป็นโครงการสนับสนุนให้แพทย์มีความรู้เบื้องต้นที่จะพอช่วยตนเองและช่วยเพื่ อนแพทย์กันได้  ทั้งนี้ได้ทำต่อเนื่องนับจากเกษียณอายุราชการ  ต่อมาได้ทำเป็นระบบอาสาจัดตั้งเป็นสถาบันกฎหมายการแพทย์ขึ้นในสมาคมแพทย์อาช ีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย มีแพทย์และนักกฎหมายอาสาเข้ามาช่วยแพทย์เพิ่มมากขึ้น  แต่ก็ไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 15:52:25
 สำหรับประสบการณ์เกี่ยวกับองค์กรแพทยสภา - ได้รวมแพทย์ที่สนใจยื่นมือช่วยกันแก้ไขปัญหาแพทย์ที่สั่งสมรุนแรง มุ่งจะสร้างแพทยสภาที่แพทย์พึ่งได้ ชื่อว่ากลุ่มพลังแพทย์    และได้รับเลือกให้เป็นกรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ.๒๕๕๘ ถึง ๒๕๖๐ เป็นเวลา ๒ ปี ในกลุ่มพลังแพทย์ ซึ่งแพทย์เลือกเข้าไป ๒ คน (มีกรรมการแพทยสภา ๕๖ คน)  แม้จะมีเสียงเพียง ๒ เสียง ก็ได้ร่วมกับ อ.พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแพทยสภาได้ ด้วยการเสนอ และเข้าชื่อแพทย์ตามกฎหมาย  จัดทำข้อมูลปัญหาและทางแก้ไข  แก้ได้ดังนี้  ๑ ให้การตราข้อบังคับสำคัญที่มีผลต่อแพทย์ ต้องเปิดรับฟังความเห็นสมาชิกแพทย์ ๒ ทำให้แพทยสภาเปิดประชุมใหญ่สมาชิกแพทย์ได้ ๑ ครั้งในรอบ ๕๐ ปี   และ๓ ทำให้มีระบบการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาแบบออนไลน์   แต่การทำงานยากมาก เพราะต้องใช้เสียงเกินครึ่งของ ๕๖ อย่างไรก็ดี จากการทำรายงานเสนอและเหตุผลอภิปรายในที่ประชุม ทำให้มีกรรมการจากคณบดีคณะแพทย์ต่างๆ ให้การสบับสนุน จึงได้ฝ่านมติมาได้  หากมีแพทย์ที่สนใจรุ่นต่อไป  มาพัฒนแก้ไข ระบบแพทยสภาก็จะดีขึ้นๆ  ครั้งนี้วาระนี้ก็ทำหน้าที่แพทย์ต่อองค์กรอีกครั้ง ในฐานะผู้สมัครกลุ่มพลังแพทย์ (หมายเลข 89-117)  เพียงนี้เพื่อรู้พื้นฐานของผู้ตั้งกระทู้นี้
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 15:53:33
  ในเรื่อง “แพทย์เราจะอยู่และทำหน้าที่แพทย์ได้ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีในยุคที่การฟ้องแพ ทย์ชุกชุม”  ในที่นี้ ขอตั้งฐานไว้ที่แพทย์ประกอบวิชาชีพโดยชอบอันเป็นส่วนใหญ่ ไม่ขอกล่าวถึงกรณีที่มี malpractice แพทย์ที่ถูกฟ้องคดีพบว่ามีทุกกลุ่มอายุ มีทั้งที่เป็นศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ หลากหลายสาขาแพทย์  และสังกัดต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 15:54:20
    จะแก้ไขปัญหาใด ต้องมีความรู้และเข้าใจปัญหาที่ดี   และต้องเริ่มที่ตัวเรา  เราต้องหันมาพิจารณาตัวเราในภาพรวม ซึ่งก็คือศูนย์กลางของแพทย์ที่มีหน้าที่ดูแลการทำวิชาชีพของเรา  นั่นคือแพทยสภา  แพทย์เราต้องทำให้แพทยสภา เป็นองค์กรที่ดีเป็นที่วางใจของแพทย์และสังคม  เมื่อวินิจฉัยข้อเท็จจริงทางการแพทย์แล้ว เป็นที่ยุติได้   ในกรณีที่แพทย์ถูกระราน  ต้องทำหน้าที่คุ้มครอง และเข้าแก้ไขในระดับองค์กร  ให้มีการศึกษาวิจัย   จัดคณะทำงานศึกษาลักษณะคดีทางการแพทย์  การเสนอร่างกฎหมายแก้ไขไม่ให้การฟ้องแพทย์เป็นเรื่องง่ายและเป็นที่นิยมอย่า งที่เป็นอยู่นี้   จัดให้สภาทนายความดำเนินคดีจริยธรรมกับทนายความที่ค้าความคดีการแพทย์  และการอื่นที่จำเป็นต้องทำควบคู่กันไปอย่างจริงจัง
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 15:55:17
    วิธีพิจารณา จะทำเช่นนั้นได้ แพทย์ต้องใส่ใจองค์กรของตนเอง  และเข้ามาร่วมกันมีบทบาทในแพทยสภา เพื่อแก้ไขและสร้างศักยภาพของแพทยสภาที่จะเผชิญกับภัยคุกคามชีวิตการทำงานขอ งแพทย์ให้จงได้
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 15:56:04
    ทำไมสังคมไทย ต้องมีแพทยสภา - ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า แพทยสภา เกิดขึ้นด้วยกฎหมาย  ซึ่งกฎหมายนั้นมีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมของคนสังคมเพื่อให้สมดุลและสงบสุข  (เป็นระบบที่ไม่ใช้อำนาจอาวุธและกำลังเข้าปกครองกัน)    เมื่อการแพทย์เป็นเรื่องที่กระทำต่อเนื้อตัวร่างกายของมนุษย์  หากไม่มีเกณฑ์ว่าใครที่ทำได้บ้าง  อย่างไร  ก็จะทำให้สังคมเราต้องเถื่อน   กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่จะตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้อื่นได้ ต้องมีคุณสมบัติหนึ่งและได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานควบคุมมาตรฐานแพทย์   ผู้ใดทำตนเป็นหมอเถื่อนต้องมีความผิด กระทำไม่ได้  แพทย์เราทุกคน มีแพทยสภารับรองอนุญาตอยู่ เราจึงจะทำหน้าที่แพทย์สำหรับผู้อื่นได้  เดิมทีนั้นผู้มีหน้าที่นี้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายบ้านเมือง ต่อมาใน ปี ๒๕๑๑  สังคมเห็นว่าแพทย์ควรปกครองดูแลกันเอง จึงให้มีสภาของแพทย์ เรียกกันว่าแพทยสภา  มีวัตถุประสงค์เฉพาะ  และให้บริการโดยกลุ่มแพทย์  ที่ให้แพทย์เลือกกันเอง เรียกว่ากรรมการแพทยสภา ให้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมแพทย์ให้มีจริยธรรมที่ดี  และให้อำนาจในการจัดการผู้เป็นหมอเถื่อน  โดยมีรายละเอียดที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งขณะนี้ใช้ฉบับ พ.ศ.๒๕๒๕
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 15:57:13
ชวนแพทย์ เรามาดูข้อกำหนดกันสักหน่อย พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕  ให้ไว้ ณวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรมจึงทรงพระกรุณาโปรดเ กล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
ขอนำมาบางมาตรา (หาฉบับเต็มอ่านด้วยคะ)
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 15:58:02
มาตรา ๔  ในพระราชบัญญัตินี้
“วิชาชีพเวชกรรม” หมายความว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การผดุงครรภ์ การปรับสายตาด้วยเลนซ์สัมผัส การแทงเข็มหรือการฝังเข็มเพื่อบำบัดโรคหรือเพื่อระงับความรู้สึก และหมายความรวมถึงการกระทำทางศัลยกรรม การใช้รังสี การฉีดยาหรือสสาร การสอดใส่วัตถุใด ๆ เข้าไปในร่างกาย  ทั้งนี้ เพื่อการคุมกำเนิด การเสริมสวย หรือการบำรุงร่างกายด้วย
“ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยส ภา  “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา “สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกแพทยสภา
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 16:00:04
หมวด ๑ แพทยสภา มาตรา ๖  ให้มีสภาขึ้นสภาหนึ่งเรียกว่า “แพทยสภา” มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้แพทยสภาเป็นนิติบุคคล
 
