หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: ผลวิจัยชี้วิธีเลิกบุหรี่  Allen Carr s Easyway  มีประสิทธิภาพเทียบเท่า )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: IQ โพสเมื่อวันที่: 01/23/20 เวลา 13:03:44
    ผลการวิจัยครั้งใหญ่ที่สุดและน่าเชื่อถือมากที่สุดยืนยันว่า การเลิกบุหรี่ด้วยวิธี Allen Carr's Easyway (ACE) ได้รับการพิสูจน์ทางคลินิกว่าเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสูงในการเลิกบุหร ี่ นอกเหนือจากการใช้แผ่นแปะนิโคติน หมากฝรั่งนิโคติน และบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งผลวิจัยนี้อาจผลักดันให้ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร (NHS) นำวิธีดังกล่าวมาให้บริการแก่ประชาชน
     Allen Carr's Easyway ซึ่งเป็นวิธีเลิกบุหรี่โดยไม่พึ่งยา ได้รับการสนับสนุนครั้งใหญ่หลังจากที่การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมของมห าวิทยาลัยลอนดอนเซาท์แบงก์ (LSBU) เผยให้เห็นว่า อย่างน้อยที่สุดวิธีดังกล่าวก็มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับวิธีอื่น ๆ ตามมาตรฐานของศูนย์บริการเลิกบุหรี่ของ NHS ซึ่งมีการใช้แผ่นแปะนิโคติน หมากฝรั่งนิโคติน และผลิตภัณฑ์นิโคตินอื่น ๆ ร่วมกับการรับคำปรึกษาแบบตัวต่อตัว
     การวิจัยจัดทำโดยศูนย์วิจัยพฤติกรรมเสพติด (CABR) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอนเซาท์แบงก์ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์เซนต์จอร์จแห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน โดยผลการวิจัยได้รับการเผยแพร่ในวันนี้ทางวารสารวิชาการ Addiction*
     ผลวิจัยระบุว่า การเลิกบุหรี่ด้วยวิธี Allen Carr's Easyway มีอัตราการเลิกบุหรี่ 19% หลังผ่านวันที่เลิกบุหรี่ไปแล้ว 6 เดือน เทียบกับ 15% เมื่อใช้วิธีตามมาตรฐานของ NHS ทั้งนี้ การทดลองมีผู้เข้าร่วม 620 คน โดย 310 คนใช้วิธี Allen Carr's Easyway และอีก 310 คนใช้บริการของ NHS ส่วนการเลิกบุหรี่พิสูจน์ด้วยการวัดระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออกของผู ้เข้าร่วมการทดลอง
     ผลการวิจัยสรุปว่า การประเมินประสิทธิภาพของวิธี Allen Carr's Easyway มีความสำคัญ เพราะเป็นวิธีเลิกบุหรี่โดยไม่ต้องพึ่งยาที่อาจนำไปใช้ในกลุ่มบำบัดได้ ซึ่งจะเป็นทางเลือกที่ประหยัดสำหรับสถานพยาบาลของรัฐ
     ศาสตราจารย์ แดเนียล ฟริงส์ ตัวแทนของคณะนักวิจัย กล่าวว่า
     "ผลการค้นพบนี้สนับสนุนประสิทธิภาพของการเลิกบุหรี่ด้วยวิธี Allen Carr's Easyway"
     ผลวิจัยครั้งนี้ช่วยสนับสนุนอีกหนึ่งผลวิจัยของรัฐบาลไอร์แลนด์ที่ได้รับการ เผยแพร่ทางวารสารการแพทย์ของอังกฤษ "Tobacco Control" (Keogan S, Li S, Clancy L. Tob Control 2019;28:414–419) ซึ่งระบุว่า วิธี Allen Carr's Easyway มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีของบริการ Quit.ie เกือบสองเท่า** สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.allencarr.com/easyway-stop-smoking/allen-carr-better-than-ir ish-hse/  
     ศาสตราจารย์ ลุค แคลนซี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการเลิกบุหรี่แห่งไอร์แลนด์ (TFRI) กล่าวว่า
     "Allen Carr's Easyway เป็นวิธีที่ถูกนำไปใช้น้อยเกินไป ทั้งที่มีศักยภาพมหาศาลในการช่วยให้บรรลุเป้าหมายการควบคุมการสูบบุหรี่"
     จอห์น ไดซีย์ ซีอีโอสากลของ Allen Carr's Easyway กล่าวว่า
