หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: "รัฐมนตรีเสียของ" ... โดย นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์   )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: หมอหมู โพสเมื่อวันที่: 04/07/19 เวลา 21:55:29

 
ทำไมผมจึงเรียกรัฐมนตรีปิยะสกล ว่า "รัฐมนตรีเสียของ" ที่ชอบ "หลบอยู่หลังข้าราชการประจำ"
 
โดย ดร. นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ นักวิชาการด้านสารสนเทศสุขภาพ (7 เมษายน 2562)
 
ผู้ที่ทำงานหรือไปประชุมที่กระทรวงสาธารณสุขบ่อยๆ คงจะเห็นภาพภาพหนึ่งที่ติดตามหน้าลิฟต์จนชินตา ภาพของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขท่านปัจจุบัน ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ในช่วงที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ๆ ซึ่งสายตาของท่านในภาพมีความออดอ้อน พร้อมข้อความว่า "ผมมาคนเดียว แต่ก็ไม่กังวลเพราะมีคนมาช่วยทั้งสธ."
 
แวบแรกที่ผมเห็นภาพดังกล่าว ผมรู้สึกชื่นชมท่านรัฐมนตรี ไม่ใช่เพราะท่านมีภาวะผู้นำ แต่เพราะท่านเก่งมากในการสร้าง first impression ที่ดีให้ชาวสาธารณสุข ท่ามกลางปัญหาข้อขัดแย้งในกระทรวงสาธารณสุข จนนำมาสู่การพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีของ ศ. นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ผมเคยหวังว่านั่นจะเป็นโอกาสในการเริ่มต้นใหม่เพื่อสลายข้อขัดแย้งและพัฒนาร ะบบสุขภาพของไทยให้เข้มแข็งด้วยฝันร่วมกัน
 
4 ปีผ่านไป ในช่วงที่รัฐบาลปัจจุบันกำลังจะพ้นวาระ ผมพบว่า สิ่งที่ผมนึกออกว่ารัฐมนตรีท่านนี้ได้ทำเพื่อปฏิรูปและพัฒนาระบบสุขภาพของไท ยไปข้างหน้า มีน้อยมาก (ที่นึกออกชัดๆ มีเรื่องเดียวคือ เรื่องการใช้สิทธิในการรักษากรณีฉุกเฉินของผู้ป่วย หรือ UCEP ซึ่งจริงๆ ก็ยังมีปัญหาอยู่) สิ่งที่ผมเห็นบ่อยๆ กลับเป็นการประคองระบบที่มีอยู่ไปวันๆ พร้อมกับการออกหน้าในการเปิดงานต่างๆ การเยี่ยมดูงาน รพ./หน่วยงานต่างๆ และการออกหน้าชื่นชมผลงานอันฉาบฉวยที่มีขึ้นเพื่อ PR ล้วนๆ ของกระทรวงสาธารณสุข
 
มีหลายสิ่งที่ผมเคยหวังว่าท่านจะช่วยปฏิรูปให้ระบบสุขภาพของไทยเดินไปข้างหน ้า แม้จะยังมีข้อขัดแย้งและมุมมองที่เห็นต่างอยู่มาก ซึ่งยิ่งตอกย้ำความสำคัญของการมีภาวะผู้นำอย่างมาก
 
ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับหน่วยงานตระกูล ส. โดยเฉพาะ สปสช. ก็ไม่ได้คลี่คลายลง รัฐบาลไม่ได้เข้าใจความสำคัญของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC) ในเรื่อง risk protection และการป้องกัน catastrophic medical spending มากขึ้น สิ่งที่โรงพยาบาล แพทย์ และบุคลากรรู้สึกอึดอัดกับความ "เยอะ" ของกองทุนต่างๆ และการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้โรงพยาบาลของรัฐจำนว นมากขาดทุนแต่ก็จำเป็นต้องดูแลประชาชน ภายใต้ข้อจำกัดและแรงกดดันต่างๆ นานา ก็ไม่ถูกแก้ไข
 
ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข กับโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ท้าทายอย่างยิ่ง ก็ไม่ได้ดีขึ้น ไม่มีสัญญาณใดๆ จากท่านรัฐมนตรีที่ช่วยให้ทุกฝ่ายหาทางออกร่วมกันที่พอจะเป็นที่ยอมรับได้เพ ื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย
 
ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างวิชาชีพด้านสุขภาพที่ปะทุขึ้นเป็นระยะๆ ก็ไม่มีสัญญาณจากรัฐมนตรีในการหาทางแก้ปัญหาที่เป็นที่ยอมรับ
 
ปัญหาเรื่องอัตรากำลัง ความมั่นคง และอนาคตของข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นวิชาชีพหรือตำแหน่งใด ซึ่งต้องการความกล้าหาญของรัฐมนตรีในการผลักดันการสนับสนุนจากรัฐบาลและหน่ว ยงานในระบบราชการ ไม่ว่าจะเป็น ก.พ. ก.พ.ร. หรือสำนักงบประมาณ ก็ยังคาราคาซัง และรอวันปะทุอยู่เรื่อยๆ
 
เรื่องการจัดตั้งหน่วยงานที่เป็น National Data Clearing House ที่เป็นหน่วยงานกลาง อิสระจากการทำงานของกองทุนใดกองทุนหนึ่ง และจะเป็นหน่วยงานสำคัญในการลดภาระความปวดหัวของโรงพยาบาลที่ต้องตอบโจทย์กา รส่งข้อมูลให้เจ้านายหลายคน ก็ไปไม่ถึงไหน เพราะท่านมอบให้ข้าราชการประจำลงมาหาทางออกกันเอง โดยไม่ส่งสัญญาณที่ชัดเจนเชิงนโยบายว่าจะให้ทำอย่างไร หรือจะหาทางออกร่วมกันอย่างไร
 
แม้กระทั่งเรื่องที่เล็กพอสมควร เช่น การกำหนดว่ามาตรฐานข้อมูลยา ซึ่งมีรหัสยา 24 หลัก ที่ในทางวิชาการมีปัญหามากมายในการออกแบบ กับรหัสมาตรฐาน Thai Medicines Terminology (TMT) ที่ออกแบบมาได้ดีและเหมาะสมกว่า แต่โรงพยาบาลจำเป็นต้องปรับระบบเพื่อรองรับ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ท่านก็ไม่ตัดสินใจ แม้จะมีการรับฟังความเห็นทางวิชาการแล้ว (ซึ่งผมเป็นคนหนึ่งที่ถูกขอข้อมูลทางวิชาการส่งไปถึงท่านรัฐมนตรี และทราบว่าก็ถึงมือท่านแล้ว) แต่ท่านก็ไม่ได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาตัดสินใจเลือกมาตรฐานยาว่าจะเดินต่ออย่า งไร ท่านมีการเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้อง แล้วรับโจทย์ไป แล้วก็เงียบไปเลย โรงพยาบาลจึงยังต้อง support ทั้งรหัสยา 24 หลัก และรหัส TMT ต่อไป เป็นภาระมากมาย
 
ผมทราบว่าท่านไปบ่นเปรยๆ ในบางวงสนทนา ว่าท่านมองว่าการทำงานปฏิรูประบบ Health IT ไปไม่ถึงไหน ซึ่งในฐานะที่ผมเป็นนักวิชาการในสาขาสารสนเทศสุขภาพ ผมคิดว่าเป็นคำพูดที่ถูกต้องเลยครับ เพียงแต่ผมก็อยากบอกท่านเหมือนกันว่าปัญหาสำคัญมันเกิดจากอะไร ในความเห็นผม ปัญหาเกิดจากการขาดภาวะผู้นำและความจริงใจในการแก้ไขปัญหาของเบอร์หนึ่งของก ระทรวงสาธารณสุขครับ เพราะการมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเทคนิคทางไอที และการไม่พยายามเสาะแสวงหาการ engage กับนักวิชาการในสาขาวิชานี้ (เช่นผม) อย่างจริงใจ เพื่อช่วยกันหาทางปรับปรุงพัฒนาการทำงาน ทำให้งานด้านนี้ของกระทรวง ไปไม่ถึงไหน เพราะสัญญาณที่ไม่ชัดเจน ได้แต่สร้าง quick win ช่วยให้ผู้บริหารกระทรวงนำไปออกหน้าได้ แต่ไม่ได้ทำเรื่องที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่ต้องการการลงทุนลงแรงล งสมองโดยการมีส่วนร่วมของนักวิชาการ (อย่างผม) อย่างเต็มที่
 