 = เป็นบุคคลทางกฎหมาย
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 16:02:09
    มาตรา ๗  แพทยสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาช ีพเวชกรรม
(๒) ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบวิชาชีพในทาง การแพทย์
(๓) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
(๔) ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์และการส าธารณสุข
(๕) ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และการสาธารณสุขข องประเทศ
(๖) เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย
 
ขอแพทย์อ่านช้าๆให้รู้จริงและเข้าใจ แล้วถามว่า แพทยสภาเราเวลานี้ ทำตามวัตถุประสงค์นี้แล้วใช่ หรือไม่ อย่างไร  ดูเป็นประเด็นๆ ไป ไม่เหมารวม  
 
 
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 16:10:21
และให้ช่วยกันถามตัวเราในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของแพทยสภา ว่า เราได้ยื่นมือเข้ามาช่วยให้แพทยสภา(องค์กรแพทย์ของเรา) หรือไม่ อย่างไร นับจากจบแพทย์ และได้รับใบอนุญาต  ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เลข ว. ใดๆๆ
 ตอบตนเองอย่างตรงไปตรงมาคะ
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 16:13:12
ก่อนไปมาตราอื่น - ขอแพทย์เราพิจารณา ฐานะของเรา ตามกฎหมายสักนิด เราเป็นใคร มีหน้าที่ และสิทธิ อะไร  
 
 หมวด ๒ สมาชิก มาตรา ๑๑  สมาชิกแพทยสภาได้แก่ผู้มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๒) มีความรู้ในวิชาชีพเวชกรรมโดยได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาแพทยศาสตร ์ที่แพทยสภารับรอง
(๓) ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ..
 
มาตรา ๑๒  สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกมีดังต่อไปนี้
(๑) ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ขอหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรร มสาขาต่าง ๆ หรือขอหนังสือแสดงวุฒิอื่น ๆ ในวิชาชีพเวชกรรม โดยปฏิบัติตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการนั้น
(๒) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของแพทยสภาส่งไปยังคณะกรรมการเพื่อพ ิจารณา และในกรณีที่สมาชิกร่วมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเร ื่องใดที่เกี่ยวกับกิจการของแพทยสภา คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอทราบโดยมิชักช้า
(๓) เลือก รับเลือก หรือรับเลือกตั้งเป็นกรรมการ
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 16:22:29
และในข้อ(๒) (๓) (๔)
 
(๒) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของแพทยสภาส่งไปยังคณะกรรมการเพื่อพ ิจารณา และในกรณีที่สมาชิกร่วมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเร ื่องใดที่เกี่ยวกับกิจการของแพทยสภา คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอทราบโดยมิชักช้า
 
(๓) เลือก รับเลือก หรือรับเลือกตั้งเป็นกรรมการ
 
(๔) มีหน้าที่ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัติ นี้
 
    ขอให้ถามว่าแพทย์เราคือตัวฉันและตัวท่าน ได้ทำหน้าที่หรือไม่ เห็นว่าแพทยสภาควรกระทำอะไร อย่างไร เคยเสนอเรื่องเข้าไปให้มีการศึกษา ค้นคว้า และมีความเห็นเพื่อพัฒนา ตามเกณฑ์การเสนอหรือไม่  (ไม่นับการพูดลอยๆ พูด ment เฉยๆ เรื่อยๆ )
 
 ขอให้ถามว่า แพทย์เราคือตัวฉันและตัวท่าน เคยทำหน้าที่สมัครรับเลือกตั้ง เพื่อเข้าไปทำงานให้องค์กร หรือไม่  - เป็นการเสียสละพอควร ถ้าตั้งใจ มุ่งหมายทำหน้าที่  และทำจริง  
  และส่วนนี้ ควบคู่ไปกับ  ได้ทำหน้าลงคะแนนเลือกกรรมการแพทยสภา ให้เข้าไปทำงานหรือไม่ อย่างไร   (ทำงานเพื่อแพทยสภาตามแนวทางที่ให้ไว้ และ แพทย์เราได้อ่านเข้าใจและรับรู้  -ไม่นับการเลือกเพราะเป็นแพทย์ที่รู้จัก)  
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 16:26:56
และหน้าทีสำคัญยิ่ง  
 
(๔) มีหน้าที่ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัติ  
 
     การผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์ แห่งวิชาชีพ - ทำกันได้หลายทาง และทำกันได้ทุกเมื่อ แพทย์เราช่วยกันทำหน้าที่อันเป็นพื้นฐานสำคัญข้อนี้กันมากน้อยเพียงใด  หากเราไม่ผดุงเกียรติศักดิ์ (ทำดี ทำคุณภาพ ไม่ทับถมกัน รักกัน เตือนกัน ใช้ภาษาจรรโลงใจกันและกัน ) แล้วจะให้ใครเข้าใจและช่วยผดุงเกียรตินี้
จากคุณ: ThaiMedLaw โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 17:45:09
เรื่องนี้สำคัญครับ
[font=Verdana][/font][size=2][/size]TEXT
[b][/b]
จากคุณ: positive โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 20:24:26
ขอบคุณครับ
จากคุณ: ThaiMedLaw โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 22:24:26
on 11/08/20 เวลา 20:24:26, positive wrote:
ขอบคุณครับ

 
สำคัญจริงๆ  พร้อมรับคำแนะนำของแพทย์เราด้วยกัน โดยเฉพาะเรื่องกฎฆมายการแพทย์
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 23:04:41
มาตรา ๘  แพทยสภามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๒) พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๓) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาแพทยศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเวชกรรมของสถาบันต่าง ๆ
(๔) รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพเวชกรรมของสถาบันทางการแพทย์
(๕) รับรองวิทยฐานะของสถาบันทางการแพทย์ที่ทำการฝึกอบรมใน (๔)
(๖) ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกร รมสาขาต่าง ๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่น ๆ ในวิชาชีพเวชกรรม
 
ตรงนี้แหละคะ  (๑) คือที่มาของการที่แพทย์เราทั้งหลาย เกิดใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม และใช้ชีวิตความเป็นแพทย์ได้  
 
และ (๖) คือที่มาของการเป็น expert, specialist สาขาต่างๆได้  
 
ในทางกลับกัน หากไม่ใช่ ก็ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ หรือถูกเพิกถอน ได้ / ไม่มีหนังสือวุฒิบัตร สาขาใดๆ ได้ ทั้งศัลย์ ทั้งสูติ ทั้งกุมาร หรือใดๆ ได้  เราก็เป็นประเทศที่ไม่มีอารยะ มาตรฐานวิชาชีพใดๆ
 
และแม้ผู้จบวิชาแพทย์ จะมีสิทธิขอขึ้นทะเบียนได้ ตามสิทธิของสมาชิกแพทยสภา ในมาตรา ๑๒ (๑)  แต่ถ้าไม่มีองค์กรวิชาชีพระดับประเทศ ที่ทำหน้าที่ตามอำนาจในมาตรา ๘  ข้อ (๑) และ (๖) เราก็ไม่มีองค์กรที่ชอบด้วยหลักกฎหมาย รับรองได้  - สังคมก็คงสับสนวุ่นวาย ไร้กติกา  
 
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 23:16:11
 แล้วกฎหมายจะให้ใครเป็นผู้ทำหน้าที่และอำนาจ ตาม มาตรา ๘ ที่จะออกและดำเนินการที่เป็นหน้าที่ของแพทยสภาได้  จะให้เป็นบุคคลเดียว เช่น ในการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น อธิบดี หรือ ผอ.กองประกอบโรคศิลป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข  ก็พบกับข้อจำกัดอย่างมาก มีข้อด้อย ด้วยจะไม่เข้าใจการแพทย์และพัฒนาการของการแพทย์ และอาจมีกรณีบุคคลใช้ดุลพินิจ ให้/ไม่ให้ ตามใจชอบ  
 
