หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: สงสัยต้นทุนประกันสังคมครับ )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: xest โพสเมื่อวันที่: 11/07/20 เวลา 07:08:22
ออกตัวก่อนว่าผมรู้ราละเอียดคร่าวๆนะครับไม่ได้รู้ลึกเท่าไหร่
 
ตามที่ผมเข้าใจคือรพ.ที่รับปกส. จะได้เงินก้อนรายปีจากสนง.ปกส.แล้วเอามาบริหารเอาเองในระยะเวลา 1  ปี เงินที่เหลือก็คือเป็นกำไรเข้ารพ. ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ
 
ทีนี้ผมได้ยินเพื่อนๆผมที่ทำงานเอกชนที่รับปกส.บ่นกันเยอะมาก เวลาที่จะส่ง investigate บางอย่างจะต้องขออนุมัติเช่นพวก CT ถ้าเป็นเคสที่ indication มันชัดเจนส่วนใหญ่จะได้รับการอนุมัติ แต่ถ้าเคสบางเคสที่มันก้ำกึ่งๆ ก็ลุ้นเอาว่าจะได้หรือไม่ได้ เช่น
- sudden severe headache สงสัย subarachnoid --> ขออนุมัติส่ง CT บางเคสได้บางเคสไม่ได้ แล้วแต่ดวง ส่วนใหญ่จะตีกลับมาว่าถ้า neurosign ไม่มีอะไร ให้ treat ยาก่อนแล้วนัดมาดู  
แต่จากประสบการณ์ผมที่ทำงานใน ER 10 กว่าปี ไอ้เคสแบบนี้ คนไข้อายุน้อ ย ไม่มีโรคประจำตัว sudden headache + neurosigh normalผมส่ง CT เพื่อ R/O แล้วเจอ SAH มาแล้วก็หลายเคส
- ปวดท้องมานานๆ สงสัย biliary colic จะส่ง ultrasound ดูพวก gallstone บางเคสก็ได้บางเคสก็ไม่ได้
 
ผมเลยสงสัยว่าต้นทุนในการทำ imaging พวกนี้แต่ละครั้งรพ.ต้องแบกรับต้นทุนอะไรไว้บ้างนอกจากค่าไฟ เลยอนุมัติกันยากจัง จะเรียกว่ารพ.จะเสียเงินก็ไม่ใช่ เพราะได้เงินก้อนรายหัวตามจำนวนผู้ประกันตนรายปีมาแล้ว
 
สงสัยครับ ขอถามผู้รู้หน่อยนะครับ
จากคุณ: finches โพสเมื่อวันที่: 11/07/20 เวลา 08:19:44
ต้นทุนในการทำ investigation จะยกตัวอย่างกรณี CT นะครับ
ประกอบด้วยสองส่วน ส่วนต้นทุนคงที่ Fix cost (ซื้อหรือเช่าเครื่องมา เป็นค่าเสื่อมกับค่าเช่า อันนี้กำหนดไว้คงที่ในแต่ละปี) กับ ส่วนต้นทุนแปรผัน Variable cost เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนครั้งที่ใช้งาน
กรณี Variable cost ก็เช่น ค่าไฟ ค่าแรงเจ้าหน้าที่ ค่าอ่านของหมอรังสี ค่ายาที่ใช้กับผู้ป่วยแต่ละครั้งที่ใช้งาน ใช้มากเสียมาก  
คิดว่าทางโรงพยาบาลคงต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายในส่วนต้นทุนแปรผัน (Variable cost) นี่ล่ะครับเพราะเป็นส่วนที่จะเพิ่มขึ้นตามครั้งที่ใช้งาน ไม่ให้มากเกินไป ซึ่งก็ต้องไปดูเป้าหมายด้วยว่า มีเป้าในการทำกำไรเท่าไร ถ้าตั้งเป้าไว้สูงก็จะคุมเข้มหน่อยนั่นเอง
 Smiley
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 11/07/20 เวลา 10:52:02
on 11/07/20 เวลา 07:08:22, xest wrote:
ออกตัวก่อนว่าผมรู้ราละเอียดคร่าวๆนะครับไม่ได้รู้ลึกเท่าไหร่
 
ตามที่ผมเข้าใจคือรพ.ที่รับปกส. จะได้เงินก้อนรายปีจากสนง.ปกส.แล้วเอามาบริหารเอาเองในระยะเวลา 1  ปี เงินที่เหลือก็คือเป็นกำไรเข้ารพ. ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ
 
