หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: การประกอบวิชาชีพเวชกรรม ถูกจำคุกเพราะรักษาผปฺใช่แล้วหรือ )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 11/24/18 เวลา 08:36:42
วันที่19 พฤศจิกายน 2561
การประชุมเรื่อง "การประกอบวิชาชีพเวชกรรมกับความผิดอาญา ถูกจำคุกเพราะรักษาผู้ป่วย ใช่แล้วหรือ" วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561จัดโดยสมาคมแพทย์อาชีวเวชศาตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และกลุ่ม"พลังแพทย์"
ได้รับเกียรติจาก ศาสตราภิชานสำลี เปลี่ยนบางช้าง ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค 2 สมัย(พ.ศ.2547-2557) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 11/24/18 เวลา 08:37:29

และอาจารย์ได้กล่าวว่า การแพทย์โดยพื้นฐาน เป็นงานเพื่อมนุษยธรรม ช่วยเหลือประชาชนโดยปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน ปราศจากความตั้งใจที่จะทำให้ประชาชนได้รับอันตรายจากการรักษาพยาบาล ในทางจริยธรรม เราต้องแยกการแพทย์ออกจากการค้า ปฏิบัติเวชกรรม เพื่อมนุษยธรรมอย่างแท้จริง
ทุกวันนี้ประชาชนมีความคาดหวังผลการรักษาที่ดีหรือมากเกินจริง ทั้งๆที่วิชาการทางการแพทย์ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายจากความเจ็บป่วยได้ท ุกกรณี เป็นความคาดหวังทีื่่เกินกว่าแพทย์และวิชาการแพทย์จะสามารถตอบสนองได้ทุกกรณ ี แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ จะต้องมีความกล้า และความจริงใจ ที่จะพูดถึงบทบาท หน้าที่ ข้อจำกัดในทางการแพทย์ รวมทั้งความสามารถหรือศักยภาพของโรงพยาบาลแต่ละระดับและความเชี่ยวชาญของแพท ย์ และบุคลากรทางการแพทย์ ที่จะให้การรักษาแก่ประชาชนได้ภายใต้ข้อจำกัดแค่ไหน/อย่างไร เพราะแพทย์ไม่ใช่เทวดา ที่จะสามารถเนรมิตทุกสิ่งได้ ความสามารถของแพทย์มีขีดจำกัดเช่นเดียวกัน
อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในจริยธรรมทางการแพทย์ซึ่งพวกเราทุกคนได้ร่ำเรี ยนมา จะช่วยป้องกันปัญหาการฟ้องร้องได้มาก การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยให้กลับไปดีเหมือนแต่ก่อน ที่แพทย์และการแพทย์เป็นที่เชื่อถือ
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 11/24/18 เวลา 08:38:09

และได้รับความนับถือและศรัทธาจากประชาชน
และที่สำคัญประชาชนก็ควรมีส่วนร่วมที่สำคัญ ในการดูแลรักษาสุขภาพตนเองเป็นเบื้องต้น (self-care and self-reliance) ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง ลดอัตราการเจ็บป่วย ลดภาระงานของโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์
การฟ้องร้องแพทย์ที่มากขึ้น ทั้งทางแพ่ง ทางคดีผู้บริโภค ทาง อาญา ย่อมนำไปสู่การประกอบวิชาชีพเวชกรรมแบบป้องกันตัว (Defensive Medicine) กล่าวคือ มีการตรวจ"ละเอียด" เกินความจำเป็น ทำให้ค่าใช้จ่ายในทางการแพทย์เพิ่มขึ้นเกินความจำเป็น เพื่อพิสูจน์ว่าความเสียหายของผู้ป่วย ไม่ใช่มีสาเหตุมาจากความผิดพลาดบกพร่องของแพทย์ เช่น เกิดจากภาวะแทรกซ้อน แพ้ยา อาการไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรือเหตุสุดวิสัยที่แพทย์ไม่สามารถควบคุมได้ตามความคาดหวัง
นับว่าเป็นความเสียหายจากไม่มีผู้ใดทำผิด (No Fault) ควรจะมีการชดเชยผู้ป่วย โดยไม่นับเป็นความผิดของใคร
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 11/24/18 เวลา 08:40:09
ต่อมาเป็นการปาฐกถาโดยดร.เฉลิมพล ไวทยางกูรนักกฎหมาย นักรัฐศาสตร์ นักสังคมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายด้านภาษาอังกฤษของสำนักงานศาลยุติธรรม ในเรื่อง เกี่ยวกับคดีทางการแพทย์ควรจะมีทางออกอย่างไร
อาจารย์ได้กล่าวว่า
ในรพ.รัฐบาล แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และโรงพยาบาลของรัฐ เป็นหน่วยราชการ ที่ต้องให้บริการประชาชน ไม่ใช่การประกอบธุรกิจ. จึงไม่รวมอยู่ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและกฎหมายวิฯผู้บริโภคในการพิจารณาค ดีในศาล
 