   ในปี พ.ศ.๒๕๑๑ จึงมีการตรา พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.๒๕๑๑ เพื่อให้มีสภาหนึ่งเรียกว่าแพทยสภา และให้มีการบริหารโดยกลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคล เรียกว่าคณะกรรมการแพทยสภา โดยให้มาจากการเลือกของสมาชิกแพทย์ทั้งปวง
 
     และ พ.ศ.๒๕๒๕ ก็ได้มีการตรา พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.๒๕๒๕ ให้ มีคณะกรรมการแพทยสภา
 
  หมวด ๓ คณะกรรมการแพทยสภา
มาตรา ๑๔  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการแพทยสภา” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย เจ้ากรมแพทย์ทหารบก เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ นายแพทย์ใหญ่กรมตำรวจ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกอีกจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการโดยตำแห น่งในขณะเลือกตั้งแต่ละวาระ และให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ..
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 23:31:33
การบริหาร ใช้การมีมติอันเป็นเสียงข้างมากของคณะกรรมการ   ไม่ใช่การสั่งการของผู้มีอำนาจคนใดคนหนึ่ง  ในกรณีคณะกรรมการแพทยสภา จะดำเนินการทางการแพทย์ เช่นมีมติขอเสนอแก้ไข มาตรา ๘ ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค  ไม่ให้เสรีเกินขอบเขตในการชี้ประเภทคดี ของบุคคลใด กระทั่ง เป็นปัญหาสั่งสมเช่นทุกวันนี้  ก็ต้องมีการเห็นด้วยกันของกรรมการจำนวนเกินครึ่งหนึ่ง ของ ๕๖ คน เพื่อให้มีผลตามกฎหมาย  จึงจะนับหนึ่งเริ่มต้นการแก้ไขปัญหาได้  
        องค์กรจะทำหน้าที่ได้  ต้องมีการบริหารที่ดี  การบริหารที่ดีต้องมีคนที่ดีและสามารถเข้าไปช่วยกันทำ
        การบริหารองค์กรวิชาชีพเช่นแพทยสภา - จำเป็นต้องมีคุณภาพทางการแพทย์ และมีประสิทธิภาพ  และต้องทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามมาตรา ๗ ให้จงได้  --- จำเป็นต้องมีคนทำงานคือกรรมการที่มีสำนึกในส่วนรวมขององค์กรแพทย์  มีความรู้ มีทักษะ และมี Methodology ในการบริหารที่ดี มีวิธีการเฝ้าระวังปัญหา มีวิธีการ แก้ไข และพัฒนา - ซึ่งต้องมีบุคคลเข้าไปทำหน้าที่อย่างจริงจัง ไม่เข้าไปทำเพียงเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของแพทย์ ซึ่งจะทำให้องค์กรตกต่ำ  หากเราละเลย ไม่สมัคร ไม่ใช้สิทธิ ไม่ลงคะแนน ไม่ใช้ดุลพินิจ เลือกผู้สมัครกรรมการแพทยสภาที่ดีอย่างรอบคอบ - อะไรจะเกิดขึ้นกับวิชาชีพแพทย์
 
        ดังนั้นแพทย์เราควรช่วยกันประคับประคององค์กรของเราอย่างดี และมีส่วนร่วมในการทำ  
         หากแพทย์เราพร้อมมีส่วนร่วม แต่คณะกรรมการที่เลือกเข้าไป ไม่พร้อมให้แพทย์เรามีส่วนร่วม ไม่จัดให้มีการประชุมใหญ่แพทย์ ไม่รับฟังปัญหาของแพทย์หรือสมาชิก  ไม่ตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาแพทย์ และทำจริงจัง  จะตราข้อบังคับใดๆทางการแพทย์ ก็ไม่เปิดรับฟังความเห็นแพทย์ที่เป็นสมาชิก - เราก็จะวนเวียน สู่ความตกต่ำได้
         ดังนั้นเราต้องใส่ใจ และพิถีพิถัน ในการเลือกกรรมการแพทยสภาอย่างยิ่ง
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 23:49:08
   คณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่อะไร และจะทำหน้าที่ได้ดีเพียงใด รับฟังสมาชิกแพทย์ ใส่ใจสมาชิกแพทย์เพียงใด ทำหน้าที่ได้บรรลุหรือไม่  ขอให้ดูอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแพทยสภานี้  
 
 มาตรา ๒๑  ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) บริหารกิจการแพทยสภาตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในมาตรา ๗
(๒) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำกิจการหรือพิจารณาเรื่องต่าง ๆ อันอยู่ในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของแพทยสภา
(๓) ออกข้อบังคับว่าด้วย..
 (จ) หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน และการออกใบอนุญาต ..
 (ฉ) หลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบ วิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆ และหนังสือแสดงวุฒิอื่น ๆ ในวิชาชีพเวชกรรม  
(ช) การรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม..
(ฌ) การจัดตั้ง การดำเนินการ และการเลิกวิทยาลัยวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆ..
 
 ขอให้ดูว่า ปัจจุบันและที่ผ่านมาผู้เข้าไปบริหารกิจการแพทยสภา หรือกรรมการแพทยสภา  ได้ให้แพทย์เราเข้าช่วยงานกิจการแพทยสภา ตามสมควร ทั่วถึง หรือไม่อย่างไร  /  หรือมีการรวมไว้ที่กลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่งเป็นลักษณะกระจุก ไม่ทั่วกันหรือไม่ หากมี ก็จะทำให้แพทย์เรายิ่งห่างจากองค์กรแพทย์ของเรามากขึ้น และปัญหาแพทย์ก็พอกพูน
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 23:53:57
  ที่สำคัญเรื่องหนึ่ง คือการควบคุม และจัดการหมอเถื่อน  ซึ่งแพทย์เราประสบปัญหาว่าหมอเถื่อน มีเกลื่อนไป และแพทยสภา ไม่เข้าไปดูแล ตามมาตรา 26 นี้ ... เป็นสิ่งที่แพทยสภาต้องทำ และละเลยมากแล้ว ใช่หรือไม่  หากมีการดูแลดี จะเป้นผลดีทั้งวงการแพทย์ ตัวแพทย์ และประชาชน ใช่หรือไม่  
 
   หมวด ๕ การควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
 
 มาตรา ๒๖  ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ว่าพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพ ระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่กระทำต่อตนเอง
(๒) การช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยตามศีลธรรมโดยไม่รับสินจ้างรางวัล แต่การช่วยเหลือเยียวยาดังกล่าวต้องมิใช่เป็นการกระทำทางศัลยกรรม การใช้รังสี การฉีดยาหรือสสารใด ๆ เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย การแทงเข็มหรือการฝังเข็มเพื่อบำบัดโรคหรือระงับความรู้สึก หรือการให้ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณีแก่ผู้ป่วย..
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 23:57:06
 
อีกมาตราของการควบคุม ผู้อื่นประกอบวิชาชีพเวชกรรม คือ มาตรา ๒๘  แพทยสภาของเราได้ทำหน้าที่สมบูรณ์แล้วหรือยัง ควรปรับปรุงหรือไม่ และทำอย่างไรจึงจะมีการปรับปรุง จริงจัง  
 
มาตรา ๒๘  ห้ามมิให้ผู้ใดใช้คำหรือข้อความที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีความร ู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆ
     ทั้งนี้ รวมถึงการใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าวให้แก่ตน เว้นแต่ผู้ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการ ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขานั้น ๆ จากแพทยสภาหรือที่แพทยสภารับรองหรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้มีคุณสมบัติต ามที่กำหนดในข้อบังคับแพทยสภา
จากคุณ: 6699 โพสเมื่อวันที่: 11/09/20 เวลา 05:28:09
ประเด็นหนึ่งที่ไม่ควรจะมองข้ามคือ การฟ้องร้องแพทย์ในประเด็นเรื่องคุ้มครองผู้บริโภค ดังนั้น การที่แพทย์แพ้คดีในศาลส่วนหนึ่ง เกิดจากการตัดสินจากประเด็นเรื่องกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค
 