ทีนี้ผมได้ยินเพื่อนๆผมที่ทำงานเอกชนที่รับปกส.บ่นกันเยอะมาก เวลาที่จะส่ง investigate บางอย่างจะต้องขออนุมัติเช่นพวก CT ถ้าเป็นเคสที่ indication มันชัดเจนส่วนใหญ่จะได้รับการอนุมัติ แต่ถ้าเคสบางเคสที่มันก้ำกึ่งๆ ก็ลุ้นเอาว่าจะได้หรือไม่ได้ เช่น
- sudden severe headache สงสัย subarachnoid --> ขออนุมัติส่ง CT บางเคสได้บางเคสไม่ได้ แล้วแต่ดวง ส่วนใหญ่จะตีกลับมาว่าถ้า neurosign ไม่มีอะไร ให้ treat ยาก่อนแล้วนัดมาดู  
แต่จากประสบการณ์ผมที่ทำงานใน ER 10 กว่าปี ไอ้เคสแบบนี้ คนไข้อายุน้อ ย ไม่มีโรคประจำตัว sudden headache + neurosigh normalผมส่ง CT เพื่อ R/O แล้วเจอ SAH มาแล้วก็หลายเคส
- ปวดท้องมานานๆ สงสัย biliary colic จะส่ง ultrasound ดูพวก gallstone บางเคสก็ได้บางเคสก็ไม่ได้
 
ผมเลยสงสัยว่าต้นทุนในการทำ imaging พวกนี้แต่ละครั้งรพ.ต้องแบกรับต้นทุนอะไรไว้บ้างนอกจากค่าไฟ เลยอนุมัติกันยากจัง จะเรียกว่ารพ.จะเสียเงินก็ไม่ใช่ เพราะได้เงินก้อนรายหัวตามจำนวนผู้ประกันตนรายปีมาแล้ว
 
สงสัยครับ ขอถามผู้รู้หน่อยนะครับ

 
ลองคิดในมุมกลับว่า ถ้า จขกท. เป็น ผู้บริหาร หรือ เจ้าของ รพ.เอกชน นั้นๆ แล้วมีแพทย์ใน รพ.มาขอให้ Investigations นั่น นี่ โน่น...จะให้ทำได้เองเลยมั้ย  หรือ คุณ จขกท. จะอนุมัติทุกราย หรือ เกือบทุกราย มั้ยครับ อิ อิ อิ
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 11/07/20 เวลา 10:59:18
ถ้าทุกๆอย่าง อย่างที่คุณ จขกท.เล่ามานั้นปกติ แต่เจอ SAH/ SDH แล้วไง...เคส SDH or SAH นั้นต้องผ่าตัดทุกราย หรือผ่าตัดทันที รึเปล่าครับ...ถามอาจารย์ Neuro Surgeons ดูสิครับ  อิ อิ อิ
(ประวัติ+ ตรวจ ร่างกาย จึงสำคัญกว่า+ ต้องมาก่อน Investigations เสมอครับ)
จากคุณ: only2b โพสเมื่อวันที่: 11/07/20 เวลา 13:37:51
ต้นทุนประกันสังคม ใช้เกินเงินที่ได้ทั้ง รพ รัฐ และเอกชน ทั้งนั้น แต่ รพ รัฐอยู่ได้ เพราะเป็นเงินที่เพิ่มเติมจากงบ ของ สำนักประกันสุขภาพ กรมบัญชีกลาง และเงินบริจาค
รพ.เอกชน ก็ได้ เพราะมีเงินสดเข้าจำนวนหนึ่งแน่นอน เอาไปกู้เงินได้ คนไข้เพิ่ม ทำให้ รพ.ดูดี มีคนไข้ติด ไม่เงียบเหงา  OPD และคนไข้ในเพิ่ม  ถ้าจะขาย รพ. หรือเข้าตลาดหุ้น ก็มีราคา พอมีคนไข้มากก็หากินกับการเปิดโรงเรียนสอนคนดูแลผู้ป่วย เก็บเงินจากคนที่มาเรียนการดูแลผู้ป่วย ได้ทั้งเงินจากคนมาเรียน ได้แรงงานต้นทุนตำ่มาดูคนไข้
จากคุณ: xest โพสเมื่อวันที่: 11/07/20 เวลา 15:09:52
on 11/07/20 เวลา 08:19:44, finches wrote:
ต้นทุนในการทำ investigation จะยกตัวอย่างกรณี CT นะครับ
ประกอบด้วยสองส่วน ส่วนต้นทุนคงที่ Fix cost (ซื้อหรือเช่าเครื่องมา เป็นค่าเสื่อมกับค่าเช่า อันนี้กำหนดไว้คงที่ในแต่ละปี) กับ ส่วนต้นทุนแปรผัน Variable cost เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนครั้งที่ใช้งาน
กรณี Variable cost ก็เช่น ค่าไฟ ค่าแรงเจ้าหน้าที่ ค่าอ่านของหมอรังสี ค่ายาที่ใช้กับผู้ป่วยแต่ละครั้งที่ใช้งาน ใช้มากเสียมาก  
คิดว่าทางโรงพยาบาลคงต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายในส่วนต้นทุนแปรผัน (Variable cost) นี่ล่ะครับเพราะเป็นส่วนที่จะเพิ่มขึ้นตามครั้งที่ใช้งาน ไม่ให้มากเกินไป ซึ่งก็ต้องไปดูเป้าหมายด้วยว่า มีเป้าในการทำกำไรเท่าไร ถ้าตั้งเป้าไว้สูงก็จะคุมเข้มหน่อยนั่นเอง
 Smiley