ถ้าใครถูกฟ้องในวิฯผู้บริโภค ต้องโต้แย้งศาลตามหลักข้อนี้(challenge)
การพิจารณาคดีของศาลไทย เป็นวิธีการไต่สวน ผู้ฟ้องต้องพิสูจน์ว่าแพทย์ทำผิดอย่างไร แพทย์จึงต้องสนใจไปแก้บข้อกล่าวหา อย่าไว้ใจ ให้นิติกรไปสู้คดี โดยตนเองไม่สนใจ เพราะเขาจะไม่สามารถจะอธิบายแทนตัวเราได้ หรือ ไม่มีความรู้ในทางการแพทย์ที่จะอธิบายแทนเราได้
นอกจากนั้นการอธิบายเรื่องวิสัยและพฤติการณ์นั้น อาจารย์กล่าวว่า ถ้าเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเราก็จะรักษาได้ตามวิสัยของแพทย์ทั่วไป จะไปหวังให้เรารักษาเหมือนผู้เขี่ยวชาญไม่ได้ (ตรงข้ามกับศาล ที่มองว่า ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ) จนสั่งจำคุกหมอ และทำให้รพ.ชุมชนปิดห้องผ่าตัดไปเลย เพราะไม่มีหมอดมยาสลบ(วิสัญญีแพทยฺ์)
สิ่งสำคัญที่อาจารย์เฉลิมพลฝากไว้ คือขอให้มีการพิจารณาข้อขัดแย้งทางการแพทย์โดยใช้อนุญาโตตุลาการ ซึ่งในทางธุรกิจสามารถเจรจาตกลงกันได้โดยไม่ต้อง ฟ้องร้องซึ่งนับเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ ที่ควรนำไปพิจารณาต่อยอดให้นำมาใช้ โดยความยินยอมพร้อมใจของผป. และบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป  
ระบบอนุญาโตตุลาการ (Alternative Dispute Resolution) ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม ถ้าสามารถกำหนดไว้ว่า คดีทางการแพทย์ให้อยู่ในการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการทางการแพทย์ กระบวนการจะสั้นและจบเร็ว เรามีสถาบันอนุญาโตตุลาการอยู่แล้ว การที่เรามีคดีความเกิดขึ้น ศาลไม่รู้เรื่องการแพทย์ แต่ถ้าเป็นอนุญาโตตุลาการ จะมีคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการทางการแพทย์ ทางผู้เสียหาย และคนกลาง ปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในระบบศาลอยู่ถึง 170 คน น่าจะเป็นอนุญาโตตุลาการทางการแพทย์ได้
ในสหรัฐอเมริกามีการใช้ระบบอนุญาโตตุลาการในคดีทางการแพทย์แล้วในหลายรัฐ เช่น แคลิฟอร์เนีย มิชิแกน เท็กซัส แต่ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่ยอมเข้าสู่ระบบอนุญษโตตุลาการ ก้ไปขึ้นศาล
 
อย่างไรก็ดี อาจารย์เฉลิมพล ได้กล่าวย้ำว่า สังคมต้องเป็นธรรมบ้านเมืองจึงจะอยู่ได้
ในรพ.รัฐบาล แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และโรงพยาบาลของรัฐ เป็นหน่วยราชการ ที่ต้องให้บริการประชาชน ไม่ใช่การประกอบธุรกิจ. จึงไม่รวมอยู่ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและกฎหมายวิฯผู้บริโภคในการพิจารณาค ดีในศาล
 