และอีกประเด็นหนึ่ง คือการผลิตแพทย์อย่างมาก ทำให้แพทย์ขาดความชำนาญในทักษะที่แท้จริง การที่แพทย์คนหนึ่ง จะเก่งได้ ต้องใช้เวลาในการดูผู้ป่วยประมาณ 10000 ชั่วโมง ถ้าดูผู้ป่วยวันละ 8 ชม. สัปดาห์ละห้าวัน ต้องใช้เวลานานประมาณ 4.8 ปี แต่จริงๆแล้ว จำนวนแพทย์ที่มากขึ้น จากเลข ว.หลักพัน กลายเป็นเลข ว. หลักห้าหกหมื่น ทำให้จำนวนเวลาแพทย์ที่จะเก่งได้ ต้องใช้เวลานานขึ้น จาก 4.8 ปี เป็น 4.8 x 3 =14.4 ปี หรืออาจจะหมายความว่า แพทย์ที่จบมายุคหลัง อาจจะไม่มีความเก่งเท่าที่ควรได้เลย แม้จะมีเทคโนโลยี่ทันสมัยขึ้นก็ตาม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจ และเศร้าใจ ถ้าเป็นความจริง
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/09/20 เวลา 05:30:25
ที่กล่าวถึงเหล่านั้น เป็นเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรแพทย์ระดับประเทศ
 
 ยังมีกรณีต้องกล่าวถึงกันต่อ  ถึง การทำหน้าที่และการใช้อำนาจในกรอบของกฎหมาย
 
 ต้องทำอย่างไร จึงจะเป็นการใช้อำนาจโดยธรรม ก่อประโยชน์ให้กับส่วนรวมของวงการแพทย์ ผู้ประกอบวิชาชีพโดยรวม  อันนำไปสู่การพัฒนาที่สร้างความมั่นคงให้กับแพทย์และสังคมไทบ
จากคุณ: ThaiMedLaw โพสเมื่อวันที่: 11/09/20 เวลา 12:04:07
แพทย์ต้องสนใจใจเลือกตั้งแพทย์สภาที่คิดว่าใส่ใจแพทย์จริงใจกว่าที่เคยมีแพท ย์สภามาครับ
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/09/20 เวลา 22:14:57
on 11/09/20 เวลา 12:04:07, ThaiMedLaw wrote:
แพทย์ต้องสนใจใจเลือกตั้งแพทย์สภาที่คิดว่าใส่ใจแพทย์จริงใจกว่าที่เคยมีแพทย์สภามาครับ

 
เพียงแพทย์เราเข้าใจ เหตุผลความจำเป็นที่สังคมต้องมีองค์กรศูนย์กลางแพทย์ที่ทำเวชปฏิบัติก็ดีแล้ ว  และจะดียิ่งขึ้น ถ้าแพทย์เรา มีส่วนร่วมทำให้ได้กรรมการแพทยสภาที่ดี และทำหน้าที่ของกรรมการแพทยสภาให้ครบถ้วน เหมาะสม ขั้นต่ำคือทำตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำ  
 
ขอบคุณที่เข้าร่วมให้ความเห็น
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/09/20 เวลา 22:16:58
ขออภัยที่วันนี้กระทู้ไม่ได้ก้าวหน้่า เนื่องจากทั้งวันนี้  ต้องเป็นเพื่อนช่วยแพทย์ในข้อเท็จจริงทางการแพทย์ กับเพื่อนแพทย์ที่ศาล ทั้งวัน คะ
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/09/20 เวลา 22:27:14
on 11/08/20 เวลา 15:45:30, DrOraMeta wrote:
     ในขณะนั้นมีกลุ่ม NGO ที่เรียกตนเองว่าเครือข่ายผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ ทำการรวมกันฟ้องแพทย์ และสร้างกระแสต่อเนื่อง โดยเฉพาะคดีผู้ป่วยวัณโรคเด็กของโรงพยาบาลเลย ซึ่งขณะนั้นศาลอุทธรณ์ให้ฝ่ายรักษาแพ้คดี และ NGO ได้ใช้สื่อให้ร้ายแพทย์รุนแรง และโฆษกศาลได้ออกมากล่าวในลักษณะว่าแพทย์ผู้ใหญ่ขององค์กรแพทย์ระดับประเทศข องเรา ที่พูดถึงเรื่องนี้อาจเข้าข่ายหมิ่นอำนาจศาล   สำนักงานกฎหมายการแพทย์จึงได้ทำการศึกษาวิจัยทางคดีดังกล่าวอย่างเร่งด่วน  และ จัดประชุมวิชาการเพื่อเสนอความจริงทางคดี  มีนักกฎหมายและผู้พิพากษาอาวุโส กับแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่เป็นปัญหาในดคี  พบว่าในทางวิชาการ  คดีมีข้อบกพร่อง เราบันทึกเทปส่งให้หน่วยงานของศาลระดับบนและเผยแพร่สู่สาธารณะ  ทำให้ยุติการเคลื่อนไหวของ NGOเกี่ยวกับคดีการแพทย์ไปได้มาก  ต่อเนื่องมาทุกวันนี้

 
ภาพจากโพสต์ทูเดย์ - ใช้ประกอบการอ้างถึง NGO กลุ่มหนึ่ง และกิจรรมทางสังคมของ NGO ดังกล่าวในประเด็นการแพทย์  - ซึ่งขณะนี้จางลงไปแล้ว เพราะแพทย์เราไม่ละเลยให้มีการกล่าวทำร้ายแพทย์ด้วยกันอย่างง่ายๆ แต่ใช้เหตุผลและข้อเท็จจริงเข้าแย้ง..สถานการณ์จึงลดลงไปมาก  หากแพทยสภาของเราถูกใส่ความ กระทบถึงแพทย์แต่ละท่านในฐานะสมาชิกแพทย์ได้ จำเป็นต้องไม่กลัว NGO เรียกให้ NGO ต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ตนเองด้วย ไม่ใช่ให้กล่าวหาแพทย์อันไม่เป็นความจริงได้  หากแพทย์ไม่ถูกต้อง เราก็ต้องปรับปรุงแก้ไข
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/10/20 เวลา 09:20:02
ก่อนจะไปต่อเรื่อง Methodology ของการทำงานของคณกรรมการแพทยสภา การบริหารหิจการของแพทยสภา
 
มีเพื่อนรุ่นน้อง แจ้งว่า มีกระทู้ที่เกี่ยวกับชีวิตแพทย์ คุณภาพชีวิตแพทย์ ที่สำคัญ ควรที่เราจะต้องงใส่ใจ  
 
เมื่อตรวจค้นดู พบว่า เป็นกระทู้ที่มีการอ่าน กว่า 3 000 ณ.เวลานี้  
 
 เป็นกระทู้วว่า ใครเป็นคนกำหนด resident มีกาวะการจ้างงาน ต่ำสุด
 
 ความว่า "ทั้งๆ ที่ทำงานหนักแทบตาย งานวิชาการก็เครียด สร้างฐานะก็ยังไปไม่ถึงไหน
อายุงาน ประสบการณ์ก็มากกว่า intern แถมยังจนท.รัฐเหมือนกัน
 
พตส. >>> ห้ามให้
ค่าไม่ทำเวชฯ เอกชน >>> ห้ามให้
ฐานเงินเดือนฟรีเทรน >>> เท่าลูกจ้างชั่วคราวป.ตรีจบใหม่ 15K บวก/ลบ
ฐานเงินเดือนต้นสังกัด >>> เรทราชการตามอายุงาน แต่ไม่ก้าวหน้าเพราะมาเรียน
สวัสดิการรักษาจากมหาวิทยาลัย >>> ฟรีเทรนห้ามให้ (แต่นศพ.ได้)
ค่าเวร >>> เหมาจ่ายทั้งเดือนหมื่นเดียว ไม่ก็ 500/8 hr
 