เรื่อง digital transformation ท่านและผู้บริหารกระทรวงหลงคารมของนักยุทธศาสตร์ท่านหนึ่งที่ขายไอเดีย ABCD (AI, Blockchain, Cloud, Big Data) ซึ่งเป็นการเอาเทคโนโลยีมานำอย่างผิดๆ ไม่ได้เอาโจทย์ปัญหาและการทำงานจริงมานำ ซึ่งขัดกับหลักการทำงานด้าน Health IT ที่แท้จริงเป็นอย่างมาก เกือบนำกระทรวงไปผิดทาง แสดงว่าไม่ได้ผ่านการรับฟังและทำความเข้าใจกับนักวิชาการในสาขานี้อย่างดีพอ  ยังดีที่การเปลี่ยนผู้บริหารกระทรวงนำมาสู่การ reverse course ในเรื่องนี้ จนยังพูดคุยกับนักวิชาการอย่างผมได้ ยังไม่นับว่าท่านทำยังไงก็ไม่รู้จนไม่สามารถรักษาผู้บริหารด้าน Health IT ท่านหนึ่งในกระทรวงสาธารณสุข ไว้ในกระทรวงต่อไปได้
 
แม้กระทั่งงานปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขเอง ผมก็เข้าใจว่า สัญญาณของการขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ จากเบอร์หนึ่งของกระทรวง ก็ไม่ชัดเจนในหลายๆ ด้าน มันจึงไปไม่ถึงไหน
 
นี่เฉพาะเรื่องที่ผมเห็น ทั้งจากวงใน และวงนอก นะครับ คงมีอีกหลายๆ ปัญหาที่ผมไม่ได้เกี่ยวข้องและมองไม่เห็น ที่มีคนคาดหวังว่าท่านจะช่วย "นำ"
 
ผมจึงรู้สึกว่า ท่านเป็นรัฐมนตรีที่เก่งเรื่องการสร้าง first impression จริงๆ (ตัวอย่างที่ดี เช่น ค่านิยม MOPH ของกระทรวงสาธารณสุข อันนี้ผมยกเครดิตให้ท่านเลยจริงๆ)
 
แต่ผมคิดว่าท่านอ่อนเรื่องการแสดงภาวะผู้นำในการตัดสินใจและขับเคลื่อนเรื่อ งสำคัญๆ ของกระทรวงสาธารณสุข จำนวนมาก
 
ท่านจึงเป็นเพียงนักประคอง ไม่ใช่นักปฏิรูป หรือแม้กระทั่งนักบริหาร ที่สมควรกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 
ในโอกาสที่ท่านกำลังจะพ้นจากตำแหน่ง ผมจึงต้องใช้คำว่า "#รัฐมนตรีเสียของ" ที่ชอบหลบอยู่หลังข้าราชการประจำ และขออวยพรให้ท่านไม่เป็นรัฐมนตรีต่อไปในรัฐบาลใหม่นะครับ ผมอาจจะเป็นกบเลือกนาย แต่อย่างน้อย ผมก็หวังว่า รัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ (ไม่ว่าจะเป็นขั้วใด) จะใช้เสียงที่ได้มาจากประชาชนในการเลือกนายให้เหล่ากบ ที่เหมาะสมกับโจทย์ยากๆ ที่รอการแก้ไข เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยและประชาชนและธำรงไว้ซึ่งระบบสุขภาพไทยให้ยั่ งยืน ไม่พังครืนเพราะเพียงการเป็นนักประคองโดยน้ำมือของพวกท่าน นะครับ
 
Disclaimer: ความเห็นในบทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวในฐานะนักวิชาการที่มีเสรีภาพทางวิช าการของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นที่สะท้อนจุดยืนของหน่วยงาน องค์กร หรือวิชาชีพใด
 