     "วันนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการนำเสนอประสิทธิภาพของวิธี Allen Carr's Easyway ในการทดลองทางคลินิกถึงสองการทดลอง เนื่องจากวิธีนี้ใช้การพูด ไม่ได้ใช้ยาหรือแผ่นแปะ จึงทำให้การประเมินทางคลินิกมีข้อจำกัด และความสำเร็จในการใช้งานจริงก็ถูกประเมินค่าต่ำเกินไปมาก ทว่าแม้เผชิญข้อจำกัดมากมาย วิธีนี้ก็ยังได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือมากกว่าการใช้ยา และนิโคตินตามมาตรฐานของ NHS รวมถึงหน่วยงานสุขภาพระดับท้องถิ่น และหน่วยงานสุขภาพของรัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลก"
     "แผ่นแปะนิโคติน หมากฝรั่งนิโคติน และผลิตภัณฑ์นิโคตินอื่น ๆ ทำให้ประชาชนในสหราชอาณาจักรเสียเงินราว 30 ล้านปอนด์ต่อปี*** และในสหราชอาณาจักรมีการสั่งจ่ายนิโคตินมูลค่าสูงถึง 900 ล้านปอนด์ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร (NHS) ระบบบริการสุขภาพไอร์แลนด์ (HSE) และบริการสุขภาพใน 50 ประเทศที่เราดำเนินงานอยู่ ควรนำวิธีเลิกบุหรี่ของเราไปใช้ เพราะไม่ต้องพึ่งยา ปลอดภัย รวดเร็ว และง่ายดาย"
     ผลวิจัยจากไอร์แลนด์แสดงให้เห็นว่า Allen Carr's Easyway มีอัตราการเลิกบุหรี่สูงกว่า Quit.ie อย่างต่อเนื่องที่ระยะเวลา 1, 3, 6 และ 12 เดือน (ดีกว่าเกือบสองเท่า) ขณะที่ผลวิจัยจากลอนดอนระบุว่า ณ เดือนที่ 6 หลังเลิกบุหรี่ วิธี Allen Carr's Easyway มีอัตราการเลิกบุหรี่ 19% ขณะที่วิธีตามมาตรฐานของ NHS มีอัตราการเลิกบุหรี่ 15%
     จอห์น ไดซีย์ กล่าวเสริมว่า "ในขณะที่ประเด็นเรื่องบุหรี่ไฟฟ้ายังคงมีการถกเถียงกันอยู่ และไม่มีวี่แววว่าจะจบลงง่าย ๆ ผลวิจัยเหล่านี้จะสร้างความมั่นใจให้กับสาธารณสุขอังกฤษและระบบบริการสุขภาพ ไอร์แลนด์ ในการนำวิธี Allen Carr's Easyway มาใช้เป็นทางเลือกโดยไม่ต้องพึ่งยาและมีความปลอดภัย นอกเหนือจากวิธีอื่นๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน"
     ศาสตราจารย์ โซเฟีย ราวารา ประธานคณะกรรมการควบคุมยาสูบของสมาคมโรคระบบทางเดินหายใจแห่งยุโรป ขานรับผลวิจัยจากไอร์แลนด์ด้วยความกระตือรือร้นว่า "ดิฉันคิดว่าผลวิจัยดังกล่าวมีประโยชน์มาก และหวังว่าเราคงไม่ต้องรออีก 30 ปีเพื่อให้ Allen Carr's Easyway เป็นวิธีเลิกบุหรี่ที่ได้รับการรับรอง"
     การเลิกบุหรี่ด้วยวิธี Allen Carr's Easyway ไม่ต้องพึ่งนิโคติน แผ่นแปะ หรือยาใดๆ ทั้งสิ้น โดยเป็นการพิจารณาเหตุผลว่าทำไมต้องสูบบุหรี่ มีรายงานว่าคนส่วนใหญ่ไม่เพียงเลิกบุหรี่ได้เท่านั้น แต่ยังหมดความอยากบุหรี่ด้วย
จากคุณ: pipolulu โพสเมื่อวันที่: 01/23/20 เวลา 15:52:05
ในข่าว มีบอกไหมครับ ว่า Allen Carr's easyway ต้องทำอย่างไรบ้าง
 
หาในเน็ต มีแต่หนังสือต้องซื้อ
จากคุณ: Head_transplant โพสเมื่อวันที่: 01/24/20 เวลา 11:47:23
on 01/23/20 เวลา 15:52:05, pipolulu wrote:
ในข่าว มีบอกไหมครับ ว่า Allen Carr's easyway ต้องทำอย่างไรบ้าง
 
หาในเน็ต มีแต่หนังสือต้องซื้อ

 
http://prdupl02.ynet.co.il/ForumFiles_2/15119301.pdf
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 01/24/20 เวลา 17:57:45
     เลิกบุหรี่ ทำไง? - " ตบด้วยขวดเซเว่นอัพ"
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 01/26/20 เวลา 12:41:53
        วิธีเลิกบุหรี่เจ๋งๆ ? - " ก้อต้องง่ายๆ ครับ เช่น ดื่มน้ำมันก๊าซ"...


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by