ร้ายสุดที่ได้ยินก็ สมัยที่มหาลัยออกนอกระบบใหม่ๆ ยังลูกผีลูกคน บางรรพ. ไม่จ่ายเงินเดือนและค่าเวรให้คนฟรีเทรนเลย "
 
   ตรงนี้ ขอให้ท่านที่อ่านฝึกตอบคามหลักกฎมาย หลักคุณธรรม และหลักทุกข้อใน ธรรมาภิบาล ร่วมกันด้วย
 
    จะขอต่อข้อกฎหมาย เรื่ององค์กรแพทยสภาของเรา ต่อไป ๒ วันต่อไปนี้ ติดภารกิจงานขอความช่วยเหลือจากแพทย์ด้านการวิจัยและพัฒนาบางประเด็น  
 
     จึงขอฝากประเด็นให้ท่านฝึกพิจารณา ประเด็นดังกล่าว ตามลำดับขันของการฟังข้อเท็จจริงด้วย
 
 แล้วพบกัน ต่อไป หากเวลาอำนวยคะ
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 11/10/20 เวลา 09:42:01
on 11/10/20 เวลา 09:20:02, DrOraMeta wrote:
ก่อนจะไปต่อเรื่อง Methodology ของการทำงานของคณกรรมการแพทยสภา การบริหารหิจการของแพทยสภา
 
มีเพื่อนรุ่นน้อง แจ้งว่า มีกระทู้ที่เกี่ยวกับชีวิตแพทย์ คุณภาพชีวิตแพทย์ ที่สำคัญ ควรที่เราจะต้องงใส่ใจ  
 
เมื่อตรวจค้นดู พบว่า เป็นกระทู้ที่มีการอ่าน กว่า 3 000 ณ.เวลานี้  
 
      เป็นกระทู้วว่า ใครเป็นคนกำหนด resident มีกาวะการจ้างงาน ต่ำสุด
 
      ความว่า "ทั้งๆ ที่ทำงานหนักแทบตาย งานวิชาการก็เครียด สร้างฐานะก็ยังไปไม่ถึงไหน
อายุงาน ประสบการณ์ก็มากกว่า intern แถมยังจนท.รัฐเหมือนกัน
 
พตส. >>> ห้ามให้
ค่าไม่ทำเวชฯ เอกชน >>> ห้ามให้
ฐานเงินเดือนฟรีเทรน >>> เท่าลูกจ้างชั่วคราวป.ตรีจบใหม่ 15K บวก/ลบ
ฐานเงินเดือนต้นสังกัด >>> เรทราชการตามอายุงาน แต่ไม่ก้าวหน้าเพราะมาเรียน
สวัสดิการรักษาจากมหาวิทยาลัย >>> ฟรีเทรนห้ามให้ (แต่นศพ.ได้)
ค่าเวร >>> เหมาจ่ายทั้งเดือนหมื่นเดียว ไม่ก็ 500/8 hr
 
ร้ายสุดที่ได้ยินก็ สมัยที่มหาลัยออกนอกระบบใหม่ๆ ยังลูกผีลูกคน บางรรพ. ไม่จ่ายเงินเดือนและค่าเวรให้คนฟรีเทรนเลย "
 
   ตรงนี้ ขอให้ท่านที่อ่านฝึกตอบคามหลักกฎมาย หลักคุณธรรม และหลักทุกข้อใน ธรรมาภิบาล ร่วมกันด้วย
 
    จะขอต่อข้อกฎหมาย เรื่ององค์กรแพทยสภาของเรา ต่อไป ๒ วันต่อไปนี้ ติดภารกิจงานขอความช่วยเหลือจากแพทย์ด้านการวิจัยและพัฒนาบางประเด็น  
 
     จึงขอฝากประเด็นให้ท่านฝึกพิจารณา ประเด็นดังกล่าว ตามลำดับขันของการฟังข้อเท็จจริงด้วย
 
      แล้วพบกัน ต่อไป หากเวลาอำนวยคะ

 
...คุณภาพชีวิตช่วงเป็น Resident; Free Training ก็อย่างที่อาจารย์ว่าเลยครับ
แต่กระนั้น ทุกๆปี ทุกๆสาขา ทุกๆโรงเรียนแพทย์ (โดยเฉพาะสาขาหลัก/ ยอดฮิตและ โรงเรียนแพทย์ชั้นนำ) นั้นมีคนสมัครเรียนต่อมากกว่าจำนวนที่แต่ละสถาบันรับได้มากมาย เลยครับ
นัยว่า "ยอมอดเปรี้ยว ไว้กินหวาน" ทั้งนั้นครับ อิ อิ อิ
จากคุณ: -=Jfk=- โพสเมื่อวันที่: 11/10/20 เวลา 10:53:00
ขอบคุณอาจารย์ สำหรับ ความรู้ด้านข้อกฏหมาย
 
และการทำงานให้ กับ เพื่อนแพทย์ครับ
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/13/20 เวลา 14:50:58
on 11/10/20 เวลา 10:53:00, -=Jfk=- wrote:
ขอบคุณอาจารย์ สำหรับ ความรู้ด้านข้อกฏหมาย
 
และการทำงานให้ กับ เพื่อนแพทย์ครับ

 
ขอบคุณน้องๆ ที่ทำพื้นที่ดีๆ ให้เราได้สื่อสารกันคะ
จากคุณ: elcondor_pasa โพสเมื่อวันที่: 11/14/20 เวลา 12:06:08
on 11/08/20 เวลา 23:53:57, DrOraMeta wrote:
  ที่สำคัญเรื่องหนึ่ง คือการควบคุม และจัดการหมอเถื่อน  ซึ่งแพทย์เราประสบปัญหาว่าหมอเถื่อน มีเกลื่อนไป และแพทยสภา ไม่เข้าไปดูแล ตามมาตรา 26 นี้ ... เป็นสิ่งที่แพทยสภาต้องทำ และละเลยมากแล้ว ใช่หรือไม่  หากมีการดูแลดี จะเป้นผลดีทั้งวงการแพทย์ ตัวแพทย์ และประชาชน ใช่หรือไม่  
 
        หมวด ๕ การควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
 
 มาตรา ๒๖  ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ว่าพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพ ระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่กระทำต่อตนเอง
(๒) การช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยตามศีลธรรมโดยไม่รับสินจ้างรางวัล แต่การช่วยเหลือเยียวยาดังกล่าวต้องมิใช่เป็นการกระทำทางศัลยกรรม การใช้รังสี การฉีดยาหรือสสารใด ๆ เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย การแทงเข็มหรือการฝังเข็มเพื่อบำบัดโรคหรือระงับความรู้สึก หรือการให้ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณีแก่ผู้ป่วย..

 
ในเรื่องหมอเถื่อนนี้ เห้นด้วยคะ   นับเป็นประเด็นที่แพทย์เรา ให้ความเห็นไม่พึงใจกรรมการแพทยสภาว่า  ไม่ทำหน้าที่จัดการหมอเถื่อน ละเลยหมอเถือ่น ให้หมอเถื่อนและพวก พูดจาใส่ความแพทย์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาและหลักกฎหมาย  ทำให้วงการแพทย์เสื่อมเสีย  
  - แต่กลับมาไล่จัดการแพทย์ที่ทำวิชาชีพอย่างถูกต้อง แต่มี NGO และมิจฉาชีพ เอาแพทย์เป็นเหยื่อด้วยการร้องเรียนแพทย์ไว้ก่อน
 
เพื่อให้เป็นประเด็นไปเคลื่อนไหว ทางสังคม และเรียกรับเงิน หากแพทย์ หรือสถานพยาบาลนั้นๆ ไม่ต้องการเป็นเรื่องในทางสังคม
 
เรื่องนี้ จะเป็นจริงเท็จอย่างไรจำเป็นต้องมีการศึกษา ตรวจสอบ และพิจารณากันอย่างจริงจังโดยปราศจากอคคิ
 