ถ้าใครถูกฟ้องในวิฯผู้บริโภค ต้องโต้แย้งศาลตามหลักข้อนี้(challenge)
การพิจารณาคดีของศาลไทย เป็นวิธีการไต่สวน ผู้ฟ้องต้องพิสูจน์ว่าแพทย์ทำผิดอย่างไร แพทย์จึงต้องสนใจไปแก้ข้อกล่าวหา อย่าไว้ใจ ให้นิติกรไปสู้คดี โดยตนเองไม่สนใจ เพราะเขาจะไม่สามารถจะอธิบายแทนตัวเราได้ หรือ ไม่มีความรู้ในทางการแพทย์ที่จะอธิบายแทนเราได้
นอกจากนั้นการอธิบายเรื่องวิสัยและพฤติการณ์นั้น อาจารย์กล่าวว่า ถ้าเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเราก็จะรักษาได้ตามวิสัยของแพทย์ทั่วไป จะไปหวังให้เรารักษาเหมือนผู้เขี่ยวชาญไม่ได้ (ตรงข้ามกับศาล ที่มองว่า ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ) จนสั่งจำคุกหมอ และทำให้รพ.ชุมชนปิดห้องผ่าตัดไปเลย เพราะไม่มีหมอดมยาสลบ(วิสัญญีแพทยฺ์)
สิ่งสำคัญที่อาจารย์เฉลิมพลฝากไว้ คือขอให้มีการพิจารณาข้อขัดแย้งทางการแพทย์โดยใช้อนุญาโตตุลาการ ซึ่งในทางธุรกิจสามารถเจรจาตกลงกันได้โดยไม่ต้อง ฟ้องร้องซึ่งนับเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ ที่ควรนำไปพิจารณาต่อยอดให้นำมาใช้ โดยความยินยอมพร้อมใจของผป. และบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป  
ระบบอนุญาโตตุลาการ (Alternative Dispute Resolution) ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม ถ้าสามารถกำหนดไว้ว่า คดีทางการแพทย์ให้อยู่ในการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการทางการแพทย์ กระบวนการจะสั้นและจบเร็ว เรามีสถาบันอนุญาโตตุลาการอยู่แล้ว การที่เรามีคดีความเกิดขึ้น ศาลไม่รู้เรื่องการแพทย์ แต่ถ้าเป็นอนุญาโตตุลาการ จะมีคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการทางการแพทย์ ทางผู้เสียหาย และคนกลาง ปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในระบบศาลอยู่ถึง 170 คน น่าจะเป็นอนุญาโตตุลาการทางการแพทย์ได้
ในสหรัฐอเมริกามีการใช้ระบบอนุญาโตตุลาการในคดีทางการแพทย์แล้วในหลายรัฐ เช่น แคลิฟอร์เนีย มิชิแกน เท็กซัส แต่ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่ยอมเข้าสู่ระบบอนุญษโตตุลาการ ก้ไปขึ้นศาล
 
อย่างไรก็ดี อาจารย์เฉลิมพล ได้กล่าวย้ำว่า สังคมต้องเป็นธรรมบ้านเมืองจึงจะอยู่ได้
จากคุณ: anantom โพสเมื่อวันที่: 11/24/18 เวลา 10:51:48
นอกจากนั้นการอธิบายเรื่องวิสัยและพฤติการณ์นั้น อาจารย์กล่าวว่า ถ้าเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเราก็จะรักษาได้ตามวิสัยของแพทย์ทั่วไป จะไปหวังให้เรารักษาเหมือนผู้เขี่ยวชาญไม่ได้ (ตรงข้ามกับศาล ที่มองว่า ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ) จนสั่งจำคุกหมอ และทำให้รพ.ชุมชนปิดห้องผ่าตัดไปเลย เพราะไม่มีหมอดมยาสลบ(วิสัญญีแพทยฺ์)  
 
ด้วยความเคารพ และไม่อยากให้ความเข้าใจผิดนี้ติดแพทย์รุ่นใหม่ แพทยสภา น่าจะเอาคำพิพากษาและคำเบิกความจำเลยและโจทก์มาแผยแพร่ครับ ว่าศาลสั่งจำคุกเพราะอะไร ผมไม่อยากให้ศาลมองว่าหมอเราไม่เคารพคำพิพากษาครับ
จากคุณ: Hybrid VI โพสเมื่อวันที่: 11/24/18 เวลา 11:50:37
on 11/24/18 เวลา 10:51:48, anantom wrote:
นอกจากนั้นการอธิบายเรื่องวิสัยและพฤติการณ์นั้น อาจารย์กล่าวว่า ถ้าเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเราก็จะรักษาได้ตามวิสัยของแพทย์ทั่วไป จะไปหวังให้เรารักษาเหมือนผู้เขี่ยวชาญไม่ได้ (ตรงข้ามกับศาล ที่มองว่า ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ) จนสั่งจำคุกหมอ และทำให้รพ.ชุมชนปิดห้องผ่าตัดไปเลย เพราะไม่มีหมอดมยาสลบ(วิสัญญีแพทยฺ์)  
 
ด้วยความเคารพ และไม่อยากให้ความเข้าใจผิดนี้ติดแพทย์รุ่นใหม่ แพทยสภา น่าจะเอาคำพิพากษาและคำเบิกความจำเลยและโจทก์มาแผยแพร่ครับ ว่าศาลสั่งจำคุกเพราะอะไร ผมไม่อยากให้ศาลมองว่าหมอเราไม่เคารพคำพิพากษาครับ