 
โอ้ มันมีตรงนี้อยู่ที่ผมไม่ทราบ ความรู้ใหม่เลย ขอบคุณครับ
จากคุณ: xest โพสเมื่อวันที่: 11/07/20 เวลา 15:14:00
on 11/07/20 เวลา 10:59:18, Dr._Panya wrote:
ถ้าทุกๆอย่าง อย่างที่คุณ จขกท.เล่ามานั้นปกติ แต่เจอ SAH/ SDH แล้วไง...เคส SDH or SAH นั้นต้องผ่าตัดทุกราย หรือผ่าตัดทันที รึเปล่าครับ...ถามอาจารย์ Neuro Surgeons ดูสิครับ  อิ อิ อิ
(ประวัติ+ ตรวจ ร่างกาย จึงสำคัญกว่า+ ต้องมาก่อน Investigations เสมอครับ)

 
ผมเห็นด้วยครับอาจารย์ว่ามันไม่ต้องผ่าทุกเคสหรอกครับ medical treatment ได้เป็นส่วนใหญ่ด้วยครับ  
แต่ถ้าในรพ.เอกชน บอกว่าตรวจร่างกายปกติ ไม่ investigate แล้วนัดมา follow แล้วมาตรวจเจอทีหลังว่า bleed ผมว่ามันโคตรเสี่ยงโดนฟ้องเลยครับ อาจารย์ว่าไงครับ
จากคุณ: xest โพสเมื่อวันที่: 11/07/20 เวลา 15:19:01
on 11/07/20 เวลา 10:52:02, Dr._Panya wrote:

 
ลองคิดในมุมกลับว่า ถ้า จขกท. เป็น ผู้บริหาร หรือ เจ้าของ รพ.เอกชน นั้นๆ แล้วมีแพทย์ใน รพ.มาขอให้ Investigations นั่น นี่ โน่น...จะให้ทำได้เองเลยมั้ย  หรือ คุณ จขกท. จะอนุมัติทุกราย หรือ เกือบทุกราย มั้ยครับ อิ อิ อิ

 
ก็เพราะผมไม่ทราบถึงเรื่องการบริหารต้นทุนไงครับ ผมถึงมาถามเพื่อเก็บเป็นความรู้
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 11/07/20 เวลา 18:28:26
on 11/07/20 เวลา 15:14:00, xest wrote:

 
ผมเห็นด้วยครับอาจารย์ว่ามันไม่ต้องผ่าทุกเคสหรอกครับ medical treatment ได้เป็นส่วนใหญ่ด้วยครับ  
แต่ถ้าในรพ.เอกชน บอกว่าตรวจร่างกายปกติ ไม่ investigate แล้วนัดมา follow แล้วมาตรวจเจอทีหลังว่า bleed ผมว่ามันโคตรเสี่ยงโดนฟ้องเลยครับ อาจารย์ว่าไงครับ

 
เราซักประวัติ+ ตรวจร่างกายดีแล้ว คิดถึงภาวะ/ โรค...นี้แล้ว+ Notify/ Consult แพทย์เฉพาะทางแล้ว เค้ารับทราบ/ ชี้แนะ ว่าให้ทำ...แล้ว+ นัดผู้ป่วยมาติดตามอาการแล้ว
แต่ต่อมามีภาวะ/ โรค...อย่างที่เราคิดถึงจริงๆ ก็ Notify/ Consult อาจารย์ประจำแผนกอีกครั้งสิครับ ผป. จะมาฟ้องอะไรเรา เราไม่ได้ Missed Diagnosis or Malpractice ซะหน่อย นิ
 