และก็มีประเด็นว่า บางสถานพยาบาล เจ้าของต้องการประหยัดค่าแพทย์   ในบางงาน ได้ใช้บุคคลที่ไม่ใช่แพทย์ ทำให้ผู้ป่วยและญาตเข้าใจผิดได้ ก็มี จึงยังสับสนกันอยู่  ควรทำให้ชัดเจน
 
การละเลยให้มีหมอเถื่อน แตกต่างจากการที่บุคคลดูแลรักษาตนเอง ซึ่งตรงนี้กฎหมายให้อำนาจไว้  แต่ไม่ให้อำนาจไปรักษาผู้อื่น
จากคุณ: elcondor_pasa โพสเมื่อวันที่: 11/14/20 เวลา 12:12:59
ขออภัยคะ
 
ยามนี้ อยากขอแพทย์เราที่อ่านกระทู้นี้ และเห็นว่าเรื่องบทบาทแพทย์กับองค์กรวิชาชีพของเรานั้น
 
แพทย์ทุกคน ทุกส่วน ทุกสาขา ทุกพื้นที่ ทุกวัย จะช่วยกันได้จริง
 
หากมองอนาคตแพทย์ ต้องการเห็นอนาคตแพทย์ ที่สดชื่นและสดใส
    ขณะนี้ขอให้ใส่ใจในบทบาทการทำหน้าที่เลือกกรรมการแพทยสภา เลือกคนที่ดี คนที่ใช่ หรือเลือกทีมที่ดี ทีมที่ใช่ เข้าไปกันให้เป็นผู้แทนแพทย์ได้มากพอ อบ่างเป็นจริงกันคะ
 
ตามหาซองสีน้ำตาลที่ใส่บัตรเลืกตั้งแล้วช่วยกันทำหน้าที่คะ
 
จากคุณ: elcondor_pasa โพสเมื่อวันที่: 11/15/20 เวลา 13:58:58
ขออัพเดท กระทู้นี้  
ด้วยมีแพทย์ในกระทู้อื่นใกล้เคียงกันในห้องพักแพทย์นี้  
 
 กล่าวถึงเรื่องแพทยสภา
 
 ในแง่มุมของการได้มาซึ่งผู้แทนองค์กรแพทย์ระดับประเทศ ที่น่าสนใจ  
หลายข้อดังนี้
 
๑ แพทยสภา มีวิธีจัดการเลือกตั้งให้แพทย์เข้าถึงได้ยาก ออกแบบไม่ดีพอ
๒ แพทย์บางท่านที่ต้องการใช้สิทธิ แต่เกรงว่าจะมีการโกงการเลือกตั้ง จึงต้องการเลือกเมื่อใกล้ถึงเวลาปิดรับการลงคะแนน
๓ แพทย์บางท่านกล่าวว่า  วิธีการการให้มีแพทย์ไปเลือกตั้งน้อย เลือกตั้งต่ำกว่า ร้อยละ 30 ทำให้กำหนดผลการเลือกตั้งได้  
 
ทุกข้อล้วนน่าคิด  
เกิดจาก เวป นี้ ห้องพักแพทย์ เปิดพื้นที่ให้เราได้แลกเปลี่ยนกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน  
 
จากคุณ: elcondor_pasa โพสเมื่อวันที่: 11/16/20 เวลา 23:06:19

งานดูแลผู้ป่วยตามหน้าที่ก็มากแล้ว - มึนคะ เรื่องนี้ ยากที่จะเข้าใจได้
จากคุณ: elcondor_pasa โพสเมื่อวันที่: 11/17/20 เวลา 21:47:13
อ่านพบในห้องนี้ มีแพทย์ท่านหนึ่ง comment ว่า พวกเสนอตัวรับเลือกตั้ง ทำตัวดีตอนขอให้เลือกตั้ง และล้วนไม่น่ารักทำนองนั้นเมื่อเลือกตั้งแล้ว
 
แม้จะจริงอยู่มาก แต่
 
Do not let us down
 
จากคุณ: Pandermonium โพสเมื่อวันที่: 11/17/20 เวลา 23:06:33
ควรรู้ตัวได้แล้ว
ตั้งกระทู้เรียกร้อง  แต่ไม่มีใครมาตอบ  คือ สิ่งสะท้อนความสนใจ และ ความคาดหวังในการเลือกตั้งแพทยสภา ได้ดี
จากคุณ: elcondor_pasa โพสเมื่อวันที่: 11/18/20 เวลา 17:38:25
ดูก็พอมีประโยชน์ได้บ้าง ไม่ใช่หรือคะ น่าจะส่งเสริมสนับสนุนนะคะ ให้แพทย์เราเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องดีขึ้น
จากคุณ: elcondor_pasa โพสเมื่อวันที่: 11/18/20 เวลา 18:12:05
on 11/17/20 เวลา 23:06:33, Pandermonium wrote:
ควรรู้ตัวได้แล้ว
ตั้งกระทู้เรียกร้อง  แต่ไม่มีใครมาตอบ  คือ สิ่งสะท้อนความสนใจ และ ความคาดหวังในการเลือกตั้งแพทยสภา ได้ดี

 
ก็เป็นประโยชน์ไม่ใช่หรือคะ  เรื่องกฎหมาย และแพทยสภา แพทย์เราควรรู้บ้างน่าจะดีนะคะ
 
การไม่มีใครมาตอบ ก็ไม่จริงนะคะ ....เท่าที่ดู มีบ้างคะ แต่ไม่มาก
 
 
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/27/20 เวลา 20:32:07
on 11/09/20 เวลา 05:28:09, 6699 wrote:
ประเด็นหนึ่งที่ไม่ควรจะมองข้ามคือ การฟ้องร้องแพทย์ในประเด็นเรื่องคุ้มครองผู้บริโภค ดังนั้น การที่แพทย์แพ้คดีในศาลส่วนหนึ่ง เกิดจากการตัดสินจากประเด็นเรื่องกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค
 
และอีกประเด็นหนึ่ง คือการผลิตแพทย์อย่างมาก ทำให้แพทย์ขาดความชำนาญในทักษะที่แท้จริง การที่แพทย์คนหนึ่ง จะเก่งได้ ต้องใช้เวลาในการดูผู้ป่วยประมาณ 10000 ชั่วโมง ถ้าดูผู้ป่วยวันละ 8 ชม. สัปดาห์ละห้าวัน ต้องใช้เวลานานประมาณ 4.8 ปี แต่จริงๆแล้ว จำนวนแพทย์ที่มากขึ้น จากเลข ว.หลักพัน กลายเป็นเลข ว. หลักห้าหกหมื่น ทำให้จำนวนเวลาแพทย์ที่จะเก่งได้ ต้องใช้เวลานานขึ้น จาก 4.8 ปี เป็น 4.8 x 3 =14.4 ปี หรืออาจจะหมายความว่า แพทย์ที่จบมายุคหลัง อาจจะไม่มีความเก่งเท่าที่ควรได้เลย แม้จะมีเทคโนโลยี่ทันสมัยขึ้นก็ตาม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจ และเศร้าใจ ถ้าเป็นความจริง

 
ประเด็นคุณภาพของแพทย์ -สำคัญมากๆ  ควรที่จะมีการหยิบยกขึ้นพิจารรณาแะลบะหาทางออก โดยองค์กรแพทย์ของเราอย่างจริงจังคะ....เหห็นด้วยกับท่านคะ
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/27/20 เวลา 20:41:50
ขออภัย ที่ห่างกระทู้ไปนาน หลายวัน -- ช่วงหายไป ได้ร่วมกับแพทย์ ๓ ทีม ที่ประสบปัญหาของการถูกฟ้องคีดแพ่ง คดีอาญา อันเกี่ยวกับการทำหน้าที่ - แต่คดีไม่ใช่เพียงวันที่ต้องไปศาล  ต้องมีช่วงเวลาเตรียมคดี รวบควมข้อเท็จจริง ลำดับความ รวบรวมพยานหลักฐาน วางโครงคดี และ หากมีการใช้พยานเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น ก็ต้องมีการขอศาลออกหมายเรียก ต้องจัดทำหมาย ต้องเดินหมาย ซึ่งก็ต้องร่วมกับฝ่ายกฎหมาย ทำหน้าที่ให้เป็นไปตามรอบเวลา  
 