 
จริงครับ ถ้าบอกว่าศาลพิพากษาแบบนี้ แนะนำไปอ่านใหม่  
ถ้าจะแก้ปัญหา อย่าปกปิดบิดเบือนความจริง
เพราะสิ่งที่ศาลให้ระวัง มันอยู่ใน scope ของ GP ทั้งสิ้น  
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 11/24/18 เวลา 14:41:36
https://thaipublica.org/2016/04/medical-malpractice-cases-12498-2558/?fb clid=IwAR2-2e8HXy-oarPID-jN0laVI66dgml5hnKSfev5aovqADotjS8uUIp-WjY
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 11/24/18 เวลา 15:03:38
https://www.slideshare.net/preeyananlor/1159-61942715
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 11/24/18 เวลา 15:07:27
https://www.facebook.com/DoctorBarrister/posts/835258313271100
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 11/24/18 เวลา 15:33:36
on 11/24/18 เวลา 15:07:27, yellow_bird wrote:
https://www.facebook.com/DoctorBarrister/posts/835258313271100

 
หน้า15 บรรทัดที่ 4และ 5 หน้า 15  
 
การที่จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เป็นวิสัญญีแพทย์ฉีดยาระงับความเจ็บปวดเข้าทางไขสันหลังของผู้ตายโ ดยมิได้เป็นวิสัญญีแพทย์โดยตรง โดยวิสัยและพฤติการณ์จำเลยจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
 
และบรรทัดต่อๆไปจนถึงหน้า16
 
จำคุก 3 ปี ลักษณะการกระทำความผิดค่อนข้างประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
จากคุณ: simath โพสเมื่อวันที่: 11/24/18 เวลา 15:53:49
จากที่เคยเรียนมา คือ Medical Record มีความสำคัญมาก
 
เนื่องจากระบบในปัจจุบัน คดีทางการแพทย์จัดเป็นคดีผู้บริโภค หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแล้วมีความเสียหาย สามารถฟ้องได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าแพทย์ผิด
 
แต่เป็นหน้าที่ของทีมแพทย์ ที่ต้องพิสูจน์ว่าตัวเองทำทุกอย่างตามมาตรฐาน ไม่มีข้อบกพร่อง หากทีมแพทย์พิสูจน์ไม่ได้ ศาลก็สามารถบอกว่าแพทย์เป็นฝ่ายผิดได้ทันที
 
ดังนั้น ในทุกเคสที่มารักษา เราไม่อาจทราบได้ว่าเคสไหนจะมีปัญหา จึงต้องทำ Medical Record ให้ละเอียดที่สุด การส่งแลปบางอย่างอาจจะไม่ได้มีผลต่อการรักษาโดยตรง แต่ก็ควรส่งไว้ก่อน อย่างน้อยก็เป็นการยืนยันว่าแพทย์ไม่ได้ประมาท และรักษาตามมาตรฐาน(หรืออาจจะเกินมาตรฐานไปบ้าง)
 
อย่างเช่น ถ้าทำ Spinal block แล้วเกิด High block แต่ดันไปบอกศาลว่าไม่ได้ Record ว่าฉีดยาไปกี่ cc แบบนี้ โอกาสแพ้คดีสูง
 
หรืออย่างกรณีห้องฉุกเฉิน ถ้าไม่ Record บาดแผล ไม่บันทึก vital sign แค่เห็นว่าปกติก็ปล่อยกลับ แบบนี้หากเกิดปัญหา แพ้คดีแน่นอน
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 12/01/18 เวลา 09:34:19
เมื่อทางผู้ป่วยเกิดความเสียหาย หรือเสียชีวิต
ต้องมาดูว่า ความเสียหายนั้น
1. เกิดจากเจตนา หรือความจงใจของแพทย์ ซึ่งอันนี้ผิดเต็มๆๆ (แต่คงจะมีน้อยมากๆๆ ที่แพทย์คิดจะทำการเช่นนั้น)
2. เกิดจากความประมาท หรือเลินเล่อของแพทย์ อันนี้ผิดไม่เท่าข้อแรก...ส่วนใหญ่ ที่เป็นคดีความกันก็อยู่ในข้อนี้ ซึ่งต้องมาพิจารณากัน/ ต่อสู้กันด้วยพยาน/ หลักฐานจากทั้งสองฝ่ายว่า แพทย์ประมาท/ เลินเล่อจริงรึเปล่า (แต่ถ้าเป็นอะไรที่หนักหนาสาหัส จริงๆ เช่น  Ruptured  AAA/ Brain stem hemorrhage/  Ruptured Liver แล้วส่ง รพสต./ รพช. หรือส่งรพ. ช้าไป พระเจ้าก็ช่วยไม่ได้อันนี้ศาลก็เข้าใจ ถามจากอาจารย์โรงเรียนแพทย์/ ราชวิทยาลัย นั้นๆได้)
จากคุณ: tyyyy โพสเมื่อวันที่: 02/14/19 เวลา 23:16:43
เห็นด้วยกับ ความเห็นที่ ๑๑


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by