- เคสปวดกลางท้องวันนี้ เรา DX+ RX as Acute Gastritis, แต่เราคิดถึง+ แนะนำ Appendicitis + นัด Follow up แก่ ผป.แล้ว แต่อีก 3 วันต่อมา กลายเป็น Appendicits จริงๆ
- เคส Low risk Pregnancy...Visit Labor Room อยู่ดีๆ ทุกอย่างดีหมด จู่ๆก็มี Non-Reassuring of Fetal Tracing  
ฯลฯ เป็นต้น
 
 
ขอเพียงเรา Manage ผป. อย่างถูกต้อง/ เหมาะสม ตามหลักวิชาการแพทย์+ สถานการณ์นั้นๆ
สิ่งที่เกิดภายหลัง เราก็ได้คิดถึง/ แนะนำ/ ป้องกัน/ รักษาในระดับที่เหมาะสมแล้ว นิ (ไม่ได้ ประมาท/ เลินเล่อ/ จงใจ ให้เกิดข้อผิดพลาดทางการแพทย์ซะหน่อย) อิ อิ อิ
จากคุณ: elcondor_pasa โพสเมื่อวันที่: 11/07/20 เวลา 19:23:05
on 11/07/20 เวลา 18:28:26, Dr._Panya wrote:

 
เราซักประวัติ+ ตรวจร่างกายดีแล้ว คิดถึงภาวะ/ โรค...นี้แล้ว+ Notify/ Consult แพทย์เฉพาะทางแล้ว เค้ารับทราบ/ ชี้แนะ ว่าให้ทำ...แล้ว+ นัดผู้ป่วยมาติดตามอาการแล้ว
แต่ต่อมามีภาวะ/ โรค...อย่างที่เราคิดถึงจริงๆ ก็ Notify/ Consult อาจารย์ประจำแผนกอีกครั้งสิครับ ผป. จะมาฟ้องอะไรเรา เราไม่ได้ Missed Diagnosis or Malpractice ซะหน่อย นิ
 
- เคสปวดกลางท้องวันนี้ เรา DX+ RX as Acute Gastritis, แต่เราคิดถึง+ แนะนำ Appendicitis + นัด Follow up แก่ ผป.แล้ว แต่อีก 3 วันต่อมา กลายเป็น Appendicits จริงๆ
- เคส Low risk Pregnancy...Visit Labor Room อยู่ดีๆ ทุกอย่างดีหมด จู่ๆก็มี Non-Reassuring of Fetal Tracing  
ฯลฯ เป็นต้น
 
 
ขอเพียงเรา Manage ผป. อย่างถูกต้อง/ เหมาะสม ตามหลักวิชาการแพทย์+ สถานการณ์นั้นๆ
สิ่งที่เกิดภายหลัง เราก็ได้คิดถึง/ แนะนำ/ ป้องกัน/ รักษาในระดับที่เหมาะสมแล้ว นิ (ไม่ได้ ประมาท/ เลินเล่อ/ จงใจ ให้เกิดข้อผิดพลาดทางการแพทย์ซะหน่อย) อิ อิ อิ

 
เห็นด้วยกับคำแนะนำคะ
จากคุณ: jumpoo โพสเมื่อวันที่: 11/08/20 เวลา 12:57:41
หมอมีindicationก็ยื่นไปนั้นแหละ ถ้าเค้าไม่อนุมัติก็บอกคนำข้ไปตรง  
ปกส ก็ เป็นlow cost health care system เหมือนกัน ถ้าไม่คุมค่าใช้จ่ายก็เจ๋ง
จากคุณ: blitzs โพสเมื่อวันที่: 11/09/20 เวลา 10:53:47
 ถามผิดแล้ว ไม่เกี่ยวกับต้นทุนเลย
  ระบบเหมาจ่าย มันทำให้ต้องลด ค่าใช้จ่าย ที่อาจจำเป็น หรือไม่จำเป็นลงก็แค่นั้นเอง มันก็เลยมีกำแพงเล็กๆ ให้ต้องสะดุดคิด
   ถ้าลองจ่ายเอง  ทุกการ ตรวจรักษา  แปลว่าได้เงิน ได้กำไร สิ่งจำเป็นก็ได้ตรวจอย่างรวดเร็ว และ จะเกิดการตรวจที่ไม่จำเป็นมากกว่าปกติ เผลอๆการตรวจที่มากกว่าปกติ ก็เป็นอัตรายกับคนไข้  ไม่ได้เพิ่ม ความปลอดภัยหรือความรวดเร็วในการรักษา เพราะมัวแต่ตรวจนอกเรื่อง  เสียเงินเสียเวลาอยู่
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 11/09/20 เวลา 11:53:46
- เราก็ซักประวัติ+ ตรวจร่างกาย+  Investigations ที่จำเป็น/ เหมาะสมกับโรค/ ภาวะนั้นจริงๆ แล้วก็วินิจฉัย หรือรักษา ไปในทางที่เหมาะสมกับโรคหรือข้อจำกัดต่างๆ ครับ
- คือลองนึกว่าเราเป็นหมอคนเดียวใน รพ.ชุมชน+ ไม่มีแล็บอะไรสักอย่าง+ รีเฟอร์ไปไหนไม่ได้ เราจะทำยังไง ครับ
- ในกรณีที่เราไม่แน่ใจเรื่องการวินิจฉัย/ รักษา หรือคิดว่า จำเป็นต้อง Investigates/ สั่งยา บางอย่างที่จำเป็น/ ราคาแพงนี้ก็อาจจะ Consult or Notify แพทย์ผู้ใหญ่/ แพทย์เฉพาะทาง ครับ ว่าเค้าคิดเหมือน- ต่างจากเรามั้ย/ เค้าทำยังไง/ รักษายังไง เป็นต้นครับ
 