อย่างไรก็ดี คดีการแพทย์ ไม่ได้จบเพียง เดือน หรือ ปี - ยังต้องอีกระยะเวลายาวนาน
 
ขอเพียงแพทย์ทำหน้าที่ดี ถูกต้อง - เรื่องคดีขอให้เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้น ผ่านไป และท้ายสุด ได้รับการชี้ พิพากษา อย่างตรงตามจริง - ขอท่านอย่าให้ใจของท่านต้องถดถอย ล้าไป กับคดีที่เกิดขึ้น
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/27/20 เวลา 21:29:47
มาตรา ๒๑  ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) บริหารกิจการแพทยสภาตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในมาตรา ๗
 
     สำหรับข้อ (๑) ของมาตรา ๒๑ นี้ - หมายถึง คณะกรรมการแพทยสภา  ต้องบริหารกิจการ
(๑) ควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาช ีพเวชกรรม
 
     ซึ่งจะทำงานได้ ก็ต้องมีการกำหนดจริยธรรมแห่งวิชาชีพไว้เป็นเกณฑ์  หากมีกรณีสมาชิกแพทยสภา(ซึ่งก็คือแพทย์) สังกัดสถานพยาบาลใด รพ.ใด ถูกกล่าวหากล่าวโทษ  --เจ้าของ ร.พ.จะให้ความสำคัญมาก เพราะเกี่ยวพันถึงกิจการของตน  -จึงเป็นที่ชัดเจนว่าหลาย รพ.ใหญ่ และ ผู้ที่มี รพ.ในเครือจำนวนมาก ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทเป็นกรรมการแพทยสภาถึงกว่า ๒๐ ปี    หลายครั้งมีกรณีกล่าวว่า มีการปกป้องเรื่องราวของกิจการใหญ่จนเสียสมดุล และได้ก้าวเข้าไปเป็นผู้แทนแพทยสภาในองค์กรต่างๆ โดยละเลยเรื่องของแพทย์อันเป็นส่วนรวม  
     กรณีจะเป็นเช่นไร - ในกิจการข้อนี้ของแพทยสภา  เรื่องควรตรงไปตรงมา และการสอบสวนกรณีกล่าวหาแพทย์ที่มี ควรได้รับการจัดการอย่างมีคุณภาพ - ไม่มีอคติ เพราะเป็นพวกพ้อง  
 
   - การฟังข้อเท็จจริงควรเป็นไปตามมาตรฐาน กรรมการแพทยสภา ควรที่จะให้เวลาพิจารณาเรื่องของแพทย์ที่มีการสอบสวนอย่างจริงจัง  
 
    -ในช่วงที่ ตัวฉัน เป็นกรรมการแพทยสภา เมื่อ ๒ ปี ก่อน  
- เสนอให้มีการปรับปรุงการจ่ายสำนวนคดีให้ random เพื่อให้กรรมการคนใด ไม่อาจเข้าไปมีอิทธิพลเหนือคดีได้  
- ให้มีการปรับปรุงคณะอนุกรรมการจริยธรรมที่พิจารณาคดีแพทย์ โดยให้มีแพทย์ที่มีประสบการณ์และความสามารถที่กระจายตัวทั่วประเทศ ได้มีส่วนร่วมกับแพทยสภาในการนี้  คล้ายคณะลูกขุน  ไม่ควรให้เพียงคนกลุ่มเดียว เป็นผู้ใช้อำนาจวนเวียน  
- เสนอให้พัฒนาอนุกรรมการพิจารณาข้อเท็จจริง ได้รับการพัฒนาหลักการแสวงหาพยานหลักฐานและการรับฟังข้อเท็จจริงอันเป็นสากล  จะได้มีหลักในวิชาข้อเท็จจริง และทำงานด้านข้อเท็จจริงแห่งดชคดีที่มีคุณภาพใหล้ความจริงมากที่สุด
- เสนอให้การพิจารณาคดีในชั้นกรรมการแพทยสภา เป็นไปอย่างรอบคอบ โดย ไม่เป็นไปแบบเร่งรีบ เพราะคณะกรรมการมีเรื่องต้องพิจารณาอื่นด้วย  
 
       แต่ข้อเสนอของ  หากเป็นเรื่องอันเกี่ยวกับกิจการของแพทยสภา  ก็ต้องได้รับการกำหนดเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณา  แต่ด้วยประธานที่ประชุม ไม่กำหนดเป็นเรื่องพิจารณา  ก็ไม่ได้ถูกพิจารณาโดยกรรมการ  หากได้รับการกำหนดเป็นวาระพิจารณา  กรรมการ ๑ เสียง ใน ๕๖ คน  ก็ทำได้เพียงเสนอ  
 
       จึงเป็นกรณี ที่เห็นได้ว่า แพทย์ที่เข้าใจว่าตนได้รับความไม่เป็นธรรมจากการพิจารณาคดีของแพทยสภา ก็ต้องหาทางออกอื่น  
 
       ทั้งที่ทางออกที่ดีคือการใส่ใจในคุณภาพ และมาตรฐาน อันต้อง มีการยกระดับ
 
        
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/27/20 เวลา 21:40:44
   เป็นเรื่องที่ควรต้องปรับปรุงอย่างมาก ในเรื่องการควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  
 
    ในชั้นการทำมติของแพทยสภาเกี่ยวกับว่าการตรวจรักษาผู้ปวยของแพทย์ท่านใด เป็นกรณีทีถูกต้องตามหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม ถูกต้องตามหลักปฏิบัติในเรื่องนั้น  
    จะมีประเด็นว่า เร่งรัด / กรรมการ แทบไม่มีเวลาอ่านเอกสารอย่างเพียงพอที่จะเข้าใจและสอบถามข้อเท็จจริงเพิ่มเต ิมได้  
     กับการประชุมคณะกรรมการแพทยสภา -หลายครั้งต้องมีการเสนอนับองค์ประชม และพบว่าไม่ครบ ไม่อาจประชุมได้ เนื่องจากคณะกรรมการมีจำนวนกว่า ๕๐ คน และหลายท่านไม่เข้าประชุม หรือเข้าประชุมแต่ต้นเพยงเล็กน้อย แล้วไม่อยู่ประชมจนครบ อาจเพราะติดภาระกิจ และบางท่านต้องเดินทางด้วยเครื่องบินมาจากต่างจังหวัด และมีไฟลท์จำกัด  
 
 แต่เป็นเรื่องที่ต้องปรับปรุง - หาไม่แล้วคณะกรรมการแพทยสภา ซึ่งมีหน้าที่บริการองค์กรด้วยมติ  ก็จะเป็นองค์กรที่ยากจะทำงานได้สำเร็จ
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 11/27/20 เวลา 21:44:04
มีกรรมการแพทยสภา บางส่วนที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่เข้าประชุมเป็นหลัก หรือประเภทไม่เข้าประชุมเลย
 
เป็นอันว่า แพทย์เราอาจเลือกได้กรรมการที่ไม่ทำหน้าที่.. เป็นสิ่งที่ฉงนใจอย่างมากว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร
 
แต่แพทย์ที่เลือกตั้งกรรมการเหล่านั้นเข้าไป - ก็ไม่อาจทราบได้เลยถึงว่ากรรมการที่เลือกเข้าไปนั้น ไม่เข้าไปทำหน้าที่
จากคุณ: DrWinny โพสเมื่อวันที่: 12/02/20 เวลา 16:19:16
พอเข้าใจบ้าง ครับ แต่ยังไม่ชัด ขอชัดกว่านี้ได้ไหมครับ
จากคุณ: DrWinny โพสเมื่อวันที่: 12/02/20 เวลา 16:19:35
พอเข้าใจบ้าง ครับ แต่ยังไม่ชัด ขอชัดกว่านี้ได้ไหมครับ
จากคุณ: DrWinny โพสเมื่อวันที่: 12/25/20 เวลา 21:01:13
ไม่มีคำตอบ แปลว่าไม่มีจริงหรือ
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 12/27/20 เวลา 01:36:45
วันนี้ ขอต่อด้วยเรื่องราว ที่แพทยสภา ต้องดูแลความเสียหายที่เกิดกัยชบองค์กรแพททย์ด้วย  ช่วยมห้แพทย์ ไม่ถูกรุกรายโดย NGO
 