ที่มา FB@นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์
 
https://www.facebook.com/nawanan/posts/10113423727584250
จากคุณ: jumpoo โพสเมื่อวันที่: 04/07/19 เวลา 22:04:36
ขาด กำลังคน งบประมาณ ยากจะไปต่อ
จากคุณ: anantom โพสเมื่อวันที่: 04/08/19 เวลา 12:34:31
ต้องกล้าตัดสินใจ และไม่กลัวใครใส่ร้าย และต้องมีทีมงานด้านกฎหมายดำเนินการตอบโต้ทางกฎหมายเมื่อมีการเล่นนอกกติกา
จากคุณ: crv01 โพสเมื่อวันที่: 04/08/19 เวลา 19:41:01
ต้องมีคนรุ่นใหม่ๆมาเป็นที่ปรึกษา.    ในรัฐบาลใหม่อาจได้รมตคนเดิมๆ
จากคุณ: only2b โพสเมื่อวันที่: 04/08/19 เวลา 23:12:38
ดีกว่าเจ้คนที่โปรโมทองค์การเภสัชทำเครื่องสำอางค์แข่งเอกชน
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 04/13/19 เวลา 18:32:06
    เสียของมั้ย ? -"  ไม่เสียของหรอกครับ  อย่างน้อยวันนี้รมต./ปลัดฯก็เป็นแพทย์   ไม่ใช่วิชาชีพอื่น(แย่งไป).."
จากคุณ: pracha โพสเมื่อวันที่: 04/17/19 เวลา 09:22:57
คนนอกมองเห็นควรปฏิรูป สธ. สปสช.
 
คนในสธ. สปสช. ก็บอกว่าต้องปฏิรูป
 
แต่เรื่องเดียวกันพูดกันคนละมุม  
 
นักปฏิรูปตัวจริงของสธ.และสปสช.คนล่าสุดน่าจะเป็นคุณหมอสงวน  หลังจากนั้นเท่าที่เห็นน่าจะเป็นนักฉวยโอกาสทางยุทธศาสตร์ทั้งในสธ.และสปสช.  คนทำงานให้บริการตัวจริงยิ่งลำบากขึ้นทุุกวัน
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 04/22/19 เวลา 18:40:27
      เสียของมั้ย อยากทราบ? - " ขอเพียงเป็นแพทย์ด้วยกัน   ถือว่าไม่เสียของ ครับ"
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 04/23/19 เวลา 12:29:20
    แพทย์เราต้องสามัคคีกันเยอะๆ   ตำหนิกันได้พอหอมปากหอมคอ   อย่าถึงขั้นทำลายล้างกันเหมือนอาชีพอื่น    เพราะถ้ารมต./ปลัดกระทรวงไม่ใช่แพทย์    แพทย์เราๆท่านๆก็จะไปกองกันเหมือนเงาะเน่า....
จากคุณ: para_kul โพสเมื่อวันที่: 04/30/19 เวลา 18:50:22
ขออนุญาตมองต่างมุม และเป็นความเห็นส่วนตัวว่า ไม่เสียของหรอกครับ เนื่องจากภารกิจที่อาจารย์พยายามทำอยู่คือขับเคลื่อนนโยบาย ต้องการแนวร่วมอย่างมากมาย อย่าลืมว่า ก่อนที่อาจารย์ปิยะสกล จะมารับตำแหน่ง รมว. สธ. สถานการณ์ ใน สธ. เรา  
สถานการณ์ด้านความสัมพันธ์ ระหว่าง สธ. และ สปสช. เป็นอย่างไรบ้าง ? ปัจจุบันนี้ แตกต่างจากเดิมอย่างไรบ้าง ? การประสานความเห็นต่างให้เป็นหนึ่งเดียว ไม่ใช่ง่าย การที่สามารถประคองสถานการณ์ สร้างทีมงานและผลักดันผลงาน อย่างในปัจจุบันออกมาได้ ก็ต้องถือว่าเก่งมากๆแล้วครับ  
ส่วนการผลักดันนโยบาย ต่างๆ ในระยะยาว คงต้องเป็นเฟส ต่อไป ครับ จริงอยู่ หลายๆท่านอาจจะคาดหวังการเปลี่ยนแปลง อย่างฉับพลัน ให้ทันใจ(ของกองเชียร์) แต่อย่าลืมว่า ถ้าไม่มีแนวร่วมจากทุกภาคส่วน ทุกระดับ อย่างแข็งขัน จริงๆ ไม่ง่ายเลยครับ การเชื่อมประสาน ให้เกิดผลลัพธ์ของงาน ที่คาดหวัง โดยให้เกิดแรงต้านน้อยที่สุดต่างหาก คือความสำเร็จ ณ ปัจจุบัน และใน อนาคต
ปล. ผมไม่ได้รับราชการ ไม่ได้เชียร์ อาจารย์ปิยะสกล ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาครับ แต่คิดว่า ในฐานะ แพทย์คนหนึ่ง อยากเห็นการปรับเปลี่ยนหลายอย่างเช่นกัน แต่ก็ต้องสนับสนุน และให้กำลังใจกับอาจารย์ด้วยครับ
ขอบคุณครับ


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by