ป.ล. แต่ว่างๆ ก็แนะนำให้อ่านหนังสือ/ ประชุมวิชาการ เยอะๆ/ บ่อยๆ โดยเฉพาะในสาขาที่เรา(คิดว่า)ไม่แม่น/ สนใจ ครับ
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 11/14/20 เวลา 09:46:48
on 11/08/20 เวลา 12:57:41, jumpoo wrote:
หมอมีindicationก็ยื่นไปนั้นแหละ ถ้าเค้าไม่อนุมัติก็บอกคนำข้ไปตรง  
ปกส ก็ เป็นlow cost health care system เหมือนกัน ถ้าไม่คุมค่าใช้จ่ายก็เจ๋ง

 
...ใช่ครับ
ในกรณีดังกล่าว หากวันข้างหน้า ผป. มีภาวะ/ โรค/ ภาวะแทรกซ้อน อย่างที่ จขกท. คิดถึง/ Notify แพทย์ผู้ใหญ่แล้วจริงๆ แต่ว่าไม่ได้รับ Response จนเป็นเหตุให้มี ปัญหาทางการแพทย์ (ทั้ง Morbid. and Mortal) จนถึงฟ้องร้องเรียกค่าเยียวยา/ ค่าเสียหาย แก่แพทย์ผู้เกี่ยวข้อง/ คลินิก หรือทางโรงพยาบาล (มีหลักฐานใน Medical Record อยู่ ใช่มั้ยล่ะครับ)
จขกท. น่าจะไม่ติดร่างแห ในการฟ้องร้อง(มั้ง)ครับ อิ อิ อิ...( ป.ล. ความเห็นส่วนตัว ครับ)
จากคุณ: DrWinny โพสเมื่อวันที่: 01/10/21 เวลา 15:08:50
ขอแทรกนิด...ด่วนนะ...่ช่วยแจ้งแพทยอื่นด้วย
 
--
แต่ที่แน่ๆๆ
 
หากแพทย์ไม่แก้ไข ด้วยที่แพทย์ส่วนใหญ่ ควรทำการลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา ก็อาจมีคะแนนผีอ้างเลขประกอบวิชาชีพของท่านไปใช้ได้
 
และมีเวลาเหลือน้อยมาก คือ  
 
เพียงอีก ๔ วันนี้เท่านั้น ที่พอทำได้คือการเลือก (ปิดรับลงคะแนน ๑๔ มค ๖๔ เวลา ๑๖.๓๐ น.)  
 
และเวลานี้ ทำได้เฉพาะผู้ที่ลงทะเบียน e vote แล้วเท่านั้น
หากเป็นผู้มีบัตรเลือกตั้งทางไปรษณีีย์  ต้องส่งทาง ปณ.เท่านั้น (ห้ามไปส่งที่สำนักงานแพทสภา แบบปีก่อนๆ )  ซึ่งอาจไปถึงเกินเวลาปิดรับ ก็จะกลายเป็นบัตรเสีย
 
ดังนั้นหากจะต้องส่งทาง ปณ.ให้ทันในเวลานี้  ควรส่งที่เคาเตอร์ ปณ.นนทบุรี อันเป็นที่ตั้งของ แพทยสภา ก็อาจจะพอทันนะ


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by