มีช่วงหนึ่ง NGO ได้ใสความแพทย์ แพทยสภา เสียหายมาก
 
ขณะนั้น นายกแพทยสภา เป็นโจทกชก์ยื่นฟ้องNGOนั้นตามฟ้องนี้  ศาลไต่สวนประทับรับฟ้อง คดีมีมูล  กำลังอยู่ในกระบวนการ  แต่มีเลขาธฺิการ ไปถอนฟ้อง ทำให้แพทยสภาเสียโอกาสในการพิสูจน์ว่าเรามิได้เป็นตามที่ถูกใส่ความ  โดยเป็นการทำเกินกรอบอำนาจที่มติที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาให้ไว้  
 
อจ.อรพรรณ์ ขณะนั้นเป็นกรรมการแพทยสภา   ถูกขอให้ไปดูเหตุการณ์ที่ศาล  พบผิดปกติ จึงได้ทำคำร้องค้านไว้  
 
และต่อมาแพทยสภา ได้อุทธรณ์  
 
อจ.อรพรรณ์ ได้รับมติคณะกรรมการแพทยสภา ให้พิจารณา ร่างอุทธรณ์
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 12/27/20 เวลา 01:37:48
นี้คือคำฟ้อง แพทย์ท่านใดสนใจ ได้ศึกษาดูได้คะ
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 12/27/20 เวลา 01:48:00
นับเป็น กรณีที่ เราต้องช่วยกัน ช่วยแพทยสภาของเรากันคะ ไม่ให้ถูก เอ็นจีโอรังแกคะ  
 
การที่มีผู้อ้างเครือข่ายผู้ป่วย เคลื่อนไหวว่าทำเพื่อผู้ป่วย  โดยเป็นคนที่แพทย์และสังคมรู้จักเขาดี  แต่เขาได้ใส่ความวงการแพทย์ไว้มาก   แพทยสภา จึงจำเป็นต้องฟ้องเเขาเป็นจำเลย  กรณี ได้เผยแพร่ข้อความให้ร้ายแพทยสภา และแพทยสภา โดยฟ้องเป็นคดีอาญา  
 
ทนายได้ทำจนศาลนนทบุรี ประทีบรับฟ้อง และจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้ว เพื่อเอาคนทำผิดต่อแพทยสภามารับอาญาแผ่นดิน จะได้ไม่รุกรานวงการแพทย์ต่อไป  
 
ทั้งที่มีกรณีแพทยสภา ประชุม มีมติ ไม่ถอนฟ้อง เว้นแต่ จำเลยจะยอมทำตาม ๖ ข้อ - แต่ ผู้แทนของเราคือเลขาธิการ ไปถอนฟ้อง ทั้งที่การรับฟ้องกำลังดำเนินด้วยดี เพื่อจะปกป้อ่งวงการแพทย์เราได้  
 
 พญ.อรพรรณ์ฯ กรรมการแพทยสภา จากกลุ่มพลังแพทย์ (เราเป็น ๒ คน ใน กรรมการ ๕๖ คน)  ได้รับการขอจากกรรมการแพทยสภาท่านอื่น ให้เข้าดูสถานการณ์นี้  และได้เข้าแก้ไขสถานการณ์ด้วยการยื่นคำร้องคัดค้านการ กระทำนั้น  
 
และในการประชุมกรรมการแพทยสภาต่อมา ได้ มีมติว่าเลขาธิการทำเกินกรอบอำนาจ และต่อมาได้มีการอุทธรณ์ และคณะกรรมการแพทยสภา ได้มอบให้ พญ.อรพรรณ์ เป็นผู้พิจารณา (ร่าง) อุทธรณ์  
 
 ตามเรื่องราวของแพทยสภาของเรา ที่ยังต้องมีการแก้ไขพัฒนาอีกระยะ (ทั้งนี้เป็นเหตุการณ์ ช่วง พ.ศง๒๕๖๑)
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 12/27/20 เวลา 01:50:14
ตามนี้คือคำคัดค้าน ให้พิจารณาคดี NGO ใา่ความวงการแพทย์เราต่อไป
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 12/27/20 เวลา 01:51:32
หน้า ๑ ของคำฟ้อง
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 12/27/20 เวลา 01:52:52
หน้า ๒ ของคำฟ้อง
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 12/27/20 เวลา 01:53:20
หน้า ๓ ของคำฟ้อง และหน้า ๔ หน้า ๕ จะนำเสนอต่อไป
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 12/27/20 เวลา 01:54:50
หน้า ๓
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 12/27/20 เวลา 01:55:42
หน้๔
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 12/27/20 เวลา 01:56:01
หน้า ๕
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 12/27/20 เวลา 01:56:53
หน้าาช ๕
จากคุณ: DrOraMeta โพสเมื่อวันที่: 12/27/20 เวลา 02:01:17
และนี้คือ การรับทำพิจารณา ร่างอุทธรณ์ ของแพทยสภา - เรามีเรื่องต้องทำเพื่อความถูกต้องของวงการแพทย์อีกมาก
 
จากคุณ: DrWinny โพสเมื่อวันที่: 12/27/20 เวลา 21:43:23
นี้เป็นเรื่องความเป็นตัวตนของวงการแพทย์เราเลย - หลายคน ที่ทราบเรื่องว่า อจ.อรพรรณ์ ทำอะไร เพื่อแพทย์เรา เพื่อแพทยสภาของเราแล้ว  ได้บอกว่าขอบคุณ อจ.อรพรรณ์ อย่างมาก  
 
แต่หลายคนที่ไม่รู้จัก อจ.อรพรรณ์ ก็พูดกันไปต่างๆ นาๆ  
 
ดู อจ.เข้มแข็ง ทำงานตามตั้งใจ ไม่ย่อท้อ
 
ขอให้ อจ.ทำต่อไป  
 
แพทย์รุ่นใหม่ คงได้ก้าวตาม อจ.สืบไป
 
 
 
จากคุณ: DrConyBrown โพสเมื่อวันที่: 01/08/21 เวลา 22:19:31
อยู่ยาก  ปล่อยแพทย์ไปเลย
 
เขาว่ากันว่า ประเภทไม่เห็นโลงศพ  ไม่หลั่งน้ำตา
 
คนประเภทนี้ต้องปล่อยไป  
 
รอคนที่ใส่ใจจริงมาเกิด
 
ยังง่ายกว่า
จากคุณ: DrConyBrown โพสเมื่อวันที่: 01/09/21 เวลา 19:35:59
on 12/27/20 เวลา 21:43:23, DrWinny wrote:
นี้เป็นเรื่องความเป็นตัวตนของวงการแพทย์เราเลย - หลายคน ที่ทราบเรื่องว่า อจ.อรพรรณ์ ทำอะไร เพื่อแพทย์เรา เพื่อแพทยสภาของเราแล้ว  ได้บอกว่าขอบคุณ อจ.อรพรรณ์ อย่างมาก  
 
แต่หลายคนที่ไม่รู้จัก อจ.อรพรรณ์ ก็พูดกันไปต่างๆ นาๆ  
 
ดู อจ.เข้มแข็ง ทำงานตามตั้งใจ ไม่ย่อท้อ
 
ขอให้ อจ.ทำต่อไป  
 
แพทย์รุ่นใหม่ คงได้ก้าวตาม อจ.สืบไป
 
 
 

 
ขอให้ยืนหยัด แต่เราเองก็ต้องสนับสนุนด้วย - ร่วมด้วยช่วยกัน วงการเรา


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by